“คันหู” จึงนำมาสู่การ “คันปาก” | |
นิติสาก ดรีกรีความดุเดือดเลือดพล่านในการวิจารณ์ข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” พุ่งไปสูงปรี๊ดเลย เมื่อ“แก๊งสนับสนุนรัฐประหาร” ที่อำพรางตัวด้วยการสวมเสื้อคลุมต่างๆ นาๆ ต่างก็พากันเฮละโลกันออกมา!!! “อัดกลุ่ม อ.วรเจตน์” ไอ้ผมในฐานะของคนที่จบกฎหมายมาคนหนึ่ง ฟังเสียงวิพากษ์ของทั้ง 2 ด้าน ก็รู้สึก “คันหู้...คนหู” เพราะเหตุผลที่มีการกล่าวโจมตีนิติราษฎร์นั้น “บ่มิไก๊” เอาเสียเลย ทั้งๆ ที่“นิติราษฎร์เขานำเสนอประเด็นวิชาการ” แต่ก็กลับมีอยู่ไม่กี่คนที่จะมาเถียงกันในทางเนื้อหากันแบบตรงไปตรงมากันจริงๆ จะมีก็แต่การกล่าวหาว่านิติราษฎร์ไปรับงานใครมา? ผมว่านิติราษฎร์เขาประกาศชัดเจนนะว่าเขารับงานของประชาชนที่รักในระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่พวกท่านล่ะตอบได้ไหมว่ารับงานใครเขามา? หากมาดูก็จะเห็นว่า อ่ะ...โอเคล่ะ “อ.สมคิด” ก็พอจะมีประเด็นถกเถียงทางวิชาการ “บ้าง” แต่ อ.กิตติศักดิ์ที่แหละที่ผมขอปรบมือให้ดังๆ ซักแปะสองแปะ!!! ที่กระโดดเข้ามาถกเถียงกันในทางเนื้อหาทางวิชาการจริงๆ แต่ก็เป็นการแย้งที่ไร้น้ำหนักอย่างยิ่ง โอยยยยยยย ส่วน “แก๊งสภาทนายไม่ได้ความ” นี่ ไม่ต้องมาพูดถึงเลย ไม่มีเครดิตหรอก แต่ก็นะ ผมก็ “คันปาก” ต้องขอวิจารณ์เสียหน่อย เพราะผมก็เป็นทนายความด้วยน่ะซิ การที่คุณ “สากกกกกกกก” ออกมาพูดแบบนี้มันทำให้คนที่ประกอบวิชาชีพทนายความแบบผมต้องเสียหายอย่างยิ่งเลย ยังไงก็แล้วแต่ ผมคงขอเกาะกระแส “อินเทนด์” เสียหน่อย ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ผ่าน “การตั้งคำถาม” แบบท่านอธิการบดีของ มธ. ที่ผมเห็นว่าน่าจะมีรากฐาน“ฮิต” มาจาก “อาจารย์แก้ว(สรร)” ที่ชอบเขียนบทความทำนองถามเอง ตอบเอง ชงเอง ชมเอง แล้วด่าคนอื่นเสียเองตลอดเวลา อุ๊บ!!! โอเค ยังไงงานนี้เขาไม่เกี่ยว (รึเปล่า?) ขอตั้งคำถามแค่ 1 คำถามสำหรับ อ.กิตติศักดิ์ 1. ตามที่อาจารย์อ้างคำพิพากษาของสูงสุดของอเมริกา (ซึ่งจริงๆ คดียังไปไม่ถึงนะคร้าบบบ คดีอยู่ที่ศาลอุทธรณ์ระดับสหพันธรัฐเท่านั้น) ที่พิพากษามาแล้วสรุปกันแบบดื้อๆ ว่า “นี่ไง ศาลมีคำพิพากษามาโต้แย้งการทำประชามติของประชาชนได้หากเห็นว่าผิดกฎหมาย” อาจารย์ช่วยตอบผมหน่อยว่าผู้พิพากษาเขามาจากไหน? มาจากคณะรัฐประหารเหมือนของไทยไหม? แล้วรัฐธรรมนูญของอเมริกามาจากผลพวงของรัฐประหารหรือไม่? หากอาจารย์ตอบคำถามของผมได้ อาจารย์ก็จะรู้ว่าสิ่งที่อาจารย์บอกว่าคำพิพากษาของศาลอเมริกาเป็น Anti-Majority Decision เป็นคำพูดที่ผิดโดยชัดเจน ฟันธง!!! อนึ่ง อาจารย์ระวังผิดฐานดูหมิ่นศาลสูงสุดของอเมริกานะครับผม ถ้ามีคนอีเมลล์ไปฟ้องเขาอ่ะ 1 คำถามสำหรับ อ.สมคิด (เพราะมีหลายคนเขียนถึงอาจารย์แล้วผมจึงขอแค่ 1 คำถาม) 1. อาจารย์กำลังใช้ตรรกะของการกำจัด “นายทุนสามานย์” โดยไม่ได้มองถึงเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐเลย ใช่หรือไม่? จริงๆ ขอแถมอีกซักหนึ่งหัวคำถาม (ข้อนี้อยากรู้เป็นการส่วนตัว) ตกลงจานนนนไปรับใช้พวกทหารจริงๆ ไหม? 2 คำถามสำหรับนายสากกกกก นายกสภาทนายไม่ได้ความ (ซึ่งเป็นคนละองค์กรกับที่ผมอยู่ คือ สภาทนายความที่รักในระบอบประชาธิปไตยและนิติรัฐ) 1. คุณใช้คำว่า “สภาทนายความ” ซึ่งมันสะท้อนถึง “องค์กรรวมทั้งหมด” ไปกล่าวอ้างโจมตีคนโน้นคนนี้ (นิติราษฎร์) คุณเอาอาณัติอะไรจากพวกผมๆ (ในฐานะทนายความ) ไป คุณรู้ได้ไงว่าผมคิดแบบคุณ ผมและผองเพื่อนทนายอีกหลายคน จริงๆ แล้วเห็นตรงกันข้ามกับคุณเลยนะ เวลาจะออกแถลงการณ์ในเชิง “องค์กร”กรุณาถามชาวบ้านชาวช่องเขาด้วย ทำประชามติของทนายน่ะเป็นไหม? หรือไอ้ความเป็นเผด็จการมันอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว? หากจะพูดก็กรุณาออกไปใช้สิทธิในฐานะนายสากกกก เดี่ยวๆ หรือกับเพื่อนๆ ร่วมแก๊งของพวกคุณเป็นรายบุคคลก็พอ อย่ามาเหมารวมพวกผมไปด้วย มิฉะนั้น พวกผมจะล่ารายชื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ควรเป็นนายกฯ สภาทนายอีกต่อไป กรุณาออกมาแถลงขอโทษพวกกระผมด้วยนะครับ 2. “แก๊งสภาทนายไม่ได้ความ” ที่มีคุณสากกกกเป็นหัวเรือเนี้ยะ ตอบได้ไหมว่า “นิติรัฐคืออะไร?” แต่ผมเดาว่าตอบไม่ได้หรอก เพราะทุกวันนี้ก็ตอบกฎหมายผิดๆ ผิดๆ (ไม่ใช่ผิดๆ ถูกๆ นะ) อยู่ตลอด คงจะไม่มีปัญญาตอบกระมัง 2 คำถามสำหรับสื่อกระแสหลัก 1. ทำไมจึงมุ่งเน้นแต่จะขายข่าวเท่านั้น การตั้งคำถามทำไมไม่เน้นไปในเชิงเนื้อหาให้พวกกลุ่มอาจารย์วรเจตน์และฝ่ายไม่เห็นด้วยมาคุยและถกเถียงกันว่า จริงๆ ข้อเสนอมีข้อดีข้อเสียยังไง ปฏิบัติได้จริงหรือไม่? หรือพวกเอ็งก็นิยมความไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน 2. สื่อกระแสหลักก็ยังยึดติดกับ “ทักษิณๆๆๆๆ” ไอ้ทักษิณเนี้ยะมันเป็นสิ่งมาบดบัง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายตามรัฐธรรมนูญนะเข้าใจไหม? ยกมันทิ้งไปได้ไหม แล้วทำใจด้วยความเป็นกลาง นำเสนอเนื้อหาของทั้งสองฝ่ายไปเลย อย่ามานั่งเสี้ยมๆๆ ให้ทะเลาะกันเฉยๆ เพื่อจะขายข่าวเท่านั้นเลย มันแสดงถึงความไม่มีวุฒิภาวะของสื่อกระแสหลักไทย เห็นแล้วอนาถใจ แค่นี้ทำได้ไหม? | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น