วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
โดย กฤตยา อาชวณิชกุล ประธาน ศปช. กล่าวถึงเหตุผลที่จัดการเสวนาขึ้นว่า แม้ ศปช. จะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.–พ.ค. 2553 จะได้จัดทำรายงานเผยแพร่แล้ว ศปช. ก็ยังไม่ปิดตัว เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดี และเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่
ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย
ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน
ดร. กฤตยา กล่าวว่า ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. ว่า ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก
- 1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
- 2. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลยพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่
แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบาเพียง 1 ปี โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้ว เช่น คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล เป็นต้น
“ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
“ศปช.เห็นว่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง แต่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง” ดร. กฤตยา กล่าวในที่สุด ******************************************************
คำแถลงวัตถุประสงค์การจัดอภิปรายระดมทุนเพื่อช่วยนักโทษการเมือง
เรื่อง ‘108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง’
26 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00-16.30 น.
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย. - พ.ค. 53 (ศปช.) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2553 เพื่อมุ่งรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 และที่ผ่านมา ศปช.ได้จัดงานแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เป็นระยะๆ จนในที่สุดได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือชื่อ “ความจริงเพื่อความยุติธรรม” เมื่อปีที่แล้วและกำลังทยอย upload ฉบับออนไลน์ที่มีการพิสูจน์อักษรอย่างละเอียดอีกครั้ง ปรับแก้ไขคำผิด และเพิ่มเติมการอ้างอิงให้ครบถ้วนสมบูรณ์ บนเว็บไซต์ของ ศปช. คือ www.pic2010.org
อย่างไรก็ตาม ศปช. ตัดสินใจยังไม่ปิดตัวลง เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดีและเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่
ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย
ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน
ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอดังนี้
- การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. เป็นเพียงความพยายามขององค์กรภาคประชาชนเล็กๆ ในการทำให้สังคมได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
- ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก
- 1. การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
- 2. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลยพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่
แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบาเพียง 1 ปี โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้ว เช่น คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล เป็นต้น
ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
ศปช.เห็นว่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง แต่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง
|