วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554




ปูดเบื้องลึกจำหน่ายคำร้อง ย้ำยังไม่ใช่หนังสือสัญญา ส่งมาแค่ยืมมือศาลหาความชอบธรรม

แหล่ง ข่าวจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงการจำหน่ายบันทึกการประชุมทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวว่า บันทึกนั้นมีเนื้อหาสาระที่บอกแค่ว่า เป็นผลการประชุมของเจ้าหน้าที่ 2 ฝ่ายจะมีการดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อแก้ไขปัญหา โดยที่ฝ่ายบริหารก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ ต่อ เช่นยังไม่มีการที่ผู้นำรัฐบาลของแต่ละฝ่ายไปตกลงกัน หรือทำเป็นหนังสือสัญญาร่วมกันที่มีการลงนามของประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือรมว.ต่างประเทศ ของทั้ง 2 ประเทศ ว่าจะมีการดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้ จึงถือว่าบันทึกการประชุมทั้ง 3 ฉบับยังไม่ใช่หนังสือสัญญา ที่จำต้องเสนอเข้าประชุมรัฐสภาด้วยซ้ำ ตุลาการฯเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการเมืองที่ต้องการหาที่พิงเลยต้องขอ พึ่งศาลรัฐธรรมนูญการันตีความถูกต้องชอบธรรม

ตุลาการฯ กล่าวอีกว่า การที่ประธานรัฐสภาจะส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา 190 นั้น ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งว่า หนังสือสัญญาที่ประมุมแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือรมว.ต่างประเทศ จะไปลงนามร่วมกับหัวหน้ารัฐบาลของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีผลต่อการเปลี่ยน แปลงอธิปไตยของไทย เหตุใดจึงไม่นำมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน แต่กรณีนี้ไม่ได้มีการโต้แย้ง เพราะรัฐบาลก็เอาบันทึกการประชุมทั้ง 3 ฉบับเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภา ทั้งที่ก็ไม่จำเป็น
แม้ว่าที่สุดแล้ว รัฐสภาจะให้ความเห็นชอบกับบันทึกการประชุมทั้ง 3 ฉบับ ก็ไม่มีผลให้บันทึกนั้นกลายเป็นหนังสือสัญญาได้ เพราะการจะถือเป็นหนังสือสัญญานั้น คนลงนามต้องเป็นประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรมว.ต่างประเทศ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายชัดแจ้งจากรัฐบาล แต่บันทึกการประชุม 3 ฉบับที่เสนอนั้น คนไปประชุมเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีอย่างนี้แล้วจะไปถือเป็นหนังสือสัญญาได้อย่างไร เรื่องนี้มันจึงเป็นการหาเชือกพิงกัน ทั้งที่เป็นแค่บันทึกการประชุม หัวหน้ารัฐบาลยังไม่ได้ไปเซ็นตกลงอะไรกับเขาก็เอาเข้าสภาไว้ก่อน ขณะที่สภาก็กลัวก็เลยเตะมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราก็ไม่ใช่ที่ปรึกษาของใคร”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งให้ความเห็น

http://thaiinsider.info/news2011/the-news/politics/11992--3-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น