เพลงชาติไทยพูดถึงอะไร ประชาชนไทยรู้หรือไม่ ? | |
เพลงชาติไทยพูดถึงอะไร ประชาชนไทยรู้หรือไม่? Posted: 04 May 2012 08:45 AM PDT ศาสวัต บุญศรี คงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีวิธีเด็ด ๆ เช็คว่าใครเป็นคนไทยหรือไม่ตามแนวชายแดนด้วยการให้ร้องเพลงชาติไทย ใครร้องได้ถูกต้องเป๊ะ ๆ ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหมอนี่คนไทยแน่ แต่ถ้าร้องผิดเนื้อสลับ มั่วดำน้ำ ก็จัดการส่งกลับประเทศไปโทษฐานหลบหนีเข้าเมือง วิธีแบบนี้สร้างความเฮฮาในรายการคดีเด็ดหลายต่อหลายครั้ง พูดเรื่องนี้ทีไรเป็นได้ยินเสียงหัวเราะทุกที เอาเป็นว่าเกิดเป็นคนไทย เพลงแรก ๆ ในชีวิตที่ถูกสอนให้ร้องก็คงมีเพลงช้างและเพลงชาติ ร้องกันได้ตั้งแต่เด็กอนุบาล แต่มันน่าสงสัยนะครับว่าที่ร้อง ๆ กันนี่เคยคิดใคร่ครวญกันหรือเปล่าว่าเพลงชาติที่ร้อง ๆ กันเนื้อหามันคืออะไร ผมเองลองสำรวจคร่าว ๆ จากคนรู้จัก (ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่สอน) คำตอบที่มักได้รับคือเพลงชาติไทยพูดเรื่องว่าคนไทยนั้นรักสงบแต่ก็รบไม่ขลาด ตอบแบบนี้เสียส่วนใหญ่แถมยังต้องใช้เวลานานมากกว่าจะคิดคำตอบได้ ว่าไปก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่เพลงที่เราร้องกันทุกวันกลับแทบไม่มีใครสนใจว่าเนื้อหาของเพลงกำลังพูดถึงอะไรอยู่ ยิ่งเมื่อครั้งที่มีการผลิตภาพประกอบเพลงที่ออกอากาศทางฟรีทีวีช่วงแปดโมงเช้าและหกโมงเย็นขึ้นมาใหม่ ครานั้นเกิดการถกเถียงในเวบไซต์มากมายถึงความเหมาะสมของภาพ บ้างก็ว่าภาพไม่ค่อยเล่าเรื่องเท่าไหร่ บ้างก็ว่าใช้ภาพของพระราชวงศ์ประกอบเพลงน้อยจนเกินไป บ้างก็ถกเถียงกันในประเด็นว่าภาพตรงตามเนื้อเพลงหรือไม่อย่างไร ฯลฯ ผมเองมีโอกาสอ่านก็พบความน่าสนใจไม่น้อยว่าเอาเข้าจริง ท่าน ๆ เถียงอะไรกับครับนี่ เพลงชาติไทยพูดถึงอะไรกันแน่ เรื่องนี้ตอบไม่ยาก เพียงแต่ในการเรียนการสอนระบบปลูกฝังของชาวไทยไม่เคยสอนกันในระดับประถมมัธยม (อย่างน้อยที่สุดก็ในประสบการณ์ของผม) ว่าเพลงชาติไทยพูดถึงเรื่องอะไร เราจึงร้องกันไปเหมือนนกแก้วนกขุนทองและคิดเอาเองว่าตัวเองเข้าใจเนื้อหาอย่างสมบูรณ์ดีแล้ว ดังนั้นเราจึงมักละเลยที่จะตั้งคำถามต่อเรื่องราวทั้งที่ปรากฎเด่นชัดอยู่ “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ…” เป็นประโยคแก่นแท้ของเพลงชาติ แปลความตรงตามตัวอักษรได้ว่า ประเทศไทยนั้นเป็นรัฐของประชาชน นี่คือแก่นแกนของเนื้อหา เนื่องจากเพลงนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้อุดมการณ์ของคณะราษฎร์ ในยุคของจอมพล ป.พิบูลสงครามเมื่อปี พ.ศ. 2482 (คณะราษฎร์สิ้นอำนาจจากการถูกรัฐประหารอันต่อเนื่องด้วยกรณีสวรรคต ปี พ.ศ.2490) ดังนั้นการเทิดทูนไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดอันมาจากอธิปไตยของปวงชนจึงเป็นสิ่งสำคัญสุดแท้และเป็นการทำลายอำนาจอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อำนาจเต็มนั้นอยู่ในมือของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว เนื้อหาต่อจากประโยคแรกเป็นส่วนต่อขยายภายใต้บริบทการถูกคุมคามจากต่างประเทศ อันนำมาสู่การสร้างนโยบายความสามัคคีของคนในชาติ เนื้อหาในช่วงต่อมาจึงมุ่งเน้นสร้างวาทกรรมให้คนไทยนั้นสามัคคีและไม่รุกรานใครก่อน ทว่าหากใครรุกรานก็พร้อมจะต่อสู้เพื่อรักษาอธิปไตยไว้ สรุปง่าย ๆ สั้น ๆ คือเพลงชาติไทยที่มีความยาวประมาณหนึ่งนาทีนี้ได้กล่าวถึงประเทศไทยที่เป็นประเทศของประชาชนผู้มีความสามัคคี รักสงบแต่ไม่ขลาดหากใครมารุกราน ดังนั้นการที่เราร้อง (หรือได้ยิน) เพลงชาติกันทุกวันตอนแปดโมงเช้าและหกโมงเย็น คือตอกย้ำผลิตวาทกรรมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของคณะราษฎร์ในช่วงเวลานั้น น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครสนใจว่าแท้จริงการยืนตรงเคารพธงชาตินั้นควรเป็นไปเพื่อการเคารพสู่อำนาจอธิปไตยสูงสุดซึ่งเป็นของประชาชน เป็นการเคารพถึงความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคนที่เป็นเจ้าของประเทศ มิใช่เป็นกลุ่มคนใดโดยเฉพาะเหมือนในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คราวหน้าเรามาดูกันว่าในปัจจุบันนี้อุดมการณ์ที่คณะราษฎร์ทิ้งไว้นั้น เมื่อปรากฎผ่านสื่อทุกวันนี้ผ่าน “มิวสิควิดีโอเพลงชาติ” ถูกผลิตซ้ำหรือบิดเบือนผ่านภาพไปอย่างไรบ้าง ---------------------------------- ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มา เวบประชาไท | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
จดหมายจากเดนมาร์ค ส่งถึงนายกรัฐมนตรีของไทย | |
จดหมายจากเดนมาร์ค ส่งถึงนายกรัฐมนตรีของไทย พีเพิลแชนเนิ่ลนิวส์ ได้รับจดหมายจากสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ข้อความจดหมายส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ร้องเรียนและเร่งรัดให้มีการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ พีเพิลแชนเนิ่ลนิวส์ จึงขอนำเสนอจดหมายดังกล่าว เพื่อให้รับทราบโดยทั่วกัน ดังมีเนื้อหาสาระของจดหมายดังต่อไปนี้ | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)