วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์คุยกับทูตสหรัฐฯ 2

บทความแปล: วิกิลีกค์ฉบับเต็ม: 
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองของประเทศไทยกับทูตสหรัฐฯ

อ้างอิง: SUBJECT: LEADING DEMOCRAT LEGISLATOR COMMENTS ON THAI POLITICAL STABILITY



[IMG]


หัวข้อ: สส แนวหน้าจากพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย

บทสรุป:

1. (ลับ) ผู้แทนราษฎรแนวหน้าจากพรรคประชาธิปัตย์ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร กล่าวกับเราเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม (พ.ศ. 2551) ว่า การคาดคะเนจากสื่อมวลชนในปัจจุบันถึงความเป็นไปได้ในการก่อการรัฐประหารที่ ถูกปลุกกระแสการประโคมข่าวลือขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรอาจจะเตรียมดำเนินแผนการยึดอำนาจเพื่อจะล้มล้างกับผลกระทบของการก่อ การรัฐประหารของปี พ.ศ. 2549 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำการประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ถึงเรื่องนี้ว่า มันเป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง” (far-fetched) แต่กล่าวว่า ทางฝ่ายกองทัพสามารถเข้ามาแทรกแทรงเท่าที่จะเป็นไปได้ถ้า การแสดงให้เห็นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับเปลี่ยนแปลงกลายเป็น เรื่องที่รุนแรงไป ฝ่ายเรา (สหรัฐอเมริกา) แสดงเจตน์จำนงค์อย่างแรงกล้าในการต่อต้านการก่อการรัฐประหารและยังคงแสดงจุด ยืนอย่างต่อเนื่องกับบุคคลอื่นๆ ที่เราทำการติดต่อด้วยในอนาคตข้างหน้านี้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง อดีตนายกฯ ทักษิณ กับ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชนั้น เป็นไปอย่างไม่ค่อยจะดีนัก เขายังกล่าวให้ทราบถึงผู้แสดงบทบาททางการเมื่องท่านอื่นๆ เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ในขณะที่ยอมรับว่า พรรคการเมืองของตนเองนั้น ไร้ประสิทธิภาพเป็นส่วนใหญ่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า ถ้าเกิดมีการเลือกตั้งใหม่ในเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ พรรคพลังประชาชน (พปช หรือ People’s Power Party – PPP) จะได้รับชัยชนะและมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ยังกล่าวถึงเรื่อง รัฐบาลเงาของพรรคประชาธิปัตย์, สินทรัพย์ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 และรวมไปถึงการมองในแง่ร้ายเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อประเทศพม่า - จบบทสรุป

การก่อการรัฐประหารโดยฝ่ายฝักใฝ่กับนายกฯ ทักษิณ เป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง”....:

2. (ลับ) ผู้ช่วยที่ปรึกษาทางการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา (Deputy Political Counselor) ได้ทำการพูดคุยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม (พ.ศ. 2551) จากการอ้างถึงการคาดคะเนจากสื่อมวลชนว่ามีโอกาสที่การก่อการรัฐประหารจะเกิด ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เราถามกับ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ว่า เขาได้ยินถึงความกังวลใจอย่างเฉพาะตัวเกี่ยวกับความเป็นไปได้หรือไม่ที่ทาง ฝ่ายกองทัพจะเคลื่อนตัวเข้ามายึดอำนาจ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์กล่าวว่า เมื่อนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวชได้กล่าวเรื่องนี้ให้ทราบทางสาธารณะเมื่อเดือนมีนาคมว่า การก่อการรัฐประหารสามารถเกิดขึ้นได้กับรัฐบาลของเขา ทางฝ่ายบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองต่างคาดการณ์ว่า การก่อการรัฐประหารนั้นจะดำเนินการวางแผนโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตามสถานการณ์ที่โจษจันกันอยู่ อดีตนายกฯ ทักษิณจะเป็นผู้วางแผนการทั้งหมดเพื่อลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่กลุ่มก่อการ รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้กระทำมา และรวมไปถึงการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กลับเข้ามาใช้, กลับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญต่อการยุบพรรคไทยรักไทย (ทรท) และยุติคดีความต่างๆ ที่ยังค้างอยู่ในศาลเกี่ยวกับ อดีตนายกฯ ทักษิณ และครอบครัวของเขา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า ในเวลานี้ อดีตนายกฯทักษิณมีความกระวนกระวายใจกับนายกฯ สมัครและมีความโกรธแค้นกับการบริหารงานของนายกฯ สมัครที่ไม่ยอมทำการเพิกถอนคดีความต่างๆ ที่มีต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ได้กล่าวว่า ตัวเขาคำนึงถึงสถานภาพที่ว่า อดีตนายกฯ ทักษิณจะเป็นผู้วางแผนก่อการรัฐประหารนั้น มันเป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง” เรากล่าวว่า เราหวังว่าจะไม่เห็นการ ก่อการรัฐประหารเกิดขึ้นและได้อธิบายให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ออกมาในแง่ลบอย่าง เลวร้ายมากๆ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย ในเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทางฝ่ายกองทัพตัดสินใจทำการยึดอำนาจ

....... แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถคาดการณ์ได้ทั้งสิ้นในเรื่องของความรุนแรงบนท้องถนน:

3. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ดูเหมือนว่าทางฝ่ายกองทัพได้เรียนรู้จากการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 และผลพวงของมันที่ทางฝ่ายทหารไม่ได้รับความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่มีความ สามารถใดๆ ต่อการบริหารประเทศไทย เขาไม่เชื่อว่าผู้นำจากฝ่ายกองทัพจะมีความโน้มน้าวในการลงมือทำการก่อการรัฐ ประหารอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าทางฝ่ายกองทัพอาจจะทำการแทรกแทรง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องของความขัดแย้งอย่างรุนแรงบนท้องถนน ต่างๆ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เตือนว่า เขาคาดหวังว่าจะเกิดความตึงเครียดอย่างมหันต์ในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้านี้ เมื่อการอภิปรายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั้น ได้เดินหน้าต่อไป มีแนวโน้มเป็นอย่างมากที่จะเกิดการประท้วงเพื่อสนับสนุน และ การประท้วงเพื่อการต่อต้านขึ้นมา เขาเสริมต่อว่าหมอดูนักพยากรณ์ของไทยหลายๆ คน ต่างคาดคะเนกันว่าจะมีเรื่องความรุนแรงเกิดขึ้น และอย่างบ่อยครั้ง คำพยากรณ์ของหมอดูทั้งหลายนั้น สามารถเกิดขึ้นตามที่ว่ากันไว้อย่างนั้นด้วย (self-fulfilling)

ทัศนคติของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีต่อรัฐธรรมนูญ:

4. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้สร้างนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่าง เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ จุดบางจุดที่ได้รับการยอมรับอย่างเอกฉันท์ภายในพรรคนั้น รวมไปถึงเรื่อง:

- จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- กระบวนการการแก้ไขจะต้องรวมไปถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
- การแก้ไขจะต้องไม่มีการผลักดันเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมาจากพรรคการเมืองใดๆ และ
- ควรจะชะลอในการนำเอาบทบัญญัติใดๆ เข้ามาปฎิบัติที่แสดงให้เห็นว่า มีผลกระทบในเรื่องผลประโยชน์ของตนเองต่อพรรคการเมืองใดๆ

ตรวจสอบอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ:

5. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวอย่างในแง่ร้ายว่า ในปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์เองไม่มีความสามารถที่จะทำการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับ อดีตนายกฯ ทักษิณและรวมไปถึงกลุ่มผู้มีความจงรักภักดีกับตัวเขา (เป็นต้นว่า กองกำลังกลุ่มใหญ่ที่ฝังตัวอยู่ในพรรคพลังประชาชน (พปช) บุคคลอื่นๆ ที่มีความสำคัญที่ปรากฎตัวให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเพื่อชดเชยหน้าตาที่หาย ไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ รวมไปถึงกลุ่มเหล่านี้คือ:

- กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: – กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำการประท้วงอดีตนายกฯ ทักษิณ เมื่อปี พ.ศ. 2548-2549 และในปัจจุบันเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ส่งเสียงดังมากที่สุดต่อการต่อต้านการแก้ไข รัฐธรรมนูญ

- นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช: ตามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า มีแรงเสียดทานกันระหว่าง นายกฯ สมัครกับอดีตนายกฯ ทักษิณ (เอกสารอ้างอิงชุด C ได้แสดงให้เห็นถึงมุมมองของอดีตนายกฯ ทักษิณเกี่ยวกับคำถามในเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับตัวเอกอัครราชทูตเอง) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์มีทัศนคติต่อนายกฯ สมัครว่า เป็นผู้แยกตัวออกมาอย่างพอประมาณแบบประเภท “ลุยเดี่ยว” (Lone Ranger) ซึ่งในแง่ผลประโยชน์นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามแนวแบบของอดีตนายกฯ ทักษิณ แต่เราไม่ควรที่จะปัดเอาข้อคิดเหล่านี้ออกไปอย่างง่ายๆ เสียทีเดียวเพราะว่าเขามีอำนาจที่สามารถยุบสภาและรวมไปถึงอำนาจต่างๆ ที่เขามีอยู่ในมือภายใต้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายใน และ
'
- ผู้บัญชาการทหารบก: พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ให้ข้อคิดเห็นว่า ในปัจจุบันนี้ พลเอกอนุพงษ์อยู่ในตำแหน่งที่จะถูก "เกี้ยว" เพื่อให้การสนับสนุนจากกลุ่มของนายกฯ สมัคร และอดีตนายกฯ ทักษิณ และเขาได้สรรเสริญความสามารถของพลเอกอนุพงษ์ ในการวางแผนหลบหลีกต่อวิถีทางต่างๆ ที่ ไม่มีบุคคลในทางการเมืองผู้ใดที่คิดถึงเขาอย่างเลวร้ายไปเสียทีเดียว

การเลือกตั้งครั้งใหม่หรือ?:

6. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีทางเตรียมตัวได้ทันเลย ถ้าหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ เขายอมรับว่า “ทุนรอนต่างๆ ก็หมดลงไปแล้ว” (Our coffers are empty.) เขาวิเคราะห์ด้วยความคิดเห็นในแง่ร้ายว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายใต้กลไกของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 (ระบบเขตเดียวคนเดียว) จำนวนที่นั่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับในสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะลดลงไปอย่าง สำคัญทีเดียว ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ประเมินว่า ในเหตุการณ์ของการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณจะได้รับชัยชนะโดยได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภาอย่างน้อยที่สุด 300 ที่นั่ง ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ เกือบทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายหลังจากการยุบพรรคไทยรักไทยนั้น ก็อาจจะไม่สามารถที่จะหาเงินทุนมาสนับสนุนเพื่อดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ต้อง ถูกกลืนเข้าไปอยู่ภายใต้การกำกับการของพรรคพลังประชาชนในฐานะที่เป็น พรรคที่สืบอำนาจต่อจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งประกอบไปด้วยผู้สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ เขากล่าวว่าสถานการณ์ที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือ ให้นายกฯ สมัครทำการบริหารประเทศอยู่เป็นเวลาสองปี โดยให้เวลากับพรรคตนเองทำการเตรียมตัวเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์มีความเคลือบแคลงในว่า การบริหารงานของนายกฯ สมัครนั้นจะอยู่ได้นานขนาดนั้นเชียวหรือ เขาคาดการณ์ล่วงหน้าว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่จะเกิดขึ้นโดยทันทีภายหลังกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มขึ้น หรือไม่ก็อาจจะก่อนหน้านั้น ถ้าความกดดันทางการเมืองกับนายกฯ สมัครเกิดขึ้นอย่างมาก จนต้องทำให้เขาตัดสินใจยุบสภาเสีย

พลเอกสนธิ: ตอนนี้เขาอยู่ที่ไหน?:

7. (ลับ) เราตั้งขอสังเกตุว่า ดูเหมือนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มผู้นำการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549) จะพลาดพลั้งในการผ่านพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายใน เพียงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า บุคคลที่ควรจะถูกตำหนิมากที่สุดในเรื่องการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ตกอยู่กับหัวหน้าคณะรัฐประหารเองคือพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งทำการคำนวณอย่างผิดพลาดต่อผลของการเลือกตั้ง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เล่าขานว่า จวบจนกระทั่งนาทีสุดท้าย พลเอกสนธิเชื่อว่า เขาสามารถที่จะหล่อหลอมนำเอาพรรคการเมืองทั้งหมดทุกพรรคเข้ามาผสมผสานกัน ซึ่งไม่รวมพรรคพลังประชาชนอยู่ในนั้น ส่วนพรรคที่หนุนหลังให้เลือกตัวของพลเอกสนธิ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คือ พลเอก พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนาและอดีตผู้บัญชาการทหารบก


8. (ลับ) เราถามว่าพลเอกสนธิยังคงมีความกระตือรือร้นอยู่ในแวดวงทางการเมืองหรือเปล่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า เขาคิดว่าคงไม่แล้ว เขาเชื่อว่า พลเอกสนธิได้ยื่นข้อตกลงในรูปแบบต่างๆ กับอดีตนายกฯ ทักษิณ – “ไม่มีสงคราม, ไม่มีสันติภาพ” (No war, no peace). ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ยังคาดคะเนว่า ในปัจจุบันนี้ ตัวพลเอกสนธิ “กำลังมีความสุขอยู่กับความมั่งคั่งของเขา” โดยกล่าวว่า เขาเชื่อว่า พลเอกสนธิได้เริ่มมีความร่ำรวยอย่างสำคัญทีเดียวภายหลังจากการก่อการรัฐ ประหาร

คณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์:

9. (ลับ) เราถาม การประเมินของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์ (คณะรัฐมนตรีเงานี้ ก่อตั้งเมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2551 และเป็นนวัตกรรมชิ้นใหม่สำหรับประเทศไทย ตัว ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เอง ก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเงา ของกระทรวงการต่างประเทศภายใต้การดำเนินการของพรรคประชาธิปัตย์) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า มันยังเร็วเกินไปในการประเมินสมรรถภาพของคณะรัฐมนตรีเงา คณะรัฐมนตรีเงานั้น มีการประชุมกันทุกๆ สัปดาห์ในวันพฤหัสบดีตอนเช้า มันยังไม่สามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่น่าสนใจอย่างสำคัญมาให้สื่อมวลชนทราบกัน ได้เกี่ยวกับฐานะตำแหน่งของมัน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์คร่ำครวญว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ปราศจากพนักงานทำการดูแลและรวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรีเงาท่านอื่นๆ อีกด้วย

ประเทศพม่า:

10. (ลับ) อ้างอิงถึงเอกสารชุด D, เราอธิบายถึงมุมมองของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการลงประชามติเพื่อ สร้างรัฐธรรมนูญของประเทศพม่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่าเขามีความตกตะลึงเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งที่เขาได้พบกับ ทัศนคติของรัฐบาลไทยที่บริหารประเทศในปัจจุบันเกี่ยวกับท่าทางในการอำนวย ความสะดวกอย่างล้นเหลือกับประเทศพม่า เขาหวังว่า คุณนพดล ปัทมะ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะนำเอาวิธีการเดิมที่ได้รับความแพร่หลายในสมัยการบริหารงานสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณเข้ามาใช้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวเสริมว่า คำแถลงล่าสุดของนายกฯ สมัคร (ดูที่เอกสารอ้างอิง ชุด B) ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ความกังวลเกิดขึ้น นายกฯ สมัครเสิรมว่า ระบบราชการของกระทรวงการต่างประเทศจะไม่ผลักดันให้เกิดการปฎิรูปในประเทศ พม่า เขาประเมินตัวปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คือ คุณวีระศักดิ์ ฟูตระกูลว่า เป็นบุคคลที่ “เห็นอกเห็นใจ” ต่อประเทศพม่าเป็นอย่างมาก ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เล่าขานถึงเรื่องนี้เมื่อสมัยที่เขา (ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณวีระศักดิ์อยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมเอเซียตะวันออก ในเวลานั้น คุณวีระศักดิ์ให้ความเห็นส่วนตัวซึ่งสะท้อนถึงฐานะตำแหน่งของระบอบการปกครอง ในประเทศพม่า ซึ่งการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2533 ในประเทศพม่าหมายถึงเพียงการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ถึงแม้ว่า รัฐบาลจากหลายๆ ประเทศเกือบทั้งหมดเชื่อกันว่า ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั้น ได้รับชัยชนะต่อที่นั่งในสภาที่มีอำนาจสร้างตัวบทกฎหมายอย่างสมบูรณ์ได้

ความคิดเห็น:

11. (ลับ) มีเรื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับจำนวนที่ทางสาธารณะทำการคาดคะเน ถึงโอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้เราคิดว่าเรื่องการพัฒนาการเรื่องนี้ มีแนวโน้มว่าจะไม่เกิดขึ้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เป็นคู่สนทนาที่มีความน่าเชื่อถือ และเราพบว่ามุมมองของเขาเกี่ยวกับเนื้อหาใจความนั้น ค่อนข้างมีความสมดุลกันอยู่ เพราะเขาไม่ได้ปฎิเสธปัดถึงเรื่องที่เป็นไปได้ออกไป หรือไม่ก็เห็นว่ามันมีความโน้มน้าวที่จะเกิดขึ้น เราจะทำการติดต่อคู่สนทนาอีกหลายๆ ท่านในเวลาอีกไม่นานข้างหน้าเพื่อแสดงข้อคิดเห็นจากทัศนคติเกี่ยวกับประเด็น นี้ และกล่าวย้ำอย่างแข็งขันว่า รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นปรปักษ์กับการคาดหวังต่อกระทำใดๆ ที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อทำการยึดอำนาจ

(เอกอัครราชทูต อีริค) จอห์น

-------------------------------------------


ความคิดเห็นของผู้แปล:

เมื่อ อ่านเคเบิ้ลฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษ สิ่งที่สะดุดสายตาของดิฉันมากที่สุดคือการใช้ชื่อ "สุขุมพันธุ์" (Sukhumbhand) โดยเอกอัครราชทูตจอห์นอยู่เป็นจำนวนถึง 33 ครั้ง

แต่ เชื่อหรือไม่ว่า ถ้าค้นคำภาษาอังกฤษในเคเบิ้ืลฉบับนี้ ด้วยคำว่า "ทักษิณ" (Thaksin) จะพบคำนั้นเป็นจำนวนถึง 23 ครั้ง และชื่อ "สมัคร" (Samak) เป็นจำนวน 13 ครั้ง พอเห็นแค่นี้ แล้วใช้วลีที่ว่า "เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น" เข้าไปประกอบนั้น ก็คงจะรู้กันแล้วว่า ใครเป็นคนดีและใครเป็นคนเลว ถ้าไม่ต้องการอ่านเนื้อหาใดๆ

เค เบิ้ลฉบับนี้เขียนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในสมัยที่คุณสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ดำรงตำแหน่ง สส ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ (ยังไม่ได้ออกมาสมัครเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนปลายปี)

สิ่ง ที่แปลกใจคือ มีการสร้างข่าวลือกันว่า อดีตนายกฯ ทักษิณกำลังวางแผนก่อการรัฐประหารเพื่อตนเองจะได้รับอำนาจกลับคืนมา ทั้งๆ ที่ตัวนายกฯ ทักษิณเองในขณะนั้น กำลังเดินทางมาฟังคดีความเกี่ยวกับเรื่องศาลที่ตัดสินว่ากระทำความผิดในการ ให้ภรรยาเซ็นชื่อเกี่ยวกับที่ดิน คุณทักษิณเองก็มีกำหนดการที่จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นแขกในพิธีการเปิดการแข่งขันโอลิมปิคในเดือนสิงหาคมของปี พ.ศ. 2551 ดังนั้น สิ่งที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวใส่ความให้กับเอกอัครราชทูตจอห์นฟังนั้น เป็นการเอาดีใส่ตัวอย่างแท้จริง

ส่วน เรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างอดีตนายกฯ สมัคร กับอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทราบกันว่า คุณสมัครเป็นนักการเมือง ส่วนคุณทักษิณ เป็นนักธุรกิจ เมื่อสองท่านเจรจากัน ก็คงจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเป็นแน่ ถ้าจะพูดถึงผลประโยชน์ต่างๆ ดิฉันมั่นใจว่า อดีตนายกฯ สมัคร ท่านไม่คดโกงอย่างแน่นอน ถ้าจำไม่ผิด เมื่อท่านเสียชีวิตนั้น มีทรัพย์สินมรดกตกอยู่กับครอบครัวไม่ถึง 10 ล้านบาทเสียด้วยซ้ำไป ถ้าคิดเป็น US Dollars ก็คงประมาณ 3 แสนเหรียญกว่าๆ เท่านั้น

หลัง จากการอ้างอิงข้อที่ 5 เป็นต้นไป เราจะทราบโดยทันทีว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์มีความ "หวาดหวั่น" ต่ออิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นอย่างยิ่ง แม้กระทั่งกระทำทุกอย่างเพื่อหาแนวร่วมเช่นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (และในเดือนตุลาคม + พฤศจิกายน ของปีนั้น ก็ร่วมมือกระทำการปิดการจราจรในสนามบินนานาชาติ 4 แห่ง - ทางภาคใต้สองแห่ง และในกรุงเทพมหานครอีกสองแห่งด้วย)

แต่ เมื่ออ่านความคิดเห็นของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์แล้ว ก็ทราบดีว่า ทางพรรคของตนเองมีความหวาดกลัวต่อการเลือกตั้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะคงจะแพ้อย่างหลุดลุ่ยจริงๆ ส่วนเรื่องการอ้างว่า เงินทุนสำรองเพื่อใช้ในการเลือกตั้งหมดไปแล้วนั้น เป็นวิธีการหนึ่งที่หลอกให้ทูตจอห์นเข้าใจว่าพรรคของตนเอง ดำเนินการอย่างซื่อสัตย์ ไม่เหมือนกับพรรคฝ่ายตรงข้ามที่มีเงินทุนอุดหนุนอย่างแน่นหนา

ส่วน เรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องสนทนาตามปรกติที่โยงเอาคุณสมัครและคุณทักษิณเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยเท่านั้นเอง เพื่อทำให้ตนเองดีเด่นในสายตาของเอกอัครราชทูตจอห์น

แต่ เคเบิ้ลฉบับนี้ ได้ให้ความรู้กับเรื่องนวัตกรรมรูปใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ นั่นก็คือ การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงานั่นเอง ดิฉันเห็นเอกอัครราชทูตจอห์นเขียนไว้ ก็เลยขอนำมากล่าวอีกครั้งหนึ่ง เพราะนี่แหละคือผลงาน แถมตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (เงา) นั้น ก็บ่นอยู่เสมอว่า ขาดบุคลากรและข้อมูล ดังนั้น ก็สงสัยเหมือนกันว่า จะสร้างนวัตกรรมแบบนี้ขึ้นมาทำไม ทั้งๆ ที่ฝ่ายตนเองยังไม่มีความพร้อมอะไรเลย

เมื่อ ขาดบุคลากรและขาดข้อมูล สิ่งที่จะเป็นผลงานได้ก็คือ "การนั่งเทียน เขียนข่าว และสร้างข้อมูล" กันขึ้นเอง และหวังว่า กระแสจากโลกโซเชี่ยลมีเดียร์จะช่วยกระจายกันออกไป ประเทศไทยไม่มีกฎหมายอย่างรุนแรงในการฟ้องร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับข้อมูล เท็จ เราถึงเห็นการปั่นข่าวสร้างข่าวและกระพือกันออกไปอย่างไร้ความรับผิดชอบกัน จริงๆ

เรื่อง ของพลเอกสนธิ ที่มีความร่ำรวยหลังการรัฐประหารนั้น เป็นเรื่องที่เราๆ ก็ทราบกันอยู่ตลอดเวลา ใครบ้างล่ะ ที่มีส่วนในเรื่องการก่อการรัฐประหารแล้วยากจนค่นแค้นบ้าง? งบประมาณต่างๆ ก็ไปตกอยู่กับพวกนี้ทั้งหมดจริงๆ

สิ่ง ที่น่าสนใจในเคเบิ้ลฉบับนี้ คือ ข้อคิดเห็นของเอกอัครราชทูตจอห์นเอง ที่กล่าวว่า ทางสถานทูตฯ ยังมีคู่สนทนาอยู่อีกหลายท่าน ซึ่งตามทีได้ติดตามเคเบิ้ลจากวิกิลีกค์มาหลายฉบับ ดิฉันมั่นใจว่า คู่สนทนาที่เอกอัครราชทูตจอห์นได้กล่าวไว้นั้น คือบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง และคนที่มีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆ ที่เป็นสายส่งข้อมูลให้ จะเป็นใครอื่นไม่ได้ นอกเสียจากบุคคลเช่น คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือคุณพิภพ ธงไชย นั่นเอง เพราะบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ให้ข่าวสารกับทางสถานทูตฯ มาโดยตลอด โดยเฉพาะกับเอกอัครราชทูตคนก่อนหน้าคือ ทูตบอยซ์ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นและกระทำการร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายอำมาตย์และพรรคประ ชาธิปัตย์ทุกอย่าง จนกระทั่งทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศเป็นผลสำเร็จ

เค เบิ้ลฉบับนี้เปิดช่องให้เห็นอย่างง่ายๆ คือ สายสืบที่ให้ข่าวกับทางฝ่ายสถานทูตสหรัฐอเมริกานั้น ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์และบุคคลในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทางสถานทูตฯ จะฟังพวกนี้ มากกว่าเสียงของทางฝ่ายรัฐบาล (ไม่ว่าจะเป็นการบริหารของอดีตนายกฯ ทักษิณ, อดีตนายกฯ สมัคร หรือ อดีตนายกฯ สมชายก็ตาม) แต่ตอนที่พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นฝ่ายรัฐบาล ทางสถานทูตฯ ก็คงจะไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับพรรคเพื่อไทยเท่าไรนัก เพราะบทบาทที่เห็นจากกลุ่มอำมาตย์นั้น ทำการครอบงำกับทางฝ่ายประชาธิปไตยตลอดมา...

เราคงได้เรียนรู้ถึงประวัติของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พอสมควรในการทำงานในฐานะผู้แทนของประชาชน จากเคเบิ้ลฉบับนี้นิดหน่อยนะคะ...

Doungchampa Spencer

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น