|
ชำแหละบลูสกาย ชาแนล ทีวีแมลงสาบ
ถือเป็นการดูถูกสติปัญญาของคนไทยอย่างร้ายกาจทีเดียว
สำหรับการที่ทั้ง “พรรคประชาธิปัตย์” และ “สถานีโทรทัศน์บลูสกาย ชาแนล”
ปฏิเสธเสียงแข็งว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ทั้งๆ
ที่ปรากฏหลักฐานทนโท่ว่า
สถานีโทรทัศน์ช่องนี้มีพรรคแมลงสาบยืนทะมึนอยู่เบื้องหลัง เพราะพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ เจ้าของสถานีก็ล้วนแล้วแต่โยงใยและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคแมลงสาบทั้งสิ้น
ยิ่งเมื่อ นายวิทเยนทร์ มุตตามระ อดีตเลขานุการของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้จัดการบลูสกายแชนเนล
ออกมาชี้แจงข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Vittayen Muttamara”
แจงที่มาของเงินที่ใช้ในการดำเนินการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Blue Sky
Channel ว่า
“รายได้ของบลูสกายทุกบาททุกสตางค์นั้นมาจากน้ำพักน้ำแรงและมันสมองของทีมงา
นบลูสกายทุกคน เป็นรายได้ที่แลกมาด้วยการทำงานอย่างหนัก”
ก็ยิ่งน่าหัวร่อเข้าไปใหญ่
เพราะรายได้ทั้งหลายที่นายวิทเยนทร์แจงสี่เบี้ยว่า มาจาก 5 กลุ่ม ได้แก่
- 1. รายได้จากการขายโฆษณา ประมาณร้อยละ 60 ของรายได้รวม
- 2.
รายได้จากการรับสมัครสมาชิกข่าวทางข้อความสั้น SMS ประมาณร้อยละ 10
- 3.
รายได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ กับผู้ชม เช่น การจัดบลูสกายทัวร์เดือนละ 1-2
ครั้ง เป็นต้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 15
- 4. รายได้จากการขายสินค้าผ่านระบบ
Blue Sky Direct เช่น ข้าวสาร กาแฟ ผงซักฟอก จานดาวเทียม ฯลฯ
คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของรายได้รวม
- 5.. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5
เป็นรายได้อื่นๆ เช่น รายได้จาก SMS ที่ผู้ชมส่งความเห็นมาขึ้นหน้าจอ
เป็นเพียงข้อมูลที่ใครๆ ก็ยกเมฆขึ้นมากล่าวอ้างได้ มิได้มีตัวเลขทางบัญชี
หรือมีการนำข้อมูลอย่างที่ควรจะเป็น เช่น
รายได้ที่ว่านั้นคิดเป็นเม็ดเง็นประมาณเท่าไหร่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รายได้จากการขายโฆษณา ซึ่งนายวิทเยนทร์ฟุ้งว่ามีประมาณร้อยละ 60
ของรายได้รวม มีบริษัทห้างร้าน เอกชนหรือหน่วยงานราชการใด
เป็นผู้ให้การสนับสนุนบ้าง
แต่ที่น่ารังเกียจเสียยิ่งกว่าก็คือ
การที่สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ประกาศตัวเป็นสื่อสาธารณะ ทั้งๆ
ที่เป็นที่ชัดเจนทั้งรูปแบบรายการ พิธีกรรายการว่า
มีเป้าประสงค์เพื่อปกป้องพรรคประชาธิปัตย์และตอบโต้คู่แข่งทางการเมืองของ
พรรคๆ นี้เป็นสำคัญ
สถานีโทรทัศน์ที่มีความเป็นกลางที่ไหน ที่ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะมีรายการประจำเป็นของตนเองในชื่อ “ฟ้าวันใหม่”
ซึ่งออกอากาศเป็นประจำเวลาประมาณ 08.00-09.00 น. ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ แถมยังโผล่หน้ามาออกความเห็นบ่อยๆ ราวกับเป็นยาสามัญประจำสถานี ประมาณว่า คิดอะไรไม่ออกก็ต่อสายขอความคิดเห็นจากนายอภิสิทธิ์
“ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ หลังเคารพธงชาติ 8 นาฬิกา
พบกับผมในรายการฟ้าวันใหม่ หลังจากวันที่ 14
พฤศจิกายนเป็นต้นไปทางบลูสกายชาแนลครับ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวในคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์รายการ
แต่นายอภิสิทธิ์ก็ยังกล้าพูดอย่างไม่อายปากได้อย่างหน้าตาเฉยในที่สถานี
โทรทัศน์แห่งนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการว่า
“สถานีบลูสกายไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์และผมเป็นเพียงแขกรับเชิญ
ในการเข้าร่วมรายการเป็นประจำเท่านั้น”
ถ้าประชาชนคนไทยไร้สติปัญญาอย่างที่นายอภิสิทธิ์ปรารถนาจริง
จะมีสถานีโทรทัศน์ที่มีความเป็นกลางที่ไหนที่สมาชิกและ
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จะมีรายการเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะ 3 เกลอหัวขวดแห่ง
“รายการสายล่อฟ้า” นายเทพไท เสนพงศ์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
และนายศิริโชค โสภา ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์
ระหว่างเวลา 19.00-20.00 น. แถมยังมีการ Rerun
หรือออกอากาศซ้ำให้ชมตลอดทั้งวัน ถามว่า นายชวนนท์คือใคร นายชวนนท์คือ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) ถามว่า นายเทพไทคือใคร
นายเทพไทคือ อดีตโฆษกประจำตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ถามว่า นายศิริโชคคือใคร
นายศิริโชคคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา
และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในฉายา วอลล์เปเปอร์
จากการที่มักปรากฏตัวพร้อมกับนายอภิสิทธิ์ราวกับเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้ ยังปรากฏชื่อผู้จัดรายการอีกหลายต่อหลายคนที่ชัดเจนว่าเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น
นายกษิต ภิรมย์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นผู้ดำเนินการ “ข้ามขอบฟ้า”
ตามต่อด้วย นายถนอม อ่อนเกตุพล อดีตโฆษก กทม. และอดีตผู้สมัคร
ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กับรายการ “อาสาฯประชาชน” หรือ “ม.ร.ว.สุขุมพันธ์
บริพัตร” กับรายการ “สุขุมพันธ์ซันเดย์” ไม่นับรวมถึงพิธีกรและนักเล่าข่าวอีก 2
คนที่ชัดเจนว่ามีสายสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นนายเจิมศักดิ์
ปิ่นทอง ผู้ดำเนินรายการถอนพิษ ที่ออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา
21.00-22.00 น. และนางสาวอัญชะลี ไพรีรัก ผู้ดำเนินรายการร้อยข่าวยามเย็น
ซึ่งทั้ง 2 คนนั้นเคยเป็นผู้ดำเนินรายการในสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี
แต่หลังจากที่เอเอสทีวีเปิดฉากวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ในหลากหลาย
กรณี ทั้ง 2 คนก็ได้ถอนตัวไปและเข้าร่วมงานกับบลูสกาย ชาแนล
โดยเฉพาะ “อีปอง” นั้น เป็นที่ชัดเจนว่า เธอคือสายตรง “เสี่ยไก่”
จุติ ไกรฤกษ์ ” แถมเมื่อครั้งที่นายวัฒนา อัศวเหมเดินทางไปประเทศจีน
สื่อสารพัดต่างลงข่าวกันอย่างคึกโครมเนื่องเพราะนายวัฒนาคือ
นักโทษหนีคดีทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านอันอื้อฉาว
และถูกพิพากษาจำคุก 10 ปี
เจ๊ปองที่จัดรายการร้อยข่าวยามเย็นก็ไม่เคยเอ่ยถึง ใช่เป็นเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวที่อีปองมีกับนายวัฒนาใช่หรือไม่ แล้วอย่างนี้ บลูสกายฯ จะประกาศตัวว่าเป็นสื่อสาธารณะได้อย่างไร
ขณะที่นายเจิมศักดิ์เอง แม้เอเอสทีวีจะให้จัดรายการฟรี
แต่เมื่อเอเอสทีวีเริ่มตรวจสอบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
นายเจิมศักดิ์ก็ถอนตัวและในที่สุดก็ไม่ร่วมงานกับบลูสกายฯ
ซึ่งนั่นเป็นเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มีต่อพรรคๆ นี้อย่างแนบแน่น
กระนั้นก็ดี การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับว่าบลูสกาย
ชาแนลเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อใช้ปลุกระดมมวลชนของพรรค
ถ้าจะว่าไปแล้วก็เลวชาติไม่ต่างจาก “ASTV” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมและสันดานทางการเมืองที่จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิต
ประเภทเดียวกันคือ “ทำแต่ไม่กล้ารับ” นับตั้งแต่บลูสกายก่อตั้งมาก็ไม่เคยปรากฏเลยว่า
สื่อเทียมช่องนี้เคยวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
หรือตรวจสอบการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์เลยแม้แต่น้อย
“ทีวีที่เป็นของพรรคการเมืองโดยตรง ทีวีสีเหลือง
ก็ต้องบอกให้ชัดว่าเป็นของพรรคไหน ที่ชัดมากๆ แต่ไม่บอกคือทีวีของพวกสีฟ้า
ประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมือง แต่ไม่บอกว่าบลูสกายเป็นของประชาธิปัตย์
แต่คนประชาธิปัตย์ก็จัดรายการอยู่ในนั้น ก็บอกมาเลยว่าอยู่ข้างไหน
บอกให้ชัดมาเลย”ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
ปรจารย์แห่งวงการสื่อสารมวลชนของไทยวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ต่อการทำ
ตัวเป็น “สื่อเทียม” ในร่างของสื่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา แต่
นี่คือพรรคแมลงสาบ
พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของราชอาณาจักรไทย
ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็ไม่น่าแปลกใจอะไร
เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพรรคการเมืองพรรคนี้ก็ไม่เคยมีความกล้าพอที่จะ
แอ่นอกรับความจริง หากถนัดแต่การหลบซ่อนอยู่ตามท่อระบายน้ำ กองขยะและ
สถานที่สกปรกโสมม รอจังหวะเพลี่ยงพล้ำของศัตรูทางการเมืองเพื่อเถลิงอำนาจ
การปกครองประเทศ ทั้งนี้
ถ้าหากตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังถึงจุดกำเนิดของบลูสกาย ชาแนล
ก็มีความชัดเจนว่า
พรรคประชาธิปัตย์ต้องการใช้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้เป็นเครื่องมือเพื่อหวังผล
ในทางการเมืองหลังกลับมาเป็นฝ่ายค้านเป็นสำคัญ
มิได้มีเป้าประสงค์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนแต่ประการใด หลักฐานที่ชัดเจนก็คือ คำให้สัมภาษณ์ของ “นายสุเทพ
เทือกสุบรรณ”
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและเลขาธิการพรรคประชา
ธิปัตย์ที่ประกาศนโยบายสำคัญออกมาสู่สายตาของสาธารณชน นั่นก็คือ
การเตรียมดำเนินการจัดตั้ง “ทีวีสีฟ้า”
ผ่านการขับเคลื่อนของมูลนิธิรักประชาธิปัตย์ นาย
สุเทพอ้างและให้เหตุผลในการขับเคลื่อนทีวีสีฟ้าว่า
"เนื่องจากการเมืองช่วงที่ผ่านมา ฝ่ายเสื้อแดงมีทีวีของเสื้อแดง
ฝ่ายเสื้อเหลืองมีเอเอสทีวี ทำให้นายอภิสิทธิ์ ถูกโจมตีหนักอยู่ฝ่ายเดียว
โดยที่พวกผมไม่มีโอกาสได้ชี้แจง" ชัดเจนจนไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ เพราะหลังจากนั้น ไม่นานนัก ทีวีสีฟ้าก็ถือกำเนิดขึ้นมาในชื่อของ “บลูสกาย ชาแนล” เพียงแต่ พรรค
ประชาธิปัตย์และนายสุเทพฉลาดในการเลี่ยงกฎหมายด้วยการกันพรรคมิให้มีส่วน
เกี่ยวข้องกับทีวีช่องนี้
โดยจากเดิมที่เคยประกาศไว้ว่าจะมีมูลนิธิรักประชาธิปัตย์เป็นตัวขับเคลื่อน
ก็เปลี่ยนเป็นการดำเนินงานในรูปของบริษัทเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิด
กฎหมาย บริษัท
บลูสกาย แชนแนล จำกัด ซึ่งทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท
ในวันที่จดทะเบียนมีกรรมการ 4 คน คนแรกคือ นายวิทเยนทร์ มุตตามระ
ซึ่งไม่เคยประกอบวิชาชีพสื่อมาก่อน แต่เพิ่งมาทำโทรทัศน์ในปี 2554
หลังจากเคยเป็นผู้สมัคร ส.ส.บางเขน พรรคประชาธิปัตย์
และเลขานุการของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ส่วนกรรมการคนที่ 2 คือ นายเถกิง สมทรัพย์
ซึ่งเป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์มายาวนาน
เคยเป็นทีมงานรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”
และปัจจุบันเป็น ผอ.ช่องบลูสกาย ขณะที่กรรมการคนที่ 3
คือ นายบุรฤทธิ์ ศิริวิชัย อดีตยุวประชาธิปัตย์ หน้าห้องของ “กรณ์
จาติกวนิช” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง “และกรรมการคนสุดท้าย คือ
นายภูษิต ถ้ำจันทร์ หนึ่งทีมงานรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์
เช่นเดียวกับนายเถกิง และนายวิทเยนทร์
นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นของบลูสกายแชนแนลนั้น มีบริษัท เทเลคาสท์ มีเดีย
จำกัด มาร่วมถือหุ้นด้วยตั้งแต่ต้น โดยถือหุ้นใหญ่ โดย บริษัท เทเลคาสท์
มีเดีย จำกัด นั้น จดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 ด้วยทุนจดทะเบียน
30 ล้านบาท โดยมีนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ทั้งนี้ นายทวีศักดิ์นั้นเป็นนักกฎหมายที่มีความใกล้ชิดกับนายสุเทพ
เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
โดยนายทวีศักดิ์จะเป็นผู้ดูแลด้านกฎหมายให้นายสุเทพ นอกจากนี้
นายทวีศักดิ์ยังไปร่วมแถลงข่าวกับนายแทน เทือกสุบรรณ ลูกชายนายสุเทพ
กรณีรุกที่เขาแพงที่เกาะสมุย ในฐานะที่ปรึกษาทางกฎหมายของนายแทนด้วย ที่
น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บริษัท เทเลคาสท์ มีเดีย จำกัดนั้น
นอกจากควักเงินมาลงทุนในบลูสกายแชนแนล 3 ล้านบาทแล้ว
บริษัทแห่งนี้ยังลงทุนในสำนักข่าวทีนิวส์ จำกัด ผู้ผลิตข่าวช่องทีนิวส์ อีก
11 ล้านบาท นอกจากนั้น
ในวันเปิดตัวสถานีโทรทัศน์บลูสกาย ชาแนล เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 25554
ที่อาคารบางกอกทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี ปรากฏว่า
บรรยากาศงานเปิดตัวมีนักการเมืองทยอยเดินทางมาแสดงความยินดีกันอย่างคับคั่ง
โดยส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรค ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. นายชวน หลีกภัย
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค โดยมีนายวิทเยนตร์ มุตตามาระ อดีต
ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการสถานี คอยให้การต้อนรับ
และตอกย้ำกับคำให้สัมภาษณ์ของ “เถกิง สมทรัพย์” 1 ใน 4 กรรมการบริษัท
เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเอาไว้ว่า
“เราเกิดท่ามกลางความต้องการ หลังเลือกตั้งสีฟ้าว้าเหว่ ต้องการกำลังใจ
มันรู้สึกเคว้งๆ พอมีบลูสกาย แชนแนล (Bluesky
Channel) มันมีศูนย์รวมใจ ในทางมาร์เก็ตติ้ง
ถือเป็นจุดสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก พอดึงเบอร์หนึ่งของสีฟ้า อย่างคุณอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ มาได้ ก็ยิ่งชัดว่านี่คือทีวีของแฟนสีฟ้าจริงๆ”
ถึงตรงนี้ คงต้องบอกว่า ถ้าพรรคแมลงสาบมีความกล้าพอ
ไม่ต้องถึงขนาดบอกว่า
เป็นเจ้าของเงินทุกบาททุกสตางค์ที่สนับสนุนสถานีโทรทัศน์บลูสกาย ชาแนล
เพราะเข้าใจดีว่า จะมีผลต่อการทำผิดตามกฎหมายพรรคการเมือง
ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงขั้นยุบพรรค
และพรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามกันตัวเองให้พ้นความผิดอย่างรัดกุม
ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 48
ระบุว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือ
พิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้
ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน
หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหาร
กิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการ
ดังกล่าว
แต่สถานีโทรทัศน์สถานีนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประกาศจุดยืนหรือ
สำแดงตัวตนออกมาให้ชัดเจนว่า เป็นช่องโทรทัศน์ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ อย่าทำตัวเป็นทีวีแมลงสาบที่มุดวิ่งอยู่ตามท่อระบายน้ำ กองขยะหรือ สถานที่สกปรกโสมมอีกต่อไป
เพราะถ้าบลูสกายฯ กล่าวหาว่า วอยซ์ทีวี หรือเอเชีย
อัพเพทคือสื่อของคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย บลูสกายฯ
ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน
เพราะเนื้อหาสาระก็คือการปกป้องพรรคประชาธิปัตย์และให้ร้ายทักษิณ
กระนั้นก็ดี เมื่อตรวจสอบพฤติกรรมของพิธีกร
ตลอดรวมถึงผู้ดำเนินรายการของบลูสกายฯ ก็จะพบว่า
สวนทางกับสิ่งที่พวกเขาประกาศตัวตนออกมาอย่างน่ารังเกียจ
เฉกเช่นเดียวกับตัวหน้าหน้าพรรคประชาธิปัตย์เจ้าของฉายาดีแต่โม้
ซึ่งไล่บี้ให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถอดยศ ทักษิณ
แต่ในยุคสมัยที่ตนเองมีอำนาจกลับมิได้ดำเนินการใดๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรม
หรือการที่นายอภิสิทธิ์ออกหนังสือ “ความจริงไม่มีสี”
พร้อมทั้งเดินสายปลุกระดมมวลชนตามเวทีต่างๆ เพื่อยืนยันถึงการมีตัวตนของ
“ชายชุดดำ”
แต่ในขณะที่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีกลับไม่ดำเนินการเรื่องนี้
ดังนั้น คงไม่เกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า
สถานีโทรทัศน์ช่องนี้กำลังฉวยโอกาสจากความไม่รู้ของประชาชนบางพวกบางกลุ่ม
บิดเบือนข้อมูลว่า
เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะและมีความเป็นกลางทางการเมืองในการนำเสนอข่าวสาร
ต่างๆ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงบลูสกายฯ มิใช่โทรทัศน์สาธารณะ
หากแต่คือเครื่องมือทางการเมืองที่จัดขึ้นโดยพรรคประชาธิปัตย์
และทำเพื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นสำคัญ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ทำตัวเป็นอีแอบในเรื่องดังกล่าว
ก็ไม่อาจเป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยได้อีกต่อไป
เพราะพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนทั้งในช่วงที่เป็นรัฐบาลและเป็นฝ่ายค้านว่า
พรรคประชาธิปัตย์ก็มิได้ต่างอะไรจาก ไอ้หัวเขียง ศรีเมือง ไอ้ยะไส หรือไอ้เจ๊กลิ้ม แห่ง ASTV คือ เหี้ยยกเล้า |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น