วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554


ใข่ชั่งกิโล ล้มไปแล้ว ที่กำลังจะ ล้มเหลว อีกโครงการคือ........
http://www.internetfreedom.us/thread-16131.html


โครงการใข่ชั่งกิโล ล้มไปแล้ว


ข้อ8


8.ต้นทุน เราจะดูแลว่าพี่น้องประชาชนผู้บริโภคให้ได้รับ ความเป็นธรรมและมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนราคาต่างๆ ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียมมากยิ่งขึ้นอย่างโปร่งใส อาจจะมีการให้บริการไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือสถานีโทรทัศน์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่เป็นผู้บริโภคทั้งประเทศสามารถรับทราบการเคลื่อนไหวของราค​าต้นทุนต่างๆ จะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากราคาสินค้าที่อุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเรื่องของอาหารที่มีความจำเป็น นอกจากนี้ เรื่องของไข่จะมีการทดลองเรื่องให้มีทางเลือกของการซื้อขายกันเป็นกิโลกรัม ซึ่งจะเป็นการประหยัดต้นทุนเรื่องการคัดแยก ซึ่งอาจประหยัดได้ระหว่าง 5-10 สตางค์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนยากจนมีทางเลือกในการซื้อไข่เป็นกิโลกรัม โดยขณะนี้จะมีการนำร่องที่มีนบุรีและรังสิต


กำลังจะล้มต่อไป คือ
ข้อ1
1.ประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและรอคอยที่ จะเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาเป็นเวลาช้านาน กำลังพูดถึงคนกว่า 10 ล้านคน เพราะเราตั้งเป้ามาตลอดว่า ควรจะมีคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม 20 กว่าล้านคน แต่ปัจจุบันนั้นที่ทำมาเป็นเวลานาน เราจะติดอยู่ที่ตัวเลข 9-10 ล้านคน ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ด้วยพี่น้องประชาชนไม่มีนายจ้าง แม้ในกฎหมายปัจจุบัน ตามมาตรา 40 ของกฎหมายประกันสังคม ว่าสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ถ้ายอมจ่ายเงินเข้ามา แต่ที่ผ่านมาการจ่ายเงินตรงนี้ไม่จูงใจ และพี่น้องประชาชนเป็นแรงงานนอกระบบไม่สามารถสมทบเงินตามเงื่อนไขได้ กำลังมีการปรับกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เปิดโอกาสให้ประชาชนสมทบเงินไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน และสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ เราจะเปิดทางเลือก มีทั้งที่เป็นการสมทบเงินทั้งหมด รวมทั้งรัฐบาลด้วย 100 บาท 150 บาทต่อเดือน จะได้สิทธิประโยชน์การชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ถ้าในกรณีที่จ่าย 70 บาท รัฐบาลสมทบ 30 บาท ก็จะได้ 3 เรื่อง ถ้ากรณีจ่าย 100 บาท รัฐบาลสมทบ 50 บาท ก็ได้สิทธิในเรื่องของบำเหน็จชราภาพด้วย




[Image: s69vf.jpg]


หนุน "ผู้ประกันตน" หยุดจ่ายเงินให้สำนักงานประกันสังคม


วันนี้ (6 มี.ค.) ที่โรงแรมสยามซิตี้ ได้มีการเสวนา "ร่วมหาทางออก สร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกันตน" จัดโดยชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน โดย ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่าผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนในระบบประกันสังคมเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล วันนี้ถึงเวลาหรือยังที่จะไม่ต้องจ่ายเงิน วิธีการง่ายนิดเดียวคือแก้ไขกฎหมายหรือจ่ายเงินแต่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสิทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่จะทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เท่าเทียมกัน ถ้าจ่ายเงินก็ต้องให้สิทธิประโยชน์เพิ่ม หลักในการเปลี่ยนแปลงไม่ควรลดสิทธิคนที่มีอยู่ให้น้อยลงหรือตัดสิทธิคนจะเข้ามา เรื่องที่ยังเป็นปัญหาและควรทำให้มีประสิทธิภาพคือการประกันการว่างงานเพราะมีการจ่า​ยเงินปีหนึ่งหลายพันล้านบาท นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ภาพรวมระบบการรักษาพยาบาลมีความใกล้เคียงกันแต่อาจมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติอยู่​บ้าง การปรับปรุงหลักเกณฑ์สิทธิประโยชน์คณะกรรมการการแพทย์ก็มีการปรับปรุงมาพอสมควรแล้วอ​าจจะกินเวลาบ้าง ส่วนในอนาคตถ้าจะรวมกองทุนบริหารเพื่อประสิทธิภาพก็สามารถพูดคุยและจัดการร่วมกันได้​ ไม่ได้ปิดช่องทางนี้
นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า เริ่มเห็นด้วยว่าทำไมต้องจ่ายเงิน ซึ่งไม่เป็นธรรม ตนเห็นว่าควรจะยกเลิก โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ประกันสังคมเป็นหลักการที่ดีและมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ แต่ทำไมต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ถ้าเป็นไปได้ควรเท่าเทียมกัน โดยรัฐควรอุดหนุนการรักษาพยาบาลฟรี ทั้งนี้ถ้าไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องดูว่าจะมี รพ.รัฐรองรับได้มากน้อยแค่ไหน และต้องดูด้วยว่าเงินที่มีการหักก่อนหน้านี้เงินที่เหลือจะนำไปทำอะไร
นายนิมิตร์ เทียนอุดม เลขาธิการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า จะให้เวลา สปส. 30 วัน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น มิฉะนั้นจะเรียกร้องให้ผู้ประกันตนร่วมกันหยุดจ่ายเงินสมทบเงินส่วนที่เกี่ยวกับสุขภ​าพโดยจ่ายเฉพาะสิทธิประโยชน์ที่เหลือ และหากไม่ดำเนินการจะมีการเคลื่อนไหวต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น