‘เทพ’งานเข้า! | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
เปลือยแนวคิด‘อภิสิทธิ์’ผ่านแถลงการณ์กัมพูชา | |||||
| |||||
http://redusala.blogspot.com |
คำร้องต่อไอซีซี ยัง “ดำเนินต่อไป” และมีมูลทางกฎหมายอย่างครบถ้วน | |
กลุ่มผู้จัดงานสัมมนาหัวข้อศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังพยายามหลอกลวงประชาชนไทยด้วยวิธีการที่น่าตกใจอย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องอธิบายให้ชัดเจน-ซึ่งตรงข้ามกับข้อความที่กลุ่มบุคคลผู้จัดงานเลือกใช้คือ คำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ยัง “ดำเนินต่อไป” และมีมูลทางกฎหมายอย่างครบถ้วน สิ่งที่น่ากลัวคือ กลุ่มองค์กรที่เรียกตนเองว่า “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” (กสม.) พยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำลายการท้าทายทางกฎหมายในปัญหาเรื่องการไม่ต้องรับโทษในการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่องของกองทัพไทยและกลุ่มคนที่ร่วมสังหารคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2553 เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายที่เราต้องย้ำเตือนกสม.อีกครั้งว่าการที่อดีตนายกรัฐมนตรีนายมาร์ค อภิสิทธิ์ถือสัญชาติอังกฤษ ทำให้เขาตกอยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาคดีของไอซีซี กสม. ควรจะตื่นจากภาพลวงตาและรับรู้ว่า สำนักงานกฎหมายของผมจะยังคงเดินหน้าและใช้ทุกวิธีการทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในปนะเทศไทยเพื่อนำตัวผู้ที่ทำร้ายและสังหารลูกความของผมและครอบครัวของพวกเขามาลงโทษ กสม.และผู้เข้าร่วมสัมมนานี้สามารถเลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเรื่องการไม่ต้องรับโทษในการกระทำความผิดต่อไป หรือเข้าร่วมกับกลุ่มคนที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันแท้จริงในประเทศไทย ผมยินดีที่จะตอบคำถามทุกคำถามเกี่ยวกับคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศผ่านทางเฟคบุ๊คของผมที่http://www.facebook.com/robert.amsterdam คำแปลภาษาไทยของจดหมายเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
| |
http://redusala.blogspot.com |
การพูดคุยด้วยเหตุผลจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มั่นคงและถาวร | |
ในขณะนี้เราเดินทางเข้าสู่อาทิตย์ที่สาม นับตั้งแต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยเข้ามาบริหารประเทศไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาแรกในรอบสามปีที่เรามีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนับตั้งแต่รัฐประหารปี พ.ศ.2549 แม้ว่าจะมีการแสดงความกังวลจากกลุ่มบุคคลที่ร้อนใจอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่เราต้องตื่นจากมายาคติและรับรู้ว่า นี่คือช่วงเวลาที่สำคัญอย่างลกซึ้งสำหรับประเทศ ประชาชนชาวไทยได้ตัดสินอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม แล้วว่าพวกเขาต้องการรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและต้องการให้ยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเราลองมองกลับไปเมื่อปีที่แล้ว แกนนำเสื้อแดง ( ซึ่งตอนนี้หลายคนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ถูกจองจำ คนเสื้อแดงยังคงนั่งนับศพของคนรักของตนเอง และภายใต้การปกครองของกลุ่มอันธพาลพรรคพวกนายอภิสิทธิ์ มีเรื่องราวการทรมานและการข่มขู่ปรากฏให้เห็นตามสื่อเกือบทุกวัน ความหวังของกลุ่มคนที่ปรารถนาจะเห็นประชาธิปไตยและความรับผิดต่อการกระทำผิดในประเทศไทยดูเหมือนจะพังทลาย แกนนำเสื้อแดงถูกตีตราว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” นายทหารที่ให้ความร่วมมือในเหตุการณ์สังหารหมู่ได้รับการชื่นชมดุจวีรบุรุษ ทหารผู้น้อยและคนรากหญ้าเสื้อแดงมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว ระยะทางที่เราเดินทางมานับตั้งแต่คืนวันอันความมืดมิดในปี พ.ศ. 2553 นั้นมหาศาล และยังเป็นหลักฐานแห่งความอดทนอันน่าอัศจรรย์ ความกล้าหาญ และจิตวิญญาณที่ไม่สามารถถูกทำลายได้ของประชาชนชาวไทย แม้จะเผชิญกับการยั่วยุและความรุนแรงที่ยากจะทานทน ประชาชนชาวไทยยังคงรักษาศรัทธาที่มีต่อประชาธิปไตย และเดินทางไปลงคะแนนเสียงสิบล้านคะแนนเสียงให้กับยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและถาวรจะใช้ความพยายามอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องไม่ง่ายและยังต้องใช้ความอดทน ผมเชื่ออย่างหนักแน่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถเริ่มเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องทำในประเทศไทย แต่นั้นจะไม่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน รัฐบาลต้องการระยะเวลาที่จะทำให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นบรรลุผลเช่นกัน ในขณะที่กลุ่มบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างเต็มที่ไม่ควรจะถูกเพิกเฉยหรือมองข้าม แต่พวกเขาจำเป็นที่ต้องรับรู้ว่าไม่ว่าสิ่งพวกเขาเรียกร้องจะสมเหตุสมผลเยงใด แต่การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ยังคงมีกระบวนการทางรัฐสภาและประชาธิปไตยที่เราจะเข้าร่วม และรัฐบาลใหม่จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อหาหนทางที่จะเพิ่มประสบการณ์ในการใช้อำนาจและเริ่มเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่คนเสื้อแดง ผู้สนับสนุนและกลุ่มคนผู้รักประชาธิปไตยทุกคนในประเทศไทยจะเข้าร่วมและถกเถียงอภิปรายอย่างสุขุมรอบคอบ ผมจะทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศดังกล่าวและหวังว่ากลุ่มคนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดจะให้ความร่วมมือกับผม | |
http://redusala.blogspot.com |
อภิสิทธิ์ยังไม่ได้รับบทเรียนจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างราบคาบ | |
เป็นเวลาเกือบ 7 อาทิตย์นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีมาร์ค อภิสิทธิ์ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างราบคาบ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขายังไม่ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นี้ แม้จะมีการพูดคุยถึงเรื่องการปรองดองและความสำคัญของการเสริมสร้างเสถียรภาพในช่วงเวลาของภาวะทางการเมืองอันเปราะบาง พรรคประชาธิปัตย์แสดงความสนใจเพียงน้อยนิดที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่ในการช่วยผลักดันนโยบายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และยังกับใช้กลยุทธ์แบบเก่าๆ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะถูกปลดเปลื้องความน่าเชื่อถือออกไปอย่างสิ้นเชิงในการลงคะแนนเสียงของประชาชนก็ตาม อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ยังคงยุ่งอยู่กับการหาทางร้องเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ โดยการใช้ข้อกฎหมายที่คลุมเครือ และโดยทั่วไปพวกยังแสดงบทบาททำหน้าที่สกัดกั้น (รัฐบาล) แทนที่พวกเขาจะพัฒนานโยบายทางการเมืองและประพฤติตัวเป็นฝ่ายค้านที่ดีตามระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ แต่จินตนาการอันจำกัดของพวกเขา ทำให้การหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทักษิณอย่างแปลกประหลาดดำเนินต่อไป และแทนที่จะยอมรับเจตจำนงที่ชัดแจ้งของประชาชนชาวไทยอย่างสง่างามและเอาชนะมติมหาชนอย่างแท้จริงผ่านทางแนวความคดที่ดีและการปฏิบัติงานที่สำเร็จ พวกเขากลับพยายามทำลายประชาธิปไตยอีกครั้งโดยการใช้ระบบตุลาการและยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มเคลื่อนไหวขนาดเล็กแต่หัวรุนแรง สิ่งที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ล้มเหลวที่จะเข้าใจคือ การเดินตามแนวทางนี้ สิ่งเดียวที่พวกเขาจะได้รับอย่างแน่นอนคือ การรับประกันว่าพวกเขาจะถูกลืมเลือนในการเลือกตั้งอย่างถาวร ประชาชนไทยไม่ต้องการรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และไม่ต้องการพวกเขามามากกว่า 20 ปีแล้ว สิ่งที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ล้มเหลวที่จะเข้าใจคือ ไม่มีบุคคลใดในประชาชาคมโลกถือเอาการดำเนินคดีจอมปลอมที่มีแรงจูงใจทางการเมืองต่อทักษิณของพวกเขาเป็นเรื่องจริงจัง แรงสนับสนุนเพียงน้อยนิดในเรื่องนี้ มาจากกลุ่มนักข่าวต่างชาติกลุ่มเล็กที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น กลุ่มคนที่พูดเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า การที่รัฐบาลทักษิณซึ่งถูกเลือกมาตามแนวทางประชาธิปไตยถูกถอกถอนออกจากอำนาจโดยรัฐประหารเถื่อน เพราะกลุ่มอำมาตย์ไทยเชื่อว่าเขาทั้งโกงกินและเป็นภัยต่อประชาธิปไตย เหมือนที่นักข่าวต่างชาติหลายรายเจตนาที่จะพูดซ้ำไปซ้ำมาอย่างไม่สิ้นสุดนั้นจริงหรือไม่? นายเฟอร์เกิล คีน นักข่าวที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงและเป็นบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณได้ระบุอย่างชัดเจนในสารคดีบีบีซีล่าสุด เรื่อง ประเทศไทย: ความยุติธรรมอยู่ในภาวะอันตราย ถึงเหตุผลที่กลุ่มอำมาตย์ไทยใช้กำลังถอดถอนอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยออกจากอำนาจ โดยนายคีนกล่าวว่า “[ทักษิณ] ได้สร้างการเคลื่อนไหวทางการเมืองมหาชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยมีมา… อำนาจ [ของเขา]เป็นสิ่งที่ท้าทายกลุ่มอำมาตย์ซึ่งครอบงำวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนานโดยตรง” คำแนะนำของผมต่อมาร์ค อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์คือ มีหลายในประชาคมโลกตอนนี้ที่มองว่า คุณมีความรับชอบโดยตรงต่อการสังหารหมู่คนเสื้อแดงอย่างน่าสยดสยองที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วในกรุงเทพมหานคร คนที่จะต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีอย่างแท้จริงต่อการกระทำอาชญากรรมควรจะเป็นตัวคุณเอง ไม่ว่าคุณจะแต่งเรื่องและใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือต่อต้านรัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งมาตามแนวทางประชาธิปไตย แต่สิ่งหนึ่งที่มีความแน่นอนคือ วันหนึ่งคุณจะถูกนำตัวมาลงโทษเพราะการกระทำอาชญากรรมของคุณ | |
http://redusala.blogspot.com |
รัฐซ้อนรัฐ | |
ภายในไม่กี่วันหลังจากการเข้าปฎิบัติหน้าที่ รัฐบาลชุดใหม่ของพรรคเพื่อไทยก็พบว่าพวกเขาเป็นเป้าความขัดแย้งใหม่และรุนแรง ข้อพิพาษหรือความขัดแย้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐสภาหรือเป็นหัวข้อในเรื่องความโปร่งใสของการเลือกตั้งหรือการปกป้องฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระ เหมือนกับเหตุการณ์ภายหลังการเลือกตั้งในปี 2549 และ 2550 ซึ่งบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งในพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจากประชาชน กลุ่มอำนาจภายนอกกระบวนการประชาธิปไตยได้คุกคามให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการทำงานของรัฐบาลจนกระทั่งมาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มถลายในปี 2554 ตัวละครที่อยู่นอกรัฐสภาและเหนือกฎหมายของปมขัดแย้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของประเทศไทยว่าเป็นเสมือน ‘สหพันธรัฐ’ หรือรัฐบาลที่มีสองระดับ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมเคยเขียนเอาไว้อย่างละเอียดในงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศรัสเซีย ผู้ก่อการร้ายทางการเมืองชาวเยอรมัน Ernst Fraenkel ให้คำจำกัดความของคำว่า รัฐซ้อน ว่าเป็นระบบการทำงานที่พึ่งพิงกันทั้งสองระดับ รัฐอุดมการณ์หมายถึงรัฐที่ปกครองตามระบอบกฎหมายที่ให้ไว้อย่างชัดเจน มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้และกระบวนการที่ผูกติดกับกฎหมาย รัฐอำนาจพิเศษ หมายถึง รัฐที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ กฎหมายไม่สามารถตรวจสอบได้ มีการใช้อำนาจปิดบังซ่อนเร้นไม่มากก็น้อย ในขณะที่การปฎิบัติหน้าที่ทางการเมืองนั้นโดยทั่วไปแล้วหากไม่เป็นระบบการปกครองแบบ “รัฐอุดมการณ์” (เช่น ประเทศนอร์เวย์) หรือเป็นแบบ “รัฐอำนาจพิเศษ” (เช่น ประเทศลิเบีย ภายใต้การปกครองของกัดดาฟี่) ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบ “เผด็จการ” หรือ อำนาจแบบ “ลูกผสม” ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่มีลักษณะการปกครองของทั้งสองแบบนี้อยู่ด้วยกัน ในขณะที่ Ernst Fraenkel ได้แย้งว่าการทำงานของระบบสหพันธรัฐนั้นเอื้อประโยชน์ให้ระบอบการปกครองหรือการบริหารแบบไม่เสรีนั้นยั้บยั้งสภาพการใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมเอาไว้ แต่ทว่าการใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมไม่ได้แค่ช่วยให้ระบอบการปกครองหรือการบริหารมีความเป็นธรรมเท่านั้นแต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมอีกด้วย กฎหมายที่เป็นทางการถูกบังคับใช้โดยศาลที่กึ่งปกครองตนเองยั้บยั้งอิสระภาพในการลงทุนทางธุรกิจ ความเป็นธรรมของสัญญาว่าจ้าง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และการแข่งขัน ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่ระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและคาดเดาได้ รัฐอุดมการณ์ของประเทศไทยนั้นปกครองโดยรัฐบาลที่มีประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสนับสนุนรัฐสภาที่เลือก กฎและขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฎรายละเอียดชัดเจนควบคุมการทำงานของรัฐ กั้นเขตการแบ่งแยกอำนาจระหว่างขั้วต่างๆ ของรัฐบาล และกำหนดขอบเขตอำนาจทางการบริหารของรัฐบาล เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างอย่างเป็นทางการของรัฐอุดมการณ์แล้ว ประเทศไทยมักถูกมองว่าเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่บริหารงานภายใต้กรอบของการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อระบบรัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยนั้นอยู่รวมกับระบบรัฐอำนาจพิเศษ (หรืออย่างที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกขับออกมาอย่าง นายจักรภพ เพ็ญแข เรียกว่า “รัฐซ้อน”) ถูกให้คำนิยามนี้โดยพิจารณาจากการประพฤติตัวของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง, เครือข่ายนอกระบบ และสถาบันต่างๆ (รวมถึง กลุ่มอำมาตริย์, กองทัพ, คณะองคมนตรี และ กลุ่มธุรกิจที่เป็นพวกพ้องกันเอง) ประเทศไทยมีคำนิยามให้กับระบบรัฐอำนาจพิเศษนี้เองซึ่งโดยทั้วไปแล้วจะรู้จักระบบอำนาจพิเศษนี้ว่าเป็น “มือที่มองไม่เห็น” ในความเป็นจริงแล้ว มือนี้ก็ไม่เชิงว่าจะ “มองไม่เห็น” เพราะมันแค่ครุมเครือแค่นั้นเอง กฎหมายมาตราที่ 112 ที่ถูกนำมาใช้อย่างไม่ชอบธรรมเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ปิดบังความสลับซับซ้อนของการกระทำของพวกเขาซึ่งอ้างความชอบธรรมโดยการแสร้งว่าเป็น “การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” เมื่อ Ernst Fraenkel สังเกตุการณ์ด้านมืดที่มีเงื่อนงำในระบบสหพันธรัฐที่ “’เติบโตได้จากการปิดบังซ่อนเร้นหน้าตาที่แท้จริง” และ “สิ่งบดบัง” นี้เองที่ถูกเก็บซ่อนไว้โดยการสั่งห้ามไม่ให้มีการอภิปรายหรือพูดพาดพิงถึงการทำงานของรัฐอำนาจพิเศษ ไปจนถึงไม่ยอมให้มีการรับฟังหรือแลกเปลี่ยนความเห็นสาธารณะ ระบบรัฐอำนาจพิเศษเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยส่วนหนึ่งต้องขอบคุณการสนับสนุนและการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเห็นได้จากกองทัพที่เข้มแข็งและมากมายนับไม่ถ้วน และยังสังเกตุได้จากความยุติธรรมแบบอันธพาลที่ให้กับฝ่ายตรงข้าม พันธมิตรที่พึ่งพาช่วยเหลือกันได้ในการสู้รบกับคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม รัฐอำนาจพิเศษก็ไม่ได้ล้มหายตายจากไปพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของการคุกคามของลักธิคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่การพังกำแพงเบอร์ลินและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้วรัฐบาลอเมริกันก็ยินดีที่ได้ทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศสมาชิกต่างๆ ของรัฐอำนาจพิเศษ ก่อนที่จะเกิดการวิพากษณ์วิจารณ์โจมตีการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ในวงกว้างอย่างรุนแรงและการสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่าย “หลีกเลี่ยงความรุนแรง” โดยตลอดเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย รัฐบาลอเมริกันพอใจที่ได้นั่งอยู่เฉยๆ เพื่อดูสถาบันการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยของประเทศกลุ่มพันธมิตรที่คบหากันมายาวนานถูกทำลาย ดูพลเมืองถูกฆ่าตายหรือถูกปล่อยให้เน่าอยู่ในเรือนจำเนื่องจากแสดงความคิดเห็น ที่จริงแล้วความผูกพันธ์เกี่ยวข้องด้านรัฐอำนาจพิเศษในประเทศไทยนั้นเหนียวแน่นมากจนประเทศสหรัฐอเมริกาแทบจะไม่กระดิกนิ้วทำอะไรแม้ว่า พลเมืองสัญชาติอเมริกัน ก็เพิ่งถูกจำกุมตัวในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ว่ารัฐอุดมการณ์และรัฐอำนาจพิเศษเกิดอยู่ร่วมกันในประเทศไทยนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับการจัดวางองค์ประกอบของรัฐบาล เมื่อใดก็ตามที่รัฐอุดมการณ์ถูกปกครองโดยทักษิณ ชินวัตร หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษิณ องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐในประเทศไทยก็ได้เกิดการขัดแย้งกัน ดังตัวอย่างที่เห็นเมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้พยายามที่จะทำให้ขอบเขตการทำงานของระบบรัฐอำนาจพิเศษลดน้อยลงในขณะที่ผู้สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษได้ต่อต้านกลับโดยใช้การก่อความไม่สงบ, กระบวนการดำเนินคดีในศาลที่ไม่เป็นธรรม และอำนาจทหารที่เปลี่ยนแปลงหรือทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เมื่อผู้สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษสามารถโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐอุดมการณ์ อย่างเช่นเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และ “รัฐประหารโดยตุลาการ” ในปี พ.ศ. 2551 องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐได้ประสานความร่วมมือกันอย่างแนบเนียนมากขึ้น ในสถานการณ์นั้น กลุ่มบุคคลที่ปกครองในรัฐอุดมการณ์ตกลงที่จะนำเอาระบบกฎหมายมาบังหน้าให้กับรัฐอำนาจพิเศษที่มีลักษณะอำนาจนิยมและไร้ซึ่งความรับผิด ต้องขอบคุณกลุ่มคนที่อยู่ในอำนาจเหล่านี้ที่ได้เอื้อเฟื้อให้รัฐอำนาจพิเศษโกงกินหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ได้ ในขณะนี้ พรรคเพื่อไทยได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ความไม่ลงรอยของรัฐซ้อนทั้งสองสร้างความตึงเครียดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอำนาจที่ทำงานอยู่ในเงาของรัฐอำนาจพิเศษได้เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อถอดถอนรัฐบาลใหม่ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำการคุกคามรัฐบาลไม่ให้แตะต้องสถานภาพนั้น อย่างน้อยสถาบันสองสถาบันที่ทำงานให้รัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยปฏิบัติการเหมือนท่อเชื่อมให้กับการครอบงำที่คืบคลานเข้ามาของรัฐอำนาจพิเศษ: กลุ่มตุลาการและพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มตุลาการยังคงเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพสูงสุดจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะมีการโกงกินและใช้อิทธิพลเพื่ออำนาจผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2549 กลุ่มตุลาการได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยกระทำตัวเหมือนเป็นเดือยบังคับล้อของความพยายามของรัฐอำนาจพิเศษที่จะนำพาความต้องการของกลุ่มตนผ่านกระบวนการของรัฐอุดมการณ์ หลังจากการทำรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2549 อำนาจของศาลในการถอดถอนรัฐบาลและยุบพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมตามคำสั่งของรัฐอำนาจนิยมเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นแบบแผนในการปฏิบัติภายในสถาบัน จุดมุ่งหมายแรกของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ร่างโดยรัฐบาลทหารในปี 2550 คือเพื่อต้องการลิดรอนความสามารถของสถาบันภายในรัฐอุดมการณ์ในการตรวจสอบการกระทำของบุคคลในรัฐอำนาจนิยม ฝ่ายค้านที่เข้มแข็งได้เสนอนำเอาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ สะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวว่ากลุ่มรัฐบาลเก่าต้องการขัดขวางไม่ให้รัฐอำนาจนิยมบังคับใช้เจตจำนงของตนผ่านทางการใช้กฎหมายที่ซับซ้อน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หลักของตุลาการภิวัตน์และการใช้การเมืองในการพิจารณาคดีทางกฎหมายก็คือพรรคประชาธิปัตย์ จากคำตัดสินคดีอย่างน่าสงสัยหลายต่อหลายคดี ตุลาการแก้ข้อหาที่เป็นหนทางเดียวที่อาจสามารถทำให้พรรคประชาธิปัติย์ พรรคที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน นั้นเข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในปี พ.ศ. 2551 มีกลุ่มผู้ช่วยเหลือภายในระบบรัฐอำนาจพิเศษที่พยายามทำให้ผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจ ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพและตุลาการทำให้พรระประชาธิปัติย์อยู่ในตำแหน่งได้มากกว่าสองปี แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพรรคไม่ได้มาจากการเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เลยมีข้อจำกัดในการทำตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยเอาชนะใจประชาชนและปฎิบัติหน้าที่ได้ดีจนไม่สามารถทำให้ “มือที่มองไม่เห็น” ยื่นเข้ามาช่วยให้อภิสิทธิ์กลับเข้ามารับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง คณะตุลาการที่ก่อนหน้านี้ได้สั่งยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน หากพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสชนะมากกว่านี้ การยุยพรรคเพื่อไทยคงเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขี้นเหมือนเมื่อครั้งที่ทำให้อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม 2551 ก็เป็นได้ พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่ให้เอาไว้ได้ พรรคเพื่อไทยเอาชนะเสียงของประชาชนส่วนใหญ่และพรรคประชาปัติย์ถูกทิ้งคะแนนห่างมาเป็นที่สอง ซึ่งได้รับที่นั่งน้อยกว่าทางพรรคเพื่อไทยมากกว่าร้อยที่นั่ง สำหรับพรรคประชาธิปัติย์และความทะเยอทะยานของระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว ผลการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทำลายความหวังของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง ที่ร้ายไปกว่านั้น ความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวงนี้ทำให้ “รัฐประหารโดยตุลาการ” นั้นยากขี้นไปอีก จำกัดความสามารถของระบบรัฐอำนาจพิเศษในการกำจัดรัฐบาลของฝ่ายตรงข้ามที่ปฎิบัติงานภายใต้กระบวนการของระบบรัฐอุดมการณ์ แม้ว่าศาลจะสั่งยุบพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่พรรคประชาธิปัตย์จะรวบรวมที่นั่งจากพรรคอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง โชคไม่ดีที่นั่นไม่ได้ทำให้พรรคประชาธิปัติย์หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีการทบทวนความคิดหรือความรู้สึกของตนเองเนื่องจากทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในรัฐสภา ในส่วนนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ที่ถนัดและทำมาอย่างยาวนานในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ในทางตรงกันข้าม พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่มีทีท่าที่จะถอนตัวออกจากวงจรการพึ่งพาอาศัย นับตั้งแต่การเลือกตั้ง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามหาหนทางในการยื่นขอยุบพรรคเพื่อไทย การตัดสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยที่มีสิทธิ์เหมาะสมในการเข้ารับตำแหน่งในรัฐสภา และแม้กระทั่ง การฟ้องร้องเพื่อขับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ออกจากตำแหน่ง ภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้วีซ่าเข้าประเทศแก่ทักษิณ อีกนัยหนึ่งก็คือ แทนที่จะมุ่งประเด็นไปที่การสร้างพรรคใหม่หรือฟื้นฟูภาพลักษณ์ที่เสียไป พรรคประชาธิปัตย์กลับพยายามกระทำการที่ส่อให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะยอมปราชัยในการเอาชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่การลาออกของอภิสิทธ์หลังจากแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของพรรค แต่เขากลับถูกเลือกให้มาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง อย่างกับว่าเขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขานั้นไม่น่าที่จะถูกเลือกที่สุด พรรคประชาธิปัตย์ได้ฝากโชคชะตาเอาไว้กับกลุ่มอำนาจในระบบรัฐอำนาจพิเศษ ต่อต้านกับการพยายามในการปรับปรุงความดึงดูดที่นับวันมีแต่จะน้อยลงไปทุกๆ ในสายตาของคนไทยผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง สำหรับระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว แม้ว่าการพ่ายแห้การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้การเลือกรัฐบาลที่ชื่นชอบมาปฎิบัติหน้าที่แทนพรรคเพื่อไทยยากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามใน การทำให้รัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอ, จำกัดความสามารถในการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ และชิงลงมือในการพยายามตรวจสอบและดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ในปี 2553 น้อยลงไปเลย ความพยายามต่างๆ เหล่านี้เป็นเสมือนการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งกลุ่มคนที่แอบอ้างว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อ “หลากสี” ด้วย กระบอกเสียงของกลุ่มอำมาตริย์ในแวดวงสื่อมวลชน นั้นรวมหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวันสองสำนักหลักๆ ซึ่งก็ได้เริ่มโจมตีรัฐบาลใหม่ชุดนี้ว่าเป็นรัฐบาล “หุ่นเชิด” ว่าถูกทักษิณ ชินวัตรครอบงำให้ทำตามทุกๆ เรื่อง ในขณะที่ปลุกระดมความกลัวว่าจะมีการวางแผนอย่างลับๆ ในการทำให้ประเทศไทย “ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของชาวต่างชาติที่เจ้าเลห์” ส่วน “ทางออก” ที่การปลุกระดมทางสื่อนี้เสนอก็เหมือนกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา: สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษเพื่อให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาประเทศจากผู้มีสิทธิ์ออกเสีงของประเทศเอง หากพิจารณาว่ารัฐอำนาจพิเศษกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่คุกคามความหายนะของตัวระบบเอง ก็เหลือเพียงแต่รอดูว่าการปลุกระดมนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่และจะประสบความสำเร็จเมื่อไร ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของศาลหรือการเคลื่อนกำลังพลของกองทัพตามถนนหนทางในเมืองหลวง ในขณะที่ การเพิ่มการขอความช่วยเหลือของการกดขี่เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแออย่างเห็นได้ชัด การปลดปล่อยความอดกลั้นเป็นผลลัพธ์ที่เป็นภัยน้อยกว่า ประเทศไทยก็ผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว ณ เวลานี้ รัฐบาลชุดใหม่ต้องได้รับการปกป้องจากการคุกคามที่มาจากกฎหมายนอกระบบและการะบวนการทางประชาธิปไตย ในระยะยาวถึงแม้ว่าการโจมตีรูปแบบใหม่ของรัฐอำนาจพิเศษจะพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบการเมืองไทยต้องการให้มีการสิ้นสุดของรัฐซ้อนซึ่งทำให้สำเร็จโดยการบีบบังคับสถาบันต่างๆ ที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจของกฎหมายที่ทำได้โดยอาศัยกฎของรัฐอุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยต้องออกจากแนวความคิดด้านนิติธรรมที่เป็นเป็นทางการ (หรือ “เปราะบาง”) ในขณะที่กฎหมายถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเป้องกันสถาบันอำนาจให้พ้นจากการรับผิดชอบ, ระงับการอภิปรายอย่างเปิดเผยและอิสระ, ละเมิดสิทธิมนุษยชน, ดำเนินคดีต่อผู้คัดค้าน หรือทำลายกระบวนการเลือกตั้ง ไปสู่แนวความคิดที่เป็นอิสระ (หรือ “เข้มแข็ง”) ซึ่งมีอำนาจสั่งให้ผู้ปกครองใช้อำนาจโดยผ่านทางกฎหมาย นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนหรือทุกสถาบันหลักๆ ปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ โดยปราศจากการใช้อำนาจพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในบริบทของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการอภิปรายสาธารณะอย่างอิสระด้วย และสิ่งที่คณะตุลาการอิสระได้ทำในการสนับสนุนหลักกฎหมายโดยการตรวจสอบการการะทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยปราศจากความเกรงกลัวหรือผลประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ประเทศไทยต้องการฝ่ายค้าน ที่ถ้าจะมีโอกาสในการเข้ามาสู่อำนาจจะต้องแป็นฝ่ายค้านที่ไม่อ้างหลักฐานทั้งหมดโดยการใช้กฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการทำลายระบอบประชาธิปไตย | |
http://redusala.blogspot.com |
ท่าทีต่อศีลธรรมและการผลิตนิทานปรัมปราของสื่อมวลชนไทย | |
เหตุการณ์ล่าสุดที่ผู้สื่อข่าวช่อง 7 นางสาวสมจิตร นวเครือสุนทรถูกคุกคามโดยกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มเล็กที่ไม่พอใจการนำเสนอข่าวที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นกลาง และมีการเรียกร้องปลดให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่โชคร้ายยิ่งนัก ผมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ขอสนับสนุนเสรีภาพของการแสดงออกของคุณสมจิตร รวมถึงสิทธิของนักข่าวไทยทุกคนในการตั้งถามคำถามต่อบุคคลใดก็ได้ และตีพิมพ์ความคิดเห็นดังกล่าวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม ข่มขู่ หรือแน่นอนที่สุดคือถูกจับกุม แต่มันน่าขบขัน เมื่อกลุ่มบุคคลเดียวกันนี้กลับนิ่งเฉย เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถูกยิงโดยพลซุ่มยิง และเพื่อนนักข่าวร่วมวิชาชีพถูกดำเนินนคดีจอมปลอมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ไม่มีมูล แน่นนอนว่าสื่อมวลชนไทยส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเรื่องภาพรวม พวกเรากำลังมองดูการตีโพยตีพายตามสัญชาตญาณทั่วโปและการผสมปนเปเรื่องราวดังกล่าว มีสร้างกระแสความตื่นตระหนกเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมที่สูงเกินจริง โดยพยายามป้ายสีคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่ใหญ่และกล้าหาญที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ว่าเป็นสัญลักษณ์จิตในคับแคบ ผู้นำกลุ่มโดยธรรมชาติอย่างนักข่าวของเดอะเนชั่นที่มักเจตนาเพิกเฉยต่อข้อมูล และที่พยายามบิดเบือนกรณีสมจิตรให้ตรงกับความเห็นส่วนตัวอย่างถึงที่สุด ไม่ต่างจากเหตุการณ์เรื่องการเผาตึก Reichstag [เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยเผด็จการนาซีเรืองอำนาจ และนาย Van der Lubbe ถูกประหารชีวิตหลังจากถูกทรมานให้รับสารภาพ-ผู้แปล]นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน เนื่องจากมีการตีพิมพ์บทความเข้าข้างกลุ่มอำมาตย์หลายบทความ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในแคมเปญใส่ร้ายป้ายสี เสื้อแดงบางคนเกิดความรู้สึกอึดอัดและใจร้อนกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งสนใจที่จะรักษาเสถียรภาพท่ามกลางอำนาจที่มองไม่เห็นของตุลาการนอกระบบซึ่งคุกคามรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ตามบทความของผมเรื่องรัฐซ้อนรัฐ) แต่ละเลยที่จะปกป้องกลุ่มเคลื่อนไหวจากการถูกโจมตีเหล่านี้ พวกเขาไม่ควรต้องรู้สึกเช่นนั้นเลย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรควรจะเคลื่อนไหวหรือพูดอะไรมากกว่านี้เพื่อปกป้องสมาชิกของกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะไม่มีเหตุผลใดที่พวกเขาควรจะอดทนต่อข้อกล่าวหาอันไร้สาระอย่างสิ้นเชิงซึ่งเป็นผลมาจาก “แคมเปญ” ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุกคาม ท่าทีเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมจอมปลอมของกลุ่มสื่อมวลชนชั้นชั้นนำที่ถูกควบคุมในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องของอุบัติเหตุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน การกระทำของพวกเขาเป็นการผลิตนิทานปรัมปราโดยตรง เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับแต่งเรื่องราวและสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงต่อคนเสื้อแดงในสลายการชุมนุมนองเลือดในปี 2553 เมื่อข่าวจอมปลอมเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับพลเรือนและผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติที่จะหวนกลับไปมองเหตุการณ์เมื่อครั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ปิดวิทยุชุมนุมหลายร้อยสถานี จำคุกนักโทษทางการเมืองร่วมร้อยรายเพราะพวกเขาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และแน่นอนคือ สั่งให้กองทัพยิงสังหารผู้ชุมนุมมือเปล่า พวกกลุ่ม “เอ็นจีโอ” เหล่านี้ไม่พูดอะไรแม้แต่นิดเดียว และการคนกลุ่มเดียวกันนี้ต้องการที่จะเคลื่อนไหวปกป้องผู้สื่อข่าวช่อง 7 กลายมาเป็นเรื่องของความแสแสร้งและการฉกฉวยโอกาสอย่างล้ำลึก และยังทำให้สร้างความสับสนต่อความเข้าใจของประชาชนถึงประเด็นปัญหาที่สำคัญ นี่คือข้อเท็จจริง ประเทศไทยมีปัญหาใหญ่เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาของการแสดงออก นี่คือประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากกว่าประเทศใดในโลกนี้ ประเทศที่กฎเกณฑ์อันเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรถูกนำไปใช้อย่างเลินเล่อร้ายแรงถึงขั้นที่สื่อมวลชนถูกท้าทายอย่างล้ำลึกในการทำหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการกระทำผิด และทำให้ผู้กระทำผิดรู้สึกสบายใจ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สื่อมวลชนในกรุงเทพถูกทุ่มเททำงานห้กับฝ่ายตรงข้ามตนเอง นักข่าวที่ยึดถือเสรีภาพทางการแสดงไม่ควรแค่ปกป้องสิทธิผู้สื่อข่าวช่อง 7 ในการถามคำถามยากๆ แต่ควรจะใช้เวลาทุกวันถ้าเป็นไปได้ในการเข้าฟังการพิจารณาคดีของผู้อำนวยการเวปไซต์ประชาไท จีรนุช เปรมชัยพร พวกเขาควรติดตามข่าวสารล่าสุดของคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเผยแพร่ข่าวสารนั้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการดำเนินคดีเหล่านี้และคดีอื่นๆ และสำหรับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกโดเดี่ยวและถูกชักนำในทางที่ผิด พวกเขาควรจะปล่อยให้กลุ่มนักข่าวทุกคนไม่ว่าจะมีจุดยืนในทางการเมืองแบบใดก็ตาม ทำหน้าที่ได้โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคาม อย่างไรก็ตาม หากตัดสินจากวันแรกๆที่พรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เรื่องเล่าของสื่อมวลชนมีแนวโน้มว่าจะเพ่งความสนใจไปที่ “โครงเรื่อง”ในจิตนาการที่เกี่ยวกับความรุนแรงของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างขาดความเชื่อมโยงและไม่สมเหตุสมผลมากขึ้น รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาจินตนาการเกี่ยวกับทักษิณ และในขณะเดียวกันก็จะเพิกเฉยต่อเรื่องราวที่สำคัญที่สุดนั้นคือ เรื่องราวของประเทศที่เสียหายและเต็มไปด้วยความวุ่นวายกำลังที่พยายามจะกลับกลับไปปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งประชาชน มีการพิจารณาสร้างความปรองดองผ่านทางการรับผิดของทหารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และการเผชิญหน้ากับสภาวะที่ยุ่งเหยิงของเสรีภาพสื่อมวลชน แต่หากพรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะถลำลึกและหลงใหลไปกับเรื่องของทักษิณอย่างผิดๆมากกว่าความสุขของคนไทยมากเท่าไร พวกเขาก็จะทำให้ตนเองกลายกลุ่มบุคคลนอกประเด็นได้เร็วขึ้นเท่านั้น Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)