วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ส.ป.ก. นอกจากการเกษตรกรรม


งัด ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ใช้ประโยชน์พื้นที่ ส.ป.ก.นอกจากการเกษตรกรรม เช่น พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก สํารวจและใช้ปิโตรเลียม แร่ ทําเหมือง ฯลฯ
23 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 31/2560 เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. 
โดยระบุว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทํากิน และให้การใช้ที่ดิน เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรและลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคม ของบุคคล ดังที่ได้จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 นั้น ต่อมาความต้องการของประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลกซึ่งจําเป็นต้องพัฒนาการใช้ ประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นอันมีความจําเป็นอย่างยิ่งควบคู่กันไปกับการแก้ปัญหา ของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้นโดยยังคงหลักการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
โดยที่ในปัจจุบันพลังงานเป็นปัญหาสําคัญอย่างหนึ่งของสถานการณ์โลก ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ กําหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนให้มีการแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งการดําเนินการ ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อป้องกันการขาดแคลนพลังงาน สร้างความมั่นคง ด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการนําเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายในการบริหารจัดการ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและกระจายการพัฒนา ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ก็เป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเช่นกัน แต่โดยที่ในการ ดําเนินการเพื่อให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล มีความจําเป็นต้องเข้าไปดําเนินการภายในที่ดินของรัฐ บางประเภทโดยเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีสภาพไม่เอื้อหรือไม่เหมาะสมต่อการทําเกษตรกรรม อย่างคุ้มค่า ซึ่งในปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 40 ล้านไร่ ได้มีการยินยอมหรืออนุญาตให้เอกชนเข้าใช้ หรือหาประโยชน์ที่ดินตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนเนื้อที่เพียงประมาณร้อยละ 0.1 ของเนื้อที่ เขตปฏิรูปที่ดินทั้งหมดของประเทศ แต่การจะเข้าใช้หรือหาประโยชน์ที่ดินดังกล่าว เพื่อประโยชน์ สาธารณะอื่นนั้น ยังมีข้อจํากัดทางด้านกฎระเบียบบางประการที่มีมาตั้งแต่ในยุคสมัย ที่ความจําเป็น สําคัญเร่งด่วนยังไม่ปรากฏดังเช่นในปัจจุบัน
ในบางเรื่องรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ให้สัมปทาน ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเขตดังกล่าวไปก่อนแล้วตามระเบียบจนมีการลงทุนมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เกิดการจ้างงาน อย่างกว้างขวางและมีภาระผูกพันกับรัฐโดยเกษตรกรเองก็ได้รับค่าตอบแทนหรือชดเชยการให้เข้าใช้ ประโยชน์ที่ดินจนเป็นที่พอใจ ทั้งบางแห่งมีการจัดทําบริการสาธารณะให้เกษตรกรในพื้นที่เหล่านั้น ตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม และก่อให้เกิดรายได้เสริมจากทางอื่นต่อเนื่องตามมาแก่เกษตรกรอีกด้วย โดยประเทศชาติสามารถใช้ประโยชน์สาธารณะจากทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าว ประโยชน์ตอบแทน ส่วนหนึ่งตกเป็นรายได้ของท้องถิ่นนั้น ๆ รายได้ที่เหลือนําเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเมื่อสิ้นสุดเวลาเข้าใช้ประโยชน์แล้วก็ยังสามารถคืนที่ดินนั้นให้เกษตรกรนําไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่นทําเป็นแหล่งน้ําเพื่อการเกษตร แหล่งเก็บน้ําตามโครงการแก้มลิง หรือเพื่อทําการเกษตรโดยตรง ตามปรัชญาของการปฏิรูปที่ดิน หากยกเลิกพันธะผูกพันดังกล่าว เกษตรกรและประเทศชาติก็จะเสียประโยชน์ และเกิดการฟ้องร้องติดตามมาอีกมากมาย จึงจําเป็นต้องลดข้อจํากัดอันเป็นอุปสรรคดังกล่าวภายใต้ หลักการใช้ที่ดินของรัฐให้สมประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายทั้งแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ในขณะเดียวกันการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นต้องให้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตกลับคืนสู่เกษตรกร ในรูปแบบที่อาจแตกต่างไปจากเดิมนอกเหนือจากการทําเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก่เกษตรกร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะ รักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกรณีมีเหตุจําเป็นเพื่อประโยชน์ด้านพลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอํานาจพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อดําเนินกิจการอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ในการพิจารณาให้คํานึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ ประโยชน์แก่เกษตรกร และประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เป็นสําคัญ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ ประโยชน์ที่ดิน ประเภทของกิจการหรือโครงการ เนื้อที่ วัตถุประสงค์ และมูลค่าของการดําเนินกิจการ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยจะต้อง กําหนดขนาดเนื้อที่และประเภทของวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องเสนอ ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีก่อนพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตไว้ด้วย ทั้งนี้ ต้องดําเนินการ ให้มีการออกกฎกระทรวงไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอํานาจออกระเบียบกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการกําหนดค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดินตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 2 ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดให้ผู้ขอใช้ประโยชน์ที่ดินเยียวยา หรือจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสจากการใช้ที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบนั้น และให้นําส่ง ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ 1 และข้อ 5 เข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ข้อ 3 การพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตตามคําสั่งนี้ ไม่มีผลเป็นการยกเว้น การปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 4 ให้ผู้ได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม การสํารวจแร่ การทําเหมือง หรือการทําเหมืองใต้ดินตามกฎหมาย ว่าด้วยแร่ หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 หรือระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต และการให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิบัติในการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สําหรับ กิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2541 อยู่ในวันก่อนวันที่ คําสั่งนี้ใช้บังคับ ยื่นคําขอตามข้อ 1 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงที่ออกตามข้อ 1 วรรคสอง ใช้บังคับ ในระหว่างนั้นให้ผู้ได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตใช้ที่ดินได้ไปพลางก่อนหรือจนกว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
 
ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมเข้าใช้ที่ดินที่สํานักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว โดยยังไม่ได้รับความยินยอมตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอม ในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 ไม่ว่าจะเป็น การใช้เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมในขั้นตอนใดก็ตาม ให้ผู้รับสัมปทานนั้นยื่นคําขอตามข้อ 1 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงที่ออกตามข้อ 1 วรรคสอง ใช้บังคับ ในระหว่างนั้นให้ผู้รับสัมปทาน ใช้ที่ดินได้ไปพลางก่อนหรือจนกว่าคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น โดยต้องชําระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งแต่เมื่อเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมกําหนด
ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนไว้ ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติให้ชะลอ การให้ความยินยอมในการใช้ที่ดินเพื่อการสํารวจหรือใช้หรือหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 เพื่อรอการพิจารณาคดีเกี่ยวกับอํานาจ ในการออกระเบียบดังกล่าว ให้ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ดังกล่าวขยายออกไปเท่ากับระยะเวลา ที่ไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนได้ ทั้งนี้ ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีอํานาจพิจารณาคืนค่าสงวนพื้นที่ ให้แก่ผู้รับสัมปทานเป็นรายกรณี สําหรับช่วงเวลาที่ผู้รับสัมปทานไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนไว้และ การไม่อาจเข้าใช้พื้นที่นั้นเป็นเหตุให้ไม่สามารถดําเนินการสํารวจปิโตรเลียมในพื้นที่สงวนได้
ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ขยายออกไปตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ ก่อนวันที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติให้ชะลอการให้ความยินยอมแล้ว ต้องไม่เกิน ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานกําหนดตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532
ในช่วงระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ขยายออกไปตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 และมาตรา 46 แห่งพระราชบญญั ัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 7 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามข้อ 1 ใช้บังคับให้นํา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความยินยอมตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับกับผู้รับสัมปทานที่ได้ยื่นแผนการผลิตในรายละเอียด สําหรับพื้นที่ผลิตตามมาตรา 42 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามข้อ 1 ใช้บังคับ
ข้อ 8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร และประโยชน์สาธารณะของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาอนุญาตให้สํารวจหรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ใช้ที่ดินเพื่อดําเนินกิจการด้านพลังงาน และการดําเนินกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และประโยชน์สาธารณะของประเทศด้วย
ข้อ 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอํานาจออกกฎกระทรวงตามคําสั่งนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ข้อ 10 ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ แห่งชาติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ ข้อ 11 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น