รองผู้การปัตตานีแจงเหตุค้นบ้านนักข่าวมีเดียสลาตัน เป็นวงรอบการตรวจหอพัก บ้านเช่า ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยันขอเก็บตัวอย่างตรวจ DNA สามารถปฏิเสธได้ พร้อมทำความเข้าใจข้อกฎหมายต่อสาธารณะ ด้านสารวัตรสืบยันไม่ได้คุกคามสื่อหรือนักกิจกรรม
เวลาประมาณ 11.00 น. วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ตัวแทนจากเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ 5 คน นำโดยนายตูแวดานียา ตูแวแมแง ได้เข้าพบ พ.ต.อ.ปราบพาล มีมงคล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี และ พ.ต.ต.ศิริชัย สุขสารัญ สารวัตรสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ที่ร้านกาแฟภายในกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เพื่อพูดคุยหารือกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองกำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี จำนวน 5 นาย เข้าตรวจค้นบ้านของนายทวีศักดิ์ ปิ ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน พร้อมเพื่อน 3 คน พร้อมกับขอเก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อนำไปตรวจสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) โดยไม่มีหมายค้น เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา
ต่อมาวันที่ 25 กันยายน 2557 เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพได้ยืนหนังสือร้องเรียนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อพ.ต.อ.ต่วนเดร์ จุฑานนท์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร (สภ.) เมืองปัตตานีว่า การตรวจค้นดังกล่าวมีลักษณะการข่มขู่ คุกคามและบังคับให้ประทับลายนิ้วมื้อและให้ลงชื่อในเอกสาร โดยอ้างการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก แต่ พ.ต.อ.ต่วนเดร์ปฏิเสธว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของสภ.เมืองปัตตานี
ในวันเดียวกันเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพได้ออกแถลงการณ์กรณีการตรวจค้นดังกล่าวด้วย โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ 1.ให้เอกสารที่นายทวีศักดิ์ได้ลงชื่อกำกับเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำลายไปจริง 2.ขอให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลในการตรวจค้นดังกล่าว และ 3.ขอให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA รวมถึงสิทธิของประชาชนต่อเรื่องนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน
ในวันเดียวกันเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพได้ออกแถลงการณ์กรณีการตรวจค้นดังกล่าวด้วย โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ 1.ให้เอกสารที่นายทวีศักดิ์ได้ลงชื่อกำกับเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำลายไปจริง 2.ขอให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลในการตรวจค้นดังกล่าว และ 3.ขอให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA รวมถึงสิทธิของประชาชนต่อเรื่องนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน
ในการพูดคุยครั้งนี้ พ.ต.อ.ปราบพาล ชี้แจงว่า การตรวจค้นครั้งนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดและนโยบายเร่งด่วนของ คสช. ตามที่เจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นดังกล่าวอ้างถึง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อจัดระเบียบฐานข้อมูลหอพักและบ้านเช่าตามวงรอบการทำงานตามปกติของเจ้าหน้าที่อยู่แล้ว หากในหมู่บ้านชนบทเป็นอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการจัดระเบียบดังกล่าว แต่ในเขตเมืองนั้น ทางเทศบาลไม่มีอำนาจในการจัดระเบียบ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจำเป็นต้องตรวจ จัดระเบียบดังกล่าวเอง เป็นการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)
พ.ต.อ.ปราบพาล ชี้แจงต่อไปว่า ในการจัดระเบียบนั้น จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูล ประวัติบุคคล ลายนิ้วมื้อ และเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจ DNA เพื่อเป็นฐานข้อมูลของเจ้าหน้าที่ แต่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA ประชาชนมีสิทธิที่จะยินยอมหรือไม่ยินยอมให้เก็บตัวอย่างไปได้ ยกเว้นกรณีที่เป็นผู้ต้องหา หรือหากลงชื่อยินยอมเพื่อให้เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA ไปแล้ว แต่เปลี่ยนใจทีหลังก็สามารถปฏิเสธการเก็บตัวอย่างได้ ดังนั้นหนังสือยินยอมดังกล่าวก็ต้องเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการเก็บตัวอย่างจริง
“ในกรณีของนายทวีศักดิ์ ปิ รวมถึงกรณีอื่นๆ ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA เหตุที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ชี้แจงก่อนว่าสามารถปฏิเสธได้นั้น เป็นเทคนิคของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการเพื่อให้การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA บรรลุผลสำเร็จอย่างราบรื่นและรวดเร็ว” พ.ต.อ.ปราบพาล กล่าว
พ.ต.อ.ปราบพาล ชี้แจงอีกว่า ในกรณีนี้ เป็นการใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับชั้นสัญญาบัตร ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเป็นหัวหน้าชุดในการตรวจค้น ซึ่งทุกคนสามารถขอดูบัตรได้ หากไม่มีก็สามารถที่จะไม่ให้ความร่วมมือได้ ซึ่งหลังจากนี้ต้องกำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน
พ.ต.อ.ปราบพาล กล่าวอีกว่า ในกรณีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA นั้น จำเป็นต้องมีการสื่อสารกับสาธารณะเพื่อทำความเข้าใจในข้อกฎหมายแก่ประชาชน รวมทั้งการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และDNA ซึ่งตนยินดีหากจะเชิญให้เป็นวิทยากรพูดคุยเรื่องนี้
พ.ต.อ.ปราบพาล ยังกล่าวถึงกรณีที่มีเว็บไซต์หนึ่ง เขียนบทความลักษณะโจมตีเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพว่า การเคลื่อนไหวร้องเรียนดังกล่าวส่อไปในทางให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงว่า น่าจะเป็นการปฏิบัติการข่าว หรือที่เรียกว่า ไอโอ (IO) ซึ่งเรื่องนี้ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) มีหน้าที่โดยงตรงที่จะประชาสัมพันธ์ชี้แจงต่อสาธารณะเมื่อเกิดกรณีเจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นผู้ต้องสงสัยของสังคม
ด้านพ.ต.ต.ศิริชัย สุขสารัญ สารวัตรสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยอมรับว่า เจ้าหน้าที่ทั้ง 5 นายที่เข้าไปตรวจค้นในวันนั้น เป็นลูกน้องในสังกัดโดยมี ร.ต.ต.เลิศ บุญอินทร์สุข รองสารวัตรสืบสวนเป็นหัวหน้าชุด ซึ่งตนยอมรับในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ผิดพลาด อาจจะเกิดอารมณ์ และต้องยอมรับด้วยว่าเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการโดยปกติเมื่อทำหลายคดี ไม่ว่าจะเป็นคดียาเสพติดหรือคดีอาชญากรรรม ทำให้ติดเป็นนิสัยของความเคยชินในการใช้วาจาหรือคำพูดที่ไม่สุภาพ
พ.ต.ต.ศิริชัย ชี้แจงต่อไปว่า การตรวจค้นดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง เพราะมารู้ทีหลังว่าคนที่ถูกตรวจค้นมีญาติที่เคยตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และไม่ใช่เป็นการข่มขู่คุกคามสื่อหรือนักกิจกรรมทางสังคม ซึ่งยืนยันได้เพราะมีบันทึกว่า เจ้าหน้าที่ชุดนี้ได้เข้าตรวจค้นหอพักและบ้านเช่ามาก่อนหน้านั้นแล้วหลายจุด เหตุที่ต้องตรวจหอพักและบ้านเช่าเนื่องจากที่ผ่านมา พบว่ามีหลายคดีที่ผู้ก่อเหตุได้ใช้หอพักหรือบ้านเช่าในเขตเมืองทั้งก่อนและหลังก่อเหตุ ซึ่งจากการตรวจสอบภาพวงจรปิดหลายจุดพบว่ามีหลายคดีเกี่ยวข้องกับหอพักบ้านเช่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น