วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จากกันด้วยใจ? รถยนต์ญี่ปุ่นค่ายยักษ์ ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงลาออกเกือบพัน



Tue, 2016-07-05 15:31


4 ก.ค.2559 นักสื่อสารแรงงาน voicelabour.org รายงานว่า หลังกระแสการเปิดโครงการสมัครใจลาออกของบริษัทผลิตรถยนต์ค่ายยักษ์จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อโครงการ “จากกันด้วยใจ”

โดย แหล่งข่าว กล่าวว่า การเปิดโครงการดังกล่าวเพื่อที่จะให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงซึ่งมีอยู่ในกระบวนการผลิตประมาณร้อยละ 40 ของลูกจ้างทั้งหมดในการสมัครใจลาออกโดยทางบริษัทต้องการคนที่สมัครใจลาออกจำนวน 800-900 คน โดยกำหนดจำนวนแต่ละไลน์การผลิต ได้เปิดรับสมัครเข้าโครงการเป็นเวลา 1 อาทิตย์ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้บริหารลงชี้แจงลูกจ้างเหมาค่าแรงทั้งสำโรง เกตเวย์ บางชอน พร้อมทั้งสัญญากับลูกจ้างเหมาค่าแรงหากผลประกอบการดีขึ้นจะรับลูกจ้างเหมาค่าแรงกลับเข้ามาทำงานในอัตราค่าจ้างเดิมสวัสดิการเดิมและนับอายุงานต่อเนื่องด้วย

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในการเปิดโครงการ “จากกันด้วยใจ” สำหรับลูกจ้างเหมาค่าแรงนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ลาออกโดยทางบริษัทจะจ่ายเงินพิเศษและค่าชดเชยให้ตามอายุงาน พร้อมค่าจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า การที่ไม่บอกคืนลูกจ้างเหมาค่าแรงเหมือนกับบริษัทอื่นๆนั้นเพราะเห็นว่า ลูกจ้างเหมาค่าแรงอยู่ด้วยกันมานาน และมีเรื่องของการทำงานดีจะมีการบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจำด้วย ซึ่งมีการบรรจุเกือบทุกปี ซึ่งปีละหลายร้อยคน ซึ่งขณะนี้คนที่มาสมัครใจลาออกจำนวนมากโดยบริษัทเปิดรับสมัครใจลาออกในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงที่มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งหลังจากครบกำหนดตามที่บริษัทเปิดโครงการฯทางบริษัทก็จะมีการใช้การประเมินดูเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายอย่างไรบริษัทต้องการที่จะใช้การลาออกโดยสมัครใจก่อน

ทั้งนี้ล่าสุดแหล่งข่าวรายงานว่า ทางผู้บริหารบริษัทได้มีการจัดประชุมเพื่อชี้แจงกับลูกจ้างเหมาค่าแรง และได้มีการร่วมส่งลูกจ้างเหมาค่าแรงขึ้นรถกลับบ้านด้วย

ด้าน วิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ รองประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในฐานะการทำงานในประเภทกิจการยานยนต์คงต้องคอยจับตาดูเรื่องการปฏิบัติการของนายจ้างในประเภทกิจการรถยนต์ ซึ่งขณะนี้มีปรากฏการการเปิดโครงการสมัครใจลาออกทั้งส่วนของลูกจ้างประจำและพนักงานเหมาค่าแรง โดยจะดูเรื่องสิทธิของลูกจ้างเรื่องสิทธิแรงงาน และความเป็นธรรมซึ่งกรณีดังกล่าวมีการจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าที่เรียกว่าเงินพิเศษให้ด้วย แทนการที่จะส่งลูกจ้างเหมาค่าแรงให้กับทางบริษัทต้นสังกัด

ทั้งนี้ได้มีลูกจ้างเหมาค่าแรงของบริษัทดังกล่าวออกมาโพสต์เรื่องราวชีวิตการทำงานในบริษัทดังกล่าวด้วยความผูกพัน เพื่อเป็นการบอกลาในโซเซียลมีเดียอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น