วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย


'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!
'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย

11 พ.ย.56 นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แถลงยืนยันความพร้อมการถ่ายทอดสดศาลโลกอ่านคำตัดสินจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นขอตีความเรื่องอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร โดยจะถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านทางเว็บไซต์ของศาล www.icj-cij.org/homepage สามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงจริงในศาล เป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส พร้อมกันนั้้นกระทรวงการต่างประเทศได้จัดแปลเป็นภาษาไทยแบบสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) อีกทั้ง ยังสามารถเลือกรับฟังได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) เป็นภาษาไทย

นอกจากนี้ ยังติดตามได้ทางโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/ThaiMFA และ www.twitter.com/mfathai และยังมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 เป็นภาษาไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 เป็นภาษาอังกฤษ สถานีวิทยุ อสมท FM 100.5 และสถานีวิทยุสราญรมย์ AM 1575 เป็นภาษาไทย และยังสามารถรับฟังการอ่านคำตัดสินได้ทางเว็บไซต์ www.phraviharn.org และ saranrom.mfa.go.th เช่นเดียวกับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสามารถรับฟังผ่าน Mobile Application ของ อสมท. คือ MCOT App.

นายเสข กล่าวต่อว่า ลำดับขั้นตอนการถ่ายทอดการอ่านคำพิจารณาคดี จะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ทางช่อง 9 และ 11 จะถ่ายทอดรายการพิเศษก่อนการอ่านคำตัดสิน จากนั้นเวลา 16.00 น. ตามเวลาไทยหรือตรงกับเวลา 10.00 น. ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลจะเริ่มอ่านคำตัดสิน คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากศาลอ่านคำตัดสินเสร็จแล้ว จากนั้นประมาณ 20 นาที นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนสู้คดีฝ่ายไทย จะให้สัมภาษณ์สด หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และอีกประมาณ 40 นาที จะมีรายการพิเศษสัมภาษณ์นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก่อนที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ จะแถลงสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสข ได้เปิดให้คณะสื่อมวลชนเข้าชมศูนย์ข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยได้พาชมห้องวอร์รูมกลาง ที่มีไว้ติดตามสถานการณ์และรับการถ่ายทอดสด ซึ่งภายในห้องมีการติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ 3 จอ จากนั้นพาชมห้องล่ามแปลภาษา ที่มีล่ามแปลทั้งหมด 2 คน ห้องเทคนิคของช่อง 9 และ 11 และห้องถ่ายทอดรายการพิเศษ ที่จัดขึ้นห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม นายเสข กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มธรรมยาตราได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษว่า เป็นสิทธิสามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยและกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มดังกล่าวและประชาชนในพื้นที่แล้ว เพื่อยืนยันว่า จะไม่เกิดการปะทะกันในพื้นที่ชายแดนแน่นอน

"แม้ในระหว่างนี้ อาจมีข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนได้ ผมขอให้ประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเผยแพร่ เพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน และย้ำให้ประชาชนอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ควรรอฟังคำตัดสิน โดยท่านวีรชัย จะแปลภาษากฎหมาย เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย” นายเสข กล่าว

ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารแล้ว โดยกล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011

โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ

ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่

ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพกษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง

ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณ ดินแดน

โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง

เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ

ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962

1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน

2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1

3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแยังกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1

ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน

ศาลเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งภาคผนวก 1 ไม่ได้ระบุว่า เส้นทางชัดเจน แต่ชัดว่า ด่านตำรวจที่อยู่ใกล้เคียงกับแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลพิจารณาพื้นที่จำกัดด้านตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า ถือเป็นพื้นที่กัมพูชา ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความเรื่องบริเวณใกล้เคียงที่ครอบคลุมชะง่อนผาและครอบคลุมกัมพูชาไม่ถือว่าภูมะเขืออยู่ในพระวิหาร ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของจว.นี้ แต่ก็ถือว่า ภูมะเขือเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาและขณะเดียวกันเล็กกว่าจะครอบคุลมทั้งพระวิหารและภูมะเขือ และภูมะเขือไม่ได้เป็นบริเวณสำคัญที่ศาลจะพิจารณา ไม่มีหลักฐานที่จะเสนอว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารหรือกำลังไทยในบริเวณนั้น และไม่มีการพูดว่า ภูมะเขือมีส่วนสำคัญที่ไทยต้องถอนกำลัง

การตีความที่จะกำหนดจุดต่าง ๆ ศาลได้พิจารณาว่า ศาลไม่ได้กำหนดสันปันน้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลจะพิจารณา เนื่องจากศาลได้กำหนดว่า อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

หลังการพิจาณาสรุปว่า คำพิพากษาปี 1962 ศาลไม่ได้พิจารณาที่กว้าง ดังนั้นไม่ได้มีความตั้งใจพิจารณาว่าพื้นที่ใกล้เคียงหรือภูมะเขืออยู่ในไทย การพิจารณา ปี 1962 ตามที่มีการร้องขอในกระบวนการพิจารณาได้มีการพิจารณาในส่วนของเขาพระวิหารด้านใต้ ตะวันออกใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีชะง่อนหน้าผา สองฝ่ายตกลงว่า พื้นที่อันนั้นอยุู่ในกัมพูชา และตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่าที่เป็นสิ่งแยกเขาพระวิหารออกจาภูมะเขือ ก่อนลาดลงสู่พื้นที่ราบกัมพูชา ศาลพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่ข้อพิพาท และปี 1962 ไม่ได้บอกว่า อยู่ในไทยหรือกัมพูชาชะง่อนหน้าผาพระวิหารและภูมะเขือ มีพื้นที่ที่เริ่มสูงขึ้น เป็นเส้นของแผนที่

อย่างไรก็ตาม สองฝ่ายไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้ คำพิากษา 1962 ศาลพิจารณาเรื่องวัดที่เกี่ยวข้องในข้อบทปฏิบัติการข้อสามและจะทำให้เข้าใจข้อบทปฏิบัติการ ข้อพิจารณาในขณะนั้น เป็นเรื่องของอธิปไตย ศาลจึงได้ตัดสินใจในข้อปฏิบัติการที่ 1 ว่า พระวิหารอยู่ในกัมพูชา ไทยมีหน้าที่ถอนกำลังทาหร และอื่นๆ ออกไปจากพื้นที่ของกัมพูชาในแถบพระวิหารและเรื่องข้อปฏิบัติที่สามที่ครอบคลุมพื้นที่ขยายเกินขอบเขตพระวิหาร

สำหรับอธิปไตยเหนือพื้นที่ก็จเป็นบริเวณที่อยู่ใต้อธิปไตยของกัมพูชาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ และพื้นที่ดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของข้อพิพาทปี 1962 เรื่องอธิปไตยที่ศาลพิจารณาคือ คาบเกี่ยวทั้งที่พูดถึงในวรรคแรกและสาม ศาลสรุปว่า พื้นที่ที่พูดถึงในวรรค 1 และ 3 ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชาและถือว่า เป็นการอ้างถืงวรรคสองและสามและพูดถึงบริเวณพระวิหาร ที่มีการร้องขอให้พิจารณา

"ไทยได้รับว่า ไทยมีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะเคารพ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่ไทยบอกว่า เป็นพื้นที่อธิปไตยกัมพูชา สองฝ่ายต้องทำตามพันธกรณี ทั้งสองมีหน้าที่แก้ไขปัญหา ข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น ภายใต้การทำงานสองฝ่ายไทยกัมพูชาต้องคุยกันเอง ยูเนสโกต้องดูแลในฐานะดูแลมรดกโลก ก็สรุปว่า วรรคหนึ่งข้อบทปฏิบัติการทั้งหลาย กัมพูชามีอธิปไตยเหนือชะง่อนผาที่ต้องมีไว้ตาม 1962 ไทยต้องถอนทหารทั้งหมดออกไป ตามย่อหน้า 108 เป็นส่วนบทปฏิบัติการ ซึ่งศาลมีมติเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจรับฟังการตีความตามวันที่ 15 มิ.ย.1962 คือ กัมพูชามีอำนาจตามอธิปไตยในพระวิหาร ไทยต้องมีพันธกรณีถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ผู้เฝ้า"

วิเคราะห์! "ทิศทางคดีเขาพระวิหาร"  



เริ่มแล้ว!!! "ศาลโลก" ขี้นบัลลังก์!! ตัดสินเขาพระวิหาร


ฉบับเต็ม "ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ตอนที่ 2)



"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอน 3)



"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอน 4)


"ศาลโลก" อ่านคำพิพากษา (ฉบับเต็ม - ตอนจบ)

นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ ภายหลังรับทราบผลคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ ภายหลังรับทราบผลคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


สวัสดีค่ะพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพรัก

            ตามที่เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ “ศาลโลก” เพื่อขอให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 โดยเห็นว่าไทยและกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับคำพิพากษาของคดีฯ เมื่อปี 2505 ในเรื่องของขอบเขต “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” ซึ่งกัมพูชาเห็นว่าต้องเป็นไปตามเส้นเขตแดนระหว่างประเทศในแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระวางดงรัก นั้น

             คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ได้ต่อสู้ในแง่กฎหมายและตามกติกาสากลอย่างเต็มที่ ดังเป็นที่ประจักษ์ในการให้การทางวาจาฯ ต่อศาลโลก เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลทราบดีว่าภารกิจการต่อสู้คดีฯ ครั้งนี้ เป็นภารกิจที่ท้าทายและยากลำบากมาก เพราะเป็นคดีที่ตีความคำพิพากษาเดิมที่ผ่านมาแล้ว 50 ปี และประเทศไทยจำเป็นต้องกลับไปต่อสู้ที่ศาลอีกครั้งหนึ่งเพื่อมิให้ศาลพิจารณาเพียงเอกสารหลักฐานและคำให้การของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น คณะดำเนินคดีของประเทศไทยจึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาชนในทุกด้านอย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสบายใจและมีประสิทธิภาพสูงสุด

             บัดนี้ ศาลโลกได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของทั้งสองฝ่าย ซึ่งพี่น้องประชาชนทุกท่านคงได้มีโอกาสติดตามการถ่ายทอดสดคำพิพากษา โดยรัฐบาลเห็นว่า เป็นคำพิพากษาที่ให้ความสำคัญกับการที่ทั้งสองประเทศจะต้องเจรจากัน และมีหลายส่วนที่เป็นคุณกับประเทศไทย โดยมีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

             ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของไทย และได้ตัดสินยืนยันที่จะตัดสินภายในขอบเขตของคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505

            ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของไทย โดยยืนยันว่า คำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 นั้น ไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเป็นประเด็นที่อยู่นอกเหนือจากคำพิพากษาเดิม ซึ่งหมายความว่า ศาลไม่รับพิจารณาข้อเรียกร้องของกัมพูชาเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม. และที่สำคัญศาลไม่ได้ตัดสินว่าแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ผูกพันกับไทย โดยผลของคำพิพากษาเมื่อปี 2505

             ศาลรับตีความเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทตามคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 โดยศาลอธิบายว่าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กมาก ซึ่งกำหนดขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ประกอบขึ้นเป็นยอดเขาพระวิหาร โดยไม่ได้กำหนดเส้นเขตแดน และที่สำคัญไม่รวมพื้นที่ภูมะเขือ ซึ่งในส่วนของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทนี้ ทั้งสองประเทศจำเป็นต้องหารือกันในรายละเอียดต่อไปโดยกลไกทวิภาคีที่มีอยู่

               ศาลได้แนะนำให้ความสำคัญกับการที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในกรอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลก

              ดังนั้น รัฐบาลได้สั่งให้ทีมที่ปรึกษากฎหมายศึกษารายละเอียดและสาระสำคัญของคำพิพากษาเพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปประกอบการพิจารณาดำเนินการของรัฐบาลต่อไป ต่อจากนั้น ไทยและกัมพูชาจะต้องเจรจาหารือภายใต้กลไกที่มีอยู่ระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อให้ได้ข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย และจะคำนึงถึงขั้นตอนและกระบวนการตามกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

              ในโอกาสนี้ ดิฉันขอเรียนยืนยันว่า การดำเนินการของรัฐบาลจะรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง รวมทั้งเกียรติภูมิของชาติ และความเป็นประชาคมอาเซียน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้สั่งการและกำชับให้ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ยังคงรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณชายแดน รักษาอธิปไตย และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ เพื่อสันติภาพ สันติสุข และความสงบเรียบร้อย ดังที่ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด

พี่น้องประชาชนที่เคารพรัก

            ประเทศไทยและกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน ที่นอกจากจะมีพรมแดนติดต่อกันถึงเกือบ 800 กม. ยังเป็นสมาชิกอาเซียนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันต่อไปเพื่อความสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งประชาชนไทยและกัมพูชาก็มีความสัมพันธ์ฉันท์ญาติมิตร มีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันมาช้านาน ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของทั้งสองประเทศ

          ในนามของรัฐบาล ดิฉันขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทย มีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดำเนินการทุกอย่าง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนพี่น้องคนไทยทุกคนและของชาติอย่างสูงสุด

ขอประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ไหมครับ


"พานทองแพ้" FB วอนประชาธิปัตย์ยุติ ขอให้ประเทศเดินหน้า ชี้ 40สว. สายอำมาตยาธิปัตย์ทำสภาป่วน

          วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวhttps://www.facebook.com/oakpanthongtaeโดยมีเนื้อหาดังนี้



"ขอประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ไหมครับ พรรคประชาธิปัตย์"

           ในการแข่งขันกีฬา ทุกครั้งเมื่อมีการฟาวล์เกิดขึ้น กรรมการจะเป่านกหวีด เกมการแข่งขันจะต้องหยุด เพื่อให้กรรมการชี้ว่ามีการผิดกติกาอย่างไร จำเป็นต้องให้ใบเหลือง-ใบแดง กับผู้เล่นคนไหน และเมื่อพิจารณาเสร็จเรียบร้อย กรรมการก็จะปล่อยให้การแข่งขันดำเนินต่อไป

           การเมืองไทย ในแบบฉบับของพรรคฯเก่าแก่ ที่สืบทอดกันมาหลายสิบปี อย่าหวังว่าจะมีคำว่า"น้ำใจนักกีฬา"ครับ "ส้มหล่นใส่ตีน ลูกหล่นใส่เท้า" เป่านกหวีดปรี๊ดด..!! เตะฟรีคิกเข้าประตูทำคะแนนตีตื้นได้ ก็น่าจะพอใจกลับไปเขี่ยลูกเล่นใหม่ ตามกติกาประชาธิปไตย ที่เป่าหูสลิ่มอยู่เสมอว่า "เราเชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา"ได้แล้ว
         
            แต่ปรากฎว่าพรรคฯเก่าแก่ยังไม่พอใจครับ เพราะก่อนหน้าทำเสียประตูตามหลังอยู่เยอะ ยอมให้จบเกมแยกย้ายกันกลับบ้าน ก็ไม่ได้เป็นรัฐบาลอยู่ดี ในอดีตที่ผ่านมาก็เห็นชัดเจนแล้วว่า "ประชาธิปัตย์จะเป็นรัฐบาลได้ บ้านเมืองต้องวุ่นวายก่อน" ดังนั้นเมื่อรัฐบาลถอยพรบ.นิรโทษฯแล้ว จึงจำต้องหาเรื่องต่อ พาลจะเตะหน้าแข้งเขาพระวิหาร, เตะก้านคอ2ล้านล้าน, เตะยอดอกแก้ปัญหาน้ำ เป่านกหวีดกันต่อ บ้านเมืองต้องวุ่นวายจนถึงที่สุด จนกว่ารัฐบาลของพรรคฯฝ่ายตรงข้ามจะบอบช้ำ จนไม่สามารถกลับมาสู่เกมส์การเมืองได้

           ลำพังพรรคการเมืองเล่นนอกเกม ประเทศก็บอบช้ำมากแล้ว มาหนนี้ 40สว. สายอำมาตยาธิปัตย์ ก็เอากับเขาด้วยครับ ปากเรียกตัวเองว่าสภาสูง แต่กลับประพฤติตนถอดแบบกันมาเด๊ะ เล่นซ่อนแอบกันเป็นเด็กอมมือ ปิดประตูล็อคห้องไม่ยอมเข้าประชุมสภาฯ ประธานวุฒิฯไปเคาะประชุมเรียกก็ไม่ยอมเปิดห้อง จนสภาฯต้องล่มไป เพื่อลากม๊อบต่อไปอีก2-3วัน รอคดีเขาพระวิหารมารับช่วงต่อฯ

            จัดม็อบกันต่อ ปิดถนนปิดประเทศกันต่อ อาจทำให้ปชป.ดูดีมีสไตล์ ดูเสมือนใกล้ชิดประชาชนขึ้นมาได้บ้าง แต่ประเทศชาติมีต้นทุนเสียหายเยอะครับ ต่างชาติเริ่มลังเลตั้งใจจะมาเที่ยวภูเก็ต การเมืองเป็นแบบนี้หรือจะไปบาหลี-เมาดีฟส์แทนดี ตลาดหุ้นเริ่มคลอนแคลนง่อนแง่น การเมืองจะเอายังไง จบหรือไม่จบ ดึงขากางเกงกันอยู่อย่างนี้แหละ ประเทศชาติไม่ไปไหน

           สไตล์ประชาธิปัตย์ เป่านกหวีดกันมากี่ครั้ง ลองทบทวนกันดูครับ เป่าแล้วประเทศชาติได้อะไร มีอะไรที่สำรอกกระเด็นออกมา นอกจากเสียงนกหวีดปรี๊ดๆกันบ้าง บรรทัดสุดท้ายอยู่ที่การใส่พานอัญเชิญรถถังออกมาแอ่นแอ๊นอีกหรือเปล่า ทบทวนข้อดีข้อเสียกันดู หากเห็นว่าเป่าแล้วยังคงคอนเซ็ปเดิมในสไตล์ "เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น"แล้วละก็ การเป่านกหวีดในครั้งนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆคือพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนผู้ที่บอบช้ำเสียหาย คงไม่พ้นประเทศไทยของเราครับ


โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง.....

"ขอประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ไหมครับ พรรคประชาธิปัตย์"

"แป๊ะลิ้ม" แบไต๋ม็อบ แช่แข็งประเทศ 3 ปี !


"แป๊ะลิ้ม" แบไต๋ม็อบ แช่แข็งประเทศ 3 ปี !


          วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – เมื่อเวลา 10.30 น. ที่บ้านพระอาทิตย์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและพร้อมเคลื่อนไหวทันที พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไม่รับคำตัดสินของศาลโลกในคดีเขาพระวิหาร เนื่องจากจะทำให้สูญเสียดินแดนที่เป็นของประเทศไทย

          พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ตนได้พูดคุยกับนายสนธิ แล้วว่าต้องออกแถลงการณ์แสดงจุดยืน เพื่อให้บ้านเมืองได้รับรู้สถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้

  • 1.ตนและนายสนธิ ต้องการให้กำลังใจประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การคัดค้านการแก้ไขมาตรา 190 การคัดค้านการขึ้นราคาก๊าซ LPG ที่ถึงแม้จะมียุทธวิธีที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนเสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองเหมือนกัน
  • 2. ตนและแกนนำกลุ่มพธม. คาดหวังว่าเมื่อยุติบทบาทจะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนออกมารับผิดชอบประเทศ ไม่ใช่กลุ่มพธม. ซึ่งทำให้รัฐบาลประมาท ลุแก่อำนาจ จึงเป็นที่มาของการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนทำให้ประชาชนออกมาต่อต้านเป็นจำนวนมาก และนี่ถือว่ายุทธวิถีที่ทำให้เกิดมวลชนกลุ่มใหม่ถือกำเนิดขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล
  • 3.เงื่อนไขที่แกนนำพธม.จะกลับมาคือ เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย หรือพี่น้องประชาชนต้องการให้กลับมาเป็นแกนนำ และขอเรียกร้องให้ประชาชนที่ยังคัดค้านเพียงแค่พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ปรับเปลี่ยนกลยุทธวิถี เนื่องจากยังมีอีกหลายประเด็นที่รัฐบาลยังลุแก่อำนาจได้ ซึ่งการยุบสภาฯ หรือลาออก ยังไม่ใช้หนทางการแก้ปัญหา แต่ต้องใช้การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่
          พล.ต.จำลอง กล่าวต่อไปว่า ตนขอเรียกร้องให้ข้าราชการหยุดทำตามคำสั่งของทรราช และมาร่วมกับมวลชนจึงจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ วันนี้เป็นวันสำคัญที่ศาลโลกจะตัดสินคดีเขาพระวิหาร ซึ่งถ้าหากประเทศไทยสูญเสียดินแดนรัฐบาล นักการเมืองที่รู้เห็นเป็นใจ จะต้องรับผิดชอบกับการกระทำทั้งหมด และขอให้รัฐบาลไม่รับคำตัดสินของศาลโลก เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีประเทศใดรับอำนาจศาลโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เป็นต้น นอกจากประเทศไทย ตนจึงไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ และจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง พร้อมประกาศว่าไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ก็จะไม่รับคำตัดสินจากศาลโลก และขอเชิญชวนให้ประชาชนออกมาเคลื่อนไหว เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

          ก่อนหน้านี้นายสนธิ เคยรับปากกับตนไว้ว่าเมื่อใดก็ตามที่ตนออกมาเคลื่อนไหว นายสนธิ ก็พร้อมออกมาเคลื่อนไหวด้วย แต่ตนได้ห้ามนายสนธิไม่ให้ออกมาเคลื่อนไหวในตอนนี้ เนื่องจากหากตนทำไม่สำเร็จจะได้มีนายสนธิ เป็นตัวสำรอง

          ด้านนายสนธิ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนมองว่ากระบวนการของศาลโลกซึ่งเป็นประเทศของมหาอำนาจ ไม่มีเหตุผลใดที่จะมาพิจารณาคดีเขาพระวิหาร แต่เนื่องจากมีประเทศบางประเทศมีส่วนได้เสียจากพลังงาน ซึ่งถ้าหากเราย่อมแพ้ก็จะเสียพื้นที่ในอ่าวไทย และเป็นที่น่าผิดหวังที่รัฐบาลไทยจะยอมรับอำนาจของศาลโลก ทั้งยังสมรู้ร่วมคิดกับศาลโลก ด้วยการเร่งแก้ไขมาตรา 190 เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุ ให้สามารถไปคุยตกลงกันได้โดยไม่ต้องบอกให้ประชาชนรับรู้

         นายสนธิ ได้ตั้งข้อสังเกตกรณีที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน ได้มาพูดในรัฐสภาไทย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ยังไม่มีโอกาสได้พูด ดังนั้นจีนอาจมีส่วนได้ส่วนเสียกับการตัดสินในคดีเขาพระวิหาร เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกัมพูชา ส่วนกรณีการที่รัฐบาลเปิดฟรีวีซ่ากับประเทศจีน คนที่เดือดร้อนไม่ใช่คนจีนแต่เป็นคนไทย ที่ต้องตกงานเพราะคนจีนจะเข้ามาทำงานแทนที่ นี่คือผลงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีตามหมายศาล ซึ่งได้โอ้อวดเอาไว้

           นายสนธิ กล่าวต่อไปว่า พธม.ชุมนุมมาร่วม 7 ปี มีทั้งคนรักและคนเกลียด ดังนั้นเราจึงยุติบทบาทเนื่องจากความรับผิดชอบของบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องของพธม. แต่เป็นเรื่องของประชาชน ดังนั้นการยุติบทบาทนั้นครั้งนั้นถือการรุกฆาต และให้ประชาชนที่แท้จริงออกมา และตอนนี้ก็มีหลากลายเวทีได้ถูกจัดตั้งขึ้นซึ่งล้วนแล้วแต่มีแกนนำเป็นของตนเอง ฉะนั้นการที่ตนตนจะออกมาเคลื่อนไหวหรือไม่นั้นก็ไม่มีความหมาย แต่ทั้งนี้พล.ต.จำลอง ได้ขอร้องผมเอาไว้ อยากให้เป็นตัวสำรอง แต่ตนหวังอยากให้ทุกเวทีเกิดการตกผนึกทางความคิด และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ คงเห็นแล้วว่ามวลชนมักจะนำหน้าแกนนำเสมอ วันนี้การต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างเดียวคงไม่พอ เราไม่ได้ต้องการโค่นล้มรัฐบาล หรือโค่นล้มตระกูลทักษิณ แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศ

           "ตนมองว่าประเทศไทยต้องยุติอำนาจของนักการเมือง 2-3 ปี แล้วถวายอำนาจคืนในหลวง และให้พระองค์ท่านแต่งตั้งใครก็ได้มาบริหารประเทศชั่วคราว เพื่อให้ประเทศกลับสู่ภาวะปกติ หากล้มรัฐบาลชุดนี้ได้แล้ว ควรถวายอำนาจคืน" นายสนธิกล่าว

"เทือก" ใจปลาซิว เตรียมลาออกสส. 6 คน ไม่กล้า "ลาออกยกพรรค"


"เทือก" ใจปลาซิว เตรียมลาออกสส. 6 คน ไม่กล้า "ลาออกยกพรรค"



            วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – หลังการประชุมแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อหารือถึงการยกระดับเคลื่อนไหวต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการไล่รัฐบาล มีข้อสรุปว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จะลาออกจากตำแหน่ง ออกมาต่อสู้นอกสภาฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อพรรค ที่กำลังถูกฝ่ายรัฐบาลยื่นยุบพรรค

            ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เบื้องต้น จะมี ส.ส.6 คนของพรรคประกาศลาออกบนเวทีชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเป็นการยกระดับเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล ประกอบด้วย
  • 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี 
  • 2.นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา 
  • 3.นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง 
  • 4.นายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช 
  • 5. นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร 
  • 6.นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ
          "ในการหารือ นายสุเทพจะขอลาออกคนเดียว แต่เราเห็นว่าไม่ควรให้สถานการณ์ถูกตีความว่าเป็นการโดดเดี่ยวนายสุเทพ จึงเห็นว่า ควรไฟเขียวให้ ส.ส.ของพรรคลาออกได้ตามความสมัครใจ แต่เมื่อประเมินผลดี ผลเสีย หากมีการลาออกจำนวนมาก จะทำให้ต้องพะวักพะวงกับการเลือกตั้งซ่อมภายใน 45 วัน แทนที่จะเป็นการช่วยทางเวทีได้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติว่า ไม่ควรลาออกกันมาก โดยเฉพาะ ส.ส.กทม.ตอนนี้ ห้ามลาออก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ต้องประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้า จึงค่อยตัดสินใจ" แหล่งข่าวระดับสูงจาก ปชป.กล่าว



"สุเทพ" จนแต้ม! ประกาศลาออกกดดันแฟนคลับ พร้อมมาตรการนัดหยุดงาน เป่านกหวีด


           เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ขึ้นกล่าวบนเวทีปราศรัยหลังพ้นเส้นตายที่ขีดไว้ให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ว่า ตนและ ส.ส.ปชป.อีก 8 คน ประกอบด้วยนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กทม. นายเอกณัฐ พร้อมพันธุ์ ส.ส.กทม. และนายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.กทม.จะไปยื่นลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เพื่อมาสู้ร่วมกับประชาชนด้วยกัน โดยเราจะยึดถนนราชดำเนินเป็นชัยภูมิในการต่อสู้จนกว่าจะประสบชัยชนะ

          "เราจะยกระดับการต่อสู้ โดยการเชิญชวนประชาชน กระทำการอารยะขัดขืน
  • 1.ขอให้หยุดงานทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2556 
  • 2.ขอให้บรรดาพ่อค้านักธุรกิจทั้งหลายหยุดชำระภาษี อย่าให้รัฐบาลนี้มีสตางค์ไปโกงกันอีก 
  • 3.ขอให้ทุกบ้านทุกสำนักงานขักธงชาติขึ้นทั่วประเทศ ไปไหนมาไปติดธงชาติไว้ และแขวนคอด้วยนกหวีด และ 
  • 4.ตั้งแต่นาทีนี้ หากประชาชนพบเห็นนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และลิ้วล้อบริวารของพวกมัน ไม่ต้องพูดกับมัน เป่านกหวีดอย่างเดียว" นายสุเทพกล่าว