วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คณะประกอบพิธีพราหมณ์เตือนเพื่อนระวังกลองระเบิดต้นเหตุ 'บางกอกแอร์เวย์' สั่งงดบิน


คณะประกอบพิธีพราหมณ์เตรียมไปตั้งศาลพระภูมิชัยมงคลที่ จ.ภูเก็ต เตือนเพื่อนร่วมคณะระวังกลองมันเฑาะระเบิด แอร์โฮสเตสหวั่นไม่ปลอดภัย แจ้งกัปตันพาผู้โดยสารลงจากเครื่องตรวจจะเอียด
 
21 ก.พ. 2559 เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเขตสนามบินกรุงเทพ (ศก.) รายงานอากาศยานถูกขู่วางระเบิด โดยมีอากาศยานของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ BKP 924 แบบ A320 มีกำหนดเดินทางจากท่าอากาศสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานภูเก็ต มีผู้โดยสารจำนวน 157 คน จอดอยู่หลุมจอด A4 หอบังคับการบินสุวรรณภูมิ รับแจ้งจาก ทอท. ว่าสายการบินได้รับแจ้งถูกขู่วางระเบิดอากาศยานลำดังกล่าว ขอตรวจสอบ นำผู้โดยสาร และลูกเรือลงจากเครื่อง หลังจากนั้นจะทำการลากเครื่องไปยังหลุมจอดเฉพาะ บนทางขับสาย C ระหว่าง C8 - C9 เพื่อตรวจสอบโดยละเอียด ภายหลังเจ้าหน้าที่คุมตัวนายวิชาฤทธิ์ นาเมืองรักษ์ อายุ 43 ปี ชาว จ.เพชรบูรณ์ พร้อมเพื่อนชายอีก 3 คน และนายวิชาฤทธิ์ นาเมืองรักษ์ ผู้ช่วยพราหมณ์ สังกัดพระครูคนหนึ่งส่ง ร.ต.ท.ภูริต สวัสดิ์ราช พนักงานสอบสวน สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีกัปตัน และแอร์โอศเตสของสายการบินดังกล่าวเข้าให้ปากคำ
 
จากการสอบสวนนายวิชาฤทธิ์ ระบุว่าตนพร้อมคณะเพื่อน และนายวิชาฤทธิ์ ถูกติดต่อว่าจ้างให้ไปตั้งศาลพระภูมิชัยมงคลที่ จ.ภูเก็ต มีกำหนดไปค้าง 1 คืน เพื่อประกอบพิธีพราหมณ์ในวันพรุ่งนี้เช้า โดยมีสัมภาระที่ถือติดตัวไปด้วยขณะขึ้นเครื่อง ประกอบด้วยสังข์เป่า 2 องค์ สังข์รดน้ำ 1 องค์ แป้งเจิมหน้าผาก แผ่นทอง และสีผึ้งใส่ไว้ในกระเป๋าอลูมิเนียม 4 เหลี่ยม ส่วนกลองมันเฑาะ (กลองพราหมณ์) ถือไปต่างหาก โดยขณะเดินขึ้นเครื่องเพื่อหาที่นั่งจนพบ โดยมีนายศักดิ์ดา แตงไทย อายุ 50 ปี ชาว กทม.เป็นคนถือสัมภาระทั้งหมด และได้นำขึ้นไปไว้บนช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ เพื่อความเรียบร้อยตามคำแนะนำของแอร์โฮสเตส แต่ตนเกรงว่าจะเกิดการเสียหาย เพราะกลองมีสองหน้า อีกหน้าหนึ่งนั้นชำรุดอยู่ จึงเอ่ยขึ้นว่า"ระวังสิจะระเบิด" เมื่อแอร์โฮสเตสที่ยืนอยู่ด้านหลังได้ยินคำพูดดังกล่าวจึงเดินมาต่อว่า "ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดเล่น" จากนั้นก็เดินไปบอกกัปตัน และรอให้ผู้โดยสารทั้งหมดขึ้นเครื่องจนครบทุกคน ก่อนจะประกาศออกมาว่า "เครื่องบินเกิดขัดข้อง" จะนำเข้าตรวจสอบ ส่วนตนและทีมงานพร้อมพราหมณ์ถูกเจ้าหน้าที่เชิญตัวมาสอบปากคำดังกล่าว
 
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าว ทางตำรวจต้องสอบปากคำทั้งหมดโดยละเอียด ซึ่งจะต้องดูว่าเป็นการแจ้งข้อความที่ส่งข่าวสาร ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นเท็จและการนั้นเป็นเหตุที่น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินตกใจกลัวตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2558 หรือไม่
 

'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง' ปิดปาก พร้อมชูสติ๊กเกอร์ 'Vote No' - ติดบริเวณแยกราชประสงค์


21 ก.พ.2559 Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. "ฟอร์ด เส้นทางสีแดง" ยืนถือสติ๊กเกอร์ Vote No เอามือปิดปาก ที่แยกราชประสงค์ เขาบอกว่า ต้องการสื่อถึงการที่ประชาชนถูกริดรอนสิทธิไม่สามารรณรงค์ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ ทั้งที่รองนายกฯ เคยบอกว่าการรณรงค์รับหรือไม่รับทำได้ภายใต้กฎหมาย จึงอยากขอให้ฝ่ายความมั่นคง เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเต็มที่ เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วถูกเจ้าหน้าที่ขัดขวางไม่ให้ทำกิจกรรมที่แมคโดนัลอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

รวมเวลาทำกิจกรรมประมาณ 15 นาที โดยไม่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แต่ รปภ. ได้ดึงสติ๊กเกอร์ของเขาออกหลังทำกิจกรรม
สำหรับ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง หรือ อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ นั้น เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา (14 ก.พ.59) ในนามกลุ่มเส้นทางสีแดงจัดกิจกรรม ‘Valentine Vote No’ เชิญชวนผู้รักประชาธิปไตย ใส่เสื้อ ‘Vote No’ รับสติ๊กเกอร์รณรงค์ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ’ ที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. แต่ระหว่างจัดกิจกรรมมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบประมาณ 5 นาย และนอกเครื่องแบบประมาณ 7 นาย เข้ามาเจรจาขอให้ทางกลุ่มผู้จัด ยุติกิจกรรม โดยอ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมือง ก่อนที่ประมาณ 20 นาทีต่อมา  ทางกลุ่มเส้นทางสีแดงได้ยอมยุติการจัดกิจกรรม และขอให้สื่อมวลชนช่วยเป็นพยานว่า พวกเขาทำตามกรอบของกฎหมาย เมื่อเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือทางกลุ่มก็ยอมยุติกิจกรรม 
โดยในครั้งนั้น ฟอร์ด ได้ยกความคิดของ รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่า การรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ตามกฎหมาย เช่นกัน (อ่านรายละเอียด)
ทั้งนี้ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง เป็นที่รู้จักในหมู่นักกิจกรรมว่า มักทำเสื้อรณรงค์ทางการเมือง แล้วนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งบริจาคช่วยเหลือนักโทษการเมืองมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 19 พ.ค.58 เขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมที่ร้านแม็คโดนัลด์ แยกราชประสงค์ ขณะนัดพบเพื่อนชาวต่างชาติเพื่อมอบเสื้อรณรงค์ พร้อมทั้งถูกเจ้าหน้าที่บุกค้นที่พัก และยึดเสื้อยืดรณรงค์เพื่อการช่วยเหลือนักโทษการเมืองไป 200 ตัว (ได้รับคืนในภายหลัง) ต่อมา วันที่ 4 ก.ย.58 เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านพัก เนื่องจากได้ทำแคมเปญ ‘Vote No’ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมนำโลโก้ดังกล่าวไปทำเป็นเสื้อรณรงค์

ทักษิณสัมภาษณ์สื่อนอก-ติง คสช.เลิกเผาบ้านเพื่อกำจัดหนูได้แล้ว-พร้อมเจรจาทุกรูปแบบ


สื่อต่างประเทศ 2 แห่ง เผยแพร่บทสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร เปิดเผยว่าชีวิตต้องเดินทางไปมาระหว่างยูเออี สหรัฐ อังกฤษ เยอรมัน สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะทำธุรกิจ - วิจารณ์ร่าง รธน. ใหม่ว่าเหมือนหลอกชาวโลกว่ากำลังจะกลับคืนประชาธิปไตย แต่ที่แท้เหมือนพม่ายุคก่อนเปิดประเทศ ระวังเศรษฐกิจอยู่ในภาวะอันตราย - พร้อมข้อเสนอเจรจาผู้มีอำนาจทุกรูปแบบ
แฟ้มภาพกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพวกเขาต้องการให้ทักษิณกลับมาติดคุก ภาพถ่ายเมื่อปี 2555 (ที่มา: ประชาไท)
21 ก.พ. 2559 - มีบทสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เผยแพร่ในสื่อต่างประเทศ 2 สำนักคือ ไฟแนนเชียลไทม์ และ วอลสตรีทเจอร์นัล
โดยใน ไฟแนนเชียลไทม์ พาดหัวว่า "Fugitive ex-Thai PM resurfaces to urge talks with ruling junta" ทักษิณกล่าวว่ารัฐบาลทหารไม่อาจสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ โดยทักษิณระบุว่าเขาเงียบมานานแล้ว และพร้อมเสนอการเจรจาทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสนทนาหรือพูดคุย ทั้งนี้ทักษิณกล่าวว่าการพูดคุยนั้นไม่มีการตั้งเงื่อนไขใดๆ สำหรับเขา เพียงแต่ต้องการเห็นประเทศเดินหน้าและคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน
อดีตนายกรัฐมนตรียังวิจารณ์ถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามุ่งทำให้อำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ เขาย้ำว่าไม่ได้จะมา "ท้าทาย" หรือ "สู้" คสช. แต่อย่างใดและระบุว่า "นี่มันศตวรรษที่ 2 แล้ว ไม่มีใครให้ความนับถือต่อประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลทหาร"
ทักษิณระบุว่า "ผมไม่ได้พูดว่ารัฐบาลทหารจะอยู่ได้ไม่นาน แต่ระบอบใดก็ตามที่ไม่เคารพประชาชนจะอยู่ได้ไม่นาน"
ทักษิณบอกกับไฟแนลเชียลไทม์ว่า เขามีชีวิตที่ต้องเดินทางไปมา โดยเขาใช้หนังสือเดินทางของมอนเตรนิโกร แทนหนังสือเดินทางไทยที่ถูกยึด โดยหลักเขาอยู่ที่ดูไบ แต่ก็มีบ้านในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สิงคโปร์ และฮ่องกง โดยเขายังคงดำเนินธุรกิจต่อไป โดยลงทุนในบริษัทหลายแห่ง นับตั้งแต่บริษัทด้านเทคโนโลยีการแพทย์ในอังกฤษ เหมืองแร่ในอูกันดา และแทนซาเนีย เขาคำนวณว่าเขามีทรัพย์สินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เป็นทรัพย์สินภายหลังจากที่ทางการไทยยึดทรัพย์เขา 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
วันเดียวกันมีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ของทักษิณใน วอลสตรีทเจอนัล พาดหัวว่า "Thailand’s Former Leader Thaksin Shinawatra Says Junta’s Election Plans a Charade" โดยทักษิณเตือนรัฐบาล คสช. ว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในอันตราย หากผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จำกัดอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งใจที่จะรักษาอิทธิพลของบรรดานายพล ที่ขับเขาลงจากอำนาจ
"เป็นเหมือนการแสดงละครต่อชาวโลกว่า ประเทศไทยกำลังกลับคืนสู่ประชาธิปไตย" ทักษิณกล่าว "แต่ในความเป็นจริง เหมือนกับประเทศพม่าก่อนปฏิรูปการเมืองมากกว่า ที่แม้จะมีนายกรัฐมนตรี แต่อำนาจแท้จริงอยู่กับคณะกรมการเมืองที่อยู่เหนือนายกรัฐมนตรี และเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ และไม่มีรัฐบาลไหนต้องการจะติดต่อสัมพันธ์กับไทย"
ในบทสัมภาษณ์ของวอลสตรีทเจอนัล ทักษิณยังเสนอว่า คสช. ควรรับฟังเสียงให้กว้างขวางกว่านี้ในการร่างรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องกลัวว่าเขาพยายามกลับเข้ามาสู่การเมืองอีก ทักษิณเปรียบเปรยว่า "ผมเป็นแค่หนูตัวเล็กๆ ผมอยากบอกพวกเขาว่าไม่ต้องกังวลกับหนูตัวนี้ และหนูตัวนี้ไม่ได้อยู่ในบ้านอีกแล้ว ไม่ต้องเผาบ้านเพื่อกำจัดผมอีกแล้ว" ทักษิณกล่าว
ทักษิณเองยังวิจารณ์การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ว่า "เข้าไปชนกับปัญหาแบบรายประเด็น แทนที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ระยะยาว"

นักวิจัยเผย ไทยติดประเทศมีคนตายจากอาวุธปืนสูงสุดในเอเชีย-มากกว่าสหรัฐ 2 เท่า


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสำรวจพบว่าประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนสูงสุดในเอเชีย ซึ่งนักวิจัยมองว่าประเทศที่มีโอกาสการศึกษาที่ดีและมีสวัสดิการดีจะทำให้อัตราการก่ออาชญากรรมด้วยปืนลดลง ทั้งนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าในไทยยังมีเรื่องขอการหาอาวุธปืนได้ง่าย วัฒนธรรมกลัวเสียหน้า และปัญหาการลอยนวลของผู้ก่อเหตุ
22 ก.พ. 2559 เว็บไซต์นิตยสาร Elite+ รายงานว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอาวุธปืนสูงที่สุดในเอเชียและมากกว่าในสหรัฐฯ ถึง 2 เท่า
งานวิจัยจากสถาบันเพื่อสุขภาวะและมาตรชี้วัด มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ระบุว่าในปี 2556 ในประเทศไทยมีอัตราคนเสียชีวิต ด้วยปืน 7.48 คน ต่อประชากร 100,000 คน ประเทศในเอเชียที่มีระดับสถิติผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืนรองลงมาคือฟิลิปปินส์ มีอัตราคนที่เสียชีวิตด้วยปืน 4.64 คน ต่อประชากร 100,000 คน เทียบกับสหรัฐฯ แล้วมีอัตราคนเสียชีวิตด้วยปืน 3.55 คน ต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ในสถิติงานวิจัยดังกล่าวยังเผยให้เห็นว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนในญี่ปุ่นและสิงคโปร์แทบจะไม่มีเลย
อาลี ม็อคดัด หนึ่งในทีมนักวิจัยผู้ศึกษาด้านสุขภาวะและระบาดวิทยากล่าวว่า สิ่งที่ทำให้บางประเทศมีอัตราอาชญากรรมที่มีการใช้อาวุธปืนน้อย เนื่องจากมีการให้โอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มวัยรุ่นมากและมีสวัสดิการสังคมที่ดี ทำให้วัยรุ่นเหล่านี้ไม่ไปเข้ากลุ่มแก๊งอาชญากรรมหรือซื้อหาอาวุธปืนมาใช้ โดยในงานวิจัยเดียวกันมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนในแถบอเมริกากลางสูงมาก ซึ่งม็อคดัดกล่าวว่า ในประเทศเหล่านี้มีกลุ่มแก๊งอาชญากรและการค้ายาจำนวนมาก รวมถึงมีกลุ่มวัยรุ่นเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรเหล่านี้ด้วยจึงทำให้เกิดความรุนแรงตามมา
Elite+ ระบุว่าไทยมีกฎหมายอนุญาตให้ครอบครองปืนได้ถ้าหากมีไว้ใช้ป้องกันตัวและป้องกันการบุกรุกทรัพย์สิน แต่การได้ใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนในไทยค่อนข้างง่ายถึงแม้ว่าจะมีการตรวจสอบประวัติและต้องมีอายุถึงเกณฑ์
เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ Asian Correspondent รายงานเกี่ยวกับการที่ไทยมีสถิติอาชญากรรมด้วยอาวุธปืนสูงเช่นกัน โดยมีการระบุถึงเรื่องแรงจูงใจส่วนใหญ่ว่าเป็นเรื่องของ "การเสียหน้า" หรือ "ความขัดแย้งทางธุรกิจ" ซึ่งมีการขยายประเด็นในเรื่องของ "การเสียหน้า" ที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับในหลายวัฒนธรรมแต่ในไทยดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงจังมาก จนเป็นเรื่องที่น่านำมาถกเถียงอภิปรายและหาวิธีการโต้ตอบการเสียหน้าอย่างเหมาะสมแทนการอ้างว่าการรักษาหน้าตาเป็นพฤติกรรมที่เป็นปกติทั่วไปในวัฒนธรรมนี้
ทั้งนี้ในรายงานของ Asian Correspondent นักข่าวอังกฤษที่เคยประจำการในไทยชื่อ แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ ผู้ออกจากประเทศไทยพร้อมครอบครัวหลังจากถูกข่มขู่คุกคามกล่าวว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่อาชญากรรมในไทยสูงเพราะผู้ก่อเหตุมักจะลอยนวลไม่ต้องรับผิดได้โดยง่าย และกระบวนการสืบสวนสอบสวนของทางการไทยก็ไม่น่าเชื่อถือ

'สุรพศ' ชี้ปฎิรูปสงฆ์ต้องออกมาจากอำนาจรัฐ หนุนตรวจสอบแต่ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย


เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา Thaisvoicemedia ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนาและปรัชญา ที่ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดปฎิรูปคณะสงฆ์ของพุทธะอิสร­ะและกลุ่มปฎิรูปกิจการศาสนาของนายไพบูลย์ นิติตะวัน  นั้น นายสุรพศ มองว่า เป็นข้ออ้างที่จะกำจัดพระธัมมะชโย วัดธรรมกาย และเชื่อว่ารัฐบาล คสช.คงไม่เอาด้วย แต่จะให้พุทธะอิสระเดินเกมทางการเมืองมากก­ว่า ซึ่งการปฎิรูปคณะสงฆ์นั้นควรจะทำเมื่อสังค­มอยู่ในบรรยากาศประชาธิปไตย หากปฎิรูปตอนนี้ตามแนวคิดของพุทธะอิสระก็ย­ิ่งจะทำให้คณะสงฆ์เป็นเผด็จการมากขึ้น ตนยืนยันว่าการปฎิรูปคณะสงฆ์ต้องให้คณะสงฆ­์ออกมาจากอำนาจรัฐ ไม่ควรเป็นเครื่องมือของรัฐอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าคณะสงฆไทยอย่า­งสำคัญและจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒน­าประชาธิปไตยของไทย แต่ต้องอาศัยเวลา
ต่อกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษเตรียมเอาผิด สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง กรณีถือครองรถหรูที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวของกลุ่มวัดป่าบ้านตา­ด และพุทธะอิสระที่จะไม่ให้ขึ้นเป็นสมเด็จพร­ะสังฆราชนั้น นายสุรพศ เห็นว่า การตรวจสอบพระเถระชั้นผู้ใหญ่สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ในการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย องค์กรของรัฐต้องตั้งอยู่ในกระบวนการยุติธ­รรมที่เป็นมาตรฐาน แต่กรณีนี้เป็นความพยายามกลั่นแกล้งกล่าวห­าทางการเมือง หากจะกล่าวหาสมเด็จพระสังฆราชที่ผ่าน ๆ มาว่าผิดพระธรรมวินัยก็สามารถทำได้ แต่คำว่า ผิดพระธรรมวินัย ที่พุทธะอิสระนำมาอ้างนั้นเป็นมาตรฐานของพ­ุทธะอิสระที่มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งมากกว่­า อย่างไรก็ตามด้วยอิทธิพลของพุทธะอิสระในตอ­นนี้ อาจจะดำเนินการกับ สมเด็จช่วงจนถึงขั้นปาราชิก จนไม่สามารถเป็นสมเด็จพระสังฆราชก็สามารถท­ำได้ แต่จะทำให้กลุ่มพระในคณะสงฆ์ออกมาเคลื่อนไ­หวต่อสู้อย่างแน่นอน
สำหรับข้อวิพากษ์วิจารณ์และกล่าวหาว่าวัดพระธรรม­กายเป็นภัยต่อคณะสงฆ์และความมั่นคง และหากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช จะทำให้ บทบาทของวัดพระธรรมกายจะเข้ามามีอิทธิพลใน­คณะสงฆ์และมหาเถรสมาคมหรือไม่นั้น นายสุรพศ มองว่า ขึ้นอยู่กับสังคมและกลไกรัฐ ที่จะควบคุมตรวจสอบ แต่หากแยกศาสนาออกจากรัฐ ก็ไม่มีปัญหาเป็นอิสระจากรัฐ จะเผยแผ่ศาสนา หรือจะสร้างกิจกรรมดึงดูดคนเข้าวัดอย่างไร­ก็ได้หากไม่ทำผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามการกล่าวหาว่า วัดพระธรรมกายกำลังเป็นภัยต่อคณะสงฆ์หรือค­วามมั่นคงของชาติเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์สำหร­ับวัดพระธรรมกาย



Mon, 2016-02-22 14:06


'องอาจ' หนุน 5 ประเด็นคงไว้ในรัฐธรรมนูญ ปรามคอร์รัปชั่น เพิ่มโทษโกงเลือกตั้ง เข้มงวดวินัยการคลัง แนะหลีกเลี่ยง 3 ปัจจัยเสี่ยง หวั่นเกิดวิกฤติซ้ำ เช่น บัญญัติส่อเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจของคสช. สร้างกลไกใดๆ ให้มีอำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง ฯลฯ


22 ก.พ. 2559 เมื่อเวลา 10.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้นแล้วเห็นว่ามี 5 ประเด็นที่สนับสนุนให้คงไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ 1. สนับสนุนการเพิ่มความเข้มข้นในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น 2. เข้มงวด กวดขันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3. การเพิ่มโทษของผู้กระทำการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นการกลั่นกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่อำนาจรัฐ 4. การมีบทบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ไม่ชอบ และ 5. การเข้มงวดในเรื่องชองวินัยการเงินการคลัง

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติใน 3 ส่วน คือ 1. หลีกเลี่ยงการสร้างกลไกใดๆ ให้มีอำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2. หลีกเลี่ยงการสร้างองค์กร หรือกำหนดบทบัญญัติองค์กรให้เกิดอำนาจแฝงทั้งในอำนาจการบริหารและนิติบัญญัติ และ 3.หลีกเลี่ยงความพยายามทำให้สังคมเป็นห่วงว่าจะมีบทบัญญัติส่อเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจของคสช. รัฐบาล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

แนะ 'ทักษิณ' รับโทษก่อนเจรจา


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าพร้อมที่จะเจรจานายองอาจ นายองอาจ กล่าวว่า ถ้าหากจะมีการพูดคุยกัน พ.ต.ท. ทักษิณ ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้เรียบร้อยก่อน เพราะขณะนี้ยังมีหลายคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม และบ้านเมืองเรามีขื่อมีแป มีกฎหมายที่ทุกคนยอมรับ ดังนั้นถ้า พ.ต.ท. ทักษิณอยากทำให้บ้านเมืองสงบจริงก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเสียก่อน หลังจากจากนั้นจะมาพูดคุยอะไรกับใครก็ถือเป็นความชอบธรรม

“ผมไม่แน่ใจว่าจะเกิดการพูดคุยระหว่างรัฐบาลกับนายทักษิณหรือไม่ แต่เห็นว่าการจะพูดคุยอะไรกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ขอให้กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน จากนั้นจะพูดคุยหรือเจรจากับใครก็จะมีความชอบธรรม”

ที่มาภาพ เพจ Democrat Party, Thailand

'องอาจ' หนุน 5 ประเด็นคงไว้ในรัฐธรรมนูญ ปรามคอร์รัปชั่น เพิ่มโทษโกงเลือกตั้ง เข้มงวดวินัยการคลัง แนะหลีกเลี่ยง 3 ปัจจัยเสี่ยง หวั่นเกิดวิกฤติซ้ำ เช่น บัญญัติส่อเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจของคสช. สร้างกลไกใดๆ ให้มีอำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง ฯลฯ

22 ก.พ. 2559 เมื่อเวลา 10.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้นแล้วเห็นว่ามี 5 ประเด็นที่สนับสนุนให้คงไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ 1. สนับสนุนการเพิ่มความเข้มข้นในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น  2. เข้มงวด กวดขันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3. การเพิ่มโทษของผู้กระทำการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นการกลั่นกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่อำนาจรัฐ 4. การมีบทบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ไม่ชอบ และ 5. การเข้มงวดในเรื่องชองวินัยการเงินการคลัง

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติใน 3 ส่วน คือ 1. หลีกเลี่ยงการสร้างกลไกใดๆ ให้มีอำนาจเหนือรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2. หลีกเลี่ยงการสร้างองค์กร หรือกำหนดบทบัญญัติองค์กรให้เกิดอำนาจแฝงทั้งในอำนาจการบริหารและนิติบัญญัติ  และ 3.หลีกเลี่ยงความพยายามทำให้สังคมเป็นห่วงว่าจะมีบทบัญญัติส่อเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจของคสช. รัฐบาล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง 
แนะ 'ทักษิณ' รับโทษก่อนเจรจา 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าพร้อมที่จะเจรจานายองอาจ นายองอาจ กล่าวว่า ถ้าหากจะมีการพูดคุยกัน พ.ต.ท. ทักษิณ ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้เรียบร้อยก่อน เพราะขณะนี้ยังมีหลายคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม และบ้านเมืองเรามีขื่อมีแป มีกฎหมายที่ทุกคนยอมรับ ดังนั้นถ้า พ.ต.ท. ทักษิณอยากทำให้บ้านเมืองสงบจริงก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเสียก่อน หลังจากจากนั้นจะมาพูดคุยอะไรกับใครก็ถือเป็นความชอบธรรม 
“ผมไม่แน่ใจว่าจะเกิดการพูดคุยระหว่างรัฐบาลกับนายทักษิณหรือไม่ แต่เห็นว่าการจะพูดคุยอะไรกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ขอให้กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน จากนั้นจะพูดคุยหรือเจรจากับใครก็จะมีความชอบธรรม”