กลุ่มผู้จัดงานสัมมนาหัวข้อศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังพยายามหลอกลวงประชาชนไทยด้วยวิธีการที่น่าตกใจอย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องอธิบายให้ชัดเจน-ซึ่งตรงข้ามกับข้อความที่กลุ่มบุคคลผู้จัดงานเลือกใช้คือ คำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ยัง “ดำเนินต่อไป” และมีมูลทางกฎหมายอย่างครบถ้วน สิ่งที่น่ากลัวคือ กลุ่มองค์กรที่เรียกตนเองว่า “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” (กสม.) พยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำลายการท้าทายทางกฎหมายในปัญหาเรื่องการไม่ต้องรับโทษในการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่องของกองทัพไทยและกลุ่มคนที่ร่วมสังหารคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2553 เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายที่เราต้องย้ำเตือนกสม.อีกครั้งว่าการที่อดีตนายกรัฐมนตรีนายมาร์ค อภิสิทธิ์ถือสัญชาติอังกฤษ ทำให้เขาตกอยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาคดีของไอซีซี
กสม. ควรจะตื่นจากภาพลวงตาและรับรู้ว่า สำนักงานกฎหมายของผมจะยังคงเดินหน้าและใช้ทุกวิธีการทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในปนะเทศไทยเพื่อนำตัวผู้ที่ทำร้ายและสังหารลูกความของผมและครอบครัวของพวกเขามาลงโทษ กสม.และผู้เข้าร่วมสัมมนานี้สามารถเลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเรื่องการไม่ต้องรับโทษในการกระทำความผิดต่อไป หรือเข้าร่วมกับกลุ่มคนที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันแท้จริงในประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
120 ชั้น 6 ตึกบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร 10210
8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
หัวข้อ: คำเชิญเพื่อบรรยายในงานสัมมนาหัวข้อ “ศาลอาญาระหว่างประเทศและสังคมไทย: จากการอธิปรายทางการเมืองไปสู่นโยบายของรัฐ”
ถึง เลขานุการพรรคเพื่อไทย
เอกสารที่แนบมา: 1) ตารางงานสัมมนา “ศาลอาญาระหว่างประเทศและสังคมไทย: จากการอธิปรายทางการเมืองไปสู่นโยบายของรัฐ”
2) ใบตอบรับ
ในหลายปีที่ผ่านมา “ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)” เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อไอซีซีถูกนำมาใช้ในบริบททางการเมือง (ที่ถูกแต่งขึ้นมา) และมีการอ้างถึงอำนาจการพิจารณาคดีของศาลเพื่อนำตัวกลุ่มบุคคลที่อาจมีส่วนรับผิดชอบต่อความรุนแรงทางการเมืองขนาดใหญ่ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียต่อประชาชนหลายราย แท้จริงแล้วศาลอาญาระหว่างประเทศมีจุดมุ่งหมายเพื่อยุติปัญหาของวัฒนธรรมการไม่ต้องรับโทษในการกระทำความผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง ไอซีซีคือกลไกลที่จะป้องกันการสังหารหมู่ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และอาชญากรรมความรุนแรงต่อมวลมนุษยชาติ
ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาของไอซีซี ดังนั้นไอซีซีจึงไม่มีอำนาจการพิจารณาในประเทศไทยไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ดังนั้นข้ออ้างในอดีตเป็นเพียงการแต่งเรื่องทางการเมืองเพื่อทำสร้างความสับสนต่อสาธารณชนเท่านั้น เหตุผลที่ประเทศไทยยังไม่เป็นสมาชิก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขั้วอำนาจทางการเมือง หน้าที่และข้อผูกพันที่ไม่ชัดเจนของศาล ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างศาลไทยและไอซีซี แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การที่นักการเมืองไทยไม่มีทิศทางและความปรารถนาที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ด้วยเหตุผลนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณะกรรมาธิการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนจึงจัดสัมมนาหัวข้อ “ศาลอาญาระหว่างประเทศและสังคมไทย: จากการอธิปรายทางการเมืองไปสู่นโยบายของรัฐ” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าร่วมไอซีซีของประเทศไทย
ดังนั้น เราจึงขอเรียนเชิญท่านหรือตัวแทนบรรยายในหัวข้อ “ศาลอาญาระหว่างประเทศและประชาชนไทย: ศรัทธา ความคาดหวัง และวัตถุประสงค์” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14.15-17.00 น. ที่ ห้องประชุม โรงแรมรามาการ์เดน กรุงเทพมหานคร
ด้วยความนับถือ
แท้จริง ศิริพานิช
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น