วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย


'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!
'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย

11 พ.ย.56 นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แถลงยืนยันความพร้อมการถ่ายทอดสดศาลโลกอ่านคำตัดสินจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นขอตีความเรื่องอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร โดยจะถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านทางเว็บไซต์ของศาล www.icj-cij.org/homepage สามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงจริงในศาล เป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส พร้อมกันนั้้นกระทรวงการต่างประเทศได้จัดแปลเป็นภาษาไทยแบบสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) อีกทั้ง ยังสามารถเลือกรับฟังได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) เป็นภาษาไทย

นอกจากนี้ ยังติดตามได้ทางโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/ThaiMFA และ www.twitter.com/mfathai และยังมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 เป็นภาษาไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 เป็นภาษาอังกฤษ สถานีวิทยุ อสมท FM 100.5 และสถานีวิทยุสราญรมย์ AM 1575 เป็นภาษาไทย และยังสามารถรับฟังการอ่านคำตัดสินได้ทางเว็บไซต์ www.phraviharn.org และ saranrom.mfa.go.th เช่นเดียวกับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสามารถรับฟังผ่าน Mobile Application ของ อสมท. คือ MCOT App.

นายเสข กล่าวต่อว่า ลำดับขั้นตอนการถ่ายทอดการอ่านคำพิจารณาคดี จะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ทางช่อง 9 และ 11 จะถ่ายทอดรายการพิเศษก่อนการอ่านคำตัดสิน จากนั้นเวลา 16.00 น. ตามเวลาไทยหรือตรงกับเวลา 10.00 น. ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลจะเริ่มอ่านคำตัดสิน คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากศาลอ่านคำตัดสินเสร็จแล้ว จากนั้นประมาณ 20 นาที นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนสู้คดีฝ่ายไทย จะให้สัมภาษณ์สด หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และอีกประมาณ 40 นาที จะมีรายการพิเศษสัมภาษณ์นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก่อนที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ จะแถลงสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสข ได้เปิดให้คณะสื่อมวลชนเข้าชมศูนย์ข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยได้พาชมห้องวอร์รูมกลาง ที่มีไว้ติดตามสถานการณ์และรับการถ่ายทอดสด ซึ่งภายในห้องมีการติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ 3 จอ จากนั้นพาชมห้องล่ามแปลภาษา ที่มีล่ามแปลทั้งหมด 2 คน ห้องเทคนิคของช่อง 9 และ 11 และห้องถ่ายทอดรายการพิเศษ ที่จัดขึ้นห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม นายเสข กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มธรรมยาตราได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษว่า เป็นสิทธิสามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยและกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มดังกล่าวและประชาชนในพื้นที่แล้ว เพื่อยืนยันว่า จะไม่เกิดการปะทะกันในพื้นที่ชายแดนแน่นอน

"แม้ในระหว่างนี้ อาจมีข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนได้ ผมขอให้ประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเผยแพร่ เพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน และย้ำให้ประชาชนอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ควรรอฟังคำตัดสิน โดยท่านวีรชัย จะแปลภาษากฎหมาย เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย” นายเสข กล่าว

ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารแล้ว โดยกล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011

โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ

ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่

ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพกษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง

ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณ ดินแดน

โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง

เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ

ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962

1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน

2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1

3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแยังกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1

ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน

ศาลเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งภาคผนวก 1 ไม่ได้ระบุว่า เส้นทางชัดเจน แต่ชัดว่า ด่านตำรวจที่อยู่ใกล้เคียงกับแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลพิจารณาพื้นที่จำกัดด้านตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า ถือเป็นพื้นที่กัมพูชา ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความเรื่องบริเวณใกล้เคียงที่ครอบคลุมชะง่อนผาและครอบคลุมกัมพูชาไม่ถือว่าภูมะเขืออยู่ในพระวิหาร ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของจว.นี้ แต่ก็ถือว่า ภูมะเขือเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาและขณะเดียวกันเล็กกว่าจะครอบคุลมทั้งพระวิหารและภูมะเขือ และภูมะเขือไม่ได้เป็นบริเวณสำคัญที่ศาลจะพิจารณา ไม่มีหลักฐานที่จะเสนอว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารหรือกำลังไทยในบริเวณนั้น และไม่มีการพูดว่า ภูมะเขือมีส่วนสำคัญที่ไทยต้องถอนกำลัง

การตีความที่จะกำหนดจุดต่าง ๆ ศาลได้พิจารณาว่า ศาลไม่ได้กำหนดสันปันน้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลจะพิจารณา เนื่องจากศาลได้กำหนดว่า อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

หลังการพิจาณาสรุปว่า คำพิพากษาปี 1962 ศาลไม่ได้พิจารณาที่กว้าง ดังนั้นไม่ได้มีความตั้งใจพิจารณาว่าพื้นที่ใกล้เคียงหรือภูมะเขืออยู่ในไทย การพิจารณา ปี 1962 ตามที่มีการร้องขอในกระบวนการพิจารณาได้มีการพิจารณาในส่วนของเขาพระวิหารด้านใต้ ตะวันออกใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีชะง่อนหน้าผา สองฝ่ายตกลงว่า พื้นที่อันนั้นอยุู่ในกัมพูชา และตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่าที่เป็นสิ่งแยกเขาพระวิหารออกจาภูมะเขือ ก่อนลาดลงสู่พื้นที่ราบกัมพูชา ศาลพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่ข้อพิพาท และปี 1962 ไม่ได้บอกว่า อยู่ในไทยหรือกัมพูชาชะง่อนหน้าผาพระวิหารและภูมะเขือ มีพื้นที่ที่เริ่มสูงขึ้น เป็นเส้นของแผนที่

อย่างไรก็ตาม สองฝ่ายไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้ คำพิากษา 1962 ศาลพิจารณาเรื่องวัดที่เกี่ยวข้องในข้อบทปฏิบัติการข้อสามและจะทำให้เข้าใจข้อบทปฏิบัติการ ข้อพิจารณาในขณะนั้น เป็นเรื่องของอธิปไตย ศาลจึงได้ตัดสินใจในข้อปฏิบัติการที่ 1 ว่า พระวิหารอยู่ในกัมพูชา ไทยมีหน้าที่ถอนกำลังทาหร และอื่นๆ ออกไปจากพื้นที่ของกัมพูชาในแถบพระวิหารและเรื่องข้อปฏิบัติที่สามที่ครอบคลุมพื้นที่ขยายเกินขอบเขตพระวิหาร

สำหรับอธิปไตยเหนือพื้นที่ก็จเป็นบริเวณที่อยู่ใต้อธิปไตยของกัมพูชาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ และพื้นที่ดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของข้อพิพาทปี 1962 เรื่องอธิปไตยที่ศาลพิจารณาคือ คาบเกี่ยวทั้งที่พูดถึงในวรรคแรกและสาม ศาลสรุปว่า พื้นที่ที่พูดถึงในวรรค 1 และ 3 ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชาและถือว่า เป็นการอ้างถืงวรรคสองและสามและพูดถึงบริเวณพระวิหาร ที่มีการร้องขอให้พิจารณา

"ไทยได้รับว่า ไทยมีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะเคารพ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่ไทยบอกว่า เป็นพื้นที่อธิปไตยกัมพูชา สองฝ่ายต้องทำตามพันธกรณี ทั้งสองมีหน้าที่แก้ไขปัญหา ข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น ภายใต้การทำงานสองฝ่ายไทยกัมพูชาต้องคุยกันเอง ยูเนสโกต้องดูแลในฐานะดูแลมรดกโลก ก็สรุปว่า วรรคหนึ่งข้อบทปฏิบัติการทั้งหลาย กัมพูชามีอธิปไตยเหนือชะง่อนผาที่ต้องมีไว้ตาม 1962 ไทยต้องถอนทหารทั้งหมดออกไป ตามย่อหน้า 108 เป็นส่วนบทปฏิบัติการ ซึ่งศาลมีมติเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจรับฟังการตีความตามวันที่ 15 มิ.ย.1962 คือ กัมพูชามีอำนาจตามอธิปไตยในพระวิหาร ไทยต้องมีพันธกรณีถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ผู้เฝ้า"

วิเคราะห์! "ทิศทางคดีเขาพระวิหาร"  



เริ่มแล้ว!!! "ศาลโลก" ขี้นบัลลังก์!! ตัดสินเขาพระวิหาร


ฉบับเต็ม "ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ตอนที่ 2)



"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอน 3)



"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอน 4)


"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอนจบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น