วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

เปิดดุลยพินิจ ป.ป.ช. เมื่อตีตก 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' สลายแดง53 แต่ฟัน 'สมชาย-ชวลิต' สลายเหลือง51


เมื่อหน้าที่ของ ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ ต้องขอพื้นที่คืนเพื่อความสงบสุขในบ้านเมือง ขณะที่หน้าที่รัฐบาลสมชายต้องบริหารให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน-เคารพสิทธิการแสดงออกของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
หลังจากเมื่อ 29 ธ.ค. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. มีมติให้ คำร้องตกไป กรณีการขอให้ถอดถอนและคำกล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก กับพวก ในข้อหา ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 10 เม.ย. 53 ถึงวันที่ 19 พ.ค. 53 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก[1]
อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนกลับไป 7 ก.ย.52 ป.ป.ช. ได้เคยมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง สั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ด้วยเช่นกัน โดยมีมติชี้ว่าสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวมไปถึง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลขณะนั้นด้วย ว่ามีความผิด[2]
จากนั้น ป.ป.ช. ได้ยื่นฟ้องทั้ง 4 คน ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยศาลฯ มีคำสั่งประทับรับฟ้อง นอกจากนี้ศาลฯ ยังมีมติว่าอัยการไม่มีอำนาจเข้าแก้ต่างคดีนี้ให้กับจำเลยคดีนี้อีกด้วย[3]
เปรียบเทียบบางช่วงบางตอนของ 2 กรณีจากคำแถลงข่าวของป.ป.ช.
คดีสลายแดง53
คดีสลายเหลือง51
ขณะเกิดเหตุที่มีการสั่งใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนติดตัว เข้าขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ในระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บนั้น อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้วิธีการที่รุนแรงต่อประชาชนจนประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต และเมื่อปรากฏว่ามีผู้บาดเจ็บสาหัสในการเข้าดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเปิดทางเข้ารัฐสภาในตอนเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จนกระทั่งพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ไม่ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชายุติการกระทำ กลับปล่อยให้มีการกระทำที่รุนแรงขึ้นตามลำดับตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 
กลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากมีความจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ไปตามสถานการณ์ หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตนเองได้ อันเป็นไปตามหลักสากล
หัวหน้ารัฐบาล ต้องบริหารบ้านเมืองให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเคารพสิทธิการแสดงออกของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
แม้คำสั่งที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัวเพื่อป้องกันตนเองได้จะเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่ก็เป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อาวุธปืนตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นตามความจำเป็น และพอสมควรแก่เหตุ อันเป็นภาระที่หนักและยากอย่างยิ่งในการปฏิบัติ แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบดังกล่าวได้ หากภายหลังสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้อาวุธปืนโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ และเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ อันเป็นความรับผิดเฉพาะตัว เช่นเดียวกับนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่จะต้องรับผิด

กรณีละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหารนั้น จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์การขอคืนพื้นที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บแล้วศอฉ.ได้ทบทวนปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าผลักดันผู้ชุมนุมอีกต่อไป แต่ใช้มาตรการตั้งด่านตรวจ หรือจุดสกัดปิดล้อมวงนอกไว้โดยรอบ เพื่อให้ ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมไปเอง โดยการปฏิบัติในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เป็นการตั้งด่านอยู่กับที่ทุกแห่ง แต่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนกำลังเข้าไปควบคุมพื้นที่บริเวณสวนลุมพินี โดยไม่ได้มีการผลักดันต่อผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์โดยตรง แต่เป็นการกดดันต่อกองกำลังติดอาวุธที่ยึดสวนลุมพินีอยู่ ซึ่งการปฏิบัติในการกระชับพื้นที่สวนลุมพินี ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยประกาศให้ผู้ชุมนุมออกไปจากพื้นที่ก่อน หลังจากประกาศแล้ว เจ้าหน้าที่จึงเข้าไป
เมื่อปรากฏว่ามีผู้บาดเจ็บสาหัสในการเข้าดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเปิดทางเข้ารัฐสภาในตอนเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จนกระทั่งพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ไม่ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชายุติการกระทำ กลับปล่อยให้มีการกระทำที่รุนแรงขึ้นตามลำดับตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม(นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพล.อ. อนุพงษ์) กับพวก ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการ ในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน
สมชาย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท. สุชาติ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157