วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทัศนคติอันตราย

บทบรรณาธิการ ข่าวสด

          เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ศอฉ.ซึ่งรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี 2553 ออกมาแถลงข่าวยืนยันความถูกต้องในการทำหน้าที่ของ ศอฉ.ในช่วงนั้นว่า "หากมีพยานหลักฐานบ่งบอกว่าประชาชน ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตเนื่องมาจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่ ก็เป็นเรื่องที่จะค้นหาความจริงดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม แต่ว่าไม่ใช่มากล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่เอาสไนเปอร์ไล่ฆ่าประชาชน ซึ่งเป็นการทำภาพเล็กให้เป็นภาพใหญ่ โดยไม่เป็นธรรม ตนไม่ได้แก้ต่างให้ ศอฉ.ซึ่งปฏิบัติงานโดยยึดกฎหมายตามหลักสากล และออกคำสั่งโดยพิจารณาอย่างรอบคอบ"

           ความเห็นของนายถวิลจะผิดถูกประการใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำข้อมูลข้อเท็จจริงมายืนยันหรือหักล้างกันในลำดับต่อไป


           แต่ประเด็นที่ควรแก่การพิจารณาก็คือ ′ทัศนคติ′ ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ ศอฉ. ในขณะนั้น ซึ่งยังคงติดตัวมากับนักการเมืองและข้าราช การระดับสูงบางคนจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


           นั่นคือเห็นการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ต่อประชาชน เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และให้น้ำหนักหรือความสำคัญน้อยเป็นอย่างยิ่ง ต่อชีวิตที่สูญเสียไป หรือการที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธสงคราม

           ทัศนคติที่เห็นว่า ′ประชาชนเป็นผักปลา′ จะต้องกำราบปราบปราม ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมในประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือที่อื่นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน


           หากยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือไม่สามารถหาวิธีป้องกันมิให้ใช้ทัศนคติเช่นนี้เข้าปราบปรามทำร้ายประชาชนได้ โอกาสที่จะเกิดเหตุรัฐใช้ความรุนแรงต่อประชาชนก็ยังคงมีอยู่


           การป้องกันทางหนึ่งก็คือ จะต้องค้นหาความจริงทุกแง่มุมออกมาตีแผ่ และกระจายความจริงนั้นออกไปให้รับรู้กันอย่างกว้างขวางที่สุด


          อีกทางหนึ่งก็คือ ดำเนินการลงโทษ ผู้ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทำร้ายเข่นฆ่าประชาชนให้เป็นตัวอย่าง


ลือหึ่ง พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต กินดีหมี...?


ลือหึ่ง พล.อ.อ. กำพล สุวรรณทัต         ก่อนจะเขียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ด้วยความสมหวัง แล้วลือหึ่งว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ไม่ทราบไปกินดีหมีมาจากไหน   จึงมีพลังแกล้วกล้าขนาดนั้น ...?

         ผมขอเขียนถึงข่าวลือ...ที่ลือหึ่งตลอดทั้งวันของวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555  โดยได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนและนายทหารระดับพันเอกและพันเอกพิเศษ พูดในเชิงเล่าใฟ้ฟังว่าจะเกิดการยึดอำนาจ (ปฏิวัติ) ภายในคืนนี้อีกแล้วหรืออย่างช้าไม่เกินวันพรุ่งนี้ ว่าแล้วก็สอบถามหาข่าวจากผมว่า  ได้ข่าวอะไรบ้าง ?

ผมบอกว่าไม่มีข่าวเลย...แล้วผมก็ร้อง...โอ้...ให้ฟังว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้

   หลังจากนั้น  คนที่โทรคุยกับผม  เล่าเป็นตุเป็นตะว่าทหารเอาแน่  

จะเอาแน่เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม “หักหน้า” ขนาดหนัก ทำแบบนี้ ทหารใหญ่ยอมไม่ได้  ว่าแล้วก็บรรยายลึกเข้าไปใน “หัวใจ” ของนายทหารใหญ่ว่า  เขาถือว่ามันเป็นการหักหน้าที่ยอมไม่ได้เป็นอันขาด  ถ้าทหารไม่ปฏิวัติแล้วละก็...อนาคตของอำมาตย์ใหญ่พังพินาศแน่ ว่าแล้วก็เล่าข่าวลือเป็นตุเป็นตะให้ผมฟังยาวเหยียด

ผมรับฟังข่าวดังกล่าว ทั้งที่เป็นข่าวจากเพื่อนและข่าวจากนายทหารใหญด้วยความรู้สึกปกติธรรมดา ไม่มีความเครียดด้วยประการทั้งปวง  ทั้งนี้เพราะไม่เชื่อแม้แต่นิดว่าทหารใหญ่จะกล้าหาญขนาดนั้น ดังนั้น ผมจึงคิดของผมว่าทหารเขาก็มี ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีคนเสื้อแดงเต็มแผ่นดิน  ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ที่ทหารหรือใครจะปฏิวัติได้สำเร็จ

อย่าว่าแต่ปฏิวัติเลย ต่อให้มากกว่านี้ก็ทำไม่ได้

แต่ผมก็สงสัยว่าเหตุไรจึงมีข่าวลือออกมาให้เปลืองสมอง ?

ผมคิดของผมต่อไปว่า  ในสภาวะทางการเมืองตั้งแต่วันพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ย่อมเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า  “เสื้อแดงคือกองกำลังคุ้มกันอันทรงพลังของพรรคเพื่อไทย”  สถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้เอื้ออำนวยให้ทหารทำอะไรได้ตามใจชอบ ทั้งนี้เนื่องจากพลังของคนรักประชาธิปไตย (ในประเทศไทย) โลดแล่นด้วยความกล้าหาญมีจำนวนมากขึ้นและมากขึ้น

มีแต่คนเสื้อเหลืองและพวก “สลิ่ม” เท่านั้นที่ยังงุมมะหรา  ฝันหวานอยู่ตลอดเวลาว่าทหารจะสามารถ “ยึดอำนาจ” ได้สำเร็จ  ซึ่งเป็นความเชื่อที่เต็มเปี่ยมไปด้วย “ความเชื่อมั่น” ว่าจะสำเร็จอย่างง่ายดาย  ขอเพียงแต่ให้ทหารเคลื่อนรถถังออกมา

นอกจากนี้พวก “สันติอโศก” โดยกลุ่มสาวกโพธิรักษ์ เช่นพลตรีจำลอง ศรีเมือง และพวกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ยังกาพันฝันเพื่องว่าจะได้ใช้สูตร 70 -30 อันหมายถึงในรัฐบาลสมัยอำมาตย์ได้ครองเมืองกลับคืนมา  จะให้มีการเลือกตั้งเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่ให้คัดเลือกมาจากนักการเมืองน้ำดี  ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนผู้นำ

พวกเขาฝันเฟื่องต่อไปว่า ถ้าทหารทำได้ดังกล่าว  จะมีนายกฯพระราชทาน จะถวายคืนพระราชอำนาจ และจะปิดประเทศ 5 ปี ?

วู้ย...จะบ้าตาย  ช่างพากันเพ้อเจ้อไปได้ ?

แต่จะทำอย่างไรได้  พลพรรค “ผีบุญ”  โพธิรักษ์ และประดาบริวารสันติอโศก เขามีความต้องการเช่นนั้น  เมื่อเขาต้องการ “ประเภทนี้” แล้วใครจะห้ามพวกเขาได้...จริงม๊ะ ?
วันนี้ ผมคิดไปตามประสาของผมว่า  ท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ  ประชาชนจะเป็นใหญ่กำลังใกล้เข้ามา  ว่าแล้วผมก็ได้ความคิดอยากแต่งกลอนให้อ่านเล่น

คอยมาได้ “ร้อยปี” ยังคอยได้

จะคอยไป “อีกสิบปี”  ยังมิสาย

แดงจงสู้ “กู้แค้น” แทนคนตาย 

แดงต้องใหญ่ “ในแผ่นดิน” ถิ่นแหลมทอง

        ผมขอฝากกลอนสั้น-สั้นให้ท่านได้อ่านเล่น  ท่านผู้ใดจะต่อเติมเสริมแต่งเป็นบทกวี หรืออยากส่งบทความ  ขอให้เขียนส่งได้ตลอดเวลา  ส่ง ที่อีเมล์ : saaajundee@gmail.com  

ก่อนจบ  ผมขอแสดงความรู้สึกตื่นเต้นและสมหวังกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  “พล.อ. อ. สุกำพล สุวรรณทัต”  ที่ท่านได้แสดงความกล้าโดยไม่รอข่าวลือด้วยการปลดฟ้าผ่า  ท่านปลัดกระทรวงกลาโหม กับพวก หลุดจากเก้าอี้ แบบสายฟ้าแลบ 

มันต้องอย่างนี้  จึงจะทำให้คนเสื้อแดงนอนตาหลับ

ความกล้าหาญของท่าน รมว. กลาโหม ในครั้งนี้  เป็นตัวย่างที่แสนดี  มีความเหมาะเหม็งในกระแสสร้างประชาธิปไตยอย่างสูงส่ง อันเป็น “ต้นแบบ” ของนักสู้ที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ที่คนเสื้อแดง-แดงทั้งแผ่นดิน ยกนิ้วให้ พร้อมกับเสียงไชโยโห่ร้อง

ขอยกย่อง พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต แทนคนเสื้อแดง ณ โอกาสนี้

ลือหึ่ง ไม่ทราบ “สุกำพล” ไปกินดีหมีมาจากไหน ?

 “สอาด จันทร์ดี”
29 สิงหาคม 2555




ประชาธิปัตย์ มันเป็นพรรคดี เสียจริง ๆ

ประชาธิปัตย์ มันเป็นพรรคดี เสียจริง ๆ 

             ที่ศาลแขวงพระนครใต้ อ่านคำพิพากษา ในคดีที่ นายมนตรี สิหนาทกถากุล ผู้ประกอบการธุรกิจคอกม้าและโรงแรมแลนด์มาร์ค เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางสาวเสาวรส โสภา มารดาของ นายศิริโชค โสภา ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จากกรณีเมื่อปี 2554 จำเลย ได้ไปกู้ยืมเงินจากนายมนตรี จำนวน 15 ล้านบาท

            โดยมีการตกลงจะทยอยจ่ายคืนเป็นเช็ค จำนวน 15 ใบ ใบละ 1.5ล้านบาท จนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2554 นายมนตรี ได้นำเช็คของจำเลย จำนวน 3 ใบ ไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ปรากฏว่า ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ และจากการตรวจสอบพบว่า จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย และต้องพิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถเขียนเช็คได้ และนายมนตรี ได้พยายามติดต่อ นางสาวเสาวรส จำเลย แต่กลับถูกบ่ายเบี่ยง ไม่ยอมคืนเงิน โดยอ้างว่า เกิดปัญหาธุรกิจ ไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้จึงให้ทนายความดำเนินการฟ้องต่อศาล


            ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้อง จึงพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา 


โดยฝ่ายจำเลยได้ยื่นขอประกันตัว ศาลตีราคาประกันเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท นายศิริโชค ได้ใช้ตำแหน่งยื่นประกันตัว.




คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC


           “แม้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน จะแนะนำถึงการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ไต่สวนหาผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่”

           นั่นเป็นคำพูดของนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของอาสาพยาบาล กมนเกด อัคฮาด ที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนาราม เป็นการส่งสัญญาณว่าเริ่มสิ้นหวังกับการให้ ICC รับเรื่องนี้เพื่อไต่สวนหาผู้สั่งการฆ่าประชาชน

           การเดินทางไปกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานข้อมูลเพิ่มเติมต่อ ICC ของนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ล่วงเลยมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ปฏิกิริยาจาก ICC ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร เว้นแต่เปิดช่องให้ยื่นข้อมูลหลักฐานเพิ่มได้เท่านั้น

           ทั้งนี้ เพราะติดเงื่อนไขที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลเพื่อให้ ICC สามารถพิจารณาสำนวนคดีการสลายการชุมนุมได้

           แม้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องนี้ พร้อมให้คำมั่นว่าจะมีข้อสรุปเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลเสนอให้คณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

           แต่ก็เป็นการเทคแอ็คชั่นไม่ให้เสียคะแนนจากคนเสื้อแดงเท่านั้น

           ความหวังของญาติผู้สูญเสียที่ฝันว่าจะเห็น ICC ไต่สวนเรื่องนี้จึงยังห่างไกลจากความจริง

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าปมปัญหาที่ทำให้ยังไม่สามารถยอมรับเขตอำนาจศาล ICC ได้เป็นเพราะ
          1.ไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ค.ศ. 1998 เมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม เนื่องจากจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอนุวัติพันธกรณีของธรรมนูญกรุงโรมก่อนเพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้

            2.ไทยมีประเด็นอ่อนไหวที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุถึงการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐเพื่อไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรม

            ในขณะที่มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติถึงการละเมิดมิได้ และการไม่อาจกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะเป็นประมุขของรัฐไม่ว่าในทางใดๆ

            3.ขณะนี้การดำเนินคดีต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอยู่ในกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ตามหลักกฎหมายของธรรมนูญกรุงโรม ICC มีเขตอำนาจในฐานะศาลที่เสริมเขตอำนาจในทางอาญาของรัฐในกรณีที่รัฐนั้นเป็นภาคีแล้ว จึงไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณาได้

             ถึงแม้ข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมจะระบุให้รัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมอาจยอมรับการใช้อำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียนของ ICC ก็ตาม

             4.คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมมีความเห็นว่า การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในบางประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญและอ่อนไหว โดยเฉพาะข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรมเรื่องการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐในการที่จะไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรมจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง

             เช่น ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเพิ่มฐานความผิดร้ายแรงทั้ง 4 ฐานตามธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์, ต่อมนุษยชาติ, สงคราม, การรุกราน ให้เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญาของไทย, พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527, พระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เพื่อให้รองรับพันธกรณีภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมได้ครบถ้วนสมบูรณ์

             สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนแสดงเจตจำนงให้มีผลผูกพันหรือให้สัตยาบันตามมาตรา 190 ของ
รัฐธรรมนูญ จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการที่จะให้ ICC รับไต่สวนกรณี 98 ศพ

             โดยเฉพาะหัวใจสำคัญที่ดูเหมือนรัฐบาลไม่กล้าแตะ คือการอ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆนั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ

             นี่คือเหตุผลว่าทำไมคดี 98 ศพ จึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ICC เสียที แม้เหตุการณ์จะล่วงเลยผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว

             การเอาผิดคนสั่งฆ่าประชาชนจึงเป็นเพียงโวหาร วาทะทางการเมือง เพื่อรักษาน้ำใจคนเสื้อแดงเท่านั้น

             แม้แต่กระบวนการสอบสวนในประเทศที่มีการเรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เข้าให้ปากคำ

             หรือการเรียก ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด ทหารสังกัด ม.พัน 5 สองทหารประจำจุดซุ่มยิง หรือสไนเปอร์ เข้าให้ปากคำ ก็ไม่มีความหวังใด ๆ กับการเอาคนสั่งฆ่ามารับโทษ

             กระบวนการทั้งหมดส่อไปในทิศทางที่ว่าไม่ได้มุ่งเอาผิดใคร แต่เป็นการมุ่งไปสู่การปรองดอง รอมชอม หรือเกี๊ยะเซียะ เพื่อล้างผิดทุกฝ่ายด้วยการนิรโทษกรรมเสียมากกว่า
**********************************************************************

วิ่งไปฟ้องป๋า



เรื่องของเรื่อง ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจาก 



มีเรื่องอะไร ๆ ก็จะวิ่งหา "ป๋า"  มันอะไรกันนักหนา !  "ป๋า" จะใหญ่กว่า "สุกัมพล" เรอะ ?!

หากไม่รู้ก็ไปหาหนังสืออ่าน

"ปลอดฯ" สวน "ปราโมทย์" หากไม่รู้ก็ไปหาหนังสืออ่าน



วันนี้ (27 ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงถึงการที่นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) ที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้งในขณะนี้ว่า รัฐบาลจำเป็นที่ต้องทำให้เห็นว่าในปีนี้หรือช่วงหลายปีจากนี้ ต้องมีการป้องกันประเทศไทยให้มีความปลอดภัย ไม่เกิดน้ำท่วมอีกเหมือนปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความเสียหายส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ภูมิภาค และของโลก  การกล่าวหาว่ารัฐบาลกลัวน้ำท่วมอย่างเดียวไม่ใส่ใจเรื่องฝนแล้งถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะรัฐบาลใส่ใจกับปัญหาฝนแล้งที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากด้วย แต่ปัญหาน้ำท่วมสร้างความเสียหายมากกว่า รัฐบาลจึงต้องยอมกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งการไม่ให้น้ำท่วมนั้นต้องมองโจทย์น้ำท่วมเป็นหลัก จึงต้องลดปริมาณยอดของน้ำ หาที่ให้น้ำอยู่ และระบายลงทะลโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้การที่นายปราโมทย์ระบุว่าเสียดายน้ำที่ถูกระบายทิ้งนั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่ คณะกรรมการระบายน้ำที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ตั้งขึ้นมา ซึ่งมีนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เป็นประธานนั้น มีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำ 14 หน่วยงาน มีประชุมทุกสัปดาห์ แลกเปลี่ยนข้อมูลทุกวินาที ทุกวัน และรายงานมาถึงตนตลอด รวมถึงคณะกรรมการนี้เป็นผู้ตัดสินใจ จึงไม่ควรกล่าวหาว่าตนบริหารหรือตัดสินใจผิด นอกจากนี้ รัฐบาลมีการบริหารจัดการน้ำแบบสมดุลคือการระบายน้ำและส่งน้ำเพื่อชลประทาน เราเห็นคุณค่าน้ำทุกหยด ไม่ได้กลัวน้ำเหมือนกับเห็นหมาบ้า

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า นายปราโมทย์ยังพูดแบบคลุมเครือถึงภัยแล้ง ตนไม่รู้ว่าเป็นความจงใจหรือไม่ เพราะคนที่มีความรู้จะไม่พูดเรื่องภัยแล้งในช่วงนี้ที่อยู่กลางฤดูฝน และเดือน ส.ค.เกิดกรณีฝนทิ้งช่วงตามปกติ อีกทั้งการพิจารณาเรื่องภัยแล้งนั้นมีเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ความชื้นในอากาศ ปริมาณน้ำในลำน้ำ ความเสียหายด้านการเกษตร เป็นต้น แต่ตอนนี้ไม่ใช่ภัยแล้ง ซึ่งอธิบดีกรมชลประทาน บอกแล้วว่าการระบุว่าเป็นภัยแล้งหรือไม่นั้นต้องรอดูในเดือน ม.ค.-ก.พ. นายปราโมทย์จึงอย่าพูดแบบนี้ที่ทำให้คนตกใจและเข้าใจรัฐบาลผิด

นอกจากนี้ การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในตอนนี้ ทำเรื่องการระบายน้ำเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ยังไม่ไปแตะต้องลุ่มน้ำในภาคอีสาน ขณะที่ภาคอีสานตอนล่างมีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ จึงสร้างความเสียหายในจ.สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ซึ่งเราหวังว่าใน 1-2 เดือนจากนี้ เมื่อร่องความกดอากาศต่ำที่กำลังพาดในภาคเหนือและอีสานตอนบน จะแก้ไขวิกฤตนี้ได้ อีกทั้งภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรน้ำฝน ซึ่งทำการเกษตรได้ด้วยน้ำฝนเท่านั้น และมีพื้นที่ชลประทานร้อยละ 6 ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าในปีนี้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ

นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า ปีนี้น้ำไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้วแน่นอน สามาถฟันธงแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ และเมื่อขึ้นต้นฤดูหนาวไปถึงฤดูแล้ง จะมีน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์พอเพียงสำหรับการทำการเกษตรตามปกติ ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ 2 แห่ง และเขื่อนอื่นๆจะอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่ไม่อยู่ในภาวะขาดแคลน ส่วนภาคอีสานถ้ายังมีฝนตกน้อยกว่าปกติ รัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการสูบน้ำจากลำน้ำต่างๆขึ้นมาหรือใช้ระบบน้ำใต้ดิน เพื่อบรรเทาปัญหาของเกษตรกร

การเกิดฝนทิ้งช่วงหรือน้ำน้อยในภาคอีสานเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่กลับมากล่าวหาว่าเราระบายน้ำจนเกิดฝนแล้ง นี่เป็นความโง่เขลาของท่านที่ไม่มีข้อมูล หรืออาจเป็นการจงใจมาหาเรื่อง ผมกับคุณปราโมทย์เป็นข้าราชการรุ่นเดียวกัน ผมให้ความเคารพในสติปัญญาความรู้ของคุณปราโมทย์เสมอมา ก็อยากให้คุณปราโมทย์เคารพคนอื่น คุณปราโมทย์พูดโดยไม่มีข้อมูลหรือดึงข้อมูลจากอากาศมาพูด ดังนั้นก่อนที่จะมาพูดอะไร ขอให้ไปหาหนังสือใหม่ๆมาอ่าน เอาข้อมูลจากกรมที่ท่านเคยเป็นอธิบดี ไปวิเคราะห์ ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้วที่เกิดน้ำท่วม เขาเคยเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าฯกทม.ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ หรือคงเป็นเพราะเขาจะลงสมัครการเมืองหรืออยากลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ก็ได้นายปลอดประสพ กล่าว

"กระชับพื้นที่ คือการไม่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม" ?

เมพขิงๆๆ!? "อภิสิทธิ์" เบิกความศาล 
"กระชับพื้นที่ คือการไม่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม"
ภาพนายพัน คำกอง

ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลนัดไต่สวนคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ชาวจังหวัดยโสธร อาชีพขับรถแท็กซี่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ลิงค์สถานีราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53ระหว่างเหตุการณ์ทหารกระชับพื้นที่ราชประสงค์
               

โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพล.ต.อ.ปทีป  ตันประเสริฐ อดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางมาศาลตามหมายเรียกในฐานะพยาน
               
ก่อนการเบิกความ นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากภรรยาของนายพัน เปิดเผย ว่า ประเด็นคำถามในการไต่สวนพยานจะเน้นเรื่องการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเหตุความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 ว่าเป็นไปตามหลักสากลหรือไม่
              
เมื่อถึงเวลานัด นายอภิสิทธิ์ แถลงต่อศาลว่า ขอเบิกความในช่วงบ่าย เนื่องจากในช่วงเช้าติดภารกิจ ศาลพิจารณาแล้วอนุญาต หลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้เดินทางกลับทันทีโดยไม่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน
               
ต่อมา พล.ต.อ.ปทีป ได้ขึ้นเบิกความเป็นปากแรกสรุปว่า ช่วงเกิดเหตุพยานมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือศอฉ. ซึ่งมีนายสุเทพ เป็นผู้อำนวยการ มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ควบคุมสถานการณ์และแก้ไขสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติ และรักษาความสงบเรียบร้อย โดยหลักการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมของศอฉ. คือ 1.ไม่ใช้ความรุนแรง 2.ใช้การเจรจาเป็นหลัก 3. หากจำเป็นต้องใช้กำลังให้พิจารณาจากเบาไปหาหนักตามหลักสากล โดยจะเตือนให้ทราบก่อนทุกขั้นตอน ซึ่งการใช้กำลังที่หนักที่สุดคือการใช้กระสุนยางที่ยิงด้วยปืนลูกซอง เพื่อป้องกันตัว
               
ซึ่งในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกคอกวัวและราชประสงค์ตามยุทธศาสตร์ได้วางกำลังปิดล้อมไว้  3 ชั้น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเฉพาะชั้นที่ 2 และ3 โดยมีเพียงโล่และกระบองเป็นอาวุธ ซึ่งการสลายการชุมนุมในวันที่ 11 เม.ย.53 ที่แยกผ่านฟ้าเป็นการดำเนินการของฝ่ายทหาร แต่ตนจำไม่ได้ว่า ใครเป็นหัวหน้าที่ควบคุมดูแลสั่งการ ซึ่งไม่สามารถขอคืนพื้นที่ในส่วนสะพานผ่านฟ้าได้ โดยในรายละเอียดการปฏิบัตตนไม่ทราบ เพราะพยานมีหน้าที่ดูแลด้านนโยบาย และเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาทำงานร่วมกับ ศอฉ. เท่านั้น

นอกจากนี้ในการควบคุมดูแลการชุมนุมในพื้นที่ราชประสงค์ตนทราบว่า วันที่ 14 พ.ค.มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพกอาวุธปืนพกได้ เนื่องจากช่วงนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนสีลม 2 นาย และก่อนหน้านี้ก็ได้มีเหตุการณ์รุนแรง โดยมีการลอบวางระเบิดรอบๆ กรุงเทพฯ และยิงอาวุธปืนเอ็ม79 ที่แยกศาลาแดง
               
สำหรับการสลายการชุมนุมที่ถนนราชปรารภบริเวณที่นายพัน  คำกองถูกยิงเสียชีวิต ตนไม่เคยเห็นรายงานสรุปเหตุการณ์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจเนื่องจากในรายงานดังกล่าวได้จัดทำหลังจากที่ตนได้เกษียณอายุไปแล้ว และแม้ว่าตามหลักการแล้วหากมีผู้เสียชีวิตเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่โดยเร็ว แต่กรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปยังที่เกิดเหตุได้ เนื่องจากมีการปะทะกันอยู่ตลอดเวลา
               
อย่างไรก็ตามใน ขณะที่ตนยังปฏิบัติหน้าที่ใน ศอฉ.ในส่วนของตำรวจไม่พบว่าเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในเรื่องของการใช้อาวุธปืน ถ้าตำรวจทำอะไรเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมตนในฐานะรักษาการ ผบ.ตร. และผู้ช่วย ศอฉ. จะต้องทราบดังกล่าว
ต่อมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต รองนายกรัฐมนตรีและ อดีตผอ.ศอฉ.กล่าว เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553  ศอฉ.ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่ของกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.บริเวณแยกผ่านฟ้า และถนนราชดำเนินนอก เนื่องจากรัฐบาลต้องการเปิดเส้นทางการจราจรให้กับประชาชนที่ใช้เส้นทางมาจากสะพานพระปิ่นเกล้าฯ และ สะพานพระราม 8 โดยวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสากลอย่างเคร่งครัด ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักตามลำดับ คือ ใช้ โล่และกระบอง รถฉีดน้ำ แก๊สน้ำตา  และปืนลูกซองกระสุนยาง ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 13.00 น.จนถึงเวลา 16.15 น.จึงสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่และกลับที่ตั้ง แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลา 1 ทุ่ม มีกลุ่มชายชุดดำซึ่งปะปนอยู่กับกลุ่มผู้ชุมนุมนปช.ใช้อาวุธสงคราม ทั้งปืนเอ็ม 16 ระเบิดเอ็ม 79 และระเบิดขว้างเข้าใส่เจ้าหน้าที่ทหารที่บริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอ ซึ่งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต มีทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร จากเหตุการณ์ดังกล่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) รับผิดชอบสำนวนการสอบสวน กระทั่งได้จับกุมและดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายรวม 26 คน
นายสุเทพ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ชายชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่ ศอฉ.จึงต้องมีมาตรการต่างๆ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อปกป้องชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป  คือมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหมวดขึ้นไปสามารถมีอาวุธปืนประจำได้  ให้มีสิ่งกั้นขวางระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ และให้รักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม ประมาณ 150 เมตร  ต่อมาเมื่อผู้ชุมนุมย้ายไปที่แยกราชประสงค์ ศอฉ.ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตั้งด่านสกัดตามจุดต่างๆ เช่น ถ.ราชปรารภ ถ.เพลินจิต เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าไปชุมนุมเพิ่มเติมที่บริเวณแยกราชประสงค์ ส่วนกรณีที่นายพัน คำกอง ถูกยิงเสียชีวิต ที่บริเวณราชปรารภนั้น ได้รับรายงานในภายหลัง จากเจ้าหน้าที่ว่าเมื่อคืนวันที่ 15 พ.ค.เวลา 01.00 น. มีรถตู้วิ่งผ่านเข้ามาขณะที่เจ้าหน้าที่ถูกคนร้ายเข้าโจมตีด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งเป็นการยิงตอบโต้กันระหว่างเจ้าหน้าที่และคนร้าย หลังจากนั้นจึงพบนายพัน เสียชีวิตอยู่ใกล้บังเกอร์หรือที่กำบัง ซึ่งหลังเกิดเหตุดีเอสไอได้ทำสำนวนของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมด และแม้จะส่งสำนวนกลับไปให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลตรวจพิสูจน์สาเหตุตายอีกครั้ง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์บาดแผลและตรวจสอบกระสุนปืน ก็ไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดว่านายพัน และผู้เสียชีวิตรายอื่นๆ เสียชีวิตจากการกระทำของฝ่ายใด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเบิกความ ว่า การเสียชีวิตจากการชุมนุมปี2553นั้นสาเหตุเกิดจากการที่ในกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมมีการใช้อาวุธปืนและวัตถุระเบิดในการก่อเหตุขึ้นมา แต่ทางรัฐบาลไม่มีนโยบายใดๆที่จะใช้กำลังเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมแต่ใช้วิธิการที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ จะสังเกตุได้ว่าในช่วง2-3ปีหลังนี้ทางสหประชาชาติให้ความสนใจในเหตุการณ์ความรุนแรงหลายประเทศ แต่เหตุการณ์ในประเทศไทยทางสหประชาติก็ไม่ได้กล่าวหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี53แต่อย่างใด ว่ามีการละเมิดสิทธิและใช้ความรุนแรง เหตุการณ์ในการชุมนุมปี2553นั้นตนได้ตั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์ และผอ. ศอฉ.ก่อนจะเปลี่ยนเป็นพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในช่วงหลังแต่ระหว่างที่มีการตั้ง ศอฉ.ตนมีอำนาจในการกำกับดูแลบริหามรราชการแผ่นดินอยู่รวมถึงการสั่งการ ศอฉ.ด้วย ในฐานะ นายกรัฐมนตรี

"ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการขอพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเพราะว่าผู้ชุมนุมมีการชุมนุมแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ซึ่งไม่มีควาสมจำเป็น ทางรัฐบาลต้องการประชาชนรม2ฝั่งแม่น้ำสามารถเดินทางสัญจรผ่านสะพานพระราม8ได้ จึงต้องมี การขอคืนพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้ชุมนุมปิดถนนอยู่ ส่วนมาตรการดำเนินการเป็นหน้าที่ของ ศอฉ.และวิธีการจะต้องปฏิบัติตามที่หลักสากลยอมรับ ละย้ำว่าการปฏิบัติไม่ได้มีเจตนาที่มีการสลายการชุมนุมและมีการระมัดระวังทางด้านยุทธวิธีที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงเช่น จะมีการหยุดปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งก่อนช่วงเวลานั้นไม่มีการรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต จนกระทั่งต่อมาได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ชุดที่ขอคืนพื้นที่โดนกองกำลังชุดดำปิดล้อมและยิงใส่ด้วยอาวุธสงครามถึงได้รับรายงานการเสียชีวิต" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการขอคืนพื้นที่ในเหตุกามรณ์ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ยื่นขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้อนุญาติให้รัฐบาลขอคืนพื้นที่การชุมนุมและศาลแพ่งได้มีคำสั่งอนุญาติให้มีการขอคืนพื้นที่เพราะผู้ชุมนุมโดยวิธีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งว่าการขอพื้นที่ต้องเป็นไปตามหลักสากล ซึ่งรัฐบาลก็ปฏิบัติตาม ตนไม่ทราบว่าในเหตุการณ์ดังกล่าวใครเป็นผู้บังคับบัญชาการในพื้นที่ แต่มีการรายงานมาตลอดเป็นระยะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งซึ่งเป็นหลักสากล และไม่มีรายงานว่ามีเหตุที่จะต้องไม่ปฏิบัติตามหลักของคำสั่ง ซึ่งการขอคืนพื้นที่ที่สะพานผ่านฟ้านั้นใช้เวลาประมาณ 3-4วันก่อนที่ผู้ร่วมชุมนุมจะย้ายไปรวมที่ราชประสงค์ ซึ่งในการชุมนุมที่ราชประสงค์นั้นตนได้รับรายงานมาว่าในกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมมีผู้ติดอาวุธแฝงตัวอยู่และการสื่อสารกับผู้ร่วมชุมนุมเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะผู้ชุมนุมรับข่าวสารด้านเดียวจากแกนนำ รัฐบาลซึ่งมีนโยบายที่จะเจรจาได้มีการส่งบุคคลไปเจรจากับทางแกนนำอย่างต่อเนื่องหลายครั้งและข้อแม้การเจรจามีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งที่สะพานผ่านฟ้า มีทั้งการเจรจาในหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องการขอพื้นที่คืนที่หน้าลานพระบรมรูปรัชกาลที่6 ซึ่งตกลงกันและแกนนำรับปากแต่ก็ไม่ได้มีการปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ รวมถึงเรื่องการยุบสภาตามข้อเรียกร้องของแกนนำซึ่งตนได้เจรจาและตกลงประกาศว่าถ้ายกเลิกการชุมนุมตนจะยุบสำภาในวันที่ 14 พ.ย.53 ซึ่งมีการรับปากตกลงกันได้แต่ภายหลังทางแกนนำก็ไม่ได้มีการปฏิบัติตาม ต่อมา จึงได้ประกาศว่าจะไม่มีการเจรจาเกิดขึ้นอีก

"ส่วนคำว่ากระชับพื้นที่นั้นไม่ใช่การใช้การกำลังเข้าสลายการชุมนุม แต่เป็นการกำหนดให้มีการกระชับวงล้อมเพื่อให้หยุดการชุมนุมโดยใช้วิธีกดดัน ซึ่งระหว่างนั้นมีการเจรจาขอให้ยกเลิกการปิดล้อมและให้ชุมนุมโดยอิสระซึ่งรัฐบาลไม่รับข้อเสนอเพราะไม่มีประโยชน์และจะทำให้การชุมนุมยืดเยื้อ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว และว่า ซึ่งถ้ารัฐบาลใช้กำลังหรือมีคำสั่งสลายการชุมนุมจริงการชุมนุมต้องสลายไปทั้งหมดแต่ในความจริงพื้นที่หลายพื้นที่ยังมีการชุมนุมอยู่

อดีตนายกฯ กล่าวยืนยันว่าผู้เสียชีวิตที่เกิดจากระเบิด เอ็ม79 ทั้งหมดไม่ได้เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีการใช้ระเบิดชนิดนี้ ส่วนการเสียชีวิตโดยกระสุนปืนนั้นต้องสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงเพราะระหว่างการชุมนุมมีรายงานว่ามีอาวุธของเจ้าหน้าที่ถูกปล้นและมีการแต่งกายเลียนแบบทหารซึ่งในเรื่องนี้มีการส่งสำนวนคดีให้กรมสอบสวนคดีพิเศา(ดีเอสไอ)และตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ในส่วนของดีเอสไอนั้นมีข้อสรุปแล้วว่าเป็นฝีมือของผู้ชุม12ราย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่อง 6 ศพวัดปทุมนั้นตนได้ทราบจากสื่อมวลชนและรายงานทางด้านการข่าวทราบว่าในช่วงเกิดเหตุมีการต่อสู้กันของกองกำลังและเจ้าหน้าที่ สืบเนื่องมาจากการเผาเซ็นทรัลเวิลด์และสยามซึ่งระหว่างเกิดเหตุเพลิงไหม้จะมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และพยาบาลซึ่งผู้ก่อการจะใช้โอกาศนี้ก่อเหตุกับบุคคลเหล่านี้อีกทั้งตนได้รับรายงานว่ามีชายชุดดำอยู่ที่วัดปทุมวนารามอีกด้วย

หลังจากไต่สวนพยานทั้ง3ปากเสร็จสิ้น ทางทนายญาติผู้ตายแถลงหมดพยานศาลจึงนัดฟังคำสั่งวันที่ 17 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00  น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคดีนี้เป็นคดีแรกในสำนวนไต่สวนชันสูตรศพที่ศาลจะมีคำสั่ง
               
ภายหลัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้ตนมาเบิกความในฐานะพยาน และไม่ห่วงว่าจะถูกมองเป็นจำเลยของสังคม ซึ่งตนได้เบิกความข้อเท็จจจริงไปในชั้นศาลแล้ว

รถขุดคันละร้อยล้าน

"หาญส์" แฉ "ธีรชน" ทิ้งทวน "รถขุดคันละร้อยล้าน-ถลุงร่วม 5000 ล้าน" แถมมี สส.ปชป.เป็นเจ้าของ
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ


ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในฐานะที่ตนเคยเป็นอดีตสมาชิกสภา กทม. และผู้สมัคร ส.ส.กทม. และเป็นคนกรุงเทพฯที่เสียภาษี เห็นว่าการใช้งบประมาณของกทม.เพื่อใช้ดำเนินการในโครงการต่างๆ มีความไม่ชอบมาพากลและส่อไปในทางทุจริต แต่เมื่อใกล้จะครบวาระ 4 ปี  กลับใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยเกินความจำเป็น

นายภักดีหาญส์ กล่าวต่อว่า ตนจึงต้องออกมาชี้แจงและเปิดเผยข้อมูลที่อาจไม่โปร่งใสของกทม.3 เรื่อง คือ  โครงการจัดหาเครื่องมือหนักสำหรับใช้ในการซ่อมบำรุง  3 รายการ คือรถบดสั่นสะเทือนล้อเหล็กรถขุดตีนตะขาบ แขนยาวพร้อมหัวคีบตัด และรถไสผิวถนนขนาดความกว้างหัวไสไม่น่อยกว่า 2 เมตร รวมทั้งหมด 10 ชุด โดยใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นงบฯปี 55 จำนวน 100 ล้านบาท และงบฯผูกพันปี 56  กทม. จำนวน 900 ล้านบาท  ซึ่งไม่ระบุว่าจะนำไปซื้ออะไร

นายภักดีหาญส์ กล่าวต่อว่า ที่น่าสังเกตคือการที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากทม. ใช้เวลาพิจารณาเพียง 2วัน ก่อนโอนงบประมาณให้สำนักการโยธาดำเนินการ อีกทั้งยังไม่ระบุสเปกของสิ่งของที่จะจัดซื้อจัดจ้างและนำ 3 รายการมารวมกัน เพื่อให้บริษัทที่ยื่นประมูลได้แบบเหมารรวม โดยไม่มีราคากลาง โดยไม่แยกเปิดประมูล 3 รายการ ซึ่งไม่เคยมีการปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน   อีกทั้งข้อกำหนดในของบริษัทที่จะเข้ามาประมูลนั้นมีเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายที่รับการแต่งตั้งโดยตรงจากผู้ผลิตคุรุภัณฑ์ และหนังสือต้องออกภายใน 180 วัน และจดหมายตอบกลับไปยังบริษัทที่เสนอไม่มีการลงวันที่แต่อย่างใด หมายถึงถ้ามีบริษัทที่เป็นผู้แทนจำหน่ายและดำเนินการมา 15 ปี เข้าประมูลไม่ได้ เพราะเกิน180 วัน ถามว่าเป็นการกีดกั้นตัวแทนจำหน่ายที่ตั้งมากว่า 10 ปี  ไม่ให้เข้ามาประมูลแข่ง และส่อพิรุธให้เห็นว่าเข้าข่ายแสวงหาผลประโยชน์ระหว่างหน่วยงานราชการและพ่อค้า หรือไม่ ตนเข้าใจว่าการดำเนินการเช่นนี้ของกทม.เป็นเพราะได้คุยกับบริษัทที่รับเหมาไว้เรียบร้อยแล้วใช้หรือไม่  นอกจากนั้นทราบว่ามีหลายบริษัทที่ไม่ได้รับการพิจารณาได้ส่งหนังสือเปิดผนึกสอบถามและร้องเรียนไปยังกทม.ถึงเรื่องนี้ว่ามีการฮั้วประมูลหรือไม่ และมี 2-3 บริษัทที่พบว่าเจ้าของเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้ ตนจะยื่นเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ต่อไป  และจะส่งสำเนาเรื่องไปที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาต่อไปโดยที่บริษัทที่เป็นผู้เสียหายจากการผู้ขาดข้อสัญญาและข้อกำหนด               

รองโฆษกรัฐบาล กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีโครงการที่น่าสังเกต อาทิ โครงการจัดซื้อรถดูดล้างท่อ ขนาด 3 ลูกบาศก์เมตร ยี่ห้ออีซูซุ จำนวน 42 คัน ซึ่งราคาเกินกว่าที่กำหนดไว้ถึง 1 เท่า จากที่กำหนด คันละ 4 ล้าน กลับคันละกว่า 8 ล้านบาท ทั้งที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ไม่ได้ร้องขอและไม่เคยได้รับการจัดสรร  แต่กลับให้สำนักงานเขตตรวจรับ สร้างภาระให้เขตในการสร้างลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานขับ แต่ปรากฎว่ารถที่ส่งไปให้เขตใช้การไม่ได้จริง ดูดน้ำไม่ได้จริง เพราะถ้าทำได้ต้องการันตีว่าน้ำจะไม่ท่วมกทม. และในข้อสัญญาซื้อขายระบุว่าหากรถเกิดความเสียหายสามารถส่งกลับซ่อมแซมภายใน 7 วัน ซึ่งกทม.ไม่ดำเนินการฟ้องร้อง

รองโฆษกรัฐบาล กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในข้อกำหนดเรื่องราคาระบุว่าให้จัดซื้อได้ไม่เกินคันละ 4 ล้านบาท แต่กลับซื้อมากถึงคันละกว่าละ 8 ล้าน ถามว่าทำไมกทม.ไม่ฟ้องร้องบริษัทที่จัดซื้อ จึงมีข้อสังเกตว่าสาเหตุที่กทม.ไม่ฟ้องร้องเพราะบริษัทที่จัดซื้อเป็นพวกเดียวกับข้าราชการระดับสูงและฝ่ายบริหารหรือไม่

นายภักดีหาญส์ กล่าวว่า  สำหรับโครงการเช่ารถเก็บขยะ 4 โครงการ เป็นเวลา 7 ปีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ที่ดำเนินการโดยสำนักสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับของนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ดูแลอยู่ ใช้วิธีประมูลด้วยวิธีอีออ๊อกชั่น ซึ่งบริษัทที่ประมูลงานได้ทั้ง 4 โครงการ เป็น 2 บริษัท คือ บ.อิทธิพร อิมพอร์ต จำกัด มีนายสมาน เตชะอิทธิพร เป็นเจ้าของ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีไอพี ออโต้พาร์ท เป็นผู้ที่ได้งานทั้งหมด ซึ่งการใช้งบประมาณจะแยกย่อยในการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แต่มีแค่ 2 บริษัทที่ชนะการประมูลแบบผูกขาด ซึ่งน่าสังเกตว่าเจ้าของบ.อิทธิพรนั้นมีบริษัทนอมินีอีกนับ10บริษัท ได้รับงานจากกทม. ซึ่งในตามกฎหมายที่ระบุนั้นผู้รับงานต้องไม่มีประโยช์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น คือไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดชนะการประมูลต้องไม่ใช่เจ้าของเดียวกันหรือนอมินีเพื่อป้องกันการล็อกสเปก จึงเห็นว่าทั้ง 4 โครงการ มีการล็อกสเป็กเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโครงการต่างๆที่พูดมา ตนอยากให้ผู้ที่เกี่ยวของเร่งตรวจสอบโดยเร็ว