วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554


หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร หนึ่งในเส้นทางขายหุ้นชินคอร์ป

หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัดในปี 2549 ในฐานะตัวแทนบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และ บริษัทแอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้รายงาน (14 มีนาคม 2549) ผลการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.-9 มี.ค.49 ปรากฏว่า มีผู้แสดงเจตนาขาย 46.91% ของจำนวนหุ้นที่ทำคำเสนอซื้อทั้งหมด 50.01% ทำให้ภายหลังจากการเสนอขายครั้งนี้แล้ว ซีดาร์ โฮลดิ้งส ถือหุ้นชิน คอร์ป 1,571 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 51.98% และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นชิน คอร์ป 1,334 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 44.14% รวมทั้ง 2 บริษัทถือหุ้นชิน คอร์ป อยู่ 2,905 ล้านหุ้น หรือ 96.12% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญของชินคอร์ป (SHIN-W1) มีผู้แสดงเจตจำนงขาย 159,121,700 หน่วย หรือ 5.26% จากจำนวนที่เสนอซื้อ 159,416,441 หน่วย หรือ 5.27% ซึ่งหากซีดาร์ และแอสเพน ใช้สิทธิ์แปลงสภาพ จะมีจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจาก 2,905 ล้านหุ้น เป็น 3,064 ล้านหุ้น หรือ 96.31%

ทั้งนี้มีรายงานผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2550 ของ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด พบว่า มีกำไรสุทธิ 193.09 ล้านบาท ลดลงจาก 6 เดือนแรกของปี 2549 ที่มีกำไรสุทธิ 500.06 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานงวดปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่ บล.ไทยพาณิชย์ ทำดีลบิ๊กล็อตหุ้นชินคอร์ป พบว่ามีกำไรสุทธิ 596.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่มีกำไร 388.90 ล้านบาท ขณะที่ด้านส่วนแบ่งตลาดนายหน้าซื้อขายหุ้น พบว่า ปี 2548 บล.ไทยพาณิชย์มีมาร์เก็ตแชร์ 5% เพิ่มขึ้นเป็น 6.41% ในปี 2549 แต่ลดลงเหลือ 5.10% ในปี 2550 และล่าสุดช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมาร์เก็ตแชร์ 4.91%

หม่อมหลวงชโยทิตสมรสกับ มนทกานติ์ กฤดากร (ปราโมช) บุตรสาวของ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี และท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรชาย 1 คนคือ ปิยกร กฤดากร ณ อยุธยา

หม่อมหลวงชโยทิต เป็น 1 ใน 17 พระประยูรญาติผู้อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องพระอิสริยยศ ประกอบริ้วขบวนเชิญพระโกศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยรับหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณีศรีทองคำลงยา เป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า สร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โอรสของ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร (พระโอรสองค์ใหญ่ใน พระบรมวงศ์ เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ กับ หม่อมเจิม) กับ หม่อมหลวงแส กฤดากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์ โดยมีศักดิ์เป็นพี่ของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ต้นราชสกุล "กฤดากร" ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 17 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ประสูติแด่เจ้าจอมมารดากลิ่น หรือ ส้อนกลิ่น หรือ ซ่อนกลิ่น ธิดา พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) หลานปู่ของ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) ทรงว่าราชการกรมพระนครบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นเรียกชื่อว่า "คอมมิตตี กรมพระนครบาล" ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกิจการตำรวจไทย

นอกเหนือจากหม่อมเจิมแล้ว พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหารยังมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมสุภาพ 7 องค์ พระโอรสองค์ที่ 2 คือ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระโอรสองค์ที่ 4 คือ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

และพระโอรส-ธิดากับหม่อมแช่ม 4 องค์ พระธิดาองค์สุดท้องคือ หม่อมเจ้าหญิงลีลาศหงษ์ กฤดากร เษกสมรสกับหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ซึ่งทรงมีหม่อมอีกหนึ่งคน คือ หม่อมแตงไทย เดชผล และมีโอรส คือ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หรือ "หม่อมอุ๋ย" (อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งมาด้วยการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้ยื่นใบลาออกเนื่องจากไม่พอใจที่ต้องร่วมงานกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หนึ่งในคณะรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรมีบุตรชายซึ่งเป็นที่รู้จักของสังคม คือ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "คุณปลื้ม"

หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ สมรสกับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เฮลิคอปเตอร์ผู้ตามเสด็จตก ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีบุตรธิดาคือหม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี และ หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร

ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สิริรวมอายุ 82 ปี

บุตรีของม.ร.ว.ยงสวาสดิ์กับท่านผู้หญิงวิยะฎา คือ หม่อมหลวงปิยาภัสร์ กฤดากร สมรสกับ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดีทายาทของนายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี มีบุตร 3 คนคือ จิตภัสร์ นันทญา และณัยณัพ

ม.ล.ปิยาภัสร์ เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจากการรับบทเป็น "สมเด็จพระสุริโยทัย" ในภาพยนตร์ "สุริโยไท" ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในชีวิตจริงหลังการเสียชีวิตของท่านผู้หญิงวิยะฎาผู้เป็นมารดา จึงเข้าถวายงานบางส่วนในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ


พิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ "คือใครในแผ่นดิน"
นิตยสาร THAIFREEDOM ฉบับที่ 3, มีนาคม 2553
http://redusala.blogspot.com

ปูมชีวิต อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"



สังเขปครอบครัว

นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2475 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) นายอานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ ทรงเป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับ หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) มีธิดา 2 คนคือนางนันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์) และนางดารณี เจริญรัชตภาคย์ (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชตภาคย์)

ประวัติฝ่ายพ่อ

มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ มีนามเดิมว่า เสริญ ปันยารชุน เป็นบุตรของ พระยาเทพประชุน (ปั้น) และคุณหญิงจัน เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2433 ณ บ้านคลองบางหลวง จังหวัดธนบุรี

ได้รับการศึกษาอย่างดีแต่วัยเด็ก จากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุเพียง19 ปี เมื่อปี 2452 ในวิชาครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สอบได้คะแนนดีเยี่ยม จนได้รับรางวัลพิเศษ คือเหรียญรัชมังคลาภิเษกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

กลับมารับราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูอยู่หลายโรงเรียน อาทิ เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบ มหาดเล็กหลวง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ.2476 ขณะมีอายุเพียง 43 ปี เป็นปลัดกระทรวงอยู่เพียงปีเดียวก็ลาออก ขอรับบำนาญ เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว คือธุรกิจด้านหนังสือพิมพ์

จากนั้น ได้ก่อตั้ง บริษัทสยามพาณิชยการ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยพาณิชยการ) ขึ้นเมื่อปี 2478 นอกจากรับจ้างงานพิมพ์ทั่วๆไปแล้ว ยังออกหนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ครบทั้ง 3 ภาษา คือ สยามนิกร และ สุภาพสตรีในภาษาไทย, ไทยฮั้วเซี่ยงป่อ ในภาษาจีน, และ บางกอกโครนิเกิล ในภาษาอังกฤษ ฯลฯ

ทังนี้ถือเป็นแหล่วงรวมนักหนังสือพิมพ์สำคัญในยุคนั้น อาทิ เฉลิม วุฒิโฆษิต สมญานาม "บรรณาธิการมืออาชีพ"โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา "ยาขอบ"มาลัย ชูพินิจ เจ้าของนามปากกา "น้อย อินทนนท์" "แม่อนงค์" และ "เรียมเอง" และ สุภา ศิริมานนท์ ปูชีนยบุคคลและนักหนังสือพิมพ์ฝ่ายประชาธิปไตยคนสำคัญ เป็นต้น

ร่วมกับเพื่อนๆนักหนังสือพิมพ์ก่อตั้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2484 โดยรับตำแหน่งเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นติดต่อกันมา 2 สมัย ถึงปี 2485 พร้อมกับการวางมือด้านกิจการหนังสือพิมพ์โดยโอนบริษัทไทยพาณิชยการ ให้ นายอารีย์ ลีวีระ (ต่อมาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ สยามนิกร และ พิมพ์ไทย ซึ่งหลังจากถูกปล่อยตัวในคราว กบฏสันติภาพ 10 พฤศจิกายน 2495 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ก็ได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ นางสาวกานดา บุญรัตน์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และเดินทางไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่ชายทะเลบ้านหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกยิงเสียชีวิตที่เรือนพัก โดยตำรวจยศสิบตำรวจโทและพลตำรวจอีก 4 นาย จากกองกำกับการจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอ้างคำสั่งของ พ.ต.ท.ศิริชัย กระจ่างวงศ์ หนึ่งในนายตำรวจอัศวินแหวนเพชร ลูกน้องของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์) ดำเนินการสืบแทน ต่อมาโดยท่านหันไปประกอบอาชีพด้านธุรกิจท่องเที่ยวแทน

พระยาปรีชานุสาส์น ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2517 สิริอายุได้ 85 ปี

สาแหรกข้างแม่

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) บุตรจีนจือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถวายตัวอยู่ในกรมสมเด็จพระเทพศิรินนทรามาตย์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนสมุทรโคจร ในกรมท่าซ้าย และเป็นหลวงภาษีวิเศษในปี 2402 ตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากรอยู่ในกรมท่าซ้าย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรครั้งแรกเป็นพระพิบูลย์พัฒนากรในปี 2411 และเป็นพระยานรนาถภัคดีศรีรัชฎากรในปี 2416 ช่วยราชการคลังในหอรัษฎากรพิพัฒน์ด้านภาษีอากร และเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นจางวางกรมสรรพภาษี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์ เป็นผู้ทำน้ำประปาจำหน่ายเป็นครั้งแรกในสำเพ็ง โดยสูบน้ำขึ้นถังแล้วต่อท่อไปตามบ้าน

พระยาทิพย์โกษา (โต โชติกเสถียร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เคยรับราชการทางฝ่ายปกครองมาแล้ว ในหัวเมืองสังกัดกรมท่า เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครชัยศรี (นครปฐม) มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ต่อมาถึงปี 2434 ได้โอนมารับราชการในกรมท่าถลาง และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระยาทิพย์โกษา เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยๆ ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก มีอำนาจมากกว่าข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงทั้งหมด ในฐานะข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก พระยาทิพย์โกษาได้กลายเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่การแบ่งเขตการปกครองเมืองต่างๆออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดตั้งคณะผู้บริหารมณฑลขึ้นมาเรียกว่า กองมณฑล ซึ่งประกอบด้วย ข้าหลวงใหญ่ และข้าหลวงฝ่ายต่างๆ ของเมืองต่างๆ พระยาทิพโกษา (โต) สมรสกับ คุณหญิงกุหลาบ โชติกเสถียร มีบุตรธิดาดังนี้

1.พระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์

2.พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต กลับมารับราชการ ประจำในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขาธิการเสนาบดีผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศเป็นพื้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ ภริยาคนแรก คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา ธิดาคนที่ 4 คือ นางสิริ ภรรยานายพจน์ สารสิน

ฯลฯ

6.คุณหญิงปฤกษ ปรีชานุสาสน์ ต.จ.

ฯลฯ

สาแหรกข้างเมีย

พันเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ (2 ธันวาคม 2426 - 12 สิงหาคม 2478) อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่ หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ศิริวงศ์) พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ เป็นพระนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระราชาธิบดีออศคาร์ที่ 2 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่ เจ้าชายออสคาร์แบร์นาด็อต พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีออศคาร์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ ได้ถวายการรับเสด็จ

พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ ทรงเสกสมรสกับ หม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปิยะวัตร) และ หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) มีพระโอรสธิดาดังนี้

1. หม่อมเจ้าหญิงดวงตา (14 ต.ค. 2448 - 22 ต.ค. 2485) สมรสกับ หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์

2. หม่อมเจ้าคัสตาวัส (10 ส.ค. 2449 - 23 ก.พ. 2526) สมรสกับ หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์

3. หม่อมเจ้าหญิงสรัทกาล (? - 4 ก.ค. 2454)

4. หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ หรือในเวลาต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (27 ก.ค. 2452 - 13 ต.ค. 2536) สมรสกับหม่อมวิภา [ธิดาของ พลโทหลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) สมาชิกผู้ก่อการอภิวัฒน์สยาม 2475 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปรากบฏบวรเดช (ตุลาคม 2476) หากต่อมาเป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2490 ซึ่งมีพลโท ผิน ชุณหะวันเป็นหัวหน้า] และหม่อมประพาล (รจนานนท์) มีธิดาคนเดียวคือ หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ กรัยวิเชียร (สมรสกับ นิติกร กรัยวิเชียร บุตรชายคนโตของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร)

5. หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ (18 ม.ค. 2453 - 23 ธ.ค. 2537) สมรสกับ หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ทรงปลงพระชนม์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เนื่องจากทรงคับแค้นพระทัยที่ถูกอำนาจการเมืองในขณะนั้น (พระยาพหลพลพยุหเสนา) บีบคั้นให้กดดัน และฟ้องร้องดำเนินคดี ดำเนินการริบทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสละราชสมบัติไปก่อนหน้านั้น

ชีวิตราชการ

นายอานันท์จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่ลอนดอน กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 2498

หลังจบการศึกษา เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2519 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิชียร ก่อนจะถูกสั่งพักราชการในปี พ.ศ. 2520 ด้วยข้อหาพัวพันและฝักใฝ่ในลัทธิคิมมิวนิสต์ และถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี 2522 หันมาทำงานด้านธุรกิจกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยนฯ จนกระทั่งเป็นประธานกรรมกลุ่มบริษัทเมื่อปี 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายอานันท์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นคนที่ 19 สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม 2534 ถึง 22 มีนาคม 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร (ศิษย์เก่าร่วมโรงเรียนอำนวยศิลป์) และเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านการเงินการคลัง เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ขณะที่นายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"

นายอานันท์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ซึ่ง พรรคสามัคคีธรรมไ ด้รับเลือกตั้งมากที่สุด 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคกลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ เป็นหนึ่งในบัญชีดำ ผู้ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด

พรรคร่วมเสียงข้างมาก ซึ่งประกอบด้วย พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ซึ่งเป็นที่มาของวาทกรรมสีดำทางการเมือง "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และนำมาสู่การชุมนุมคัดค้านโดยประชาชนจำนวนมากในกรุงเทพ และรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบ ใน เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 17 พฤษภาคม 2535

พลเอกสุจินดาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการกดดันทางการเมืองภาคประชาชน ฝ่ายพรรคร่วมเสียงข้างมากร่วมกันสนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้ว นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มีการ "พลิกโผกลางอากาศ" เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ ในวินาทีสุดท้าย

นายอานันท์ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในวันที่ 23 กันยายน 2535 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 20

พี่น้อง

พี่น้องของนายอานันท์ ปันยารชุนมีดังนี้

1. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ระพีพรรณ เกษมศรี มีบุตร-ธิดาดังนี้
1.1 หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี สมรสกับ หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา สวัสดิวัตน์ เกษมศรี  ธิดา หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ พระอนุชาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7
1.2 หม่อมหลวงสุรธี อิศรเสนา สมรสกับ พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์

2. ปฏดา วัชราภัย สมรสกับ กระแสร์ วัชราภัย
2.1 จรัสศรี วัชราภัย

3. กุนตี พิชเยนทรโยธิน สมรสกับ เกริกอิทธิ์ พิชเยนทร์โยธิน (บุตร พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) มีบุตร-ธิดา
3.1 อาภา พุกกะมาน สมรสกับ สหัส พุกกะมาน ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
3.2 อิทธิ พิชเยนทรโยธิน อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ สมรสกับ ถวิดา (คอมันตร์) พิชเยนทรโยธิน - ธิดา พันเอกถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับท่านผู้หญิงโมลี

4. จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ มีบุตร 1 คน
4.1 หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ สมรสกับ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ธิดาศาสตราจารย์นายแพทย์กษานและท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช)

5. ดุษฎี โอสถานนท์ สมรสกับ ศ.นพ.ชัชวาลย์ โอสถานนท์ มีบุตร-ธิดา
5.1 ทิพย์สุดา สุวรรณรักษ์ สมรสกับ นายแพทย์จินดา สุวรรณรักษ์
5.2 นายแพทย์ระพินทร์ โอสถานนท์

6. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา สมรสกับ อายุศ อิศรเสนา ณ อยุธยา บุตร พระยาภรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)
6.1 ชุติมา ลี้ถาวร สมรสกับ วิทย์ ลี้ถาวร บุตร นายชาญชัย ลี้ถาวร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กับ นางประมวล

7. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา สมรสกับ นายแพทย์พัชรีสาร ชุมพล ณ อยุธยา

8. ดร.รักษ์ ปันยารชุน สมรสกับ จีรวัสส์ (พิบูลสงคราม) ปันยารชุน  ธิดาจอมพล ป.พิบูลสงครามและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

9. กุศะ ปันยารชุน สมรสกับ สุพรรณี เบญจฤทธิ์ และ นฤวร ทวีสิน

10. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน สมรสกับ สุขศรี ปันยารชุน

11. ชัช ปันยารชุน สมรสกับ มัลลิกา (สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ปันยารชุน ธิดาหม่อมหลวงเต่อ สนิทวงศ์

สาแหรกข้างแม่

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) บุตรจีนจือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถวายตัวอยู่ในกรมสมเด็จพระเทพศิรินนทรามาตย์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนสมุทรโคจร ในกรมท่าซ้าย และเป็นหลวงภาษีวิเศษในปี 2402 ตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากรอยู่ในกรมท่าซ้าย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรครั้งแรกเป็นพระพิบูลย์พัฒนากรในปี 2411 และเป็นพระยานรนาถภัคดีศรีรัชฎากรในปี 2416 ช่วยราชการคลังในหอรัษฎากรพิพัฒน์ด้านภาษีอากร และเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นจางวางกรมสรรพภาษี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์ เป็นผู้ทำน้ำประปาจำหน่ายเป็นครั้งแรกในสำเพ็ง โดยสูบน้ำขึ้นถังแล้วต่อท่อไปตามบ้าน

พระยาทิพย์โกษา (โต โชติกเสถียร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เคยรับราชการทางฝ่ายปกครองมาแล้ว ในหัวเมืองสังกัดกรมท่า เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครชัยศรี (นครปฐม) มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ต่อมาถึงปี 2434 ได้โอนมารับราชการในกรมท่าถลาง และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระยาทิพย์โกษา เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยๆ ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก มีอำนาจมากกว่าข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงทั้งหมด ในฐานะข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก พระยาทิพย์โกษาได้กลายเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่การแบ่งเขตการปกครองเมืองต่างๆออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดตั้งคณะผู้บริหารมณฑลขึ้นมาเรียกว่า กองมณฑล ซึ่งประกอบด้วย ข้าหลวงใหญ่ และข้าหลวงฝ่ายต่างๆ ของเมืองต่างๆ พระยาทิพโกษา (โต) สมรสกับ คุณหญิงกุหลาบ โชติกเสถียร มีบุตรธิดาดังนี้

1.พระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์

2.พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต กลับมารับราชการ ประจำในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขาธิการเสนาบดีผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศเป็นพื้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ ภริยาคนแรก คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา ธิดาคนที่ 4 คือ นางสิริ ภรรยานายพจน์ สารสิน
http://redusala.blogspot.com

ปูมชีวิตสายเลือด "เฉกอะหมัด" :
จากประธาน "คมช." สู่หัวหน้าพรรค "มาตุภูมิ"



ชีวิตและงาน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2489 เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น (เดิมนามสกุล อหะหมัดจุฬา) และ นางมณี บุญยรัตกลิน เติบโตในครอบครัวมุสลิมในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวพลเอกสนธินับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ตามมารดา ต้นตระกูลคือเฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยาลูกหลานบางส่วน เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์ โดยนามสกุลบุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) จริงๆแล้วคือบุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 2798 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหารเรือสังกัดพรรคกลิน คือ น.ต.หลวงพินิจกลไก (บุญรอด) หรือชื่อมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา

พล.อ.สนธิมีภรรยาทั้งหมด 3 คนภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียนสมรสขณะที่ พล.อ.สนธิยังเป็นพันโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ วรรณา ปัจจุบันอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสามคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 พล.อ.สนธิให้เหตุผลที่ไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย

พล.อ.สนธิเข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17) และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูงและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 42) และระดับปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอกสนธิเป็นประธานรุ่นที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี

เริ่มต้นชีวิตการรับราชการจาก ผู้บังคับหมวดปืนเล็กกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ, พ.ศ.2512 เป็นผู้บังคับหมวดปืนเล็กกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลอาสาสมัครเสือดำ, พ.ศ.2513 เป็นรองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี นายทหารคนสนิทแม่ทัพภาคที่ 4 (พล.ท.ปิ่น ธรรมศรี ในขณะนั้น), พ.ศ.2526 เป็นผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1, พ.ศ.2530 เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1, พ.ศ.2542 เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, พ.ศ.2545 เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษและในปี พ.ศ.2548 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารบก

ที่สำคัญ นับเป็นผู้บัญชาการทหารบกไทยคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 พล.อ.สนธิประกาศตัวเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วจึงแปรรูปคณะรัฐประหารและเปลี่ยนฐานะไปเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2550 พล.อ.สนธิได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ตั้งมาเองกับมือ

ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรี โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงินอื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 4 ล้านบาท สำหรับภรรยาทั้ง 2 คนที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท

รวมทั้งครอบครัว มีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 พล.อ.สนธิก็รับตำแหน่งประธานพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม โดยมีเป้าหมายหวังฐานเสียงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี 2554

สาแหรกบรรพบุรุษ

หนังสือ "ชีวิตและผลงาน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก" เขียนถึงที่มาที่ไปของนามสกุลนี้ว่า เป็นการขอยืมมาเพราะเดิมนั้น บิดาของพลเอกสนธิ คือ พันเอกสนั่น บุญยรัตกลิน ใช้นามสกุล "อหะหมัดจุฬา" แต่เนื่องจากนโยบายของรัฐสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กำหนดให้ข้าราชการที่ใช้ "...นามสกุลที่ไม่คล้ายกับคนไทยให้เปลี่ยน ห้ามใช้" พันเอกสนั่นจึงมาใช้นามสกุลแม่โดยในหนังสือบันทึกไว้ตามคำพูดของพลเอกสนธิว่า "นามสกุลจริงๆของคุณย่าคือ 'บุณยรัตกลิน' ในสมัยก่อนเป็น 'ณ' แต่ไม่รู้ว่าพิมพ์ผิดอย่างไร เลยกลายมาเป็น 'ญ' ฉะนั้นอาน้องของคุณพ่อทั้ง 2 คน ก็ยังใช้ 'ณ' อยู่ มันผิดมาเรื่อย จนกระทั่งผมเลยกลายเป็น 'ญ' ทาง คุณพ่อพี่เกาะ (พลเอกสมทัต อัตนันทน์) เป็นคนให้คุณพ่อผมใช้นามสกุลนี้ คุณพ่อก็เลยไปขอจากน้องย่าหรือพี่ของย่าไม่ทราบขอมาใช้นามสกุลนี้ แล้วก็ใช้มาโดยตลอด..."

พลเอกสนธิเป็นมุสลิม "ชีอะห์อิสนาอะชะรี" (นิกายสิบสองอิหม่าม) สายเฉกอะหมัด ซึ่งมาแต่อาณาจักรเปอร์เซีย-อิหร่านและรับราชการจนได้เป็นที่ "เจ้าพระยาบวรราชนายก" เพราะความดีความชอบในการปราบปรามกบฏแขกปักษ์ใต้สมัยแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง

เฉกอะหมัด มีเชื้อสายต่อมาคือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) มีลูกต่อมา คือ เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ต่อมามีลูกคือ พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) จางวางกรมล้อมพระราชวัง และให้ว่าที่กรมอาสาจามและอาญาญี่ปุ่นในแผ่นดินพระเจ้าอยู่บรมโกศ

"พระยาเพ็ชรพิไชย" นี่เอง ที่ตอนหลังได้เข้ามานับถือศาสนาพุทธทำให้ลูกสืบสายสกุลแบ่งแยกออกเป็น 2 สาย คือ สายของพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) ที่นับถืออิสลามต่อไป และสายของเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ที่นับถือพุทธตามพ่อ โดยสายพุทธนั้นต่อมา ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "บุนนาค" และต่อมายังมีการแตกจากสายนี้ไปเป็นหลายสาย เช่น นามสกุล "จุฬารัตน" "ศรีเพ็ญ" "บุรานนท์" "จาติกรัตน์"

เชน บุตรชายคนที่ 2 ของเจ้าพระยาเพชรพิไชยยังคงนับถือศาสนาอิสลาม จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เป็นพระยาวิชิตณรงค์ แล้วเลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี มีบุตรชื่อ ก้อนแก้ว (มุฮัมมัตมะอซูม) เป็นต้นตระกูล อหะหมัดจุฬา, อากาหยี, จุฬารัตน, ช่วงรัศมี, ชิตานุวัตร, สุวกูล ฯลฯต่อมาถวายตัวต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รับตำแหน่งสืบทอดจากบิดาเป็นพระยาจุฬาราชมนตรีคนที่ 1 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และได้รับพระราชทานที่ดินสร้าง กุฎีเจ้าเซ็น (กุฎีหลวง) ขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนบุตรชายคนที่ 3 ของเจ้าพระยาเพชรพิไชยกับคุณหญิงแฉ่ง ที่ชื่อ เสน ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับบิดา และเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเสน่หาภูธร ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาจ่าแสนยากร ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) มีบุตรธิดา 5 คน ธิดา 3 คนถูกพม่าจับเป็นเชลยส่วนบุตร 2 คน ได้แก่เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนมา) และเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) รอดพ้นการถูกจับเป็นเชลยเพราะถูกส่งตัวให้ไปอยู่กับญาติที่ราชบุรีก่อนหน้านั้น เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ, บุนนาค, บุรานนท์, จาติกรัตน์, ศุภมิตร, วิชยาภัย, บุนนาค, ภาณุวงศ์ ฯลฯ

จนในสมัยรัตนโกสินทร์ถือว่าผู้สืบเชื้อสายเฉกอะหมัดนับเป็นสายวงศ์สกุลที่มี อิทธิพลมากที่สุดในการบริหารราชการแผ่นดินโดยสายมุสลิมส่วนใหญ่ลูกหลานจะสืบตำแหน่ง "จุฬาราชมนตรี" จางวางกรมท่าขวา ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการค้าขายทางเรือและการต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนสายพุทธ ส่วนใหญ่ก็จะได้ครองตำแหน่ง "สมุหนายก" หรือ "สมุหพระกลาโหม" ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดี ดูแลทั้งฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ นอกจากนั้นเหล่าบุตรีของวงศ์เฉกอะหมัด ยังได้เป็นทั้งหม่อมห้าม นางใน พระสนมอยู่หลายองค์

ส่วนบิดาของพลเอกสนธิ คือพันเอกสนั่นนั้น สืบเชื้อสายมาจากท่านสง่า อะหะหมัดจุฬา ลูกของท่านช่วง ซึ่งเป็นลูกของท่านครูชื่น ที่นับถือกันเป็นนักปราชญ์ของมุสลิมฝ่ายชีอะห์โดยสาแหรกนี้ถูกบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรีโดยนายทำเนียบ แสงเงิน ปรากฏอยู่ที่มัสยิดต้นสน

สำหรับสายสกุลบุนนาคนั้น เป็นตระกูลอำมาตย์เก่าแก่ที่รับราชการต่อเนื่องกันมาตลอดจนได้ครองตำแหน่งเสนาบดีที่ทรงอำนาจในหลายรัชกาลจนได้รับพระราชทานตำแหน่งสูงสุดคือ "สมเด็จเจ้าพระยา" หรือเทียบเท่าตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ถึง 3 คน

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นบุตรเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดี (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล เริ่มรับราชการเป็นนายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 1 และเลื่อนตำแหน่งตามลำดับจนถึงรัชกาลที่ 4 จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์" ให้สำเร็จราชการตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ใช้ตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่" และเป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์แรกของวังหลวง มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดในพระราชอาณาจักรรองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินและเจ้าชีวิต

ถัดมา คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติฯ (ทัด บุนนาค) คนทั่วไปนิยมเรียกขานว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย" เป็นน้องชายของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ซึ่งเป็นบุตรชายคนสุดท้องของ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)อีกคนหนึ่งที่เกิดกับเจ้าคุณนวล เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นนายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก จนถึงรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งจากพระยาศรีพิพัฒน์รัตนโกษา ขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติฯ"

สำหรับตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาคนสุดท้ายของสกุลบุนนาคคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ซึ่งเป็นบุตรคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เข้าถวายตัวเป็นมหาเล็กในรัชกาลที่ 2 เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เลื่อนเป็นหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก โดยรัชกาลที่ 3 รับสั่งให้เข้าเฝ้าฯอย่างใกล้ชิด

หลังจากที่รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคซึ่งนำโดย 3 พระยา คือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (ทัด บุนนาค) รวมทั้งพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้พากันไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่ทรงครองสมณเพศเป็นวชิรญาณภิกขุเพื่อให้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติด้วยความพร้อมใจเป็นหนึ่งเดียว

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหพระกลาโหม หลังจากรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถ เสด็จเสวยราชย์แต่เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มีพระชนม์เพียง 15 พรรษาดังนั้นที่ประชุมจึงลงมติแต่งตั้งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนปี พ.ศ.2416 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุนิติภาวะขณะนั้นพระยาศรีสุริยวงศ์มีอายุได้ 64 ปีเศษจึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และนับเป็นสมเด็จเจ้าพระยาคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดวงดารานพรัตน์ดวงดารามหาสุริยมณฑล ปฐมจุลจอมเกล้า

สำหรับสายสกุลบุนนาคอีกคนที่มีความสำคัญในช่วงคาบเกี่ยวการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เป็นบุตรพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) กับคุณหญิงสวน (สกุลเดิม ศิริวิสูตร) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เข้าฝึกหัดรับราชการในกรมบัญชีกลาง กระทรวงยุติธรรม ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และอุปนายกสภากาชาดไทยหลายสมัย ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475 ได้เป็นผู้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของราชอาณาจักรไทย.

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปาอีเนะชาฮาร ในเมืองกุม ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนที่ราบต่ำทางตอนเหนือของเตหะราน ในประเทศอิหร่าน

ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยานั้น เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วงๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก จากนั้น เดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล จากนั้นลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา

ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉกอะหมัดและบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน

ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ท่านเฉกอะหมัดได้ช่วยปรับปรุงราชการกรมท่า จนได้ผลดี จึงโปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐีเจ้ากรมท่าขวาและ จุฬาราชมนตรี นับได้ว่าท่านเป็นปฐมจุฬาราชมนตรี (พ.ศ. 2145-2170) และเป็นผู้นำพาศาสนาอิสลามนิกายชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ มาสู่ประเทศไทย ต่อมาท่านเฉกอะหมัดพร้อมด้วยมิตรสหาย ร่วมใจกันปราบปรามชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่ง ที่ก่อการจลาจล และจะยึดพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ

ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุลบุนนาค เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา อาทิ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เริ่มรับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนได้เป็นหลวงศรียศ (แก้ว) ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรี (พ.ศ. 2199-2225) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเมื่อใด

ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก และคาดว่าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เอ่ยถึงว่าลงไปเจรจาที่เมืองปัตตาเวียเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาในจดหมายที่เขาส่งถึงบาทหลวงเดอลาแซส

พระยาจุฬาราชมนตรี (สน) เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) มารดาชื่อคุณหญิงแสง มีศักดิ์เป็นหลานของพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เข้ารับราชการในกรมท่าขวาเป็นหลวงศรียศ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนได้รับตำแหน่งพระยาจุฬาราชมนตรี (พ.ศ. 2275-2301) ไม่ปรากฏว่าเสียชีวิตเมื่อใด

พระยาจุฬาราชมนตรี (เซน) เป็นบุตรของพระยาเพชรพิชัย (ใจ) กับคุณหญิงแฉ่ง เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาและน้องชายของท่านเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ส่วนท่านยังนับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะหฺ ต่อมา เข้ารับราชการในกรมท่าขวาและกองอาสาจามจนได้รับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ได้รับพระราชทานเกียรติยศเสมอเจ้าพระยาพระคลังแต่มิได้ตั้งให้เป็นเจ้าพระยา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเมื่อใด บุตรของท่านชื่อ ก้อนแก้ว ได้เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์

พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เซน) และคุณหญิงก้อนทอง รับราชการเป็นมหาดเล็กตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ตอนปลายกรุงศรีอยุธยาจนเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อเสียกรุงได้หลบหนีข้าศึกมารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้เป็นขุนป้องพลขันธ์ และหลวงศรีเนาวรัตน์ตามลำดับ ได้ร่วมรบกับข้าศึกจนผลัดแผ่นดินเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่กำกับราชการกรมท่าขวาและดูแลมุสลิมทั่วราชอาณาจักร ถือเป็นจุฬาราชมนตรีท่านแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่ออายุได้ 82 ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดต้นสน

พระยาจุฬาราชมนตรี (อากายี) หรืออากาหยี่ เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (เซน) และเป็นน้องชายของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ได้เป็นจุฬาราชมนตรีต่อจากพี่ชายจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 มีบุตรธิดารวม 15 คน บุตรของท่านคนหนึ่งชื่อ กลิ่น ได้เป็นหลวงโกชาอิศหากในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ส่วนบุตรอีกคนชื่อน้อย ได้เป็นจุฬาราชมนตรี

พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) เกิดในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ท่านถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาขณะอายุเพียง 13 -14 ปี ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรเรียนวิชาไสยศาสตร์กับอาจารย์ชาวเขมร อยู่พม่า 7 ปี จนอายุ 19 ปีจึงหนีกลับเข้าไทยทางแม่สอดไปหาบิดาที่ขณะนั้นไปราชการทัพที่เชียงใหม่และเชียงแสน

เมื่อกลับมา ท่านได้เรียนวิชาทางศาสนาอิสลามใหม่ และได้เข้ารับราชการในกรมทหารอาทมาตในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 2ได้เป็นหลวงภักดีสุนทร ได้ร่วมรบในสงครามตีเมืองถลางและไทรบุรี เมื่อเสร็จศึกได้เป็นพระยาวรเชษฐ์ภักดีศรีวรข่าน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3

ท่านมีชื่อทางศาสนาอิสลามว่า อามิรระชามุฮัมหมัด สมรสกับคุณหญิงนก มีบุตรธิดา 4 คน ถึงแก่อสัญกรรมในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3

พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (อากายี) มารดาชื่อคุณหญิงสะ มีชื่อทางศาสนาว่ามูหะหมัดบาเกร เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ เริ่มรับราชการในกรมท่าขวา สมัยรัชกาลที่ 4 ได้เป็นหลวงศรีเนาวรัตน์ และได้เป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) ถึงแก่อนิจกรรม ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410

พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) มารดาคือคุณหญิงนก เกิดในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่ไม่ทราบปี เข้ารับราชการในกรมท่าขวาในสมัยรัชกาลที่ 3เป็นพระราชเศรษฐี ได้ว่าการคลังวิเศษในกรมท่าหลวง และกำกับชำระตั๋วเฮียชำระฝิ่นและได้เลื่อนเป็นจางวางคลังวิเศษกำกับราชการกรมพระคลังนอก คลังพิเศษ คลังในซ้าย พระคลังใน คลังคำนวณ กำกับภาษีร้อยชักสาม ในสมัยรัชกาลที่ 4

นอกจากนั้น ท่านยังมีส่วนร่วมในการปราบจลาจลภาคใต้ และวางระเบียบปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ และเป็นข้าหลวงตรวจการภาคใต้จนเหตุการณ์สงบ จนกระทั่งพระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย)ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2410 ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีสืบแทนจนถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2432 ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดต้นสน

พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) กับคุณหญิงกลิ่น เกิดเมื่อ พ.ศ. 2391 เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กตั้งแต่อายุ 18 ปี เข้ารับราชการ มียศเป็นนายฉลองไนยนารถ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ย้ายมากรมท่าขวา ได้เป็นหลวงราชเศรษฐี

เมื่อบิดาถึงแก่กรรมจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 นอกจากนั้นยังเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในกระทรวงยุติธรรมอีก ตำแหน่งหนึ่ง ท่านเป็นข้าราชการที่สนิทชิดเชิ้อกับรัชกาลที่ 5 เป็นพิเศษ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และพานทองเทียบชั้นเจ้าพระยาพานทอง เมื่อท่านเจ็บป่วย โปรดให้แพทย์หลวงมาดูแลรักษา ถึงแก่กรรมเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453 รวมอายุ 65 ปี รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการแห่ศพทางน้ำอย่างสมเกียรติ พระราชทานไม้นิซ่านปักที่หลุมศพของท่านและทรงเป็นประธานในพิธีฝังศพด้วยพระองค์เอง

พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) มีชื่อทางศาสนาว่า มิซซา อาลีระชา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2411 เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นปลัดกรมท่าขวาตำแหน่งหลวงราชาเศรษฐี เมื่อ พ.ศ. 2432 ต่อมาย้ายไปรับราชการกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเงินแล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2454

นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาในด้านศาสนาอิสลามให้กับรัชกาลที่ 6 จนได้รับพระราชทานนามสกุล "อหะหมัดจุฬา" เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 มีบุตรหลายคน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2466 รวมอายุได้ 55 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฝังศพแทนพระองค์ด้วย

พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) กับนางแดง อหะหมัดจุฬา มีชื่อทางศาสนาว่า มุฮัมมัดระชา เกิดเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้รับราชการในกระทรวงยุติธรรมสังกัดกรมกองแสตมป์ มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงศรีเนาวรัตน์ ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมกองแสตมป์ สังกัดกระทรวงยุติธรรมด้วย ถึงแก่กรรมเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 รวมอายุได้ 36 ปี

พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) กับคุณหญิงถนอม เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 เข้ารับราชการในกรมท่าขวา ได้เป็นหลวงราชเศรษฐีเมื่อ พ.ศ. 2456 ได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2473 ถือเป็นจุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 รวมอายุได้ 56 ปี

*********************************************

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์และเป็นคนในสายสกุลเฉกอะหมัดที่นับถือนิกายชีอะหฺมาตลอด เปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งโดยตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นับถือนิกายสุหนี่ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของมุสลิมในประเทศไทย

เริ่มแรกในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยให้เป็นที่ปรึกษาราชการขององค์พระมหากษัตริย์ ในด้านกิจการศาสนาอิสลาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2491 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้จุฬาราชมนตรีเป็นที่ปรึกษากรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากที่พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามประกาศใช้ ได้มีการระบุไว้ในกฎหมายนี้ว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษา และความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
  • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติศาสนาอิสลาม
  • ประกาศผลการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
  • ออกประกาศเกี่ยวกับวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

นอกจากนั้น กฎหมายฉบับนี้ ยังให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่มีจุฬาราชมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจะมีบทบาทในด้านการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามมากกว่า [สำนักจุฬาราชมนตรี]

ต่อมามีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่คือ พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2540 ขณะมีอายุได้ 82 ปีเศษ เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามกฎหมายฉบับนี้ และเป็นประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยด้วย โดยดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553

[ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี]
http://redusala.blogspot.com

เจาะเบื้องหลังคลิปฉาวภาค 2 ศึกชิงเก้าอี้ประมุขศาล รธน.

http://thairedaustralia.byethost2.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=24
อาทิตย์ ที่ 31 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2553

กลายเป็นวิกฤตการณ์ที่กำลังลุกลามบานปลายทำลายศาลรัฐธรรมนูญให้ย่อยยับหมดความน่าเชื่อถืออย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อคลิปฉาวภาค 2 ถูกผู้ที่ใช้ชื่อว่า "ohmygod3009"แพร่คลิปดังกล่าวจำนวน 3 คลิปลงในYoutube เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 "พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญไทย ตอนที่ 1-3" ต่อจากคลิปฉาวภาคแรก จำนวน 5 คลิปที่อ้างว่า เป็นการต่อรองกันในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับบุคลภายนอกแล้ว ต้องยอมรับว่า เมื่อดูเนื้อหาที่พูดคุยกันในคลิป ยากที่จะเข้าใจว่า เป็นเรื่องอะไร แต่เมื่อนำมาประกอบกับเรื่องที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ออกมากล่าวอ้างแล้ว คงพอจับใจความได้ว่า เป็นการพูดคุยกันระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนกับเลขานุการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกคนหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีคลิปอีกชุดหนึ่งที่มีการหาเรือกันเรื่องนำข้อสอบการสอบคัดเลือกเข้าเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อต้นปี 2552 ในห้องทำงานของผู้บริหารศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งไปให้บุคคลใกล้ชิดและญาติซึ่งเป็นเลขานุการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่จะสอบคัดเลือกเป็นเจ้าหน้าที่ศาลซึ่งคลิปชุดดังกล่าวหลุดไปอยู่ในมือพรรคเพื่อไทย

ในคลิปดังกล่าว "พสิษฐ์(ปอย)"เป็นตัวละครหลักในการหารือ โดย "ปอย"กล่าวโจมตีผู้บริหารศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นเจ้าของห้องในการหารือครั้งแรกว่า น่าจะเป็นผู้แอบอัดคลิปการสนทนาจนกระทั่งคลิปหลุดไปอยู่ในมือพรรคเพื่อไทย โดย พสิษฐ์หรือปอยรับอาสาว่า จะเป็นผู้จัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเอง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ตามในการแอบนำข้อสอบไปให้เครือญาติและพรรคพวกตนเองนั้น มีการกล่าวอ้างว่า คนที่ชื่อ อุดมศักดิ์ไม่เอาด้วย

นอกจากนั้นเนื้อหาในคลิปยังมีการพูดถึงการต่อรองเรื่องดำรงตำแหน่งของผู้บริหารศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย

จากการตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญพบตัวบุคคลที่ถูกพาดพิงถึงในการพูดคุยกัน รวมถึงตัวบุคคลที่ปรากฏเสียงในคลิปแล้วพบว่า มีตัวตนอยู่ทั้งในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ดังนี้ จรูญ สุพจน์ ชัช น้องชายคุณชัชเป็นนักธุรกิจ พสิษฐ์(ปอย) เฉลิมพล จรัญ(ไม่ใช่ ภักดีธนากุล แต่เคยสังกัดศาลปกครอง) กิ๊ก(เลขานุการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่ง) เบิร์ด(เลขานุการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูยอีกคนหนึ่ง) อุดมศักดิ์, สุจิรา(ภรรยาผู้พิพากษา) จริยา (เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) ไพบูลย์(เจ้าหน้าที่ระดับสูงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

แหล่งข่าวจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่า คลิปชุด"พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญไทย ตอนที่ 1-3" น่าจะมีการแอบอัดไว้ก่อนช่วงที่จะมีการเผยแพร่คลิปชุดการต่อรองคดียุบพรรค โดยฝีมือของบุคคลกลุ่มเดียวกัน

คลิปชุดหลังนี้ "พสิษฐ์"หรือ"ปอย" ที่มีบทบาทในการพูดคุยชักจูงเช่นเดียวกับกับชุดที่มีนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญพูดคุยกับนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เรื่องการไต่สวนพยานคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และการถ่ายคลิปในห้องประชุมตุลาการ

จากสภาพการณ์ดังกล่าว (ไม่ว่า ข้อเท็จจริงเรื่องการหารือเพื่อทุจริตการสอบคัดเลือกเข้าเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในห้องผู้บริหารศาลจะมีการแอบอัดคลิปไว้จริงหรือไม่ และคลิปดังกล่าวไปอยู่ในมือพรรคฝ่ายค้านจริงหรือไม่ ) เห็นชัดว่า เป็นแผนการที่เตรียมไว้โดยคนชื่อ"ปอย"ที่หลอกล่อให้ตุลาการบางคนเข้าไปติดกับ พุดชักจูงจนยอมรับพฤติกรรมที่ได้ทำไว้แล้วแอบถ่ายคลิปไว้

แต่คำถามคือ คนชื่อปอย ทำไปเพื่ออะไร

ถ้าวิเคราะห์แบบชั้นเดียว ก็คิดว่า "ปอย" เป็นเพียง "ไส้ศึก"หรือ"ม้าเมืองทรอย" ที่เข้ามาจากรรมข้อมูลในศาลรัฐธรรมนูญเพื่อส่งให้พรรคเพื่อไทยใช้ถล่มศาลรัฐธรรมนูญเพื่อกดดันการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์(ตุลาการที่พูดกันในคลิปก็เชื่อเช่นนั้น)

แต่คนในศาลรัฐธรรมนูญบางส่วนเห็นว่า เริ่มแรกทีเดียว เป็นเกมในการต่อรองชิงเก้าอี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งช่วงที่นายชัช ชลวร ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานจากการเลือกกันเองของตุลาการ 9 คน มีกระแสข่าวว่า นายชัชรับปากกับตุลาการที่ลงคะแนนให้ว่า จะดำรงตำแหน่งเพียง 3 ปี (จากวาระการดำรงตำแหน่งของตุลการ 9 ปี )

แต่เมื่อใกล้ครบวาระ วิธีการเดียวที่จะช่วงชิงตำแหน่งหรือรักษาสถานะไว้คือ ทำให้คู่แข่งหรือคนที่มีโอกาสจะเข้าดำรงตำแหน่งมีปัญหา หรืออาจใช้วิธีการสร้างอำนาจต่อรองให้กับตนเอง

จะเห็นว่า เนื้อหาในคลิป มีเสียงเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด่า"นาย"ตัวเองและบอกว่า การแอบถ่ายคลิปเป็นฝีมือนายของตัวเอง และยังมีการพูดถึงการดำรงตำแหน่ง 3 ปีของผู้บริหารศาล ซึ่งการที่ตุลาการบางคนแอบถ่ายคลิปไว้(ตามคำกล่าวอ้างของเสียงของ"ปอย")ก็เพื่อเป็นการต่อรองมิให้ตุลาการที่เป็นคู่แข่งแข็งข้อขึ้นมาช่วงชิงตำแหน่ง

แต่ที่หาคำตอบไม่ได้ว่า ทำไมคลิปแอบถ่ายที่เดิมจะใช้เพื่อการ"แบล็กเมล์"ในการช่วงชิงอำนาจกันในศาลรัฐธรรมนูญ กลับกลายไปตกอยู่ในมือพรรคฝ่ายค้านหรือดึงพรรคฝ่ายค้านเข้ามาเกี่ยวข้องจนกลายเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคดียุบพรรคไปได้

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นวิกฤตที่ซ้ำเติมให้ศาลรัฐธรรมนูญหมดความน่าเชื่อลงอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้น ไม่ว่า ผลการตัดสินคดียุบพรรคจะออกมาเช่นไร คงไม่ได้รับการยอมรับจากแต่ละฝ่ายอย่างแน่นอน อาจอาจนำไปสู้วิกฤตลุกลามบานปลายไปสู่ความรุนแรงได้

ทางออกที่ดีที่สุดคือ ตุลาการทั้ง 9 คนควรลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด เพราะจากเสียงในคลิปฉาวภาค 2 ที่เผยแพร่อยู่ในขณะนี้ค่อนข้างน่าเชื่อว่า มีการทุจริตสอบเพื่อให้ญาติและคนใกล้ชิด สามารถสอบคัดเลือกเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้

หรือจะทนอยู่ต่อไปเพื่อทำลายองค์กรนี้ให้ย่อยยับ

อนึ่ง ตุลการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนประกอบด้วย นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทจาร นายเฉลิมพล เอกอุรุ นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288528637&grpid=00&catid=

ท่านสามารถดูคลิปทั้งสามตอนได้ที่
http://thairedaustralia.byethost2.com/webboard/viewtopic.php?f=3&t=128

เข้าชม : 77 
http://redusala.blogspot.com

เจาะเครือข่ายขุมทรัพย์ "สนธิ ลิ้มทองกุล


เจาะเครือข่ายขุมทรัพย์\"สนธิ ลิ้มทองกุล\" ปลุกพันธมิตรฯรอบใหม่...มีเงินเท่าไหร่?

พุธ ที่ 24 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553 


กล่าวกันว่าการนำม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 รอบนี้มีเดิมพันค่อนข้างสูง

นั่นเพราะถ้าไม่บรรลุตามข้อเรียกร้องคือให้ทำประชาพิจารณ์ก่อนลงมือผ่าตัดรัฐธรรมนูญ ย่อมส่งผลต่อเครดิตของนายสนธิอย่างมิต้องสงสัย ?

ณ ขณะนี้ไม่มีใครสามารถทำนายได้ว่านายสนธิและกลุ่มพันธมิตรฯจะหาบันไดลงอย่างไรหรือไม่?

แต่ก่อนจะถึงจุดนั้นมาดูเครือข่าย "ขุมกำลังทรัพย์"นายสนธิล่าสุดเสียก่อน

ก่อนล้มลายเมื่อหลายปีฐานธุรกิจของนายสนธิคือเจ้าของอาณาจักร"เอ็มกรุ๊ป"ซึ่งมีบริษัทเครือข่ายนับร้อยแห่ง เฉพาะตัวนายสนธิเองเป็นกรรมการ 13 บริษัท อาทิ บริษัท เดอะ เอ็ม. กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) , บริษัท เดอะ เอ็ม. กรุ๊ป จำกัด ,บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ผู้จัดการ จำกัด เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมีปัญหาทางธุรกิจจนคำพิพากษาล้มละลาย นายสนธิได้ผ่องถ่ายให้นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล บุตรชายเป็นคนดูแล ปัจจุบันมีธุรกิจอยู่ในกำมืออย่างน้อย 8 บริษัท

1.บริษัทภูเก็ตบลูสกายจำกัด ประกอบกิจการทางน้ำ เช่น เจ็ตสกี สกีน้ำ ดำน้ำ ก่อตั้งวันที่ 8 มีนาคม 2547 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ชั้น 3 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอนแก่นรังนกไทย ก่อตั้งวันที่ 24 เมษายน 2546 ทุนจดทะเบียน 2 แสนบาท ที่ตั้ง 102/1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

3.บริษัทไทยเดย์ด็อทคอมจำกัด ก่อตั้งวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 2 อาคารสีลมเซ็นเตอร์ ชั้น 15 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ทำธุรกิจและรับจ้างทำธุรกิจในเว็บไซต์ นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล 99.9% มีนายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล นายพชร สมุทวณิช นายขุนทอง ลอเสรีวานิช นายอุเว่ เฮนเก้ พาร์พาร์ท เป็นกรรมการ

4.ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรพัฒน์คอมมิค ก่อตั้งวันที่ 8 เมษายน 2542 ทุนจดทะเบียน 5 แสนบาท ที่ตั้ง 102/1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ผลิตและจำหน่ายหนังสือการ์ตูน แบบพิมพ์ (แบบเรียน)

5.บริษัท แอล อินเตอร์เทรด จำกัด ก่อตั้งวันที่ 5 สิงหาคม 2542 ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท ที่ตั้ง เลขที่ 52/32 หมู่ที่ 13 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ ประกอบธุรกิจ ขายสินค้าอุปโภคบริโภค นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล 50% นายทราน มินท์ เตียน (เวียดนาม) 40% นายอนุชิต สังข์เวียน 9.9%

6.บริษัท เอธนิค เอิร์ธ ดอท คอม โฮลดิ้ง จำกัด พัฒนาเว็บไซด์,บริการออกแบบและอื่น จดทะเบียนวันที่ 18 พฤษภาคม 2537 ทุน 80 ล้านบาท นายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ถือหุ้น 60%

7.บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 8 มีนาคม 2545 ทุน 50 ล้านบาท นายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ถือหุ้น 79.9% นายวินเนอร์ เดชเพียร 10% 5,000,000.00 นายสุรวิรช์ วีรวรรณ 10%

8.บริษัท เอเอสทีวี(ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท บริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด ถือหุ้น 100%

ในบรรดากิจการทั้งหมด รายได้หลักอยู่ที่ บริษัทไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด ซึ่งมีนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ เป็นกรรมการ

ผลประกอบการปี 2551 รายได้ 664 ล้านบาท กำไรสุทธิ 157.5 ล้านบาท สินทรัพย์ 641.2 ล้านบาท ส่วนปี 2552 ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ขณะที่ผลประกอบการบริษัทอื่นมีรายได้เข้ามาพอสมควรแต่"ขาดทุน"

บริษัทเอธนิคเอิร์ธดอทคอมโฮลดิ้งจำกัด ปี 2552 รายได้ 36.3 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 13.3 ล้านบาท ปี 2551 รายได้ 35.8 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 12.9 ล้านบาท

บริษัทเอเอสทีวีผู้จัดการจำกัด ปี 2552 รายได้ 218.1 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 61.8 ล้านบาท ปี 2551 รายได้ 24.7 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 4.9 ล้านบาท

บริษัทเอเอสทีวี(ประเทศไทย)จำกัด ปี 2552 รายได้ 210.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 15 ล้านบาท ปี 2551 รายได้ 232.2 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9 ล้านบาท

จากข้อมูลเห็นได้ว่าฐานะทางธุรกิจอันเสมือนกระเป๋าเงินของคนในครอบครัวยัง"ไม่ค่อยเสถียร" การนำทัพขับเคลื่อนทางการเมืองรอบนี้ทุกย่างก้าวจึงเต็มไปด้วย "ความหมาย"

จะกล้าประกาศว่า"ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง" เหมือนในช่วงเคลื่อนล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช จนถึงรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือไม่

คงต้องลุ้นกันต่อไป?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290513794&grpid=00&catid&subcatid 

เข้าชม : 107 
http://redusala.blogspot.com

เดินเครื่องยกเลิก112 คืนอิสรภาพสุรชัย

เปิดตัวเครือข่ายประชาธิปไตย( คปต.) เดินเครื่องยกเลิก112 คืนอิสรภาพสุรชัย+220เหยื่อกฎหมายหมิ่น
http://thairedaustralia.byethost2.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=36

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 พฤษภาคม 2554

กว่า 35 กลุ่มประชาธิปไตยทั้งในและต่างประเทศ ได้รวมตัวกันเป็น “เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.)”- Democracy Networks เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยผู้ต้องหาจำนวน 220 คน ที่ต้องโทษกฎหมายหมิ่นฯ ให้ได้รับอิสระเสรีภาพหรือการประกันตัว

เมื่อ วันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับมาตรา 112 และรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย โดยมีผู้แทนจากหลายกลุ่มทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย
กลุ่ม เสื้อแดงจากจังหวัดสตูล พัทลุง ราชบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี ตราด ลพบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง เชียงราย กลุ่ม 24 มิถุนา แดงสยาม แดงตะวันออก สมัชชาสังคมก้าวหน้า พลังแดงชะอำ พลังหญิง สหายสีแดง ตัวแทนจากสหภาพแรงงาน สหภาพครู ทนายความ กลุ่มศิลปิน พระสงฆ์ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย แนวร่วม LA และแดงเสรีชนเยอรมัน เป็นต้น เข้าร่วมประชุม


ในช่วงเช้าของการประชุมฯ เป็นการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรา 112 โดย ผศ.ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ให้ที่ประชุมได้รับความรู้และความเข้าใจกฎหมายมาตรานี้ดียิ่งขึ้น ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ ดำเนินรายการโดยคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ดร.สุนัย จุลพงศธร และนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล
โดยที่ประชุมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ต่อแนวคิดในการยกเลิกมาตรา 112 และร่วมกันเสนอกิจกรรมที่จะนำไปสู่การยกเลิกกฎหมายมาตราดังกล่าว เช่น-การตั้งเวทีปราศรัยและเดินรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา112 ในวันสำคัญๆ

-การ ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรา 112 กับสังคมในวงกว้างในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความ แผ่นพับ ซีดี และโปสเตอร์ การทำซุ้มตั้งโต๊ะ/จัดนิทรรศการ
-ให้ประชาชนลงชื่อหรือแสดงความคิดเห็นต่อการยกเลิกมาตรา 112
-การทำหนังสือถึงนักการเมืองพรรคต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ ให้รับทราบ
-ตลอดจนให้ความรู้กับคนในครอบครัวของตนเองและรอบข้างให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรา 112
เพื่อ สร้างเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112ให้ครบทุกจังหวัด โดยแต่ละกลุ่มจะดำเนินการทำกิจกรรมที่เสนอมาข้างต้นไปพร้อมๆ กับการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมเข้าชื่อขั้นต่ำ 10,000 ชื่อ (ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ) เพื่อยกเลิกมาตรา 112 ผ่านทางรัฐสภา
ประเด็น ที่สองที่หารือในที่ประชุมฯ คือการรณรงค์ให้อาจารย์สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ได้รับการประกันตัว หลังจากต้องโทษมาตรา 112 และถูกจองจำอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยภรรยาอาจารย์สุรชัย ได้เล่าให้ที่ประชุมฯ รับทราบว่า ถึงแม้อาจารย์สุรชัยจะยังมีกำลังใจดี แต่สุขภาพไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากอายุมาก ทั้งนี้ เคยยื่นขอความเป็นธรรมเพื่อให้ได้รับการประกันตัว แต่ถูกยกคำร้อง ล่าสุดอาจารย์สุรชัยจึงเขียนพินัยกรรมฝากตนไว้ กรณีถ้าต้องเสียชีวิตในคุก
ที่ประชุมฯ มีมติว่า ควรร่วมกันเขียนจดหมายถึงอาจารย์สุรชัย ซึ่งกลุ่มแดงสยามกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีการตั้งโต๊ะในสถานที่ต่างๆ และที่ชุมนุม เพื่อให้ผู้คนได้ลงชื่อเยี่ยมอาจารย์สุรชัย เขียนจดหมายร้องทุกข์ถึงองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ ให้ช่วยเหลืออาจารย์สุรชัย และนักโทษมาตรา 112 (ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 220 คน ในประเทศไทย) ให้ได้รับอิสรภาพหรือการประกันตัว
โดย คณะทำงานเครือข่ายฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ ข้างต้น และที่จะเข้าร่วมด้วยในอนาคต จะประชุมหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เสนอในที่ประชุมฯ ตลอดจนการจัดตั้งเวทีปราศรัยรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยนักโทษกฎหมายหมิ่นฯ ที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในวันครบรอบการต่อสู้ครั้งสำคัญของคนเสื้อแดง

Democracy Networks Establishment with Activities
to Cancel Article 112 and free 220 Thai prisoners with lèse majestè charges

About 35 democratic groups in Thailand and abroad aggregated to set up Democracy Networks (DNs) to launch campaigns and activities for canceling Article 112 and freeing the current 220 Thai prisoners who have been charged under the lèse majestè law. A seminar and operational plan meeting was organized on April 3, 2011 for exchanging knowledge and information about Article 112 and brainstorming to prepare an action plan.
The meeting received considerable interest from representatives of the red shirts in many provinces across Thailand (e.g., Satun, Patthalung, Ratchaburi, Singburi, Nakhon Pathom, Pathumthani, Bangkok, Samutsakorn, Samutsongkhram, Samutprakan, Chonburi, Trat, Lopburi, Nakhonratchasima, Ubonratchathani, Udonthani, Nakhonsawan, Phayao, Lampang, Chiangrai) and various groups (e.g., the 24 Mituna Prachatippatai, Red Siam, Eastern Red, Social Moves, Cha-am Red Power, Palung Ying, Red Comrade, the representatives from labor union, lawyers, teachers, artists, monks, Student Confederation of Thailand, LA Ally, and Red Liberal German).
In the morning session, two invited speakers, Assistant Professor Dr. Somsak Jeamteerasakul and Associate Professor Dr. Pichit Likitkijsomboon, gave talks to the participants about Article 112 (the details cannot be described here). The afternoon session was moderated by Mr. Somyot Pruksakasemsuk, Dr. Sunai Julapongsathorn, and Dr.Pongsak Phusitsakul.
The participants exchanged views and expressed their opinions toward Article 112 and reached strong agreement to conduct several activities in parallel with heavy campaigns to cancel Article 112. As parts of the action plan, the DNs will provide more information to people in Thai society to have the right perception and understanding of Article 112, and its severe enforcement and use of punishment as an efficient tool of the dictatorship. The Article 112 information will be prepared and distributed to the public in the forms of seminars, stage speeches, street-rally campaigns, published articles in various media, such as CD-ROM, leaflets, posters, brochures, etc. One of the legitimacy activities is to expand the anti-112 networks to local areas across Thailand to seek more allies to cooperate and jointly sign the petition for canceling this article.
According to law code in the Thai Constitution, people can submit a petition with at least 10,000 signatures for a specific purpose/demand through the parliament system for consideration.
The second topic discussing in the afternoon meeting was to help Surachai Danwattananusorn (the Red Siam leader) and the current 220 prisoners who have been charged under the lèse majestè law. Surachai’s wife told the participants in the meeting that her husband has a good memtal condition, but his physical condition is not very good because of his age and the environment in the cell.
Surachai’s latest petition asking for bail was rejected, and now he feels that he might not be released, or he might be die in jail. His wife said that her husband wrote a testament and gave it to her in case he should die in prison. The DNs seriously discussed about what the networks can do to help Surachai and other prisoners facing similar charges.
In conclusion, three activities will be conducted, including 1) writing to the international human rights organizations and asking for help to free all Thai prisoners who are charged with lèse majestè; 2) writing to Surachai to give him encouragement and providing information about Article 112; and 3) setting up the tables with a book for people to write and express their condolences to Surachai at Red Shirt demonstrations and other possible areas.
For the coming historic day of the Red Shirts on May 19 this year, the DNs are planning to organize stage speeches about Article 112 and run campaigns to free the prisoners who are charged with lèse majestè. The action plans will be discussed in detail among the representatives from all groups under the networks.


*********** 
http://redusala.blogspot.com

"เปรม จาบจ้วงสถาบันอย่างชัดเจน" แต่ทางรัฐบาลและกองทัพไม่?

http://www.thairedsweden.com/2011/04/blog-post_976.html


นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. แถลงข่าวยืนยันการต่อสู้ของกลุ่ม นปช. ว่า

เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และต่อต้านระบบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันแต่อย่างใด ยืนยันว่า การต่อสู้ดังกล่าวนั้น เป็นการต่อสู้ทางการเมือง และพร้อมพิสูจน์ทุกข้อกล่าวหา ตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหลังจากนี้ไป ทางกลุ่ม นปช. จะไม่ออกมาตอบโต้ทางวาจา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน พร้อมยืนยันว่า แกนนำ นปช. ทุกคน ที่ขึ้นเวทีปราศรัย ไม่มีเจตนาจาบจ้วงสถาบันแต่อย่างใด

ทางกลุ่ม นปช. เรียกร้องให้ทางรัฐบาลและกองทัพ ออกมาปกป้องสถาบัน ในกรณีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ออกมาสนทนากับเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และถูกนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ วิกิลีกส์ ซึ่งมีถ้อยคำที่แสดงถึงการจาบจ้วงสถาบันอย่างชัดเจน แต่ทางรัฐบาลและกองทัพไม่ดำเนินคดีใดๆ กับ พล.อ.เปรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและกองทัพ มี 2 มาตรฐาน 

ส่วนกรณีการลาออกจากการเป็นประธานพรรคเพื่อไทย ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ทางกลุ่ม นปช. นั้น เคารพการตัดสินใจดังกล่าว และไม่ติดใจแต่อย่างใด ซึ่ง อย่างไรก็ตามนั้น ทางกลุ่ม นปช. ก็ยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทย โดยอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมไปถึงสนับสนุนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และพร้อมต่อต้านกลุ่มที่มีความคิด จะล้มการเลือกตั้งทุกกรณี (Dialyworldtoday 20-04-54)
http://redusala.blogspot.com

Thai Military make threats against pro-democracy Red Shirts



 Thai Red Shirt Socialist

One year after the Military gunned down nearly 90 pro-democracy civilians in Bangkok and in the run up to the promised first election since the 2006 coup, the Military have been very active in increasing the obstacles to a free and fair election. They are seriously worried about the outcome of this election.
Naturally the Democrat Party Government and its bosses in the Army will not be stuffing ballot boxes or inflating the number of votes for the Government. That would be too obvious and they would be quickly found out. But what they have been doing since the 2006 coup has been a war of attrition to gradually destroy Taksin’s Thai Rak Thai Party and the Peua Thai Party which is its new incarnation. The Courts and the Election Commission have been used in a bias manner to destroy the chances of a Red Shirt election victory. Bribery and threats have also been used to get politicians to change sides. Added to this we have blanket censorship and the use of the lèse majesté law against government opponents. The Military have also used bloody violence and threats.

Yet Peua Thai Party is doing nothing to try to win the election. They have virtually no new policies and hope that Red Shirts will automatically vote for the party. If they are seen to lose, this will give a great deal of false legitimacy to the dictatorship. There is growing unease among many Red Shirts and the gap between this huge social movement and the professional politicians in Peua Thai is widening.

General Sansern Keawkamnurd, spokesperson for the Army, has announced that the Army is accusing Jatuporn Prompan and two other Red Shirt leaders (Wichien Kaokum and Rambo Isarn) of “lèse majesté” following their 10th April rally in Bangkok. Jatuporn is accused of “insulting the princess” by saying that he too would like to be interviewed on TV by the same presenter. The Democrat Party Spokesman Teptai Senpong supports the Army’s accusation. The recent interview of the King’s youngest daughter indicates how the Thai Monarchy is in the process of degeneration. Firstly, the princess’ speech delivery and the content of what she said, is more likely to remind people of an intellectually challenged individual than a demi-god. She boasts about how rich she is while trying to tell the public about the “good works” of her parents. The interviewer grovels on the ground in front of the princess’ shoes, twice, and she nods with approval. He also grovels on the ground at the same level as the princess’ dog and even shares the dog’s cup cake. The Thai population are supposed to be brought near to tears of joy and loyal emotion by such idiotic spectacles.

The Army has threatened those who are trying to campaign for the repeal of the lèse majesté law (article 112) and urged loyal subjects to “prevent” such activities. The generals claim that foreigners are “impressed” by the greatness of the Thai Monarchy, but are confused by misinformation from Red Shirts.

It is the Army that is the real unconstitutional power in Thailand. They use the Monarchy to legitimise all their actions. This explains why the Army is so manic in defending the Monarchy and in using lèse majesté against democracy activists. The generals stand to lose everything if a republican movement sweeps across Thailand and it looks like that might just happen.

Army commander General Prayut Chan-ocha has declared that the country was always “democratic”, as though the 2006 coup and all that followed, never took place. He reaffirmed the lie that the Military “never shot pro-democracy demonstrators” last year. Yet there is overwhelming photographic and documentary evidence that the Military and the Government ordered the killing of unarmed Red Shirts by bringing in tanks, heavily armed soldiers and snipers to crush the pro-democracy demonstrations in Bangkok. Nearly 90 unarmed civilians, including paramedics and foreign journalists were shot by snipers in “free-fire zones” set up by the Military. The army has now sent troops into villages this April, to coincide with the Songkran festival. They claim that they want to tell the people the “truth” and make sure everyone remains loyal to the Monarchy. General Prayut claimed that many Red Shirts were trying to insult the “holiness” of the Monarchy and told Red Shirt leader Jatuporn Prompan to “watch it”.

The DSI or Department of Special Investigation has been “unable” to release the results of autopsies on civilians killed by the Army 12 months ago. Now the head of the DSI is demanding that Red Shirt leaders, who are out on bail, be returned to jail for making pro-democracy speeches at recent rallies.

Recently the Oxford-educated Finance Minister Korn Jatikawanit, boasted on his facebook site that he had ridden in a taxi driven by a Red Shirt. On leaving the taxi, Korn gave the driver a lesson: “you can hold different views from me but don’t use violence”, he said. Korn is part of the military-installed Democrat Party Government that ordered the cold-blooded shooting of Red Shirt civilians last year.

The “Electoral Commission” has just confirmed that 73 loyal servants of the regime have just been appointed as unelected senators, making up half of the upper house. There are 18 former government officials, 11 military officers and 6 policemen. After the 2006 coup the Military re-wrote the Constitution so that half the senate would be appointed instead of being elected as before. Earlier, pro-military Election Commissioner Sodsri Satayatum said that she would prefer it if the General Election was cancelled. She claims the country isn’t ready for an election. Meanwhile the fascist PAD is destroying itself with internal strife. Their support has seriously declined and they cannot agree about participating in the coming election because they know that they will receive a miserable vote. The PAD staged violent pro-Monarchy and pro-dictatorship demonstrations in Bangkok, including the seizure of Government House and the International Airports. Now some of their leaders want the election scrapped and a Burmese style junta to rule the country. The Thai Military-dominated “security council” has also stated that since Burma now has a new “democratic” government, Burmese refugees can be forced back over the border.

Background to the rise of the Red Shirts

There is a common thread running through the political crisis in Thailand and the political crises that exploded earlier this year in the Middle East. In Thailand, Egypt, Tunisia and many other “developing nations”, societies have been rapidly urbanising and changing over the last 30-40 years. Yet the ruling elites and the power structures which dominated these societies had not changed. Different events triggered uprisings and struggles, but the underlying tensions remain the same.

For the last forty years the Thai ruling class has maintained its power through the Military, the Monarchy and occasionally by the use of an electoral system dominated by the money politics of business controlled political parties. The naked coercive power of the Military and other state institutions is complemented by the ideology of the Monarchy. This is achieved by imposing and socialising the belief among the population that the King is an all-powerful god who is to be loved or at least feared. This belief is a complete myth, but at various times it has been effective in serving the interests of the conservative ruling elites.

This state of affairs has constantly been challenged by mass uprisings and struggle by social movements. But in 2001 a serious challenge to the old order arose from within the ruling class itself. Taksin Shinawat’s Thai Rak Thai Party (TRT) won a majority in parliament by winning the hearts and minds of the electorate. His business-dominated party promised and delivered a universal health care system, job creation programmes and a raft of modernisation policies. In the past, elections had been about money politics, where politicians acted as personal patrons of their constituents while offering no political policies. The rise of TRT came to represent a serious, but unintentional, challenge to the conservatives in the ruling class. This sparked a military coup in September 2006, which in turn sparked the building of a pro-democracy mass movement called the Red Shirts.

Giles Ji Ungpakorn 12 April 2011 

This article should be read together with the article “Thailand today: some basic political facts”: in the "Thai Political Crisis" section of the English articles.
http://redusala.blogspot.com