วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554


Daily News Online ข่าวหน้า 1 "ทักษิณ"พบ "ฮุนเซน"กอดกันชื่นมื่น

http://redusala.blogspot.com

สื่อนอกตีข่าว-ภาพ "ยิ่งลักษณ์" พบ "ฮุนเซน" ฟื้นสัมพันธ์สุดชื่นมื่น
สื่อนอกตีข่าว-ภาพ "ยิ่งลักษณ์" พบ "ฮุนเซน" ฟื้นสัมพันธ์สุดชื่นมื่น

 เมื่อวันที่ 15 ก.ย. สำนักข่าวต่างประเทศ เผยแพร่ภาพการพบปะหารือระหว่างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย กับนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ทำเนียบรัฐบาล กรุงพนมเปญ ระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางการคาดหวังว่า สองประเทศจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้แนบแน่นเพื่อแก้ไขข้อพิพาทต่างๆ หลังเปิดศึกต่อกันในสมัยรัฐบาลไทยชุดก่อน นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์












 ด้านผู้สื่อข่าวรายงานว่า  น.ส.ยิ่งลักษณ์พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายอนุสรณ์ อมรฉัตร คู่สมรส นายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสมปอง สงวนบรรพ์  เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนากรัฐมนตรี คณะเจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน  เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญ ในเวลา 15.25 น.


 เมื่อคณะของนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงกัมพูชา นางอึง กัตถาภาวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสตรี ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีเกียรติยศต้อนรับและเชิญนายกรัฐมนตรีร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่สำนักนายกรัฐมนตรี  ซึ่งสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาพร้อมภริยารอต้อนรับ มีพิธีตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ

 ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า กัมพูชาต้อนรับคณะของนายกรัฐมนตรีไทยอย่างอบอุ่น ตลอดเส้นทางที่รถของคณะผ่าน มีเด็กนักเรียนและประชาชน ยืนเรียงแถวริมทางเท้าตลอดเส้นทาง โบกธงชาติไทยพลิ้วไสว ต้อนรับคณะ

 จากนั้น นายกรัฐมนตรีเข้าหารือข้อราชการกับสมเด็จ ฮุน เซนนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก่อนเดินทางไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชา ณ พระราชวังเขมรินทร์ จากนั้น เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ ณ สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และเดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันเดียวกันเวลา 21.20 น.  
http://redusala.blogspot.com

ลากไส้สื่อเหี้ยม..ม.ม้าหายทุกค่ายทุกเม็ดทุกขด




ความน่าประทับใจในตัวอาจารย์อภิสิทธิ์สำหรับฉัน ไม่ใช่รูปลักษณ์ภายนอก แม้ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งแรกที่คนมองเห็น แต่สิ่งที่ปรากฎภายใน คือความเมตตานั้นต่างหาก-นักข่าวช่อง 7 ซึ่งตั้งคำถามจนนายกฯยิ่งลักษณ์ต้องเดินหนี และแจ้งความแกนนำเสื้อแดงเพชรบุรี













วีรกรรมจิกหัวซ้ำเสื้อแดงตอนสงกรานต์เลือดปี52-มินตรา โสรส (ภาพที่2) ซึ่งเป็นหญิงเสื้อแดงที่ถูกจิกหัวในเหตุการณ์ประท้วงสงกรานต์เลือดปี52 มีสีหน้าสลดหลังนักข่าวช่อง 7 สมจิตต์ นวเครือสุนทร (ภาพที่3-4) ตั้งป้อมเข้าข้างรัฐบาล โดยแทนที่จะทำหน้าที่สื่อกลาง กลับมาทำตัวเป็นคู่กรณีพิทักษ์รัฐบาลอภิสิทธิ์กล่าวหาว่าเธอถุยน้ำลายใส่ชายคู่กรณี(ภาพแรก)ก่อนจึงถูกจิกหัว มาพูดเรื่องเท็จ มาผิดที่แล้ว จะมาสภาแถลงข่าวทำไม ควรไปแจ้งตำรวจมากกว่ามาแถลงข่าว และฯลฯ(ภาพข่าว:ASTVผู้จัดการ)

คลิปข่าวนักข่าวช่อง7เดินตามาร์คมัวแต่มองปลื้มจนทำให้เดินสะดุดหัวปักหัวปำ วันมาร์คไปเปิดตัวหนังสือที่เธอเป็นคนเขียนเชลียร์ เรียกว่าคนละอารมณ์กับตอนถามจิกตีจนนายกฯยิ่งลักษณ์ต้องเดินหนีเลยทีเดียว โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 สิงหาคม 2554

จากกระทู้สุดฮิต"ลากไส้สื่อเห้"ในเวบบอร์ดฟ้าเดียวกัน ซึ่งมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า100,000คลิ้ก เปิดโปงเบื้องลึกเบื้องหลังวงการสื่อไทยอย่างล่อนจ้อน ด้วยสำนวนภาษาฮาร์ดคอร์ดิบเถื่อน และต่อมาไทยอีนิวส์ได้นำเสนอเป็นตอนๆทั้งสิ้น18ตอน

ล่าสุดได้มีผู้จัดทำลงเป็นไฟล์ pdf โดยจัดหน้า ลงรูปภาพประกอบสวยงามอ่านง่ายแล้ว ขอเชิญอ่านและเผยแพร่ต่อ โดยคลิ้กดาวน์โหลดที่นี่

http://www.4shared.com/file/108373645/c6fbb65d/Bad_Media_Series-.html

สารบัญซีรีส์สุดมันส์ลากไส้สื่อเห้

(-ตอน1):ค่ายเนชั่นข้อตกลงกับปีศาจ เบื้องหลังโชคมหาศาล มันคืออาชญากรรม
(-ตอน2):จากไดโนเสาร์กลายพันธุ์มาเป็นเหี้้ย
(-ตอน3):ลิ้มนักแบล็กเมล์เจอแบล็กลิสต์ เจาะลึกสำราญ รอดเพชร
(-ตอน4):สมาคมสื่อโจร พวกมึงแหละตัวดีที่ต้องหยุดทำร้ายประเทศไทย
(-ตอน5):ขุดประจานแก๊งเด็กนรกเนชั่น จอมขวัญ ธีระ กนก สรยุทธ
(-ตอน6):ชื่อของนก นามของไม้ ศักดิ์ศรีของคนชายคามติชน
(-ตอน7):เปลว สีเงินปฏิบัติการแค้นฝังเหลี่ยม
(ตอน8)'จารย์เจิมเสือเจ็บร้อง"เอ๋ง"!
(-ตอน9):ชำแหละอ.ย.ม.ชัยอนันต์ สู่อ.ล.ม.กุนซือลิ้ม
(-ตอน10):ภารกิจลับระดับสูงของปีย์-พญาไม้-ไพศาล
(-ตอน11):แทงกั๊กสไตล์ไทยรัฐมีตั้งแต่เหลืองอื๋อไปยันแดงแปร๊ด
(-ตอน12):อัญชะนีชีวิตนี้พลีเพื่อเฮียเอี่ยม
(-ตอน13):เปิดโฉมหน้าอรหันต์คอลัมนิสต์ไทยรัฐ
(-ตอน14):บุญเลิศ ช้างใหญ่,นงนุช สิงหะเดชะ,ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
(-ตอน15):อาจารย์สุนันท์ ศรีจันทรา-โสภณ องค์การณ์ แสบคูณสอง
(-ตอน16):ยำใหญ่คนอ่านข่าวหน้าจอทีวี พวกเขากับเจ้าหล่อนคือใคร?
(-ตอน17):ประชาทรรศน์ ไฮทักษิณ ประดาบ สื่อลูกกะโปกห้อย
(-ตอนจบ):กำเนิดและอวสานของมหากาพย์ถลกหนังสื่อเหี้้ยมม.ม้าหาย

หรือคลิ้กอ่านรวมบทความทุกตอนที่ลิ้งค์นี้http://www.thaienews.blogspot.com/2009/05/blog-post_7852.html

อย่าพลาด!เพิ่มเติมโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

'อาย'-คำที่สมาคมสื่อสะกดไม่เป็น

- รู้จักนักข่าว7สีผู้มีความเป็นกล๊างเป็นกลาง(ใจมาร์ค)



ไหนว่าไม่มีอคติแฉวีรกรรมเก่านักข่าว7สีจิกหัวเสื้อแดงซ้ำ ไำม่ทำหน้าที่สื่อสวมบทองครักษ์พิทักษ์มาร์ค

-ดับอนาถคาจอ"ประดาบแห่งเว็บHi-thaksin"สุดท้ายออกลายกลายเป็นสื่อลูกกะโปกห้อย
-ใช้เสี่ยต้อยนักข่าวร้อยล้าน TNEWS และผู้แทนสำนักงานทรัพย์สินฯไล่ล่าแม่มดคดีหมิ่น ดร.จิรายุคิดดีแล้วหรือ?

-ศึกเฮียกัดเฮียขยายวง:เฮียโล้นกัดเฮียลิ้ม

-เปิดโปงสื่อโล้น อย่าปล่อยเนชั่นลอยนวล

-สื่อกระหายเลือดเปลว สีเงิน:ฆ่าเสื้อแดงไม่บาป!.. ฆ่าแบบไม่ให้มือเปื้อนเลือด

-หยันเปลวไทยโพสต์อัปยศไร้ยางอายคุกคามสื่อ'ใบตองแห้ง'

-สุนันท์ ศรีจันทรา สวมบทเหี้ยม'ไอ้คลั่งรวันด้าเมืองไทย'ปลุกระดมผ่าน'สื่อแห่งความตาย'ฆ่าเสื้อแดง

-ธงชัย วินิจจะกูล:สื่อไทยมีส่วนในการก่ออาชญากรรม แบบสื่อแห่งความตายในรวันด้า

-ธิดาจัดหนักสื่อโดนทุกค่าย:ใกล้บ้าแล้วให้มันอาฆาตแค้นไปเถิดเขาโกรธจัดที่ฝ่ายประชาชนได้รับชัยชนะ

-คนเนชั่นด้วยกันยังเหลือทน:เสนอให้สอบสื่อเอียงข้างเผด็จการบ้างสิ

-ตรวจสอบหมอที่ตรวจสอบสื่อมั่ง:คุณธรรมสูงปรี๊ดหมอวิชัยเชียร์หมอชูชัยรับใช้ปชป. คนฝากโกงน้ำมันรถ-เด็กฝากสาวกอู6ศพตายนอกวัด

-อนาถ!สื่อไทยมั่วตั้งแต่ต้นจนจบ ฮือต้านตัดสินรางวัลสุดนิ่มจิกหัวเสื้อแดงคว้าภาพยอดเยี่ยม

-ประธานชมรมสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย-FCCT:มาตรการเซ็นเซอร์และยี้สื่อกระแสหลัก ผลักคนไทยหันพึ่งสื่ออินเตอร์เน็ตและสื่อนอก
http://redusala.blogspot.com


รัฐซ้อนรัฐ

      ภายในไม่กี่วันหลังจากการเข้าปฎิบัติหน้าที่ รัฐบาลชุดใหม่ของพรรคเพื่อไทยก็พบว่าพวกเขาเป็นเป้าความขัดแย้งใหม่และรุนแรง ข้อพิพาษหรือความขัดแย้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐสภาหรือเป็นหัวข้อในเรื่องความโปร่งใสของการเลือกตั้งหรือการปกป้องฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระ เหมือนกับเหตุการณ์ภายหลังการเลือกตั้งในปี 2549 และ 2550 ซึ่งบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งในพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจากประชาชน กลุ่มอำนาจภายนอกกระบวนการประชาธิปไตยได้คุกคามให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการทำงานของรัฐบาลจนกระทั่งมาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มถลายในปี 2554 ตัวละครที่อยู่นอกรัฐสภาและเหนือกฎหมายของปมขัดแย้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของประเทศไทยว่าเป็นเสมือน ‘สหพันธรัฐ’ หรือรัฐบาลที่มีสองระดับ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมเคยเขียนเอาไว้อย่างละเอียดในงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศรัสเซีย
       
           ผู้ก่อการร้ายทางการเมืองชาวเยอรมัน Ernst Fraenkel ให้คำจำกัดความของคำว่า รัฐซ้อน ว่าเป็นระบบการทำงานที่พึ่งพิงกันทั้งสองระดับ รัฐอุดมการณ์หมายถึงรัฐที่ปกครองตามระบอบกฎหมายที่ให้ไว้อย่างชัดเจน มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้และกระบวนการที่ผูกติดกับกฎหมาย รัฐอำนาจพิเศษ หมายถึง รัฐที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ กฎหมายไม่สามารถตรวจสอบได้ มีการใช้อำนาจปิดบังซ่อนเร้นไม่มากก็น้อย ในขณะที่การปฎิบัติหน้าที่ทางการเมืองนั้นโดยทั่วไปแล้วหากไม่เป็นระบบการปกครองแบบ “รัฐอุดมการณ์” (เช่น ประเทศนอร์เวย์) หรือเป็นแบบ “รัฐอำนาจพิเศษ” (เช่น ประเทศลิเบีย ภายใต้การปกครองของกัดดาฟี่) ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบ “เผด็จการ” หรือ อำนาจแบบ “ลูกผสม” ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่มีลักษณะการปกครองของทั้งสองแบบนี้อยู่ด้วยกัน ในขณะที่ Ernst Fraenkel ได้แย้งว่าการทำงานของระบบสหพันธรัฐนั้นเอื้อประโยชน์ให้ระบอบการปกครองหรือการบริหารแบบไม่เสรีนั้นยั้บยั้งสภาพการใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมเอาไว้ แต่ทว่าการใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมไม่ได้แค่ช่วยให้ระบอบการปกครองหรือการบริหารมีความเป็นธรรมเท่านั้นแต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมอีกด้วย กฎหมายที่เป็นทางการถูกบังคับใช้โดยศาลที่กึ่งปกครองตนเองยั้บยั้งอิสระภาพในการลงทุนทางธุรกิจ ความเป็นธรรมของสัญญาว่าจ้าง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และการแข่งขัน ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่ระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและคาดเดาได้

        รัฐอุดมการณ์ของประเทศไทยนั้นปกครองโดยรัฐบาลที่มีประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสนับสนุนรัฐสภาที่เลือก กฎและขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฎรายละเอียดชัดเจนควบคุมการทำงานของรัฐ กั้นเขตการแบ่งแยกอำนาจระหว่างขั้วต่างๆ ของรัฐบาล และกำหนดขอบเขตอำนาจทางการบริหารของรัฐบาล เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างอย่างเป็นทางการของรัฐอุดมการณ์แล้ว ประเทศไทยมักถูกมองว่าเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่บริหารงานภายใต้กรอบของการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อระบบรัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยนั้นอยู่รวมกับระบบรัฐอำนาจพิเศษ (หรืออย่างที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกขับออกมาอย่าง นายจักรภพ เพ็ญแข เรียกว่า “รัฐซ้อน”) ถูกให้คำนิยามนี้โดยพิจารณาจากการประพฤติตัวของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง, เครือข่ายนอกระบบ และสถาบันต่างๆ (รวมถึง กลุ่มอำมาตริย์, กองทัพ, คณะองคมนตรี และ กลุ่มธุรกิจที่เป็นพวกพ้องกันเอง) ประเทศไทยมีคำนิยามให้กับระบบรัฐอำนาจพิเศษนี้เองซึ่งโดยทั้วไปแล้วจะรู้จักระบบอำนาจพิเศษนี้ว่าเป็น “มือที่มองไม่เห็น” ในความเป็นจริงแล้ว มือนี้ก็ไม่เชิงว่าจะ “มองไม่เห็น” เพราะมันแค่ครุมเครือแค่นั้นเอง กฎหมายมาตราที่ 112 ที่ถูกนำมาใช้อย่างไม่ชอบธรรมเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ปิดบังความสลับซับซ้อนของการกระทำของพวกเขาซึ่งอ้างความชอบธรรมโดยการแสร้งว่าเป็น “การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” เมื่อ Ernst Fraenkel สังเกตุการณ์ด้านมืดที่มีเงื่อนงำในระบบสหพันธรัฐที่ “’เติบโตได้จากการปิดบังซ่อนเร้นหน้าตาที่แท้จริง” และ “สิ่งบดบัง” นี้เองที่ถูกเก็บซ่อนไว้โดยการสั่งห้ามไม่ให้มีการอภิปรายหรือพูดพาดพิงถึงการทำงานของรัฐอำนาจพิเศษ ไปจนถึงไม่ยอมให้มีการรับฟังหรือแลกเปลี่ยนความเห็นสาธารณะ

         ระบบรัฐอำนาจพิเศษเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยส่วนหนึ่งต้องขอบคุณการสนับสนุนและการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเห็นได้จากกองทัพที่เข้มแข็งและมากมายนับไม่ถ้วน และยังสังเกตุได้จากความยุติธรรมแบบอันธพาลที่ให้กับฝ่ายตรงข้าม พันธมิตรที่พึ่งพาช่วยเหลือกันได้ในการสู้รบกับคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม รัฐอำนาจพิเศษก็ไม่ได้ล้มหายตายจากไปพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของการคุกคามของลักธิคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่การพังกำแพงเบอร์ลินและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้วรัฐบาลอเมริกันก็ยินดีที่ได้ทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศสมาชิกต่างๆ ของรัฐอำนาจพิเศษ ก่อนที่จะเกิดการวิพากษณ์วิจารณ์โจมตีการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ในวงกว้างอย่างรุนแรงและการสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่าย “หลีกเลี่ยงความรุนแรง” โดยตลอดเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย รัฐบาลอเมริกันพอใจที่ได้นั่งอยู่เฉยๆ เพื่อดูสถาบันการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยของประเทศกลุ่มพันธมิตรที่คบหากันมายาวนานถูกทำลาย ดูพลเมืองถูกฆ่าตายหรือถูกปล่อยให้เน่าอยู่ในเรือนจำเนื่องจากแสดงความคิดเห็น ที่จริงแล้วความผูกพันธ์เกี่ยวข้องด้านรัฐอำนาจพิเศษในประเทศไทยนั้นเหนียวแน่นมากจนประเทศสหรัฐอเมริกาแทบจะไม่กระดิกนิ้วทำอะไรแม้ว่า พลเมืองสัญชาติอเมริกัน ก็เพิ่งถูกจำกุมตัวในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

         ที่ว่ารัฐอุดมการณ์และรัฐอำนาจพิเศษเกิดอยู่ร่วมกันในประเทศไทยนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับการจัดวางองค์ประกอบของรัฐบาล เมื่อใดก็ตามที่รัฐอุดมการณ์ถูกปกครองโดยทักษิณ ชินวัตร หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษิณ องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐในประเทศไทยก็ได้เกิดการขัดแย้งกัน ดังตัวอย่างที่เห็นเมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้พยายามที่จะทำให้ขอบเขตการทำงานของระบบรัฐอำนาจพิเศษลดน้อยลงในขณะที่ผู้สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษได้ต่อต้านกลับโดยใช้การก่อความไม่สงบ, กระบวนการดำเนินคดีในศาลที่ไม่เป็นธรรม และอำนาจทหารที่เปลี่ยนแปลงหรือทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เมื่อผู้สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษสามารถโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐอุดมการณ์ อย่างเช่นเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และ “รัฐประหารโดยตุลาการ” ในปี พ.ศ. 2551 องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐได้ประสานความร่วมมือกันอย่างแนบเนียนมากขึ้น ในสถานการณ์นั้น กลุ่มบุคคลที่ปกครองในรัฐอุดมการณ์ตกลงที่จะนำเอาระบบกฎหมายมาบังหน้าให้กับรัฐอำนาจพิเศษที่มีลักษณะอำนาจนิยมและไร้ซึ่งความรับผิด ต้องขอบคุณกลุ่มคนที่อยู่ในอำนาจเหล่านี้ที่ได้เอื้อเฟื้อให้รัฐอำนาจพิเศษโกงกินหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ได้ ในขณะนี้ พรรคเพื่อไทยได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ความไม่ลงรอยของรัฐซ้อนทั้งสองสร้างความตึงเครียดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอำนาจที่ทำงานอยู่ในเงาของรัฐอำนาจพิเศษได้เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อถอดถอนรัฐบาลใหม่ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำการคุกคามรัฐบาลไม่ให้แตะต้องสถานภาพนั้น

         อย่างน้อยสถาบันสองสถาบันที่ทำงานให้รัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยปฏิบัติการเหมือนท่อเชื่อมให้กับการครอบงำที่คืบคลานเข้ามาของรัฐอำนาจพิเศษ: กลุ่มตุลาการและพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มตุลาการยังคงเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพสูงสุดจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะมีการโกงกินและใช้อิทธิพลเพื่ออำนาจผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2549 กลุ่มตุลาการได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยกระทำตัวเหมือนเป็นเดือยบังคับล้อของความพยายามของรัฐอำนาจพิเศษที่จะนำพาความต้องการของกลุ่มตนผ่านกระบวนการของรัฐอุดมการณ์ หลังจากการทำรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2549 อำนาจของศาลในการถอดถอนรัฐบาลและยุบพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมตามคำสั่งของรัฐอำนาจนิยมเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นแบบแผนในการปฏิบัติภายในสถาบัน จุดมุ่งหมายแรกของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ร่างโดยรัฐบาลทหารในปี 2550 คือเพื่อต้องการลิดรอนความสามารถของสถาบันภายในรัฐอุดมการณ์ในการตรวจสอบการกระทำของบุคคลในรัฐอำนาจนิยม ฝ่ายค้านที่เข้มแข็งได้เสนอนำเอาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ สะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวว่ากลุ่มรัฐบาลเก่าต้องการขัดขวางไม่ให้รัฐอำนาจนิยมบังคับใช้เจตจำนงของตนผ่านทางการใช้กฎหมายที่ซับซ้อน

        ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หลักของตุลาการภิวัตน์และการใช้การเมืองในการพิจารณาคดีทางกฎหมายก็คือพรรคประชาธิปัตย์ จากคำตัดสินคดีอย่างน่าสงสัยหลายต่อหลายคดี ตุลาการแก้ข้อหาที่เป็นหนทางเดียวที่อาจสามารถทำให้พรรคประชาธิปัติย์ พรรคที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน นั้นเข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในปี พ.ศ. 2551 มีกลุ่มผู้ช่วยเหลือภายในระบบรัฐอำนาจพิเศษที่พยายามทำให้ผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจ ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพและตุลาการทำให้พรระประชาธิปัติย์อยู่ในตำแหน่งได้มากกว่าสองปี แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพรรคไม่ได้มาจากการเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เลยมีข้อจำกัดในการทำตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยเอาชนะใจประชาชนและปฎิบัติหน้าที่ได้ดีจนไม่สามารถทำให้ “มือที่มองไม่เห็น” ยื่นเข้ามาช่วยให้อภิสิทธิ์กลับเข้ามารับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง คณะตุลาการที่ก่อนหน้านี้ได้สั่งยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน หากพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสชนะมากกว่านี้ การยุยพรรคเพื่อไทยคงเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขี้นเหมือนเมื่อครั้งที่ทำให้อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม 2551 ก็เป็นได้

          พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่ให้เอาไว้ได้ พรรคเพื่อไทยเอาชนะเสียงของประชาชนส่วนใหญ่และพรรคประชาปัติย์ถูกทิ้งคะแนนห่างมาเป็นที่สอง ซึ่งได้รับที่นั่งน้อยกว่าทางพรรคเพื่อไทยมากกว่าร้อยที่นั่ง สำหรับพรรคประชาธิปัติย์และความทะเยอทะยานของระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว ผลการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทำลายความหวังของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง ที่ร้ายไปกว่านั้น ความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวงนี้ทำให้ “รัฐประหารโดยตุลาการ” นั้นยากขี้นไปอีก จำกัดความสามารถของระบบรัฐอำนาจพิเศษในการกำจัดรัฐบาลของฝ่ายตรงข้ามที่ปฎิบัติงานภายใต้กระบวนการของระบบรัฐอุดมการณ์ แม้ว่าศาลจะสั่งยุบพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่พรรคประชาธิปัตย์จะรวบรวมที่นั่งจากพรรคอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง

          โชคไม่ดีที่นั่นไม่ได้ทำให้พรรคประชาธิปัติย์หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีการทบทวนความคิดหรือความรู้สึกของตนเองเนื่องจากทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในรัฐสภา ในส่วนนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ที่ถนัดและทำมาอย่างยาวนานในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ในทางตรงกันข้าม พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่มีทีท่าที่จะถอนตัวออกจากวงจรการพึ่งพาอาศัย นับตั้งแต่การเลือกตั้ง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามหาหนทางในการยื่นขอยุบพรรคเพื่อไทย การตัดสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยที่มีสิทธิ์เหมาะสมในการเข้ารับตำแหน่งในรัฐสภา และแม้กระทั่ง การฟ้องร้องเพื่อขับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ออกจากตำแหน่ง ภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้วีซ่าเข้าประเทศแก่ทักษิณ

          อีกนัยหนึ่งก็คือ แทนที่จะมุ่งประเด็นไปที่การสร้างพรรคใหม่หรือฟื้นฟูภาพลักษณ์ที่เสียไป พรรคประชาธิปัตย์กลับพยายามกระทำการที่ส่อให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะยอมปราชัยในการเอาชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่การลาออกของอภิสิทธ์หลังจากแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของพรรค แต่เขากลับถูกเลือกให้มาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง อย่างกับว่าเขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขานั้นไม่น่าที่จะถูกเลือกที่สุด พรรคประชาธิปัตย์ได้ฝากโชคชะตาเอาไว้กับกลุ่มอำนาจในระบบรัฐอำนาจพิเศษ ต่อต้านกับการพยายามในการปรับปรุงความดึงดูดที่นับวันมีแต่จะน้อยลงไปทุกๆ ในสายตาของคนไทยผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง

         สำหรับระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว แม้ว่าการพ่ายแห้การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้การเลือกรัฐบาลที่ชื่นชอบมาปฎิบัติหน้าที่แทนพรรคเพื่อไทยยากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามใน การทำให้รัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอ, จำกัดความสามารถในการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ และชิงลงมือในการพยายามตรวจสอบและดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ในปี 2553 น้อยลงไปเลย ความพยายามต่างๆ เหล่านี้เป็นเสมือนการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งกลุ่มคนที่แอบอ้างว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อ “หลากสี” ด้วย กระบอกเสียงของกลุ่มอำมาตริย์ในแวดวงสื่อมวลชน นั้นรวมหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวันสองสำนักหลักๆ ซึ่งก็ได้เริ่มโจมตีรัฐบาลใหม่ชุดนี้ว่าเป็นรัฐบาล “หุ่นเชิด” ว่าถูกทักษิณ ชินวัตรครอบงำให้ทำตามทุกๆ เรื่อง ในขณะที่ปลุกระดมความกลัวว่าจะมีการวางแผนอย่างลับๆ ในการทำให้ประเทศไทย “ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของชาวต่างชาติที่เจ้าเลห์” ส่วน “ทางออก” ที่การปลุกระดมทางสื่อนี้เสนอก็เหมือนกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา: สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษเพื่อให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาประเทศจากผู้มีสิทธิ์ออกเสีงของประเทศเอง หากพิจารณาว่ารัฐอำนาจพิเศษกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่คุกคามความหายนะของตัวระบบเอง ก็เหลือเพียงแต่รอดูว่าการปลุกระดมนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่และจะประสบความสำเร็จเมื่อไร ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของศาลหรือการเคลื่อนกำลังพลของกองทัพตามถนนหนทางในเมืองหลวง ในขณะที่ การเพิ่มการขอความช่วยเหลือของการกดขี่เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแออย่างเห็นได้ชัด การปลดปล่อยความอดกลั้นเป็นผลลัพธ์ที่เป็นภัยน้อยกว่า ประเทศไทยก็ผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว

         ณ เวลานี้ รัฐบาลชุดใหม่ต้องได้รับการปกป้องจากการคุกคามที่มาจากกฎหมายนอกระบบและการะบวนการทางประชาธิปไตย ในระยะยาวถึงแม้ว่าการโจมตีรูปแบบใหม่ของรัฐอำนาจพิเศษจะพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบการเมืองไทยต้องการให้มีการสิ้นสุดของรัฐซ้อนซึ่งทำให้สำเร็จโดยการบีบบังคับสถาบันต่างๆ ที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจของกฎหมายที่ทำได้โดยอาศัยกฎของรัฐอุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยต้องออกจากแนวความคิดด้านนิติธรรมที่เป็นเป็นทางการ (หรือ “เปราะบาง”) ในขณะที่กฎหมายถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเป้องกันสถาบันอำนาจให้พ้นจากการรับผิดชอบ, ระงับการอภิปรายอย่างเปิดเผยและอิสระ, ละเมิดสิทธิมนุษยชน, ดำเนินคดีต่อผู้คัดค้าน หรือทำลายกระบวนการเลือกตั้ง ไปสู่แนวความคิดที่เป็นอิสระ (หรือ “เข้มแข็ง”) ซึ่งมีอำนาจสั่งให้ผู้ปกครองใช้อำนาจโดยผ่านทางกฎหมาย นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนหรือทุกสถาบันหลักๆ ปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ โดยปราศจากการใช้อำนาจพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในบริบทของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการอภิปรายสาธารณะอย่างอิสระด้วย และสิ่งที่คณะตุลาการอิสระได้ทำในการสนับสนุนหลักกฎหมายโดยการตรวจสอบการการะทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยปราศจากความเกรงกลัวหรือผลประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ประเทศไทยต้องการฝ่ายค้าน ที่ถ้าจะมีโอกาสในการเข้ามาสู่อำนาจจะต้องแป็นฝ่ายค้านที่ไม่อ้างหลักฐานทั้งหมดโดยการใช้กฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการทำลายระบอบประชาธิปไตย

Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
http://redusala.blogspot.com

เสียงจากผู้นิยมกษัตริย์ในอเมริกา
โดย เกษียร เตชะพีระ 

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2554)


J. Anthony McAlister & Charles A. Coulombe

แกนนำสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา


ระเบียบการเมืองหนึ่งจะจัดการกับผู้มีแนวคิดแหกคอกนอกลู่นอกทางทวนกระแสสุดโต่งสุดขั้วอย่างไรดี? ปราบปรามขับไล่เขาออกไปอยู่นอกกฎหมายใต้ดิน? หรือจะให้เขาอยู่ได้อย่างถูกกฎหมายบนดินแต่นอกระบบ? หรือจะให้เขาเข้ามาในระบบ มาต่อสู้กับคนอื่นทางความคิดด้วย เหตุผลข้อถกเถียงอย่างถูกกฎหมายโดยสันติและเปิดเผยตามความเชื่อของตน?


น่าสนใจที่สหรัฐอเมริกาเลือกให้ผู้นิยมระบอบกษัตริย์อย่าง เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ กับพวกเข้ามารณรงค์ต่อสู้ทางความคิดตามความเชื่อของตนอย่างเปิดเผยและถูกกฎหมายในระบบ กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ซึ่งนิยมระบอบประธานาธิบดีที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ 230 ปีก่อน


โดยที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ว่ารัฐมนตรีกลาโหมหรือเสนาธิการทหารแม่ทัพนายกองอเมริกันไม่ได้แสดงปฏิกิริยาหวาดวิตกเดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างใด


ทำให้ชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปได้มีโอกาสสดับตรับฟังทรรศนะเหตุผลของเขาในรายการ The Changing World ตอน For King or Country? Part 2 ทางสถานีวิทยุ BBC เมื่อ 5 เมษายนศกนี้ ว่าทำไมอเมริกาจึงควรเปลี่ยนไปปกครองในระบอบกษัตริย์แทน?

(http://www.thechangingworld.org/archives/2011/wk17.php)


เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ หนุ่มอเมริกันผิวดำเชื้อสายสก๊อตกับแคนาดาวัย 29 ปี ผู้เกิดที่ลอสแองเจลิสคนนี้เป็นนักดนตรีเชลโลคลาสสิกโดยวิชาชีพ และเป็นประธานสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส (International Monarchist League, Los Angeles Chapter http://www.monarchistleaguela.org/) โดยอุดมการณ์ทางการเมือง


เขาชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนแต่ต้นว่าระบอบกษัตริย์ที่เขาสนับสนุนนั้นคือระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy, ไม่ใช่ระบอบเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยอาญาสิทธิ์แบบโบราณ,

พูดง่ายๆ ว่าเขาอยากได้ระบอบกษัตริย์เหมือนที่อังกฤษมีทุกวันนี้นั่นแหละ กล่าวคือกษัตริย์ทรงมีบทบาทเพียงเท่าที่ประชาชนเห็นชอบด้วย, มีตัวบทกฎหมายระบุรองรับบทบาทนั้นๆ ของพระองค์อย่างชัดเจน, และมีสภาผู้แทนราษฎรคอยประกบประกอบอยู่


แมคคาลิสเตอร์ลำดับเรียบเรียงเหตุผล 3 ประการที่รองรับสนับสนุนระบอบกษัตริย์ว่า: -


1) ธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์มีความปรารถนาโดยธรรมชาติที่จะเฉลิมฉลองชนชั้นนำในหมู่พวกตน, ต้องการความรู้สึกอัศจรรย์ใจ, โหยหาความวิเศษสง่างามแห่งพระราชาและราชสำนัก



ดังนั้นเองจะเห็นได้ว่าในอเมริกา เมื่อไม่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินหรือนัยหนึ่งราชบัลลังก์ว่างเปล่า ชาวอเมริกันก็เอาดาราเซเล็บฮอลลีวู้ดมายกย่องปลาบปลื้มเทิดทูนเสมือนหนึ่งเป็นเจ้าแทน เพราะดาราเหล่านี้แสดงออกซึ่งความรวยหรูเลิศอลังการ มีคฤหาสน์พำนักโอ่โถงสง่างามเยี่ยงราชวัง


หรือในกรณีประธานาธิบดีอเมริกัน ก็มีธรรมเนียมประเพณีประพฤติปฏิบัติหลายอย่างเทียบเคียงเลียนเยี่ยงกษัตริย์ อาทิ Camp David อันเป็นค่ายพักผ่อนสำหรับประธานาธิบดี ก็เลียนแบบพระตำหนักแปรพระราชฐานตามหัวเมือง, State of the Union Address อันเป็นคำปราศรัยสำคัญของประธานาธิบดีเพื่อรายงานสถานการณ์ของประเทศประจำปีต่อสภาคองเกรส ก็เทียบได้กับพระราชดำรัสเปิดประชุมรัฐสภา, การจุดพลุและเดินขบวนพาเหรดฉลองวันชาติสหรัฐ ก็เทียบได้กับงานฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา, หรือการตั้งสมญาทำเนียบประธานาธิบดีสมัยเคนเนดี้ว่าเปรียบประดุจปราสาทราชวัง Camelot ในตำนานสมัยพระเจ้าอาเธอร์ของอังกฤษ เป็นต้น


เหล่านี้ว่าไปแล้วก็คือการสร้างเรื่องเล่าเพื่ออวยเกียรติยศศักดิ์ศรีให้สามัญชนที่ขึ้นกุมอำนาจรัฐ มันสะท้อนความโหยหาที่จะปลาบปลื้มเฉลิมฉลองชนชั้นนำซึ่งแฝงฝังลึกอยู่ในดีเอ็นเอของคนเรา


2) วิพากษ์ทรรศนะแบบฉบับของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยต่อระบอบกษัตริย์
พวกนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยในอเมริกามักแสดงท่าทีเกลียดกลัวและโจมตีระบอบกษัตริย์ว่าเป็นยุคมืด กดขี่ราษฎร ดังที่ชาวอเมริกันเคยลุกขึ้นก่อกบฏต่อกษัตริย์อังกฤษเพื่อกู้อิสรภาพมาแล้วในอดีต


พวกเขากล่าวอ้างว่าเมื่อเทียบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยแล้ว ระบอบกษัตริย์ไม่สามารถผนวกรวมประชาชนเข้ามาด้วยกันได้มากเท่า เพราะเป็นระบอบปกครองทรราชย์อาญาสิทธิ์


แมคคาลิสเตอร์มองสวนทรรศนะแบบฉบับอเมริกันดังกล่าวว่า เอาเข้าจริงสถาบันกษัตริย์ เป็นศูนย์รวมเอกภาพ ความสามัคคี ความมั่นคงและอุ่นใจของคนในชาติต่างหาก


ในทางกลับกัน นักการเมืองมาแล้วก็ไป และต่อให้ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จที่สุด ก็ยังบกพร่องอย่างลึกซึ้ง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ Charles A. Coulombe นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการสังกัดสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากลได้วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยกลับคืนว่าการเลือกตั้งก่อเกิดมายาคติแห่งประชาธิปไตยว่าลำพังเพียงแค่หย่อนบัตรลงหีบเท่านั้น.....



1) มันก็สามารถเชื่อมต่อประชาชนผู้ออกเสียงเข้ากับนักการเมือง และ


2) มันช่วยให้ประชาชนคุมนักการเมืองได้จริงๆ


ซึ่งดูจากประสบการณ์ก็จะพบว่ามันหาได้จริงเช่นนั้นไม่ ดังปรากฏนักการเมืองทุจริต บิดเบือนฉวยใช้อำนาจในทางมิชอบ ทรยศหักหลังประชาชนมากมาย อย่างไรก็ตาม ด้วยมายาคติข้างต้นนี้ เราก็ให้อำนาจมหาศาลแก่นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง เช่น อำนาจประกาศสงคราม, อำนาจในการเปลี่ยนตัวผู้นำ ฯลฯ


ทั้งที่หากอำนาจทำนองเดียวกันตกเป็นของผู้นำที่สืบเชื้อสายสันตติวงศ์มาแล้ว เรากลับหวาดระแวงและคอยจับตาดูตลอดเวลา


นอกจากนี้ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักโจมตีว่าจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบกษัตริย์คือเราไม่อาจโหวตให้กษัตริย์พ้นจากตำแหน่งได้


ต่อเรื่องนี้ Coulombe ตอบว่าหากกษัตริย์พระองค์ใดไม่ดีจริงก็มักอยู่ในอำนาจได้ไม่นาน โดยสมาชิกราชวงศ์ที่เหลือจะช่วยกันแก้ไขปัญหาให้พ้นไป ทว่าเหตุทำนองนี้ก็ไม่เกิดบ่อยนัก เพราะเอาเข้าจริงระบอบกษัตริย์มักปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้มาก แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะสรุปถอดถอนออกมาเป็นสูตรสำเร็จทางวิชาการไม่ได้และค่อนข้างยุ่งเหยิงยุ่งยากก็ตาม


ในทางกลับกัน ตัวประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งต้องคอยระวังตัวกลัวถูกคนอื่นแย่งอำนาจ มันสะท้อนว่าเนื้อแท้แล้วระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบ่งแยกคนให้แตกกัน ก่อเกิดบาดแผล แก่ระเบียบการเมืองซึ่งต้องค่อยๆ เยียวยาอยู่ช้านานกว่าจะหาย ยกตัวอย่างเช่นการกล่าวร้ายโจมตีกันวุ่นวายระหว่างนักการเมืองพรรคเดียวกันและต่างพรรคในช่วงรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาที่กำลังเริ่มต้นขึ้นในปีนี้เป็นต้น


ฉะนั้น ในบรรดาประเทศที่โค่นกษัตริย์ออกไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาได้มาแทนมักจะเป็นแก๊ง ก๊วนต่างๆ ที่แก่งแย่งกันทุจริตรีดไถเหมือนๆ กัน
ผู้นิยมสาธารณรัฐมองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบแทนตนที่ชอบธรรมแต่เพียงระบอบเดียว เป็นวิธีการเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดทรราชได้


แต่เอาเข้าจริงประชาธิปไตยบรรลุได้เพียงแค่อำนาจสูงสุดของเสียงข้างมากชั่วคราวเท่านั้น (the supremacy of a temporary majority) ขณะที่ระบอบกษัตริย์ปกครองจากหลักการที่สูงส่งกว่าแค่การเดินตามกระแสเลือกตั้ง และในระบอบที่ผสมผสานสถาบันกษัตริย์เข้ากับประชาธิปไตยนั้น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ต่างหากที่คอยพิทักษ์ปกป้องส่วนที่เป็นประชาธิปไตยเอาไว้


สำหรับฐานะบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบผสมผสานดังกล่าว ปกติกษัตริย์จะไม่ทรงมีอำนาจจริงในการเมืองประจำวัน แต่ทรงมีศักยภาพทางอำนาจในภาวะวิกฤตคับขันเมื่อรัฐบาลทำงานไม่ได้


นอกจากนี้กษัตริย์ยังทรงมีบทบาทถ่วงดุล-ปรับดุลในการเมืองประจำวันด้วย เพราะพระองค์เป็นหลักเป็นแกนมาตรฐานของบ้านเมืองให้นักการเมืองเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท จึงทรงมีผลต่อการเมืองที่เหลือ


ในฐานะนักดนตรีคลาสสิก แมคคาลิสเตอร์เปรียบเปรยว่ากษัตริย์ยังทรงดูแลผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม เสมือนวาทยกรวงซิมโฟนีออเคสตราคอยกำกับดูแลไม่ให้เครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้นใดเล่นผิดโน้ตหรือดังสนั่นเกินขนาดจน (ผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง) ไปกลบเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่สอดคล้องกลมกลืนกับผลประโยชน์ส่วนรวม โดยเฉพาะไปกลบกดทับผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย

ฉะนั้น หากไร้กษัตริย์ ประเทศก็จะแตกแยก คนส่วนหนึ่งในวงก็อาจจะยึดเอาทั้งประเทศไปครอง
ส่วนที่หาว่ากษัตริย์ย่อมเหินห่างและฉะนั้นจึงไม่สนองผลประโยชน์ของประชาชนก็ไม่จริง ดังจะเห็นได้ว่าทรงสามารถบันดาลใจให้ราษฎรภักดีต่อชาติได้ผ่านการภักดีต่อพระองค์ อีกทั้งราษฎรก็รู้สึกว่าการสัมพันธ์กับพระองค์มีความหมายอิ่มเอิบลึกซึ้งกินใจกว่าสัมพันธ์กับนักการเมืองธรรมดา โดยแมคคาลิสเตอร์ได้อ้างคำสัมภาษณ์ของหญิงไทยวัยกลางคนผู้หนึ่ง ณ วัดไทยในลอสแองเจลิส เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประกอบว่า (แม้ไวยากรณ์และศัพท์แสงอังกฤษของเธออาจผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่เนื้อความชัดเจนจนไม่จำต้องแปลเป็นไทย):


"The King is the best of the whole world. I love the King the most of the whole world. I love him more than my own life. Everybody do that, believe me. I can die for him. 100%."
ทำไมพระองค์จึงบันดาลใจคนไทยให้เกิดความรู้สึกอันแรงกล้าได้มากขนาดนั้นล่ะครับ?



"Because he do a lot of good things. It′s not he talk only but he do it. You know you are a king, why do you have to go to the forest, to the jungle, to the mountain. You are the King you can stay very good in the palace. But he don′t. He pity on the people. He want the people to live in a good life."
อนึ่ง ชนชั้นนักการเมืองนั้นมีบุคลิกโดยธรรมชาติที่ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ทุ่มสุดตัว หิวอำนาจ เหี้ยมเกรียม ไม่ยับยั้งชั่งใจ ไม่สงสารผู้แพ้ แรงขับเคลื่อนในจิตใจสูงมาก ซึ่งก็ดีต่อการเป็นผู้นำพาประเทศให้ก้าวรุดหน้าไป ทว่าก็ต้องมีคนคอยถ่วงดุลไว้บ้าง ซึ่งก็คือกษัตริย์นั่นเอง


3) กษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ
กษัตริย์ยังทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นตัวแทนศีลธรรมที่ถูกที่ชอบทางจิตใจ ด้วยความที่สถาบันกษัตริย์มีรากเหง้าอยู่ในประวัติศาสตร์แต่อดีต และเป็นตัวแทนความต่อเนื่องไปในอนาคต สถาบันกษัตริย์จึงดำรงอยู่เกินกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าปัจจุบัน อยู่เหนือความผูกพันกับการดำรงอยู่ของเราในฐานะปัจเจกบุคคล แมคคาลิสเตอร์อุปมาอุปไมยว่าในแง่นี้กษัตริย์จึงเปรียบเสมือน



พ่อแม่ที่อยู่เหนือกาลเวลา


แมคคาลิสเตอร์และ Coulombe ผลัดกันสรุปตบท้ายว่าผู้นิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักอ้างเรื่องสิทธิของประชาชนที่จะปกครองตนเอง แต่เอาเข้าจริงใครล่ะที่ได้ปกครองในทางปฏิบัติ? ก็คนคนเดียวที่มาจากการเลือกตั้งนั่นแหละ คือตัวประธานาธิบดีไง ซึ่งก็มีอำนาจราวกับกษัตริย์แต่ก่อน ชั่วแต่ว่ากษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หากสืบสันตติวงศ์มา, อยู่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งพรรคฝักฝ่าย และยึดถือผลประโยชน์ของทุกคน


สาธารณรัฐนั้นเข้าท่าบนแผ่นกระดาษ, ส่วนประชาธิปไตยก็ดีในเชิงนามธรรม แต่เมื่อใดเราว่ากันบนพื้นฐานความเป็นจริงและประสบการณ์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ กำจัด กวาดล้างกัน ส่วนฝ่ายค้านก็ถูกข่มเหงรังแก


ฉะนั้น หากถามว่าจะ For King or Country ดีแล้ว? แมคคาลิสเตอร์ตอบในทำนองราชาชาตินิยมว่าเอาทั้งคู่นั่นแหละ เพราะแยกจากกันไม่ได้
แน่นอนว่าย่อมมีชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่างจากทรรศนะเหตุผลประการต่างๆ ของแมคคาลิสเตอร์กับพวกดังยกมาข้างต้นเป็นธรรมดา อาทิ ข้อคิดเห็นโต้แย้งของ Mona Broshammar กับพวกที่สังกัดสมาคม Republikanska Foreningen ในสวีเดน (http://www.repf.se/) ซึ่งปรากฏในตอน For King or Country? Part 1, 29 มีนาคม 2011


ทว่าประเด็นสำคัญอยู่ตรงระเบียบสถาบันการเมืองอเมริกันยินดีเปิดรับการท้าทายโต้แย้ง ด้วยเหตุผลข้อถกเถียงดังกล่าวอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา อันจะนำไปสู่การสานเสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้หรือนัยหนึ่งทะเลาะกันอย่างสันติที่อาจก่อตัวเป็นพลังพลวัตทางปัญญาในสังคมและจุดประกายให้เกิดกระแสการปรับตัวเปลี่ยนแปลงปฏิรูประเบียบสถาบันการเมืองในที่สุด


มันอาจไม่นำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญอย่างที่แมคคาลิสเตอร์กับพวกมุ่งหวัง แต่มันย่อมมีส่วนช่วยเปิดเผยบ่งชี้จุดอ่อนช่องโหว่ข้อบกพร่องในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยอเมริกันดังที่เป็นอยู่ และเป็นโอกาสในการแก้ไขปรับปรุงตัวมันเองให้ดีขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย


เทียบกับการตวาดข่มขู่ปิดกั้นเหยียบกดผู้เห็นต่างสุดโต่งให้เงียบด้วยความกลัวแล้ว วิธีแบบอเมริกันนับว่าฉลาดกว่าและเป็นคุณต่อระเบียบการเมืองและสังคมของตัวเองยิ่งกว่ามากมายนัก
http://redusala.blogspot.com

สุจิตต์ วงษ์เทศ: ชำระประวัติศาสตร์ "ไตรภูมิพระร่วง เป็นของสมัยอยุธยา, ธนบุรี, กรุงเทพฯ"


นักวิชาการแะประวัติศาสตร์ไทยจำเป็นต้องชำระประวัติศาสตร์ ชำระวัฒนธรรมหลวง ชำระวิถึ "ไทยแท้" ชำระจิตวิญญาณประชาชาติผ่านพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และสนับสนุนนักวิชาการที่ขุดคุย ค้นคว้า และตั้งคำถามกับอดีต เพื่อเสรีภาพแห่งวิชาการ
ทีมข่าวไทยอีนิวส์

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ 
(ที่มา คอลัมน์สยามประเทศไทย หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 15 กันยายน 2554)
ไตรภูมิอยุธยา - สำเนาหนังสือไตรภูมิคัดลอกมาจากต้นฉบับ "ไตร่ยภูมพระมาไลย" จากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม กรมศิลปากร นำมาแสดงเมื่อวันที่ 9 กันยายน ชี้เป็นหลักฐานสำคัญที่จะช่วยยืนยันว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (ภาพและคำอธิบายจาก มติชน ฉบับวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2554 หน้า 1)
รัฐสุโขทัยไม่เคยมีหนังสือไตรภูมิ เพราะเล่มที่เรียกไตรภูมิพระร่วงไม่ใช่สำนวนเก่าแก่ แต่เป็นหนังสือแต่งสมัยหลัง เช่น ปลายอยุธยา, หรือไม่ก็ธนบุรี, กรุงเทพฯ

"ไตรภูมิ" เป็นความรู้ชั้นสูงของคนชั้นสูงในสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ ที่รับจากชมพูทวีป(อินเดีย) ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000 หรือก่อนหน้านั้น

ความรู้ไตรภูมิเป็นเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและความเป็นมาของสิ่งต่างๆ เช่น จักรวาลและโลกแบน มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง, รวมทั้งคำอธิบายว่า พระราชามาจากไหน? มาอย่างไร? เป็นต้น

พราหมณ์ชมพูทวีปเอาความรู้ ไตรภูมิเข้ามาเผยแผ่ก่อนที่อื่นๆ ให้คนชั้นสูงในสุวรรณภูมิ บริเวณบ้านเมืองแถบลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน(เจ้าพระยา) มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดียืนยันเป็นรูปปูนปั้นต่างๆ ที่อู่ทอง(สุพรรณบุรี) และนครชัยศรี(นาครปฐม)

หลักฐานนั้นได้แพร่หลายไปลุ่มน้ำอื่นๆ เช่น ลพบุรี-ป่าสัก, ปิง-วัง แล้วเข้าถึงรัฐสุโขทัยบริเวณลุ่มน้ำยม-น่าน ในสมัยหลัง

หากเชื่อได้ตามที่เล่ามาข้างต้น ความรู้ไตรภูมิต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในราชสำนักอโยธยา-ละโว้ ทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก่อนลุ่มน้ำอื่นๆ โดยเฉพาะก่อนลุ่มน้ำยม-น่าน ที่ราชสำนักสุโขทัยมีขึ้นหลังรัฐอโยธยา-ละโว้

แต่การเมืองในราชสำนัก กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยแรกจนสมัยหลัง กำหนดให้ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วย อักษรขอม ภาษาไทย จารบนใบลาน เมื่อ พ.ศ. 2321 ปลายแผ่นดินพระเจ้าตาก(กรุงธนบุรี) ว่าเป็น "ไตรภูมิพระร่วง" ทำขึ้นโดยพญาลิไทย หรือพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ที่ถูกสร้างใหม่ให้เป็นราชธานีแห่งแรกของไทย

"ไตรภูมิพระร่วง"ที่ผ่านมาก็ถูกอุปโลกน์เป็นไตรภูมิฉบับแรกและฉบับเดียวในไทยแล้วห้ามสงสัย ห้ามถาม ห้ามเถียง

ในทำเนียบประวัติวรรณคดีไทยของทางการ จึงไม่มีหนังสือไตรภูมิยุคอยุธยา จะมีก็แต่สมุดภาพไตรภูมิ

อันที่จริงไตรภูมิไม่จำเป็นต้องมีฉบับเดียว จะมีกี่ฉบับก็ได้ เพราะมีประเพณีคัดลอกต่อๆกันไป

การคัดลอกก็อาจเพิ่มข้อความของตนลงตรงไหน หรือตอนหนึ่งตอนใดก็ได้อีก แล้วมีให้จับพิรุธได้บ่อยๆ

ดังนั้นจะเขียนความเชื่อของตัวเองลงไปก็ได้ ว่าพญาลิไทยแต่งไตรภูมิ เมื่อ พ.ศ. 1888

ที่ทางการแถลงว่าพบไตรภูมิฉบับอยุธยา อยู่ในหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เท่ากับยืนยันว่ายุคอยุธยามีหนังสือไตรภูมิจริงๆ

แต่ นักค้นคว้านอกกระแสไม่เคยคิดว่าไตรภูมิพระร่วงของทางการเป็นวรรณคดี รัฐสุโขทัย เพราะสำนวนโวหารของไตรภูมิฯ ส่วนมากเป็นยุคอยุธยา และยุคกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่ามีส่วนเป็นพระราชนิพนธ์ ร.4 ด้วยซ้ำไป

รัฐสุโขทัยไม่เคยมีหนังสือไตรภูมิ เพราะหนังสือไตรภูมิที่มีเป็นของรัฐอยุธยา และอาจเป็นของรัฐหลังจากนั้นก็ได้

บอก มาอย่างนี้ นักวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีต้องโมโหโกรธาหัวหกก้นขวิดเป็นปกติ เพราะพวกเขาคิดว่าภาษาและวรรณคดีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสมบัติของผู้ดี ขุนนางอำมาตย์เท่านั้น คนชั้นอื่นๆไม่เกี่ยว
http://redusala.blogspot.com

Asia Sentinel: Understanding the Thai Political Crisis


Written by Pavin Chachavalpongpun


Asia Sentinel


FRIDAY, 16 SEPTEMBER 2011


All of the aspects of Thailand’s calamity will be on display in Singapore Monday

On Monday, September 19, Thailand will commemorate the fifth anniversary of the military coup that ousted the elected government of Thaksin Shinawatra. That fateful coup has changed Thailand’s political landscape.


Political developments that took decades to come to fruition elsewhere before they could become visible have been compressed into a brief period of five years in Thailand. The country has seen many tragic incidents and thus fallen deeper into a state of polarization.


Watching many incidents in Thailand in the last five years is like watching a surreal soap opera. The plot is replete with heinous stories. The old elites have gone all out to eliminate their challengers, apparently by unlawful coup. They wanted to get rid of their number-one enemy, Thaksin, and eventually kick him out of the country.
But when Thaksin’s opponents returned to politics in 2008, they upgraded their strategies. This time, they seized the House of Government. They occupied the Suvaranabhumi International Airport, during which good food and good music could be found. They declared war with Cambodia so as to delegitimize the pro-Thaksin regimes. Thai upper class became more royalist that the royals themselves. The military walked into politics and threatened to stage another coup should the Thaksin cronies refuse to step down.


It seemed that they won in the first round, with the formation of the pro-elite regime under Abhisit Vejjajiva. As a posh, Oxford-educated baby-face premier, Abhisit had no time for the underprivileged. What he cared was how to defend the interests and power of the elitist class. When the underprivileged defied his legitimacy, he collaborated with the military and launched a most deadly crackdown against their opponents on the streets. As a result, 91 people were killed, over 2,000 injured.
But the killing of the protesters did not stop the Thaksin faction from coming to power yet again. In many ways, it made them stronger in pushing their agenda to remove the old status quo that only benefitted the elites. On July 3, 2011, Yingluck Shinawatra, youngest sister of Thaksin, arrived in power—a big slap in the face for the establishment.


Throughout the past five years, the political stalemate that has shaken the nation - playing with the Thai people's emotions and deeply polarising our society - has unveiled many dark secrets in politics. For one thing, it has revealed the anxiety on the part of the old establishment about a more open society. This has now clearly emerged as a threat to their power position. From this view, Thaksin is not really a menace to the Thai elite - an open political space is.


Thus, it is crucial to look back over the past five years and examine the changes in politics since the coup of 2006.


Accordingly, a one-day conference entitled "Five Years After the Coup: Thailand's Political Developments Since Thaksin's Downfall" s being held Monday at the Institute of Southeast Asian Studies in Singapore. The primary aim of the conference is to discuss the lessons learned (or not learned) from the coup, to explore the role of the key players, and to investigate issues that generated the legitimacy crises in Thailand.


I have brought together leading experts on Thai politics to provide an in-depth examination of Thailand's unending political and social crisis. The first session will deal with the impact of the coup in the political domain. Federico Ferrara, an assistant professor from the City University of Hong Kong, will kick off the conference with his talk on "Unfinished Business: The Contagion of Conflict Over a Century of Thai Political Development." This talk will be followed by one from Pitch Pongsawat from Chualongkorn University entitled, "Four Forms of Democracy in Thailand's Current Democratization."




The second session will focus on the theme, "Defending the Old Political Consensus: The Military and the Monarchy." James Ockeys of Canterbury University will elaborate on the role of the military in the political turmoil. His paper is entitled, "Broken Power: The Thai Military in the Aftermath of the 2006 Coup."


The next two speakers will touch upon a sensitive subject: the monarchy. Thongchai Winichakul of the University of Wisconsin-Madison will present his thought-provoking paper, "The Monarchy and Anti-Monarchy: Two Elephants in the Room." Meanwhile, David Streckfuss, an independent scholar, will deliver his speech on "Freedom and Silencing Under the Neo-Absolutist Monarch Regime in Thailand, 2001-2006."
In the third session, the discussion will concentrate on new political discourses and players. Michael Nelson from Thammasat University will speak on, "Vote No! The PAD's Decline from Powerful Movement to Political Sect?" Nick Nostitz, a journalist who has followed the red-shirt movement closely since its inception, will give a talk entitled, "The Red Shirts: From Anti-Coup Protesters to Social Mass Movement." Andrew Walker of the Australian National University, also a founder of the New Mandala website, will present a discussion entitled "Is Peasant Politics in Thailand Civil?"


For the final session, the attention will move over to the legitimacy crises in the wake of the 2006 coup. Marc Askew from Melbourne University will speak on the crisis in the South, "Shooting Themselves In the Foot: The Army and the South After the Coup." I will close the conference with a talk on the Thai-Cambodian conflict, "From Marketplace Back to Battlefield: Thai-Cambodian Relations in the Age of Militarised Politics."


Details of the event can be found at http://www.iseas.edu.sg.
I recommend that the traditional elite and the military send their representatives to the conference in order to understand that the outside world has changed much and that the idea of a military coup is obsolete.


(Pavin Chachavalpongpun is a fellow at Singapore’s Institute of Southeast Asian Studies. Follow Pavin atwww.facebook.com/pavinchachavalpongpun)
http://redusala.blogspot.com