วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทำความเข้าใจเรื่องคำร้องไอซีซีกรณีประเทศไทย

ทำความเข้าใจเรื่องคำร้องไอซีซีกรณีประเทศไทย



         วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 (go6TV) นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้เขียนบทความลงในเว็บไซต์โรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัม แสดงเหตุผลถึงความสำคัญและจำเป็นที่ประเทศไทยควรลงนามประกาศรับรองเขตอำนาจศาลเฉพาะกรณีเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

          “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลจะเข้าพบหัวหน้าอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) มาดามฟาทู เบนซูดาในวันนี้ ( 1 พ.ย.) เพื่อพูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในการเปิดการสอบสวนกรณีเหตุการณ์การชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553
รายละเอียดข้างล่างคือคำถามที่มีการถามกันบ่อยครั้งเกี่ยวความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะขยายเขตอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซี
คำถามที่ถามบ่อยครั้ง
คำถาม: ไอซีซีคืออะไรและทำไมอัยการถึงมาประเทศไทย?
คำตอบ: ไอซีซีตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก และจัดตั้งโดยสนธิสัญญาที่เรียกว่าธรรมนูญแห่งกรุงโรม ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบัณดังนั้นประเทศไทยจึงมิใช่ภาคีต่อสนธิสัญญาดังกล่าว ทนายความนปช. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมยื่นคำร้องต่ออัยการไอซีซีเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2554 โดยร้องขอให้ไอซีซีเปิดการสอบสวนเบื้องต้นในกรณีเหตุการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีพลเรือน98 รายถูกสังหารและถูกทำร้ายกว่า 2,000 รายโดยกองทัพไทย
คำร้องระบุว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือน และะในคำร้องเกี่ยวกับประเทศไทยได้กล่าวถึงการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเท่านั้น โดยไม่มีหลักพื้นฐานใดที่กล่าวถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์หรืออาชญากรรมสงคราม
คำถาม:เมื่อประเทศไทยมิใช่ภาคีของสนธิสัญญาก่อตั้งไอซีซีแล้ว ไอซีซีจะสอบสวนกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่อ้างถึงและเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร?
คำตอบ: ในกรณีนี้ อำนาจพิจารณาของไอซีซีสามารถจัดตั้งขึ้นได้สองประการ
ประการแรก ไอซีซีสามารถใช้อำนาจพิจารณาคดีเหนือบุคคลต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะภายใต้มาตรา 12.2(b) ของธรรมนูญโรม เนื่องจากเขาเป็นพลเมืองอังกฤษ ซึ่งเป็นภาคีกับไอซีซี
ประการที่สอง มาตรา 12.3 ได้ ให้อำนาจรัฐที่มิได้เป็นภาคีกับไอซีซี อย่างเช่นประเทศไทย ให้ทำการยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีบนหลักการของการยอมรับให้ไอซีซี พิจารณาเป็นเฉพาะคดีไป โดยการประกาศยอมรับอำนาจของไอซีซี ขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาว่าจะประกาศยอมรับอำนาจของไอซีซีเพื่อให้ไอซีซี ทำการการสอบสวนกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่วงอ้างในปี 2553 หรือไม่
คำถาม:คำประกาศดังกล่าวเป็นการกล่าวหาผู้ใดว่ากระทำอาชญากรรมหรือไม่?
คำตอบ: ไม่ใช่ มันเป็นเพียงการอนุญาตให้ไอซีซีเข้ามาพิจารณาว่ามีใครหรือกลุ่มบุคคลใดบ่างที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาตินับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 หรือไม่เท่านั้น
คำถาม: คำประกาศดังกล่าวเป็นการส่งต่อความรับผิดชอบให้แก่ไอซีซีในการสอบสวนอาชญากรรมต่อมนุษยชาติใช่หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ใช่ ประเทศไทยจะยังคงต้องรับผิดชอบเป็นลำดับแรกในการสอบสวน และหากเหมาะสม ต้องดำเนินคดีต่อคนที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ไอซีซีสามารถสอบสวนหรือดำเนินคดีหากเจ้าหน้าที่รัฐไทยไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะทำเช่นนั้นเท่านั้น
คำถาม: แล้วหากเป็นเช่นนั้น เหตุใดจึงต้องยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้าง?
คำ ตอบ: คำประกาศดังกล่าวทำให้อัยการไอซีซีสามารถเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นได้ การตรวจสอบดังกล่าวทำให้อัยการสามารถเข้าร่วมกับกระบวนการพูดคุยกับเจ้า หน้าที่รัฐไทยเกี่ยวกับความคืบหน้าของการสอบสวนและดำเนินคดีในประเทศไทยหาก อัยการสรุปว่าความยุติธรรมไม่ได้บังเกิดขึ้นในประเทศไทย อัยการสามารถเข้ามาดำเนินการได้
คำถาม: ดังนั้นอัยการสามารถสอบสวนและดำเนินคดีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้างได้หรือไม่?
คำตอบ: อัยการสามารถเปิดการสอบสวนเต็มขั้นได้ในสองกรณีเท่านั้น
กรณีแรก อัยการต้องแจ้งต่อประเทศไทยถึงเจตจำนงค์ในการเปิดการสอบสวนเบื้องต้น ประเทศไทยมีเวลาหนึ่งในการตอบรับ ประเทศไทยสามารถเลือกที่จะยอมให้อัยการเข้ามาทำการสอบสวน อีกทางเลือกหนึ่งคือ ประเทศไทยสามารถปฏิเสธและยืนยันสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐไทยในการสอบสวนคดีดัง กล่าวก็ได้ ทำให้อัยการไอซีซีไม่มีอำนาจเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น นอกเสียจากว่า อัยการจะได้รับอนุญาติจากผู้พิพากษาไอซีซี อัยการต้องพิสูจน์ให้ผู้พิพากษาเห็นว่า การสอบสวนในประเทศไทยไม่ได้เป็นไปในแนวทางเพื่อแสวงหาความยุติธรรม ประเทศไทยจะได้รับโอกาสชี้แจงต่อผู้พิพากษาไอซีซีสามคนเพื่อนำเสนอเหตุผลใน การปฏิเสธ หากผู้พิพากษาตัดสินตามคำร้องขอของอัยการไอซีซี ประเทศไทยสามารถอุทธรณ์ต่อองค์คณะของผู้พิพากษาชั้นอุทรณ์ของไอซีซี
กรณีที่สอง แม้ประเทศไทยจะไม่ปฏิเสธ อัยการไอซีซียังไม่สามารถเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นได้ นอกจากอัยการจะได้รับความเห็นชอบจากองค์คณะผู้พิพากษาไอซีซีสามคนเสียก่อน หากไม่มีความเห็นชอบดังกล่าว อัยการสามารถเปิดทำการตรวจสอบเบื้องต้นได้เท่านั้น
โดยสรุปคือ การประกาศยอมรับอำนาจศาลไอซีซีของรัฐบาลภายใต้มาตรา 12.3 เป็นเพียงการเปิดประตูให้กับกระบวนการการพูดคุยอย่างต่อเนื่องระหว่างประเทศไทยและไอซีซีเท่านั้น มันเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น ไม่ใช่จุดจบ
คำถาม: อะไรคือการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: การตรวจสอบเบื้องต้นคือก้าวแรกที่ออกแบบมาเพื่อกำหนดว่าอัยการไอซีซีควรขอ ความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีก่อนว่าจะเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นหรือไม่ ในการตรวจสอบเบื้องต้น อัยการไอซีซีสามารถพิจารณาติดตามความคืบหน้าการสอบสวนและการดำเนินคดีใน ประเทศไทย อัยการสามารถทำการไต่สวนอย่างจำกัดว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นจริง หรือไม่ การตรวจสอบเบื้องต้นจะไม่แทรกแซงการสอบสวนหรือดำเนินคดีอาชญากรรมในประเทศ ไทย กระบวนการในไทยสามารถเดินหน้าไปได้ในเวลาเดียวกัน
คำถาม: หากรัฐบาลไทยประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของศาลไอซีซี อัยการจะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นหรือไม่?
คำตอบ: อัยการจะต้องเป็นผู้ตัดสินเอง อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของศาลไอซีซี เราเข้าใจว่าอัยการจะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้างอันเกิดขึ้นในปี 2553
คำถาม: อัยการไอซีซีสามารถทำอะไรได้บ้างในการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: อัยการสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งให้อัยการโดยสมัครใจ อัยการสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมบนพื้นฐานของความสมัครใจจากรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างชาติ จากองค์กรสหประชาชาติ และจากองค์กรเอกชน หรือองค์กรรัฐบาลสากล นอกจากนี้ อัยการสามารถรับคำให้การที่เสนอให้โดยความสมัตรใจในกรุงเฮก และจากข้อมูลทั้งหมดนี้ อัยการสามารถตัดสินว่ามีหลักพื้นฐานอันสมเหตุสมผลที่จะเปิดการสอบสวนอย่างเต็มขั้นหรือไม่
คำถาม: อัยการไม่มีอำนาจทำอะไรในการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: ในการตรวจสอบเบื้องต้น อัยการไอซีซีไม่สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลส่งตัวพยาน และไม่สามารถสัมภาษณ์หรือทำการสอบสวนในประเทศไทยได้ หากอัยการเชื่อว่า การกระทำดังกล่าวมีความจำเป็น อัยการต้องแจ้งให้ประเทศไทยทราบและขอความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีให้เปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นตามที่อธิบายในข้างต้น
คำถาม:การตรวจสอบเบื้องต้นใช้เวลานานเท่าไร?
คำตอบ: ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อาจใช้เวลาหลายเดือน หากอัยการไอซีซีตัดสินว่าจะให้รัฐไทยทำการสอบสวนดังกล่าวเอง อาจต้องใช้เวลาหลายปี
คำถาม: เป็นไปได้หรือไม่ที่อัยการไอซีซีอาจไม่ร้องขอให้เปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น?
คำตอบ: เป็นไปได้ หากเกิดความยุติธรรมขึ้นในประเทศไทยแล้ว เพราะไม่มีความจำเป็นที่อัยการไอซีซีจะต้องร้องขอให้มีการเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น
คำถาม: หากอัยการร้องขอให้เปิดการสอบสวนอย่างเต็มขั้น และสรุปว่ามีผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติขึ้น อัยการสามารถแจ้งข้อหาทางอาญาต่อบุคคลเหล่านั้นได้หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ได้ ขั้นแรกเลยอัยการต้องขอความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีเสียก่อน ผู้ที่ถูกกล่าวหาและรัฐบาลไทยจะได้รับโอกาสชี้แจงและปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อศาล หากผู้พิพากษาไอซีซีสามคนตัดสินว่าคำปฏิเสธนั้นฟังไม่ขึ้น พวกเขาสามารถอุทรณ์ต่อองค์คณะผู้พิพากษาอุทรณ์ไอซีซีห้าคนได้
คำถาม: หากผู้พิพาพากษาไอซีซีเห็นชอบให้อัยการแจ้งข้อหาได้ อัยการสามารถสั่งจับกุมบุคคลนั้นได้หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ได้ มีเพียงผู้พิพากษาไอซีซีเท่านั้นที่สามารถสั่งให้จับกุมบุคคลที่ถูกกล่าวหาได้
คำถาม: หากผู้พิพากษาไอซีซีออกหมายจับ ประเทศไทยจะต้องจับกุมและส่งตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาให้ไอซีซีใช่หรือไม่?
คำตอบ: ใช่เพราะตามข้อตกลงทางตุลาการ โดยการประกาศว่าจะยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีต่อกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ประเทศไทยจึงยอมรับที่จะให้ความร่วมมือกับไอซีซี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถูกจับกุมมีสิทธิที่จะโต้แย้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุมนั้นต่อศาลไทยเป็นลำดับแรก และหลังจากนั้นต่อผู้พิพากษาไอซีซี หลังจากที่เขาถูกส่งตัวไปยังกรุงเฮกแล้ว
คำถาม: การดำเนินคดีของไอซีซีจะเป็นไปอย่างยุติธรรมหรือไม่?
คำตอบ: มีความเป็นธรรม เพราะผู้พิพากษาไอซีซีเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระทางกฎหมายอาญาและกฎหมายระหว่างประเทศ เลือกโดยรัฐบาลจากประเทศมากกว่า120 ประเทศที่เป็นภาคีกับไอซีซี ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะแก้ต่างต่อศาลไอซีซีโดยใช้ทนายของตนเอง และจะได้รับความเป็นธรรมในสิทธิการพิจารณาคดีซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศให้การยอมรับ ผู้ถูกกล่าวหาทุกรายจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ พวกเขาจะไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดได้นอกจากจะมีการพิสูจน์ว่าพวกเขากระทำผิดอย่างแน่แท้ และหากถูกตัดสินว่ามีความผิด ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะอุทรณ์ต่อองค์คณะผู้พิพากษาอุทรณ์ไอซีซีห้าคน
คำถาม: รัฐบาลไทยต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์หรือรัฐสภาเพื่อที่จะประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี 2553 หรือไม่?
คำตอบ: ไม่จำเป็นเพราะภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทยระบุว่า การลงนามในสนธิสัญญาทุกอย่างต้องได้รัความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์ และการลงนามในสนธิสัญญาบางประเภทต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม การประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของรัฐบาลไทยในกรณีชั่วคราวตามมาตรา12.3 แห่งธรรมนูญกรุงโรมไม่ใช่สนธิสัญญา ตามคำนิยามคือ สนธิสัญญาเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสัญญาสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายระหว่างประเทศไทยกับคู่สัญญาหรือคณะสัญญาอื่น สนธิสัญญาจะมีผลทางกฎหมายต่อเมื่อหลังจากที่บุคคลอย่างน้อยสองฝ่ายตกลงที่จะยอมรับข้อผูกพันธ์ทางกฎหมาย
ในทางตรงข้าม การประกาศตามมาตรา 12.3 เป็นการกระทำฝ่ายเดียวโดยประเทศไทย การประกาศมีผลทางกฎหมายทันทีเมื่อประเทศไทยประกาศแจ้งต่อไอซีซี ไม่จำเป็นต้องได้รับการตอบตกลงจากไอซีซีเพื่อให้การกระทำดังกล่าวมีผลทางกฎหมาย คำประกาศไม่ใช่สัญญา แต่เป็นการกระทำใช้อำนาจทางอธิปไตยของประเทศไทย เนื่องจากไม่ใช่สนธิสัญญา จึงไม่ต้องดำเนินตามขั้นตอนในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทย และไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์หรือรัฐสภา
คำถาม: การประกาศภายใต้มาตรา 12.3 จะทำให้มีการแก้ไขกฎหมายไทยฉบับใดหรือไม่?
คำตอบ: ยังไม่ต้องในขั้นตอนนี้ และบางทีอาจไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายฉบับใดเลยก็ได้ รัฐบาลสามารถยอมรับคำประกาศตามมาตรา 12.3โดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่ หากอัยการไอซีซีตัดสินใจที่จะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้น และเราเชื่อว่าอัยการจะทำเช่นนั้น ในขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องมีการออกกฎหมายใหม่เช่นกัน แต่อาจต้องมีการการแก้ไขกฎหมายไทยบางฉบับเท่านั้นหากไอซีซีตัดสินใจที่จะเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น ซึ่งอย่างอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปีนับจากนี้ไป
คำถาม: ไอซีซีทำให้พระมหากษัตริย์ตกอยู่ในภัยอันตรายหรือไม่?
คำตอบ: ไม่ ไม่โอกาสที่ไอซีซีจะดำเนินคดีต่อพระมหากษัตริย์ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น