วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

อภิสิทธิ์ยินดีปรีดาต่อรัฐประหาร 19 กันยา


วิกิลีกส์ - อภิสิทธิ์ยินดีปรีดาต่อรัฐประหาร 19 กันยา

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า ซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือ นายอภิสิทธิ์นั้น ได้ยินดีปรีดาต่อการกระทำรัฐประหารว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพื่อจะนำตัวเขาเอง ใกล้เข้ามากว่าเก่าอีกหนึ่งขั้นต่อตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการทำให้คู่แข่งทางการเมืองของเขานั้นได้อ่อนแอลง หรืออาจจะถึงกับทำลายมันลงไปด้วย

แปลโดย ดวงจำปา
ที่มา เว็บบอร์ด Internet Freedom

ห้าปีให้หลังจากการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549,เคเบิ้ลของวิกิลีกค์ ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นโดยพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดูเหมือนว่่า มีคุณค่าต่อความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เพราะในเนื้อหาของมันที่ เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ ได้รายงานเกี่ยวกับการประชุมที่เขาได้พบกับนายอภิสิทธิ์ ที่สำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อคุยสนทนาในเรื่องของการเมือง และการก่อการรัฐประหาร

นายอภิสิทธิ์ได้เริ่มขึ้นโดยการกล่าวยกย่องความมั่นใจใน “บุคลิกภาพ” ของหัวหน้าผู้ก่อการรัฐประหาร นั่นก็คือ พลเอกสนธิ บุญยะรัตกลิน โดยกล่าวว่า เขา “มี่ความมั่นใจว่า พลเอกสนธินั้น ไม่ได้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อที่จะนำให้ตัวเขาเองนั้น ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจได้”

นายอภิสิทธิ์ได้อ้างว่า เขาเองนั้น “มีความวิตกกังวลมากกว่า กับกลุ่มที่มีความจงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณนั้น จะพยายามที่จะกลับหวนคืนเข้ามาสู่ชีวิตทางการเมืองอีก...” เขาเชื่อว่า การกระทำต่างๆ ของ ผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณ (ชินวัตร) นั้น จะ “นำความยุ่งยากมาให้กับ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (คปค) เพื่อที่จะฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนกลับมาได้อย่างเต็มภาคภูมิ”

เขายังอ้างต่ออีกว่า ภรรยาของนายกฯ ทักษิณนั้น มีเงินสดอยู่กับเธอพร้อมแล้ว และ กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณนั้น ได้ทำการเผาโรงเรียนหลายแห่งเมื่อสองสามวันก่อนหน้านี้

นายอภิสิทธิ์ก็ยังต้องการให้ รัฐบาลเผด็จการทหารนั้น “ได้ดำเนินการฟ้องร้องตัวบุคคลที่ก่อการทุจริตคอรัปชั่นเมื่อสมัยรัฐบาลนายกฯ ทักษิณเป็นผู้นำของประเทศ เพื่อที่จะนำให้สถานการณ์เข้าไปสู่ความสงบอย่างพอเพียง ต่อการอนุญาติให้ฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มภาคภูมิ”

เขาได้ถามว่า รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ช่วยจัดส่ง “ข้อมูลกับ คปค มากขึ้นกว่าเก่าในเรื่องของความน่าสงสัยที่อาจจะได้เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การซื้ออุปกรณ์จากบริษัท เจนเนอรัล อิเล็กตรีค เกี่ยวกับ อุปกรณ์ตรวจค้นวัตถุระเบิด CTX”

นายอภิสิทธิ์ยังได้พรรณาต่อไปแบบ “ลุยแหลก” ในเรื่องของความเป็นไปได้ที่ “องคมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์นั้น อาจจะได้ถูกเสนอตัวให้เป็นผู้ทีถูกคัดเลือกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชั่วคราว....” ถึงแม้ว่า เขาก็ชอบอีกหลายๆ คนด้วย รวมไปถึง อีกหลายๆ คนในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีความสามารถอย่างเก่งกล้า

ดูเหมือนกับว่า ตัวเอกอัครราชฑูตและนายอภิสิทธิ์นั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่อง ของ“ความสำคัญที่ คปค ได้ทำการเปลี่ยนผ่านอำนาจมาสู่รัฐบาลที่นำโดยฝ่ายพลเรือนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในการกระทำเช่นนี้ ก็เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสังคมนานาชาติที่ว่า สมาชิกในกลุ่มของ คปค เอง ไม่มีความตั้งใจที่จะคงเรืองอยู่ในอำนาจ” ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ได้ชักตัวพลเอกสุรยุทธขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่สนับสนุนโดยฝ่ายเผด็จการทหารนั่นเอง

ปัญหาหนักเรื่องหนึ่งที่เป็นที่วิตกกังวลของนายอภิสิทธิ์ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า พรรคไทยรักไทยที่ถูกขับไล่ออกไปนั้น อาจจะยังคงมีอำนาจอยู่ในทางการเมือง และเขาก็ห่วงว่า “พรรคไทยรักไทยจะชักจูงให้มีการใช้การลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับหน้า เพื่อพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงการทำคะแนนนิยมด้วยการคัดค้านต่อการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อการฟื้นกลับคืนเข้ามาสู่แรงผลักดันทางการเมืองอีก....”

นายอภิสิทธิ์ดูเหมือนมีความรู้สึกว่า พรรคของเขานั้นได้เริ่มตีคะแนนสร้างความนิยมให้ขึ้นมาเทียบกับพรรคไทย โดยอ้างว่า ได้มี ‘การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่’ ในทัศนคติของทางฝ่ายสาธาณะชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเพิ่มพูนต่อความเห็นที่ว่า มีนโยบายและความคิดที่มีความหมายสำคัญต่อประชาชน รวมไปถึงการเอาใจใส่ดูแลคนยากคนจน และ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทันท่วงที”

เขาก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่า พรรคของเขานั้นจะทำคะแนนนิยม ขึ้นมาในทางภาคเหนือและภาคกลาง และอาจจะถึงกับแบ่งครึ่งในคะแนนเสียงของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

เวปของ PPT เองก็ยังสงสัยอยู่ว่า เขามี่ความคิดเห็นอย่างแน่ชัดเแบบนี้หรือเปล่าในปี พ.ศ. 2554?

เอกอัครราชฑูตได้แสดงความคิดเห็นต่อไปว่า:

นายอภิสิทธิ์เองก็ดูเหมือนกับประชาชนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ซึ่งเห็นว่า การกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายนนั้น เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการกำจัดนายกฯ ทักษิณออกไปนอกประเทศ เขาดูเหมือนกับว่าไม่ได้มีปัญหาความยุ่งยากใจอย่างเฉพาะเจาะจงในการควบคุมจำกัดต่อสถานการณ์ในเรื่องเสรีภาพของพลเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมืองในขณะนี้ แต่เขาก็หวังอย่างเห็นได้ชัดว่า เรื่องเหล่านี้ ควรที่จะมีการผ่อนผันลงมาในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า คปค เอง มีความสามารถจัดการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีชั่วคราวเสียก่อน ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ในเรื่องความมั่นคงของประเทศและสามารถจำกัดอิทธิพลที่ยังเกาะกุมอยู่โดยฝ่ายผู้จงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณ

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า ซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือ นายอภิสิทธิ์นั้น ได้ยินดีปรีดาต่อการกระทำรัฐประหารว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพื่อจะนำตัวเขาเอง ใกล้เข้ามากว่าเก่าอีกหนึ่งขั้นต่อตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการทำให้คู่แข่งทางการเมืองของเขานั้นได้อ่อนแอลง หรืออาจจะถึงกับทำลายมันลงไปด้วย

เรื่องที่กล่าวมาแล้วทุกอย่าง ไม่ได้มีความแปลกใจอะไรเลย ถ้าท่านผู้อ่านได้ย้อนกลับไปถึง การแสดงความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์ที่ให้กับทางฝ่ายสื่อมวลชนในสมัยของการกระทำรัฐประหาร การลำดับเหตุการณ์รายละเอียดนั้น เข้าชุดกันได้เป็นอย่างดีเยี่ยม นายอภิสิทธิ์เองก็ได้แสดงตัวเขาเองให้เห็นมาอย่างยาวนานแล้วว่า ตัวเขานั้น ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (เหมือนตามที่เขาได้ใช้ชื่อของพรรคว่า “ประชาธิปไตย”) เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว



ความคิดเห็นของผู้แปล:

บทความนี้ เป็นบทความสำคัญต่อการ “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น” ซึ่งเราได้เห็นนายอภิสิทธิ์เอง ได้กล่าวต่อเอกอัครราชฑูตบอยซ์ ซึ่งกลายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำรัฐประหารอย่างลับๆ จากการ lobby โดยฝ่ายอำมาตย์ อย่างที่เคยแปลไว้ใน วิกิลีกค์ ฉบับเก่าๆ

สิ่งที่ดิฉันแปลกใจก็คือ การกระทำของตัวเอกอัครราชฑูตบอยซ์เอง ซึ่งเป็น “ผู้ไปเยี่ยม” ถึงสำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่การทำรัฐประหารเพิ่งจะจบลงได้ประมาณอาทิตย์เดียวเท่านั้นเอง แสดงว่า พรรคการเมืองนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อทางฝ่ายสหรัฐอเมริกา รวมไปถึง การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยนักป้อนข้อมูล นายสุเทพ เทือกสุบรรณด้วย

นายอภิสิทธิ์เล่นตามบททุกอย่าง ด้วยการกล่าวหาในเรื่องของ การทุจริตคอรัปชั่นโดยฝ่ายรัฐบาลเก่า แต่สิ่งที่น่าแปลกใจต่อดิฉันในบทความนี้ ก็คือ ไม่มีการกล่าวหาใดๆ ต่อนายกฯ ทักษิณ เกี่ยวกับเรื่องการหมิ่นสถาบันฯ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของการกระทำรัฐประหาร นายอภิสิทธิ์ ไปห่วงอยู่กับคะแนนความนิยมของพรรคตนเอง มากกว่าเรื่องการหมิ่นฯ นะคะ

เหมือนกับที่ทางเวป PPT ได้กล่าวไว้ว่า การที่นายอภิสิทธิ์ไปโม้กับ เอกอัครราชฑูตบอยซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 นั้นว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมเพิ่มมาขึ้น เนื่องจากนโยบายและการช่วยเหลือคนยากจน แต่ทำไมพรรคตนเองถึงพ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนของท่านสมัคร สุนทรเวช เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 ล่ะ? ทั้งๆ ที่ตนเองบอกว่า คะแนนความนิยมกำลังตีตื่นขึ้นมา นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความโกหกตอแหลที่ตนเองมี และใช้อยู่อย่างประจำทีเดียว

การที่นายอภิสิทธิ์ยกยอ พลเอกสุรยุทธ นั้น ก็คือ การเปิดทางให้กับตัวเขาด้วย เพราะเขาก็รู้ว่า ไม่มีทางที่พรรคของตนเองจะชนะการเลือกตั้ง ก็ต้องใช้วิธีประจบสอพลอกับบุคคลผู้มีอำนาจ เพื่อจะได้นำตนเองขึ้นมาสู่เวทีทางการเมืองให้ได้

การเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ก็ยังมีมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เคเบิ้ลฉบับนี้ ได้เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปีนี้ ก็ ปี พ.ศ. 2554 เป็นไงคะ วิธีสกปรก ก็ยังติดอยู่กับพรรคนี้ ประชาชนเขาจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างคะ?

สำหรับความคิดเห็นของดิฉันนั้น บุคคลที่ควรจะถูกต่อว่ามากที่สุด คือ ตัวเอกอัครราชฑูตบอยซ์เอง ในการเขียนเคเบิ้ลให้กับทางฝ่ายรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมีอคติทุกอย่างกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยการอ้างอิงว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นั้น เห็นด้วยกับการกระทำรัฐประหาร การเขียนเคเบิ้ลอย่างนี้ แสดงถึงภาพพจน์ที่ว่า กรุงเทพฯ คือประเทศไทย เอกอัครราชฑูตบอยซ์ ไม่กล้าเขียนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับการกระทำรัฐประหาร เพราะความหมายจะเปลี่ยนแปลง จากดำเป็นขาว และ ขาวเป็นดำโดยทันที ดิฉันคิดว่า จะได้รับการต่อต้านเป็นอย่างยิ่งกับทางวอชิงตันด้วย

เมื่อแปลบทความจากวิกิลีกค์คราใด ก็ยังอดห่วงไม่ได้ที่จะต้องเตือนรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ให้กระทำการสื่อสารกับคณะฑูตานุฑูตอย่างดีที่สุด ไม่อย่างนั้น พวกเขาจะไปหาข้อมูลจากฝ่ายตรงข้ามทันที เรื่องนี้ แท้จริงแล้ว มันโยงไปถึงฝ่ายรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย เพราะจะต้องเป็นผู้แถลงข่าวและออกข่าวให้กับรัฐบาลนานาชาติเขาทราบถึง ฐานะ, สถานการณ์และสภาพทางการเมืองของรัฐบาลในปัจจุบัน

ประเทศอื่นๆ เขารอรับฟังข่าวสารจากฝ่าย รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ เพราะมันเกี่ยวกับนโยบายและความเชื่อมั่นในการลงทุนกับประเทศไทยในอนาคตนะคะ

ถ้าตัวรัฐมนตรียังอยู่เฉยๆ หรือเงียบๆ อย่างนี้ อีกสักพัก ดิฉันก็คงจะต้องเขียนบทความแรงๆ เสียหน่อย เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องเสื้อแดง ไม่ใช่กับพรรคเพื่อไทยค่ะ เพราะการนำบุคคลที่ขาดคุณสมบัติมาปฎิบัติงานนั้น มันเป็นผลร้ายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ

ถ้าดิฉันเป็นพลเมืองของประเทศไทย ดิฉันจะเลือกการช่วยเหลือกับประเทศชาติก่อนพรรคเพื่อไทยค่ะ เราต้องคิดกันอย่างนี้ การยึดถือตัวบุคคลและกับพรรคการเมืองจะหมดไป เราจะไปพิจารณากันทางนโยบาย เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตสืบต่อไป

ขอบคุณค่ะ

ดวงจำปา
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น