ตลก.ก่อนบ่าย(ศุกร์13)คลายเครียด
| ||||||
| ||||||
http://redusala.blogspot.com
|
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตลก.ก่อนบ่าย(ศุกร์13)คลายเครียด
ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ
ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ
| |
จาตุรนต์ ฉายแสง: ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ Tue, 2012-07-10 21:29 (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com) จาตุรนต์ ฉายแสง 10 กรกฎาคม 2555 อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและสมาชิกบ้านเลขที่111 ชี้ 6 ข้อกังขาต่อความชอบธรรมในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ “แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย” มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย คำว่า “ควรยอมรับ”หรือ “ต้องยอมรับ” ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะให้เกิดความยุติธรรมขึ้นจริงๆ เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมา ควรเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็นได้ทั้งทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 13 นี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร ย่อมผูกพันองค์กรต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ย่อมต้องปฏิบัติตาม เช่น ถ้าศาลฯสั่งให้รัฐสภายุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่กำลังทำกันอยู่ รัฐสภาก็ไม่สามารถลงมติในวาระที่ 3 ต่อไปได้ การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องยุติลง แล้วหากใครอยากจะแก้อีกก็คงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่ แต่ “ปฏิบัติตาม” กับ “ยอมรับ”ไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกันเสมอไป และ “ปฏิบัติตาม”กับ“เห็นด้วย”ก็ไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกัน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่เห็นด้วยย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นด้วยหรือชื่นชมกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลก็มีสิทธิที่จะแสดงความไม่เห็นด้วยหรือแม้กระทั่งแสดงการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นใครที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล ย่อมมีสิทธิแสดงความเห็นของตนได้โดยไม่จำเป็นต้องทำตามความเห็นของคุณอภิสิทธิ์หรือคุณชวนที่ออกมาพูดเพื่อสกัดกั้นการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายที่จะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ใครๆก็รู้ว่าหากไม่มีใครโต้แย้งคำวินิจฉัย คุณอภิสิทธิ์กับคุณชวนก็ย่อมจะได้ประโยชน์จากคำวินิจฉัยนั้นไปเต็มๆอยู่แล้ว พิจารณาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นไปได้ยากมากที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ได้ หากจะยึดหลักการตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอง หลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมหรือแม้แต่หลักความเป็นธรรมหรือสามัญสำนึกปกติทั่วไป จะพบว่ามีเหตุผลหลายประการที่ไม่พึงยอมรับกับคำวินิจฉัยที่กำลังจะเกิดขึ้นดังนี้ 1 .ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไปทั้งที่ไม่มีอำนาจ 2. ศาลฯกำลังใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ที่มีไว้ป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างการปกครองฯ แต่ศาลฯกลับกำลังนำมาใช้เพื่อขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเอง 3. ศาลฯได้สั่งให้รัฐสภาชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่ศาลฯไม่มีอำนาจ 4. ศาลกำลังเข้าไปตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้ศาลฯมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดหลักการแบ่งแยกอำนาจ 5. ตั้งแต่ศาลฯรับคำร้องจนกระทั่งวินิจฉัยแล้วเสร็จ มีผลในทางปฏิบัติเท่ากับว่าศาลฯได้แก้รัฐธรรมนูญไปแล้วหลายบทหลายมาตราตามอำเภอใจและ 6. ตุลาการหลายคนมีส่วนได้เสียไม่พึงทำหน้าที่พิจารณาคดีและตุลาการบางคนโดยเฉพาะประธานศาลรัฐธรรมนูญเองได้แสดงความเห็นเอนเอียงไปในทางผู้ร้องในลักษณะชี้นำสาธารณชนและตุลาการด้วยกัน จึงไม่ชอบธรรมที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้ต่อไป จากเหตุผลทั้ง 6 ข้อดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโอกาสที่ศาลฯจะตัดสินให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้ มีอยู่เพียงทางเดียวคือการวินิจฉัยว่ายกคำร้องเนื่องจากศาลฯไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้เท่านั้น นอกจากนั้นไม่เห็นความเป็นไปได้ที่ศาลฯจะวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้เลย แม้ว่าจะยกคำร้อง แต่ในการวินิจฉัยนั้นหากศาลฯยืนยันอำนาจในการรับคำร้องก็ดี อำนาจในการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญก็ดี คำวินิจฉัยนั้นก็ไม่ถูกต้องชอบธรรมและจะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมากต่อไป ไม่ต้องพูดถึงการวินิจฉัยที่ร้ายแรงกว่านั้นว่าจะไม่ยุติธรรมอย่างไร และสร้างความเสียหายสักเพียงใด --------------------------------------------------------------- ความเห็น จากนี้ไป "แก๊งค์ตลก" จะมี อำ น า จ เ ห นื อ ก ว่ า รั ฐ ส ภ า ตลอดกาล.... และกระบวนการแก้ไข "รัฐธรรมนวยหัวคูณ ''''๕๐" ก็จะ "ชักกระตุกไปตลอดทางและจะแก้ไม่ได้ในที่สุด" อย่างแน่นอน......พอจะเสนอแก้มาตราใด--ปุ๊บ "ฝูงกากเดนทรราชย์" ก็จะเดินเกมส์ "ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อแก๊งค์ตลก" --ปั๊บ..... จากนั้น "แก๊งค์ตลก" ก็จะเข้ารับลูกพร้อมกับตะโกนว่า "คำร้องมีมูลฮิ !" พร้อมกะจัดการ "สั่ง" ให้ "สภาทารก" ระงับการพิจารณาแก้รธน.ไว้ "ชั่วคราว" ทันที ! จากนั้นก็ใช้เวลา ๑ เดือนสำหรับการ "แสดงปาหี่ไต่สวนพิจารณาคดีความ" ต่อไป ...... การเล่น "เกมส์โหดตุลากาฬภิวัตน์" นี้ จะทำให้การแก้ไขรธน.นั้นชักกระตุกไปตลอดทาง--ทีละมาตรา/ทีละเดือน...... แล้วระหว่าง "การชักกระตุก" นั้น ก็จะมี "ปัจจัยพิสดารสารพัด" โผล่ขึ้นมาแบบลึกลับเข้ารุมเร้าหักขา "รัฐบาลปูแดง" ผสมโรงไปตลอดทางด้วยเช่นกัน-อีกต่างหาก.... "การปรองดองแบบโหดพิศดาร" นี้ จะทำให้ในที่สุด--ก็จะ "หายนะ" ทั้ง "รัฐบาลและการแก้ไขรธน.".... ก็เป็นอันว่า "จบเห่สมบูรณ์แบบ" สำหรับ "การแก้รัฐธรรมนวยหัวคูณ''''๕๐"....game over !!--ว่างั้นเหอะ ! | |
http://redusala.blogspot.com
|
ศาลแพ่งรับคำฟ้อง ตลก.ศาล รธน.วินิจฉัย ม.291 ละเมิด ส.ส.เพื่อไทย
ตกลง มันคือคือวินิจฉัย หรือความเห็นกันแน่
ตกลง มันคือคือวินิจฉัย หรือความเห็นกันแน่
| |
''จาตุรนต์'' สับคำวินิจฉัยกึ่งความเห็น | |
http://redusala.blogspot.com
|
เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญโดยละเอียด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙
''''ธัมมิกประชาธิปไตย'''' ของพุทธทาส
''''ธัมมิกประชาธิปไตย'''' ของพุทธทาส
| |
ธัมมิกประชาธิปไตย ของพุทธทาส
Posted: 11 Jul 2012 01:05 AM PDT
(อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com)
สุรพศ ทวีศักดิ์
เมื่อพุทธทาสภิกขุเปลี่ยนนิยามของประชาธิปไตยจาก “ประชาธิปไตยหมายถึงประชาชนเป็นใหญ่” เป็น “ประชาธิปไตยหมายถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่” พร้อมกับอ้างเหตุผลว่า “ถ้าประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนเห็นแก่ตัว ประชาชนบ้าๆ บอๆ ก็ฉิบหายหมด” แล้วเสนอว่าประชาธิปไตยที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่คือ “ธัมมิกประชาธิปไตย” คือประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยธรรม
พุทธทาสจำแนก “ธรรม” ออกเป็น 4 ความหมาย แต่อาจสรุปเป็นสองอย่างหลักๆ คือ ธรรมที่เป็นกฎธรรมชาติที่เรียกว่า “กฎอิทัปปัจจยา” คือกฎแห่งการเป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่งในธรรมชาติ ซึ่งท่านตีความว่ากฎธรรมชาติดังกล่าวนี้มีเจตนารมณ์เพื่อส่วนรวม เรียกว่า “เจตนารมณ์สหกรณ์” กับธรรมอีกความหมายหนึ่ง คือศีลธรรมของผู้ปกครองและประชาชน ซึ่งเข้าใจความหมายกว้างๆ ได้ว่า หลักการปฏิบัติเพื่อละเว้นการใช้ความเห็นแก่ตัวละเมิดคนอื่น และ/หรือทุจริตเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของตนเองและพวก และหลักการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมประโยชน์สุขส่วนรวม
ฉะนั้น ธัมมิกประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยธรรมในความหมายดังกล่าว จึงหมายถึงการวางระบบสังคมการเมืองให้มีกติกาการอยู่ร่วมกันในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่สอดคล้องกับเจตจำนงสหกรณ์ หรือเจตจำนงเพื่อส่วนรวมตามกฎธรรมชาติ และมีระบบส่งเสริมให้ผู้ปกครองและประชาชนมีศีลธรรมเพื่อป้องกันการใช้ความเห็นแก่ตัวละเมิดผู้อื่น มีสำนึกและจรรยาปฏิบัติเพื่อส่งเสริมประโยชน์สุขส่วนรวม
จากนิยามประชาธิปไตยและข้อเสนอแนวคิดทางการเมืองของพุทธดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดคำถามที่สำคัญตามมาอย่างน้อย 3 ประการ คือ พุทธทาสปฏิเสธอำนาจของประชาชนใช่หรือไม่? ถ้าปฏิเสธอำนาจของประชาชน เป็นการปฏิเสธจากสมมติฐานที่ว่า “ธรรมชาติของมนุษย์คือความเห็นแก่ตัว” ใช่หรือไม่? และ ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวขัดแย้งกับความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่? ซึ่งผมอยากชวนแลกเปลี่ยนต่อไปนี้
1. พุทธทาสปฏิเสธอำนาจของประชาชนหรือไม่? จากนิยามประชาธิปไตยและการอ้างเหตุผลของพุทธทาสดังกล่าว เรายังสรุปไม่ได้ว่าท่านปฏิเสธอำนาจของประชาชน เนื่องจาก ข้อความว่า “ประชาชนเห็นแก่ตัว บ้าๆ บอๆ ก็ฉิบหายหมด” อยู่ในรูปของ “ประโยคเงื่อนไข” ซึ่งหมายความว่า “ประชาชนจะใช้อำนาจตามความเห็นแก่ตัวไม่ได้” ความหมายกว้างๆ ของ “ความเห็นแก่ตัว” ที่ท่านใช้ในกรอบของศีลธรรมทางการเมืองนั้นชัดเจนว่า มีความหมายเป็น “ปฏิปักษ์” ต่อ “ความเห็นแก่ส่วนรวม” ดังที่ท่านยกตัวอย่างเช่น การคดโกงกอบโกยเอาของส่วนรวมมาเป็นของตนเองหรือพวกตนเอง ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นเอามาเพื่อ “ตัวกู ของกู”
นอกจากนี้ประโยคเงื่อนไขดังกล่าว ยังหมายความได้อีกว่า ถ้าประชาชนไม่เห็นแก่ตัว ไม่บ้าๆ บอๆ ก็สามารถมีอำนาจปกครองตนเองเพื่อบรรลุประโยชน์สุขของส่วนรวมได้ ฉะนั้น ท่านจึงเสนอว่าประชาธิปไตยเหมาะแก่ประชาชนที่มีศีลธรรม หมายถึงมีสำนึกทางศีลธรรมที่ยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช้ความเห็นแก่ตัวทุจริตด้วยวิธีการใดๆ เพื่อเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของตัวเองหรือพรรคพวก
ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่านิยามประชาธิปไตยดังกล่าวของพุทธทาสไม่ได้ปฏิเสธ “อำนาจของประชาชน” หรือปฏิเสธประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง แต่มีเงื่อนไขว่าการใช้อำนาจของประชาชนหรือความเป็นประชาธิปไตยต้องประกอบด้วยธรรม คือไม่ใช้อำนาจตามความเห็นแก่ตัวทุจริตเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเพื่อตัวและพวกของตัว แต่ใช้อำนาจอย่างสุจริตบนจิตสำนึกเสียสละและปกป้องประโยชน์สุขของส่วนรวม
2. พุทธทาสมองว่า “ธรรมชาติของมนุษย์ (ประชาชน) คือความเห็นแก่ตัว” ใช่หรือไม่? หากอ่านเฉพาะข้อความในประโยคเงื่อนไขอาจทำให้เข้าใจเช่นนั้นได้ แต่ที่จริงพุทธทาสมองธรรมชาติของมนุษย์ตามทัศนะทางพุทธศาสนา
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมองตามทัศนะของพุทธสาสนา ก็มีคำถามตามมาว่า การที่พุทธศาสนามีระบบศีลธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสตัณหา แสดงว่าพุทธศาสนามีทัศนะว่าธรรมชาติของมนุษย์คือความเห็นแก่ตัว หรือคือความชั่วร้ายใช่หรือไม่?
แท้จริงแล้วพุทธศาสนามองธรรมชาติของมนุษย์สองด้าน ด้านหนึ่งคือความมีกิเลสตัณหา (อกุศลมูล) หมายถึงคุณสมบัติทางจิตใจที่แสดงออกเป็นความโลภ โกรธ หลง อีกด้านหนึ่งคือศักยภาพที่จะพ้นไปจากกิเลสตัณหา (กุศลมูล) หมายถึงคุณสมบัติทางจิตใจที่ดีงามโดยพื้นฐานที่สามารถแสดงศักยภาพควบคุม และ/หรือเป็นอิสระจากการครบงำชักจูงของคุณสมบัติทางจิตใจด้านที่เป็นกิเลสตัณหา ได้แก่คุณสมบัติพื้นฐานของจิตที่เป็นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแสดงตัวของความเสียสละ ความรัก และปัญญา
ในธรรมชาติทางจิตใจทั้งสองด้านนั้น พุทธศาสนามองว่าธรรมชาติด้านที่เป็นกิเลสตัณหาเป็น “มายา” ไม่ใช่ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ธรรมชาติที่แท้จริงหรือที่เป็น “essence “ ของมนุษย์คือด้านที่เป็นศักยภาพที่จะพ้นไปจากกิเลสตัณหาคือ “ความไม่เห็นแก่ตัว” (อโลภะ-ไม่โลภ) ความรัก (อโทสะ-ไม่โกรธ) ปัญญา (อโมหะ-ไม่หลง)
ข้อพิสูจน์ว่าธรรมชาติด้านที่ดีงามดังกล่าวนี้คือธรรมชาติที่แท้จริงหรือเป็น “essence “ ของมนุษย์ ก็คือ
1) ข้อเท็จจริงในชีวิตประจำวันเมื่อเราเกิดความโลภ โกรธ หลง ธรรมชาติด้านที่ดีงามจะคอยให้สติ ปลุกมโนธรรมเหนี่ยวรั้ง หรือยับยั้งไม่ให้เราทำตาแรงจูงใจเช่นนั้น (นี่คือข้อพิสูจน์ว่าเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจทางศีลธรรม ทำไมบางครั้งเราจึงเกิดความรู้สึกขัดแย้งระหว่างแรงจูงใจที่ผิดกับมโนธรรมภายในใจเรา)
2) พุทธะและและอริยสาวกที่จิตหลุดพ้นจากความโลภ โกรธ หลงแล้ว เท่ากับคุณสมบัติของจิตใจด้านที่เป็นความโลภ โกรธหลง หายไป คงเหลือแต่ธรรมชาติทางจิตใจที่เป็นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ที่แสดงออกเป็นคุณสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า ปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ และกรุณาคุณ
ฉะนั้น รากฐานของศีลธรรมขัดเกลากิเลสของพุทธศาสนาจึงไม่ได้อยู่บนทัศนะที่ว่า “ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์เลวร้าย เห็นแก่ตัว” ฉะนั้น จึงต้องสร้างหลักศีลธรรมขึ้นมาควบคุม แต่รากฐานศีลธรรมพุทธอยู่บนฐานของทัศนะที่ว่า “ธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์ดีงาม มีศักยภาพที่จะหลุดพ้นจากกิเลสหรือความเห็นแก่ตัวได้” ฉะนั้น จึงต้องมีหลักศีลธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพดังกล่าวให้งอกงาม
ข้อเสนอเสนอแนวคิดทางการเมืองของพุทธทาสที่ให้ยึดประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นหลักจึงไม่ใช่ข้อเสนอที่อยู่บนพื้นฐานของการมองว่า “ธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์คือความเห็นแก่ตัว” แต่เป็นข้อเสนอบนพื้นฐานความเชื่อในธรรมชาติด้านดีงามของมนุษย์ว่า “มนุษย์มีศักยภาพที่จะเห็นแก่ส่วนรวม”
3. ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวขัดแย้งกับความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่? เมื่ออ่านความคิดทางการเมืองของพุทธทาสทั้งหมดแล้ว ผมคิดว่าเราต้องแยกความหมายของ “ความเห็นแก่ตัว” ออกจาก “ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว”
กล่าวคือ “ความเห็นแก่ตัว” ไม่ได้มีความหมายเท่ากับ “ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว” หมายความว่าความเห็นแก่ตัวที่พุทธทาสใช้ในขอบเขตของศีลธรรมทางสังคมการเมือง หมายถึงความเห็นแก่ตัวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเห็นแก่ส่วนรวม ฉะนั้น ถ้าเป็นความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวที่เป็นการละเมิดผู้อื่นหรือประโยชน์ส่วนรวมก็จัดเป็น “ความเห็นแก่ตัว” แต่ถ้าเป็นความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่เป็นการละเมิดผู้อื่นหรือประโยชน์ส่วนรวมก็ไม่จัดเป็นความเห็นแก่ตัว
ดังในคัมภีร์พุทธศาสนามีเรื่องราวของภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้มาเยี่ยมอาการป่วยของพุทธะ เพราะมัวเร่งเจริญภาวนาเพื่อต้องการบรรลุธรรม เมื่อมีเสียงตำหนิจากภิกษุอื่นๆ และพุทธะทราบเรื่องนั้นแล้วจึงยืนยันว่า “บุคคลเมื่อรู้ว่าตนเป็นที่รัก รู้ว่าประโยชน์ตนคืออะไร จงทำประโยชน์ตนนั้นให้สำเร็จเถิด” นี่หมายความว่า การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่เป็นการละเมิดผู้อื่นหรือประโยชน์สุขของส่วนรวม ย่อมไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย
ที่สำคัญ การมีชีวิตที่ดีงามตามความหมายทางพุทธศาสนา พุทธะก็ยืนยันชัดเจนว่า คือการดำเนินชีวิตที่พยายามทำทั้งประโยชน์ส่วนตน (อัตตัตถะ) ประโยชน์เพื่อผู้อื่น (ปรัตตถะ) ในทาง negative คือ ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทาง positive คือช่วยเหลือผู้อื่น และประโยชน์ส่วนรวม (อุภยัตถะ) หมายถึงประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความสุขแก่ทุกฝ่าย เช่น การปกป้องความยุติธรรมของสังคม เป็นต้น
ฉะนั้น การเมืองที่ยึดประโยชน์สุขของส่วนรวมตามความคิดของพุทธทาส จึงไม่ใช่การเมืองที่ปฏิเสธการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวของประชาชนโดยสรุปอย่าง “เหมารวม” ว่า เป็น “ความเห็นแก่ตัว” ทว่าความเห็นแก่ตัวที่ควรปฏิเสธ คือความเห็นแก่ตัวที่ละเมิดคนอื่นและประโยชน์สุขส่วนรวมเท่านั้น
ธัมมิกประชาธิปไตยในทัศนะของพุทธทาส จึงไม่ได้ปฏิเสธอำนาจของประชาชน หากการใช้อำนาจนั้นไม่ได้เป็นไปตามความเห็นแก่ตัวที่เป็นการละเมิดคนอื่นและประโยชน์ส่วนรวม แต่สนับสนุนให้ประชาชนใช้อำนาจอย่างมีศีลธรรม หมายถึงการใช้สิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวในทางที่ไม่ละเมิดคนอื่น และมีจิตสำนึกเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท
ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊คhttp://fb.me/Prachatai
| |
http://redusala.blogspot.com
|
สมมติเสวนา''''กับ ''''ไพโรจน์ ชัยนาม'''' ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
สมมติเสวนา''''กับ ''''ไพโรจน์ ชัยนาม'''' ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
| |
'''สมมติเสวนา''''กับ ''''ไพโรจน์ ชัยนาม'''' ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
(อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com) สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชน 11 กรกฎาคม 2555 แด่ศิษย์มีครู สมชาย ปรีชาศิลปกุล เสวนาข้ามสมัยกับ ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม ผู้เป็นปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ปรากฏความเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในหมู่ผู้เชีjยวชาญทางด้านกฎหมาย บางส่วนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้เนื่องจากเป็นสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญได้รองรับไว้ ขณะที่บางส่วนกลับมีความเห็นว่ากำลังเป็นการกระทำในลักษณะของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีโอกาส "สมมติเสวนา" กับ ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม ผู้เป็นปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยท่านเป็นผู้บรรยายลักษณะวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท) ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และสืบเนื่องต่อมากระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมากจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยความเห็นของ ศ.ไพโรจน์ที่นำมาอ้างอิง ณ ที่นี้จะมาจาก ไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม 1 ข้อความเบื้องต้นและหลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2497 โดยการอ้างอิงในแต่ละแห่งจะระบุหน้าที่ นำมาเอาไว้อย่างชัดเจน นักเรียนกฎหมาย : อ.ไพโรจน์มีความ เห็นอย่างไรเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญว่าเป็นสิ่งที่จะสามารถกระทำได้หรือไม่ ไพโรจน์ ชัยนาม : การที่จะถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เราจะแตะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสียใหม่ไม่ได้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ขัดกับความเป็นจริง ทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง ในทางกฎหมายก็คือว่า รัฐธรรมนูญเป็นการกระทำในทางนิติบัญญัติซึ่งบางทีก็เกิดขึ้นโดยเจตนาของฝ่ายเดียว เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่ราษฎร หรือเป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยการตกลงด้วยเจตนาร่วมกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะให้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นของที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ย่อมฟังไม่ขึ้น รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยหนึ่งย่อมเหมาะสมแก่สภาพของประเทศในสมัยนั้น เพราะผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญย่อมพิจารณาวางบทบัญญัติลงไปตามที่ตนเห็นสมควรในขณะนั้น แต่ภายหลังเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมาช้านาน สภาพความเป็นอยู่ของประเทศย่อมเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น จะให้ฐานะในทางการเมืองและทางสังคมของประเทศต้องถูกจำกัดอยู่ภายใต้บทกฎหมายฉบับหนึ่ง (คือรัฐธรรมนูญ) จึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ในทางการเมืองนั้น การที่ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งตายตัวจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ย่อมฟังไม่ขึ้น ถ้าหากว่าสภาพความเป็นอยู่ของประเทศได้เปลี่ยนแปลงผิดไปจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญซึ่งล่วงพ้นสมัยแล้ว รัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็นแต่เพียงตัวหนังสือไม่มีการปฏิบัติตาม และในไม่ช้าก็จะเกิดมีการปฏิวัติขึ้น ฉะนั้น ในทางการเมืองเพื่อป้องกันมิให้ราษฎรก่อการปฏิวัติจึงจำเป็นที่จะต้องไม่ประกาศออกมาว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ตายตัวจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจะต้องมีบทบัญญัติบอกวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไว้ เพื่อสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมัยอยู่เสมอ (หน้า 423-424) นักเรียนกฎหมาย : หากในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบอันใดอันหนึ่งที่ปรากฏอยู่ บทบัญญัติเช่นนี้จะมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ เช่นการกำหนดว่าห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองที่ดำรงอยู่ในห้วงเวลานั้น ไพโรจน์ ชัยนาม : ในบางครั้งผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญต้องการที่จะให้รูปการปกครองที่ตนสร้างขึ้นมั่นคงถาวรอยู่ชั่วกาลนาน แม้จะยอมให้แก้ไขในเรื่องอื่นๆ ได้ก็ดี โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญห้ามมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในทางที่เกี่ยวกับรูปการปกครองของประเทศ เช่น ตามมาตรา 90 ของรัฐธรรมนูญบราซิล ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1981 หลังจากที่ได้กล่าวถึงหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วได้ห้ามไว้ว่า ไม่ให้แก้รูปการปกครองแบบสาธารณรัฐและแบบสหพันธ์ของประเทศ รัฐธรรมนูญโปรตุเกส ลงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1911 ได้กล่าวไว้ในมาตรา 82 ว่า ห้ามมิให้เสนอแก้ไขรูปการปกครองแบบสาธารณรัฐของประเทศ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับก่อน ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎหมายลงวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.1884 มาตรา 2 มีว่า "รูปการปกครองแบบสาธารณรัฐของฝรั่งเศสนั้น ไม่อาจจะเป็นวัตถุประสงค์แห่งการเสนอขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้" ทั้งนี้ก็เพราะในเวลานั้นพวกนิยมสาธารณรัฐเป็นฝ่ายมีเสียงข้างมากในสภามากขึ้น และเพื่อที่จะป้องกันมิให้กลับไปมีพระมหากษัตริย์ปกครองอีกก็เลยรีบฉวยโอกาสขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยบัญญัติถ้อยคำเหล่านี้ลงไปทันที (หน้า 427) นักเรียนกฎหมาย : แล้วบทบัญญัติในลักษณะเช่นนี้มีผลผูกพันในทางรัฐธรรมนูญโดยห้ามเป็นการแก้ไขในส่วนเหล่านี้อย่างเด็ดขาดเลยใช่หรือไม่ ไพโรจน์ ชัยนาม : ทั้งนี้เป็นความจริงว่าบทบัญญัติเหล่านี้เพียงแต่เป็นสิ่งแสดงความปรารถนาของผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญให้บุคคลรุ่นหลังๆ ทราบเท่านั้น แต่หาได้มีค่าในทางกฎหมายเป็นการบังคับให้พวกเหล่านี้พึงปฏิบัติตามไม่ (หน้า 427) นักเรียนกฎหมาย : เนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดข้อถกเถียงว่าในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่อยู่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ อาจารย์มีความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไร ไพโรจน์ ชัยนาม : การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกใช้แทนฉบับเก่านั้นย่อมจะทำได้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม แต่บางทีรัฐธรรมนูญหนึ่งก็มีบทบัญญัติกล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ทั้งฉบับไว้ (การยกเลิก) โดยเรียบร้อย นอกจากนี้อาจมีการตั้ง "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" ขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรได้เลือกตั้งมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ใหม่ (หน้า 438) นักเรียนกฎหมาย : แต่ได้มีข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นแต่เพียงอนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นบางมาตรา ไม่ได้หมายความให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้แต่อย่างใด ไพโรจน์ ชัยนาม : อย่างไรก็ดี การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งนั้นอาจทำได้เสมอ แม้เมื่อไม่มีบทบัญญัติกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเรา คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินไทยชั่วคราว ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 แม้จะไม่มีบทบัญญัติบอกวิธีแก้ไขเพิ่มเติม หรือวิธียกเลิกตัวเองไว้ก็ดี ก็ได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เพราะเมื่อได้มีสภาผู้แทนราษฎรขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งไปร่างรัฐธรรมนูญมาเสนอ เมื่อสภาได้ลงมติให้ใช้แล้ว ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ต่อไป รัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ก็เช่นกัน ได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 (ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2492) (หน้า 438-439) นักเรียนกฎหมาย : อาจารย์มีสิ่งใดจะฝากไว้ให้พิจารณาสำหรับกรณีความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไพโรจน์ ชัยนาม : ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ อาจสรุปลงได้ว่า 1.รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้ 2.การแก้ไขเพิ่มเติมนั้น จะทำได้ทุกๆ ส่วนของรัฐธรรมนูญตามความจำเป็น 3.การแก้ไขเพิ่มเติมจะทำได้ทุกขณะไม่ว่าเวลาใด 4.การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องเป็นไปตามวิธีการที่รัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติไว้ (หากมี) (หน้า 429) โปรดพึงตระหนักว่าท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อ พ.ศ.2537 ก่อนหน้าที่จะปรากฏความขัดแย้งระหว่างไพร่/อำมาตย์ หรือเสื้อเหลือง/เสื้อแดง จึงหวังว่าจะไม่มีบุคคลใดกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยว่า ศ.ไพโรจน์ให้ความเห็นเข้าข้างทางฝ่ายเสื้อแดง หรือกล่าวหาว่าท่านเป็น "ปัญญาชนเสื้่อแดง" ดังที่มักชอบกระทำกับบุคคลที่ได้แสดงความเห็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของทางฝ่ายเสื้อแดงอยู่เนืองๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล
คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊คhttp://fb.me/Prachatai
| |
http://redusala.blogspot.com
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)