|
นับตั้งแต่จบการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ก็มีกระแสทางการเมืองที่รุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่องกันหลายด้าน ทันทีที่ทราบผลการเลือกตั้งอดีตนายกทักษิณก็ Skype เข้ามายังการประชุมพรรคเพื่อไทยแสดงความไม่พอใจต่อแนวทางการหาเสียงการเลือก ตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และยังได้ส่งสัญญาณค่อนข้างชัดเจนว่า
ให้ ส.ส. ในพรรคทำงานอย่างแข็งขัน และแข็งกร้าวมากขึ้น.. ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับฝ่ายตรงข้ามต่อไป รวมถึงให้กลับมาพิจารณาถึงมวลชนคนเสื้อแดงที่เริ่มถอยห่างจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดในการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเสื้อแดงให้ มากขึ้น”
รวมถึงคาดโทษของตัวแทนพรรคทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. ว่าต้องให้ทำงานด้วยการลงพื้นที่ และจะร่วมวางแผนการทำงานกับพรรคในทุกสัปดาห์
ไม่นานต่อมา นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างถึงเรื่องสุขภาพ และความชำนาญในการทำงานในระดับท้องถิ่นมากกว่า เป็นที่คาดหมายว่าการลาออกจากความเป็น ส.ส. ครั้งนี้ก็เพื่อเปิดทางให้ นางเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ น้องสาวแท้ๆ ของ อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ได้กลับมาทำงานการเมือง เพื่อควบคุมดูแล ส.ส. และผู้ร่วมงานของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าลักษณะเฉพาะตัวของการทำงานระหว่างนายกยิ่งลักษณ์ กับคุณเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ มีความแตกต่างกันอย่างมาก การส่งคุณ คุณเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ เข้ามาร่วมทำงานทางการเมืองในครั้งนี้ หลายฝ่ายคาดหมายว่าสัญญาณนี้คือการประกาศท้ารบชนิดชิงธงของอดีตนายกทักษิณ นั่นเอง
.... แต่สถานการณ์ที่บ่งชี้เช่นนี้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของอดีตนายกทักษิณ ที่จะต่อสู้เช่นนั้นจริงหรือ ??
ก่อนหน้าประเด็นร้อนของรายการ “ตอบโจทย์” ที่พูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมายอมรับว่า “คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีการจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฏหมายขึ้นก่อนทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัคร รับจ้างจริงหรือไม่??”
การออกตัวมาพูดเสมือนยอมรับผิดของ “สถาบันศาลรัฐธรรมนูญ” เช่นนี้ทำให้เกิดคำถามที่ตามมาอย่างมากมายว่า “สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายไปแล้วนั้นจะรับผิดชอบอย่างไร??”
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือสถาบันศาลรัฐธรรนูญถูกก่อตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหาร คมช. และพิจารณาอรรถคดีที่เกี่ยวข้องกับการตีความตามรัฐธรรมนูญภายใต้พระปรมาภิ ไทย ซึ่งหมายความว่าภายใต้พระปรมาภิไทยนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินอรรถคดีด้วยความผิดพลาดและบกพร่องจนก่อให้เกิดความ เสียหายต่อประชาชนผู้เป็นประชากรของประเทศนี้ “กระนั้นหรือ?”
และหลังจากที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของคำวินิจฉัย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาร่วมกันด้วยคะแนนเสียง 9 : 0 นั้น ก็มิได้มีท่าทีหรือการแสดงความรับผิดชอบใดๆ จากผลแห่งการกระทำผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทำให้คำถามที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้คนจำนวนมากนั้นก็คือ “การกระทำภายใต้พระปรมาภิไทย” นั้น จะสามารถกระทำสิ่งที่ผิดพลาดและบกพร่องจนก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสูญเสียแก่ใครก็ได้ เช่นนั้นหรือ??
ซึ่งคำถามที่ดังก้องอยู่ในจิตใจของผู้คนจำนวนมากนี้แต่กลับไม่มีใครที่กล้า จะพูด หรือกล้าถามออกมาดังๆ ทำไม??
รายการตอบโจทย์.. สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งออกอากาศจำนวน 5 ตอนทางไทยพีบีเอส ระหว่างวันที่ 11 – 18 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ 2 ตอนสุดท้ายคือวันที่ 14 และ วันที่ 18 มีนาคม 2556 ได้กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองชนิดเดือดพล่าน เพราะเป็นการปะทะกันทางความคิดต่างขั้วอย่างรุนแรงในประเด็นเรื่อง “สถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์..ในระบอบประชาธิปไตย..ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ผลที่ตามมาของประชาชนผู้ติดตามรายการนี้ก็คือ การเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัดบทบาทและสถานะในทางการเมืองของสถาบันพระมหา กษัตริย์
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การลงพระปรมาภิไทยยอมรับการรัฐประหารของคณะ คมช.” เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรับรองและยอมรับว่า คณะรัฐประหารของ คมช. นั้นได้เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องโดยการใช้กำลังยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งของประชาชนทั้งประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
คณะรัฐประหาร คมช. ได้ดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไทย) ออกมาเป็นกันชน มิให้ประชาชนในประเทศและรัฐบาลอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และ คณะรัฐมนตรี ขณะนั้น ลุกขึ้นต่อต้านการใช้กำลังยึดอำนาจที่เป็นการ “กบฏ” ต่อรัฐบาลของประชาชน ซึ่งส่งผลให้เกิดสถานการณ์เลวร้ายสืบเนื่องต่อมาอีกอย่างมากมายจนกระทั่งถึงกับมีการ “ล้อมสังหารประชาชนกลางเมืองหลวง” เสียชีวิตและบาดเจ็บนับพัน
ถ้าใช้วิธีการตัดสินโดยศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมีคำถามย้อนกลับมาว่า “เป็นการพิจารณาที่ถูกต้องเที่ยงธรรมเพียงพอแล้วหรือ?” เพราะมีตัวอย่างมาจากคดีของอดีตท่านนายกสมัคร สุนทรเวช และที่สำคัญถ้าพรรคเพื่อไทยหรืออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ล้มรัฐบาลท่านนายกยิ่งลักษณ์ อย่างไม่ยุติธรรมในครั้งนี้ ก็จะสูญเสียการนำมวลชนอย่างไม่สามารถนำกลับคืนมาได้อีกเลย
ถ้าใช้วิธีล้มรัฐบาลด้วยการรัฐประหารโดยใช้กำลังทหาร การลุกฮือต่อต้านก็จะเกิดขึ้นจากประชาชนในประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งคงจะนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มารับรองให้การรัฐประหารเป็นสิ่งถูกต้อง อีกคงไม่ได้ต่อไป รวมถึงจะถูกปฏิเสธการรับรองจากนานาชาติทำให้อาจจะถูกโดดเดี่ยวในสังคมโลก
แต่อย่างไรก็ดีเป้าหมายของเผด็จการอมาตย์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “ทำลายประชาธิปไตยไม่ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้โดยทุกวิถีทาง โดยยังคงอำนาจเผด็จการแบบสมบูรณ์แบบเอาไว้”
ดังนั้นการทำลายการความผู้นำทางจิตใจคืออดีตท่านนายกทักษิณ ชินวัตร โดยการโจมตีว่าทอดทิ้งประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย และหันไปร่วมมือกับฝ่ายอมาตย์...
การทำลายการนำขององค์กรประชาธิปไตยอย่าง นปช. โดยกล่าวหาเรื่องความขัดแย้งภายในการคอรัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำที่ส่งผลให้ความเข้มแข็งของฝ่ายประชาธิปไตยลดลง และขาดความเป็นเอกภาพ
ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงและยังไม่สามารถสรรหาผู้นำ ทางความคิด จิตใจ ที่จะรวมศูนย์ความศรัทธาของประชาชนได้เท่ากับอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และตราบใดที่ยังไม่มีองค์กรนำที่สามารถรวบรวมผู้คนได้ดีไปกว่า นปช. ก็เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อต่อสู้กับอำนาจอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายเผด็จการอมาตย์ที่พยายามทำลายประชาชน ฝ่ายประชาธิปไตยในทุกวิถีทางขณะนี้
ถ้าท่านอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และ นปช. พ่ายแพ้ในการต่อสู้ครั้งนี้ ประชาชนไทยจะต้องถูกกดขี่อยู่ภายใต้การกดขี่ของเผด็จการอมาตย์ไปอีกหลายสิบ ปี และกว่าประเทศไทยจะได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็คงจะต้องประสบกับการสูญเสีย กันอีกมากมาย ดังนั้นเวลานี้ ขณะนี้ ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเท่านั้นจึงจะนำชัยชนะมาสู่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
ปูนนก
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น