|
ฆ่าคนตายโดยเจตนาชนักปักหลัง‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’
|
|
คณะพนักงานสอบสวน
ที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ
และอัยการ ที่ประชุมมีมติให้แจ้งข้อกล่าวหากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
อดีตรองนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
(ศอฉ.) ว่าร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288
เสียงจากห้องแถลงข่าวของดีเอสไอ
ส่งผลให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมีสถานะเป็นผู้ต้องหา
เท่าเทียมกับอีกฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเผาบ้านเผาเมือง ก่อการร้าย
พลิกดูฐานความผิดตามข้อกล่าวหาในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ระบุเอาไว้ว่า
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา
เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
หรือเว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยไม่
มีเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกนึกในการที่กระทำ และขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา
แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
มาตรา 83, 84 อยู่ในหมวดตัวการและผู้สนับสนุน
มาตรา 83 กำหนดว่า
ในกรณีความผิดใดที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ
ต้องระวางโทษตามกฎหมายกำหนดไว้
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าจะโดยการบังคับขู่เข็ญ
จ้างวาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีการอื่นใด
ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไปไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ
ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด
ผู้ใช้ต้องระวางโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ในขณะที่มาตรา 288 อยู่ในหมวดความผิดต่อชีวิต ระบุว่า
ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่
15-20 ปี
นี่เป็นเพียงคดีแรกที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาต่อนายอภิสิทธิ์และนาย
สุเทพ ซึ่งเป็นไปตามตามแนวทางที่ศาลได้มีคำสั่งกรณีการเสียชีวิตของนายพัน
คำกอง คนขับแท็กซี่ ที่เสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียมใกล้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์
สถานีราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2553
ระหว่างการกระชับพื้นที่ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง
ที่พยานหลักฐานชี้ชัดว่าเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งของ ศอฉ. พนักงานสอบสวนให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมารายงานเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 12 ธ.ค.
แต่ดูตามรูปการณ์แล้วคงน่าจะมีการขอเลื่อนออกไปก่อน
อย่างน้อยๆก็น่าจะยื้อให้ถึงวันที่ 21 ธ.ค. ที่จะเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
ซึ่งจะทำให้ทั้งสองคนได้รับเอกสิทธิ์ความเป็น ส.ส. คุ้มครอง
ไม่ถูกดำเนินคดีระหว่างสมัยประชุมสภา
เพื่อตั้งหลักหาแนวทางต่อสู้คดีกันต่อไป เพราะหลังจากนี้ศาลจะทยอยมีคำสั่งหลังการไต่สวนสาเหตุการตายของคนเสื้อ
แดงออกมาอีกหลายศพ
ทั้งนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพต้องถูกตั้งข้อหาฆ่าคนอื่นตายโดยเจตนาอีกหลาย
คดี
ส่วนผลสรุปของคดีนี้จะเป็นอย่างไรคงต้องใจเย็นๆ ติดตามกันไปเรื่อยๆ เพราะเป็นหนังชีวิตเรื่องยาวที่ต้องต่อสู้กันไปอีกเป็น 10 ปี |
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น