สมมุติว่าในหลวงและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย เป็นเรื่องการ "อ้าง" ของ "อำมาตย์" ล้วนๆ . . . http://www.internetfreedom.us/thread-18304.html สมมุติว่าในหลวงและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย เป็นเรื่องการ "อ้าง" ของ "อำมาตย์" ล้วนๆ . . . ปัญหาสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ก็ยังเป็นปัญหาใจกลางอยู่นั่นเอง ไม่มีสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ (ที่พยุงอยู่ด้วยกฎหมาย รธน.-ป.อาญา, ด้วยการประชาสัมพันธ์ และอบรมบ่มเพาะด้านเดียว และการครอบงำทางวัฒนธรรมอื่นๆ ตั้งแต่เรื่อง พิธีกรรม, "โครงการหลวง", การบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล, การโฆษณานำเสนอเรื่อง "พระเสโทหยดเดียว" และอื่นๆ) ก็ไม่มีการให้ "อ้าง" โดยใครได้ทั้งนั้น อันที่จริง ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อำมาตย์" (ต่อให้สมมุติว่าไม่เกี่ยวใดๆกับพระราชวงศ์จริงๆ) เกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีสถานะและอำนาจของ "สถาบันกษัตริย์" อย่างทีเป็นอยู่ ทำไม ไม่มี "อำมาตย์" เกิดขึั้นในอังกฤษ เนเธอแลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ ? คือทำไม ไม่เกิดมีคนกลุ่มที่ไม่อยู่ใต้การควบคุมของสาธารณะ มา "อ้าง" เรื่อง "ทำเพื่อสถาบันกษํตริย์" ได้? คำตอบง่ายมาก คือ เพราะ "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศเหล่านั้น ไม่มีสถานะและอำนาจอะไรให้ "อ้าง" ได้นั่นแหละ ยุติอำนาจของ "อำมาตย์" ต้อง "ยุติ" ที่ "ราก" หรือ "แหล่ง" (source) ของอำนาจนั้น คือ "สถานะและของสถาบันกษัตริย์" อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างที่บอกว่า นี่เป็นการมองแบบสมมุติเพื่อการอภิปราย และเป็นการนิยาม "สถาบันกษัตริย์" อย่างผิดๆ ด้วย คือ จำกัดเฉพาะราชวงศ์เท่านั้น โดยความเป็นจริง ไม่ว่าจะมองอย่างไร องคมนตรี ที่ถูกเรียกว่าเป็น "อำมาตย์" คนสำคัญที่สุด เป็นส่วนหนึงของ "สถาบันกษัตริย์" แน่นอน (สถาบันกษัตริย์ คือ "องค์กร" หรือ "โครงสร้างหนึงของรัฐ" ซึงรวม "บุคคลากร" จำนวนมากเข้าไว้ด้วย ไมใช่เฉพาะทีเป็น "เจ้า" หรือ "พระราชวงศ์" เท่านั้น) การที่บรรดาองคมนตรีเป็นส่วนหนึ่งของ "สถาบันกษัตริย์" นี้ ไม่ใช่ในแง่กฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้นด้วยซ้ำ (องคมนตรี อยู่ในหมวดกษัตริย์ และมีแต่กษัตริย์เท่านั้น จึงมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ควบคุม) แต่ในแง่ความเป็นจริงด้วย ดังทีเคยพูดมาแล้วหลายครั้งว่า คนอย่างเปรม ทีออกจากตำแหน่งทางการเมืองและทหารมา 30 กว่าปีแล้ว ยังมี "อำนาจ" อยู่ได้อย่างไร? ก็เพราะเป็นประธานที่ปรึกษากษัตริย์นั่นแหละ (คนอื่นๆก็เหมือนกัน แม้เวลาทีหมดตำแหน่งการเมืองหรือทหารหรือตุลาการ น้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็น พิจิตร, สุรยุทธ์, สิทธิ, เกษม, ชาญชัย ฯลฯ) และต่อให้สมมุติว่ากษัตริย์ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆเลยกับการเมือง การที่ที่ปรึกษากษัตริย์สามารถมีอำนาจได้มากขนาดนี้ ก็เพราะกษัตริย์เองมีสถานะอย่างทีเป็นอยู่ในปัจจุบัน ... ไม่มี "ที่ปรึกษา" กษัตริย์ประเทศประชาธิปไตยที่ไหน จะมีอำนาจในลักษณะนี้ เพราะไม่มีกษัตริย์ประเทศประชาธิปไตยที่ไหน มีสถานะแบบนี้ ปัญหาอยู่ที่ "สถาบะและอำนาจ" ของ "สถาบันกษัตริย์" ที่มีลักษณะ "เชิงโครงสร้าง" แบบนี้ ไม่จำเป็นต้องเกียวกับพระราชวงศ์ในแง่ตัวบุคคลด้วยซ้ำ แน่นอน พระราชวงศ์ในฐานะตัวบุคคล มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไร ก็ยังเป็นเรื่องที่ "รู้ๆกันอยู่" . . . แต่นี่สมมุติให้แบบสุดๆเลยว่า ต่อให้ไม่มีบทบาทอะไรเลย ก็ยังเป็นปัญหาเรือง "สถาบันกษัตริย์" อยู่นั่นเอง |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น