วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เผด็จการไทยใกล้หมดตาเดิน

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: เผด็จการไทยใกล้หมดตาเดิน
Posted: 25 Oct 2012 07:16 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท) 

             รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ากุมอำนาจบริหารมาได้ปีเศษ นับว่า เกินกว่าความคาดหมายของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์และพวกเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยเชื่อว่า รัฐบาลนี้จะอยู่ได้ไม่เกินหกเดือน เนื่องจากความเข้มแข็งของกลไกเผด็จการในรัฐธรรมนูญ 2550 และการขาดประสบการณ์ของนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะทำให้รัฐบาลบริหารงานผิดพลาด จนเป็นเงื่อนไขให้ถูกโค่นล้มลงโดยง่ายดาย ดังเช่น รัฐบาลพรรคพลังประชาชน

              แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ยืนหยัดมาได้ ภายหลังผ่านพ้นวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปี 2554 ก็สามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นคือ สามารถสร้างผลงานทางการบริหารตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการวางตัวของนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานแต่ถ่ายเดียว ไม่เล่นการเมืองรายวัน จนถูกขนานนามว่า “ดีแต่ทำงาน” ไม่ใช่จำพวก “ดีแต่พูด” เล่นสำบัดสำนวนเอาแต่ตีกินทางการเมืองไปวัน ๆ แต่ทำงานเป็น อันเป็นแบบฉบับของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์

จนถึงปัจจุบัน นางสาวยิ่งลักษณ์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีคะแนนนิยมสูงสุดเท่าที่เคยมีมานับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

             ฝ่ายเผด็จการแฝงเร้นของไทยยังคงประกอบไปด้วยผู้บงการวางแผนกลุ่มเดิม ผู้รับคำสั่งปฏิบัติการและกลไกแขนขาที่ครบถ้วนเหมือนเดิม ประกอบด้วยสี่ขาหยั่ง ได้แก่ ตุลาการและบรรดา “องค์กรอิสระ” ในรัฐธรรมนูญ กองทัพ พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คนพวกนี้ยังคงติดกับอยู่ในโลกทัศน์ วิธีคิดและประสบการณ์เดิม ๆ ยุทธวิธีของพวกเขาจึงยังคงซ้ำซากเหมือนกับที่เคยใช้มาแล้วในการโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และรัฐบาลพรรคพลังประชาชน คือ สร้างกระแสต่อต้านรัฐบาล ใช้ข้ออ้างสามประเด็นหลักคือ ทุจริตคอรัปชั่น แก้รัฐธรรมนูญ และหมิ่นกษัตริย์ ให้กลุ่มอันธพาลการเมืองรับจ้างออกมาเคลื่อนไหว ใช้ความรุนแรงก่อจลาจลบนท้องถนน ประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ที่คอยก่อกวนอยู่ในสภา ให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้และกำลังถูกต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก จากนั้น ก็ใช้กลไกตุลาการในรัฐธรรมนูญเข้ามาทำลายรัฐมนตรีรายบุคคลไปจนถึงตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทั้งคณะ ตามด้วยเครื่องมือสุดท้ายคือ ใช้กองทัพเข้าแทรกแซงโดยตรงด้วยการรัฐประหารทั้งอย่างเปิดเผยหรือซ่อนรูป

              แต่ทว่า ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ทำให้การเดินหมากของฝ่ายเผด็จการไทยเข้าสู่สภาพ “เข้าตาจน หมดตาเดิน” เพราะก่อนการเลือกตั้ง พวกเขายังเพ้อฝันไปว่า พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถบริหารประเทศประสบความสำเร็จ และ “ซื้อใจประชาชน” จนสามารถชนะเลือกตั้งได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้พรรคเพื่อไทยไม่สามารถได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาฯ แต่การณ์กลับเป็นว่า พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งถล่มทลาย ได้คะแนนเสียงเด็ดขาดเกินครึ่งหนึ่งของสภา

             นี่เป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่ห้าในระบอบการเมืองแบบเลือกตั้งของพวกเขา และในเฉพาะหน้านี้ ก็เป็นการปิดประตูตายในเวทีรัฐสภาของฝ่ายเผด็จการ การที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงเกินครึ่งในสภา ย่อมหมายความว่า การทำ “รัฐประหารด้วยตุลาการ” ที่สำเร็จมาแล้วกับรัฐบาลพรรคพลังประชาชน คือ ใช้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค ถอดนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทั้งคณะ แล้วใช้กองทัพเข้าข่มขู่พร้อมยื่นผลประโยชน์เข้าล่อ ให้พรรคแตกแยก เกิดเป็น “งูเห่า” มาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้จำนวนเสียงในสภาเกินครึ่งแล้วจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จอีกนั้น ทั้งหมดนี้ทำได้ยากเสียแล้ว เพราะถึงยุบพรรคเพื่อไทยและถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ แต่ถ้าดุลคะแนนเสียงในสภายังคงเดิมหรือเปลี่ยนไปไม่มากพอ พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถตั้งรัฐบาล “งูเห่า” ได้อยู่ดี และรัฐบาลใหม่ก็จะยังคงเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

             นัยหนึ่ง การที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 มีเสียงเกินครึ่งในสภา ทำให้การเปลี่ยนมืออำนาจบริหารให้กลับมาเป็นของฝ่ายเผด็จการอีกครั้งภายในกรอบรัฐสภานี้ทำได้ยากยิ่ง เพราะถึงอย่างไร ตุลาการและ “องค์กรอิสระ” ตามรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถเปลี่ยนดุลคะแนนเสียงในสภาได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งหมดนี้ทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเอาชนะฝ่ายประชาธิปไตยด้วยวิธีการที่ “ไม่ใช่การเลือกตั้งและจำนวนคะแนนเสียงในสภา”

              รูปแบบการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยวิธีการนอกสภาที่พวกเขาเคยกระทำมานับสิบครั้งก็คือ รัฐประหาร แต่ทว่า การรัฐประหารในวันนี้จะถูกต่อต้านจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั่วประเทศอย่างแน่นอนและจะเป็นรัฐประหารที่นองเลือดยิ่งกว่าครั้งใดในอดีต นอกจากนั้น ประชาคมโลกในหลายปีมานี้ ก็เหมือนกับประชาชนไทยจำนวนมากคือ “รู้ความจริง” เข้าใจปัญหาถึงรากเง่าความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ชัดว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริงที่ขัดขวางประชาธิปไตยในไทยตลอดหลายสิบปีมานี้ รัฐประหารไม่ว่าจะเปิดเผยหรือซ่อนรูป รวมทั้งรัฐบาลเผด็จการที่คลอดออกมาจะถูกปฏิเสธจากประชาคมโลกและประชาคมอาเซียนอย่างแน่นอน

              แต่ฝ่ายเผด็จการแฝงเร้นไม่เคยลดละที่จะบั่นทอนรัฐบาลพรรคเพื่อไทย การรุกครั้งใหญ่ล่าสุดของพวกเขาคือ กรณีการแก้รัฐธรรมนูญ ม.291 ให้สามารถจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ ที่บรรลุไปถึงการพิจารณาในวาระสาม ก็ได้ถูกทั้งพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้เป็นข้ออ้างเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญที่กระโดดเข้ามารับคำร้องคัดค้าน ทั้งที่ไม่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนเกิดเป็นกระแสสูงที่จะให้ยุบพรรคเพื่อไทยและดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่ผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในที่สุด การรุกครั้งใหญ่นี้ ก็ “ฝ่อ” ไปเสียก่อน

             บัดนี้ ดูเหมือนว่า การรุกครั้งใหม่ของฝ่ายเผด็จการกำลังก่อตัวขึ้นอีก จากการเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างคึกคักของพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำเนิน ต่อเนื่องมาหลายเดือน การก่อกระแสต่อต้านโครงการต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรับจำนำข้าว ที่ประสานร่วมมือกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการเสื้อเหลือง กลุ่มนายทุนพ่อค้าที่เสียประโยชน์ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นสมุนเผด็จการ ความพยายามของคนพวกนี้เข้าขั้น “จนตรอก” เมื่อไม่สามารถหาเรื่องจริงมาบิดเบือนได้อีก ก็ใช้วิธีกุเรื่องไซฟ่อนเงิน 16,000 ล้านบาทที่ฮ่องกง อันเป็นการสร้างเรื่องขึ้นจากอากาศธาตุโดยแท้ กระทั่งล่าสุด ความพยายามที่จะก่อการชุมนุมของมวลชนเพื่อขับไล่รัฐบาลในวันที่ 28 ตุลาคมนี้

              แต่การเคลื่อนไหวรุกในขอบเขตใหญ่โตอย่างทรงพลงและเป็นระบบทั่วด้าน ดังเช่นในกรณีการแก้รัฐธรรมนูญวาระสามนั้น จะกระทำได้ยากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ยังเข้มแข็ง นายกรัฐมนตรีก็เป็นที่นิยมของประชาชนอย่างสูง และเครือข่ายอำนาจเผด็จการแฝงเร้นที่ได้อ่อนแอและเสื่อมทรามลงไปอย่างมากในช่วงปีเศษมานี้

              หนทางของพวกเผด็จการแฝงเร้นภายในกรอบรัฐสภานั้นตีบตัน ขณะที่หนทางนอกรัฐสภาก็สุ่มเสี่ยงและเต็มไปด้วยอุปสรรค การรุกครั้งนี้จึงเป็นการกระเสือกกระสนที่สิ้นหวังและไร้อนาคต ยิ่งถ้าพวกเขาเกิดอาการ “วิปลาส” ดันทุรังไปจนถึงการทำรัฐประหาร ฝืนความต้องการของประชาชนไทยและประชามติโลก พวกเขาก็จะมุ่งไปสู่จุดจบที่เด็ดขาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น

แรลลี่ตามจับคนใจหมา






               27 ตุลาคม นี้ เวลา 10.00 น พายับ ปั้นเกตุ และ พต.ท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ยืนยันจะจัดแรลลี่ ตามจับฆาตกรใจหมา สั่ง ฆ่าประชาชน 99 ศพ กลางเมืองหลวง ประเทศไทย มาเยอะๆๆ น่ะค่ะพี่น้อง แสดง พลัง ให้ เหี้ยยยยยยยย...อ้าย มันดูก่อน ค่ะ แค่ 300 ชีวิตของมันที่จะมาชุมนุม ฮ่าๆๆๆๆ แดง รวมตัวกันไปฉี่ ยังเยอะ กว่า ค่ะ ฮ่าๆๆๆๆ++++++

จะขึ้นศาล หรือจะปฏิรูป?







 จะขึ้นศาล หรือจะปฏิรูป? เส้นทางสู่กองทัพประชาธิปไตย 

โดย สุรชาติ บำรุงสุข  คอลัมน์ ยุทธบทความ
ในมติชนสุดสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 33 ฉบับที่ 1680 หน้า 36 

"ไม่เพียงแต่ประชาชนเท่านั้นที่ต้องการลัทธิประชาธิปไตย กองทัพก็ต้องการลัทธิประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน ระบอบประชาธิปไตยในกองทัพจะเป็นอาวุธที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำลายความเป็นกองทัพรับจ้างแบบศักดินา" ประธานเหมาเจ๋อตุง 25 พฤศจิกายน 1928

             เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา หนึ่งในข่าวใหญ่ที่ปรากฏออกในสื่อทั่วโลกก็คือ ศาลอาญาของประเทศตุรกีได้พิพากษาให้ทหารที่มีส่วนในการรัฐประหารเป็นจำนวน ถึง 365 คน ถูกตัดสินจำคุก  และส่วนหนึ่งของคำตัดสินนี้ส่งผลให้นายทหารเหล่านี้บางส่วนต้องถูกจำคุกเป็นเวลาสูงถึง 20 ปี  แน่ นอนว่าคำตัดสินของศาลเช่นนี้ส่งผลโดยตรงให้บทบาทของทหารในการเมืองตุรกี เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง หรืออีกนัยหนึ่งคำตัดสินดังกล่าวทำให้อิทธิพลและอำนาจของทหารในการเมือง ตุรกีลดลงโดยปริยาย ดัง จะเห็นได้จากรูปธรรมของคำตัดสินที่อดีตผู้บัญชาการทหาร อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ และอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ถูกตัดสินโทษตลอดชีวิต และลดโทษเหลือเพียง 20 ปี พร้อมกับนายทหารระดับนายพลอีก 6 คน ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี

             ซึ่งหากย้อนกลับไปสู่อดีต คำตัดสินเช่นนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แม้แต่จะคิดถึงเพียงเรื่องของการจับผู้นำทหารขึ้นศาลก็เป็นประเด็นที่เป็นไป ไม่ได้แล้ว  แต่ เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นก็เท่ากับการบ่งบอกถึงระยะเปลี่ยนผ่านทางการ เมืองของตุรกีก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาของ "การสร้างความเข้มแข็ง" ให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือก็บ่งบอกถึงความหมายในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบ การเมืองแบบการเลือกตั้งให้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงให้ได้

              และในกระบวนการเช่นนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพยังคงเป็นประเด็นสำคัญในกรณี นี้  เพราะ การจะทำให้กระบวนการของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้น ได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น รัฐบาลพลเรือนจะต้องมีขีดความสามารถทางการเมืองที่ทฤษฎีในวิชารัฐศาสตร์ เรียกว่า "การควบคุมโดยพลเรือน" ซึ่งตัวแบบที่เกิดขึ้นจากตุรกีก็คือการส่งสัญญาณถึงสมดุลของอำนาจในทางการ เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป  สัญญาณ ของปรากฏการณ์ดังกล่าวก็คือ อำนาจทางการเมืองที่ถูกผูกขาดรวมศูนย์อยู่ในมือของผู้นำทหารนั้นได้ถูกส่ง ผ่านมายังผู้นำรัฐบาลพลเรือนแล้ว

              ดังนั้น ปฏิบัติการของคำตัดสินของศาลในการจำคุกผู้นำทหารที่เคยมีบทบาทในการยึดอำนาจ รัฐบาลพลเรือนตุรกี หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในสังคมตุรกีว่า "ปฏิบัติการค้อนเหล็ก" (The Sledgehammer) ก็คือการส่งสัญญาณถึงทิศทางการเมืองใหม่ของประเทศ  และเป็นการเมืองที่อำนาจเคลื่อนไปอยู่ในมือของผู้นำพลเรือนมากขึ้น

              ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลกล่าวกับสำนักข่าว CNN อย่างตรงไปตรงมาในกรณีนี้ว่า "คำตัดสินของศาลคือการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงกองทัพว่า เวลาของกองทัพในการเมืองนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว"  ดัง นั้น การตัดสินของศาลในครั้งนี้ก็คือ การบอกว่า "ใครก็ตามที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตจะ ต้องคิดแล้วคิดอีก" เพราะอย่างน้อยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ แม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ แต่ก็มิได้หมายความว่า ความสำเร็จดังกล่าวจะทำให้บรรดานายทหารทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะไม่ต้องถูก ฟ้องร้องในศาล  และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ พวกเขาอาจถูกพิพากษาให้ต้องจำคุกได้

              กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าแม้จะรัฐประหารสำเร็จในวันนี้ แต่ก็อาจติดคุกได้ในวันหน้า เพราะความสำเร็จในการยึดอำนาจไม่สามารถคุ้มครองให้กลุ่มทหารพ้นจากคำพิพากษา ของศาลได้  กระบวน การ "ค้อนเหล็ก" ในการสอบสวนคดีรัฐประหารของผู้นำทหารนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 และว่าที่จริงการเริ่มการสอบสวนดังกล่าวก็คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการถดถอยของ อำนาจของทหารในการเมืองตุรกี   เพราะ แต่เดิมนั้น อำนาจของกองทัพในการเมืองเป็นประเด็นที่แตะต้องไม่ได้เลย และสำหรับผู้นำทหารแล้ว พวกเขาก็เป็นกลุ่มอำนาจที่แตะต้องไม่ได้เลยเช่นกัน  ดัง นั้น คำตัดสินของศาลในครั้งนี้จึงเป็นเสมือนการเปิดประตูสู่การเมืองใหม่ของตุรกี และเป็นการเมืองที่เดินคู่ขนานไปกับกระบวนการสร้างประชาธิปไตยของประเทศ  จน หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นภาพสะท้อนอย่างสำคัญของการต่อสู้ระหว่างผู้นำทางโลก 2 กลุ่มของสังคมตุรกีคือ กลุ่มพลเรือนกับกลุ่มทหาร และผลของคำตัดสินครั้งนี้ยังสะท้อนทิศทางใหม่ของการเมืองตุรกีที่ผู้นำ พลเรือนมีอำนาจมากขึ้น  ดัง นั้น คงต้องยอมรับว่าจนถึงวันนี้ การเมืองตุรกีได้เปลี่ยนไปแล้ว และเป็นการเมืองชุดใหม่ที่ยุคทองของทหารในการเมืองที่มาพร้อมกับการรัฐ ประหารกำลังปิดฉากลงจริงๆ แล้วในการเมืองตุรกี

              ระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลายปีที่ผ่าน มา ก็มีปรากฏการณ์คล้ายๆ กันที่มีการนำเอาผู้นำทหารขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม  แต่ไม่ใช่เรื่องของการรัฐประหาร หากเป็นเรื่องของการคอร์รัปชั่น  ซึ่ง ก็คือการส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดอำนาจของทหารในการเมืองเกาหลีใต้เช่นกัน เพราะหากย้อนกลับไปพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองในอดีต ก็จะพบว่าเกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเป็น ผู้ปกครอง และรัฐบาลทหารในเกาหลีใต้ก็อยู่อย่างยาวนานพอสมควร  แต่จนถึงวันนี้ก็เห็นได้ชัดเจนว่า รัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่หวนกลับมาอีกแต่อย่างใด

             หากเราเชื่อว่าปัจจัยภายนอกจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์เป็นประเด็นสำคัญใน การสร้างความชอบธรรมให้แก่กองทัพในการทำรัฐประหารแล้ว  กอง ทัพเกาหลีใต้ปัจจุบันกลับไม่สามารถอ้างความชอบธรรมดังกล่าวได้ แม้กองทัพเกาหลีเหนือจะเป็นภัยคุกคามที่ชัดเจน ซึ่งมีทั้งขีปนาวุธพิสัยกลางติดหัวรบนิวเคลียร์ในรูปแบบต่างๆ แล้ว ก็ยังมีกองทัพบกขนาดใหญ่โดยมีการจัดกำลังพลมากเป็นจำนวนถึง 27 กองพลและ 14 กองพลน้อยทหารราบ ในขณะที่กองทัพเกาหลีใต้มีกำลังพลทหารราบ 17 กองพล เป็นต้น   ดัง นั้น แม้ว่าภัยคุกคามทางทหารจากภายนอกจะมีความชัดเจน แต่ก็มิได้หมายความว่าภัยคุกคามนี้จะกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้กองทัพเกาหลีใต้ หวนกลับสู่เวทีการเมืองอีกแต่อย่างใด  ประกอบกับก็เห็นได้ชัดเจนถึงความเข้มแข็งของรัฐบาลพลเรือนหลังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้น

              และจนถึงวันนี้ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว  ดัง จะเห็นได้ว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง ประชาธิปไตยที่ทำให้บทบาทการแทรกแซงทางการเมืองของทหารสิ้นสุดลงจริงๆ   หรือ อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดเจนว่า สังคมเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามของเกาหลีเหนือก็มิได้ออกมาเรียก ร้องให้กองทัพเกาหลีใต้กลับมาเป็น "ผู้ปกป้อง" ทางการเมืองด้วยการจัดตั้งรัฐบาลทหารอีกแต่อย่างใด

              ในประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่ผ่านประสบการณ์ของการรัฐประหารมาอย่างโชกโชน เช่น ในกรณีของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็เปลี่ยนแปลงไป แต่หากย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่ากองทัพของทั้งสองประเทศมีบทบาทอย่างมากในทาง การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินโดนีเซียนั้นถือได้ว่า รัฐบาลทหารของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นหนึ่งในระบอบการปกครองของทหารที่มี อายุยาวนานของโลก  แต่ ด้วยผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแก่ประเทศไทย และส่งผลกระทบทั่วทั้งภูมิภาคจนกลายเป็นวิกฤตทางการเมือง และทำให้รัฐบาลทหารของอินโดนีเซียต้องยุติบทบาทไปในปี 2540 แม้จะมีข่าวลือเกี่ยวกับความพยายามของทหารในการหวนกลับสู่การยึดอำนาจใน จาการ์ตา แต่ก็เห็นได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นเพียง "ข่าวลือ"  และ จวบจนปัจจุบันรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังปฏิบัติหน้าที่เป็น ปกติ และกล่าวได้ว่า ระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในอินโดนีเซียสิ้นสุดลงจนสามารถสร้างความเข้ม แข็งให้แก่ระบอบการปกครองของพลเรือน จนเรื่องของทหารกับการแทรกแซงทางการเมืองในอินโดนีเซียน่าจะเป็นสิ่งที่สิ้น สุดไปแล้ว

              ในกรณีของกองทัพฟิลิปปินส์ก็เป็นในทิศทางเดียวกัน ทหารในอดีตจะถูกใช้เป็นฐานอำนาจของรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีมาร์คอส แม้รัฐบาลมาร์กอสจะสามารถควบคุมกองทัพได้ และรัฐประหารเป็นเรื่องที่ไม่เกิดในมะนิลา แต่หลังจากการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการแล้ว ก็เช่นเดียวกับในหลายๆ กรณีที่ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยล้วนเต็มไปด้วยข่าว ลือของการรัฐประหาร แต่จนแล้วจนรอด รัฐประหารก็เป็นเพียงข่าวลือท่ามกลางปัญหาการเมืองในมะนิลา   นอก จากนี้ ทั้งในกรณีของฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียนั้น รัฐบาลประชาธิปไตยของประเทศทั้งสองยังได้สร้างหลักประกันเพื่อให้การเมือง พลเรือนไม่ถูกโค่นล้มจากการยึดอำนาจของทหารอีก โดย มีการสร้างกระบวนการ "ปฏิรูปภาคความมั่นคง" (Security Sector Reform หรือ "SSR") เพื่อให้กองทัพอยู่ภายในกรอบการเมืองของระบอบประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง

              แนวคิดเรื่องการปฏิรูปภาคความมั่นคงเป็นเรื่องใหม่ เพราะไม่ใช่แต่เพียงข้อเสนอในการปฏิรูปกองทัพเท่านั้น หากแต่การปฏิรูปได้พุ่งเป้าไปสู่องค์กรความมั่นคงทั้งหมด ทั้งกองทัพ ตำรวจ ระบบยุติธรรม ซึ่งรวมถึงงานอัยการและงานราชทัณฑ์ ตลอดรวมทั้งหน่วยข่าวกรองอีกด้วย  แนว คิดเช่นนี้เป็นกระแสหลักประการหนึ่งของยุคหลังสงครามเย็น ที่ต้องการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปแก่หน่วยงานความมั่นคงทั้งระบบ และหวังว่าการปฏิรูปดังกล่าวจะมีส่วนโดยตรงต่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ระบอบประชาธิปไตย  ตัวอย่างของการปฏิรูปภาคความมั่นคงในฟิลิปปินส์ทำให้เห็นชัดเจนถึงการควบคุมโดยพลเรือนตามทฤษฎีของวิชารัฐศาสตร์

              กล่าวคือ กองทัพอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยประธานาธิบดี (ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีกลาโหมพลเรือน) โดยรัฐสภา และโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนอกจากนี้การกำกับยังเกิดขึ้นจากองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในสายงานราชการโดย ตรง ได้แก่ การกำกับโดยองค์กรในภาคประชาสังคม เช่น บทบาทในการตรวจสอบกองทัพโดยสื่อมวลชน หรือการตรวจสอบที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นต้น  ภาพอย่างสังเขปของการปฏิรูปภาคความมั่นคงในฟิลิปปินส์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โอกาสของการรัฐประหารน่าจะจบลงแล้ว

             เช่นเดียวกับกรณีของกองทัพอินโดนีเซียซึ่งก็อยู่ภายใต้กระบวนการของการปฏิรูปภาคความมั่นคงไม่แตกต่างกัน ซึ่ง ผลของการปฏิรูปเช่นนี้ไม่แต่เพียงทำให้กองทัพอินโดนีเซียซึ่งเคยมีความแข็ง แกร่งอย่างมากในทางการเมือง แต่วันนี้กลับยอมรับการควบคุมโดยพลเรือน และทั้งยังยอมรับอย่างมีนัยสำคัญว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่ของการป้องกันประเทศของอินโดนีเซียเป็นเรื่องของการตัดสินใจ ทางการเมืองของประธานาธิบดีพลเรือนและองค์กรด้านนิติบัญญัติของประเทศ โดยการตัดสินใจเช่นนี้วางอยู่บนพื้นฐานของหลักความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารที่เป็นประชาธิปไตย  

            ผลพวงของการปฏิรูปดังกล่าวผสมกับการขับเคลื่อนของระยะเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในอินโดนีเซีย ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โอกาสของการยึดอำนาจในกรุงจาการ์ตาเป็นเรื่องที่ห่างไกลอย่างมาก ซึ่ง ก็คือการเปิดโอกาสให้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยเดิน หน้าไปสู่ความสำเร็จไม่แตกต่างจากกรณีของฟิลิปปินส์ และว่าที่จริงก็ไม่แตกต่างจากกรณีของตุรกีและเกาหลีใต้

             แต่ในกรณีของไทย ปัญหาทหารกับการเมืองยังต่างจากตัวแบบในข้างต้นอย่างมาก  
             โอกาสของการรัฐประหารยังเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในเวทีการเมืองที่กรุงเทพฯ อยู่เสมอๆ  
             จนทำให้ต้องตระหนักว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ตกทอดมาจากบทบาทของทหารกับการเมืองไทยในอดีตที่ถูกผนวก อย่างมีนัยสำคัญกับผลของรัฐประหาร 2549 ก็คือปัญหาทหารกับการเมืองไทย

             ซึ่งจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า แล้วปัญหานี้จะจบลงอย่างไรในอนาคต...!

วัฒนธรรมโปรโมทความดี

สุรพศ ทวีศักดิ์: วัฒนธรรมโปรโมทความดี
Posted: 25 Oct 2012 07:46 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)
ชื่อบทความเดิม: วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดีและการหลอกตัวเองทางศีลธรรม กับปัญหาการเมืองและศาสนาในสังคมไทย

(ปรับจากบทความชื่อเดียวกัน เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 วันที่ 25 ต.ค.55 ณ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม)
                        ...............................

          วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี หมายถึง การส่งเสริมความดี/คนดีในความหมายเชิงจารีตประเพณี โดยการปลูกฝังอบรมผ่านระบบการศึกษา กลไกรัฐ ศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ฯลฯ บทความนี้ต้องการสำรวจว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีสะท้อนภาวะ “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” อย่างไร และส่งผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในสังคมไทยอย่างไร

1. ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์ และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

            1.1 สถาบันกษัตริย์ถูกนิยามว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นไทย ความรุ่งเรืองทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเกียรติยศของชาติ พระมหากษัตริย์เป็นทั้งผู้ปกครอง และเป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณ” จึงถูกอ้างอิงเป็น “ศูนย์กลางทางศีลธรรมแห่งรัฐ” ในความหมายสำคัญ คือ 1) เป็นผู้มีบุญคุณต่อพสกนิกร หรือเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ที่พสกนิกรต้องกตัญญูรู้บุญคุณ 2) เป็นสมมติเทพผู้ทรงทศพิธราชธรรมที่พสกนิกรต้องจงรักภักดี 3) เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดีของพสกนิกร ดังกระแสค่านิยม “ทำดีเพื่อพ่อ” และ 4) เป็นผู้สอนศีลธรรม ดังพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

             แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์ใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข” นั้น กษัตริย์ถูกกำหนดให้ “อยู่เหนือการเมือง” โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ในความหมายว่า พ้นไปจากการบริหารบ้านเมืองและความเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง จึงเป็นที่ “เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” เพราะกษัตริย์ทำอะไรไม่ผิด (the king can do no wrong) ในความหมายว่า ไม่ได้ทรงทำอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องการบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้กระทำและรับผิดชอบการกระทำนั้นๆ แทน ตามกฎหมายบัญญัติ [1]

            ปัญหาคือ “อยู่เหนือการเมือง” ขอบเขตอยู่ตรงไหน การเมืองมีความหมายแคบๆ แค่การลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันเพื่อมีอำนาจรัฐเท่านั้นหรือ เรื่องอื่นๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐ ใช้กลไกรัฐในการขับเคลื่อน และกระทบต่อประโยชน์สาธารณะเป็นการเมืองหรือไม่ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นนโยบายแห่งรัฐ โครงการพระราชดำริต่างๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐจำนวนมาก อำนาจเหนือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งรับผิดชอบทรัพยากรแผ่นดินมูลค่ามหาศาล ฯลฯ  เรื่องต่างๆ เหล่านี้ถูกตั้งคำถามว่าเป็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือไม่ ถ้าเป็นการเมืองและเป็นเรื่องที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ก็ควรถูกวิจารณ์ตรวจสอบความสุจริต โปร่งใส ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ความรับผิดชอบ (เป็นต้น) ได้ใน “มาตรฐานเดียว” กับที่วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมือง และบุคคลสาธารณะอื่นๆ ไม่ใช่หรือ แต่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ไม่มีการจำแนกให้ชัดเจนระหว่างอะไรคือหมิ่นประมาท กับอะไรคือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะทำให้สถานะของสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการตรวจสอบ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบเรื่องต่างๆ เหล่านี้ (เป็นต้น) ได้เลย

            1.2 พุทธศาสนาตามที่เป็นอยู่จริงในบ้านเราคือ พุทธศาสนาที่ธงชัย วินิจจะกูล เรียกว่า “พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” [2]  รูปธรรมของพุทธที่ว่านี้คือ “พุทธราชาชาตินิยม + พุทธพราหมณ์” หมายถึง พุทธเถรวาทไทยที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมว่า กษัตริย์เป็นสมมติเทพ ทรงทศพิธราชธรรม เป็นศาสนาที่ขึ้นต่อรัฐ โดยรัฐออกกฎหมายสถาปนาองค์กรปกครองสงฆ์ เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” ที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ โดยระบบสมณศักดิ์ขึ้นต่อ “พระราชอำนาจ” ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสถาบันกษัตริย์เนื่องด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐตามอุดมการณ์ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” วัดมีบทบาทส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ผ่านการเทศนาอวยคุณงามความดีของสถาบันกษัตริย์ และผ่านพิธีกรรมต่างๆ ในวันสำคัญของสถาบันกษัตริย์ วันสำคัญทางศาสนา และอื่นๆ

              มายาคติของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ การที่พุทธศาสนาถูกตีความสนับสนุนราชาธิปไตยมาเป็นพันๆ ปี พระสงฆ์ปัจจุบันเทศนาอวยสถาบันกษัตริย์ วัดต่างๆ ทำกิจกรรมส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือการที่พระสงฆ์ต้องรับสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์อย่างหนึ่งโดยการสถาปนาของกษัตริย์ การบริหารคณะสงฆ์ต้องขึ้นต่ออำนาจรัฐซึ่งมีผลกระทบต่อหลักการสำคัญของพุทธศาสนาที่ถือว่า “สังฆะ” ไม่มีระบบชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ หรือไม่มีอำนาจรัฐในมือ เป็นต้น อะไรต่างๆ เหล่านี้ไม่ถูกมองว่า “พุทธศาสนายุ่งเกี่ยวการเมือง”

              แต่ถ้ามีการตีความหลักการของพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย และการเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค จะถูกมองว่าดึงพุทธศาสนามายุ่งเกี่ยวการเมืองทันที อีกประการหนึ่งการอ้างทศพิธราชธรรมยกย่องเจ้า แต่ยอมรับเงื่อนไข “อยู่เหนือการตรวจสอบ” ของสถาบันกษัตริย์ ย่อมขัดแย้งกับหลักการพุทธศาสนาเอง เช่น หลักกาลามสูตรที่ถือว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” และตามหลักอริยสัจนั้น เราจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ จำเป็นต้องรู้ความจริงของปัญหานั้นๆ ก่อน ทว่าความจริงของสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นความจริงด้านบวกหรือลบ ไม่มีทางที่ประชาชนจะ “รู้” ได้ด้วยการพิสูจน์/ตรวจสอบเลย

             ฉะนั้น ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อย่างแรกอยู่เหนือการวิจารณ์ตรวจสอบ และอย่างหลังสนับสนุนค้ำจุนสถานะเหนือการตรวจสอบ จึงถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าคือรากฐานของ “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” หรือไม่ และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในบ้านเราอย่างไรบ้าง

2.ชุดความดีและคุณค่าของความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

             2.1 ชุดความดี/คนดีตามนิยามของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือตัวอย่างของ “ชุดความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ดังที่เขาได้ให้ความหมายของความดี/คนดีไว้ ว่า จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและจงรักภักดี ยึดถือ และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำรงวัฒนธรรมไทย เป็นต้น ชุดความดีดังกล่าวผูกโยงกับ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” อย่างมีนัยสำคัญ ดังที่พลเอกเปรมสรุปว่า "..ผมเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และจะปกป้องคนดี และสาปแช่งคนไม่ดี คนทรยศต่อชาติบ้านเมืองให้พินาศไป นั่นคือความเชื่อของผม ส่วนบุคคลอื่นจะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับจริยธรรมและคุณธรรมของแต่ละคน" [3]

จากนิยามความดี/คนดีดังกล่าวนี้ เกษียร เตชะพีระ วิจารณ์ว่า

               การผูกโยง "พระสยามเทวาธิราช" อันเป็นเทพารักษ์ของราชาชาตินิยม (royal-nationalistpalladium ในหลวงรัชกาลที่4 ทรงสร้างขึ้น) เข้ากับจริยธรรม-คุณธรรม ของพลเอกเปรมข้างต้น มีนัยชวนคิดต่อ 2 ประการ คือ1) มันยกปัญหาจริยธรรม-คุณธรรมให้หลุด ลอยไปจากกรอบขอบข่ายการคิด การเชื่อของปัจเจกบุคคล แล้วเอาไปผูกโยงกับชาติ กลายเป็นว่าการทำดี คิดดี มีจิตใจดี ไม่ใช่เป็นความดีระดับปัจเจกต่อไป แต่จะเกิดได้ มีได้ ก็แต่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนราชาชาตินิยมเท่านั้น  2) มันชวนให้ตั้งคำถามว่า บรรดาจริยธรรม-คุณธรรมประดามีล้วนแล้วแต่สอดคล้องต้องกันกับผลประโยชน์ของชาติทั้งนั้น ทั้งสิ้นหรือ?...

              พูดอีกอย่างก็คือ พลเอกเปรมเสนอให้บุคคล (ที่เป็นคนไทย) อิงพลังราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ (ชาตินิยมเป็นศาสนาทางโลกชนิดหนึ่ง secular religion) มากำกับกดข่มกิเลสในตัวปัจเจกบุคคล แล้วจึงจะกลายเป็นคนดีได้...บุคคลดีด้วยตัวเองไม่ได้ หากแยกออกจากสมมุติเทพแห่งราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ... [4]

             ตามข้อวิจารณ์ของเกษียร ภายใต้ระบบการปลูกฝังชุดความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ประชาชนเป็นคนดีไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นปัจเจกที่มีเสรีภาพในตัวเองที่จะนิยามความหมายของความดี และเลือกหลักการที่ถูกต้องทางจริยธรรมด้วยเหตุผลของตนเอง แต่เขาเป็นคนดีเพราะเขาทำตัวเป็น “เครื่องมือที่ดี” ตามกรอบหรือลู่ทางแห่งความกตัญญู ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อชนชั้นปกครองเท่านั้น ทำให้ผมนึกถึง A Clockwork Orange หรือ “คนไขลาน” ที่เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ (แต่ไม่ใช่มนุษย์) ทำหน้าที่เพียงไขลานเพื่อให้กลไกต่างๆ ในนาฬิกาทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตมากกว่านั้น ในบทความชื่อ “A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์” ของอาทิตย์ ศรีจันทร์ เขาเขียนทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า

             ถ้าสิทธิในการเลือกใช้ชีวิต คือสิทธิของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะการเลือกเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีชีวิต มีจิตใจ มีเจตจำนง และมีเสรีภาพ เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเลือกอะไรได้ในชีวิต มนุษย์จะเรียกตัวเองว่ามนุษย์ได้อย่างไร หรือแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานและสิ่งไร้ชีวิตได้อย่างไร หรือเป็นได้แค่เพียง “คนไขลาน” ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง โดยปราศจากอารมณ์และความรู้สึก...กระนั้นหรือ? [5]

              ตามการปลูกฝังชุดความดีข้างต้น ประชาชนคือ “คนไขลาน” ให้นาฬิกาแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเดินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ใช่ “เสรีชน” หรือ “คน” ที่มีเหตุผล เสรีภาพและศักดิ์ศรีในตัวเองตามความหมายของการเป็นประชาชน หรือเป็นคนตาม Concept ของประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนดังที่เราหลอกตนเองว่าสังคมเรายึดหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค ตามระบอบประชาธิปไตย และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด

              2.2 ชุดความดีทางศาสนาที่สนับสนุนความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม+สุขนิยมส่วนตัว (individual hedonism/egoism) เป็นชุดความดีที่โปรฯความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่มี “ตราประทับความจงรักภักดี” มากกว่าที่จะสนับสนุนความดีที่วางอยู่บนรากฐานทางจริยศาสตร์ที่สนับสนุน “ความเป็นมนุษย์” ที่เสรีภาพ เสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย ดังเช่น คำเทศนาพระสงฆ์ทั่วไปและพระที่มีชื่อเสียงแห่งยุคอย่าง ว.วชิรเมธี

              อาตมาเพิ่งกลับจากยุโรปเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ฝรั่งที่มานั่งกรรมฐานกับอาตมาบอกว่า...ในหลวงของคนไทยเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ฝรั่งอิจฉา ฝรั่งเขารู้ว่าในหลวงเป็นพระราชาที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก การที่เรามีพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของประเทศด้อยพัฒนา แต่เป็นเครื่องหมายของความเป็นอารยประเทศที่มีสดมภ์หลักในทางจิตวิญญาณ ต่างชาติเขามีเพียงเสรีภาพเป็นที่พึ่ง ในขณะที่เรามีพระองค์ท่านเป็นประจักษ์พยานที่มีชีวิตชีวา แล้วเราตระหนักในคุณค่าแห่งคำสอนของพระองค์หรือเปล่า? คนไทยนั้นแปลก เรามีของดีที่สุดอยู่ในแผ่นดินแต่ต้องรอให้ฝรั่งเขามายกย่อง เราจึงจะเห็นคุณค่า ประการแรก เพราะเราตกเป็นอาณานิคมทางปัญญาของฝรั่ง ประการต่อมา เพราะเราคิดน้อย เราไม่ชอบคิดในเชิงวิเคราะห์ แต่เราชอบสะเดาะเคราะห์  [6]

              ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีการอ้างอิงหลักพุทธศาสนาเพื่อขจัดฝ่ายที่ถูกล่าวหาว่าเป็นศัตรู ของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดังวาทะอันลือลั่นของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19 ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” [7] หรือในยุคสมัยของเรา ก็คือวาทะอันโด่งดังของพระเซเลบอย่าง พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ที่ว่า “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” ดังที่ทราบกันทั่วไป เป็นต้น

3.การหลอกตัวเองทางศีลธรรม

              การหลอกตัวเองคืออะไร ข้อโต้แย้งของฌอง ปอล ซาร์ต ข้างล่างนี้บอกเราได้ชัดเจนดี

              ผมในฐานะผู้หลอกลวง ต้องรู้ความจริงที่ตัวเองปิดบังไว้จากตัวผมเองในฐานะผู้ถูกหลอกลวง และที่ดียิ่งกว่านั้นอีกคือ ผมต้องรู้ความจริงนั้นอย่างถ่องแท้ด้วย เพื่อที่จะปิดบังมันไว้อย่างรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น และนี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในสองช่วงขณะที่ห่างจากกันพอที่จะทำให้เราคิดถึงอะไรบางอย่างที่คล้ายกับทวิลักษณ์ได้ แต่มันอยู่ในโครงสร้างเพียงหนึ่งเดียวของกิจกรรมเดียวกันนั้น [8]

              มีปรากฏการณ์ในโซเชียลมีเดียที่ถูกตั้งคำถามว่า เป็นการหลอกตัวเองทางศีลธรรมหรือไม่ เช่นข้อโต้แย้ง (arguments) เรื่อง “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้า [9] ที่อ้างว่า พวกเขาย่อมมีเสรีภาพที่จะรัก มีเสรีภาพที่จะพูดสรรเสริญคุณความดีของสถาบันกษัตริย์ แต่ปัญหาคือ ข้อโต้แย้งนี้เป็นข้อโต้แย้งที่มีฉากหลัง (background) หลักๆ 2 อย่างคือ 1) เป็นข้อโต้แย้งต่อฝ่ายที่เรียกร้องให้มีระบบกฎหมายเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่แฟร์ในตัวของมันเอง เพราะการยืนยันเสรีภาพที่จะพูดถึงความดีงามของสถาบันกษัตริย์เพื่อโต้อีกฝ่ายที่เขาไม่มีเสรีภาพ ที่จะพูดด้านตรงข้ามได้ 2) “freedom of speech” ที่ยืนยันนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ “freedom of speech” เลย เพราะฝ่ายที่ยืนยันนั้นเอง ก็ไม่มีเสรีภาพในการเลือกที่จะพูดด้านตรงกันข้ามกับการสรรเสริญ ฉะนั้น “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้าจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของการหลอกตัวเอง คือพวกเขารู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามจะยืนยันว่าตนมี

              ประเด็นคือ “freedom of speech” เป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานที่แสดงคุณค่า “ความเป็นมนุษย์” ที่สำคัญยิ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ดังปรากฏในตอนต้นของคำปรารภและข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองไว้ว่า การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (freedom of speech) คือปณิธานสูงสุดของสามัญชน และ “บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในความคิดเห็น และการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง ไปจนถึงการแสวงหา รับเอา ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูล และความคิดเห็นผ่านสื่อใดๆ โดยปราศจากพรมแดน” [10] ฉะนั้น ทั้งที่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามยืนยันว่าตนมี จึงเป็น “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ในระดับพื้นฐานเลยทีเดียว

              เราจะเข้าใจปัญหานี้ชัดขึ้นจากคำอธิบายของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ต่อคำถามที่ว่าทำไมเราจึงควรคิดว่า การเคารพในอิสรภาพส่วนบุคคล และสิทธิที่จะคิดต่างจะสร้างสวัสดิการแก่สังคมได้ในระยะยาว? มิลล์ให้เหตุผลว่า

               ความเห็นต่างอาจปรากฏว่าเป็นความจริง หรือมีส่วนจริง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงแก้ไขความเห็นกระแสหลักได้ และต่อให้มันไม่เป็นจริง การนำความเห็นกระแสหลักมาสู่การปะทะสังสรรค์ทางความคิดจะช่วยป้องกันไม่ให้มันแข็งตัวเป็นลัทธิกดขี่และอคติ สุดท้าย สังคมที่บังคับสมาชิกให้ทำตามธรรมเนียมและจารีตต่างๆ สุ่มเสี่ยงว่าจะตกอยู่ในภาวะทำตามๆ กันไปอย่างโง่เขลา ขาดพลัง และความมีชีวิตชีวาซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม [11]

               ฉะนั้น วัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็น “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่ทำให้สังคมมีค่านิยมไม่ให้ความสำคัญกับความจริง ความถูกต้องที่ตรวจสอบได้ตามหลักการประชาธิปไตย และความมีเหตุเป็นวิทยาศาสตร์ กระทั่งยอมละทิ้งหลักการพุทธแบบดั้งเดิม เช่น ไม่ให้ความสำคัญกับการปรับใช้หลักกาลามสูตร และหลักอริยสัจในการตรวจสอบความจริง หรือ “ทุกขสัจจะ” ทางสังคมการเมืองเป็นต้น

4.การท้าทายโต้แย้งชุดความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์จากจุดยืนเสรีประชาธิปไตย

              พร้อมๆ กับการโปรฯความดี/คนดีดังกล่าวอย่าง เข้มข้น ก็เกิดการท้าทายมากขึ้น ดังการท้าทายอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” อย่างถึงรากของมุกหอม วงศ์เทศ บนจุดยืนการปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ตามอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยที่ว่า “เมืองไทยเป็นประเทศที่เต็มใจ อยู่กับความฝันแบบแฟนตาซี เทพนิยายโกหก แบบเด็กไม่ยอมโต ทาสที่ปล่อยไม่ยอมไป หลอกทั้งตัวเอง หลอกทั้งคนอื่น แถมยังคิดว่าคนอื่นต้องเชื่อเรื่องโกหกแบบเราด้วย อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นอุดมการณ์ที่ทำลายความเป็นมนุษย์มากๆ ส่วนที่ทำลายมากที่สุดคือการใช้ปัญญาและเหตุผล”[12]

              ขณะเดียวกันการโปรฯความดี/คนดีของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบพระเซเล็บ ก็ถูกตั้งคำถามมากขึ้น ดังข้อวิจารณ์ของ วิจักขณ์ พานิช

              ตราบใดที่การสื่อสารธรรมะทางเดียวยังคงดำเนินต่อไปในลักษณะเพิกเฉยต่อบริบทความทุกข์ที่หลากหลายของผู้คนในสังคม อีกทั้งโครงสร้างพุทธศาสนาแบบไทยๆ ยังวางตัวอิงแอบอยู่กับอำนาจรัฐด้วยภาพลักษณ์วาทกรรม “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” จนบ่อยครั้งกลายเป็นอำนาจมืดที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้  คำคมอย่าง “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” หรือความคิดเห็นแปลกๆ ที่ขาดการเข้าใจบริบททางสังคมอย่างรอบคอบ ก็จะยังคงปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ เรื่อยไป  และแน่นอนว่าคำสอนเหล่านั้น เมื่อปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมหนีไม่พ้นการถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์  ส่วนการพยายามอธิบายเหตุผลที่มาของข้อความเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการยกสถานะอันเป็นที่สักการะของพระสงฆ์ หรือความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการเมืองของคำสอน ก็ยิ่งจะแสดงถึงอวิชชา ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอันซับซ้อน และการพยายามปัดความรับผิดชอบที่ข้อความอันมักง่ายเหล่านั้นมีผลกระทบต่อคนเล็กคนน้อยในทางสังคม...ปฏิกิริยาทั้งหมดยิ่งสะท้อนถึงแนวโน้มเผด็จการ “อำนาจนิยม” ของพุทธศาสนาในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการร่วมรักษาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ไว้โดยรู้ตัวก็ดีหรือไม่รู้ตัวก็ดี  [13]

               กระทั่งเสนอให้ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” โดยให้แปรรูปองค์กรทางศาสนาอยู่ในรูปองค์กรเอกชนทั้งหมด โดยที่รัฐไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง ยกเว้นว่าการดำเนินกิจการทางศาสนาจะเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย [14]

5. ผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนา

               วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังที่อภิปรายมา ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา เช่น

              5.1 การปลูกฝังชุดความดีดังกล่าวนั้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว ผ่านระบบการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชน ฯลฯ ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเบลอๆ (มีการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบสังคมการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้ แม้แต่จะแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ตามข้อเสนอของนักวิชาการและประชาชนก็ทำไม่ได้ เพราะเกรงกลัวกองทัพและอำนาจนอกระบบ) มีเสรีภาพเบลอๆ (คือเสรีภาพที่ถูกจำกัดด้วย ม.112 ไม่ใช่เสรีภาพสมบูรณ์ตามหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน) มีความยุติธรรมเบลอๆ เพราะไม่มีความเสมอภาค (ใช้สองมาตรฐานในการวิจารณ์ตรวจสอบ เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมาย และศีลธรรมกับบุคคลสาธารณะ) เป็นพุทธเบลอๆ ที่สนับสนุนศีลธรรมเครื่องมือเพื่อครอบงำประชาชนให้กลายเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ค้ำจุนสถานะ อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครอง

              5.2 เพราะความเป็นประชาธิปไตยเบลอๆ เป็นพุทธเบลอๆ สังคมเราจึงมีการอ้างสถาบันกษัตริย์ อ้างศีลธรรมทางศาสนาต่อสู้ทางการเมือง แบ่งแยกคนในชาติเป็นฝ่ายคนดีที่มีตราประทับ “ความจงรักภักดี” กับฝ่ายคนเลวที่มีตราประทับ “ความไม่จงรักภักดี” และจบลงด้วยรัฐประหาร การล้อมปราบนักศึกษาประชาชนบาดเจ็บล้มตายซ้ำซาก จนกระทั่งบัดนี้สังคมยังไม่สามารถอ้างอิงหลักการประชาธิปไตยในการแยกแยะถูก-ผิดทางการเมืองได้อย่างมีวุฒิภาวะ เพราะรากฐานทางจริยศาสตร์แห่งวัฒนธรรมโปรฯความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นจริยศาสตร์แห่ง “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่มีผลให้วิธีคิดและการตัดสินถูก-ผิดทางศีลธรรมของสังคมเบลอๆ อยู่กับสภาพกึ่งจริงกึ่งเท็จ จึงเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาสัจจะ การถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันว่าอะไรคือหลักการ อุดมการณ์ที่ถูกต้องที่สังคมควรยึดถือร่วมกัน

              5.3 สังคมติดกับดักของ “ศีลธรรมทางการเมืองตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” การที่สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี ทำให้ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย แทนที่สังคมจะส่งเสริม “ความรัก” ในเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ แต่กลับเน้นการส่งเสริมความรักสถาบันกษัตริย์ในฐานะ “ตัวบุคคล” มากว่า จนกลายเป็นกับดักปัญหาทางศีลธรรมตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเรื่อง “ความจงรักภักดี-ไม่จงรักภักดี” อันเป็นเหตุให้สถาบันกษัตริย์ดำรงสถานะ อำนาจ บทบาทที่ถูกอ้างอิงในการต่อสู้ทางการเมือง และการทำรัฐประหารได้ไม่สิ้นสุด

             5.4 ความดีทางศาสนาถูกทำให้เป็น “ยากล่อมประสาท” มอมเมาผู้คนให้ตกอยู่ในสภาพเบลอทางศีลธรรมที่คลุมเครือในเรื่องจริง-เท็จ ถูก-ผิด คนดีทางศาสนากลายเป็นคนแปลกแยกจากสังคม หมกมุ่นกับความทุกข์ ความสุขส่วนตัว มองปัญหาสังคมการเมืองเป็นเรื่องทาง โลก วุ่นวาย เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ไม่ใช่ความดี เพราะความดีคือการทำบุญ ศีล ทาน ตามคำสอนของพุทธศาสนา เป็นความดีที่มีอานิสงส์ดลบันดาลให้เกิดสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ความดีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม การปกป้องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย ประกอบกับโครงสร้างอำนาจของสังคมสงฆ์ที่ขึ้นต่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยม บทบาทขององค์กรทางศาสนาจึงอยู่ข้างชนชั้นปกครองมากกว่าจะยึดโยงกับประชาชน และประชาธิปไตย

             5.5 เกิดกระแสท้าทายโต้แย้งวัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐาน ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บนจุดยืนเสรีประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เช่น กระแสต่อต้านรัฐประหารโดยคนดีมีคุณธรรม การเรียกร้องให้แก้ไขยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯมาตรา 112 การปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองโดยอ้างธรรมะอ้างศาสนาสนับสนุนอุดมการณ์ ราชาชาตินิยม การเรียกร้อง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” หรือรัฐฆราวาส (secular state) ที่รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา การแปรรูปองค์กรศาสนาให้เป็นกิจกรรมของเอกชนโดยสิ้นเชิง เป็นต้น  

บทสรุป : เราไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” อีกต่อไป (?)

              ไม่ต้องสงสัยเลยว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับวันจะถูกท้าทายโต้แย้งด้วยหลักการ เหตุผล บนจุดยืนของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้นๆ สังคมเราไม่อาจอยู่กับความจริงที่ว่า “เราถูกปลูกฝังให้หลอกตัวเองทางศีลธรรม” เช่นนี้ตลอดไป เราผู้ซึ่งเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพจะเลือกชีวิตทางสังคมการเมืองที่ดีกว่า เป็นอารยะกว่า ไม่สมควรจะ “ถูกกด” ถูกมอมเมาให้กลายเป็นเพียง “มนุษย์เครื่องมือ” หรือ “คนไขลาน” อีกต่อไป

             กลิ่นไอของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพ มีคุณค่ามีศักดิ์ศรีในตัวเองในโลกปัจจุบันและอนาคต ดูจะมีเสน่ห์ยั่วยวนชวนปรารถนาเกินกว่ามนต์สะกดแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะตรึงผู้คนให้ติดอยู่กับความไม่มีเหตุผลของศีลธรรมหลอกตัวเองอีกต่อไป

              คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า สังคมจะเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีบนฐานศีลธรรมหลอกตัวเอง ไปสู่การสร้างระบบสังคมการเมืองที่ยุติธรรมบนฐานของศีลธรรมเหตุผลเป็นสากล คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพอย่างสันติได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่าไม่มีทางเป็นไปอย่างสันติได้เลย หากสังคมไม่สามารถถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างเป็นสาธารณะ และอย่างถึงที่สุด เพื่อหา “ฉันทามติ” ร่วมกันว่า ต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้อยู่ภายใต้หลักเสรีภาพ และความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศ 

เชิงอรรถ
  1. “ในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่มี the king ที่ can do wrong เพราะในระบอบประชาธิปไตย มีแต่ the king ที่ can do nothing เนื่องจากผู้รับสนองพระบรมราชโองการต่างหากที่เป็นผู้กระทำและผู้รับผิดชอบ” ดู ปิยบุตร แสงกนกกุล “องค์กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้คืออะไร?” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) หน้า 49
  2. ดู ธงชัย วินิจจะกูล. มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน. http://prachatai.com/journal/2011/05/34433
  3. มติชน 3 เม.ย.55 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333427789
  4. เกษียร เตชะพีระ เรื่องจริยธรรม-คุณธรรม ชาตินิยมและพระสยามเทวาธิราช. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333553868...
  5. อาทิตย์ ศรีจันทร์. A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์. อ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม 2554-มีนาคม 2555) หน้า 187
  6. LIPS ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552, หน้า 87
  7. จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 (29 มิถุนายน 2519)
  8. แบล็กเบิร์น, ไซมอน.อ้างแล้ว, หน้า 103
  9. ปัญหา freedom of speech เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และ ม.112 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิเคราะห์ไว้หลายที่ เช่น http://www.youtube.com/watch?v=ifr8jolc5F8 เขากล่าวว่าปัจจุบันเสรีภาพวิจารณ์สถาบันกษัตริย์แย่กว่าสมัย ร.6 ร.7
  10. ดูอาทิตย์ พุธิพงษ์. เรื่องของอากง: Freedom of Speech และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม. http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38254
  11. อ้าง ใน  Sandel, Michael J. ความยุติธรรม= What’s the Right Thing to Do?. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล.กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2554 หน้า 71-72
  12. อ้างใน วรพจนน์ พันธุ์พงศ์/ธิติ มีแต้ม.ความมืดกลางแสงแดด.(กรุงเทพฯ: หอนาฬิกา 2555), หน้า 236
  13. วิจักขณ์ พานิช “ความคมของฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” บทเรียนของพุทธศาสนาในสังคมประชาธิปไตย http://blogazine.in.th/blogs/budddhistcitizen/post/3465
  14. ดูเก่งกิจ กิติเรียงลาภ. ปัญหาธรรมกาย-พระไพศาล-มหาเถรสมาคม-สุรพศ และบททดลองเสนอเกี่ยวกับสถานะของสถาบันศาสนาในสังคมไทย. http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42403  และสุรพศ ทวีศักดิ์.ปัญหาการอ้าง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” กับ “ความชอบธรรม” ในการดำเนินการทางพระธรรมวินัย http://prachatai.com/journal/2012/09/42410

เสธ. อ้าย.....เหี้ย เริ่มป่วนเมืองแล้ว

ประกาศเตือนพี่น้องผู้รักประชาธิปไตย 
และเสื้อแดงทุก ๆ ท่าน 

ตัดสิน จำคุก แท็กซี่ป่วนขบวนรถนายกฯ 1 เดือน ปรับ 5 พัน

ตัดสิน จำคุก แท็กซี่ป่วนขบวนรถนายกฯ 1 เดือน ปรับ 5 พัน


              วันที่ 26 ตุลาคม 2555 (go6TV) ศาลแขวงดุสิต ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายพงศ์พิชาญ ธนถิรพงศ์ อายุ 46 ปี โชว์เฟอร์รถแท็กซี่ เป็นจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาท หวาดเสียว เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่อันตราย จากกรณี เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา จำเลยได้ขับแท็กซี่ สีชมพู ทะเบียน ทย-9522 กทม.ไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า แล้วขับปาดหน้าขบวนรถของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อประท้วงเรื่องเงินเยียวยาจากสถานการณ์ความไม่สงบ ปี 2553 เป็นเหตุให้รถยนต์ของสื่อมวลชน ต้องชนกันเองได้รับความเสียหาย ศาลจึงพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง
          ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 5 พันบาท โทษจำคุกรอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี คุมประพฤติ เป็นเวลา 1 ปี รายงานตัว 3 เดือนต่อครั้ง ให้บำเพ็ญประโยชน์ 20 ชั่วโมง และพักใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ 6 เดือน ซึ่งภายหลังฟังคำพิพากษาตำรวจสน.ดุสิต ได้รับตัวนายพงศ์พิชาญ ไปดำเนินคดีกรณีขับรถโดยมีถังแก๊สเข้าไปในรัฐสภาก่อนหน้านี้