วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

วาด รวี:ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาคดีสมยศอยู่ตรงนี้

วาด รวี:ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาคดีสมยศอยู่ตรงนี้
Posted: 24 Jan 2013 06:48 AM PST (อ้างอิงจากเวไซท์ประชาไท)

ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาอยู่ตรงนี้

.............
เห็นว่าบทความคมความคิด ในนิตยสารเสียงทักษิณทั้งสองฉบั
บ มีเนื้อหาที่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีต เมื่อนำเหตุการณ์ในอดีตมาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาของบทความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์
.............


จากคำแถลงปิดคดีของฝ่ายจำเลย พบว่า ประเด็นสำคัญข้างบนมาจากคำให้
การของ ธงทอง จันทรางศุ ตรงส่วนนี้

......................
พยานส่วนใหญ่ของโจทก์ให้ความเห็
นว่าผู้เขียนบทความทั้งสองบทความมีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์ เฉพาะศาสตราจารย์พิเศษธงทองดูเอกสารหมาย จ.๒๔ แล้วเบิกความว่า ไม่ได้ให้ความเห็นว่าเข้าค่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ แต่ได้ให้ความเห็นว่าข้อความที่ปรากฏอยู่ในหน้า ๔๖ ตรงคำว่า “โคตรตระกูล” นี้นั้นหมายถึงราชวงศ์จักรี และไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ.๒๕
.......................

และส่วนนี้

.......................
เมื่อเปรียบเทียบความเห็
นของ พยานโจทก์เฉพาะปากนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ กับ นางสาวชรินรัตน์ อิงพงษ์พันธ์ ในการให้ความเห็นบทความ ตามเอกสารหมาย จ.๒๔ และ จ.๒๕ ยังไปคนละทิศทาง ไม่อาจสรุปได้ว่าความเห็นของฝ่ายใดถูกหรือของฝ่ายใดผิด เช่นเดียวกับความเห็นพยานโจทก์ปากศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ พยานโจทก์ที่เบิกความตอบอัยการโจทก์ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๒ บรรทัดที่ ๔-๑๓ และในหน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๗-๑๐ นับจากบนลงล่าง ความว่า “พยานดูเอกสารหมาย จ.๒๔ แล้วเบิกความว่า ..........................................คำว่า “โคตรตระกูล” ที่ระบุไว้ทั้งสองแห่งผู้เขียนสื่อความหมายให้ผู้อ่านนึกถึงราชวงศ์จักรี ตรงที่หมายถึงราชวงศ์จักรีนั้นอ ยู่ตรงคำว่า “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ชัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” เป็นประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายกรุงธนบุรีในปี ๒๓๒๕ ต่อเนื่องกับตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์...................โจทก์ให้พยานดูเอกสารหมาย จ.๒๕ เป็นบทความโดยผู้เขียนนามปากกาเดียวกับ จ.๒๔ พยานดูแล้วเบิกความว่าเรื่อง ๖ ตุลา ๒๕๕๓ นี้ ผู้เขียนสมมุติตัวละครเดินเรื่องชื่อ “หลวงนฤบาล” อ่านแล้วข้าฯไม่แน่ใจไม่สามารถให้ความเห็นเด็ดขาดได้ว่าหมายถึงบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือไม่”
......................

ศาลอาศัยปากคำของ ธงทอง ที่ตีความคำว่า “โคตรตระกูล” ว่าหมายถึง "ราชวงศ์จักรี" และอาศัยจุดนี้ในการเชื่
อมโยงให้ความหมายว่า “หลวงนฤบาล” คือพระเจ้าอยู่หัว



ประการที่หนึ่ง ธงทองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือมี
ความรู้ประวัติศาสตร์

ธงทองนี่เชี่ยวชาญด้าน “นิติศาสตร์” นะครับ ไม่ใช่ “ประวัติศาสตร์” ไปดูประวัติเสีย ไม่มีผลงานอะไรที่เป็นเกียรติคุ
ณด้านประวัติศาสตร์เลย ถ้าจะเบิกความพยานแล้วอ้างว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ตามเรื่องในบทความส่วนที่กล่าวว่า :
..............................
............คำว่า “โคตรตระกูล” ที่ระบุไว้ทั้งสองแห่งผู้เขียนสื่อความหมายให้ผู้อ่านนึกถึงราชวงศ์จักรี ตรงที่หมายถึงราชวงศ์จักรีนั้นอ ยู่ตรงคำว่า “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ชัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” เป็นประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายกรุงธนบุรีในปี ๒๓๒๕ ต่อเนื่องกับตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์

นี่ต้องเบิกความ “นักประวัติศาสตร์” นะครับ (โว้ย)

ไม่ใช่นักนิติศาสตร์

และต้องเป็นนักประวัติศาสตร์ที่
เชี่ยวชาญในสมัยนั้นด้วย ซึ่งในประเทศนี้ ก็มีหลายคนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับที่สุดในเรื่องประวัติศาสตร์กรุงธนบุรีก็คือ นิธิ เอียวศรีวงศ์



ประการที่สอง การตีความของธงทองผิดข้อเท็จจริ
งทางประวัติศาสตร์

คำว่า “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ซัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” ที่อ้างว่าเป็นประวัติศาสตร์ช่
วงท้ายกรุงธนบุรีในปี ๒๓๒๕ ต่อเนื่องกับต้นรัตนโกสินทร์นี่
ถามว่าใครบ้างที่อยู่ในข่
ายตามทำนองตีความที่อ้างมา ?

มีเป็นร้อยนะครับเป็นร้อย

นี่คือบางส่วนจากพงศาวดารกรุงธนบุรี (ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)  ในช่วงเวลาดังกล่าว:

ณ วัน ๗ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เพลาเช้า ๒ โมง เสด็จพระราชดำเนินทัพมาจากเสี
ยมเรียบ ประทับ ณ พลับพลาหน้าวัดโพธาราม ฝ่ายข้าทูลละลองฯ ผู้ใหญ่น้อยพร้อมกันไปเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบ ข้ามมาพระราชวังดุสิต ณ ศาลาลูกขุน มีหมู่พฤฒามาตย์ราชกุลกวีมุขเฝ้าพร้อมกัน จึ่งมีพระราชบริหารดำรัสปฤกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัจละสุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ ขอให้ปริวัตรออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดินและพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น

จากข้อความในพงศาวดารข้างต้น ที่ว่า

“เสด็จพระราชดำเนินทัพมาจากเสี
ยมเรียบ” ในตอนต้นนั้นคือ รัชกาลที่ ๑

ส่วนที่ว่า “เอาพระเจ้าแผ่นดินและพวก..” นั้นหมายถึง พระเจ้าตาก

นอกจากรัชกาลที่ ๑ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ก็ยังมีคนอีกจำนวนมาก เช่น (ตามพงศาวดารที่ยกมา)

๑. ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย
๒. หมู่พฤฒามาตย์ราชกุลกวีมุข
๓. ทแกล้วทหารทั้งปวง


คนสามกลุ่มนี้มีใครบ้าง ไปดูพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ตอนตั้งเจ้านายและข้าราชการ


๑ ประดิษฐานพระราชวงศ์ (ดูพงศาวดารกรุงรัตโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรณ์, ศรีปัญญา หน้า ๔๙)

คำว่า ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็หมายถึงพวกราชวงศ์ทั้งหลายที่
ตั้ง กันในตอนนั้น เป็นเจ้าฟ้า ๑๙ คน เช่น สมเด็จพระพี่นาง, สมเด็จพระอนุชาธิราช (กรมพระราชวังบวร), สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งหลาย และยังมีหลานอีกมากมาย


๒ หมู่พฤฒามาตย์ราชกุลกวีมุข (เล่มเดียวกันหน้า ๕๓)

กลุ่มนี้ก็คือพวกขุนนางวั
งหลวงทั้งหลาย ซึ่งมีหลายสิบและอาจจะเกือบร้อย

เช่น

ตรัสเอาพระอักขรสุนทร...ชื่อสน ข้าหลวงเดิม มีความชอบโดยเสด็จพระราชดำเนิ
นไปงานพระราชสงคราม เป็นเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ที่สมุหนายก

ตรัสเอาหลวงสรวิชิต ชื่อหน มีความชอบนำเอาข้อราชการในกรุ
งธนบุรีออกไปกราบทูลถึงด่านพระจารึก..

ตรัสเอานายบุญนาค บ้านแม่ลา ซึ่งเป็นต้นคิดปราบจลาจลในกรุ
งธนบุรี มีความชอบ เป็นเจ้าพระยาไชวิชิตผู้รักษากรุงเก่า...

ตรัสเอานายแสง ซึ่งมีความชอบได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือลับให้ทรงพระราชดำริ
รักษาพระองค์ เป็นพระยาทิพโกษา...

ตรัสเอาหม่อมบุนนาค บุตรพระยาจ่าแสนยากรครั้งกรุ
งเก่า มิได้คิดเข้ามาทำราชการหายศบรรดาศักดิ์ พึ่งแต่พระเดชพระคุณให้ใช้สอยอยู่ลับ ๆ (คำว่า “อยู่ลับๆ” ปรากฏในฉบับตัวเขียนเดิม แต่ฉบับตัวพิมพ์กับฉบับกรมพระยาดำรงฯ ถูกตัดออก)

เป็นต้น


๓ ทแกล้วทหารทั้งปวง (เล่มเดียวกัน หน้า ๖๐)

ครั้นเสร็จตั้งขุนนางผู้ใหญ่ผู้
น้อยแล้วทรงพระดำริว่า เมื่อครั้งกรุงเก่า เมื่อปักษ์ใต้ยกมาขึ้นแก่กรมนั้น เพราะกลาโหมมีความผิด บัดนี้เจ้าพระยามหาเสนา ที่สมหุพระกลาโหม มีความชอบมาก จึงแบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก.....

ข้าราชการทหารบางส่วนก็ปนกันกั
บข้าราชการวังหลวง แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่ามีคนร่วมโค่นพระเจ้าตากอย่างหลากหลายเต็มไปหมด (ไม่งั้นก็คงทำไม่สำเร็จ)


พูดง่าย ๆ ก็คือ บุคคลที่เข้าข่าย “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ซัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” หรือจะเรียกว่า ทรยศพระเจ้าตาก ตามทำนองของเรื่องในการตี
ความของศาลนั้น มีทั้งเจ้าทั้งขุนนางขุนทหารเป็นร้อย ๆ คนที่สามารถอยู่ในนิยาม ไม่จำเป็นต้องเป็น “ราชวงศ์จักรี” เท่านั้นตามการตีความของธงทอง และที่สำคัญต่อให้เป็นบุคคลที่ (ถือว่า) อยู่ในราชวงศ์จักรี อย่างเช่น กรมพระราชวังบวร (วังหน้า หรือน้องชายของ ร.๑) จะเรียกได้ว่าเป็นการสืบสาวมาถึง พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน รัชกาลที่ ๙ ได้หรือ ?

ถ้าเป็นอย่างนั้น ใครที่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อเจ้
าโดนด่าพ่อล่อแม่ไปถึงบรรพบุรุษ ก็ผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 หมด ?

ตระกูลที่เคยมีคนดองกับเจ้า เช่น ณ อยุธยา, ณ พัทลุง, ณ นคร และตระกูลเก่าอีกหลายตระกูลที่
มีสาแหรกโยงกับเจ้านี่ ก็อยู่ในข่ายคุ้มครองของกฎหมายอาญามาตรา 112 หมด? (เพราะบรรพบุรุษเดียวกับพระเจ้าอยู่หัว)


จะเห็นได้ว่าเฉพาะประเด็นสำคั
ญที่เป็นการตีความของธงทอง จันทรางศุ และนำไปสู่การข้อสรุปว่า หลวงนฤบาล คือ พระเจ้าอยู่หัว แม้พิจารณาในฐานะของข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์โดด ๆ ก็มีปัญหามากมายเต็มไปหมด และมีทางตีความมากมายเต็มไปหมด ไม่จำเป็นต้องตีความแบบธงทองก็ได้



อ้างอิงจาก
เปิดคำพิพากษาย่อ: จำคุก 10 ปี ‘สมยศ’ ในฐานะบก.ผิด ม.112 - ต่างชาติชี้สร้างบรรทัดฐานเซ็นเซอร์ตัวเอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น