วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ช๊อคโลก เผยข้อมูล รัฐบาลอภิสิทธิ์ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้ว

ช็อค! "ดร.พิทยา" แฉ! 
"รัฐบาลอภิสิทธิ์ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้ว!"


           วันพุธ 18 กรกฏาคม 2555 เรียนท่านสื่อมวลชน ที่นับถือ เรื่อง ไทยเป็นรองประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 เพื่อรักษาผลประโยชน์และเกียรติภูมิของประเทศไทย โดย พิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก




              ตามที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุด ได้มีบันทึกลง facebook เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2555
เรื่อง “บันทึกยินยอมยกสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมมรดกโลกให้เขมรฝ่ายเดียว”โจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของผมในฐานะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 36 ที่นคร เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย นั้น ผมรู้สึกเสียดายที่ผู้อ่านได้รับทราบข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน

            แต่ที่น่าเศร้าที่สุดคือ คำกล่าวหาของนายชวนนท์ฯ ล้วนแต่มาจากข้อสมมุติฐานที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดเพื่อหวังผลทางการเมือง ผมจึงขอชี้แจงประเด็นที่นายชวนนท์ฯ ได้หยิบยกขึ้นมาโจมตีผมดังต่อไปนี้

            1. ต่อคำกล่าวหาว่าผมไปซูเอี๋ยกับกัมพูชาล่วงหน้านั้น ขอเรียนว่า คณะผู้แทนไทยมิได้ตั้งธงเพื่อซูเอี๋ยกับกัมพูชามาก่อนและก็มิได้แอบทำข้อตกลงอย่างใดกับคณะผู้แทนกัมพูชาในที่ประชุมฯ ผมกับหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชามิได้รู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน เมื่อเขาพบผมในที่ประชุม เขาไม่กล้าเดินเข้ามาทักทายผมเพราะไม่แน่ใจว่าไทยจะเป็นมิตรหรือไม่เนื่องจากเคยได้ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนแล้วในการประชุมในปีที่ผ่านมาตอน ปชป. เป็นรัฐบาล ผมจึงต้องให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลไทยในปัจจุบันมีนโยบายที่สร้างสรรค์กับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น เมื่อเราเจอกันในที่ประชุม ฯ เราก็คุยกันฉันท์เพื่อนบ้าน เพราะผมมิได้มาประชุมเพื่อสร้างศัตรูกับรัฐภาคีและสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และไม่ประสงค์จะเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งหรือบาดหมางระหว่างสองประเทศ หรือทำตัวให้เป็นปัญหาในที่ประชุมเหมือนสมัยรัฐบาลของ ปชป. ซึ่งจะทำให้ชาวโลกมองไทยไปในทางลบ 

           เมื่อฝ่ายกัมพูชามาทาบทามให้ไทยสนับสนุนกัมพูชาเป็นประธานในสมัยที่37 (ปี 2556) ในช่วงท้ายของการประชุมฯ ผมก็ได้ตอบไปว่าผมไม่อยู่ในฐานะที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้ได้ และเมื่อมีการเสนอให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพในการประชุมฯ สมัยที่ 37 คณะผู้แทนไทยก็มิได้กล่าวสนับสนุนกัมพูชาแต่อย่างใด แต่เนื่องจากไม่มีประเทศใดถูกเสนอให้เป็นประธานฯ แข่งกับกัมพูชา ญี่ปุ่นจึงได้เสนอให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพในการประชุมคณะกรรมการารดกโลก ครั้งที่ 37 เป็นให้ประธานที่ประชุมมีมติให้กัมพูชาเป็นประธานในคราวต่อไป ต่อมา มาเลเซียได้เสนอให้ไทยเป็นรองประธานและได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ ฉะนั้น ข้อกล่าวหาที่ว่าไทยกับกัมพูชาซูเอี๋ยกันจึงไม่เป็นความจริง เพราะญี่ปุ่นไม่ใช่ไทยเป็นฝ่ายเสนอให้กัมพูชาเป็นประธาน ในขณะที่มาเลเซียไม่ใช่กัมพูชาที่เสนอให้ไทยเป็นรองประธาน

            2. ต่อคำถามที่ว่าทำไมไทยถึงไม่ค้านการเป็นประธานของกัมพูชา คำตอบก็คือ ถ้าเราจะค้าน เราก็ควรจะต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นและเป็นที่ยอมรับของที่ประชุม มิฉะนั้นไทยจะถูกมองเป็นเด็กเกเรหรือนักเลงโตรังแกประเทศเล็กกว่า ซึ่งจะทำให้รัฐภาคีเห็นใจกัมพูชามากขึ้นในขณะที่มีอคติกับประเทศไทย เมื่อเป็นเช่นนั้น ไทยก็จะไม่มีมิตรประเทศเหลืออยู่เลย ซึ่งแตกต่างกับรัฐบาลชุดก่อนที่สร้างศัตรูไว้ทั่ว จึงเป็นภาระหนักสำหรับผมที่จะต้องแก้ไขภาพลักษณ์ที่ลบของไทยให้ดีขึ้นอนึ่ง ขอเรียนเพิ่มเติมด้วยว่า ในวันแรก ๆ ของการประชุม รู้สึกว่าเจ้าหน้าที่และสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกมิได้แสดงท่าทีเป็นมิตรกับไทย แต่เมื่อการประชุมดำเนินไปได้ไม่กี่วัน ภาพพจน์ของไทยได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีจากการใช้การทูตที่เปิดกว้าง สร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับทุกประเทศในขณะที่รักษาผลประโยชน์ของไทยและดำเนินการตามกรอบการเจรจาที่รัฐบาลได้วางไว้อย่างเคร่งครัด

        3. ต่อข้ออ้างของนายชวนนท์ฯ ว่าเป็นมติของ ครม. ชุดที่แล้วที่จะต้องให้ไทยสมัครเป็นเจ้าภาพแข่งขันกับกัมพูชานั้น 
  
         ขอเรียนว่า เมื่อปี 2554 คณะผู้แทนไทยในสมัยรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ได้ปฏิบัติตามมตินั้นไปแล้วแต่ไม่บังเกิดผล โดยที่ประชุมมีมติให้รัสเซียได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานสำหรับปี 2555 

          ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมของคณะผู้แทนในที่ประชุมฯ ได้ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกตำหนิไทยและมองไทยในทางลบอีกด้วย จึงเป็นเรื่องแปลกที่นายชวนนท์ฯ เอามติ ครม. ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วกลับไม่บังเกิดผลสำเร็จมาอ้างเพื่อให้คณะผู้แทนไทยในรัฐบาลปัจจุบันปฏิบัติตาม

       สำหรับการประชุมครั้งนี้ ผมได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดย ครม. เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ศกนี้ ได้กำหนดกรอบท่าทีของไทยใหม่ และไม่มีการเสนอตัวให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ทำให้ผมไม่มีอำนาจเสนอให้ไทยเป็นเจ้าภาพแข่งขันกับกัมพูชาได้ กอร์ปกับในการประชุมคณะทำงานเตรียมการท่าทีของไทยที่กรุงเทพฯ นั้น คณะทำงานฯ ได้มีความเห็นว่า ไทยไม่ควรเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยที่ 37 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 

         (ก) ไทยอยู่ในภาวะกำลังฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 จึงอาจจะไม่เป็นการเหมาะสมที่จะจัดกิจกรรมที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เช่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ 
         (ข) ขณะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาเป็นไปในทิศทางที่ดี ดังนั้น เพื่อคงความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีต่อกัน ไทยจึงไม่ควรเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการประชุมดังกล่าว 
         (ค) รัฐภาคีเจ้าภาพจะต้องเป็นประธานในการประชุม ทำให้ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่แสดงท่าทีเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากกัมพูชามีการดำเนินการใด ๆ จะขัดต่อมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามข้อ B4 ที่ระบุว่า "ให้ทั้งสองฝ่ายงดดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลฯ ทวีความรุนแรงหรือแก้ไขได้ยากขึ้น"

     ดังนั้น การที่นายชวนนท์ฯ อยากให้ไทยเสนอเป็นเจ้าภาพนั้น ในทางปฏิบัติทำไม่ได้เพราะผมไม่ได้รับ mandate จากรัฐบาล และการเป็นเจ้าภาพไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น 

      นอกจากนี้ หากไทยเสนอเป็นเจ้าภาพแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกและรัฐภาคึคงจะมองไทยเป็นตัวตลก เพราะคณะผู้แทนไทยในรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปีที่ผ่านมาได้ walkout จากที่ประชุมและประกาศจะถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก แต่ปีนี้ยังจะมีหน้ามาขอเป็นประธานในการประชุมครั้งต่อไป แล้าเราจะมองหน้าชาวโลกได้อย่างไร ไม่นึกถึงเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศไทยบ้างหรือ

          4. ต่อการกล่าวหาที่ว่าซูเอี๋ยกับกัมพูชาให้กัมพูชาเป็นประธานและไทยเป็นรองประธานนั้น ขอขี้แจ้งว่า กัมพูชาได้เป็นประธานเพราะไม่มีประเทศใดเสนอตัวแข่งกับกัมพูชา ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อมีแนวโน้มว่ากัมพูชาจะเป็นประธานครั้งต่อไปเพราะไม่มีประเทศใดเสนอแข่ง ผมก็ได้ประชุมหารือกับผู้แทนไทยจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไปร่วมประชุมด้วยและมีความเห็นพ้องกันว่าไทยควรจะรับเป็นรองประธานฯ หากมีการเสนอชื่อประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อกู้สถานการณ์ กู้ศักดิ์ศรีของประเทศไทยและเพื่อควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายกัมพูชาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทยด้วย 

           ทั้งนี้ ครม. ได้ให้อำนาจผมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยใช้ดุลพินิจในเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ในทางตรงข้าม หากเราปล่อยให้กัมพูชาเป็นประธานโดยไม่มีผู้แทนไทยเข้าไปร่วมในคณะผู้บริหารหรือ Bureau ของคณะกรรมการมรดกโลก ก็จะเป็นการปล่อยให้กัมพูชาทำอะไรได้ตามอำเภอใจโดยไม่มีใครคานอำนาการที่ไทยยอมรับเป็นรองประธานฯ ได้ทำให้สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกต่างชมเชยไทยที่มีใจกว้างซึ่งนำมาซึ่งบรรยกาศที่ดีในที่ประชุมและเกื้อกูลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอีกด้วย ต่างจากการประชุมในปีที่ผ่านมาซึ่งที่ประชุมมองว่าไทยตั้งป้อมเป็นศัตรูกับทุกประเทศ และทำในสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรมของการประชุมสากล

           5. อนึ่ง การที่ไทยเป็นรองประธานที่ประชุมมรดกโลกนั้น จะมีอำนาจหน้าที่และผลประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้ 
           (ก) การเป็นรองประธานจะได้อยู่ในคณะกรรมการบริหารมรดกโลกหรือ Bureau session ซึ่งประกอบด้วย ประธาน รองประธาน 5 คนจาก 5ภูมิภาค ผู้เสนอรายงานการประชุม ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ จะเป็นผู้ร่วมกำหนดวาระการประชุม หัวข้อการประชุม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37โดยจะมีการพิจารณาวาระที่จะนำเสนอในการประชุมดังกล่าวก่อนการประชุมทุกวัน ดังนั้น ประเทศไทย ในฐานะรองประธาน จะทราบความเคลื่อนไหว และสามารถแสดงความเห็นหรือคัดค้านวาระการประชุมตามที่คณะกรรมการบริหารฯ จะนำเสนอในแต่ละวันได้

           (ข) เป็นการแสดงบทบาท ความสามารถ และศักยภาพของไทยในระดับนานาชาติ 
           (ค) เป็นการแสดงถึงความร่วมมือกับนานาประเทศ ในการดำเนินการตามพันธกรณีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในเวทีโลก 
           (ง) ในการประชุมคณะกรรมมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 คาดว่าจะมีวาระที่เกี่ยวข้องกับไทย ซึ่งจะทำให้ไทยในฐานะรองประธานมียทบาทในการผลักดันเรื่องดังต่อไปนี้ คือ 

  • การขึ้นบัญฯชีเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  • การเสนอขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน 
  • และสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

         6. ต่อข้อเสนอของนายชวนนท์ฯ ที่ให้นายกยิ่งลักษณ์ฯ ไปถามสมเด็จฮุนเซนว่าไทยขอเป็นประธานร่วมกับกัมพูชาได้หรือไม่ ผมขอตอบว่า การเมืองระหว่างประเทศหรือการประชุมระดับสากลมิไช่งานสำหรับมือสมัครเล่นที่ไม่ยึดถือกติกาสากล การเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ในปีหน้าเป็นเรื่องที่คณะกรรมการมรดกโลกจะตัดสินในที่ประชุม ไม่ไช่เรื่องระหว่างผู้นำของสองประเทศที่จะมาตกลงกันเองหลังมติที่ประชุมฯ  

          อีกประการหนึ่ง การประชุมมรดกโลกมิไช่การจัดการแข่งขันฟุตบอล world cup ที่สามารถจัดร่วมกันได้ แต่การจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกร่วมกันนั้น ไม่เคยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาก่อน การที่ออกมาพูดอย่างง่าย ๆ ว่า นายกไทยสามารถเดินทางไปขอนายกกัมพูชาให้จัดประชุมร่วมกันนั้น จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของสากลก็ได้ ผู้ที่เสนอให้จัดประชุมคณะกรรมการมรดกโลกร่วมกันคงชินต่อการปฏิบัตินอกกติกาในประเทศของตนเอง

         7. ต่อข้ออ้างของนายชวนนท์ ฯ ว่า หากกัมพูชาเป็นประธานฯ กัมพูชาจะสามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและยื่นแผนบริหารจัดการพื้นที่ฯ ได้ง่าย นั้น ผมรู้สึกผิดหวังที่นายชวนนท์ฯ ใช้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอย่างสมบูรณ์ไปแล้วเมื่อสมัยรัฐบาลก่อน สำหรับแผนบริหารจัดการนั้น หากเป็นพื้นที่ทับซ้อนซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิและมีการเจรจากันอยู่ คณะกรรมการมรดกโลกจะไม่พิจารณาจนกว่าคู่กรณีจะตกลงกันได้ก่อน

          8. ต่อการกล่าวหาว่าการที่ไทยเป็นรองประธาน ฯ เป็นการกระทบต่ออธิปไตยของไทยและมีผลต่อกรณีปราสาทพระวิหารนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม 

           โดยปกติแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกจะไม่พิจารณาเรื่องที่เป็นปัญหาชายแดนระหว่างสองประเทศ นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นคู่กรณีจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะทำให้สถานการณ์ตามแนวชายแดนเลวร้ายลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ศาลโลกยังไม่มีข้อวินิจฉัยว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นของใคร 

           ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น ไม่ไช่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกนั้น จะมีผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กรมศิลปากร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้าร่วมด้วย และมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับท่าทีของไทยในที่ประชุมฯ โดยยึดมติของ ครม. เป็นหลัก การที่จะเอาเรื่องมรดกโลกมาโยงกับเรื่องอธิปไตยของไทยหรือการเสียดินแดนหรือการถอนทหารออกจากพื้นที่ปลอดทหารตามแนวชายแดนนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน

เขียนโดย นายพิทยา พุกกะมาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น