วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เสียน้ำตากันมาเท่าไหร่ กับ ‘GT200’ TDRI ยกตัวอย่างของจัดซื้อพิเศษไม่‹โปร่‹งใส


จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 7.9 ล้านปอนด์ (ราว 395 ล้านบาท) จาก เจมส์ แมคคอร์มิค ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแมคคอร์มิคและพรรคพวกซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์พร้อมทั้งแสวงหาผู้รับผิดชอบกรณี GT 200 ในประเทศไทยจำนวนมาก
ในโอกาสนี้ประชาไทขอหยิบรายงานศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จากโครงการวิจัย “คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” โดยเผยแพร่ในหนังสือ “เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” ตั้งแต่ มีนาคม 2557 (คลิกอ่านหนังสือดังกล่าวทั้งเล่มออนไลน์) ซึ่งมีการกล่าวถึงเครื่อง GT200 ด้วย โดยระบุว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของราชการและประชาชน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การประกอบอาชีพและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงต้องจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อใช้จัดการปัญหาความไม่สงบ ซึ่งรวมถึงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ‘GT200’ ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับสสารระยะไกลที่ผลิตโดยบริษัท โกลบอล เทคนิคอล จำกัด ในสหราชอาณาจักร โดยบริษัทดังกล่าวอ้างว่า GT200 สามารถตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยต่างๆ ได้ทั้งระเบิดและยาเสพติด ด้วยเหตุนี้กองทัพบกจึงจัดซื้อเครื่อง GT200 เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจค้นหาระเบิดของเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2552 ซึ่งเกิดเหตุวางระเบิดบ่อยครั้ง
ที่มาภาพจากหนังสือ “เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์”  ดูภาพขนาดใหญ่
 

เส้นทางผลประโยชน์

เหตุระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม 2552 นำ มาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยถึงประสิทธิภาพในการค้นหาระเบิดของเครื่อง GT200 โดยในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่อง GT200 ว่าเกิดจากการที่เครื่องดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับสภาพร่างกายของผู้ใช้ เนื่องจากเครื่อง GT200 ใช้ไฟฟ้าสถิตจากผู้ใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน หากผู้ใช้อ่อนเพลียย่อมส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของเครื่องในการค้นหาวัตถุต้องสงสัย การให้เหตุผลเช่นนี้นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง ทั้งจากนักข่าวและประชาชนผู้สนใจ
 
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งคณะรัฐมนตรี กองทัพบก รวมถึงสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยังคงเชื่อมั่นว่าเครื่อง GT200 สามารถใช้งานได้ จนกระทั่งในเดือนมกราคม 2553 ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ทำ การตรวจพิสูจน์เครื่อง ADE-651 ซึ่งเป็นเครื่องตรวจหาสสารลักษณะเดียวกันกับเครื่อง GT200 และพบว่าไม่มีวงจรหรือโปรแกรมใดๆ ภายในอุปกรณ์จึงเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องจะทำงานได้ ผลการทดสอบดังกล่าวทำให้รัฐบาลอังกฤษแจ้งเตือนประเทศต่างๆ ที่ซื้อเครื่องตรวจหาสสารลักษณะนี้
 
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า เครื่อง GT200 ไม่น่าจะใช้ค้นหาวัตถุระเบิดได้และเสนอให้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง GT200
 
ท้ายที่สุดจึงมีการทดสอบโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในช่วงกลางเดือ ก.พ. 2553 พบว่า เครื่อง GT200 ตรวจพบวัตถุระเบิดเพียง 4 ครั้ง จากการทดสอบ 20 ครั้ง ซึ่งไม่มากไปกว่าการตรวจหาโดยการสุ่มผลการทดสอบนี้ทำให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสั่งยกเลิกการจัดซื้อเครื่อง GT200 เพิ่มเติม และให้หน่วยงานที่ใช้อยู่ทบทวนเรื่องการใช้งาน 
 
ผลการทดสอบข้างต้นแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการจัดซื้อ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์โดยมิได้ตรวจสอบการทำงานว่ามี ประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณอย่าง ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้ ในช่วงที่เนคเทคทำ การทดสอบ หน่วยงานภาครัฐ ได้มีการใช้เครื่อง GT200 รวมถึงเครื่องตรวจหาสสารลักษณะเดียวกันอย่าง Alpha 6 รวมกันเกินกว่า 1,000 เครื่อง ซึ่งมีมูลค่ารวมกันหลายร้อยล้านบาท
 
นอกจากปัญหาการจัดซื้อเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์โดย มิได้ตรวจสอบการทำงาน วิธีการจัดซื้อก็อาจก่อปัญหาเช่นกัน โดยปกติการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของกองทัพ มักใช้การซื้อโดยวิธีพิเศษ ซึ่งในบางกรณีอาจมีความ จำ เป็น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ แต่ในอีก ด้านหนึ่ง การจัดซื้อด้วยวิธีดังกล่าวอาจทำ ให้หน่วยงานภาครัฐ ได้ของที่ราคาแพงเกินจริง เมื่อเทียบกับการจัดซื้อโดยวิธีประกวด ราคา หรืออาจได้ของที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ นอกจาก นี้ ความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ยังเป็นช่องทางให้ เกิดการทุจริต
 
แม้ว่ารัฐบาลจะจัดซื้อเครื่อง GT200 มาตั้งแต่ปี 2547 แต่การจัดซื้อจำ นวนมากเกิดขึ้นในช่วงปี 2550-2552 รัฐบาล ได้จัดซื้ออย่างน้อย 14 ครั้ง รวม 627 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ากว่า 570 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจัดซื้อโดยกรมสรรพาวุธทหารบก 8 ครั้ง รวม 408 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 370 ล้านบาท หรือเครื่องละประมาณ 900,000 บาท โดยใช้ทั้งงบประมาณของกองทัพบกและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) แม้ว่าการจัดซื้อเครื่องตรวจจับระเบิดทั้งหมดเป็นการจัดซื้อ จากบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด แต่หน่วยงานต่างๆ กลับจัดซื้อด้วยราคาที่ต่างกันมาก โดยกรมศุลกากรจัดซื้อจำนวน 6 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 430,000 บาท ขณะที่กรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม จัดซื้อจำนวน 3 เครื่อง แต่ซื้อในราคาสูงถึงเครื่องละ 1.2 ล้านบาท ในช่วงเวลาห่างจากที่กรมศุลกากรจัดซื้อเพียง 3 เดือน
 
ทั้งกรมราชองครักษ์และกองทัพบกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงกลาโหม จัดซื้อเครื่อง GT200 โดยวิธีพิเศษทำให้ราคาสูงกว่าการจัดซื้อของกรมศุลกากร 1-2 เท่า และหากพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมตั้งแต่หลังรัฐประหารในปี 2549 จะพบว่างบประมาณของกระทรวงกลาโหมเพิ่มสูงขึ้น เรื่อยๆ จนในปี 2556 สูงถึง 1.8 แสนล้านบาท การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษจึงสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่ารวมถึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต
 

ผลกระทบ

การจัดซื้อเครื่องมือที่มิได้มีการตรวจสอบการทำงานส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าและในกรณีการจัดซื้อเครื่อง GT200 น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่และประชาชน การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษเอื้อให้เกิดการทุจริตและยากต่อการตรวจสอบ
 
 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535
ข้อ 23 การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำ ได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่าง ประเทศ
(2) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
(3) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(4) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order)
(5) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(6) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจำตำแหน่งหรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติตามข้อ 60
(7) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(8) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น