วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

อำนาจและทำหน้าที่ ของ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระบอบการปกครอง
http://forum1.arinwan.com/index.php?topic=2021.0


ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) ในระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ 


ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใช้อำนาจในพระนามของกษัตริย์และมีอำนาจและทำหน้าที่เยี่ยงเดียวกับกษัตริย์  และสามารถใช้พระราชอำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่ ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: Constitutional Monarchy) ซึ่งอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน จะต้องทำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งอำนาจยังเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงแต่ถูดควบคุมโดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ  ยกตัวอย่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
ในมาตรา ๓ กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์ 


มาตรา ๗ การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ



มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนีติบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร



มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี



มาตรา ๘ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย



จะเห็นได้ว่า อำนาจนั้นยังเป็นของพระมหากษัตริย์หรือยังทรงมีอำนาจอยู่เพียงแต่ถูกควบคุมโดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญก็ต้องขึ้นอยู่กับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีเขียนไว้ว่าอย่างไร แต่ก็จะมีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจแทนพระองค์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่าง ในมาตรา 3 กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ  ผู้สำเร็จราชการก็จะเป็นประมุขสูงสุดของประเทศแทนพระมหากษัตริย์ 



 ส่วนใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: Democracy Constitutional Monarchy) นั้นจะมีตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ได้ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน จะมีได้เฉพาะ ตำแหน่งผู้แทนพระองค์ ไม่ใช่ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะไม่ทรงบริหารราชการแผ่นดินแล้ว "กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง" ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือทุกตำแหน่งที่ทรงเคยแต่งตั้งที่มีผลต่อปวงชนในการปกครอง เป็นอำนาจของปวงชนที่จะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด (อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน) ถ้ามีตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็เท่ากับอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน จักส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือพระเกียรติของกษัตริย์อย่างมาก เช่น การแผ่อิทธิพลหรือบารมีควบคุมหรือสามารถสั่งสมาชิกรัฐสภา รัฐบาล ฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ ข้้าราชการ และอื่นๆได้ 

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ ก่อนพ.ศ.2475 

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: Constitutional Monarchy) คือ รูปแบบหนึ่งของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญอันมีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือการสืบเชื้อสายพระราชบัลลังก์ โดยพระมหากษัตริย์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ใช้ โดยพระราชอำนาจของกษัตริย์จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็น ราชาธิปไตยแบบจำกัดอำนาจแต่อำนาจยังเป็นหรือยังอยู่ที่พระมหากษัตริย์ พ.ศ.2475 


ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: Democracy Constitutional Monarchy)
โดยทรงสละพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้กับปวงชน พ.ศ.2477  อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของปวงชนอย่างถูกต้องและชอบธรรม


http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น