วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

กล้าอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องหนาด้านด้วย

 วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ แขวะ รายงาน คณิตและคณะกล้ามาก
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ แขวะ รายงาน คณิตและคณะกล้ามาก

           วันที่ (18 กันยายน 2555) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 22.20 น. นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุก ส่วน โดยมีเนื้อหาวิจารณ์อย่างชื่นชมเกี่ยวกับ รายงานข้อมูล คณะกรรมการตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยนายสมชาย หอมลออ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรง เดือน  เมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นผู้แถลงเมื่อวานนี้

           วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ได้กล่าวว่า  รายงาน คอป. เท่าที่ผมอ่านเร็วๆ ก็พูดถึง "ตุลาการ" ไว้พอสมควร ต้องขอชมว่า อ.คณิต และคณะกล้านะครับ สิ่งเหล่านี้ไม่แน่ใจว่า ครูบาอาจารย์ที่สอนกฎหมายกันอยู่ทุกวันนี้ พูดกันมากพอหรือยัง  ในรายงานหน้า 54-55 คอป. ลำดับความเป็นมาของความขัดแย้ง และติติง "ตุลาการ" อย่างชัดๆ โดยเจาะไปที่คดีซุกหุ้น 1 สมัยคุณทักษิณเป็นนายก

            คอป. กล่าวว่า "อำนาจตุลาการซึ่งควรต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ และยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ละเมิดหลักนิติธรรมเสียเอง กรณีจึงกลายเป็นปัญหารากเหง้าและปมปัญหาของความขัดแย้ง ในระยะต่อมา..."

           ภาษาที่ คอป. ใช้ ค่อนข้างแรงนะครับ ในหน้า 55 คอป. ติงว่าการตัดสินคดีซุกหุ้นเป็น "การปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้" และเป็น "ความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญ" และ "เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทาให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย"(ข้อติติงเหล่านี้ คอป. เจาะไปที่ คดีซุกหุ้นคุณทักษิณ ไม่ได้พูดถึงคดีอื่น)

              จากนั้น ข้อวิจารณ์ "ตุลาการ" มาโผล่อีกทีในรายงาน หน้า 201 โดย คอป. ชี้ (แบบอ้อมๆ) ว่า "ตุลาการ" ก็คือ ส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย

              คอป. กล่าวว่า "รากเหง้าของปัญหาด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยกระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหาที่เกิดจากความคับข้องใจ เมื่อระบบการเมืองมีปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุด รวมทั้งมีการรัฐประหารหลายครั้ง ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ยอมรับคำสั่งของคณะปฏิวัติในฐานะผู้ทรงอำนาจรัฐว่าถูกต้อง

             และบางฝ่ายไม่ยอมรับกติกาสังคมที่มีอยู่ในการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงลุกลามบานปลายและเกิดความรุนแรงขึ้น ท้ายที่สุดจึงนำไปสู่กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ซึ่งทำให้เป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในเวลาต่อมา" (แต่ คอป. ไม่ได้เจาะลงไปที่ คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารแต่อย่างใด)

            จากนั้น ในรายงานหน้า 210 คอป. ก็เน้นถึงปัญหา "คดีซุกหุ้น" ในฐานะปัจจัยความขัดแย้งอีกครั้ง  และในรายงานหน้า 212 คอป. ก็ได้กล่าวถึงกรณีที่ "มีผู้วิจารณ์" "ตุลาการภิวัฒน์" (โดย คอป. เลือกใช้ภาษาที่ไม่ผูกมัดตนเอง ไม่ได้ลงไปวิจารณ์ตุลาการตรงๆ เหมือนในรายงานหน้า 54-55)

            โดย คอป. กล่าวว่า "ฝ่ายตุลาการจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ไม่ยอมรับกลไกของกระบวนการยุติธรรม และนำไปสู่การโจมตีบทบาทดังกล่าว ทำให้สังคมมีสภาพที่เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลางในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้"

            โดย ในรายงานหน้า 212 (เชิงอรรถที่ 421) คอป. ได้ ยกตัวอย่าง "ตุลาการภิวัฒน์" (ส่วนตัวผมไม่ชอบใช้คำนี้เลย เพราะฟังแล้วดูมีความหมายดี) ได้แก่

            - คดียุบพรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรคเป็นเวลา 5 ปีตามประกาศ คปค.

            - ศาลรัฐธรรมนูญมีคาวินิจฉัยที่ 12-13/2551 ในกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยงหกโมงเช้า โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267

            - ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีการทุจริตการเลือกตั้ง ตัดสินยุบพรรคการเมือง 3 พรรค คือพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย จึงทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตาแหน่งไปโดยปริยาย(แต่ คอป. ไม่ได้เจาะลงไปที่ คดีต่างๆ เหล่านี้)

            ในรายงานหน้า 212 - 213 (เชิงอรรถที่ 422) คอป. กล่าวถึงกรณที่ "ตุลาการ" มีบทบาทในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จนถูกมองว่าเป็นการใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

            โดย คอป. กล่าวว่า "การแก้ไขกระบวนการสรรหาโดยให้องค์กรตุลาการมีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับการตัดสินคดีหลายคดีของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ทำให้องค์กรตุลาการถูกมองว่ามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง อันทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องตุลาการภิวัฒน์มากยิ่งขึ้น"

             จากนั้น ในรายงานหน้า 247 คอป. ก็มีข้อเสนอแนะถึง "ตุลาการ" อย่างกว้างๆ แต่ก็เน้นชัดๆ  "คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสาคัญกับการกาหนดบทบาทที่เหมาะสมตามแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม โดยเฉพาะอำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยข้อพิพาทและข้อขัดแย้งต้องพึงระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้อานาจที่เหมาะสมภายในกรอบกฎหมายและหลักนิติธรรม เพื่อให้การใช้อานาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นไปอย่างมีดุลยภาพ" (เห็นได้ว่า ย่อหน้านี้ คอป. เน้นถึงอำนาจตุลาการ "โดยเฉพาะ" เลยนะครับ)

ความเห็นของผม จากการอ่านเร็วๆ :


            1. ผมเสียดาย ที่ คอป. ดูนะเน้นถึงปัญหาของ "ตุลาการ" แบบเจาะลึก เฉพาะกรณีคดีซุกหุ้นคุณทักษิณ ในรายงานหน้า 54-55 แต่กลับไม่เจาะไปถึงคดีอื่นๆ ที่ตามมาหลังจากการรัฐประหาร ซึ่งตุลาการได้ทำลายกฎหมาย ทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมร้ายแรงไม่น้อยไปกว่าคดีซุกหุ้นเลย

             ที่ผมกล่าวเช่นนี้ เพราะเราต้องวิจารณ์ ตุลาการ ในฐานะ สถาบัน หลักในทางประชาธิปไตย การที่ตุลาการในศาลหนึ่งตัดสินคดีอย่างไร้คุณภาพ ก็ย่อมสะท้อนถึงความไร้คุณภาพของสถาบันตุลาการการขัดเกลา เรียนรู้ พัฒนา และคัดเลือกสรรหาของตุลาการด้วยกันเองด้วย

            2. ผมคิดว่า ภาษาที่ คอป. ใช้ ใน รายงาน หน้า 201 คอป. ชี้ (แบบอ้อมๆ) ว่า "ตุลาการ" ก็คือ ส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ถือว่ากล้าหาญนะครับ แต่พอมาอ่าน รายงานหน้า 212 เหมือน คอป. สงสารหรือเกรงใจ ตุลาการ โดยบอกว่าตุลาการถูก "โจมตีบทบาท...ทำให้สังคมมีสภาพที่เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลางในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้"

             คือ ถ้าจะพูดให้ถึงที่สุด คอป. น่าจะเชื่อมตรรกะของรายงานหน้า 201 กับ 212 เข้ากันมากกว่านี้ คือ ถ้าคอป. ยอมรับแบบอ้อมๆว่า ตุลาการ เป็นส่วนหนึ่งใน "รากเหง้า" ความขัดแย้งแล้วไซร้ ก็ย่อมเป็นตัว "ตุลาการ" นั้นแล ที่ทำให้ "สังคมมีสภาพ...ขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลาง" (ไม่ใช่แค่ "เสมือนหนึ่ง")

            3. เมื่อมองกับข้อเสนอใน รายงาน หน้า 247 ที่เน้นถึง "ตุลาการ" "โดยเฉพาะ" แล้ว อาจสรุปได้ว่า แม้ คอป. อาจเกรงใจ "ตุลาการ" มากอยู่ แต่ "การปรองดองในชาติ" จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หาก "ตุลาการ" ไม่คิดจะปรับตัวเข้าหา "ประชาชน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น