วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง


            John Seymour (12 June 1914 – 14 September 2004) was an prolific early author in the self-sufficiency movement. He had multiple roles: he was a writer, broadcaster, environmentalist, agrarian, smallholder and activist; a rebel against: consumerism, industrialisation, genetically modified organisms, cities, motor cars; an advocate for: self-reliance, personal responsibility, self-sufficiency, conviviality (food, drink, dancing and singing), gardening, caring for the Earth and for the soil.

           Seymour was born in London, England; his father died when he was very young, his mother remarried and the family moved to the fashionable seaside town of Frinton-on-Sea in north-east Essex. It was however surrounded by agricultural land, and the life led by those on the land and in small boats laid a foundation for his later vision of a simple cottage economy with farming and fishing providing the essentials of life.
jacket image for The New Self-Sufficient Gardener by -  John Seymour

           After schooling in England and Switzerland, he studied agriculture at Wye College, at that time a school of the University of London. In 1934, at the age of 20, he went to Southern Africa where he held a succession of jobs: a farmhand and then manager of a sheep farm, a deckhand and skipper of a fishing boat operating from Namibia (then South-West Africa), a copper mine worker in Zambia (then Northern Rhodesia), and a worker for the government veterinary service. Whilst in Africa he spent some time with bushmen where he gained friendship and an insight into the life of hunter gatherers.


1939 to 1951

          At the start of World War II in 1939, Seymour travelled to Kenya where he enlisted in the Kenya Regiment and was posted to the King's African Rifles. He fought against Italian troops in the Abyssinian Campaign in Ethiopia. The regiment was then posted to Sri Lanka (then the British colony Ceylon) and afterwards to Burma, where allied forces were fighting against Japan. For Seymour the war ended on a low note; he expressed his disgust when the Allies used fission bombs on Hiroshima and Nagasaki.

          On arrival in Britain after the war Seymour worked for a while on a Thames sailing barge, a traditional craft still operating around the south and east coasts of England, where he picked up the folk songs of a disappearing occupation. After working as a labour officer for the Agricultural Committee finding agricultural work for German prisoners of war who still not returned home in 1950, he created a series of short programmes on the BBC Home Service (now Radio 4). He then travelled overland to India for the BBC, gaining experience of the Subsistence agriculture still common in eastern Europe and Asia. His experiences on the journey led to his first book, The Hard Way to India, published in 1951.


The Smallholdings

          Seymour was living aboard a Dutch sailing smack when he married Sally Medworth, an Australian potter and artist in 1954. In this they travelled around the waterways and rivers of England and Holland, journeys later described in Sailing through England. As their first daughter grew older they felt that a land-base would be more suitable. They leased two isolated cottages on 5 acres (2.0 ha) of land near Orford in Suffolk. The manner in which they developed self-sufficiency on this smallholding is recounted in The Fat of the Land (1961). At the end of the 1960s, Seymour, along with other radical voices like Herbert Read, Edward Goldsmith and Fritz Schumacher, provided a stream of articles for the journal Resurgence edited from 1966–1970 by John Papworth.


           In 1964 the family moved to a farm near Newport, Pembrokeshire. The 1970s saw Seymour's publication rate reach a maximum. In 1976 The Complete Book of Self-Sufficiency was published, a guide for real and dreaming downshifters. Appearing shortly after the publication of Schumacher's Small is Beautiful - a study of economics as if people mattered (1973) and The Good Life's first showing on British television (1975), the sales of the book exceeded all expectations. It was also set to establish the reputation of two young publishers, Christopher Dorling and Peter Kindersley who had commissioned and edited the work. In addition to self-sufficiency: he wrote four guide books in the Companion Guide series.


           In the 1970s and 1980s he also made television programmes: an early series followed the footsteps of George Borrow's Wild Wales (1862), later he spent three years making the BBC series Far From Paradise (with Herbert Girardet) which examined the history of human impact on the environment.

           His farm in Wales welcomed visitors seeking guidance on the smallholders life, a project which continued when he moved to County Wexford in Ireland during the 1980s. Here in 1999 he was taken to court for damaging a crop of GM sugar beet. For the last years of his life, he lived on his old Pembrokeshire farm with his daughter's family. He died there on 14 September 2004 and was buried in the top field in an orchard that he had planted.


Legacy

His obituary in the Guardian said:

John was as much at home in the humblest house on a hillside, as in the manor house of landed gentry. He was like a force of nature, always willing to listen, always interested in learning about new - or very old - ways of working the land. He was a one-man rebellion against modernism ... Herbert Girardet, 2005.[1]

บิดาแห่งฝนเทียม


ผู้เป็นบิดาแห่งการทำฝนเทียม
วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ 


          ในปี ค.ศ. 1946 วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ เริ่มงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก เมืองสกิเนกทาดี รัฐนิวยอร์ก เขาพิสูจน์ได้ว่าเราอาจกระตุ้นเมฆฝนให้ผลิตละอองฝนได้โดยวิธีวิทยาศาสตร์

         เมฆเกิดจากอนุภาคน้ำเล็กหลายล้านอนุภาคที่เล็กเกินกว่าที่จะกลั่นตัวเป็นฝน ได้ อนุภาคเหล่านี้จะตกโปรยเม็ดลงก็ต่อเมื่อมันใหญ่จนมีขนาดประมาณ 1 ส่วน 4 มม. หรือ มากกว่า หยดน้ำขนาดเล็กจะระเหยก่อนที่จะตกถึงดินด้วยซ้ำไป

          หยดน้ำขนาดจิ๋วจะใหญ่ขึ้นเมื่อมันเย็นจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็ง ในเมฆซึ่งมีอนุภาคน้ำแข็ง และหยดน้ำจิ๋วอยู่ อนุภาคน้ำแข็งจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่หยดน้ำจิ๋วระเหย และไอระเหยเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิของเมฆมักต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หยดน้ำเล็กๆจึงแข็งตัวง่าย แต่น้ำอาจเย็นกว่าจุดเยือกแข็งได้ถึง 10-20 องศาเซลเซียส (ซูเปอร์คูล)โดยไม่แข็งเลยก็ได้ น้ำในเมฆไม่แข็งตัวก็เพราะมันบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนซึ่งจะรวมตัวเป็น ศูนย์กลางของผลึกน้ำแข็ง ถ้ามีการเติมอนุภาคเล็กๆเข้าไปในหยดน้ำ มันก็จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วจนใหญ่พอที่จะร่วงหล่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหยดน้ำแข็งจะละลายกลายเป็นฝนตกสู่พื้นดิน

           เชฟเฟอร์ และลองมัวร์พิสูจน์ว่า ถ้าเติมซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กให้เมฆที่เย็นเหนือจุดเยือกแข็ง มันจะเร่งให้ผลึกน้ำแข็งใหญ่ขึ้น เขาจะโปรยอนุภาคนี้จากเรือบินจรวด หรือปล่อยที่พื้นดินให้กระแสลมหอบขึ้นไป


          ในสหภาพโซเวียต มีการใช้ปืนขนาด 70 มม. ยิงซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปให้ระเบิดในเมฆเพื่อกระจายสารเคมีออกไป วิธีนี้จะเพิ่มปริมาณฝนอีกถึง 1 ใน 5 แต่ผู้คนยังสงสัยว่า วิธีนี้คุ้มค่าหรือไม่ เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าฝนจะตกมากเท่าไร
  • เริ่มต้นในปี 1946 ได้ทดลองจนมีหิมะตกจริงเมื่อ 13 พ.ค. 1946 ที่ใกล้กับ Mount Greylock 
  • สำหรับอเมริกา ได้มีการทดลองอย่างต่อเนื่อง ในหลายหน่วยงาน เช่นหน่วยงานทหารได้ทดลองที่เวียดนามตั้งแต่ มี.ค. 1967 ถึง พ.ค. 1972 ก็เป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จ
  • ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ก็ทำการทดลองเช่นกัน ส่วนใหญ่เพื่อปรับสภาพภูมิอากาศ เช่นเพื่อไม่ให้พายุใหญ่ก่อตัว ในออสเตรเลียก็มีการทดลองเช่นกันในช่วง 1947-1960 จนประสบผลสำเร็จเช่นกัน
  • ส่วนในไทย ในหลวงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ในปี 2498 ให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปทดลองค้นคว้าจนประสบความสำเร็จ น่าจะใช้คำว่าปรับปรุงให้เหมาะสมกับภูมิอากาศ 
  • สรุป ในหลวงปรับทฤษฎีของฝรั่ง ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ ไปทดลองให้เหมาะกับสภาพอากาศ 

            ต้องขอบคุณ วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ ผู้เป็นพระบิดาแห่งการทำคิดทฤษฎีและการทดลองทำฝนเทียม เป็นเจ้าแรก

ข้อมูลเรื่องฝนเทียม ประกอบ

ปากคำวัฒน์ วรรลยางกูร: คสชคือ.เศษสวะตกค้างหลังสงครามเย็น


วัฒน์ วรรลยางกูร กวี นักเขียน เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ผู้ที่ยังคงเดินอยู่บนเส้นทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ จอม เพชรประดับ ใน เวปไซด์ Thai Voice Media ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรก หลังจากที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา
จากนั้นเพียง 2 วัน คสช. ได้ออกประกาศให้ วัฒน์ วรรลยางกูร ไปรายงานตัวคือในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 แต่เขาปฎิเสธ พร้อมกับการตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งในชีวิต ด้วยการหันหลังให้กับประเทศไทย เดินเชิดหน้าสู่เส้นทางการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้งซ่องสุมกำลังความคิด สู้กับเผด็จการทหารที่ยึดครองประเทศไทย เหมือนที่เคยได้ต่อสู้มาแล้วในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาประเมินแนวคิด การแช่แข็งประเทศไทย โดยการทำรัฐประหารว่า เป็นเพียงเรื่องตลกเท่านั้น
“คุณจะแช่แข็งประเทศไทยในขณะที่โลกเปลี่ยนไปมากมายขนาดนี้แล้ว จะทำได้อย่างไร แต่ในที่สุดเขาก็ทำจนได้ แผนนี้เขาดำเนินการมาเป็นปีแล้ว โดยเริ่มจากการสร้างสถานการณ์ให้มันวุ่นวายในสภาก่อน แล้วก็ออกมานอกสภา ปิดถนนอย่างไม่มีเหตุผล เพื่อให้คนรู้สึกอึดอัด เพื่อจะได้มีพระเอกขี่ม้าขาวออกมานั่นก็คือ คสช. ทุกอย่างเป็นพล็อตที่วางไว้แล้ว”
“เราเป็นนักเขียนนิยาย เราอ่านพล็อตเรื่องนี้ได้ ซึ่งความวุ่นวายทั้งหมด ก็พวกเขานั่นแหละสร้างขึ้นมา สมคบคิดกันขึ้นมา พวกเราไม่ได้สร้างความวุ่นวาย เราเพียงแต่ใช้สิทธิตามกฎพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในโลกที่มีอารยะเท่านั้นเอง เราไม่ได้ทำอะไรที่มันวุ่นวาย เราไม่เคยไปด่าใครอย่างไม่มีข้อมูลอย่างไม่มีเหตุผล และเราก็ไม่มีเจตนาที่เลวร้ายต่อบ้านเมืองต่อสังคม”
เขาไม่แปลกใจที่ คสช.เรียกเขาให้ไปรายงานตัวเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาเตรียมตัว และเตรียมใจเอาไว้แล้วว่า ถ้ารัฐประหารเกิดขึ้นอีกครั้ง ก็จะไม่อยู่ให้หมดสิ้นเสรีภาพเหมือนที่ผ่านมาอีก
ในฐานะที่เป็นนักเขียน อิสรภาพในการแสดงออก เป็นเรื่องสำคัญ “คนอื่นเขาก็รู้เหมือนเรา แต่เขาพูดไม่ได้เพราะสถานะ การงาน ธุรกิจ บีบบังคับ แต่เราเป็นศิลปินอิสระเราทำได้ ไม่มีอะไรจะเสียเพราะมันเสียไปหมดแล้ว คอลัมน์ที่เคยเขียนในเครือเนชั่น ผู้จัดการ พ็อกเก็ตบุ๊คที่เคยพิมพ์กับอัมรินทร์ก็หมด ไม่มีอะไรจะเสีย เราก็เหมือนชนชั้นกรรมาชีพก็เลยทำได้ ไม่ใช่กล้าอะไรมากหรอก ก็ดีเหมือนกัน ยุติชีวิตแบบนี้”
วัฒน์ วรรลยางกูร ให้เหตุผลของการหันหลังให้กับประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อมุ่งหน้าสู่ฐานที่มั่น สะสมกำลังทางความคิด และอยู่กับเสรีภาพที่ควรมี ย่อมมีความหมายมากกว่าสำหรับนักเขียนอย่างเขา แม้วัยจะต่างกันเมื่อเทียบกับการเข้าป่าในครั้งแรก
“แม้จะต้องอยู่แบบกึ่ง ๆ ใต้ดิน แต่ก็พอใจที่เรามีเสรีภาพ มันเป็นความรู้สึกเหมือนตอนเข้าป่า เรามีเสรีภาพที่จะเขียนกลอน แต่งเพลง หรือพูดการเมือง ได้ตามที่เราต้องการจะพูดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันต่างกันว่าตอนเข้าป่าหลัง 6 ตุลา 19 นั้น เราเป็นเด็กวัยรุ่น แรงมันยังเยอะ ตอนนี้มันเป็นวัยปลายแล้ว แต่แรงก็ยังพอมี”
แต่สิ่งที่เขายังเป็นห่วงอยู่ข้างหลังคือ ความรู้สึกมวลมิตร เพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์ ที่ยังคงมีจิตใจฮึกเฮิมจะต่อสู้ต่อไป ถึงกระนั้นก็ตาม การดื้อเงียบ ด้วยการไม่ไปรายงานตัว ก็เท่ากับเป็นการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับรัฎฐาธิปัตย์เถื่อนของ คสช.“คสช.ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกตัวพวกเราไปรายงานตัว เขาเป็นโจรที่เข้ามาปล้นบ้านเรา เราเป็นเจ้าของบ้าน เรามีแต่มือเปล่า เขาจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเราให้ไปรายงานตัว และเขาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาให้อภัยเราด้วยเพราะเราไม่ได้ทำผิดอะไร”
“เหมือนตอน 6 ตุลา เขานิรโทษกรรม นักศึกษาไม่ได้ทำอะไรผิด นักศึกษาถูกฆ่า ถูกจับแขวนคอ ถูกยิงตาย ถูกลากศพไปกลางสนามฟุตบอล และพอเหตุการณ์ผ่าน ไอ้พวกโจร ไอ้พวกฆาตกรก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมว่านักศึกษาไม่มีความผิดให้กลับมาเรียนหนังสือ ก็จะผิดอะไรล่ะ เราถูกฆ่า เรามีความผิดที่ถูกฆ่าใช่มั้ย นี่ก็เหมือนกันเรามีความผิดที่ถูกปล้นเหรอ ปล้นเอาอำนาจอธิปไตยของเราไป ซึ่งเป็นเรื่องหลักการที่ยอมไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ยอมไม่ได้”
วัฒน์ วรรลยางกูร วิเคราะห์ถึงขบวนประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หลังเกิดรัฐประหารว่า มีแต่ความสับสน ระส่ำระสาย เพราะไม่มีการเตรียมการอะไรมาก่อน และหวังว่า นับจากนี้ไป จะต้องจัดสร้างสายสัมพันธ์ให้เป็นระบบระเบียบให้ขบวนมากขึ้น เพื่อจะได้เดินหน้าต่อไป เขาเชื่อว่า เกมการต่อสู้นับจากนี้ไปน่าจะยาว
“บอกกับตัวเองว่าต้องรักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพของความคิดไว้ให้ดี ป่วยไม่ได้ และก็ท้อไม่ได้”
วัฒน์ มองการต่อสู้ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ว่า หลายคนไม่อยากไปชุมนุมแต่ก็อยากไปช่วยให้คนเยอะ ๆ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ช่วงต่อไปของคนเสื้อแดงก็จะเข้าสู่โหมดของการต่อสู้กึ่งใต้ดิน ต้องมีการประสานจัดตั้งกันเป็นงานกึ่งลับมากขึ้นและการต่อสู้แบบนี้ก็จะมีต่อไปเพราะเป็นวัฒนาการทางสังคมของประเทศไทยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
“ผมเชื่อว่าคนไทยที่รักประชาธิปไตย ยังต้องต่อสู้ต่อไป และการต่อสู้จะเป็นรูปแบบมากขึ้น และเมื่อการต่อสู้มันลงใต้ดินแล้ว คุณก็สามารถอภิปรายการเมืองได้โดยไม่ต้องมาอึกอัก ไม่จำเป็นต้องไปโชว์ให้เขารู้แล้วว่ามีมวลชนกี่คน ซึ่งโดยความเป็นจริงมีกลุ่มนักต่อสู้ที่เขาทำงานแบบนี้มาหลายปีแล้ว”
การเป็นนักกวี นักเขียนเจ้าของรางวัลศรีบูรพา มีโอกาสที่จะสร้างงาน สร้างตัวเองได้อย่างมาก แต่เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในเมืองไทยอีกครั้ง ความคิด เป้าหมายชีวิตของวัฒน์ วรรลยางกูร เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
“พอเกิดรัฐประหารปุ๊บ สำนักพิมพ์ที่ผมเคยเขียนประจำ เขาขอร้องให้เปลี่ยนนามปากกา เปลี่ยนแนวเขียนผมก็มานั่ง..จะเปลี่ยนแนวเขียนยังไงวะ ตอนนี้กูมีแต่ความคิดมันระอุไปหมด จะให้ไปเขียนแบบสายลมแสงแดด มันทำไม่ได้น่ะ ใจมันทำไม่ได้ ก็เลยบอกเขาว่าขอหยุดเขียนไปก่อนแล้วกันจนกว่าจะทำใจได้ ผมเขียนประจำอยู่สามที่ก็เลิกหมด”
เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ย้ำเหตุผลของการ ไม่คิดที่จะหันหลังกลับประเทศไทยเพื่อเผชิญกับความจริงอันเจ็บปวดอีกครั้ง “ไม่อยากกลับนะ ผมเบื่อสภาพสังคมที่มันตอแหล ตื่นเช้ามาเปิดทีวีก็เจอแต่เรื่องตอแหลอะไรอย่างนี้ คนชั่วได้รับการสดุดีว่าเป็นคนดี คนดีถูกย่ำยี ผม มันเบื่อ มันเอียนเต็มที มันไม่ไหวแล้ว แล้วเราเจอเรื่องแบบนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว อายุ 3 ขวบ ก็เจอ จอมพล.สฤษดิ์ ทำรัฐประหารแล้ว แล้วการรัฐประหารครั้งนี้มันเป็นโมเดลเดียวกับยุคสฤษดิ์เลย คือการแช่แข็งประเทศไทย”
แต่ความแตกต่างการรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในครั้งนี้ วัฒน์ วรรลยางกูร เห็นว่า ให้น้ำหนักไปที่เรื่อง ม. 112 เป็นเรื่องสำคัญที่สุด “ เรื่องอื่นเขาไม่สนใจเท่าไหร่หรอก ผมอ่านหนังสือประวัติเหมาเจอตุงอยู่ เพื่อนนำมาให้เล่มเบ้อเริ่มเลย มันมีเรื่องเกาหลี ผมก็เลยเห็นว่าเกาหลีเหนือกับประเทศไทยมันเป็นมรดกตกค้างของสงครามเย็น ซึ่งมันจะใช้วิธีการ propaganda ยกย่องลัทธิบูชาตัวบุคคล ซึ่งทั้งฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ก็ทำจาก สตาลิน เป็นต้นมา โลกฝ่ายอเมริกาก็ทำ และอเมริกานี่แหละทำอย่างหนักในประเทศไทย”
“เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มันเป็นมรดก เออ ไม่ใช่ เป็นเศษสวะตกค้างจากยุคสงครามเย็น โดยวิธีการที่อเมริกามาทำไว้ให้บวกกับผลประโยชน์ของฝ่ายศักดินาไทย ซึ่งพวกนี้มันเป็นเรื่องที่ล้าสมัยมาก ประเทศไทยกับเกาหลีเหลือเนี่ยคล้ายกันมากนะตอนนี้”
“แต่คนไทยต่างจากคนเกาหลีเหนือ เพราะเราได้ลิ้มรสของประชาธิปไตยที่กินได้มาแล้วหลายปี อยู่ๆ คุณจะมาไม่ให้เราได้รับสิ่งเหล่านี้มันเป็นไปไม่ได้ ซึ่งต่างจากเกาหลีเหนือ ที่ยังไม่เคยได้ลิ้มรสสิ่งเหล่านี้มาก่อน”
วัฒน์ วรรลยางกูร วิเคราะห์ การต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยว่า การต่อสู้ในระบบสภาน่าจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องคงรักษาการต่อสู้นอกสภาเอาไว้ด้วยและเมื่อถึงการเลือกตั้งแล้วก็ต้องมีทั้งที่รูปแบบที่มันเปิดเผยอยู่บนดิน และรูปแบบที่ไม่เปิดเผยอยู่ใต้ดินก็ต้องคงไว้ ไม่อย่างนั้นพอเขาปราบอีกก็เสียหายอีก
“ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารแล้วนะ ผมก็คุยกับคนที่อยู่ในวงการการเมืองมานาน เขาก็เตือนว่าอย่าไปคิดว่าเขาไม่กล้าทำ เพราะว่าเขาสามารถล็อคเป้าแกนนำได้หมด และตอนนี้ถึงขั้นลงไปล็อคเป้าระดับท้องถิ่นที่เขากำลังทำอยู่ด้วย ฝ่าย คสช.เขาทำการบ้านมามาก เขาเก็บข้อมูลมานาน และข้อมูลทั้งหลายก็เน้นที่เรื่องล้มเจ้าเป็นหลัก”
“การรัฐประหารครั้งนี้มันมีขึ้นเพื่อกำจัดคนที่เขาเรียกว่าขบวนการล้มเจ้าอันนี้ชัดเจนมาก และก็พอเข้าไปคุกตอนที่จะออกจากคุก เขาก็จะใช้วิธีซื้อใจ อยากไปทำอะไรก็ทำ แต่ขออย่างเดียวอย่าเขียนเรื่องวิพากษ์ศักดินาเท่านั้น อยากทำหนังมั้ย เอาเงินไปห้าแสน ซึ่งคราวนี้เขาก็ทำเรียกไปรายงานตัวแล้วก็ บางคนก็อาจได้ทุนไปทำนั่นทำนี่ หรือถ้าเป็นนักเลือกตั้งก็จะได้งบไปหาเสียงอะไรประมาณนั้น”
และแม้ว่าจะมีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลใหม่ แต่ วัฒน์ วรรลยางกูร ยังเชื่อว่า รัฐบาลที่มาจากการกำกับ ควบคุม โดย คสช. ก็ทำอะไรไม่ได้มาก“ผมถึงบอกว่า มันน่าเบื่อไง ผมไม่อยากอยู่ใกล้กับบรรยากาศอย่างนั้น ถ้ามีป่าก็จะเข้าป่า ไม่มีป่าก็จะไปอยู่ที่ที่ห่างไกลจากเรื่องน่าเบื่อเหล่านั้น ก็จะไม่ยอมให้ตลอดชีวิตของกูต้องอยู่ใต้อำนาจป่าเถื่อนเหล่านี้ตลอดไปหรอก ไม่มีวันได้ลืมหูลืมตา ไม่มีวันได้สัมผัสประชาธิปไตย ไม่มีวันมีเสรีภาพอย่างแท้จริงอย่างอารยะประเทศเขา”
“เราจะแก่ตายอยู่กับไอ้สภาพสังคมล้าหลัง ป่าเถื่อนอย่างนี้หรือ เราก็ไม่มีทางอื่นอีกแล้วหรือ ดังนั้นก็ต้องช่วยกันผลักดันต่อสู้ต่อไปตามช่องทางที่เรามี เท่าที่เรี่ยวแรงเราจะทำได้”

สมัคร สปช. วันนี้ 31 คน รวมสามวัน 222 คน


กกต.สรุปรับสมัครสรรหาเป็น สปช. วันนี้ 31 คน รวม 14-16 ส.ค. 222 คน ด้านโพลล์เห็นด้วย "เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์" ไม่ร่วม สปช
 
16 ส.ค. 2557 นายบุญเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต.แถลงสรุปผลการเปิดรับสมัครนิติบุคคลเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นวันที่สาม ว่า ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. มีผู้เข้ารับการสรรหาทั้ง 11 ด้าน โดยมาสมัครและส่งเอกสารด้วยตนเอง 15 คน ส่งทางไปรษณีย์ 4 คน รวม 19 คน
 
ทั้งนี้แบ่งเป็นด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 1 คน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 2 คน ด้านการปกครองท้องถิ่น 2 คน ด้านการศึกษา 4 คน ด้านเศรษฐกิจ 1 คน ด้านพลังงาน 1 คน ด้านสังคม 6 คน และด้านอื่น 2 คน ที่เหลือยังไม่มีผู้เข้ารับการสมัครเพิ่มเติมในวันนี้คือ ด้านการเมือง ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสื่อสารมวลชน
          
มียอดมีตกค้างอยู่ 2 คน เพราะฉะนั้นรวม 11 ด้าน ตั้งแต่วันที่ 14 - 16 ส.ค.มีผู้สมัคร 78 คน ในส่วนของจังหวัด 144 คน ยอดรวมทั้งหมด 222 คน โดยขณะนี้สามารถจำแนกตามเพศได้ ดังนี้คือ เพศชาย 203 คน เพศหญิง 19 คน จำแนกตามช่วงอายุ 35 - 45 ปี 20 คน อายุ 46 - 55 ปี 57 คน อายุ 56 - 65 ปี 93 คน และอายุเกิน 65 ปี 52 คน และจำแนกตามวุฒิการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 31 คน ปริญญาตรี 70 คน ปริญญาโท 96 คน และปริญญาเอก 25 คน
 
โพลล์เห็นด้วย "พท.-ปชป."ไม่ร่วม สปช.
 
ด้านศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชนทัวประเทศ จำนวน 1,222 คน ระหว่างวันที่ 14-15 ส.ค.ที่ผ่านมา เรื่องความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงหลังมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 มีความสนใจมากถึงมากที่สุดที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศโดย สปช.ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.1 สนใจและติดตามน้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อ สปช.ว่าจะสามารถปฏิรูปประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด พบว่าภาพรวมส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 เชื่อว่าหลังการปฏิรูป ปัญหาต่าง ๆ จะยังคงมีเหมือนเดิมหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 37.4 เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
          
ทั้งนี้ในด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากที่สุดพบว่าเป็นด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 45.9 รองลงมาเป็นด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 44.3 และด้านการศ฿กษา การเรียนรู้ และภูมิปัญญา ร้อยละ 35.5 ส่วนด้านที่ประชาชนเห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนน้อยที่สุด คือด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 29.7 และด้านการสร้างระบบเลือกตั้งที่ดี/ไม่มีนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง/ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 31.6
          
อย่างไรก็ตามพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.2 เห็นด้วยกับการที่พรรคการเมืองใหญ่ อย่างพรรรประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม สปช. ขณะที่ร้อยละ 39.4 ระบุไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 90.4 เห็นว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช.ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณะ มีเพียงร้อยละ 4.1 เท่านั้นที่ระบุไม่เห็นด้วย และสุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าคณะกรรมการสรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะสามารถคัดเลือกผู้สมัครสมาชิก สปช.อย่างยุติธรรม และโปร่งใสหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 บอกว่าเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.4 ระบุเชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 

จาตุรนต์ ฉายแสง: เพิ่มโทษย้อนหลัง ล้างบางนักการเมืองฝ่ายเดียว ?


ตอนที่ 1 เพิ่มโทษย้อนหลัง
จากกรณีที่พบว่าคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หนึ่งในตัวเก็งรัฐมนตรีของคสช.มีลักษณะต้องห้าม ไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 8 กำหนดว่าการ "เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นสนช. รัฐมนตรีและสปช.นั้น  ผมได้แสดงความเห็นไปแล้วว่าเป็นการเพิ่มโทษย้อนหลังและไม่เป็นธรรมต่อคุณสมคิด
เรื่องนี้ยังมีประเด็นที่ขยายความกันได้อีกพอสมควร  เพราะอาจจะมีนัยทางการเมืองไปถึงอนาคตข้างหน้าได้ด้วย
ทำไมจึงว่าเป็นการเพิ่มโทษย้อนหลัง ?
คุณสมคิดเป็นนักการเมืองคนหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ตอนที่มีการยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ตลอดเวลา 5 ปีนั้นนักการเมืองทั้ง 111 คนไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี
ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดว่า "การอยู่ระหว่างการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหล่านั้น
เมื่อครบ 5 ปีนักการเมืองเหล่านั้นก็กลับมามีสิทธิเลือกตั้งตามปรกติ บรรดาสิทธิต่างๆที่ถูกเพิกถอนตามไปด้วยก็กลับคืนมาด้วยเช่นกัน
แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับล่าสุด เกิดมามีบทบัญญัติกำหนดว่าการ "เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และข้อความอย่างเดียวกันนี้ก็ถูกกำหนดให้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับรัฐมนตรีและสมาชิกสภาปฏิรูปฯด้วย
เท่ากับว่านักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทั้งหลาย และรับโทษครบตามกำหนดไปแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีสิทธิเลือกตั้งอยู่ (แต่ไม่มีการเลือกตั้ง) แต่กลับมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการดำรงตำแหน่งต่างๆเหมือนกับยังอยู่ระหว่างการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งก็คือถูกเพิ่มโทษจากเดิมนั่นเอง
การเพิ่มโทษเช่นนี้มากำหนดขึ้นใหม่ หลังเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดการลงโทษและหลังการลงโทษ  มีการรับโทษจบสิ้นไปแล้วด้วย จึงเป็นการออกกฎหมายย้อนหลังในทางเป็นโทษ ไม่เป็นธรรมต่อผู้ได้รับโทษ
ตอนที่ 2 ไม่เป็นธรรมซ้ำสอง
นักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิด้วยเหตุที่พรรคการเมืองถูกยุบมี 2 รุ่นใหญ่ๆด้วยกัน ทั้ง 2 รุ่นได้รับความไม่เป็นธรรมทั้งในลักษณะเดียวกันและต่างกัน รุ่นแรกคือพวก 111 ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทั้งๆที่ขณะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ถูกยุบพรรค  กฎหมายกำหนดโทษไว้เพียงว่ากรรมการบริหารพรรคไม่สามารถไปเป็นผู้ก่อตั้งพรรคใหม่และไม่สามารถไปเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองอื่นได้ภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วย
การกำหนดให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ  ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปด้วยเกิดจากคำสั่งของคณะปฏิรูปที่มีขึ้นหลังการรัฐประหารปี 49 แล้วคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้นได้วินิจฉัยด้วยเสียงส่วนใหญ่ว่า สามารถนำมาใช้ย้อนหลังไปลงโทษกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยได้ ทั้งๆที่ขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างยิ่ง
ส่วนรุ่นที่ 2 คือพวกนักการเมือง 109 คน พวกนี้ไม่ได้ถูกลงโทษในลักษณะใช้กฎหมายย้อนหลัง เนื่องจากในรัฐธรรมนูญปี 50 ได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเลย แต่ความไม่เป็นธรรมทีี่ได้รับเช่นเดียวกับรุ่นแรกก็คือการถูกลงโทษเป็นหมู่คณะทั้งๆที่ตนเองไม่ได้กระทำความผิด แต่เป็นการถูกลงโทษจากการที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ซ้ำร้ายผู้ที่ถูกลงโทษส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการสู้คดีเป็นรายบุคคล เหล่านี้ล้วนขัดหลักนิติธรรมทั้งสิ้น
นอกจากนี้  หากพิจารณาในรายละเอียดที่ปรากฏในเวลาต่อมาก็จะยิ่งพบความไม่เป็นธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น
พรรคไทยรักไทยถูกยุบไป เพราะคณะตุลาการฟังได้ว่า มีผู้บริหารระดับสูงของพรรคเป็นตัวการในการจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงเอกสารและจ้างให้มีคนลงสมัครรับเลือกตั้ง  แต่ต่อมาจากการดำเนินคดีจนถึงบัดนี้  ยังไม่มีการลงโทษใครได้เลยแม้แต่คนเดียว
กรณีของพรรคชาติไทยยิ่งชัดเจนมากขึ้นไปอีก กรรมการบริหารพรรคได้ใบแดง  เพราะกกต.เชื่อว่าให้เงินหัวคะแนน จึงให้ใบแดง ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญก็เห็นว่า เมื่อกกกต.ให้ใบแดงแล้วจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นนี้อีก เมื่อกรรมการบริหารทำผิดกฎหมายก็สามารถยุบพรรคได้เลย เมื่อยุบพรรคแล้ว กรรมการบริหารทั้งหมดก็ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ
ต่อมามีการสอบสวนดำเนินคดีผู้ต้องหา ผลสรุปออกมาว่าการจ่ายเงินนั้นเป็นการชำระหนี้ตามปรกติ ให้คืนเงินผู้ต้องหาไป หมายความว่า กรณีของพรรคชาติไทยไม่มีผู้ใดกระทำผิดกฎหมายเลยแม้แต่คนเดียว
แต่นักการเมืองหลายคน หลายตระกูลถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เป็นอะไรก็ไม่ได้กันคนละ 5 ปีไปแล้ว
บัดนี้รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดบทลงโทษนักการเมืองเหล่านี้  รวมทั้งนักการเมืองคนอื่นๆที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการกำหนดว่าการเคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับการดำรงตำแหน่งต่างๆ
จริงอยู่ นักการเมืองส่วนใหญ่ถูกจำกัดสิทธิด้วยเหตุอื่นอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ก็ไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งต่างๆเหล่านั้น แต่พิจารณาจากหลักนิติธรรมในการบัญญัติกฎหมายแล้วก็เห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและรับโทษไปแล้ว แต่กลับต้องมาถูกลงโทษอีก
จึงเรียกได้ว่า ไม่เป็นธรรมซ้ำสอง
ตอนที่ 3 เคยถูกถอดถอนก็เป็นลักษณะต้องห้าม ของแถมชิ้นใหญ่
ลักษณะต้องห้ามอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เคยกำหนดมาก่อนคือ การ  "เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง" นี่ก็เป็นการเพิ่มโทษย้อนหลังเช่นกัน ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา การถอดถอนจากตำแหน่งทำได้โดยวุฒิสภาหรือศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการขั้นต้นมักจะมีการพิจารณาชี้มูลโดยปปช. เมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งสูงๆก็สามารถถูกถอดถอนได้ เมื่อถูกถอดถอนแล้วยังอาจถูกดำเนินคดีอาญาอีกก็ได้ด้วย
แต่การถูกถอดถอนไม่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีก ตัวอย่างเช่น กรณีที่ท่านอดีตนายกฯสมัคร ถูกถอดถอนจากตำแหน่งแล้ว ท่านก็ยังมีสิทธิ์กลับมาเป็นนายกฯได้อีก  แต่ว่าท่านไม่ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นนายกฯ
ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์กับรัฐมนตรีร่วมคณะอีกหลายคนที่ถูกถอดถอนไปก่อนการรัฐประหารไม่นานนั้น หากมีการตั้งคณะรัฐมนตรีกันใหม่ก็มีสิทธิ์กลับมาเป็นกันอีก เพียงแต่ว่ายุบสภาไปก่อนแล้ว จึงไม่มีการตั้งครม.ได้อีก
รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้กำหนดว่าการ "เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง" เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นสนช. รัฐมนตรีและสปช.ด้วย  ผู้ที่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งก่อนหน้านี้ จึงไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่างๆเหล่านั้นได้
นี่ก็คือการเพิ่มโทษย้อนหลังแก่บุคคลเหล่านี้นั่นเอง
เรื่องนี้ ถ้าดูจากจำนวนคนที่เคยถูกถอดถอนก่อนหน้านี้ซึ่งไม่มาก  ก็อาจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ ยิ่งถ้ามองว่าคนที่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งทั้งหลายต่างก็ไม่สนใจจะเป็นสนช.หรือรัฐมนตรีหรือสปช.ในช่วงนี้อยู่แล้ว ก็ยิ่งอาจเห็นเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าดูจากตำแหน่งและความสำคัญทางการเมืองก็จะพบว่าเรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก
ยิ่งถ้ามองไปข้างหน้า อาจมีคนถูกถอดถอนมากกว่าที่ผ่านมา ถ้าเกิดมีการนำหลักเกณฑ์กติกาแบบนี้ไปใช้ จะมีผลต่อการเมืองไทยอย่างไร และถ้าดูว่าใครอาจถูกถอดถอนได้บ้าง ยิ่งไม่ใช่เรื่องเล็กแน่
การกำหนดให้การ "เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง" เป็นลักษณะต้องห้าม ดูผิวเผินก็เหมือนเป็นของแถม แต่ดูให้ดีๆจะพบว่านี่คือ ของแถมชิ้นใหญ่ทีเดียวครับ

ตอนที่ 4 ล้างบางฝ่ายเดียว
การที่"การเคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง"และ"การเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง"ถูกกำหนดให้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับสนช. คณะรัฐมนตรีและสปช. ความจริงแล้วเป็นการเพิ่มโทษย้อนหลังแก่คนจำนวนไม่น้อย แต่ที่ไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนักก็เพราะผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิเองก็ไม่ได้สนใจจะดำรงตำแหน่งที่ถูกห้ามเหล่านี้ หรือไม่ก็ถูกจำกัดสิทธิ์ด้วยลักษณะต้องห้ามประการอื่นเช่นการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นต้น
แต่ถ้าไม่มีใครสนใจเรื่องนี้กันเท่าที่ควร ต่อไปอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่มากได้และนั่นก็คือการใช้วิธีการนี้เพื่อ "ล้างบางฝ่ายเดียว"
ลองนึกภาพดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าในรัฐธรรมนูญที่จะมีการร่างกันขึ้นใหม่กำหนดให้"การเคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง"และ"การเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง"เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับสส. สว.และรัฐมนตรี
นักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งทั้งหลายก็จะไม่สามารถเป็นสส. สว.หรือรัฐมนตรีได้อีกเลย ไม่นับรวมนักการเมืองที่อาจจะถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือถูกถอดถอนจากตำแหน่งที่จะเกิดเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
คนเหล่านี้เป็นใครบ้าง
คนเหล่านี้คือนักการเมืองจำนวนหนึ่งที่เคยได้รับใบแดง หรือทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้วถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งก็อาจมีกระจายอยู่ตามพรรคต่างๆ
อีกพวกหนึ่งคือพวกที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะพรรคถูกยุบ ที่สำคัญก็หนีไม่พ้นพวก 111 และ 109
พวกที่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งก็เช่น ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์กับรัฐมนตรีร่วมคณะอีกหลายคน
ที่ยังไม่ทราบชะตากรรมคืออดีตสส. อดีตสว.รวมประมาณ 300 กว่าคน ที่ร่วมกันแก้รัฐธรรมนูญและถูกปปช.สอบอยู่ แต่ยังไม่ทราบว่าจะถูกส่งไปถอดถอนโดยสนช.หรือไม่
ถ้าอดีตสส.และอดีตสว.เหล่านี้ถูกถอดถอน  ก็จะมีนักการเมืองที่มีลักษณะต้องห้ามรวมกันหลายร้อยคน ซึ่งก็ช่างบังเอิญเสียจริงที่นักการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายเดียวกันในทางการเมืองมาก่อน
ถ้ากติกาออกมาอย่างนั้นและเหตุการณ์เป็นไปอย่างที่สงสัยจริงๆ ไม่เรียกว่าล้างบางฝ่ายเดียวก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร
ที่ให้ความเห็นมานี้ไม่ใช่ตีตนไปก่อนไข้แน่ๆ  เพราะการกำหนดลักษณะต้องห้ามที่กล่าวข้างต้นก็เกิดขึ้นแล้วอย่างง่ายดาย การจะเกิดเรื่องทำนองเดียวกันนี้ขึ้นอีกในรัฐธรรมนูญใหม่ ในทางเทคนิคแล้วก็ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ
ที่เป็นห่วงก็คือ  การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย การปรองดองจะเป็นอย่างไร ถ้ามีการล้างบางฝ่ายเดียวขึ้นจริงๆ
การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคตจะมีความหมายอย่างไร หากลงเลือกตั้งกันได้เพียงฝ่ายเดียว
มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่า ใครจะทำอะไรก็ปล่อยเขาไปเถอะ สุดท้ายถึงเวลาเลือกตั้งพวกเขาก็แพ้อยู่ดีนั้น
วิเคราะห์มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะแนะนำว่าใครที่คิดอย่างนั้นควรคิดใหม่ได้แล้ว บ้านเมืองเป็นของเราทุกคน ต้องช่วยกันติดตามความเป็นไปและใช้สิทธิเสรีภาพเสนอความเห็นเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะจำกัดอยู่มากก็ตาม
ไม่ใช่รอไปเรื่อยๆ  แล้วทุกอย่างจะดีเอง.

ไม่ให้ประกัน 'กอล์ฟ' คดี 112 ละครเจ้าสาวหมาป่า


เวลาประมาณ 14.00 น. ที่ศาลอาญารัชดา ภาวิณี ชุมศรี ทนายความของภรณ์ทิพย์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาคดี 112 แจ้งว่า ในการยื่นขอประกันตัวในวันนี้ด้วยเงินสด 500,000 บาท ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว
คำสั่งศาลระบุว่า "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำความผิดของผู้ต้องหากับพวกตามคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 เห็นว่าการกระทำความผิดของผู้ต้องหากับพวกเป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนที่จงรักภักดี ประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมตามหมายจับ และผู้ร้องคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้วจะหลบหนี เหตุผลตามคำร้องประกอบการปล่อยชั่วคราวยังไม่เพียงพอจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นนี้ จึงให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาและผู้ประกันทราบโดยเร็ว" ลงชื่อ นายรุ่งศักดิ์ วงษ์กระสันต์ รองอธิบดีศาลอาญา
ภรณ์ทิพย์ หรือ กอล์ฟ อายุ 25 ปี ถูกจับกุมวานนี้ที่สนามบินหาดใหญ่ระหว่างจะเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศและถูกนำตัวมายัง สน.ชนะสงคราม พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 จากกรณีที่มีส่วนเกี่ยวพันกับละครเวทีเรื่องเจ้าสาวหมากป่า จัดแสดงในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลาฯ ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 6 และ 13 ต.ค.2556 โดยเป็นการรวมการเฉพาะกิจของอดีตนักแสดงจากกลุ่มประกายไฟการละครซึ่งปิดตัว ไปเมื่อปลายปี 2555 และนักแสดงกลุ่มอื่นๆ ต่อมาวันที่ 30 ต.ค.2556 เครือข่ายเฝ้าระวัง พิทักษ์และปกป้องสถาบัน มี การจัดประชุมสมาชิกเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วมราว 200-300 คน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อแจกจ่ายคลิปดังกล่าวและนัดแนะให้เครือข่ายฯ เข้าแจ้งความตามมาตรา 112 ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ที่อยู่อาศัย

มทภ.1 เตือนมือโปรยใบปลิวโจมตี คสช.อย่าทำอีก

?เดินหน้าจัดระเบียบปราบมาเฟียวินจยย.-แท็กซี่-รถตู้?

แม่ทัพภาคที่ 1 ระบุรู้ตัวมือโปรยใบปลิวโจมตี คสช.แล้ว เตือนอย่าทำอีก พร้อมเปิดโอกาสให้มาพูดคุย ยอมรับยังยกเลิกกฎอัยการศึกไม่ได้ เจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก ขณะเดียวกัน ระบุเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ยาก 
 
16 ส.ค. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่าพล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) ให้สัมภาษณ์กรณีการโปรยใบปลิวโจมตีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก เมื่อเช้ามืดวันศุกร์ที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ กกล.รส. ซึ่งรู้อยู่แล้วว่ายังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีต่อการทำงานของ คสช. และเป็นกลุ่มเดิมๆ ที่เคยนำใบปลิวไปโปรยที่แยกหลักสี่ อย่าคิดว่าจะทำอะไรก็ได้อย่างอิสระเหมือนก่อน เพราะเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าติดตามอยู่
 
“คสช.มีความตั้งใจในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เป็นธรรมดาที่กลุ่มบุคคลที่มีความเห็นต่างต้องออกมาแสดงความไม่พอใจ ผมอยากขอร้องว่าอย่าทำเช่นนี้อีก เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไร มีอะไรมาคุยกัน เข้ามาแนะนำกัน เราพร้อมให้ความร่วมมือ และพร้อมจะแก้ไขปัญหาให้ทุกเรื่อง ผมเปิดโอกาสให้เข้ามาพูดคุยกัน เมื่อไม่เข้าใจ ไม่พอใจอะไร ก็มาพูดกันดีกว่าจะมาทำแบบนี้ ” พล.ท.ธีรชัย กล่าว
 
พล.ท.ธีรชัย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. สั่งให้ดำเนินการหาตัวคนก่อเหตุ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ กกล.รส. แต่ต้องการขอร้องสื่อมวลชน หรือประชาชนทั่วไป อย่าไปให้ความสำคัญกับใบปลิวดังกล่าว และควรดูผลงานของ คสช.มากกว่า เพราะตอนนี้ทำงานกันไม่มีวันหยุด
 
ส่วนแนวโน้มยกเลิกกฎอัยการศึก พล.ท.ธีรชัย กล่าวว่า ต้องขอเวลาดูอีกสักระยะ ยอมรับว่าถ้ายกเลิกในขณะนี้ เจ้าหน้าที่ก็จะทำงานกันลำบาก เพราะจะไม่มีกฎหมายมารองรับ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เดือดร้อนกับกฎอัยการศึก
 
“แทบจะพูดได้ว่า ทุกวันนี้ประชาชนลืม หรือรู้หรือไม่ว่ายังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่ ลืมไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะสถานการณ์ขณะนี้ปกติ ไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรง คนที่เดือดร้อนคือคนที่มุ่งคิดร้ายต่อประเทศชาติ จ้องจะทำในสิ่งที่ไม่ดี จะก่อกวนจะปั่นป่วนคนพวกนี้จ้องอยู่” พล.ท.ธีรชัย กล่าว
 
เมื่อถามถึงการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พล.ท.ธีรชัย กล่าวว่า ต้องรอให้มีพระบรมราชการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธาน สนช. มาก่อน จึงจะมีการเลือกนายกรัฐมนตรี
 
“ก็เป็นไปตามข่าวที่ออกมาอย่างต่อเนื่องว่า เราต้องการให้ใครเป็น ก็คนๆ นั้น คงเลือกกันไม่ยาก เมื่อมีนายกรัฐมนตรีเข้ามาแล้ว ขั้นตอนต่อไปนายกรัฐมนตรีก็ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนทำงานกันอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาประเทศตามโรดแมปที่วางเอาไว้” พล.ท.ธีรชัย กล่าว