ชี้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 7 ส.ค.นี้ จะไม่สามารถดำเนินไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หากมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติ และประกาศ กกต. ซึ่งขยายความสาระของมาตราดังกล่าวยังคงอยู่ เหตุมีข้อห้ามกำกวมจำนวนมาก ยันคนโหวตเยส-โหวตโนต้องได้โอกาสแสดงความคิดเห็นเท่าเทียมกัน
21 มิ.ย. 2559 เวลาประมาณ 12.15 น. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), สมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการและนักกิจกรรม ร่วมอ่านแถลงการณ์เรื่อง "ประชามติกับการใช้สิทธิเสรีภาพ" ที่ลานปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยชี้ว่า ประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. จะไม่สามารถดำเนินไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หากมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 และประกาศ กกต. เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2559 ซึ่งขยายความสาระของมาตราดังกล่าวยังคงอยู่ต่อไป เนื่องจากมีข้อห้ามจำนวนมากที่ใช้ภาษากำกวมไม่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อการเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในทางสาธารณะของประชาชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ
"การออกเสียงประชามติย่อมตั้งบนฐานคิดว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ผู้จัดการลงประชามติต้อง “มอบอำนาจตัดสินใจสุดท้ายไว้ที่ประชาชน” ดังนั้น ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในประเด็นที่จะจัดทำประชามติจะต้องได้รับโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ รวมทั้งได้รับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี" แถลงการณ์ระบุ
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การอ่านแถลงการณ์ครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากที่ได้ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา
จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการ iLaw กล่าวว่า หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คือต้องพยายามทำให้การออกเสียงประชามติสุจริตและเป็นธรรม อีกทั้งประชาชนควรจะได้รับข้อมูลครบทุกด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องร่วมอ่านแถลงการณ์ครั้งนี้ว่า เพื่อพยายามให้มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และไม่ปิดกั้นการมีส่วนร่วม รวมถึงการรณรงค์ของประชาชนเกี่ยวกับการลงประชามติเพราะจะไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย
ชนกนันท์ รวมทรัพย์ สมาชิกกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM)กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดว่าประเทศจะดำเนินต่อไปอย่างไร ซึ่งควรเปิดให้มีการถกเถียงระหว่างข้อดีกับข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แถลงการณ์เรื่อง “ประชามติกับการใช้สิทธิเสรีภาพ”
21 มิถุนายน 2559
การดำเนินการออกเสียงประชามติเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากจะดำเนินไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ประชาชนทุกส่วนจะต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตนและในการเข้าถึงข้อมูลและความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงคะแนนประชามติมีโอกาสศึกษาข้อมูลทุกด้านและสามารถชั่งใจได้ก่อนการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนประชามติในทางใด นอกจากนั้นแล้ว ประชาชนควรจะต้องทราบอย่างชัดเจนว่า ถ้าตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง ผลของการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร นี่คือหลักการของประชามติที่ยึดปฏิบัติกันทั่วโลก
21 มิถุนายน 2559
การดำเนินการออกเสียงประชามติเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากจะดำเนินไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ประชาชนทุกส่วนจะต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตนและในการเข้าถึงข้อมูลและความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงคะแนนประชามติมีโอกาสศึกษาข้อมูลทุกด้านและสามารถชั่งใจได้ก่อนการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนประชามติในทางใด นอกจากนั้นแล้ว ประชาชนควรจะต้องทราบอย่างชัดเจนว่า ถ้าตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง ผลของการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร นี่คือหลักการของประชามติที่ยึดปฏิบัติกันทั่วโลก
แต่ในปัจจุบันปรากฏว่ารัฐบาลได้ทุ่มเงินภาษีของประชาชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน โดยเป็นการเสนอข้อมูลที่อธิบายข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว ซึ่งเท่ากับรัฐบาลกำลังใช้เงินภาษีของประชาชน (ซึ่งย่อมรวมถึงเงินภาษีของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ) เพื่อไปรณรงค์ให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ
ในขณะเดียวกันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการลงประชามติมติให้เป็นไปตามหลักเสรีภาพและความเป็นธรรม ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขยายความสาระของมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้โดยมีผลเท่ากับจำกัดโอกาสของประชาชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่จะเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในทางสาธารณะในลักษณะที่เป็นการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เช่นมีการห้ามประชาชนจัดการประชุมสัมมนาเพื่อวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญเว้นแต่มีหน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษาหรือสถาบันสื่อร่วมจัด มีการห้ามประชาชนให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อหรือแจกจ่ายแผ่นพับหรือใบปลิวโดยการใช้ข้อความที่ “เป็นเท็จ” “รุนแรง” “หยาบคาย” หรือ “ปลุกระดม” รวมทั้งการห้ามจำหน่ายแจกจ่ายป้ายหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นการรณรงค์เพื่อนำไปสู่การ “ปลุกระดม สร้างความวุ่นวาย”
ในทางปฏิบัติทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรรมการ กกต.ได้แสดงความพร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้แจกใบปลิวหรือผู้จำหน่ายแจกจ่ายเสื้อยืดที่มีเนื้อหารณรงค์ไม่รับต่อร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการขู่ที่จะดำเนินการกับศิลปินที่แสดงเพลงเสียดสีร่างรัฐธรรมนูญ
ด้วยข้อห้ามมากมายที่ใช้ภาษากำกวมไม่ชัดเจน และคำขู่ของกรรมการ กกต.บางท่านที่ออกทางสื่อมวลชนเป็นประจำ ประกอบกับโทษตามกฎหมายที่สูงถึงขั้นจำคุกนานสิบปี ปรับถึงหนึ่งแสนบาท ย่อมมีผลทำให้ประชาชนส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่มีความประสงค์ที่จะจัดกิจกรรมสาธารณะเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและเหตุผลของตน หรือประสงค์ที่จะใช้ป้ายหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์เพื่อชักชวนประชาชนไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ดังนั้นการเผยแพร่ข้อมูลและความคิดเห็นในส่วนที่สนับสนุนให้ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญย่อมมีข้อจำกัดอย่างมาก ทำให้แนวโน้มการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนนั้นเป็นการรับข้อมูลเพียงด้านเดียว
การออกเสียงประชามติย่อมตั้งบนฐานคิดว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ผู้จัดการลงประชามติต้อง “มอบอำนาจตัดสินใจสุดท้ายไว้ที่ประชาชน” ดังนั้น ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในประเด็นที่จะจัดทำประชามติจะต้องได้รับโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ รวมทั้งได้รับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
การออกเสียงประชามติย่อมตั้งบนฐานคิดว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ผู้จัดการลงประชามติต้อง “มอบอำนาจตัดสินใจสุดท้ายไว้ที่ประชาชน” ดังนั้น ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในประเด็นที่จะจัดทำประชามติจะต้องได้รับโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ รวมทั้งได้รับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
พวกเราที่ร่วมแถลงในวันนี้ เชื่อว่าประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. จะไม่สามารถดำเนินไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หากมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 และประกาศ กกต. เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2559 ยังคงอยู่ต่อไป
ลงชื่อ
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ในนามของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ในนามของสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ในนามของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. นฤมล ทับจุมพล
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี
ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
นาย เอกชัย ไชยนุวัติ
นางสาว ชนกนันท์ รวมทรัพย์
ลงชื่อ
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ในนามของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ในนามของสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ในนามของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. นฤมล ทับจุมพล
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี
ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
นาย เอกชัย ไชยนุวัติ
นางสาว ชนกนันท์ รวมทรัพย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น