วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

กำเนิดรัตนโกสินทร์
กำเนิดรัตนโกสินทร์

ตอนที่ 1



ตอนที่ 2



ตอนที่ 3



ตอนที่ 4



ตอนที่ 5




http://redusala.blogspot.com
ชักจะเวอร์ไปใหญ่แล้ว ไอ้วู๊ดดี้

โต้ ว.วชิรเมธี กรณีให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘วู๊ดดีัเกิดมาคุย’

โดย อติเทพ ไชยสิทธิ์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยปกตินั้นผู้เขียนไม่ได้ติดตามรายการทางโทรทัศน์ หากแต่มีโอกาสได้เห็นเรื่องนี้ เนื่องจากมิตรท่านหนึ่งได้นำข้อความมาให้ดู เป็นบทสัมภาษณ์ระหว่างคุณวู๊ดดี้ และ ว.วชิรเมธี ในรายการ ‘วู๊ดดี้เกิดมาคุย’ ขอให้ผู้อ่าน ลองอ่านอย่างละเอียด เพื่อจะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุและผลของศาสนาจารย์ผู้นี้ ว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร, ผู้เขียนขอยกข้อความมาเพียงส่วนหนึ่ง เฉพาะส่วนที่ส่งผลให้ต้องเขียนบทความนี้;
…………………………………..
วู้ดดี้ : พระบางองค์นั่งสมาธิแล้วสามารถที่จะลอยได้ หรือมนุษย์เราสามารถที่จะลอยได้ ถ้าเกิดเรานั่งสมาธิขั้นสูงๆ แล้วมันมีจริงมั้ย
ว.วชิรเมธี : ในทัศนะพระอาจารย์นี่เป็นเรื่องธรรมดามาก

เทปรายการวู๊ดดี้เกิดมาคุยตอนสัมภาษณ์ ว. วชิรเมธี ดูเทปที่เหลือทั้งหมดได้ที่ เทป 2/4เทป 3/4เทป 4/4; บทสัมภาษณ์ที่ถูกอ้างถึงในบทความมีการตัดออกจากเทปทั้ง 4 เทป แต่วู๊ดดี้ได้นำมาออกรายการในภายหลัง อ่านการถอดเทปทั้งหมดได้ที่นี่
วู้ดดี้ : การลอยตัวนี่เหรอ
ว.วชิรเมธี : เป็นเรื่องธรรมดาที่สุดและเป็นเรื่องที่ในแวดวงปฏิบัติแทบไม่พูดถึงเพราะว่ามันไม่มีราคาที่จะให้พูดถึง
วู้ดดี้ : แต่อาจารย์เชื่อว่ามี
ว.วชิรเมธี : มันเป็นเรื่องธรรมดา ทำไมเราจะทำไม่ได้ มนุษย์สมัยก่อนเขาไม่ได้เดินทางโดยเครื่องบินนะ เขาเหาะเหินเดินหาวเพราะจิตเขาวิวัฒนาการสูงสุด เขาไม่ต้องใช้วัตถุมารองรับกายเลยนะ
วู้ดดี้ : จริงเหรอฮะ
ว.วชิรเมธี : เขาเหาะไปเลย ไปไหนมาไหนเขาเหาะไป พุทธจิตมันมีอำนาจขนาดนั้น ใช่มั้ย
วู้ดดี้ : แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์มันเป็นไปไม่ได้
ว.วชิรเมธี : แล้วคุณคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นใครล่ะ พอวิทยาศาสตร์บอกว่าไม่ได้ก็คือไม่ได้ใช่มั้ย วิทยาศาสตร์มันยิ่งใหญ่ขนาดนั้นเลยเหรอ
วู้ดดี้ : แต่มันไม่มีข้อพิสูจน์นี่ครับพระอาจารย์ มันไม่มีข้อพิสูจน์ เราไม่เคยเห็นใครในอดีตที่สามารถเหาะได้
ว.วชิรเมธี : สิ่งที่ยังไม่ได้พิสูจน์เราสรุปว่ามันไม่มีได้มั้ย
วู้ดดี้ : ไม่ได้
ว.วชิรเมธี : ใช่ เพราะฉะนั้นอย่างมงายในวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง
วู้ดดี้ : ผมเคยได้ยินว่าอย่างมงายในไสยศาสตร์ แต่วันนี้ท่านบอกว่าอย่างมงายในวิทยาศาสตร์
ว.วชิรเมธี : ก็มีแต่คนไทยบางคนเท่านั้นแหละที่พูดว่าถ้าพุทธอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แล้วมันจะต่ำต้อย จึงไปพยายามเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายพุทธศาสนาเสียใหญ่โต บางทียิ่งทำยิ่งฉุดพุทธศาสนาให้ต่ำลง เพราะวิทยาศาสตร์เพิ่งเกิดเมื่อวานนี้ ในขณะที่พุทธศาสนาเกิดมาแล้วตลอดเวลา อยู่ในโลกนี้ไม่เคยไปไหน
(เน้นข้อความโดยผู้เขียน)
…………………………………..
ส่วนที่เน้นข้อความเป็นส่วนที่ผู้เขียนให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเมื่อได้ลองค้นในอินเทอร์เน็ท ว่าผู้คนทั่วไปให้ผลตอบรับกับการสัมภาษณ์นั้นอย่างไร ก็มีความคิดเห็นหลายอันที่พยายามจะบอกว่า สิ่งที่ ว.วชิรเมธีกล่าวถึงคือ “การถอดจิต” หรือการใช้ “กายละเอียด” ไม่ใช่การเหาะไปด้วย “กายเนื้อ” แต่ถ้าได้อ่านส่วนที่เน้นข้อความหนาดีๆ ก็จะเห็นว่าพิธีกรได้ถามซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วยว่า “ลอยตัวนี่เหรอ?” ซึ่งมันก็แน่ชัดแล้วว่าหมายถึงการที่กายหยาบ หรือร่างกายนี่ลอยขึ้นได้? ไม่ใช่การถอดจิตอะไรนั่นที่พยายามจะเบี่ยงเบนประเด็นเพื่อทำให้คำตอบของว. วชิรเมธีดูเข้าท่ามากขึ้น นอกจากนี้ตัวว.วชิรเมธีเองก็ยังเสริมเข้าไปอีกว่า“คนในสมัยก่อนสามารถเหาะเหินเดินหาวได้ หากว่าจิตวิวัฒนาการสูงสุด”
ผู้เขียนไม่มีปัญหา และยอมรับได้ “ระดับหนึ่ง” เกี่ยวกับการกล่าวอ้างถึงสิ่งที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับเรื่องมนุษย์ต่างดาว หรือสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา หากมีใครถามว่าผู้เขียนคิดว่ามีหรือไม่ คำตอบก็เช่นเดียวกันคือ “เป็นไปได้” เพราะวิทยาศาสตร์อยู่บนฐานของความ “เป็นไปได้” และความ “น่าจะเป็น” เราไม่มี “ความจริงสูงสุด” หรือ “ปรมัตสัจจะ (Absolute truth)” เรามีเพียง“ความถูกต้องเชิงสัมพัทธ์” คือความถูกต้องบนเงื่อนไข หรือกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมันแตกต่างตรงที่ศาสนานั้น ถือเอาว่า “ความรู้ของตน” สิ่งที่ตน “สั่งสอน” คือ “ความจริงอันสูงสุด” หรือ “ปรมัตสัจจะ (Absolute truth)” หากแต่อะไรที่ขัดกับความจริงสูงสุดนี้ ล้วนเป็นความเข้าใจ “เป็นความรู้ที่ผิด!” (มิจฉาทิฐิ)
ผู้เขียนตอบย้ำอีกครั้งว่า “เป็นไปได้” ที่มนุษย์จะสามารถเหาะเหินเดินหาว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่อง “มนุษย์เหาะเหินเดินหาว” ทุกอันจะมีความเป็นไปได้ เนื่องจากมันสามารถใช้หลัก“เหตุผลแบบย้อนแย้ง” ด้วยข้อมูลของตัวสมมติฐานนั้นเองมาหักล้าง หากว่าสมมติฐานนั้นมีข้อบกพร่อง และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ วิทยาศาสตร์บอกเสมอว่า สิ่งที่คุณคิดมีโอกาสถูกนะ แต่ศาสนาไม่เคยให้โอกาสให้คุณได้ “ถูก” เลย หากว่าความคิดนั้นขัดแย้งกับหลักศาสนา!
นั่นหมายความว่า วิทยาศาสตร์จะบอกแก่คุณว่า …”เป็นไปได้นะที่มนุษย์จะเหาะเหินเดินหาวด้วย วิธีการวิธีใดวิธีหนึ่ง“…แต่ศาสนาจะบอกแก่คุณว่า …”มนุษย์เหาะได้นะ หากฝึกจิตถึงระดับหนึ่งแล้ว”…
นี่คือความแตกต่างที่ต้องเข้าใจให้ชัด!
สิ่งที่ ว. วชิรเมธีผิดพลาดอย่างมากในทางการให้เหตุผล แต่อาจจะเป็นเรื่องที่รับได้และน่าสรรเสริญในโลกศาสนา คือการใช้หลักเหตุผลที่ว่า “ถ้าวิทยาศาสตร์พิสูจน์เรื่องมนุษย์เหาะไม่ได้แล้ว มนุษย์เหาะได้จริงๆ”

ส่วนนี้ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าจะเถียงเขาได้อย่างไร เนื่องจากศาสนาก็บอกอยู่แล้วว่าสิ่งที่เขาสั่งสอนเป็นความจริงสูงสุด!

แต่สิ่งที่ผมพอจะทราบก็คือ หลักฐานอื่นใดของการเหาะได้ในมนุษย์ของศาสนาพุทธที่พอจะเชื่อถือได้ “ไม่มีเลย” ยกเว้นกับการเล่นคำในทำนอง “วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ ดังนั้นความคิดของฉันจึงเป็นจริงเสมอ” ขอให้สังเกตเถิดว่าชาวพุทธหลายๆส่วน ที่โต้แย้งเรื่องนี้ จะให้เหตุผลในทำนองนี้ทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคที่ผู้เขียนขนานนามว่า “ความสามารถในการให้เหตุผลบกพร่อง”
สำหรับคำกล่าวของว.วชิรเมธีที่ว่า “วิทยาศาสตร์เพิ่งเกิดเมื่อวานนี้ ในขณะที่พุทธศาสนาเกิดมาแล้วตลอดเวลา อยู่ในโลกนี้ไม่เคยไปไหน” ช่างคล้ายคลึงกับสิ่งที่นักบวชคาร์เมอเลโญในเรื่อง ‘เทวากับซาตาน’ กล่าวว่า “Science and religion are not enemies! There are simply some things that science is just too young to understand.”

(วิทยาศาสตร์และศาสนามิใช่ศัตรูกัน หากทว่าวิทยาศาสตร์นั้นเพียงอ่อนเยาว์เกินกว่าจะเข้าใจ)

คำกล่าวนี้ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนทัศนคติ “ความจริงของฉันสูงสุด” ได้อย่างชัดแจ้งทีเดียว ในแต่ละศาสนาต่างก็มี “อภิมหาตำนาน” หรือ “อภิมหาวาทกรรม” อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อปรับให้ตนเองอยู่รอดได้ในโลกปัจจุบัน ที่คนจำนวนมากเริ่มตั้งคำถามอย่างวิทยาศาสตร์ ศาสนาพุทธเองก็มีวาทกรรมที่เชื่อว่า “พระพุทธเจ้ารู้ทุกอย่างในจักรวาล และรู้ทุกอย่างมาก่อนแล้วโดยเฉพาะเรื่องที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันกำลังสนใจกัน” พูดง่ายๆว่า “พระพุทธเจ้ารู้หมดแล้ว” วาทกรรมพวกนี้ถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือหลายต่อหลายเล่ม และถูกใจต่อ “ชนชั้นกลางทั่วไป” อย่างยิ่ง

ปัญหาของเรื่องนี้ คือการพูดข้อมูลข้างเดียว หรือไม่ก็ขาดความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง นอกไปจากนี้ในรายที่โยงพุทธศาสนาว่าเหนือกว่าวิทยาศาสตร์ ก็ยังมีความเข้าใจผิดพลาดทำให้กลายเป็นการบิดเบือนทั้งวิทยาศาสตร์และศาสนา ไปพร้อมๆกัน สิ่งที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ ความรู้หลายๆ อย่างที่กล่าวอ้างกันว่า“พระพุทธเจ้ารู้หมดแล้ว” นั้น เป็นสิ่งที่มีแนวคิดมาก่อน หรือร่วมสมัยกับพุทธกาลอยู่แล้วทั้งสิ้น คือมีการสั่งสอน พูดคุย ถกเถียง นำเสนออยู่อย่างธรรมดามากๆ ผู้เขียนจึงต้องขอฝากในที่นี้ว่าการค้นคว้าหาความรู้ที่ถูกต้องเป็นเรื่อง สำคัญ และขาดไม่ได้
ท้ายนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อมีคนอ่าน อาจจะมีพวกที่มาแสดงความคิดเห็นในทำนอง “คุณเคยเห็นอิเล็กตรอนไหม อะตอมเคยเห็นไหม อากาศเคยเห็นไหม แล้วคุณเชื่อได้อย่างไร” จะต้องขอตอบให้ชัดและง่ายๆว่า

วิทยาศาสตร์ คือ “การใช้ข้อจำกัดของอายตนะ ทั้ง 5 เพื่อหาความจริง” (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ซึ่งคำว่ารูปไม่ได้แปลว่า “ต้องมองเห็น” แต่แปลว่า “สามารถวัดได้” แม้ว่าบางอย่างเช่นอะตอมเราจะเห็นได้แล้ว แต่ก็มีหลายอย่างที่เราไม่ได้เห็นโดยตรง แต่เราเห็นเพียงสมบัติ หรือข้อมูลบางอย่างที่สามารถ “วัดได้” “พิสูจน์ได้” นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นสิ่งยืนยันถึงความมีอยู่จริง หรือดำรงอยู่ของสิ่งเหล่านั้น
ท้ายที่สุดขอฝากคำกล่าวของสมณโคดมแห่งศากยบุตร ไว้เตือนใจศาสนิกทั้งหลายด้วยว่า
….” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุนเคืองไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น
เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคืองหรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง
ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่ใส่ใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ จะรู้ได้ละหรือว่า คำกล่าวของคนเหล่าอื่นนั้น เป็นคำกล่าวที่ดี หรือไม่ดี?
…”ไม่ทราบพระเจ้าข้า”…
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย พึงชี้แจงเรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ให้เขาเห็นว่า ข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเราข้อนั้นไม่ปรากฎในพวกเรา ดังนี้”…..
พรหมชาลสูตร 9/3
จาก http://www.siamintelligence.com/wor_watchira_methee_debate/
http://redusala.blogspot.com
ตาสว่างบ้างเถิด บักหำ สันเสิน แก๊งส์กำหนัด

จดหมายเปิดผนึกถึง พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด และกองทัพบก

http://sewanaietv.blogspot.com/2011/04/blog-post_15.html

     จดหมายเปิดผนึกถึง พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด และกองทัพบก : การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ไม่ใช่ ‘ความคิดประหลาด’ แต่การเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ หรือหาข้อพิสูจน์ได้นี่ต่างหาก คือความคิดที่ประหลาดที่สุด

โดย:อติเทพ ไชยสิทธิ์

ภาพประกอบ : “เทพีแห่งเสรีภาพใช้คฑาแห่งเหตุผลทำลายล้างปีศาจแห่งความโง่เขลา และความลุ่มหลง” (Liberty Armed with the Sceptre of Reason Striking Down Ignorance and Fanaticism) ภาพวาดบนผืนผ้าใบ ในปี 1793 โดย ซีมง ลุยส์ บัวซอท (Simon Louis Boizot)


“…การเปลี่ยนแปลงที่หนึ่งพันปีได้สะสมไว้
อาจน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นในหนึ่งศตวรรษ
สิ่งที่ไม่อาจเกิดได้ในศตวรรษหนึ่งที่แล้วมา
อาจก่อเกิดได้ในชั่วทศวรรษของศตวรรษปัจจุบัน
โอ กาลเวลาที่น่าเกรงขาม กาลเวลาที่เปิดโปงอดีต
กาลเวลาที่กำความลึกลับของอนาคต
และบางทีก็ชี้แนะอนาคต
กาลเวลาผู้เป็นมหาครู…”

แลไปข้างหน้า ภาคปฐมวัย, กุหลาย สายประดิษฐ์

ในฐานะพลเมืองของประเทศซึ่งปกครองตามระบอบประชาธิปไตย(ที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ) การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ หรือหาข้อพิสูจน์ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ไม่ใช่ ‘ความคิดประหลาด’ นี่แทบจะถือได้ว่าเป็น ‘ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ’ตามระบอบประชาธิปไตย ที่มี ‘ธรรมชาติแห่งรัฐ’คือการเปิดให้พลเมืองสามารถตรวจสอบสถาบันทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ตามสิทธิ และเสรีภาพอันสมควร ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของผู้อื่น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลในสถาบันทางการเมือง เช่น สถาบันกษัตริย์ ย่อมต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อการวิพากษ์วิจารณ์ให้สูงขึ้นกว่าพลเมืองธรรมดาทั่วไปเสียอีก เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของตน ย่อมเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างขาดเสียมิได้ คุณงามความดี หรือกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะทำมามากเพียงใด ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลหักล้างการวิพากษ์วิจารณ์บทบาททางการเมืองของบุคคลในสถาบันกษัตริย์ได้ เพราะย่อมไม่มีใครอยู่เลยพ้นการตรวจสอบ ด้วยเหตุผลของการทำงานหนัก หรือเป็นที่เคารพสักการะของพลเมือง 

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างตน สิ่งที่น่ากังขากว่าการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ก็คือความคิดและความเชื่อถือต่อสิ่งที่ไม่สามารถตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ หรือหาข้อพิสูจน์ได้นี่ต่างหาก ที่เป็น ‘ความคิดอันประหลาดที่สุด’ และความคิดประเภทที่อ้างว่าบุคคลในสถาบันกษัตริย์ทำงานหนัก แล้วย่อมอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์นี่ต่างหาก ที่เป็นความคิดซึ่งต้องถูกท้าทายว่า ผ่านการคิดวิเคราะห์มาดีแล้วหรือไม่ 

ทั้งนี้ อาจจะยังไม่ต้องไปถึงคำถามที่ลึกซึ้งกว่า นั่นคือการอ้างว่าบุคคลในสถาบันกษัตริย์ทำงานหนัก อย่างนั้น อย่างนี้ – เราจะสามารถพิสูจน์ได้อย่างไร ถ้าการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และหาข้อพิสูจน์ ยังเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ทำได้ ในประเทศที่เรียกตัวเองว่า ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ นี้ ?

หลักการ ‘อันล่วงละเมิดมิได้’ ของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีรากฐานความคิดคนละชุดกับหลักการอันเดียวกันในระบอบกษัตริย์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักการอย่างแรกนั้น วางอยู่บนความคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์ย่อมต้องอยู่เหนือการเมือง กษัตริย์ไม่อาจทำผิด เนื่องเพราะกษัตริย์ไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำสิ่งใดโดยตนเองตามลำพัง การกระทำในนามของสถาบันกษัตริย์ย่อมต้องได้รับการอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี หรือประธานสภา เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ 

กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ดำรงอยู่ในความล่วงละเมิดมิได้ ก็เพราะความเป็นกลางทางการเมือง กษัตริย์ไม่อาจเลือกข้าง เพราะการเลือกข้างย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในหมู่พลเมือง การกระทำใดในนามของกษัตริย์ด้วยตนเองตามลำพัง ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมให้เกิดขึ้นได้ในระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลักการทั้งหลายนี้ ครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นๆ ในสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ และองคมนตรี 

สถาบันกษัตริย์ย่อมต้องแสดงความเป็นเอกภาพของชาติ ราชบัลลังค์สถิตสถาพรอยู่ได้ ก็ด้วยการเป็นตัวแทนความรู้สึกนึกคิดของพลเมืองทั้งหลายในชาติ เมื่อบุคคลในสถาบันกษัตริย์เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดแห่งตน ย่อมต้องเกิดความแตกต่างจากพลเมืองบางส่วนไม่มาก ก็น้อย เมื่อนั้นสถาบันกษัตริย์ย่อมไม่อาจเป็นตัวแทนความบูรณาภาพของชาติ เมื่อความรู้สึกนึกคิดส่วนตนถูกเปิดเผยออกและเป็นประโยชน์กับเฉพาะคนบางกลุ่ม ไม่ใช่ด้วยประโยชน์ของพลเมืองทุกคน หลักความหยั่งถึงมิได้และหลักความเป็นกลางทางการเมืองก็ขาดสะบั้นลง เมื่อนั้นหลักความละเมิดมิได้ของสถาบันกษัตริย์ย่อมถูกงดเว้นไปด้วย เมื่อนั้นบุคคลในสถาบันกษัตริย์ก็ไม่อาจเป็นสถาบันกษัตริย์ เพราะพวกเขาจะกลับกลายเป็นเพียง นาย ก. หรือ นาง ข.

หลักการ ‘อันล่วงละเมิดมิได้’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับหลักการเดียวกันในระบอบประชาธิปไตย หลักการอย่างหลังนี้นั้น วางอยู่บนความคิดที่ว่า กษัตริย์เป็นฉายาของเทพเจ้าในร่างมนุษย์ ความรู้สึกนึกคิดของกษัตริย์แสดงความรู้สึกนึกคิดอย่างเดียวกันกับของเทพเจ้า ด้วยเหตุนี้กษัตริย์จึงดำรงเทวสิทธิ์แห่งสรวงสวรรค์ การตัดสินใจของกษัตริย์คือการตัดสินใจของเทพเจ้า กษัตริย์ย่อมล่วงละเมิดมิได้ เพราะการตัดสินใจของเทพเจ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ การขัดขืนต่อเทวสิทธิ์และอำนาจของกษัตริย์ คือการขัดขืนต่อธรรมชาติและต่อเทพเจ้า 

ในระบอบกษัตริย์ สามัญชนผู้อยู่ใต้การปกครองมีสิ่งเดียวที่ควรจะทำ คือการไม่ตั้งคำถามต่ออำนาจ และความล่วงละเมิดมิได้นี้ สามัญชนมีหน้าที่ทำงานรับใช้กษัตริย์ ซึ่งเป็นครรลองอย่างเดียวของมนุษย์ที่ควรจะเป็น ความคิดที่จะตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ หรือหาข้อพิสูจน์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เป็น ‘ความคิดประหลาด’ และการท้าทายเทพเจ้าเช่นนี้ ย่อมสมควรได้รับโทษทัณฑ์  

ด้วยเหตุนี้ สถาบันกษัตริย์ในระบอบโบราณ จึงไม่ได้ถูกเทอดทูนให้เป็นที่เคารพสักการะ และละเมิดมิได้ ด้วยเหตุของความเป็นกลางทางการเมือง แต่ด้วยเหตุแห่งชาติกำเนิด ที่เกิดมาสืบทอดสายเลือดของเทพเจ้าบนพื้นพิภพ คำถามมีแต่เพียงสั้นๆ ว่า หลักการ ‘อันล่วงละเมิดมิได้’ แบบระบอบกษัตริย์ หรือ แบบระบอบประชาธิปไตย ที่ครอบงำวิธีคิดของบุคคลากรในกองทัพ รวมทั้งสังคมไทยเองด้วย? ตกลงเราอยู่ในระบอบใด ระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบกษัตริย์เป็นประมุขที่มีประชาธิปไตยเป็นคำขยาย ?

ไม่ใช่เหล่าพลเมืองหรอกที่จะต้องระวังรักษาคำพูดของตนมิให้กระทบกระเทือนสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นบุคคลในสถาบันกษัตริย์เองที่จะต้องระมัดระวังการปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในความเป็นกลางทางการเมือง  การที่สถาบันกษัตริย์รักษาระยะห่างระหว่างตนเองกับการเมือง ย่อมเกิดผลดีกับระบอบประชาธิปไตย การแสดงความคิดเห็นส่วนตนที่กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกนึกคิดของพลเมืองและให้ประโยชน์แก่กลุ่มก้อนทางการเมืองบางกลุ่มย่อมเป็นการปฏิบัติที่ควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ 

การคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสมในขณะนี้ และในประเทศนี้ คือการตรวจสอบการปฏิบัติตนของบุคคลในสถาบันกษัตริย์ ไม่ใช่การจับตามองพลเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ชี้หน้ากราดว่าเป็นบุคคลที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างนั้น อย่างนี้ และสมควรถูกลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง 

น่าประหลาดมากกว่าหรือไม่ ที่คนซึ่งมีสติสัมปชัญญะสมประกอบ และมีสติปัญญาจำนวนมากยังเห็นว่าการจับกุมคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นั้น เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และในโลกสมัยใหม่ที่เห็นคุณค่าของสิทธิมนุษยชน มากกว่าสิทธิของอภิสิทธิ์ชน แต่อาจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะพวกอภิสิทธิ์ชนทั้งหลาย มักสบสนระหว่าง ‘สิทธิ’ และ ‘อภิสิทธิ์’ – คนพวกนี้เชื่อใน ‘สิทธิ’ แต่เป็นสิทธิที่จะอยู่เหนือกฎหมาย, สิทธิที่จะอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์, สิทธิที่จะแทรกแซงการเมือง และ สิทธิที่จะทำอะไรโดยไม่ผิด – เมื่อประชาชนพากันประท้วง ‘สิทธิ์อันเหนือว่าสิทธิ์’ นี้ พวกอภิสิทธิ์ชนเหล่านั้นก็พากันคิดว่าตนกำลังถูกละเมิดสิทธิ์อันมีมาแต่กำเนิดโดยชอบธรรม และพากันกอดรัดกฎหมายซึ่งปกป้องอภิสิทธิ์ของตนเอาไว้อย่างหนาแน่น ถ้าอภิสิทธิ์ชนทั้งหลาย ไม่ยอมปล่อยมือจากกฎหมายดังกล่าว ผลที่ตามมาอาจรุนแรงอย่างที่ไม่เคยคาดคิดฝันมาก่อน

ท้ายที่สุด ผมขอจบจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ลง ด้วยวรรคหนึ่งจากหนังสือแลไปข้างหน้า ภาคปัจฉิมวัยของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ – 

“เราไม่ต้องการยิงกับใครด้วยกระสุนเหล็กและด้วยการใช้อำนาจข่มขู่ผู้อื่น แต่เราจะยิงต่อไปด้วยกระสุนแห่งถ้อยคำและเหตุผลจนกว่าเราจะล้มลงและหมดกำลัง เรายิงเพื่อความถูกต้องชอบธรรม” 

– แน่นอนว่าผมไม่มีอำนาจ มีเพียงแต่กระสุนแห่งถ้อยคำและเหตุผลเท่านั้น ผมจะยิงมันต่อไป เพื่อความถูกต้องชอบธรรม ผมยังมีความหวังว่า เมื่อผมล้มลง และหมดกำลัง จะยังมีพลเมืองผู้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ ผลิตกระสุนแห่งถ้อยคำและเหตุผลนี้ต่อไป จนกว่าเราจะเห็นประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
ราษฎรจงเจริญ

http://redusala.blogspot.com
แม่หยัวเมือง แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เลวจริงหรือ
ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์
ลุงคำต๋า........

     ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นพระสนมเอกของพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอยุธยา ทรงเป็นพระราชมารดาของพระยอดฟ้า กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา และทรงเป็นพระมเหสีของขุนวรวงศาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 15 แห่งอยุธยา

     แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เป็นเพียงพระนามที่ระบุว่าในพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา และ แม่ยั่วศรีสุดา ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ และพระนาม “ศรีสุดาจันทร์” ไม่ใช่พระนามจริงของพระองค์แต่เป็นชื่อตำแหน่งสนมเอกของกษัตริย์อยุธยตามที่ปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ของกฎหมายตราสามดวงระบุว่า “นางท้าวสนมเอกทั้ง 4 คือ ท้าวสุเรนทร ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”

     พระไชยราชาธิราช ซึ่งขึ้นบัลลังก์กษัตริย์อยุธยา โดยการ “ยึดอำนาจ” จากพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์องค์ที่ 12 ที่มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา ถูกยึดอำนาจหลังการครองราชย์ได้ 5 เดือน และถูกนำตัวไปสำเร็จโทษ การยึดอำนาจครั้งนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนสายครองราชของโอรสของพระรามาธิบดีที่ 2 เท่านั้น คือ จากสายของ “เจ้าฟ้า” (พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร กษัตริย์องค์ที่ 11 ซึ่งมีพระโอรสคือพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์ที่ 12 มาเป็นสาย “โอรส” อันเกิดแต่พระสนมก็คือ พระไชยราชาธิราช)

     สมัยของพระไชยราชาธิราชเป็นยุคสมัยที่การค้ากับต่างประเทศเริ่มเฟื่องฟู ดังจะเห็นจากการการขุดคลองลัดบางกอก การมี ชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสา หรือ ทหารรักษาพระองค์ และยังเป็นยุคสมัยที่เปิดฉากสงครามครั้งแรกกับพม่าในกรณีปัญหาหัวเมืองมอญ คือศึกเชียงกราน

     การขึ้นครองราชย์ของพระยอดฟ้า ซึ้งเป็นโอรสที่เกิดแก่พระสนมเอก “ศรีสุดาจันทร์” เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ในช่วงที่พระสนมเอก “ศรีสุดาจันทร์” มีสถานะเป็น “นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์”

     พระยอดฟ้า กษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ครองราชสมบัติโดยมี พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ จึงได้ “ราชาภิเษกขุนวรวงศาขึ้นเป็นเจ้าพิภพ” เป็นกษัตริย์องค์ที่ 15 ของอยุธยา

     หลังขุนวรวงศาได้เป็นกษัตริย์จึงเกิดเหตุการณ์นำเอาพระยอดฟ้าที่ยังทรงพระเยาว์ไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา

ขุนวรวงศาธิราชเป็นคนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือแว่นแคว้นสุโขทัย การปรากฏตัวของขุนวรวงศาธิราชในนาม “พันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ(ข้างหน้า)” ในพระราชวัง และมีสื่อสัมพันธ์กับพระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์โดยผ่านสัญลักษณ์ “เมี่ยง” และ “ดอกจำปา” กระทั่งได้รับการเปลี่ยนให้เป็น “ขุนชินราช” ตำแหน่งผู้ “รักษาหอพระข้างใน” ซึ่งการที่ “หอพระข้างใน”พระราชวังหลวงมีตำแหน่ง “ขุนชินราช” 

     ขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์อยู่ 45 วัน หลังจากถูกยึดอำนาจ ทั้ง ขุนวรวงศาธิราช พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชนัดดาที่มีพระชนม์ 1-2 พรรษา ทั้งสามพระองค์ถูกฝ่ายยึดอำนาจ “ฆ่าแล้วเอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง 

     ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพและคณะผู้ยึดอำนาจได้ถวายบัลลังก์คืนแก่ “พระเทียนราชา” เชื้อพระวงศ์สุพรรณบุรี ซึ่งก็คือ พระมหาจักรพรรดิสำหรับ “พระศรีศิลป์” โอรสอีกพระองค์ของ พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชนั้นจะถูกประหารชีววิตในระยะถัดมาในข้อหาซ่องสุมคิดกบฎต่อพระมหาจักรพรรดิ (พระมหาจักรพรรดิทรงเลี้ยงพระศรีศิลป์ไว้ 13-14 ปี) จึงจบวงศ์ของพระแม่เจ้าอยู่หัวสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชและขุนวรวงศาธิราช

*****************************

ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว
คัดลอกจาก บทบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 
ปีที่ 20 ฉบับที่ 10 , สิงหาคม 2542 โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

ประวัติศาสาตร์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยายังคลุมเครือเพราะมีหลักฐานไม่มากพอที่จะเชื่อถือได้ ดังเรื่องราวของขุนวรวงศาธิราชกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ 


แรกเริ่มเดิมที พระนครศรีอยุธยายังมิได้เป็นศูนย์รวมอำนาจการปกครองแผ่นดินอย่างแท้จริง เพราะอำนาจกระจายอยู่ที่บรรดาเจ้าเมืองสำคัญ ๆ โดยเฉพาะเจ้าเมืองลูกหลวงและหลานหลวงที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพรญาติพระวงศ์ไปปกครอง เมื่อสิ้นรัชกาลก็มักเกิดการแย่งชิงอำนาจกันในกลุ่มเจ้านายที่เป็นเจ้าเมืองใหญ่ ๆ เหล่านั้น ดังกรณีเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ทรงปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ด้วยการดึงอำนาจการปกครองแผ่นดินมาไว้ที่ส่วนกลางคือราชธานีพระนครศรีอยุธยา โดยยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายและพระราชวงศ์ไปให้ไปปกครองหัวเมืองสำคัญดังแต่ก่อน แล้วตราข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในพระนคร

ส่วนการปกครองหัวเมืองทรงแต่งตั้งให้ขุนนางจากส่วนกลางออกไปปกครอง บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและไม่มีสิทธิในการปกครองและบริหารอย่างเต็มที่เหมือนอย่างแต่ก่อน เพราะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ได้แก่บรรดาเจ้านายที่เคยมีอำนาจการปกครองเมืองสำคัญ ๆ มาก่อน เช่นเจ้านายฝ่ายแคว้นสุโขทัย เป็นต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจสืบเนื่องมาตลอดทุกรัชกาล

จนกระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2098) ทรงรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สำเร็จ แล้วยกเลิกให้กษัตริย์หรือเจ้านายไปครองเมืองเหนือ คือเมืองพิษณุโลก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เจ้านายและขุนนางจากเมืองสำคัญ ๆ ถูกเรียกตัวให้เข้าไปอยู่ในพระนครศรีอยุธยา เช่นขุนพิเรนทรเทพ ,ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ ฯลฯ บุคคลเหล่านี่ยอมอยู่ในอำนาจของสมเด็จพระไชยราชาธิราชแต่โดยดี เพราะทรงใช้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาด แต่ก็มีสำนึกตลอดเวลาว่าถ้ามีโอกาสก็จะกอบกู้เกียรติยศกลับคือนสู่บ้านเมืองเดิมของตน

 ในที่สุดโอกาสนั้นก็มาถึงเมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต แล้วท้าวศรีสุดาจันทร์ เรืองอำนาจว่าราชการแผ่นดินแทนสมเด็จพระยอดฟ้าที่ยังทรงพระเยาว์ ท้าวศรีสุดาจันทร์มีเป้าหมายทางการเมืองอย่างน้อย 2 อย่างคือ สืบทอดเจตนารมณ์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราชเรื่องการปกครองแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางที่พระนครศรีอยุธยาอย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งคือ ฟื้นฟูราชวงศ์ละโว้-อโยธยาที่ถูกราชวงศ์สุพรรณภูมิทำลานให้มีอำนาจดังเดิม เรื่องนี้น่าจะเป็นที่รับรู้กันลึก ๆ ในแวดวงเจ้านายและขุนนางครั้งนั้น ดังนั้นเมื่อพระไชยราชาธิราชสวรรคต พระเทียรราชาจึงต้องหนีภัยการเมืองด้วยการบวชเป็นภิกษ

 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปกครองมากที่สุดคือกลุ่มเจ้านายเมืองเหนือที่เป็นแคว้นสุโขทัยเดิม เพราะเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยถูกลดฐานะลงเป็นเพียงขุนนางอยู่ในพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะขุนพิเรนทรเทพที่พงศาวดารระบุว่า "บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราช" นอกจากนั้นยังมีพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกรวมอยู่ด้วย และต้องไม่ลืมว่าเจ้านายที่ได้รับพระนามภายหลังว่าพระสุริโยทัยก็อยู่ในกลุ่มนี้

พงศาวดารจดไว้อีกว่าเมื่อขุนวรวงศาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วยังให้เกณฑ์เจ้าเมืองเหนืออีก 7 เมืองที่ยังกระด้างกระเดื่องลงมาอยู่พระนครศรีอยุธยา ก็ยิ่งเพิ่มความเจ็บแค้นให้พวกหัวเมืองเหนือมากขึ้น และเท่ากับเพิ่มกำลังให้กับฝ่ายต่อต้านท้าวศรีสุดาจันทร์

ขุนพิเรนทรเทพเชื่อสายราชวงศ์สุโขทัย กับขุนอินทรเทพเชื้อสายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้นคิดสำคัญที่จะกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์ เพราะถ้าปล่อยให้เป้าหมายทางการเมือง 2 อย่างสัมฤทธิผล ก็เป็นอันว่าต้องอยู่ภายใต้อำนาจกรุงศรีอยุธยาต่อไปไม่มีวันกลับคืนไปฟื้นฟูบ้านเมืองดิม

ท้ายที่สุดก็กำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์กับพรรคพวกได้สำเร็จแล้วเชิญพระเทียรราชาชึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรด พงศาวดารจดว่า ขุนพิเรนทรเทพได้ความดีความชอบสูงสุดคือ ได้เกียรติและอำนาจคืนมาทั้งหมดเป็นสมเด็จพระมหาธรรมาราชาธิราช แล้วได้กลับไปครองเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นแว่นแค้วนสุโขทัยเดิมสมปรารถนา นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระสวัสดิราชธิดาเป็นพระอัครมเหสีแล้วถวายพระนามใหม่ว่าวิสุทธิกษัตรี

 ท้าวศรีสุดาจันทร์ไม่ใช่สามัญชนคนธรรมดา ส่วนจะมีชื่อตัวว่าอะไรไม่มีหลักฐาน แต่ชื่อ ศรีสุดาจันทร์ ไม่ใช่ชื่อตัว หากเป็นชื่อตำแหน่งสนมเอกคนหนึ่ง (ในสี่คน) ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และเป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับธิดานารีที่มีเชื้อสายเจ้านายราชวงศ์ ละโว้-อโยธยาเท่านั้น แม้ว่าราชวงศ์นี้จะหมดอำนาจไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ชาติตระกูลที่มีเชื้อสายราชวงศ์เก่ายังมีอยู่ และยังเป็นสัญญลักษ์ของการปกครองที่สืบมาแต่ยุคก่อน ๆ

หลักแหล่งของท้าวศรีสุดาจันทร์คงอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่มีเครือญาติสำคัญอยู่บริเวณลุ่มน้ำลพบุรี-ปาสัก อันเป็นบริเวณหัวใจของแคว้นละโว้มาแต่โบราณ เช่นที่เมืองลพบุรีและที่บ้านมหาโลก (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวังพระนครศรีอยุธยา)

ท้าวศรีสุดาจันทร์น่าจะเป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช มาตั้งแต่ยังไม่ได้รับราชสมบัติ เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ชาติตระกูลของนางคงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีได้ จึงเป็นเพียงสนมเอก และสมเด็จพระไชยราชาธิราชเองก็อาจจะไม่สถาปนาเชื้อพระวงศ์ผู้ใดขึ้นเป็นพระมเหสีด้วย ฉะนั้นเมื่อพระนางมีโอรสถึง 2 องค์ คือ พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป์ และสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์จึงทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์มีตำแห่งเป็น "แม่อยู่หัว" หรือ"แม่หยัวเมือง" ด้วย

เพราะเหตุที่เป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็คงตกอยู่ในความควบคุมของท้าวศรีสุดาจันทร์มากพอสมควร และคงเป็นที่รับรู้กันในราชสำนักด้วยในคำให้การชาวกรุงเก่าจึงเล่าว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดท้าวศรีสุดาจันทร์ มีรับสั่งให้เฝ้าอยู่ข้างพระที่มิได้ขาด ราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในต่าง ๆ ถ้าท้าวศรีสุดาจันทร์เพ็ดทูลคัดง้างอย่างไรแล้ว ก็ทรงเชื่อทั้งสิ้น

เมื่อพ่ายแพ้ทางการเมือง ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็ถูกพงศาวดารกล่าวหาว่า คบชู้ (คือขุนวรวงศาธิราช), ฆ่าผัว (คือสมเด็จพระไชยราชาธิราชา) , ฆ่าลูก (พระยอดฟ้า) แล้วยังข้อหาอื่น ๆ อีกมาก ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หมดข้อกล่าวหา และยังไม่มีใครเป็นทนายแก้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ นักประวัติศาสตร์และพงศาวดารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงไม่ยอมรับขุนวรวงศาธิราชอยู่ในบัญชีกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา

ข้อกล่าวหาท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นเรื่องราวเล่าขานที่รับรู้กันมาแต่เริ่มแรก มีทั้งบันทึกของชาวยุโรป และมีทั้งเอกสารพงศาวดารสยาม จึงยากที่จะปฏิเสธได้ แต่หากยอมรับข้อกล่าวหาทั้งหมดโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบก็เท่ากับกล่าวโทษบุคคลในประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรม และยังเท่ากับละเลยเหตุการณ์ในอดีตที่เต็มไปด้วยเลือดเนื้อ ชีวิต และวิญญาณของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองภายในของกลุ่มราชวงศ์ที่ปกครองอยุธยาในขณะนั้น

เมื่อกลุ่มท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นฝ่ายรับชัย ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ต้องโดนประณามหยามเหยียดจากฝ่ายมีชัยชนะ ในทางตรงกันข้าว ถ้าหากกลุ่มท้าวศรีสุดจันทร์มีชัยชนะ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะต้องถูกประณามหยามเหยียดไม่น้อยกว่าหรืออาจจะโดนหนักกว่าก็ได้


******************************
ข้อความวินิจฉัยของ นักประวัติศาสตร์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พิพากษาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์


ความวินิจฉัยต่อไปนี้  จะว่าเป็นข้อๆตามลำดับเลขในคำอธิบายที่กล่าวมาแล้ว

๑. วินิจฉัยเรื่องสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต  ในหนังสือพระราชพงศาวดารทุกฉบับความยุติว่า  สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับจากเมืองเชียงใหม่เมื่อวันสิ้นเดือน ๔  และ(ฉบับหลวงประเสริฐว่า) สวรรคตในเดือน ๖ พิเคราะห์ดูระยะเวลากว่าเดือนหนึ่ง  เห็นว่าจะประชวรมากลางทาง  แต่เสด็จมาถึงกรุงฯแล้วจึงสวรรคต  และมีเค้าเงื่อนว่าจะได้ทรงสั่งมอบเวรราชสมบัติ  ดังจะวินิจฉัยต่อไปในข้อหน้า

๒. วินิจฉัยเรื่องพระแก้วฟ้ารับรัชทายาท พระแก้วฟ้าเป็นพระราชบุตรของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เจ้าจอมมารดาเป็นที่ท้าวศรีสุดาจันทร์  ซึ่งในกฏหมายทำเนียบศักดินากำหนดว่าเป็นตำแหน่ง "นางท้าวพระสนมเอก"  มีในทำเนียบ ๔ คนด้วยกัน  เป็นที่ท้าวอินทรสุเรนทร์คน ๑  ท้าวศรีสุดาจันทร์คน ๑  ท้าวอินทรเทวีคน ๑  ท้าวศรีจุฬาลักษณ์คน ๑  พระสนมเอกที่บรรดาศักดิ์เป็นนางท้าวนี้  ยังมาจนในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า น้องสาวพระเพทราชาคน ๑ ได้เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์  มีพระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงทรงพระนามว่า  พระองค์เจ้าแก้ว  สมเด็จพระเพทราชาทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาบริรักษ์  

ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าพระแก้วฟ้านั้น เดิมเป็นเพียงชั้นพระองค์เจ้า ด้วยเป็นลูกพระสนม  ตรงกับราชกุมารศักดิ์อันมีอยู่ในกฏมณเทียรบาลว่า
พระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหสี  เป็นพน่อพระพุทธเจ้า
พระราชกุมารเกิดด้วยแม่อยั่วเมือง  เป็นมหาอุปราช
พระราชกุมารเกิดด้วยลูกหลานหลวง  เป็นลูกเธอกินเมืองเอกโท
พระราชกุมารเกิดด้วยพระสนม  เป็นหน่อพระเยาวราช

แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ  เรียกนามเจ้าจอมมารดาพระแก้วฟ้าว่า "แม่ญั่วศรีสุดาจันทร์"  และในฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯเรียกว่า "แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์"  อันเห็นได้ว่าเขียนพลาดมาแต่แม่อยั่วเมืองนั้นเอง  เป็นเค้าเงื่อนให้เห็นว่าเจ้าจอมมารดาของพระแก้วฟ้านั้นเดิมเป็นพระสนมเอก  แล้วได้เลื่อนขึ้นเป็นแม่อยั่วเมือง ตำแหน่งชั้นรองพระอัครมเหสีลงมา  



น่าสันนิษฐานว่า  เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงประชวรนั้น (จะเป็นในเวลาเสด็จมาในระหว่างทางก็ตามหรือเมื่อเสด็จมาถึงกรุงฯแล้วก็ตาม)  ทรงปรารภถึงการที่จะสืบสันตติวงศ์จึงทรงสถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ  ซึ่งมีอยู่แต่ ๒ พระองค์และยังทรงพระเยาว์อยู่ด้วยกัน  ให้เป็นพระแก้วฟ้ามหาอุปราชพระองค์ ๑  พระศรีศิลป์พระองค์ ๑  และให้เลื่อนท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกขึ้นเป็นแม่อยั่วเมือง  ให้สมกับที่เป็นพระชนนีของพระมหาอุปราชดังนี้  ครั้นสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต  ข้าราชการทั้งปวงจึงถวายราชสมบัติแก่พระแก้วฟ้าตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช




ข้อวินิจฉัยของนักประวัติศาสตร์รุ่นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พิพากษา แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์


ในพระวินิจฉัยข้อนี้ทำให้พิจารณาต่อไปได้อีกว่า  


สมเด็จพระไชยราชาธิราชไม่ได้สวรรคตในทันที (ถูกวางยาในน้ำนมในเครื่องต้น)  เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ก็ยังทรงพระเยาว์ ไม่มีเหตุให้ต้องสถาปนาขึ้นเป็นพระแก้วฟ้าและพระศรีศิลป์  จนต้องสถาปนาท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นแม่อยั่วเมือง   สมเด็จพระไชยราชาธิราชาคงต้องประชวรมาจนทรงเห็นว่าจะไม่ได้เสด็จอยู่  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สถาปนาดังกล่าว

http://redusala.blogspot.com
จุดจบของขบวนการขวาจัด
จุดจบของขบวนการขวาจัด
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10345


         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 306 ประจำวัน จันทร์ ที่ 11 เมษายน 2011
         โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


จนถึงต้นเดือนเมษายนนี้ การชุมนุมของฝ่ายขบวนการเสื้อเหลือง ทั้งกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ต่างก็ย่างเข้าสู้เดือนที่ 3 แต่ไม่มีแนวโน้มเลยว่าการต่อสู้ของพวกเขาจะบรรลุข้อเรียกร้องและได้รับชัยชนะ และเป็นที่คาดการณ์ว่าการชุมนุมของฝ่ายขบวนการเสื้อเหลืองจะยุติลงด้วยความปราชัยภายในเทศกาลสงกรานต์นี้

ปัญหาสำคัญก็คือ การชุมนุมของพวกเขาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนน้อยมาก ผู้เข้าร่วมชุมนุมในแต่ละวันมีเพียงหลักร้อย น้อยครั้งที่จะถึงหลักพัน และไม่เคยได้หลักหมื่น เหลือเพียงแฟนประจำจำนวนน้อยที่ยืนหยัดเข้าร่วมสม่ำเสมอ นอกจากนี้กระแสสังคมและแนวร่วมก็แสดงการตอบรับน้อย และยังมีความขัดแย้งภายในขบวนการอันสลับซับซ้อน

ดังนั้น ด้วยมวลชนที่เข้าร่วมอันน้อยนิดเช่นนี้ทำให้ขบวนการเสื้อเหลืองไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวอย่างมีพลังได้ การชุมนุมปิดถนนไปเรื่อยก็คงไม่ได้ประโยชน์ การล้มเลิกการชุมนุมกลับบ้านช่วงสงกรานต์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ความตกต่ำและความพ่ายแพ้ครั้งนี้จะเป็นหลักหมายในจุดจบของฝ่ายพันธมิตรฯและฝ่ายขบวนการเสื้อเหลือง และเป็นการเก็บฉากโดยตัวของตัวเองหลังจากที่ได้ยุยงสร้างความแตกแยกและก่อการจลาจลในบ้านเมืองมา 5 ปี โดยไม่มีรัฐบาลชุดไหนทำอะไรได้ เพราะเป็นขบวนการมีเส้นที่มีผู้ยิ่งใหญ่ถือหางอยู่เบื้องหลัง
ความเสียหายทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตรเสื้อเหลืองมีมากมายหลายเรื่อง ที่ใหญ่ที่สุดคือการสนับสนุนให้เกิดการทำลายระบอบประชาธิปไตย และนำบ้านเมืองถอยหลังสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตย นอกจากนี้ก็คือการปลุกลัทธิคลั่งชาติ สร้างความขัดแย้งกับมิตรประเทศ จนก่อให้เกิดความยากลำบากอย่างยิ่งแก่รัฐบาลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังมีการปลุกปั่นสังคม ใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือให้ร้ายทำลายผู้บริสุทธิ์

นี่ยังไม่นับรวมความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงเหลือคณานับที่เกิดจากการชุมนุมปิดทำเนียบรัฐบาล ปิดสนามบิน ทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว และทำลายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเพื่อนบ้าน เป็นต้น

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้งที่ฝ่ายพันธมิตรฯและขบวนการเสื้อเหลืองก่อการละเมิดกฎหมาย สร้างความเสียหายแก่สังคมอย่างมากมายเช่นนี้ เหตุใดจึงอยู่มาได้ถึง 5 ปี

คำตอบก็คือ ในระยะแรกฝ่ายพันธมิตรฯและขบวนการเสื้อเหลืองเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ดีของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ในการสร้างกระแสมวลชนและปลุกการเมืองบนท้องถนนมาสร้างความปั่นป่วน เพื่อปูทางไปสู่การรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมายังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเคลื่อนไหวทำลายรัฐบาลพลังประชาชนใน พ.ศ. 2551 เพื่อเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมืองอีกด้านหนึ่งของฝ่ายอำมาตย์ ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่แทน ในระยะนั้นฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์และขบวนการเสื้อเหลืองสมประโยชน์กัน จึงประสานและหนุนช่วยกัน

แต่ต่อมาเมื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์บริหารประเทศมาได้ 2 ปี ฝ่ายนำของกลุ่มพันธมิตรฯเห็นว่าฝ่ายตนได้รับผลประโยชน์ไม่คุ้มค่า และยังเห็นว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ตอบสนองนโยบายขวาจัดของฝ่ายตนเพียงพอ จึงได้ก่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองขึ้นใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยอาศัยเรื่องที่รัฐบาลกัมพูชาจับกุมตัวนายวีระ สมความคิด และพรรคพวก 7 คน เป็นข้ออ้างเพื่อกดดันให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ดำเนินนโยบายขวาจัดตามข้อเรียกร้องของตน เมื่อฝ่ายรัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ตอบสนอง ฝ่ายขบวนการเสื้อเหลืองก็ตัดความสัมพันธ์และโจมตีรัฐบาลประชาธิปัตย์อย่างรุนแรงขึ้นทุกที

การโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ในระยะแรกอยู่ในประเด็นว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยินยอมยกเลิกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 และพยายามปฏิบัติกับกัมพูชาในฐานะมิตรประเทศ ขณะที่ฝ่ายพันธมิตรฯเห็นกัมพูชาเป็นอริราชศัตรูผู้ช่วงชิงดินแดนไทย ต่อมาก็โจมตีความล้มเหลวในการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ในทุกเรื่อง และท้ายที่สุด ประเด็นการเรียกร้องของฝ่ายพันธมิตรฯก็ก้าวไปสู่การปฏิเสธระบบการเมืองแบบเลือกตั้งทั้งหมด โดยเรียกร้องให้ประชาชนปฏิเสธการเลือกตั้งด้วยการโหวต “โน” แก้ปัญหาทางการเมืองโดยให้มีการเว้นวรรคประเทศไทยเป็นเวลา 3-5 ปี เพื่อจัดระเบียบใหม่ แล้วจึงค่อยให้มีการฟื้นฟูประชาธิปไตยอีกครั้ง ข้ออ้างของฝ่ายพันธมิตรฯคือ นักการเมืองทุกพรรคล้วนมีแต่คนเลว จึงต้องเว้นวรรคเอาคนดีเข้ามาปกครอง ขจัดอิทธิพลของนักการเมืองชั่วเรียบร้อยแล้วจึงให้มีการเริ่มต้นกันใหม่

ความเสียหายเฉพาะหน้าจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตรฯมี 2 ประเด็นหลักคือ ประเด็นแรก ในเรื่องการต่างประเทศ ก่อนหน้านี้การดำเนินกิจการความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเป็นเรื่องทางเทคนิคของกระทรวงการต่างประเทศ และในกรณีที่มีปัญหาพรมแดนเข้ามาเกี่ยวข้องจะเป็นบทบาทของฝ่ายกองทัพที่รับผิดชอบชายแดน และฝ่ายกรมแผนที่ทหาร ฝ่ายการเมืองมักจะเป็นฝ่ายรับทราบและดำเนินงานตามกรอบที่มีการเจรจากันไว้แล้ว แต่การดำเนินการฉันปรกติเช่นนั้นถูกฝ่ายพันธมิตรฯตีความว่าเป็นการขายชาติ ยกดินแดนให้กัมพูชา ฝ่ายพันธมิตรฯได้ผลิตผู้รู้ดีด้านพรมแดนกัมพูชาจำนวนมากมาติติงและวิจารณ์การดำเนินงานปรกติของกระทรวงการต่างประเทศ

ผลจากเรื่องนี้ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ การที่สมาชิกสภาผู้แทนและวุฒิสภาจำนวนมากไม่กล้าลงคะแนนเสียงในญัตติเรื่องข้อตกลงร่วมของคณะกรรมการพรมแดนไทย-กัมพูชา (เจบีซี) จนที่ประชุมสภาล่มในวันที่ 29 มีนาคม นอกจากนี้ยังรวมถึงความลังเลที่จะดำเนินการตามข้อตกลงเจบีซีต่อไป และไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาประจำในพื้นที่พิพาท ทั้งที่เป็นไปตามมติของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนด้วยซ้ำ

ความเสียหายประเด็นต่อมาคือเรื่องโหวตโน แม้ว่าในทางความเป็นจริงการใช้สิทธิที่จะไม่เลือกใครหรือโหวตโนเป็นสิทธิประชาธิปไตยแบบหนึ่ง แต่การรณรงค์โหวตโนของฝ่ายพันธมิตรฯเป็นความตั้งใจที่จะคว่ำกระดานไม่ให้มีการเลือกตั้งและก่อวิกฤตทางการเมือง เพื่อเปิดให้มีการรัฐประหารโดยกองทัพ หรือมีการใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะบริหารโดยการเว้นวรรคนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการปฏิเสธประชาธิปไตยที่ถือหลักว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ และความจริงแล้วไม่เคยมีหลักประกันแต่อย่างใดว่า กลุ่มคนดีทั้งหลายที่เป็นนักการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะมีคุณสมบัติอันดีวิเศษที่จะมาบริหารบ้านเมือง โดยปราศจากการตรวจสอบจากประชาชน

กรณีการผลักดันการเคลื่อนไหวเรื่องโหวตโนได้นำมาซึ่งความขัดแย้งภายในของขบวนการเสื้อเหลืองชัดเจนขึ้น เพราะฝ่ายพันธมิตรฯโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นำเสนอโดยไม่มีการหารือกับพรรคการเมืองใหม่ นายสนธิได้กล่าวในวันที่ 23 มีนาคมว่า ให้พรรคการเมืองใหม่สนับสนุนการโหวตโน โดยการคว่ำบาตรไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง และย้ำว่าพรรคการเมืองใหม่จะต้องปฏิบัติตามพันธมิตรฯ ถ้าหากว่านายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค จะนำพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งก็ให้ลาออกจากพันธมิตรฯ

การประกาศเช่นนี้สร้างความยากลำบากอย่างมากแก่อนาคตของพรรคการเมืองใหม่ เพราะนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพิ่งจะได้มีการส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ส.ก. และ ส.ข. เขตกรุงเทพมหานครเพียงครั้งเดียว และยังพ่ายแพ้ไม่ได้รับเลือกตั้งเลย ถ้ายังไม่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น สถานะความเป็นพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภาคงมืดมน
ภายใต้แนวโน้มเช่นนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ และพรรคการเมืองใหม่ คงจะพังลงด้วยกัน แต่จะประมาทในพลังทางการเมืองของกลุ่มนี้ไม่ได้ ตราบเท่าที่ยังไม่ทราบท่าทีของฝ่ายอำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อเหลืองว่า จะกำหนดท่าทีต่อพรรคประชาธิปัตย์และการเลือกตั้งอย่างไร

*******************

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 306 
วันที่ 9-22 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 9 คอลัมน์ ถนนประชาธิปไตย โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
http://redusala.blogspot.com
Necessary evil in Thailandความชั่วร้ายที่จำเป็นหรือชั่วตัวจริง?
Necessary evil in Thailandความชั่วร้ายที่จำเป็นหรือชั่วตัวจริง?
http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=51251

         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
         ปีที่ 12 ฉบับที่ 3029 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน 2011
         โดย เรืองยศ จันทรคีรี

ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ได้พูดถึงบรรทัดสุดท้ายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงต้นของเดือนเมษายนนี้? เขามองข้ามช็อตไปถึงผลในการเลือกตั้งครั้งหน้า คาดคะเนเกี่ยวกับพรรคการเมืองซึ่งได้รับชัยชนะสูงสุดน่าจะคว้าเก้าอี้ ส.ส. อย่างเต็มที่ “ไม่เกิน 220 เสียง”...สำหรับกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล ในสายตาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงไม่เอา “พรรคภูมิใจไทย” ให้เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ

ยกเว้นเป็นรายการ Necessary evil อันหมายถึงความชั่วร้ายที่จำเป็นจึงจะต้องเลือกเอาหนทางนี้เป็นคำตอบ ประสบการณ์ของนายอำเภอไพโรจน์ในด้านการเมืองเห็นจะไม่ใช่ธรรมดาอยู่เหมือนกัน เรื่องตรงนี้จึงมีความน่าสนใจในการกล่าวถึงเอาไว้?

อาจมีหลายเหตุผลซึ่งทำให้ ร.ต.ไพโรจน์ต้องวิเคราะห์ออกมาเช่นนั้น แต่ข้อมูลที่เป็นเหตุผลใหญ่ที่สุดคือ “อาการร้อนรนของพรรคภูมิใจไทยที่เห็นได้จากการออกมาจัดกิจกรรมร่วมกับพรรคชาติไทยพัฒนา”

...นั่นเป็นสัญญาณที่ ร.ต.ไพโรจน์นำมาวิเคราะห์ สมมุติอีกเช่นกันว่าหากพรรคภูมิใจไทยเกิดความมั่นใจที่ตัวเองจะได้เก้าอี้ประมาณ 80-100 เสียง ถ้าการณ์จะดำเนินไปจริงเช่นนั้นสำหรับภูมิใจไทย แล้วสมมุติอีกที่ประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเลือกหนทางของ “Necessary evil” ประชาธิปัตย์ก็คงไปปูผ้าขาวกราบให้เขามาร่วมรัฐบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ร.ต.ไพโรจน์ยังเห็นอีกว่าพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ได้ตกขบวนอะไรทั้งสิ้น?
เพราะรู้ดีถึงสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้นเช่นนั้นน่าจะเป็นเพียงเรื่อง “Drama”

ยังมีข้อสังเกตต่อไปที่เป็นหมายเหตุของ ร.ต.ไพโรจน์ โดยประวัติศาสตร์นั้นพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเป็นรัฐบาลสองสมัยติดต่อกัน แล้วสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลครั้งหน้าพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กจะกลายเป็นตัวแปรที่สำคัญ?

แม้ประชาธิปัตย์ยังไม่เคยคงทนได้สองสมัยติดต่อกัน แต่ ร.ต.ไพโรจน์คงออกตัวไว้บ้างด้วยประโยคที่ว่า “ประวัติศาสตร์นั้นมีเอาไว้เพื่อทำลาย” ในความเห็นของ “หนึ่งในกลุ่ม 3 พี” จึงไม่ใช่การฟันธงขาด สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับทรรศนะจากอีกหลายฝ่ายถึงพลังไร้สภาพเร้นลับซึ่งมีความเป็นไปได้สำหรับ “การกระเตงอุ้มพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้ทำลายสถิติดังกล่าวจัดตั้งเป็นรัฐบาลอีกครั้ง”

ประเด็นตรงนี้อาจต้องบอกถึงสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ถ้าประวัติศาสตร์ถูกทำลายพร้อมกับที่พรรคภูมิใจไทยสามารถดันตัวเองระดับ 80-100 เสียง หากเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น โอกาสของ Necessary evil หรือ “ความชั่วร้ายที่จำเป็น” คงเกิดขึ้นได้อีกรอบเช่นกัน แต่ถ้าภูมิใจไทยทำเป้าไม่ถึง แน่นอนอยู่แล้วที่จะถูกเขี่ยให้ไปอยู่เป็นฝ่ายค้าน (กรณีประชาธิปัตย์เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล)

ยังมีประเด็นอีกข้อที่ควรพิจารณาในกรณีประชาธิปัตย์ทำลายสถิติไม่สำเร็จ กลายเป็นพรรคเพื่อไทยได้เสียงชนิดเหมาขาดหรือเพียงเป็นพรรคลำดับที่หนึ่ง ผลถ้าออกมาเป็นอย่างนั้นจะมีรายการของ Necessary evil เกิดขึ้นหรือไม่? จะมีโปรแกรม “รัฐบาลในค่ายทหารเหมือนครั้งที่แล้วหรือเปล่า?” เป็น The Garrison State อีกสักครั้งด้วยความดื้อดึงของบรรดาอำนาจนอกระบบ-มือที่มองไม่เห็น หรืออีแอบทั้งปวง

การกระเตงพรรคการเมืองซึ่งไม่ได้ลำดับที่หนึ่งให้จัดตั้งรัฐบาล หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมีหลายคนต่างวิเคราะห์ว่า Necessary evil ในลักษณะเช่นนั้นคงต้องทบทวนถึงบทบาทของ “ปิศาจตัวจริง” อันเป็นเจ้าของความชั่วร้ายซึ่งจำเป็น ที่ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นหรอก เพราะอย่างมากประชาธิปัตย์คงเป็นได้เพียงปิศาจตัวน้อยที่ถูกโคตรปิศาจที่ใหญ่กว่าคอยใช้มือที่มองไม่เห็นผลักดันอยู่ข้างหลัง?

ข้อมูลหลายส่วนที่มองข้ามไม่ได้เหมือนกันยังยืนยันถึงความแรงของ “พรรคเพื่อไทย” แม้นมีผลลัพธ์ตามกระแส เห็นจะต้องตั้งคำถามสำหรับการตัดสินใจใช้ “ความจำเป็นที่ชั่วร้าย” แน่นอนคงไม่ใช่ในความหมายเดียวกับเรื่องที่ “ประชาธิปัตย์ต้องลากภูมิใจไทยเข้ามาเกี่ยวข้องต่อการจัดตั้งรัฐบาล” แต่ Necessary evil ต่อสถานการณ์เช่นนี้ซึ่งมี “ทหาร” กับ “มือที่มองไม่เห็น” เป็นผู้กำกับและสั่งตรงเสียเอง พวกเขาจะกล้ากระทำไหมเพื่อยับยั้งไม่ให้พรรคเพื่อไทยที่เกิดได้อันดับที่หนึ่งไปจัดตั้งรัฐบาล

ข้อนี้จึงควรเป็นประเด็น Necessary evil ที่น่าสนใจมากกว่ากรณีอื่นๆ แล้วคงต้องถามต่อไปถ้าจะมีเรื่องราวซ้ำรอยเดิม โมเดลอะไรจะเกิดขึ้นในประเทศนี้...ตูนิเซีย, อียิปต์, ลิเบีย...แม้กระทั่งโมเดลอื่นในแบบเกาหลีใต้ครั้ง พ.ศ. 2522 เมื่อนายพลชุน ดู ฮวาน กับนายพลโรห์ แต วู เข้ารัฐประหารนองเลือดโค่นล้มนายพลปาร์ก จุง ฮี...
ความเชื่อในหลักการที่ถือให้รัฐคือความจำเป็นอันชั่วร้ายตามทฤษฎีของมาเคียเวลลียังจะเป็นไปในประเทศไทยสักแค่ไหน?

รวมทั้งทุกอย่างจะเป็นเพียงความหมายในหนังสือ “เจ้าผู้ปกครอง” หรือ “The Prince” ของนิคโคโล มาเคียเวลลี หรือจะลึกกว่านั้นเสียอีก มิใช่เพียงความจำเป็นที่ชั่วร้าย หากแต่มันชั่วร้ายจริงๆ ทุกอย่างน่าจะพิสูจน์ได้จากการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร หรือถึงขั้นยังเลือกวิธีรัฐประหาร...จะเป็นขนาดไหนก็คอยดู?

**************************************
สมัครรับ “ข่าวสั้น SMS โลกวันนี้รายวัน” เดือนละ 30 บาท (ไม่รวม VAT7%)
สมัครวันนี้ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน
วิธีสมัคร (มือถือทุกระบบ  AIS, DTAC, TRUE) เพียงกด *48998981001 โทรออก
หมายเหตุ : สอบถามรายละเอียดที่  0-2422-8155, 0-2422-8158-59
http://redusala.blogspot.com
พระสุริโยไทเป็นใคร? มาจากไหน ?
พระสุริโยไทเป็นใคร? มาจากไหน ?
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระสุริโยทัยนั้นมีที่ไป กล่าวคือ ทรงมีโอรส ธิดา และนัดดาหลายพระองค์ ที่สำคัญคือสมเด็จพระมหินทราธิราช โอรสผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระธิดาเช่นพระเทพกษัตรีที่พระไชยเชษฐาแห่งราชอาณาจักรลาวล้านช้างสู่ขอไปเป็นพระมเหสี พระสวัสดิราชที่ตั้งขึ้นเป็นพระวิสุทธิกษัตรี ให้เป็นมเหสีพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลก พระวิสุทธิกษัตรีมีพระราชโอรสและพระธิดาหลายพระองค์ มีพระนามเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับพระเอกาทศรถ ส่วนพระธิดาคือพระสุพรรณกัลยา ก็ได้รับการแพร่ขยายในสมัยปัจจุบันจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป โดยปรากฏออกมาเป็นภาพพระสิริโฉมและตำนานเรื่องราว แต่ที่มาของพระสุริโยทัยกลับไม่มีหลักฐานที่มาทางประวัติศาสตร์แม้แต่น้อย คงมีเพียงเท่าที่ได้ยกขึ้นมาวิพากษ์ที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี พระนางย่อมมิได้มาจากตระกูลไพร่พลเมืองอย่างแน่นอน แต่ควรจะอยู่ในตระกูลของชนชั้นสูงซึ่งเป็นตระกูลขุนนางเชื้อพระวงศ์ในสมัยนั้น



ในที่นี้จะเสนอภาพอย่างกว้างๆ ถึงเชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของพระสุริโยทัยดังต่อไปนี้ ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา คือเชื้อสายของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ที่เรียกว่าเป็นราชวงศ์ละโว้-อโยธยา นั้นเป็นเพราะเดิมจริงๆ ในเอกสารดั้งเดิมเรียกกรุงศรีอยุธยาว่า อโยธยา เพิ่งจะเปลี่ยนเป็นอยุธยาในสมัยหลัง เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ นั้น เอกสารของจีนยังเรียกกรุงศรีอยุธยาว่า หลอหู เหมือนกับที่เคยเรียกเมืองละโว้อันเป็นชื่อเดิมของเมืองลพบุรี แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับเมืองละโว้มาก่อนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาแล้วยังตั้งพระโอรสเป็นพระราเมศวร ไปครองเมืองละโว้ในฐานะเมืองลูกหลวงอีกด้วย

อันเป็นการยืนยันความสืบเนื่องสายราชวงศ์ของพระองค์กับเมืองละโว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่ชัดเจนอันประกอบด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะเหมือนขอมที่เมืองละโว้จังหวัดลพบุรี และที่เป็นภาพสลักทหารละโว้ที่นครวัดกัมพูชา แสดงอย่างชัดเจนว่าเมืองละโว้มีความเกี่ยวข้องกับเมืองนครธมศูนย์กลางของอาณาจักรขอมกัมพูชาเป็นอย่างมาก รวมทั้งในสมัยเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นแล้ว ยังได้ยกทัพไปรบกวนดินแดนขอมกัมพูชาที่เสื่อมสลายลง กษัตริย์อยุธยาในสมัยแรกๆ ต่างก็สนใจแผ่อิทธิพลไปยังดินแดนลุ่มน้ำมูลในภาคอีสาน ตลอดเรื่อยไปจนถึงเมืองนครธมแห่งกัมพูชาอยู่เสมอ

ดังนั้น จึงไม่ผิดที่จะกล่าวอย่างกว้างๆ ว่า ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา คือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงความเกี่ยวเนื่องทางวัฒนธรรมไปทางดินแดนภาคอีสาน ไปถึงศูนย์กลางอารยธรรมเดิมที่เมืองนครธม ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา มีอำนาจเหนือราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หลังจากนั้นเว้นช่วงเป็นราชวงศ์สุพรรณภูมิ หลังจากนั้นพระโอรสและพระนัดดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็กลับมาครองกรุงศรีอยุธยาต่อไปอีก ๒ พระองค์ คือสมเด็จพระราเมศวรกับสมเด็จพระรามราชา ซึ่งในที่สุดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๒ สมเด็จพระนครินทราชาธิราชแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิก็สามารถเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา และปลดสมเด็จพระรามราชาออกจากราชบัลลังก์ไปไว้ที่ เมืองปทาคูจาม โดยทั่วไปไม่สนใจว่าจะมีราชวงศ์นี้เหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อพิจารณาว่า เมื่อราชวงศ์นี้เสียอำนาจให้แก่กษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๒ ครั้งนั้น เชื้อสายราชวงศ์นี้ไม่เคยถูกประหาร

ในขณะที่เมื่อมีการเปลี่ยนอำนาจโดยการแย่งชิงราชสมบัติที่มีหลายครั้งในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น กษัตริย์ที่เสียอำนาจจะถูกประหารชีวิตเสมอไม่ว่าจะเป็นเด็กอยู่ก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าราชวงศ์นี้สืบมาจากเมืองละโว้ที่เชื่อมโยงไปยังเมืองขอมนครธม กับที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวงที่มิให้ประหารพราหมณ์ ก็อาจมองได้ว่า ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา นั้นมาจากตระกูลพราหมณ์เชื้อสายขอมเมืองนครธมก็เป็นได้ เมื่อราชวงศ์นี้ไม่เคยถูกประหารแม้จะสูญเสียอำนาจไป ก็น่าสนใจว่ายังคงมีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เพราะชื่อปทาคูจามก็ยังปรากฏอยู่ในชื่อทางภูมิศาสตร์ที่กรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์นี้น่าจะได้รับการเลี้ยงดูและทำหน้าที่ที่ปราศจากอำนาจในราชสำนัก คือหน้าที่ทางพิธีกรรมศาสนาของราชครูปุโรหิตก็ได้

ในรัชกาลก่อนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย ปรากฏเรื่องราวของขุนวรวงศาและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ที่ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน ซึ่งจากร่องรอยบางอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ในอดีตของขุนวรวงศาธิราช (พนักงานเฝ้าหอพระ) ชื่อบ้านมหาโลกของนายจันน้องชายที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งเป็นชื่อบ้านแบบเขมร ทำให้เกิดแนวคิดทางประวัติศาสตร์ว่าบางทีขุนวรวงศาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ คือเชื้อสายที่หลงเหลืออยู่และหวนกลับมาครองอำนาจกรุงศรีอยุธยาเป็นองค์สุดท้ายของราชวงศ์ละโว้-อโยธยา

พิจารณาเกี่ยวกับพระสุริโยทัย หากสมมติว่าพระสุริโยทัยทรงมีเชื้อสายพราหมณ์แห่งราชวงศ์ละโว้-อโยธยา ก็อาจจะเป็นได้ เพราะถ้าพิจารณาจากพระนามของพระนางก็เป็นพระนามเจ้านายของกัมพูชาที่มีใช้กันอยู่ในสมัยนั้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชโอรสของพระนางได้ขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็ได้เสด็จไปบูรณะวัดมหาธาตุที่ลพบุรีเหมือนกับจะแสดงนัยของการมาทำนุบำรุงวัดของต้นตระกูล รวมทั้งเมื่อคิดว่าการที่พระสุริโยทัยและพระโอรสธิดาสามารถดำรงสวัสดิภาพอยู่ได้ตลอดช่วงเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน ที่แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชขึ้นมามีอำนาจอยู่นั้น ก็อาจเป็นเพราะทั้งหมดเป็นพระญาติในราชวงศ์ละโว้-อโยธยา วงศ์เดียวกันก็เป็นได้

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ-สุโขทัย สองราชวงศ์นี้มีความเกี่ยวข้องในการเข้ามาครองอำนาจกรุงศรีอยุธยาในสมัยแรกเริ่มอย่างมาก ชื่อสุพรรณภูมินั้นคือชื่อของเมืองสุพรรณบุรีที่ปรากฏในเอกสารดั้งเดิมที่เป็นศิลาจารึก และเป็นชื่อที่ใช้สืบมาถึงสมัยอยุธยาตอนต้น หลักฐานทางโบราณคดีที่มีการขุดค้นที่เมืองสุพรรณบุรีแสดงว่า เป็นเมืองมาตั้งแต่ก่อนเวลาสถาปนากรุงศรีอยุธยา มีความสืบเนื่องต่อจากเมืองขนาดใหญ่สมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือเมืองอู่ทอง ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อมีการย้ายเมืองจากเมืองอู่ทองมาสุพรรณบุรีนั้น หลักฐานทางโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์กับเมืองละโว้ด้วย ขุนหลวงพ่องั่วเจ้าเมืองสุพรรณบุรีที่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงการมีสายสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ นั้น คือกษัตริย์สุพรรณบุรีผู้ทรงยกทัพมายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคต ได้เสวยราชสมบัติทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ โดยที่สมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ยอมหลีกทางกลับไปครองเมืองละโว้ตามเดิม จนเมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคต ราชบัลลังก์จึงกลับมาเป็นของสมเด็จพระราเมศวรอีกครั้งหนึ่ง

ราชวงศ์สุพรรณภูมิน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์สุโขทัยมาก่อน ดังปรากฏร่องรอยเป็นชื่อเมืองสุพรรณภูมิในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของสุโขทัย ที่มีเนื้อความเล่าเรื่องในสมัยพ่อขุนรามคำแหงว่า เป็นเมืองที่พ่อขุนรามคำแหงมีอำนาจซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งไปถึง ดังนั้น ก่อนที่ขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรณภูมิจะได้ราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ นั้น จึงปรากฏเรื่องในเอกสารของล้านนาเล่าเรื่องการขึ้นมาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เมืองในดินแดนสุโขทัยด้วยระยะหนึ่ง และมีเรื่องที่พระองค์ได้สมรสกับเจ้านายฝ่ายหญิงของสุโขทัยด้วย หลังจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ สวรรคต และราชบัลลังก์อยุธยาตกอยู่กับกษัตริย์ในราชวงศ์ละโว้-อโยธยานั้น ในช่วงเวลานั้น เมืองสุพรรณบุรีเหมือนกับจะปลีกตัวออกจากศูนย์กลางที่กรุงศรีอยุธยา หันมามีความสัมพันธ์กับแคว้นสุโขทัยแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จนมีกำลังต่อรองเพียงพอที่จะร่วมกันยึดอำนาจกรุงศรีอยุธยามาจากสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์ละโว้-อโยธยา และส่งพระองค์ไปไว้ที่เมืองปทาคูจาม

โดยสมเด็จพระนครินทราชาธิราชแห่งสุพรรณภูมิได้ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรสยามที่รวมดินแดนสุโขทัยเข้าไว้เป็นกลุ่มเมืองเหนือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิกับราชวงศ์สุโขทัย จึงเข้ามามีส่วนในอำนาจการปกครองอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาอย่างชัดเจนตั้งแต่บัดนั้น พัฒนาการทางด้านการปกครองในสมัยต่อมา ที่มีการปรับเปลี่ยนเพื่อดึงศูนย์อำนาจที่แยกปกครองกลุ่มเมืองเหนือ เพื่อรวมศูนย์ไว้ที่กรุงศรีอยุธยาเพียงแห่งเดียว ได้มีการดึงเชื้อพระวงศ์ของสุโขทัยเข้ามาไว้ในระบบราชการของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ราชวงศ์สุโขทัยเข้ามามีบทบาทในกลุ่มคนชั้นสูงในราชสำนักอยุธยามากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นถ้าหากพิจารณว่า พระนาม "สุริโยทัย" ซึ่งแปลว่า พระอาทิตย์ขึ้น ดูละม้ายคล้ายกับคำว่าสุโขทัย ก็อาจสมมติให้เป็นว่า พระนางน่าจะมาจากราชวงศ์สุโขทัยก็เป็นไปได้ เพราะในช่วงเวลาขณะนั้นความสับสนวุ่นวายในการช่วงชิงอำนาจกันในกรุงศรีอยุธยา ก็มีราชวงศ์ของสุโขทัยเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่มากมายทีเดียว โดยเฉพาะการยึดอำนาจขจัดขุนวรวงศาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ผู้สืบสานนโยบายรวมอำนาจศูนย์กลางต่อจากกษัตริย์พระองค์ก่อน เมื่อสามารถขจัดลงไปได้ และยกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชสวามีพระสุริโยทัยขึ้นสู่ราชบัลลังก์นั้น ก็เป็นการก่อการจากขุนนางเชื้อพระวงศ์สุโขทัย ที่ต้องการทวงอำนาจอิสระในการปกครองตนเองของแคว้นสุโขทัยคืนกลับมานั่นเอง ซึ่งการทั้งนี้ก็ประสบความสำเร็จได้โดยสะดวกด้วย



ราชอาณาจักรลาวล้านช้าง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีวงศ์กษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมายาวนาน โดยมากที่รับรู้กันในประวัติศาสตร์ไทยมาจากหนังสือพงศาวดารของไทยที่เขียนขึ้นสมัยหลัง สมัยที่ราชอาณาจักรลาวตกเป็นรองกรุงศรีอยุธยาทางด้านการเมืองการปกครองแล้ว ดังนั้น บันทึกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เกี่ยวกับลาวล้านช้างจึงมีลักษณะที่เป็นเบี้ยล่างกรุงศรีอยุธยาให้เห็นเป็นประจำ ลักษณะของการเป็นราชอาณาจักรที่มีศักดิ์ศรีเสมอกันจึงมักไม่ค่อยพบเห็นนัก นอกจากที่จำเป็นต้องปล่อยออกมาปรากฏให้เห็นไม่กี่แห่งในลักษณะนำเสนอที่ไม่เต็มใจให้ความสำคัญนัก แต่ถ้าหากพิจารณาจากมุมมองของฝ่ายลาวในเรื่องที่มีลักษณะเป็นตำนาน บรรพบุรุษของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาก็เป็นพี่น้องลำดับที่ ๕ ในบรรดาพี่น้องทั้งหลายที่เป็นลูกของขุนบูลม (หรือที่ไทยเรียกขุนบรม) โดยมีขุนลอบรรพบุรุษของกษัตริย์ลาวล้านช้างเป็นพี่คนโต อันแสดงถึงการนับญาติพี่น้องเสมอกันของบรรดารัฐทั้งหลายที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน ตำนานเรื่องดังกล่าวนี้ แม็คคาร์ธี หรือพระวิภาคภูวดล นักสำรวจทำแผนที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังพบว่าเป็นคำบอกเล่าที่มีอยู่ของผู้คนแถบบริเวณแม่น้ำอู แม่น้ำที่มีสาขาต้นน้ำจากที่ราบสูงเดียนเบียนฟูไหลลงแม่น้ำโขงเหนือเมืองหลวงพระบางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร แต่เรื่องตำนานที่ว่านี้ไม่ปรากฏในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางอันเป็นที่ตั้งของพระนครศรีอยุธยาแล้ว อาจเป็นได้ว่าเพราะบริเวณนี้ถูกกลมกลืนโดยตำนานทางศาสนาจากอินเดียมานานกว่าหนึ่งพันปีแล้ว

ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรลาวล้านช้างกับกรุงศรีอยุธยา พบมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่า ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พญาล้านช้างถึงแก่กรรม แลพระราชทานให้อภิเษกพญาซายขาว เป็นพญาล้านช้างแทน คำว่าพญาซายขาวนี้ พงศาวดารฉบับความพิสดารกล่าวแตกต่างกันออกไป เช่น ฉบับพระราชหัตถเลขาเรียกเป็น พระยาเมืองขวา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกเป็น พระยาซ้ายขวา ฯลฯ แต่พอจะประมาณได้ว่าหมายถึงเจ้าเมืองแถบด่านซ้ายในประเทศไทยถึงเมืองเชียงคานฝั่งลาว ซึ่งในช่วงเวลาประมาณนี้ ในพงศาวดารของล้านช้างกล่าวถึงกษัตริย์ลาวพระนามพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วสวรรคต และโอรสที่ครองเมืองเชียงคาน (ฝั่งลาว) เสวยราชสมบัติแทน ที่กรุงศรีอยุธยาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแผ่นดินในลาวล้านช้าง อาจเนื่องจากความสัมพันธ์ที่พงศาวดารของล้านช้างกล่าวว่า พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วพระองค์นี้มีพระราชมารดาไปจากกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เช่นกัน

ได้มีการร่วมมือกันกับพระไชยเชษฐา มหาราชของลาวล้านช้าง ต่อสู้กับพม่าด้วย คือหลังสงครามพม่าประชิดกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ที่กรุงศรีอยุธยาต้องถวายช้างเผือก ๔ เชือกแก่พระเจ้าบุเรงนองนั้น เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีระหว่างกัน พระไชยเชษฐาได้สู่ขอพระเทพกษัตรี พระราชธิดาพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และทางกรุงศรีอยุธยาก็พระราชทานแต่กองทัพพม่าดักชิงตัวไป รวมทั้งการทำศิลาจารึกเป็นพันธไมตรีกันระหว่างกษัตริย์อยุธยา-ล้านช้าง ไว้ที่พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ดังนั้น ในการยกทัพมาล้อมพระนครศรีอยุธยาครั้งที่ ๓ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสามารถเข้าพระนครศรีอยุธยาได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด กองทัพพม่าจึงเปิดศึกกับราชอาณาจักรลาวล้านช้างต่อไป เป็นศึกติดพันต่อมาเป็นเวลานาน ในที่สุดก็สามารถปราบปรามได้ จับเชื้อพระวงศ์ขุนนางของราชอาณาจักรลาวไปไว้ที่กรุงหงสาวดีเป็นอันมาก อันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชอาณาจักรลาวต้องแตกแยกและอ่อนแอลง

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีผู้ใดจะสมมติพระสุริโยทัยให้ไกลออกไป เป็นเจ้าหญิงของราชอาณาจักรลาวล้านช้างก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร และมีทางที่จะเป็นไปได้อยู่ด้วยหากจะศึกษากันอย่างลงลึกต่อไป สรุป ประวัติวีรกรรมของพระสุริโยทัย ได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวเน้นตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อปลุกจิตสำนึกความเป็นเอกภาพของรัฐชาติ เรื่องประเภทนี้เป็นที่นิยมกันสืบมา เพราะสามารถนำไปสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์ เพื่อความบันเทิงของคนดู บางเรื่องอาจมีสีสันสร้างความตื่นเต้น เร้าใจ จนบางทีก็ลืมการตรวจสอบที่มาของหลักฐานถึงความถูกต้อง สาเหตุอันเป็นมูลฐานของเรื่องราว อันเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการคำอธิบายในเชิงประวัติศาสตร์ไปเลยก็มี การสิ้นพระชนม์ของพระสุริโยทัย เมื่อได้พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้วน่าเชื่อว่าพระองค์มิได้สิ้นพระชนม์เพียงพระองค์เดียว แต่มีพระราชบุตรีอีกพระองค์หนึ่งได้สิ้นพระชนม ในการประกอบวีรกรรมครั้งนั้นด้วย การศึกษาในเชิงบวกในการพิจารณาเอกสารต่างๆ อันเป็นมูลฐานของเรื่องราวในที่นี้ โดยการแจกแจงให้เห็นวิธีการในการผลิตเอกสาร ผู้ผลิต ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อดีข้อด้อยของเอกสารแต่ละฉบับ เพื่อชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก่อนที่จะนำมาเรียบเรียง น่าจะทำให้ข้อข้องใจเกี่ยวกับประวัติการมีตัวตนของพระนางลงได้

แต่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ เรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระสุริโยทัยก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ควรศึกษา เพราะส่วนสำคัญทางประวัติศาสตร์อันเป็นมูลฐานของเรื่องนั้น อยู่ที่สงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า สาเหตุของสงคราม ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นราชอาณาจักรสยาม โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบเหล่านั้นที่เชื่อมโยงไปถึงสงครามคราวนี้ด้วย ล้วนเป็นเรื่องราวที่ควรได้รับการอธิบายในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแม้ในข้อเขียนนี้ก็ปรากฏเพียงสั้นๆ ด้วยวัตถุประสงค์ในการเขียนนั้นต้องการแสดงวิธีการในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลักฐานที่เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์มากกว่าในข้อเขียนนี้ ดังนั้น จึงได้มีการนำเสนอไว้โดยสังเขป การกล่าวถึงที่มาของพระสุริโยทัย โดยการสมมติว่ามาจากสายราชวงศ์ต่างๆ ก็เป็นเพียงการสมมติ มิได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อะไรมาสนับสนุน ดังนั้น แม้การสมมตินั้นจะมีความแนบเนียนน่าฟังเพียงใด ก็มิใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ที่นำเสนอไว้นี้ ก็เพื่อที่จะโยงให้เห็นส่วนประกอบของอำนาจต่างๆ ที่มีอยู่ภายในพระนครศรีอยุธยาโดยสังเขป ซึ่งอำนาจต่างๆ เหล่านี้ บางครั้งก็ร่วมมือกัน บางครั้งก็ขัดแย้งช่วงชิงอำนาจกันเอง รวมทั้งต้องการเสนอให้เห็นว่า กรุงศรีอยุธยากับประเทศเพื่อนบ้านนั้น นอกจากจะมีคู่ปรปักษ์คือพม่าแล้ว ก็ยังมีสัมพันธมิตรคือราชอาณาจักรลาวล้านช้าง ซึ่งด้วยการเป็นราชอาณาจักรที่พัฒนาขึ้นมามีศักดิ์ศรีเท่าๆ กัน ต่างมีความสัมพันธ์ทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบต่อกัน อันเป็นประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันนี้

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กรมศิลปากร
ศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 262 วันที่ 1 สิงหาคม 2544
http://redusala.blogspot.com