นพ.สุธีร์ อาจารย์คณะแพทย์ มศว แนะนับหนึ่งใหม่แก้กฎหมายบั ตรทอง ชี้กระบวนการไม่เป็นธรรมตั้งแต่ เริ่มต้น หากเดินต่อโดยขาดการยอมรั บจากประชาชน เรื่องคงไม่จบลงง่ายๆ
21 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้ องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ความเห็นถึงการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ว่า การแก้กฎหมายในรอบนี้จะเป็นจุ ดเริ่มต้นของความไม่เป็ นธรรมรอบใหม่โดยที่รัฐเป็นคนก่ อให้เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากกระบวนการแก้กฎหมายไม่ แฟร์กับประชาชน หากเดินหน้าต่อหรือข่มเหงความรู้ สึกกันให้ยอมรับแบบนี้ เชื่อว่าการต่อสู้จะไม่จบลงง่ ายๆ
นพ.สุธีร์ กล่าวว่า ความไม่เป็นธรรมเริ่มต้นตั้งแต่ การกำหนดประเด็นแก้ไขกฎหมาย 14 ประเด็น โดยไม่ผ่านการถกเถียงวิเคราะห์ ทางวิชาการด้วยมุมมองที่รอบด้าน แต่เป็นการหยิบยกประเด็นขึ้ นมาตามที่กรรมการส่วนใหญ่เห็ นสมควร แล้วนำไปสู่กระบวนการรั บความความคิดเห็นเลย ซึ่งโดยขั้นตอนที่ควรจะเป็นแล้ว ก่อนจะผ่านไปถึงขั้นตอนรับฟั งความคิดเห็นได้ ควรจะต้องทำการศึกษาในเชิงวิ ชาการอย่างรอบด้านจนสะเด็ดน้ำ เสียก่อน
“การประชาพิจารณ์จะเริ่มก็ต่ อเมื่อสะเด็ดน้ำจากวิชาการแล้ว มองครบทุกมุมแล้ว แต่นี่ชงปุ๊ปตบปั๊ป ยังไม่ได้ส่องดูให้รอบด้านเลย แบบนี้มันไม่ใช่” นพ.สุธีร์ กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน ในขั้นตอนของคณะกรรมการพิ จารณาแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็มีตัวแทนประชาชนเข้าไปมีสิทธิ มีเสียงเพียง 2 คน ซึ่งมติใดๆ ก็ตามที่ต้องโหวตสู้กันก็ไม่มี ทางชนะอยู่แล้ว
“ให้คนหนึ่งทำ แต่ผลกระทบไปตกอยู่กับอีกคนหนึ่ ง ถ้าคุณกล้าเอาข้าราชการมาทำให้ ประชาชน อย่างนั้นกล้ าเอาประชาชนไปออกแบบสวัสดิการรั กษาพยาบาลข้าราชการไหม แล้วส่งตัวแทนไป 2 คนท่ามกลางประชาชน 10 คน ผลออกมาอย่างไรก็เอาแบบนั้น อย่างนี้เอาไหม” นพ.สุธีร์ กล่าว
นพ.สุธีร์ กล่าวอีกว่า นอกจากขั้นตอนการกำหนดประเด็ นแก้ไขกฎหมาย สัดส่วนคณะกรรมการพิจารณาแก้ ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมแล้ว กระบวนการรับฟังความคิดเห็นก็ ไม่เป็นธรรม เพราะมีการเร่งรัดดำเนินการอย่ างรวดเร็วทั้งๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบั บนี้มีกว่า 40 ล้านคน ซึ่งการทำให้คนจำนวนมากเกิ ดความเข้าใจคงไม่เร็วขนาดนี้
“ดูตอนวันที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องใช้เวลากี่ปี กว่าจะออกมาเป็นกฎหมายได้ แต่เวลาแก้ใช้เวลาปุ๊ปปั๊ปแค่ 2 เดือน” นพ.สุธีร์ กล่าว และกล่าวว่า นอกจากนี้ บรรยากาศในกระบวนการรับฟั งความคิดเห็นก็ไม่เอื้อต่อการพู ดคุย ยกตัวอย่างเช่นตนไปร่วมเวทีรั บฟังความเห็นเมื่อวันที่ 18 มิ. ย.2560 ที่ผ่านมา บรรยากาศเหมือนอยู่ในสนามรบ มีตำรวจ มีหมวกแดง มีการสแกน มีการตรวจค้นกระเป๋าซั กถามตลอดเวลา เมื่อเดินเข้าไปแล้วเหมือนมี คนจับจ้องอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่ไปร่วมแสดงความคิ ดเห็นรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะพู ดหรือสื่อสารอย่างเปิดอก
“ผมเดินออกมาเจอรถกรงขังจอดอยู่ ข้างหน้า สีดำมืดเลย มันรู้สึกว่ าประชาชนมาแสดงความคิดเห็นถึ งขนาดต้องเอารถกรงขังมาจ่อแบบนี้ เลยเหรอ รัฐบาลทหารไม่จำเป็นต้องมาสร้ างบรรยากาศตรงนี้ มันสามารถเปิดพื้นที่ให้คนพูดคุ ยได้ หากทำได้มันก็จะเกิ ดความชอบธรรมในเชิ งกระบวนการไปในตัว” นพ.สุธีร์ กล่าว
นพ.สุธีร์ กล่าวว่า ขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดการไม่ยอมรั บและกลายเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายประชาชนและผู้ให้บริ การที่มาทะเลาะกัน มุมมองในการพูดคุยก็กลายเป็ นการต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน ไม่มีมุมมองจากคนกลางมาไกล่เกลี่ ย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เรื่องนี้กลายเป็ นชนวนลุกลามในอนาคต ตนเสนอว่าควรเริ่มนับหนึ่ งกระบวนการแก้ไขกฎหมายใหม่ โดยที่ต้องใช้ประเด็นปั ญหาของระบบหลักประกันสุขภาพเป็ นตัวตั้ง อย่าพึ่งไปเริ่มที่จำนวนหรือสั ดส่วนกรรมการแก้กฎหมาย
“ตอนนี้ยังไม่ต้องพูดถึ งรายละเอียดการแก้ กฎหมายเพราะเริ่มต้นมันก็ผิดแล้ ว ผมเลยไม่อยากไปวิเคราะห์องค์ ประกอบสัดส่วนกรรมการหรือเนื้ อหาอื่นๆ ตอนนี้มันอยู่ในขั้นตอนการสร้าง platform ถ้าเวทีมันดี เนื้อหามันก็เดินไปได้ แต่ถ้าพื้นที่มันไม่ดี ไม่ชอบธรรม ต่อให้ประเด็นดียังไง มันก็ไม่ยอมรับกัน แล้วคนเราถ้ามันข่มเหงข่มความรู้ สึกกันแล้วมันไม่จบหรอก ต้องเริ่มใหม่เอา issue มาตั้ งก่อน แล้วพูดคุยให้มันสะเด็ดน้ำ ขื นเดินหน้าไปแบบนี้มันอึดอัดกั นหมด เมื่อไหร่มันร้อนขึ้นมา คนลุกขึ้นมา ประเทศชาติมันไม่สงบสุข” นพ.สุธีร์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น