วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554


ท่าทีต่อศีลธรรมและการผลิตนิทานปรัมปราของสื่อมวลชนไทย

            เหตุการณ์ล่าสุดที่ผู้สื่อข่าวช่อง 7 นางสาวสมจิตร นวเครือสุนทรถูกคุกคามโดยกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มเล็กที่ไม่พอใจการนำเสนอข่าวที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นกลาง และมีการเรียกร้องปลดให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่โชคร้ายยิ่งนัก ผมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ขอสนับสนุนเสรีภาพของการแสดงออกของคุณสมจิตร รวมถึงสิทธิของนักข่าวไทยทุกคนในการตั้งถามคำถามต่อบุคคลใดก็ได้ และตีพิมพ์ความคิดเห็นดังกล่าวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม ข่มขู่ หรือแน่นอนที่สุดคือถูกจับกุม แต่มันน่าขบขัน เมื่อกลุ่มบุคคลเดียวกันนี้กลับนิ่งเฉย เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถูกยิงโดยพลซุ่มยิง และเพื่อนนักข่าวร่วมวิชาชีพถูกดำเนินนคดีจอมปลอมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ไม่มีมูล
             แน่นนอนว่าสื่อมวลชนไทยส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเรื่องภาพรวม พวกเรากำลังมองดูการตีโพยตีพายตามสัญชาตญาณทั่วโปและการผสมปนเปเรื่องราวดังกล่าว มีสร้างกระแสความตื่นตระหนกเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมที่สูงเกินจริง โดยพยายามป้ายสีคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่ใหญ่และกล้าหาญที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ว่าเป็นสัญลักษณ์จิตในคับแคบ ผู้นำกลุ่มโดยธรรมชาติอย่างนักข่าวของเดอะเนชั่นที่มักเจตนาเพิกเฉยต่อข้อมูล และที่พยายามบิดเบือนกรณีสมจิตรให้ตรงกับความเห็นส่วนตัวอย่างถึงที่สุด ไม่ต่างจากเหตุการณ์เรื่องการเผาตึก Reichstag [เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยเผด็จการนาซีเรืองอำนาจ และนาย Van der Lubbe ถูกประหารชีวิตหลังจากถูกทรมานให้รับสารภาพ-ผู้แปล]นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน เนื่องจากมีการตีพิมพ์บทความเข้าข้างกลุ่มอำมาตย์หลายบทความ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในแคมเปญใส่ร้ายป้ายสี
             เสื้อแดงบางคนเกิดความรู้สึกอึดอัดและใจร้อนกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งสนใจที่จะรักษาเสถียรภาพท่ามกลางอำนาจที่มองไม่เห็นของตุลาการนอกระบบซึ่งคุกคามรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ตามบทความของผมเรื่องรัฐซ้อนรัฐ) แต่ละเลยที่จะปกป้องกลุ่มเคลื่อนไหวจากการถูกโจมตีเหล่านี้ พวกเขาไม่ควรต้องรู้สึกเช่นนั้นเลย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรควรจะเคลื่อนไหวหรือพูดอะไรมากกว่านี้เพื่อปกป้องสมาชิกของกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะไม่มีเหตุผลใดที่พวกเขาควรจะอดทนต่อข้อกล่าวหาอันไร้สาระอย่างสิ้นเชิงซึ่งเป็นผลมาจาก “แคมเปญ” ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุกคาม
ท่าทีเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมจอมปลอมของกลุ่มสื่อมวลชนชั้นชั้นนำที่ถูกควบคุมในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องของอุบัติเหตุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน การกระทำของพวกเขาเป็นการผลิตนิทานปรัมปราโดยตรง เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับแต่งเรื่องราวและสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงต่อคนเสื้อแดงในสลายการชุมนุมนองเลือดในปี 2553 เมื่อข่าวจอมปลอมเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับพลเรือนและผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติที่จะหวนกลับไปมองเหตุการณ์เมื่อครั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ปิดวิทยุชุมนุมหลายร้อยสถานี จำคุกนักโทษทางการเมืองร่วมร้อยรายเพราะพวกเขาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และแน่นอนคือ สั่งให้กองทัพยิงสังหารผู้ชุมนุมมือเปล่า พวกกลุ่ม “เอ็นจีโอ” เหล่านี้ไม่พูดอะไรแม้แต่นิดเดียว และการคนกลุ่มเดียวกันนี้ต้องการที่จะเคลื่อนไหวปกป้องผู้สื่อข่าวช่อง 7 กลายมาเป็นเรื่องของความแสแสร้งและการฉกฉวยโอกาสอย่างล้ำลึก และยังทำให้สร้างความสับสนต่อความเข้าใจของประชาชนถึงประเด็นปัญหาที่สำคัญ
             นี่คือข้อเท็จจริง ประเทศไทยมีปัญหาใหญ่เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาของการแสดงออก นี่คือประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากกว่าประเทศใดในโลกนี้ ประเทศที่กฎเกณฑ์อันเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรถูกนำไปใช้อย่างเลินเล่อร้ายแรงถึงขั้นที่สื่อมวลชนถูกท้าทายอย่างล้ำลึกในการทำหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการกระทำผิด และทำให้ผู้กระทำผิดรู้สึกสบายใจ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สื่อมวลชนในกรุงเทพถูกทุ่มเททำงานห้กับฝ่ายตรงข้ามตนเอง
            นักข่าวที่ยึดถือเสรีภาพทางการแสดงไม่ควรแค่ปกป้องสิทธิผู้สื่อข่าวช่อง 7 ในการถามคำถามยากๆ แต่ควรจะใช้เวลาทุกวันถ้าเป็นไปได้ในการเข้าฟังการพิจารณาคดีของผู้อำนวยการเวปไซต์ประชาไท จีรนุช เปรมชัยพร พวกเขาควรติดตามข่าวสารล่าสุดของคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเผยแพร่ข่าวสารนั้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการดำเนินคดีเหล่านี้และคดีอื่นๆ และสำหรับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกโดเดี่ยวและถูกชักนำในทางที่ผิด พวกเขาควรจะปล่อยให้กลุ่มนักข่าวทุกคนไม่ว่าจะมีจุดยืนในทางการเมืองแบบใดก็ตาม ทำหน้าที่ได้โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม
           อย่างไรก็ตาม หากตัดสินจากวันแรกๆที่พรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เรื่องเล่าของสื่อมวลชนมีแนวโน้มว่าจะเพ่งความสนใจไปที่ “โครงเรื่อง”ในจิตนาการที่เกี่ยวกับความรุนแรงของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างขาดความเชื่อมโยงและไม่สมเหตุสมผลมากขึ้น รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาจินตนาการเกี่ยวกับทักษิณ และในขณะเดียวกันก็จะเพิกเฉยต่อเรื่องราวที่สำคัญที่สุดนั้นคือ เรื่องราวของประเทศที่เสียหายและเต็มไปด้วยความวุ่นวายกำลังที่พยายามจะกลับกลับไปปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งประชาชน มีการพิจารณาสร้างความปรองดองผ่านทางการรับผิดของทหารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และการเผชิญหน้ากับสภาวะที่ยุ่งเหยิงของเสรีภาพสื่อมวลชน แต่หากพรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะถลำลึกและหลงใหลไปกับเรื่องของทักษิณอย่างผิดๆมากกว่าความสุขของคนไทยมากเท่าไร พวกเขาก็จะทำให้ตนเองกลายกลุ่มบุคคลนอกประเด็นได้เร็วขึ้นเท่านั้น
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น