|
|
|
“บันไดขั้นแรกคือวันที่ 28 ตุลาคม ส่วนขั้นที่ 2 จะตามมาในไม่กี่วัน จะเอาให้จบ ไม่ยืดเยื้อ คิดว่าจะมี 2 ขั้นเท่านั้น ต้องจบ”
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
และแกนนำสำคัญในการต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ประกาศในการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย 30 องค์กร
ที่นำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย
ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ภายใต้ชื่อ “รวมพลัง คนทนไม่ไหว
หยุดวิกฤตและหายนะชาติ” ซึ่งที่ผ่านมา
น.ต.ประสงค์อยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ
รวมถึงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต่ครั้งนี้ต้องออกมาอยู่หน้าเวที ทั้งยังประกาศชัดเจนว่าบันไดขั้นที่ 2
หรือการชุมนุมครั้งต่อไปต้องเผด็จศึก คือขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ให้ได้
ขณะที่
พล.อ.บุญเลิศเรียกร้องให้ผู้ที่มาร่วมชุมนุมกลับไปบอกผู้ที่ไม่ได้มาให้มา
ร่วมชุม นุมครั้งต่อไป โดย 1 คน ให้ชวนให้ได้ 100 คน
หากสรุปยอดผู้ชุมนุมตามที่ พล.อ.บุญเลิศระบุว่ามีประมาณ 30,000 คน
มาลงทะเบียน 20,000 คน และอีก 10,000 คนไม่ได้ลงชื่อ
การชุมนุมครั้งต่อไปที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 1 เดือนนี้จะมีผู้มาชุมนุมมากถึง
100,000-200,000 คน โดยจะรวมพลในช่วงเช้าแล้วเคลื่อนไปยังทำเนียบ
รัฐบาลเพื่อยื่นรายชื่อผู้คัดค้านรัฐบาลต่อ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ซึ่ง
พล.อ.บุญเลิศประกาศว่า
“บันไดขั้นที่ 2 จะต้องจบการชุมนุมในวันเดียว จะเป็นการชุมนุมในนามกลุ่มประชาชนคนรักชาติ องค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย”
พล.อ.บุญเลิศระบุว่า
หากล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อาจต้องแช่แข็งไม่มีการเลือกตั้ง 5 ปี
หยุดเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ โดยภายใน 5 ปีจะมีคณะบุคคลทำ 4
ภารกิจคือ 1.การแก้รัฐธรรมนูญ 2.การเพิ่มการศึกษา
3.การเพิ่มความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 4.นำตัว
พ.ต.ท. ทักษิณกลับประเทศไทยเพื่อรับโทษตามกฎหมาย
เงื่อนไขจุดไฟติด?
การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายเมื่อวันที่ 28
ตุลาคมที่ผ่านมาทำให้เห็นความแตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสีหรือ
“สลิ่ม” ที่นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์
ซึ่งไม่ค่อยมีพลังและได้รับความสนใจจากประชาชนนัก แม้จะพยา
ยามออกมาเคลื่อนไหวบ่อยครั้งก็ตาม
ที่น่าสังเกตคือการชุมนุมครั้งนี้แม้จะไม่มีกลุ่มพันธมิตรฯเข้าร่วม
แต่บุคคลสำคัญที่ขึ้นเวทีอภิปรายก็เกี่ยวข้องกับกลุ่มพันธมิตรฯและขาประจำ
ที่ต่อต้านทักษิณ
โดยเฉพาะกองทัพธรรมของสันติอโศกที่ระยะหลังกลายเป็นกำลังหลักในการชุมนุมของ
กลุ่มพันธมิตรฯ นอกจากนี้ยังมีนายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ กลุ่มกองทัพธรรม นายนิพนธ์
วงษ์ตระหง่าน นักวิชาการที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
อดีตสมาชิกวุฒิสภาและแกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นายณรงค์
เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย นายพิเชฐ
พัฒนโชติ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ฯลฯ
แม้ข้อเรียกร้องของการชุมนุมจะซ้ำซาก
คือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลแก้ไขใน 3 เรื่อง ได้แก่
1.ดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับการจาบจ้วงสถาบัน 2.ไม่เป็นหุ่นเชิดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ และ 3.หยุดการทุจริตคอร์รัปชัน แต่จำนวนผู้ชุมนุมก็ทำให้
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
เสียหน้าที่ระบุก่อนการชุมนุมว่าจะมีประมาณ 1,000-2,000 คน
แน่นอนว่าเป็นตัวเลขที่ได้จากการประเมินของหน่วยงานข่าวต่างๆของรัฐบาล
เพราะแม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการข่าวด้านความมั่นคง กองบัญชาการตำรวจนครบาล
ที่เกาะติดความเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังสรุปว่ามียอดผู้ชุมนุมประมาณ 7,000
กว่าคน
ประเด็นสำคัญครั้งนี้ไม่ได้อยู่แค่จำนวนผู้ชุมนุม
แต่เป็นการเริ่มต้นการขับไล่รัฐบาลที่เป็นรูปธรรม
รวมถึงการเรียกร้องให้ทหารทำรัฐ ประหาร
แม้กลุ่มพันธมิตรฯอ้างว่าการไม่เข้าร่วม
ชุมนุมครั้งนี้เพราะไม่เห็นข้อเรียกร้องที่เป็นการปฏิรูปการเมืองตามที่
กลุ่มพันธมิตรฯต้องการก็ตาม แต่การชุมนุมครั้งนี้มีการตั้งคณะกรรม
การองค์การพิทักษ์สยามและคณะทำงานอีก 2 ชุดคือ
1.คณะทำงานตรวจสอบการจาบจ้วงสถาบัน และ 2.คณะทำงานที่ดูเรื่องการทุจริต
แม้การชุมนุมใหญ่จะไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่หน่วยข่าวด้านความมั่นคงของรัฐบาลก็ประ
เมินการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามและภาคี เครือข่ายว่า
เสธ.อ้ายและแกนนำการชุมนุมเชื่อว่าม็อบครั้งนี้จุดติด
จึงประกาศชุมนุมครั้งที่ 2
แต่ต้องมีทุนและเงื่อนไขที่จะโจมตีรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าครั้งแรก
จุดยืนกองทัพ
เงื่อนไขการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม
และเครือข่ายจึงอยู่ที่รัฐบาลว่ามีผลงานเข้าตาประชาชนหรือไม่
และต้องไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ๆขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องสถาบันที่เป็นประ
เด็นอ่อนไหวที่ถูกนำไปบิดเบือนอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันต้องไม่ประมาทม็อบ เพราะกลุ่มทุนและกลุ่มอำมาตย์ที่เกลียด
พ.ต.ท. ทักษิณไม่ได้ล้มหายตายจากไปไหน
แต่กลุ่มทุนต้องมั่นใจว่าการลงทุนครั้งนี้จะไม่ทำลายตัวเอง แม้แต่
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ที่ถือเป็นเสาหลักของกลุ่มอำมาตย์ ยังเรียกร้องให้คนในชาติกลับมารักกัน
การแบ่งฝักฝ่ายเป็นเสื้อสีต่างๆก็ให้ยึดเอาชาติเป็นที่ตั้ง
แม้การตอกย้ำเรื่องความสามัคคีปรองดองของ
พล.อ.เปรมจะมีเบื้องหลังหรือไม่ก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยืนยันว่าไม่เข้าข้างใครทั้งสิ้น
แต่จะยึดถือข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติ
“อย่ามาบอกว่าทหารปล่อยให้ชาติเสียหาย ผมไม่ได้ปล่อยให้ประเทศเสียหาย
ถ้าโทษอย่างนั้นต้องโทษคนทั้งประเทศ ถ้าจะช่วยดูแลประเทศชาติ
ตอนเลือกตั้งกรุณามาเลือกกันทุกคน
ถ้าตัวท่านเองยังไม่เลือกตั้งแล้วอย่ามาโวยวายคนอื่น ต้องทำให้ถูกต้อง
เพราะนี่คือการใช้อำนาจที่ถูกต้อง
อย่ามาถามผมอีกว่าจะปฏิวัติหรือไม่ปฏิวัติ ใครจะมาชวนผมไปไหน
เขาไม่ได้มาชวนผมไปซื้อขนมที่ตลาด ดังนั้น อย่ามาชี้นำผม ผมโตขนาดนี้แล้ว
มีวุฒิภาวะพอสมควร และกองทัพต้องเชื่อฟังผม
ถ้าไม่อย่างนั้นปกครองกองทัพไม่ได้ ประเทศชาติก็วุ่นวายไปกว่านี้
ต้องไปหาวิธีการที่ถูกต้อง ผมไม่ได้เอาตัวรอด เดี๋ยวจะหาว่าผมเอาตัวรอด
ใบปลิวเขียนกันวุ่นวาย อยากให้ความเป็นธรรมกับผมหน่อย
ผมทำงานบกพร่องตรงไหนถึงมาว่าผม อย่ามาว่าผมว่าไม่รักชาติ ไม่รักแผ่นดิน
วิธีการรักของผมมีอยู่ ผมไม่ให้ใครมาชี้นำผมได้ ไม่อย่างนั้นผมนำไม่ได้”
ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กลับเห็นว่า
พล.อ.ประยุทธ์ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นนักการเมือง “เป็นถึงผู้บัญชา
การทหารบกแต่ไม่มีองค์ความรู้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่มีความฉลาดเฉลียว
ไม่ได้ศึกษาสิ่งแวดล้อม
ไม่ได้รู้ถึงข่าวสารว่าระหว่างเสื้อแดงกับเสื้อเหลืองนี้ใครทำชั่วให้แผ่น
ดินไทย”
พลิกแฟ้ม “เสธ.อ้าย”
เมื่อพลิกแฟ้มประวัติ พล.อ.บุญเลิศ
ซึ่งนอกจากเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 1 ร่วมกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
องคมนตรี แล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับ “เสธ.หนั่น” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายวีระ (วีระกานต์) มุสิกพงศ์
เพราะร่วมเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งนำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
ที่ต้องการล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
แต่ทำไม่สำเร็จ
พล.อ.ฉลาดจึงกลายเป็นผู้นำกบฏและถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ขณะที่
พล.อ.บุญเลิศที่เป็นนายทหารติดตาม พล.อ.ฉลาดก็ติดคุกพร้อมกับ
เสธ.หนั่นและนายวีระ
เมื่อพ้นโทษ เสธ.อ้ายช่วย เสธ.หนั่นหาเสียงทางการเมืองมาตลอด
และได้เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลา โหมสมัยนายชวน
หลีกภัย ซึ่งควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย
เสธ.อ้ายจึงมีความสนิทสนมกับนักการเมืองจำนวนมาก
รวมทั้งคนในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายนิพนธ์
พร้อมพันธุ์ และนายนิพนธ์ บุญญามณี แต่
เสธ.อ้ายก็ยืนยันว่าไม่ใช่คนของพรรคประชาธิปัตย์
อย่าปรามาส “เสธ.อ้าย”
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมจำเป็นต้องมีเงินทุนสนับสนุน
อย่างที่หน่วยข่าวด้านความมั่นคงของรัฐบาลประเมินว่าถ้าไม่มีกลุ่มทุนสนับ
สนุนอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมก็ทำได้แค่ครั้งสองครั้งและยุติไปเอง
เหมือนกลุ่มพันธมิตรฯที่วันนี้อาศัยกองทัพธรรม แต่ น.ต.ประ
สงค์และกลุ่มทุนที่อยู่ตรงข้าม
พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ยอมให้ถูกไล่บี้จนไม่มีที่ยืนแน่นอน เหมือนนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ และนายสุเทพที่ขณะนี้ต้องสู้ทุกรูปแบบเพื่อไม่ให้ตกเป็นผู้ต้องหา
“ฆ่าคน” ในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือเล็งหวังผล
อย่างที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังรวบรวมหลักฐานทั้งหมดในขณะนี้
การที่ น.ต.ประสงค์ประกาศว่าการชุมนุมครั้งต่อไปจะเป็นการเผด็จศึก
ซึ่งต้องมีผู้ชุมนุมเป็นแสนนั้น
ก็ต้องมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์รุนแรงจนประชาชนไม่พอใจรัฐบาล
ซึ่งจะต้องเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยก่อนการชุมนุมใหญ่ นายจตุพร พรหมพันธุ์
แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยอมรับว่า
ขณะนี้มีกระบวนการจ้องล้มรัฐบาลไม่แตกต่างจากเมื่อครั้งรัฐบาลนายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ที่ใช้เวลาเพียงเดือนเศษในการปิดเกมเร็ว
ขณะนี้มีการข่าวแจ้งมาตลอด เพราะตนอยู่ในซีกฝ่ายความเคลื่อนไหว
และเคยมีเพื่อนพ้องในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
จึงรับรู้กระบวนการทั้งหมด
และได้เตือนมาตลอดว่าอย่าประมาทม็อบที่สนามม้านางเลิ้ง
เพราะมาครั้งหน้าอาจมีจำนวนมากกว่าเดิม
นายจตุพรกล่าวว่า
สถานการณ์การเมืองตอนนี้ต้องเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ในอดีต
เพราะที่ผ่านมามีการใช้กระบวนการหลายรูปแบบล้มรัฐบาลถึง 3 ครั้ง
ทั้งยังมีองค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มีอำนาจเหนือรัฐ
ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร
และกลุ่มคนพวกนี้จะเลือกใช้วิธีการใดเป็นเครื่องมือ
เช่นเดียวกับ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า
การชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามถือว่าจุดประกายได้แล้ว
เพราะมีคนร่วมกว่า 20,000 คน ถ้าการชุมนุมครั้งหน้าที่ให้ชวนคนมาในอัตรา 1
ต่อ 100 นั้นก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งโดยส่วนตัวมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ
พล.อ.บุญเลิศตั้งแต่ตอนรับราชการทหาร ถือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง
พล.อ.บุญเลิศถือเป็นคนจริงจัง ทำอะไรมีความมุ่งมั่น ชีวิตก็ประสบความสำเร็จ
เป็นประธานสนามม้ามานานนับสิบปี เป็นประธานเตรียมทหารรุ่น 1 รุ่นเดียวกับ
พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นประธานมวยโอลิมปิก ถือเป็นคนไม่ธรรมดา
แม้หลายคนที่ขึ้นเวทีปราศรัยจะเป็นคนกลุ่มเก่าๆ
แต่ก็เหมือนมีความเชื่อมโยงเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
โดยเฉพาะการขึ้นเวทีปราศรัยของ น.ต.ประสงค์ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นนั้น แม้
พล.อ. พัลลภมองว่าไม่มีสัญญาณพิเศษ แต่ก็เตือนรัฐบาลว่าอย่าประมาท
พล.อ.บุญเลิศ เพราะแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯก็ประกาศว่าพร้อมจะทำ
“สงครามครั้งสุดท้าย” หากรัฐบาลพยา
ยามแก้ไขรัฐธรรมนูญและออกกฎหมายปรองดองเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิด
จุดติดหรือจุดดับ?
ดังนั้น แม้วันนี้พรรคเพื่อไทยจะมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนใหญ่
แต่การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มรักทักษิณและกลุ่มเกลียดทักษิณก็ยัง
เป็นตัวแปรสำคัญที่ “มือที่มองไม่เห็น” และ “มือที่มองเห็น”
จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดการปะทะกันจนเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
อย่างที่นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร
แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกาศพร้อมชนกับกลุ่ม
เสธ.อ้ายและพันธมิตรฯหากมีการเคลื่อนไหวก๊อกสองเพื่อขับไล่รัฐบาล
อย่างไรก็ตาม วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ “ตาสว่าง”
และต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุข ไม่ต้องการให้มีม็อบออกมาไม่ว่าจะสีอะไร
รวมถึงการทำรัฐประหาร ม็อบไม่ว่าสีอะไรก็ตาม หากทะเล่อทะล่าออกมาอย่างไม่มีเงื่อนไขและเหตุผลก็อาจเป็น “จุดดับ” ของม็อบเอง
เช่นเดียวกับทหารกลุ่มใดคิดจะทำ “รัฐ ประหาร” หรือ จะแช่แข็งไม่มีการเลือกตั้ง 5 ปี ก็คือ “จุดดับ” และ“จุดจบ” ประชาธิปไตยตลอดกาล!?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 384 วันที่ 3-9
พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 18-19 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น