วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555


นักวิชาการในสังคมดราม่าซับซ้อน
 นักวิชาการในสังคมดราม่าซับซ้อน
Sat, 2012-06-16 00:23
นักปรัชญาชายขอบ 


ในประเทศของเรานั้น มีกรอบความประพฤติทางศีลธรรมจรรยาและกฎหมายอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “กรอบความเหมาะสม” เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ถ้าใครแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ด้วยการพูด เขียน หรือแสดงออกโดยวิธีอื่นใดที่ถูกตีความว่าละเมิด “กรอบความเหมาะสม” นี้ เขาอาจถูกพิพากษาว่ามี “เจตนาอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ” โทษทัณฑ์สำหรับผู้ที่มีเจตนาดังกล่าวในทางกฎหมายอาจติดคุก 3-15 ปี ในทางศีลธรรมอาจถูกประณามว่าเป็นคนบาป เนรคุณต่อแผ่นดิน ถูกพระสยามเทวาธิราชสาปแช่ง ฯลฯ ในทางการเมืองเขาอาจถูกไล่ออกนอกประเทศ ถูกปราบปราม เข้าป่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกฆ่า
 
ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนว่า “กรอบความเหมาะสม” มีขอบเขตกว้าง-แคบแค่ไหน มันขึ้นอยู่กับการตีความของคนแต่ละคน และ “เครือข่ายอำนาจนำ” ที่มักมีความเห็นแตกต่าง ขัดแย้งกันอยู่เสมอ
 
ประวัติศาสตร์ของการละเมิด “กรอบความเหมาะสม” ของประเทศนี้โดยผู้ละเมิดที่อ้างอิงจุดยืน “เสรีภาพ” และ “ประชาธิปไตย” นั้นมีมายาวนานกว่าร้อยปี หรืออย่างน้อยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นปัญญาชนหัวก้าวหน้าอย่าง “เทียนวรรณ” เขียนบทความแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครอง เสนอให้ “เลิกทาส” และเสนอให้มี Parliament แต่เขาถูกพิพากษาว่าละเมิด “กรอบความเหมาะสม” และมี “เจตนาอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ” เขาจึงถูกจับขังคุกครั้งแล้วครั้งเล่า
 
แต่ความคิดของเขาก็มีอิทธิพลต่อปัญญาชนหัวก้าวหน้ารุ่นหลังๆ จนนำมาสู่การปฏิวัติ 2475 กระนั้นก็ยังมีฝ่ายที่พยายามปกป้องฟื้นฟู “กรอบความเหมาะสม” ตามอุดมการณ์ของ “ระบบเก่า” ให้คงอยู่และเข้มข้นมากขึ้น
 
ความคงอยู่และความเข้มข้นมากขึ้นนี้ หากมองเพียง “ระดับพื้นผิว” เฉพาะ ม.112 จะเห็นว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชโทษจำคุกเพียง 3 ปี ต่อมาสมัยเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพิ่มเป็น 7 ปี และสมัยเผด็จการหลังรัฐประหาร 6 ตุลา เพิ่มเป็น 3-15 ปี และยังมีการเพิ่มความเข้มข้นในด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะระยะหลังมักมีการขับเน้นให้เห็นความดีงามสูงส่งของสถาบันสูงสุดเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเลวร้ายของนักการเมือง
 
ในขณะเดียวกันนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน นักการเมือง นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ถูกตีความ/ตัดสินว่า ละเมิด “กรอบความเหมาะสม” ล้วนแต่ได้รับโทษทัณฑ์ต่างๆ มีทั้งต้องระหกระเหินไปตายในต่างประเทศ เช่นปรีดี พนมยงค์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นต้น หรือกลายเป็นนักปฏิวัติถูกฆ่าหรือตายในป่า เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ อัศนีย์ พลจันทร์ หรือนายผี หรือนักการเมืองอุดมการณ์บางคนที่ถูกฆ่า เช่นนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาประชาชนอีกมากที่ถูกล้อมปราบและถูกฆ่าภายใต้วาทกรรมของพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงบางรูป ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์เพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้บุญมากกว่าบาป เหมือนฆ่าปลามาทำอาหารใส่บาตรพระ”
 
ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในโลกเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตยแล้ว ต่างก็มีการปรับตัวทั้งในทางอุดมการณ์ โครงสร้างอำนาจ กฎหมาย วัฒนธรรม และอื่นๆ ทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เมื่อมีปัญหาขัดแย้งต่างๆ ก็พยายามหาทางแก้ภายใต้กรอบประชาธิปไตย แต่ในประเทศของเรากลับมีการต่อสู้เพื่อปกป้องฟื้นฟูอุดมการณ์เก่าให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสวนทางกับพัฒนาการประชาธิปไตย และมักแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองด้วย “รัฐประหาร” ครั้งแล้วครั้งเล่า เรื่องราวเช่นนี้ถูกมองอย่างดราม่า? หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ดราม่า?
 
แต่ดราม่าก็ซับซ้อนขึ้นไปอีก เมื่อมีทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน เอ็นจีโอที่อดีตเคยเป็นนักศึกษาที่ถูกเผด็จการทหารใช้ข้ออ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ล้อมปราบ ถูกจับติดคุกบ้าง หนีไปจับอาวุธต่อสู้ในป่าบ้างในประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 6 ตุลา คนเหล่านี้บางส่วนกลับมาเชียร์รัฐประหาร 19 กันยา และเชียร์การใช้ “ผังขบวนการล้มเจ้าปลอม” ล้อมปราบมวลชนเสื้อแดงในปี 53 ยิ่งกว่านั้นขบวนการเรียกร้อง สนับสนุน ทำรัฐประหาร และ/หรือได้ประโยชน์จากรัฐประหาร ล้วนแต่เป็น “เครือข่ายคนดี” ที่มีคุณธรรมความกตัญญู จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อ้างธรรมะ อ้างศาสนา อ้างประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรมเป็นธงนำทั้งนั้น นี่คือข้อเท็จจริงของสังคมนี้ที่ดราม่าซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ
 
และภายใต้ดราม่าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์นองเลือดปี 53 มาถึงโศกนาฏกรรมของชายชราที่ตายในคุกฐานทำผิด ม.112 เรื่อยมาถึงคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามว่า แทรกแซงอำนาจรัฐสภาหรืออำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่?
 
ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว นักวิชาการพยายามทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ หรือมีงานวิชาการอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง เหตุผล หลักการ ความรู้ใหม่มาตอบปัญหาสังคมไหม? แน่นอน ภายใต้ “กรอบความเหมาะสม” ที่ไม่สามารถพูดความจริงของสาเหตุ หรือเบื้องหน้าเบื้องหลังรัฐประหารได้ทุกด้าน นักวิชาการบางส่วนพยายามทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ เปิดเวทีเสวนาทางวิชาการ และอื่นๆ
 
แต่ “ข้อจำกัด” ก็มีมาก เพราะนักวิชาการก็มีทั้งเลือกข้าง มีทั้งยืนยันหลักการ พยายามเป็นกลาง แต่เส้นแบ่งระหว่างการเลือกข้าง ยืนยันหลักการ เป็นกลางก็ไม่ชัดเจนหรือเหลื่อมซ้อนกันอยู่ อีกทั้งปีปัญหาในเรื่องเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ การจัดเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับ ม.112 ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิชาการ ในบางสถานที่ บางครั้งก็ไม่อาจกระทำได้ สื่อกระแสหลักก็ไม่ได้ใส่ใจนำเสนอความคิดเห็นนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยมากนัก ฉะนั้น พื้นที่ของนักวิชาการจึงแคบลงๆ
 
นั่นจึงเป็นเหตุให้พวกเขาใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ต่างๆ เท่าที่จะหาใช้ได้ เช่น เว็บบอร์ด เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วารสารออนไลน์และอื่นๆ แน่นอนว่าความคิด ข้อเสนอผ่านสื่อออนไลน์เหล่านี้อาจไม่มีคุณภาพเข้มข้นในทางวิชาการ แต่ก็มีประโยชน์ในการถกประเด็น ทำความเข้าใจปัญหาต่างๆ ทำให้เกิด “ตาสว่าง” ในบรรดาเครือข่ายผู้สนใจได้กว้างขวางระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ดีกว่าในยุคที่ยังไม่มีสื่อออนไลน์
 
แต่ข้อจำกัดอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก และหนักหนาสาหัส เช่น บางคนอาจเห็นว่าข้อเสนอแก้ ม.112 ของ “นิติราษฎร์” ไม่ make sense เพราะไม่มีเหตุผลที่สังคมประชาธิปไตยจะต้องมี “นักโทษทางความคิด” หรือ “นักโทษมโนธรรมสำนัก” ที่ต้องติดคุกตั้ง 3 ปี ความไม่ make sense นี้ก็คือดราม่าอีกแบบหนึ่งของนักวิชาการที่ใจอาจจะอยากเสนออย่างหนึ่ง แต่ภายใต้ “บริบท” บางอย่างทำให้พวกเขาต้องเสนออีกอย่างหนึ่ง
 
ในประเทศที่ผู้คนชินชากับ “มายาคติ” หรือ “ความกึ่งจริงกึ่งเท็จ” ที่ผ่านการปลูกฝังกล่อมเกลาโดยสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางด้านศิลปวัฒนธรรม และสื่อต่างๆ เมื่อ “เสียงความจริง” ดังขึ้น ผู้คนที่ชินชา คุ้นเคยกับมายาคติภายใต้ “กรอบความเหมาะสม” ต่างตกใจ หวาดระแวง และช่วยกันค้นหา “ต้นเสียง” ว่า มาจากใคร ฝ่ายไหน มีเจตนาเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐอย่างไร
 
พวกเขาตัดสินแค่ว่า “เสียง” นั้น “เหมาะสมหรือไม่?” ถ้าไม่เหมาะสมก็สรุปว่า “มีเจตนาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ” โดยไม่สนใจพิจารณาว่า “เสียงความจริง” นั้น มีประโยชน์แก่สาธารณะหรือไม่ อย่างไร
 
นี่คือ “บางส่วน” ของดราม่าอันซับซ้อนภายใต้ “กรอบความเหมาะสม” ของประเทศนี้ แม้นักวิชาการจะได้รับการปกป้องภายใต้หลัก “เสรีภาพทางวิชาการ” มากกว่าชาวบ้าน แต่พวกเขาก็เผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากการข่มขู่คุกคามด้วยอำนาจเถื่อน และการเอาผิดทางกฎหมาย
 
ปรากฏการณ์ดราม่าในโลกออนไลน์จึงเกิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมการกล่าวถึง แสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์แบบเฉียด “ความจริง” ไปมา ซึ่งต้องใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ หรือ “ความเก๋า” เฉพาะตัวมากพอสมควรจึงจะไม่ถูกเล่นงานหรือไล่ล่าด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ยังต้องอาศัยชื่อเสียงบารมีของตนเอง เครือข่ายนักวิชาการ สื่อทั้งไทย และต่างประเทศช่วยปกป้องตัวเอง
 
ปัญญาชนบางคน เช่น ส.ศิวรักษ์ ท้าทาย “กรอบความเหมาะสม” นี้มาจนอายุเกือบ 80 ปี จนโดน ม.112 มาแล้ว แต่ยังไม่มีผลต่อการปรับปรุงกรอบดังกล่าวให้สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย ถามว่ามีงานวิชาการและงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา “กรอบความเหมาะสม” นี้หรือไม่? มีแน่นอน นักวิชาการบางคนเกาะติดปัญหานี้มาหลายสิบปี (เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล) แต่เขาไม่สามารถนำข้อเท็จจริงที่เขาค้นพบมาเผยแพร่ต่อสังคมได้ตรงๆ เพียงแค่เฉียดฉิวเขาก็โดน ม.112 แล้ว
 
ในขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ทั้งถูกข่มขู่คุกคาม ทำร้ายร่างกาย ภายใต้ “กรอบอันเหมาะสม” ของสังคมนี้ บรรดานักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมที่ต่างมองเห็น “ช้างเป็นช้าง” ทว่าพวกเขาถูกตีกรอบให้พูดถึง “ช้าง” ว่าเป็น “หมู” สิ่งที่ทำได้คือพวกเขาต่างใช้ทักษะทางภาษา สัญลักษณ์ อุปลักษณ์ต่างๆ เพื่อสะท้อน “ภาพอะไรบางอย่าง” ให้ใกล้เคียงรูปลักษณ์ของช้างมากที่สุด นี่คือ “ตลกร้าย” ในสังคมดราม่าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ!
http://redusala.blogspot.com

ไข่อาบังสนธิ ฟักเป็นตัวแล้ว


ไข่อาบังสนธิฟักเป็นตัวแล้ว กำลังเริ่มแผลงฤทธิ์
          ท่านผู้อ่านคงจำได้ กับข่าว ยุค ผบ.ทอ.บัง ที่ชื่อสนธิบุญรตกลิน ท่านบอกว่าจะไม่มีปฏิวัติรัฐประหาร แล้วท่านก็กลืนน้ำลายตัวเอง  ณ ที่ท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งคมช. ท่านก็มีนโยบายพิเศษ ๆ มอบให้กระทรวงพิเศษ ๆ ที่มีโควต้าพิเศษ ๆ  รับนักเรียนชายจากห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบกด้วยวิธีพิเศษ ๆ ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา ก็ยังมีการรับด้วยวิธีพิเศษแบบนี้อยู่  

          นอกจากทหารแล้ว ก็ยังมีโควต้าพิเศษ ๆ อีกนั่นแหละ รับบุคคลพิเศษ ๆ จากห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นนักเรียนหญิง เข้าเรียนในวิทยาลัยพยาบาลด้วยวิธีพิเศษ ๆ อีก3000 คน เช่นกัน เข้าเรียนแบบพิเศษ ๆ เมื่อหลายปีก่อน

          วันนี้บุคคลพิเศษ ๆ เหล่านั้นถูกฟูมฟักจนกลายเป็นบุคคลพิเศษ  และกำลังออกมาเรียกร้องให้ใช้วิธีพิเศษ ๆ อีกแล้ว ถ้าท่านหลงลืมไปแล้ว ผมหยิบข่าวเก่ามาให้ท่านได้อ่านกันซ้ำอีกหน 
ข่าวจาก   http://www.thaisouthtoday.com/index.php?file=article&obj=forum(1787)

กระทรวงสาธารณสุข รับ นร.จังหวัดชายแดนใต้เข้าเรียนพยาบาล 3,000 คน

         กระทรวงสาธารณสุข  เปิดรับสมัครนักเรียน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จบมัธยมปลาย-ป.ตรี อายุไม่เกิน  35 ปี เข้าเรียนพยาบาลวิชาชีพ 4 ปี 3,000 คน จบแล้วได้บรรจุเป็นข้าราชการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดรับสมัครฟรีในวันที่ 21-26 พฤษภาคมนี้ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลาและสตูล โดยบุตรผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และบุตรผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศจะได้รับการพิจารณาพิเศษ

พยาบาลวิชาชีพ 3,000 อัตรา 

นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์   รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก และนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าวการเปิดรับนักศึกษาโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม  เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเปิดรับสมัครที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา และสตูล ระหว่างวันที่ 21-26 พฤษภาคม 2550

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 3,000  คน เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 1,300 ล้านบาท โดยพยาบาลวิชาชีพจะเรียน 4 ปีและจะจบการศึกษาในปี  2554  โครงการนี้ดำเนินงานแบบบูรณาการ มีที่ปรึกษาและคณะกรรมการอำนวยการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย กลาโหม ศึกษาธิการ ศอ.บต. สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. กอ.รมน. ภาค 4 สำนักข่าวกรอง ผู้ว่าราชการจังหวัด และสภาการพยาบาล
ในการรับสมัคร จะรับจากผู้ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา  นราธิวาส  สตูล และจังหวัดสงขลา เฉพาะใน 4 อำเภอ คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย

โดยผู้สมัคร  1 ราย มีสิทธิสมัครได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ ต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือบิดามารดาอยู่ในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นชายหรือหญิงที่มีอายุไม่ต่ำกว่า  16  ปี และไม่เกิน 35 ปี มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 145 เซนติเมตร มีสุขภาพดี มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิการหรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา หากเป็นชายต้องไม่เป็นผู้ถูกคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในเดือนเมษายน  2550 และไม่เป็นพระภิกษุสามเณร ตามคำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่อง ห้ามภิกษุสามเณร เรียนวิชาชีพหรือสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2521

โดยจะรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่รับผู้สำเร็จในหลักสูตร ปวช. ปวท. และ ปวส. ส่วนผู้ที่จบปริญญาตรีต้องมีพื้นฐาน ม.6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ผู้ที่สนใจสามารถขอรับใบสมัครและยื่นหลักฐานสมัครได้ฟรีที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชนที่จังหวัดประกาศให้เป็นหน่วยรับสมัครทั้ง  5 จังหวัดดังกล่าว
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการสอบวัดความรู้  และทดสอบความพร้อมด้านจิตใจในวันที่  2 มิถุนายน 2550 และประกาศผลในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 กรณีผู้สมัครจะขอใช้สิทธิโควตาพิเศษ

สำหรับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกลุ่มผู้มีอุปการคุณ หรือทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ  ต้องกรอกข้อมูลในแบบแสดงรายการขอรับโควต้าพิเศษ พร้อมหลักฐานการรับรองสิทธิดังกล่าว เมื่อประกาศผลสอบวัดความรู้แล้ว ในวันที่ 12-15 มิถุนายน 2550 จะสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย  และจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษาที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในวันที่  19 มิถุนายน 2550

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข และ ศอ.บต. จะร่วมกันพิจารณานักศึกษาที่สอบผ่าน ได้เข้าศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศ ขณะนี้พร้อมแล้วทั้งอาจารย์ผู้สอนและหอพัก และจะได้ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคู่กับภาคทฤษฎีภายใต้การดูแลของคณาจารย์ตามมาตรฐาน สำหรับผู้ที่สอบผ่านและมีสิทธิเข้าศึกษาตามโครงการนี้ จะต้องทำสัญญารับทุนการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ และจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลา 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษา

           หลังจากวันนั้นถึงวันนี้บุคคลพิเศษ ๆ เหล่านั้นจบการศึกษาด้วยวิธีพิเศษ
ออกมาแล้ว วันนี้ กำลังออกมาเรียกร้องวิธีพิเศษ ๆ อีกนั่นแหละ  ให้ดำเนินการให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษ ๆ ท่านอดีต ผบ.ทอบัง เคยรับปากเอาไว้  อิอิ ตามข่าวข้างล่างนี้



ม็อบพยาบาลกว่า3,000คนร้องรัฐขอบรรจุ

         เครือข่ายพยาบาลวิชาชีพ ลูกจ้างชั่วคราว และกลุ่มสหสาขาวิชาชีพกระทรวงสาธารณสุข กว่า 3,000 คน เดินทางมาจากทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมกับทางรัฐบาล เพื่อทบทวนการเร่งบรรจุข้าราชการให้กับลูกจ้างชั่วคราวในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ซึ่งหากวันนี้ที่ประชุม ครม. สัญจร จ.ชลบุรี ไม่มีการนำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุม จะมีการชุมนุมยืดเยื้อเพื่อเรียกร้องให้ถึงที่สุด


ผู้สื่อข่าว : เพชรรัตน์ วิทยสินธนา
ถ่ายภาพ : สุรสิทธิ์ รัศมีกิตติกุล


ข่าวจริงสปริงนิวส์ ทันเหตุการณ์ เห็นอนาคต





        เสี้ยนที่ ผอบอทอบัง ณ ปาดังเบซา เสียบคาเล็บเท้าเอาไว้ชิ้นที่ 1 กำลังแผลงฤทธิ์กลัดหนองแล้ว ในไม่ใช้นี้ บุคคลพิเศษอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยตะหานบกไทยไปอีกหลายรุ่น กำลังรอวันเวลาสยายปีกทดแทนคุณแผ่นดินไทยในเร็ววันนี้  ใึครยังไม่ตื่นก็นอนกินเงินเดือนหลวงกันต่อไป หรือจะรอให้กองบัญชาการทหารบกไทย นายทหารหญิงคลุมผ้าฮิญาบแต่งเครื่องแบบได้  ก็ว่ากันไปนะครับท่าน
http://redusala.blogspot.com