TIME : อะไรอยู่เบื้องหลังการปราบปรามด้วยกฎหมายหมิ่นฯ ? | |
กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชของไทย กับพระราชินีสิริกิติ์ (ภาพประกอบบทความของTIME) โดย ROBERT HORN / BANGKOK ที่มา Time.com June 02, 2011 แปลไทยโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ อะไรอยู่เบื้องหลังของการกวาดล้างจับกุมภายใต้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ในประเทศไทยมักมีการอ้างอิงถึง,ด้วยน้ำเสียงเรียบๆ,ว่า"สถาบันฯ" ในดินแดนที่ซึ่งสิ่งสูงสุดสามประการประกอบไปด้วย ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ การพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันฯ,นอกจากในแง่มุมของการเทิดพระเกียรติแล้ว,จะกลายเป็นเรื่องที่เสี่ยง นักกิจกรรมทางการเมือง,นักวิชาการมหาวิทยาลัย,เว็บมาสเตอร์ และงวดนี้มาถึงตัวประชาชนคนอเมริกันคนหนึ่ง ได้พบว่ามันเป็นเรื่องที่แย่มาเมื่อต้องถูกจับกุมตัวและถูกตั้งข้อหาด้วยกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฏหมายเกี่ยวกับการหมิ่นพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี หรือผู้สืบทอดราชสบบัติ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยได้แถลงว่าพวกเขาได้จับกุมตัวนายโจ กอร์ดอน, อายุ 55 ปี, หรืออีกนามหนึ่งว่า นายเลอพงศ์ (สงวนนามสกุล), คนอเมริกันคนหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศไทย, ที่บ้านของเขาในภาคอีสานของไทย ด้วยข้อหาระบุว่าได้โพสต์ลิงก์หนึ่งลิงก์บนเว็บบล็อกของเขาในปี 2007 ซึ่งเชื่อมโยงไปยังหนังสือที่ชื่อ The King Never Smiles, หนังสือที่มีเนื้อหาวิพากษ์เชิงลึกในขณะที่บางคนมองว่าเป็นการงานวิพากษ์ที่ไม่ยุติธรรมต่อพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หนังสือดังกล่าว,เขียนโดยนักเขียนที่ชื่อ Paul Handley,ถูกแบนในประเทศไทย นายกอร์ดอนถูกตั้งข้อหาที่หากถูกลงโทษต้องจำคุก 3 ถึง 15 ปี เจ้าหน้าที่ทางการไทยกล่าวว่านายกอร์ดอนยังได้ถือสัญชาติไทยและได้กระทำความผิดขณะที่อยู่ในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมข้อหาหมิ่นเคสก่อนหน้านี้) หากไม่ดูจากมุมมองจากหนังสือของ Handley, มีราชวงศ์ไม่มากนักที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในประเทศและต่างประเทศเช่นเดียวกับที่กษัตริย์ภูมิพลได้รับ พระองค์ทรงเถลิงราชสมบัติได้ 64 ปี และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุด พระองค์ท่านขณะนี้ทรงเจริญพระชนมพรรษา 83 พรรษาและไม่ค่อยมีพระพลานามัยสมบูรณ์ กษัตริย์ภูมิพลได้รับความชื่นชมอย่างแท้จริง ได้รับความยกย่อง และความรัก ระหว่างทศวรรษที่ผ่านมาจากกว่า 4,000 โครงการในพระราชดำริที่ทรงตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขช่วยเหลือคนยากจน รวมไปถึงการเข้าไปยับยั้ง,ซึ่งทรงกระทำจำนวนน้อยครั้งมาก,เพื่อที่จะหยุดการฆ่าล้างกันระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศ สถาบันฯซึ่งผูกพันอย่างลึกซึ้งต่อประวัติของประเทศไทยกว่า 700 ปี ได้รับการมองว่าเป็นจุดศูนย์รวมของทุกภาคส่วนในสังคม แต่ไม่ว่าสถาบันฯจะสามารถดำรงการมีบทบาทในฐานะการรวมศูนย์ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีความแตกแยกในสังคมเพิ่มขึ้นได้ สถาบันฯได้กลายมาเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกนำมาดีเบตอย่างเงียบๆและระมัดระวังในปีที่ผ่านๆมาระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้รุมเร้าประเทศไทย นับตั้งแต่กองทัพได้ขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยอ้างว่าเขาไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯอันเป็นหนึ่งในข้อกล่าวหาเพื่อทำการเข้าควบคุมอำนาจ สถาบันฯได้ถูกนำมาเป็นหัวข้อของความขัดแย้งเมื่อ (เซ็นเซอร์) นักวิชาการไทยในฟากรัฐบาลจะบอกคุณว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือพอที่จะแสดงพิสูจน์ว่าไม่เป็นเช่นนั้น แต่ก็เป็นเหมือนกับน้ำท่วมที่มากับฝนมรสุมในแม่น้ำเจ้าพระยา - แม่น้ำของกษัตริย์ทั้งหลาย - ที่ไหลผ่านในพื้นที่ลุ่มเพาะปลูกข้าวไปยังพื้นที่พระราชวังเก่าในกรุงเทพฯ... การเมืองได้ไหลท่วมขึ้นมาถึงระดับสถาบันฯแล้ว ข้อมูลและหลักฐานในกรณีการตั้งข้อหาอย่างกว้างขวางในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อผู้คนจำนวนมาก อ้างจากนาย David Streckfuss นักวิชาการประวัติศาสตร์ประเทศไทยผู้ซึ่งได้เขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับกรณีหมิ่นฯจำนวนมาก ก่อนการรัฐประหารปี 2006 มีเคสหมิ่นฯโดยเฉลี่ย 5 กรณีต่อปี นับตั้งแต่ปี2006 มีคดีผ่านศาลกว่า400กรณี ซึ่งรวมกรณีนักโปรแกรมเมอร์ผู้ซึ่งได้โพสต์ข้อความที่ไม่น่าดูเกี่ยวกับราชวงศ์, นักรณรงค์ทางการเมืองฝ่ายค้านผู้ซึ่งเรียกร้องให้มีการ (เซ็นเซอร์) royal family, เว็บมาสเตอร์ของเว็บการเมืองที่ไม่ได้ลบความเห็นเชิงลบที่โพสต์โดยผู้อ่านเร็วพอ และอาจารย์โพรเฟสเซอร์มหาลัยผู้ซึ่งได้เขียนบทความเชิงวิชาการที่ต้องการปฏิรูปสถาบันฯ ในหลายเหตุการณ์ ชาวต่างประเทศและผู้สื่อข่าวต่างประเทศก็ต้องเผชิญกับข้อหาหมิ่นฯด้วย "ที่จุดๆหนึ่ง จำนวนคดีกำลังเพิ่มไปถึงจุดที่สร้างผลลัพธ์ในทางลบต่อตัวสถาบันฯและสังคมเอง" นาย Streckfuss กล่าว กษัตริย์ภูมิพลได้ทรงยกเรื่องดังกล่าวในพระราชดำรัสตอนหนึ่งในปี 2005, เมื่อพระองค์ท่านทรงกล่าวว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้พระองค์ท่านเดือดร้อน และกล่าวว่าพระองค์ท่านสามารถ,จริงๆ,ถูกวิจารณ์ได้ถ้าท่านทำผิด พระองค์ท่านกล่าวว่า "ถ้าเขาบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิด งั้นขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบ เดือดร้อน ... แต่เมื่อบอกว่า ไม่ให้วิจารณ์ ไม่ให้ละเมิด ไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ก็ลงท้าย ก็เลยพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบากแย่" ไม่เคยปรากฏว่าสมาชิกราชวงศ์จะทรงฟ้องใครด้วยข้อหาหมิ่นฯ พวกเขาถูกฟ้องโดยบุคคลอื่น โดยเกือบจะทุกเคสกระทำโดยบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัง, เพราะว่ากฏหมายเอื้อให้ใครก็ได้สามารถฟ้องหมิ่นสถาบันฯได้ กระนั้นก็ตามจุดยืนของนายกฯปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คือให้คงกฏหมายไว้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาก็คือ, เขากล่าว, กฏหมายกำลังถูกบิดเบือน เพื่อที่จะป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวเขาได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อที่จะทบทวนกรณีต่างๆก่อนที่จะมีการขึ้นศาลและถอนคดีหากว่ากรณีดังกล่าวนั้นๆมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อน แม้กระนั้นก็ตาม (หลายๆเคสที่ลิงก์กับเรื่องละเอียดอ่อนจะถูกถอน) จำนวนเคสก็ยังคงมากอยู่ดี นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาลได้บอกกับผู้สื่อข่าวก่อนหน้านี้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจและศาลจำนวนน้อยมากที่ต้องการจะจำหน่ายคดีเพราะเกรงข้อครหาว่าจะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี ฝ่ายค้านกล่าวว่านายอภิสิทธิ์และพวกแม่ทัพอำมาตย์กำลังใช้กฏหมายหมิ่นฯเพื่อต่อต้านพวกเขา ในเดือนพฤษภาคม 2010, กองทัพได้สลายการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในนามกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งได้ยึดใจกลางเมืองหลวงกรุงเทพฯและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนหนึ่งของการอ้างความชอบธรรมในการใช้กำลัง ซึ่งทำให้คน 92 คนต้องตายลงในช่วงสองเดือนของการเผชิญหน้า เจ้าหน้าที่อ้างว่าคนเสื้อแดงได้เกี่ยวข้องกับแผนการณ์ในการล้มสถาบันฯ เมื่อเดือนที่ผ่านมานายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้นำเสื้อแดงคนหนึ่งและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ ก็ถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในขณะที่เสื้อแดงจำนวนมาก,แม้ไม่ใช่มากที่สุด,สนับสนุนระบอบกษัตริย์ กลุ่มคนที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์ไม่ได้อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวดังกล่าว และแม้กระทั่งคนบางส่วน,แม้จะไม่ทั้งหมด,ของผู้นำเสื้อแดงก็ได้วิพากษ์ต่อกลุ่มชนกลุ่มดังกล่าว คนเสื้อแดงส่วนมากสนับสนุนทักษิณผู้ซึ่งเห็นตรงกับผู้นำเสื้อแดงคนอื่นๆที่ได้กล่าวหาว่าประธานองค์มนตรีของกษัตริย์มีความเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร - ซึ่ง(เปรม)เขาได้ปฏิเสธ แต่ความ(เซ็นเซอร์)ของคนเสื้อแดงบางคนได้แผ่กระจายไปยังสถาบันฯด้วยโดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเพราะว่าในปี2008 พระองค์ท่านได้ทรงเข้าร่วมงานศพของผู้เข้าร่วมประท้วงต่อต้านนายกฯทักษิณซึ่งเป็นกลุ่มคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดงและเสื้อเหลืองเป็นศัตรูคู่แค้นกัน บรรยากาศทางการเมืองที่รุมเร้าได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกับกระแสคลั่งลัทธิต่อต้านคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 50 ในประเทศสหรัฐฯ ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในบางครั้งก็ถูกใช้โดยคู่กรณีประสงค์เป็นเครื่องมือในการทำลายชื่อเสียงของศัตรู - ไม่ว่าจะเป็นทางส่วนบุคคลหรือทางการเมือง ปัญหาที่กวนใจที่สุดคือการไปปิดหนทางการถกเถียงอย่างจริงจังหรือในเชิงวิชาการต่อบทบาทของสถาบันฯ แม้ว่าหนังสือ The King Never Smiles จะถูกแบนในประเทศไทย เนื้อหาในหนังสือส่วนมากก็ถูกเขียนขึ้นในภาษาไทยโดยนักวิชาการไทยแล้ว พวกเขาไม่ต้องถูกเซ็นเซอร์ผลงานของเขา - จนกระทั่งเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อกองทัพไทยได้กล่าวโทษต่อนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, อาจารย์โพรเฟสเซอร์มหาลัย, ผู้ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันในงานสัมนาอันหนึ่ง ในช่วงเหตุการณ์การเปลี่ยนผ่านในประเทศไทย ความกระตือรือร้นที่เกินเหตุของกลุ่มผู้ปกป้องสถาบันบางส่วน อาจจะดูเหมือนเป็นการกระทำที่ซื่อตรงและมีเจตนาที่ดี แต่ผลลัพธ์ของการกระทำเช่นที่ว่าจะส่งผลบ่อนเซาะอนาคตของสถาบันอันหนึ่งซึ่งยังต้องได้รับการสนับสนุนจากคนไทยส่วนใหญ่ และนั่นก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร, ผู้สืบทอดพระราชสมบัติ ซึ่งยังคงต้องรักษาระดับความรักของปวงประชาชนเฉกเช่นที่มีต่อพระราชบิดา นาย Streckfuss ได้กล่าวถึงหนทางจำนวนหนึ่งในการสร้างกลไกการหยุดจำนวนคดีหมิ่นฯระหว่างวงนักวิชาการ พวกเขาได้กล่าวรวมถึง การที่คดีจำต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักพระราชวังก่อนที่จะไปยังศาล เพื่อที่จะนำกฏหมายดังกล่าวไปอยู่ในระดับมาตรฐานของกฏหมายหมิ่นทั่วไป และลดจำนวนการจับกุมคุมขัง "ปัญหาในการนำเสนอการปฏิรูปดังกล่าวคือ ใครก็ตามที่เสนอจะต้องเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี - หรือจะโดนคดีหมิ่นฯซะเอง" นาย Streckfuss กล่าว งานท้าทายที่มีต่อผู้นำประเทศไทยคือการค้นหาความกล้าหาญในการที่จะเปิดประเด็นถกเถียงด้วยเหตุผลและเคารพ ในการที่จะดำรงค์สิ่งที่พวกเขาทั้งหลายต้องการที่จะปกป้อง. | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น