วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชาวเน็ตแนะ "กรณ์" เลิกเอาปากราน้ำ

ชาวเน็ตแนะ "กรณ์" เลิกเอาปากราน้ำ 

หลังโพสต์จิกกัดนายกฯ แบบไร้สาระ

          3 พฤศจิกายน 2555 go6TV -  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากต่างวิพากษ์วิจารณ์ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังจากได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Korn Chatikavanij ตำหนิ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่าทำให้รถติด
          โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่ารู้สึกผิดหวังและระอากับพฤติกรรมของ "กรณ์" อดีตขุนคลังสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่ คอยโพสต์จิกกัด นายกรัฐมนตรีด้วยเรื่องไร้สาระ และการโพสต์ข้อความในแต่ละครั้งไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์ให้สมกับการเป็นว่าที่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เลย 

        ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตบางส่วนระบุว่า ที่นายกรณ์ จา ติกวณิช โพสต์ข้อความดังกล่าวนั้น เพื่อเป็นการชิงพื้นที่สื่อในการปูทางไปสู่การเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่อจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีผลงานตกต่ำและทำให้พรรคแพ้ศึกเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา รวมถึงมีข่าวซุบซิบในพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายกรณ์ จาติกวณิช ต้อง การเป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ยอมและต้องการสกัดนายกรณ์โดยได้ส่งให้นายกรณ์ไปลงชิง ตำแหน่งผู้ว่าฯกรุงเทพฯแทน ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในพรรค และนายอภิสิทธิ์มักแสดงความไม่พอใจบ่อยครั้ง โดยทั้งคู่ได้นั่งประชุมพรรคกันคนละมุมเสมอ

        นอกจากนี้ นางวรกร จาติกวณิช (เจ) ภรรยาคนล่าสุดของนายกรณ์ จาติกวณิช ยัง ส่งสัญญาณโดยการโยนหินถามทางผ่านการให้สัมภาษณ์นิตยสารฉบับหนึ่งเมื่อต้นปี ที่ผ่านมาว่า ไม่อยากมีสามีเป็นนายกฯ การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้แก่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จำนวนไม่น้อย เพราะ ไม่มีใครคิดว่า นางวรกร จะคิดตรงอย่างที่พูดกับสื่อ รวมทั้งมีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า นางวรกรตัวสั่นขณะให้สัมภาษณ์หรือไม่




      ตัวอย่างความเห็นบางส่วนที่ประชาชน ไม่พอใจ "กรณ์" หลังโพสต์จิกกัดนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ใน go6TV Comminuty Page
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิชัย" ฉะ "เสธ.อ้าย-ประสงค์" นัดชุมนุมล้มรัฐบาลต้องการอะไรกันแน่?



3 พฤศจิกายน 2555 go6TV - นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานสภาที่ปรึกษาพรรค กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์(เสธ.อ้าย) ประธานองค์กรกลุ่มพิทักษ์สยาม เตรียมนัดชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาลว่า ตนไม่กล้าและไม่อยากจะพูดเรื่องนี้ เพราะถ้าเป็นตนจะไม่ทำแบบนี้ เนื่องจากบ้านเมืองมีปัญหามากแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีก และการที่น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เข้าร่วมกับพล.อ.บุญเลิศ ด้วยนั้นตน ก็แปลกใจว่าทำไปเพื่ออะไร เพราะ 3 ประเด็นหลักที่มีการอ้างก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ซึ่งเห็นว่าต้องใช้ช่องทางของสภาฯ ในการเคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้า

นาย พิชัย กล่าวว่า หากพล.อ.บุญเลิศ มีข้อมูลอะไรก็ควรเอาไปให้ฝ่ายค้านเล่นงานรัฐบาลในสภาฯ ดีกว่า ทั้งนี้ตนเห็นว่าไม่ควรให้มีเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุม 2 กลุ่มจะมาปะทะกัน และก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติหรือไม่ แต่ตนขอชื่นชมพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ที่มีความหนักแน่นในจุดยืนของตัวเองและอยากให้ยืนหยัดในจุดยืนแบบนี้ ต่อไป

พม่าจับกุมผู้ต้องสงสัย หลังได้รับคำเตือน แผนลอบสังหารทักษิณ

พม่าจับกุมผู้ต้องสงสัย หลังได้รับคำเตือน แผนลอบสังหารทักษิณ

นายสามวู
       3 พฤศจิกายน 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดเชียงรายว่า เจ้าหน้าที่ทหารภาคสามเหลี่ยม และตำรวจซึ่งประจำอยู่ที่ จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ได้รับแจ้งจากฝั่งไทยว่า มีขบวนการค้าอาวุธเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดน ประจวบกับเป็นช่วงที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนพื้นที่ระหว่างวันที่ 8-10 พ.ย.55 พอดี ดังนั้นจึงได้มีการนำกำลังเข้าไปตรวจค้นที่บ้านเลขที่ 3/21 ซอย 13 บริเวณด้านหน้าวัดมะก๋าหัวคำ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากโรงแรมเรจจิน่า แอนด์ กอล์ฟคลับ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปเยือนตามวันดังกล่าวมากนัก เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา(2 พฤศจิกายน 55)
       
     จาก การตรวจค้นพบเจ้าของบ้านชื่อ นาย สามวู ชาวพม่าเชื้อชาติไทใหญ่ เมื่อตรวจค้นในบ้านพบของกลางหลายรายการประกอบด้วย กระสุนจรวดแบบอาร์พีจี จำนวน 3 ลูก ดินกระสุนจำนวน 3 ชุด เครื่องกระสุนเอ็ม 16 จำนวน 10 นัด ซองแม็กกาซีนจำนวน 1 อัน เจ้าหน้าที่พม่าจึงได้ตรวจยึดเอาไว้และควบคุมตัวนายสามวู ไปทำการสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายพม่า

       ทั้งนี้หน่วยงานด้านการข่าวได้รับคำเตือนถึง แผนลอบสังหาร พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกี่ยวข้องกับการเดินทางเยือนประเทศพม่าช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม จะยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้

จดหมายศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว! ขอให้ไทยประกาศรับรองเขตอำนาจศาลทันที

จดหมายศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว! ขอให้ไทยประกาศรับรองเขตอำนาจศาลทันที

          4 พฤศจิกายน 2555 go6TV - จากกรณีที่คนเสื้อแดง ได้ขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินคดีแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้เกี่ยวข้องจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตร่วมร้อย บาดเจ็บอีกสองพันคนนั้น

          ความคืบหน้าล่าสุด อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้ส่งหนังสือตอบกลับ มาถึงนายแพทย์ เหวง โตจิราการ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้คดีดังกล่าว ทางคณะอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศรับทราบแล้ว แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้เป็นสมาชิกภาคีและยังไม่ได้ลงสัตตยาบรรณให้ การรองเขตอำนาจศาล ซึ่งทำให้ศาลไม่สามารถดำเนินการเข้ามาสอบสวนหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ จึงได้ทำหนังสือมายังนายแพทย์เหวง เพื่อให้ให้รัฐบาลไทย ได้ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นเบื้องต้น เพื่อเป็นการเปิดประตูการทำคดีนี้ต่อไป ดังมีรายละเอียดในจดหมายดังต่อไปนี้



(คำแปล)

อ้างถึง OTP/THA/011112/PM-er
วันที่ 1 พฤษจิกายน 2555

เรียน ดร.เหวง โตจิราการ

จดหมายฉบับนี้เขียนมาเพื่อตอบการซักถามข้อมูลที่ส่งถึง ท่านอัยการ เบนสุดา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 เกี่ยวกับขั้นตอนการรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (“ICC” หรือ ศาล”) โดยประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญากรุงโรม
ตามที่ท่านได้ทราบแล้วว่า ศาลไม่สามารถใช้เขตอำนาจเหนือดินแดนหรือประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญากรุงโรมได้ นอกจากจะได้รับมอบหมายจาก คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติตามมาตรา 13 (b) ของสนธิสัญญากรุงโรม หรือ ประเทศนั้นๆจะรับเขตอำนาจของศาล โดยการประกาศ และบันทึกที่สำนักทะเบียน ตามมาตรา 12 (3) ของสนธิสัญญากรุงโรม

การประกาศดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นรูปแบบของจดหมายจากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องจ่าหน้าถึงนายทะเบียนของ ICC สำเนาถึงประธานของ ICC และอัยการ จดหมายนั้นควรระบุสถานการณ์ที่รัฐบาลจะรับเขตอำนาจศาลของ ICC ซึ่งควรเขียนให้เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด แน่นอนศาลมีกฎว่า การกำหนดขอบเขตนั้นไม่สามารถ ชี้ถึงฐานความผิดในสถานการณ์ได้ เพราะต้องมีการสอบสวนครอบคลุมในทุกประเภทของอาชญากรรมที่อาจเกี่ยวข้อง

ตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ 44 ผลของการประกาศคือการยอมรับเขตอำนาจศาลในคดีอาชญากรรมตามมาตรา 5 ของสนธิสัญญา (ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ซึ่ง เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ นอกจากนี้ประเทศผู้ประกาศยังต้องให้ความร่วมมือกับศาลตามส่วนที่ 9 ของสนธิสัญญากรุงโรมว่าด้วยเรื่องการร่วมมือระหว่างประเทศและการช่วย เหลือกระบวนการศาล ซึ่งบังคับใช้โดยอนุโลม เป็นความรับผิดชอบของประเทศที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำให้มีกฎหมายภายในประเทศ ที่กำหนดถึงความร่วมมือทุกประเภทซึ่งกำหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของสนธิสัญญา ตามมาตรา 88 อย่างไรก็ดีเนื่องจากส่วนที่ 9 เกี่ยวข้องกับความร่วมมือภายใต้การสอบสวนและดำเนินคดี ไม่ใช่การตรวจสำนวนเบื้องต้น การกำหนดกระบวนการระดับประเทศหรือการออกกฎหมายจึงไม่จำเป็นในการยื่นหนังสือ ประกาศรับเขตอำนาจต่อศาล

ประเทศผู้ประกาศอาจประสงค์ที่จะเลือกที่จะส่งข้อมูลเอกสารสนับสนุนข้อกล่าวหาอาชญากรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจศาล ข้อมูลเหล่านั้นที่ได้รับจะถูกส่งไปที่แผนกวิเคราะห์ของอัยการว่า มีข้อมูลมากเพียงพอหรือไม่ภายใต้มาตรา 15 ของสนธิสัญญา

โปรดเข้าใจว่า มาตรา 12 (3) เป็นการดำเนินการเพื่อให้ศาลมีขอบเขตอำนาจ ไม่ใช่เป็นกลไกเริ่มต้นทันที ดังนั้น หากจะมีการเปิดการสอบสวนขึ้น จะต้องมีการดำเนินการด้านอื่น เช่น อัยการต้องใช้ดุลพินิจเองตามมาตรา 15

หลังจากที่ได้รับหนังสือประกาศ สำนักงานอัยการจะเริ่มการตรวจสำนวนเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ เพื่อพิจารณาว่า ข้อมูลที่มีจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะดำเนินการสอบสวน ในกรณีนี้สำนักงานจะพิจารณา โดยอาศัยกฎเกณฑ์ในมาตรา 53 (1) (a)-(c) เพื่อดูว่า

(ก) ข้อมูลที่มีเพียงพอให้เชื่อว่ามีการก่ออาชญากรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจศาลขึ้นแล้วจริง หรือ กำลังเกิดขึ้นอยู่
(ข) คดีจะสามารถยื่นต่อศาลได้ภายใต้มาตรา 17 และ
(ค) การสอบสวนจะไม่มีประโยชน์ต่อความยุติธรรม

หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับกรณีนี้เพิ่มเติม กรุณาอย่ารีรอที่จะติดต่อ คุณ เอเมอริค โรเจียร์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ ขอบเขตอำนาจ และความร่วมมือ ซึ่งติดต่อได้ที่ emeric.rogier@icc-cpi.int โทรศัพท์ +31 070 515 9080 (สำนักงาน) หรือ +316 46 44 87 91 (มือถือ)

ขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณในความสนใจของท่าน ในฐานะที่เป็นประเทศไม่เป็นภาคีสนธิสัญญา เกี่ยวกับกิจกรรมของศาลและสำนักงานอัยการ ขอได้โปรดรับการคารวะอย่างสูง

ด้วยความเคารพ
Phakiso Mochochoko
Director
Jurisdiction, Complementarity and Coopperation Division

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ 
ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่
Posted: 03 Nov 2012 10:37 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)



ชื่อ บทความเดิม
การทำคำประกาศยอมรั
บเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อ 12(3) 

ต้องผ่านสภาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

ข้อความเบื้องต้น
 
             ประเด็นเรื่องการทำคำแถลงยอมรั
บเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม) ตามข้อที่ 12 (3) นั้นกำลังเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่นางฟาทู เบนซูดา (Fatou Bensouda) อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเยือนประเทศไทยและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องเกิดคำถามตามมาว่า การทำคำแถลงหรือคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 หรือไม่อันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน  สำหรับประเด็นดังกล่าวผู้เขียนมีความเห็นทางกฎหมายดังต่อไปนี้

           1. มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญนั้นเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญาซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ 1969 เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” (international agreement) ส่วนการทำ “คำประกาศ” (Declaration) ยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ตามข้อที่ 12(3) นั้นเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ (unilateral act) แม้ในข้อที่ 12 (3) จะมิได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โดยลักษณะของคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ย่อมเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐอยู่ในตัวแล้ว คำตอบยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นการกระทำฝ่ายเดียวปรากฎอยู่ในคดี Fisheries case ระหว่างประเทศ Spain กับประเทศ Canada ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกตามมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นการกระทำฝ่ายเดียว โดยศาลย้ำอย่างชัดเจนว่า “a declaration of acceptance of the compulsory jurisdiction of the Court, whether there are specified limits set to that acceptance or not, is a unilateral act of State sovereignty.” [1] และศาลโลกกล่าวอีกว่า “since a declaration under Article 36, paragraph 2, of the Statute, is a unilaterally drafted instrument, [2]

             ฉะนั้น ถ้าหากการทำคำประกาศยอมรับเขต อำนาจ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: I.C.J) เป็นการกระทำฝ่ายเดียว การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: I.C.C) ก็ต้องมีลักษณะเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐเหมือนกันเพราะต่างก็เป็นศาลระหว่างประเทศเหมือนกันและทั้งสองศาลก็ยอมรับการทำ “คำประกาศ” ว่าเป็นวิธีการยอมรับเขตอำนาจศาล เหมือนกันด้วย [3] ผู้เขียนยังมองไม่เห็นเหตุผลทางกฎหมายที่จะมาอธิบายว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเป็น “การกระทำฝ่ายเดียว” แต่พอคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศกลายเป็น “สนธิสัญญา”

              นอกจากคำพิพากษาของศาลโลกที่ยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นการกระทำฝ่ายเดียวแล้ว ในรายงานของนาย Victor Rodríguez-Cedeño ซึ่งเป็น Special Rapporture ของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ  (International Law Commission) เรื่อง Unilateral act ก็ได้ยกตัวอย่างเรื่องคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล (ระหว่างประเทศ)  ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ [4] ซึ่งเรื่องนี้ใช่เรื่องใหม่ ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่ต่างก็ยอมรับช่องทางในการเสนอให้ศาลโลกพิจารณาไว้ถึง 3 ทางและหนึ่งในนั้นก็คือ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล[5]  ยิ่งกว่านั้นในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกมีเขตอำนาจศาลก็เป็นเพราะประเทศไทยทำคำประกาศฝ่ายเดียวนั่นเอง  ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าประเทศไทยทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลโลกแต่อย่างใด

              2.  การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลอาญาระหว่างประเทศขาดคุณลักษณะหรือองค์ประกอบของหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา เนื่องจากว่าสนธิสัญญาต้องเป็นความตกลงระหว่างรัฐกับรัฐหรือรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ แต่การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนั้น ศาลมิได้แสดงเจตนาตอบรับหรือตอบสนองคำประกาศของรัฐแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยลำพังของรัฐที่จะยอมรับเขตอำนาจศาลเท่านั้น ศาลมิได้มาร่วมเจรจาตกลงหรือลงนามในคำประกาศนั้นแต่อย่างใด คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นลงนามแต่เฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่มีอำนาจเท่านั้น ศาลหาได้มาร่วมลงนามด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อขาดองค์ประกอบของคู่ภาคีเสียแล้ว คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลจึงมิใช่เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” แต่อย่างใด

              3. ส่วนข้ออ้างที่ว่า คำประกาศตามข้อ 12 (3) นั้นก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายหรือความผูกพันฉะนั้นจึงเข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา ข้ออ้างนี้ปราศจากเหตุผลทางกฎหมายรองรับเนื่องจากพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่จำเป็นต้องมาจากสนธิสัญญาอย่างเดียว การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐก็ก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายได้ดังเช่น ที่ศาลโลกเคยตัดสินในคดี Ihren Declaration และคดี Nuclear Test case ซึ่งทั้งสองคดีต่างก็เป็นคำประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและศาลก็ตัดสินว่าคำประกาศดังกล่าวเป็นการกระทำฝ่ายเดียวที่ก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ในตราสารระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Guiding Principles applicable to unilateral declarations of States capable of creating legal obligations” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ก็ใช้คำว่า“capable of creating legal obligations” อย่าง ชัดเจนอยู่แล้ว อีกทั้งในในข้อแรกของ Guiding Principles ก็บัญญัติว่า “1. Declarations publicly made and manifesting the will to be bound may have the effect of creating legal obligations…..” นอกจากนี้นักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงอย่างศาสตราจารย์ Paul Reuter ก็ยังเห็นว่า กากระทำฝ่ายเดียวเป็นที่มาพันธกรณีสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ[6]

               สรุปก็คือ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อที่ 12 (3) เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ ไม่ใช่หนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญาตามกรุงเวียนนา ค.ศ.1969 แต่ประการใด หากจะยกคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญมาหักล้างเหตุผลข้างต้น

              4. การทำคำประกาศฝ่ายเดียวเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่แล้ว โดยข้อ 4 ของ Guiding Principles applicable to unilateral declarations of States capable of creating legal obligations” ระบุ ชัดเจนว่า “ 4. A unilateral declaration binds the State internationally only if it is made by an authority vested with the power to do so. By virtue of their functions, heads of State, heads of Government and ministers for foreign affairs are competent to formulate such declarations…..” การทำคำประกาศดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการมอบหมายจากผู้ใดอีกหรือไม่จำเป็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะมอบหมายให้ผู้ใดกระทำแทนตน

              5. ศาลรัฐธรรมนูญของไทยเคยมีคำวินิจฉัยในคดีหนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือที่เรียกว่า Letter of Intent ที่รัฐบาลไทยมีไปยังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) โดยศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 224 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 เพราะว่า การทำหนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแสดงเจตจำนงฝ่ายเดียวของประเทศไทยโดยที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่ได้มีการเสดงเจตนาตอบรับอันจะเข้าข่ายเป็นควาตกลงระหว่างประเทศ [7] กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำหนังสือ LOI เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐบาลไทย

บทสรุป
 
              การทำคำประกาศยอมรั
บเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามข้อที่ 12 (3) เป็น “การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ” ไม่ใช่เป็นการ “ทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา” ตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 เพราะฉะนั้นจึงไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา 190 แต่อย่างใดย่อมหมายความว่า รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารสามารถทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติตามมาตรา 190

เชิงอรรถ
[1] Fisheries Jurisdiction (Spain v. Canada), I.C.J. Reports 1998, para. 46
[2] Ibid., para. 48
[3] ในมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้คำว่า “declare.” และใช้คำว่า “The declarations” ถึง 3 ครั้ง ส่วนมาตรา 12 (3) แห่งธรรมนูญกรุงโรม ใช้คำว่า “acceptance” และ “ by declaration” 
[4] Declarations made under Art. 36 (2) Statute of the International Court of Justice related to the acceptance of the jurisdiction of the court …. are unilateral acts…” โปรดดู Víctor Rodríguez Cedeño, Max Planck Encyclopedia of Public International Law, www.mpepill.com
[5] โปรดดูมาตรา 36 วรรค 2 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
[6] Reuter, “Principes de droit international public”, Collected Courses ..., vol. 103 (1961-II), p. 531 อ้างโดยVictor Rodríguez-Cedeño, First report on unilateral acts of States, A/CN.4/486,1998, หน้า 13
[7] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/542 หน้า 10