วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

FIDH วิพากษ์ไทย 'ละเมิดกติกาสากล' กรณีตัดสินคดี 'เจ้าสาวหมาป่า'

ตรงกับวันที่มีการประกาศผลรางวัลออสการ์ที่เป็นการให้รางวัลยกย่องผู้ทำงานสื่อศิลปะและการแสดง ในประเทศไทยกลับเป็นวันที่มีการตัดสินคดีลงโทษนักแสดงละคร 2 คน ซึ่งสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH)วิจารณ์ว่าเป็นการลงโทษที่ขัดต่อกติกาสากลว่าด้วยเสรีภาพสื่อและสิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม
24 ก.พ. 2558 เว็บไซต์สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) รายงานถึงกรณีการตัดสินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนักแสดงละครเรื่อง "เจ้าสาวหมาป่า" กลุ่มเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่งกำลังมีการประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 87 ที่เป็นการให้รางวัลกับศิลปินและนักแสดง แต่ประเทศไทยกลับมีการลงโทษผู้ที่แสดงออกอย่างเสรีในทางศิลปะ ที่ศาลอาญากรุงเทพฯ
ละครเจ้าสาวหมาป่าจัดแสดงเมื่อวันที่ 13 ต.ค. เพื่อแสดงการรำลึกครบรอบเหคุการณ์ "14 ตุลาฯ" ซึ่งมีเนื้อหาพูดถึงระบอบกษัตริย์ในแบบเรื่องแต่ง แต่กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ ในรายงานของ FIDH ระบุว่าทางการไทยไม่ได้อธิบายว่าผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้ง 2 คน คือ ปติวัฒน์และนางสาวภรณ์ทิพย์ หรือ 'แบงค์' และ 'กอล์ฟ' ทำอะไรที่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายมาตรา 112
ซึ่งในจุดนี้ทำให้ FIDH ชี้ให้เห็นว่ามาจากปัญหาที่มาตรา 112 ไม่มีการผ่อนปรน ทำให้ผู้ที่กล่าวถึงสาเหตุจะต้องกล่าว 'หมิ่น' ซ้ำทำให้อาจจะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 ไปด้วย
FIDH ยังระบุอีกว่าการยอมรับสารภาพของผู้ต้องหาทั้ง 2 คนไม่ได้หมายถึงการยอมรับว่าสิ่งที่พวกเขาทำถือเป็นความผิด
FIDH ระบุว่าการที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวในกรณีนักโทษคดี 112 ทำให้กอล์ฟและแบงค์ ซึ่งกำลังเรียนหนังสืออยู่ทำให้พวกเขาสูญเสียโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากกอล์ฟมีแผนต้องไปศึกษาต่อต่างประเทศและแบงค์ยังคงเรียนอยู่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่เรือนจำยังจำกัดกิจกรรมของผู้ต้องขังอย่างมาก เช่นการยึดหนังสือของพวกเขาและมีการเพ่งเลงผู้เข้าเยี่ยมพวกเขาอย่างเข้มงวด
FIDH ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าหลังจากที่ประเทศไทยถูกยึดอำนาจโดยเผด็จการทหารก็มีการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเรื่องหลัก โดยมีผู้ถูกจับกุมด้วยกฎหมาย 112 แล้วอย่างน้อย 40 คน มี 7 คนถูกตัดสินก่อนหน้านี้แล้วเป็นโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี
สำหรับ FIDH แล้วการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม โดยเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้รับการคุ้มครองจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) มาตราที่ 19 และสิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในการคุ้มครองกติกาทั้ง 2 อย่างนี้จึงควรมีการปฏิบัติตามสัตยาบันที่ให้ไว้ สภานิติบัญญัติของไทยควรบัญญัติกฎหมายให้มีการคุ้มครองที่ระบุไว้ในกติกาสากลและศาลไทยก็ควรพิจารณาคดีโดยคำนึงถึงกติกาของ ICCPR และ ICESCR ด้วย
"ประเทศไทยควรปฏิบัติตามข้อตกลงกติกาของนานาชาติเช่น ICCPR และ ICESCR ในฐานะประเทศสมาชิก" FIDH ระบุ
แต่การกระทำในเชิง "ล่าแม่มด" โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในกรณีผู้ต้องสงสัยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ถือเป็นการละเมิดพันธะด้านสิทธิมนุษยชนสากล จากการที่พวกเขาล้มเหลวในการเคารพ คุ้มครอง ปละปฏิบัติตามสิทธิพื้นฐานของประชาชน โดยมีการปิดกั้นเว็บไซต์ที่พูดถึงราชวงศ์ไทย มีกรณีที่ทหารคุกคามสมาชิกกลุ่มละครบีฟลอร์ที่จัดแสดงเรื่อง "บางละเมิด" มีการลงโทษกวีที่ชื่อสิรภพจากการเขียนกลอนเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์ไทย และมีการฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อบุคคลทั่วไปที่แสดงความคิดเห็นของตัวองในเฟซบุ๊ก
"ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่ฮอลลิวูดเฉลิมฉลองความสำเร็จในด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นอีกครั้งที่ประเทศไทยทำสิ่งที่แตกต่างโดยการลงโทษเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางศิลปะ" FIDH ระบุ
รายงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนยังเรียกร้องให้เผด็จการทหารเลิกนำกฎหมายมาตรา 112 มาใช้ในทางที่ผิด และในการพยายามสร้างความปรองดองของพวกเขาก็ควรรับรู้และปฏิบัติตามหลักกติกาสากล อีกทั้งเผด็จการทหารไทยยังต้องเล็งเห็นความสามารถของเยาวชนไทยผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการเปิดเผยปัญหาสังคมโดยที่ไม่มีการข่มขู่หรือคุกคาม พวกเขาควรยิมรับข้อเสนอของสหประชาชาติในการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย 112 ให้เป็นไปตามพันธะต่อหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ก่อนหน้านี้สหประชาชาติแสดงความกังวลต่อการลงโทษอย่างรุนแรงบุคคลทั่วไปด้วยข้อหา 112 มาหลายครั้งแล้ว

เรียบเรียงจาก

อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ไล่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ

โปสเตอร์และข้อความตามหาสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่บอร์ดในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (SC) เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ล่าสุด มีคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ 356/2558 ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงนามโดยสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมคิด เลิศไพฑูรย์ ลงนามคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 356/2558 ไล่ออกสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดยไม่อนุมัติคำขอของสมศักดิ์เพื่อลาปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ แต่ให้ลงโทษออกจากราชการแทน ขณะที่สมศักดิ์เผยแพร่หนังสือชี้แจงต่อมหาวิทยาลัยว่าไม่สามารถอยู่ปฏิบัติราชการเพื่อให้คณะบุคคลที่ทำการกบฏมาจับกุมตัวอย่างไม่ชอบธรรม
24 ก.พ. 2558 - มติชนออนไลน์ เผยแพร่ คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่ 356/2558 เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดย สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิบการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ลงนาม ให้ไล่ออก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากกระทำผิดข้อบังคับมหาวิทยาลัย
คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่ 356/2558
เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ
ด้วยอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่อัตรา 2793 อัตราค่าจ้าง 37,480 บาท ได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยมีพฤติการณ์เมื่อได้รับบันทึกฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2557 จากหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ แจ้งให้ทราบถึงการพิจารณาอนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้าและระยะเวลาได้ล่วงเลยไปถึง 6 เดือนแล้วยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากมหาวิทยาลัย และแจ้งให้อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการ และรับมอบหมายภาระงานสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ให้จำนวน 2 วิชา คือ ประวัติศาสตร์ไทย 3 และประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังปี 2475
แต่อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่กลับมาปฏิบัติราชการตามที่ภาควิชาได้แจ้งดังกล่าว ต่อมาเมื่อคณะศิลปศาสตร์ได้มีบันทึกลงวันที่ 26 ธันวาคม 2557 แจ้งให้อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการโดยด่วน อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็ยังเพิกเฉยไม่กลับมาปฏิบัติราชการแต่อย่างใด โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่ได้ยื่นเรื่องขอลาประเภทอื่นแต่อย่างใด นอกจากการยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการโดยขอให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2557 ต่อมามหาวิทยาลัยได้พิจารณาไม่อนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
พฤติการณ์การกระทำของอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ดังกล่าวถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ แบบแผนของทางราชการ ในเรื่องการลาและการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินเดือนและเงินสวัสดิการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัย และคณะศิลปศาสตร์ ได้จ่ายให้แก่อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในระยะเวลาระหว่างนั้น เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 39 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 และเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อ 55(6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ด้วย สมควรได้รับโทษไล่ออกจากราชการ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 ข้อ 54 ข้อ 57 และข้อ 61 (2) (8) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 จึงให้ลงโทษไล่ อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี
000
สมศักดิ์เผยแพร่หนังสือชี้แจง ยืนยันไม่สามารถอยู่ปฏิบัติราชการได้หลังถูกทหาร-ตำรวจรังควาน
ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 20.40 น. ตามเวลาประเทศไทย สมศักดิ์ ได้ โพสต์แสดงหนังสือชี้แจงที่ส่งให้ทางมหาวิทยาลัยเมื่อต้นเดือนนี้ หลังจากทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยด้วย โดยตอนหนึ่งระบุว่า
"(1) ดังที่ทราบกันแล้วว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้มีคณะทหารกลุ่มหนึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครอง ล้มรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่ร้ายแรงที่สุด หลังจากนั้นไม่กี่วัน คณะทหารที่ทำการโดยมิชอบและผิดกฎหมายนั้น ได้สั่งให้บุคคลจำนวนมากเข้าไปรายงานตัว รวมทั้งผมด้วย เมื่อผมไม่ไปรายงานตัว ก็ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือ 2 คันรถไปที่บ้านผม เมื่อไม่พบ ก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจติดตามรังควาน (harassment) ต่อภรรยา แม่ และพี่ชายของผมถึงบ้านและที่ทำงานของพวกเขา โดยที่ญาติของผมเหล่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นในการกระทำใดๆ ของผมเลย ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันนับเดือน พร้อมกันนั้น คณะทหารดังกล่าวยังได้ทำการยกเลิกหนังสือเดินทางของผม และออกหมายจับตัวผมที่ไม่ยอมไปรายงานตัว"
"ผมไม่เคยคิดหรือเรียกร้องให้ใครจะต้องมีท่าทีต่อการยึดอำนาจในลักษณะกบฏครั้งนี้แบบเดียวกับผม แต่ในส่วนตัวผมเอง ในฐานะพลเมืองและข้าราชการคนหนึ่ง และในฐานะสมาชิกของประชาคมธรรมศาสตร์ ผมถือเป็นหน้าที่สูงสุดที่จะไม่ยอมทำตามการกระทำที่ผิดกฎหมายร้ายแรงที่สุดดังกล่าวของคณะทหารนั้น (แม้แต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็มีบทบัญญัติให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชนไทยที่จะต่อต้านการล้มรัฐธรรมนูญอย่างสันติ) ผมจึงไม่สามารถที่จะอยู่ปฏิบัติราชการเพื่อให้คณะบุคคลที่ทำการกบฏดังกล่าวมาจับกุมตัวอย่างไม่ชอบธรรมได้ ผมถือว่านี่คือการปฏิบัติหน้าที่สูงสุดที่ในฐานะพลเมืองหรือข้าราชการคนหนึ่ง หรือ “ชาวธรรมศาสตร์” ผู้หนึ่ง จะพึงปฏิบัติได้ ในการต่อต้านการกระทำผิดกฎหมายอันร้ายแรงที่สุดของคณะทหารดังกล่าว"
"(2) คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจดังกล่าว หลังการยึดอำนาจแล้ว ก็ได้ดำเนินการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ที่เรียกกันว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) อย่างขนานใหญ่ ดำเนินการจับกุมคุมขังบุคคลต่างๆ ในเวลาสั้นๆจนถึงขณะนี้รวมแล้วเกือบ 30 คน หรือโดยเฉลี่ยกว่า 3 คนต่อเดือน (หรือประมาณ 1 คนทุกๆ 10 วัน) โดยที่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “ระบบยุติธรรม” ของคณะยึดอำนาจนั้น แทบทุกคนที่ถูกจับไป ถูกปฏิบัติในลักษณะที่ถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีความผิด ไม่มีการให้ประกันตัว แม้กระทั่ง ในกรณีที่เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่กำลังจะจบการศึกษา จนแทบทุกคนดังกล่าวถูกบีบบังคับให้จำเป็นต้องเลือกวิธี “สารภาพ” เพื่อจะได้หาทางย่นเวลาของการต้องถูกจองจำให้สั้นลง การใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าวของคณะทหารผู้ยึดอำนาจ ยังได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้กฎหมายนี้อย่างผิดๆมากขึ้นไปอีก ถึงขั้นที่แม้แต่การพูดถึงพระมหากษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ไปกว่า 100 ปีแล้ว ก็ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างฟ้องร้องได้"
"ดังที่ทราบกันดีว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมเป็นผู้หนึ่งที่เรียกร้องและสนับสนุนให้มีการปฏิรูปแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดต่อยุคสมัยและไม่ชอบด้วยหลักการปกครองประชาธิปไตย โดยที่ผมได้ทำการเรียกร้องนั้นอย่างสันติ และภายใต้กรอบของกฎหมายที่มีอยู่นั้นเอง แต่คณะทหารกลุ่มเดียวกับที่ทำการยึดอำนาจในขณะนี้ ได้มุ่งที่จะทำร้ายผมโดยไม่คำนึงถึงแม้แต่กรอบของกฎหมายที่มีอยู่ ดังกรณีสำคัญ 2 กรณีซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไป คือ ในปี 2554 คณะทหารกลุ่มนี้ได้แจ้งความฟ้องร้องผมในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” จากการที่ผมเขียนบทความพาดพิงถึงพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทั้งๆที่พระองค์หาได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด และในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หลังจากผมได้เขียนข้อความทางโซเชียลมีเดียวิจารณ์การที่คนไทยกลุ่มหนึ่งมีลักษณะนิยมเจ้าอย่างงมงาย (ที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่า ultra-royalism) ซึ่งเป็นข้อความที่ไม่ได้พาดพิงถึงแม้แต่พระราชวงศ์พระองค์ใด อย่าว่าแต่พระราชวงศ์ที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายดังกล่าว แต่ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น (หรือผู้นำคณะยึดอำนาจในปัจจุบัน) ได้ให้โฆษกของเขาออกมาข่มขู่ว่า จะ “ใช้มาตรการทางสังคมเพื่อกดดัน” ต่อผม หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ก็มีบุคคลลึกลับไปยิงผมถึงบ้าน จนเกือบจะทำร้ายถึงชีวิตและร่างกายของผม หลังการยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคมและหลังจากการมีหมายจับผมที่ไม่ยอมไปรายงานตัวกับคณะผู้ยึดอำนาจแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 คณะผู้ยึดอำนาจดังกล่าว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ออกหมายจับผมอีกหมายจับหนึ่งในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” โดยอ้างการเขียนข้อความทางโซเชียลมีเดียดังกล่าวอีกด้วย"
"ตลอดเวลานับ 10 ปี ที่ผมทำการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์รวมถึงการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ผมได้กระทำภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มีอยู่ โดยไม่คิดที่จะใช้วิธีการอื่นใดหรือหลบลี้หนีหน้าไปไหน ไม่ว่าจะถูกผู้ไม่เห็นด้วยข่มขู่คุกคาม หรือใช้วิธีนอกกรอบของกฎหมายมาพยายามทำร้ายอย่างไร แต่ภายใต้การปกครองของคณะยึดอำนาจชุดปัจจุบัน ที่ไม่เพียงแต่ได้ขยายปัญหาที่มีอยู่แล้วในกฎหมายดังกล่าวออกไปอีกอย่างมากมายไม่เคยปรากฏมาก่อน (การฟ้อง-การจับอย่างเหวี่ยงแห, การสันนิษฐานล่วงหน้าว่ากระทำผิด, การห้ามประกันอย่างผิดนิติธรรม และการตัดสินคดีในลักษณะครอบจักรวาลมากขึ้นๆ) แต่ยังได้แสดงให้เห็นชัดเจนมาตลอดตั้งแต่ก่อนการยึดอำนาจว่า มุ่งจะทำร้ายผมโดยเฉพาะเจาะจง – ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ เป็นสิ่งแน่นอนว่า ผมจะไม่มีโอกาสโดยสิ้นเชิงที่จะได้รับการปฏิบัติต่ออย่างยุติธรรมตามหลักกฎหมาย ผมจึงมีความจำเป็นและมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรักษาชีวิต ร่างกาย และอิสรภาพของตน ด้วยการไม่ยินยอมให้คณะทหารที่ยึดอำนาจอย่างกบฏจับกุมและทำร้ายด้วยข้ออ้างเรื่อง “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือข้ออ้างใดๆ"
"ตลอดเวลา 20 ปีที่ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมได้พยายามปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถตามหน้าที่โดยไม่ละเว้น (เช่น ผมแทบจะไม่เคยขาดการสอนเลย) ทั้งยังได้พยายามปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศ และสมาชิกที่ดีของประชาคมธรรมศาสตร์ แต่ในภาวะการณ์ที่มีผู้ทำผิดกฎหมายร้ายแรง ตั้งตนเป็นผู้ปกครองประเทศและหัวหน้าระบบราชการอย่างผิดกฎหมาย แล้วอ้างอำนาจที่ตัวเองไม่มีอยู่ มุ่งจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และอิสรภาพของผมโดยตรงเช่นนี้ ผมถือเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ในฐานะข้าราชการ ในฐานะพลเมือง และสมาชิกของประชาคมธรรมศาสตร์ ที่จะไม่ปฏิบัติตาม และต่อต้าน ปฏิเสธการพยายามจับกุมคุมขังและทำร้ายผมของพวกเขาดังกล่าว"

สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ : เมื่อคนจนถูกบังคับให้ยอมรับการพัฒนา


สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ : เมื่อคนจนถูกบังคับให้ยอมรับการพัฒนา

เปิดปาฐกถาประจำปีมูลนิธิโกมลคีมทอง สุวิทย์ เลขาธิการ กป.พอช อีสาน ชี้สิ่งที่ขาดหายไปในการพัฒนาทุกสมัยคือ “หัวคนจน”<--break- />
หมายเหตุ : มูลนิธิโกมลคีมทองจัดงานปาฐกถาประจำปี ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2558 โดยในปีนี้ได้เชิญ สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ มาปาถกฐาในหัวข้อ เมื่อคนจนถูกบังคับให้ยอมรับการพัฒนา ทั้งนี้ได้มีการให้รางวัลบุคลเกียรติยศ ของมูลนิธิโกมลคีมทอง ประจำปี2558 ประกอบด้วย วัชระ เกตุชู ด้านการศึกษา กลุ่มละครมะขามปอม ด้านศิลปวัฒนธรรม และเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ด้านสิ่งแวดล้อม ประชาไทถอดความปาถกฐาของสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ มานำเสนอ
การมาฟังปาฐกถาโกมลคีมทองสิ่งสำคัญก็คือว่า หนึ่งผมได้พบเพื่อนที่คิดเหมือนกัน สองคือได้มาหาซื้อหนังสือซึ่งหนังสือแนวที่โกมลคีมทองพิมพ์ไม่มีขายทั่วๆไป ณ วันนี้ถ้าเจอหนังสือของสำนักพิมพ์โกมลคีมทองก็จะซื้ออย่างไม่ลังเล เพราะผมเติบโตมาจากการอ่านของมูลนิธิโกมลคีมทอง จริงๆแล้วอย่างที่คุณสนั่นพูด คือผมเป็นเด็กช่างกล ถึงลูกถึงคน เพราะฉะนั้นเวลาผมทำงานก็จะถึงลูกถึงคน บู๊ แต่ไม่ใช่แบบล้างผลาญ
ผมเห็นอะไรในอีสาน
สิ่งสำคัญอย่างหัวข้อวันนี้ เมื่อคนจนถูกบังคับให้พัฒนา สิ่งสำคัญก็คือว่าเมื่อเราถูกบังคับ ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือ การต่อต้าน เพราะเราไม่ยอม สิ่งสำคัญก็คือว่าการบังคับนั้น สิ่งที่เรามองก็คือว่าถูกบังคับโดยนโยบายของรัฐ ก่อนที่ผมจะไปตรงนั้นผมจะพูดถึงอีสานก่อน ในฐานะที่ผมเป็นคนสิงห์บุรี เข้าไปทำงานในชนบททางอีสาน และผมลงไปฝังตัวระดับหมู่บ้าน ผมเห็นอะไร อีสานนะครับ ถ้าหลายคนเป็นคนกรุงเทพหรือคนภาคกลางแบบผม ผมจะมองภาพแรกก็คือ หนึ่งเป็นภาคที่แห้งแล้ง มีความยากจน เวลาเราไปออกค่ายหน้าแล้งเราจะเห็นใบไม้ร่วงเต็มไปหมด แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า ที่ที่ผมลงไปหมู่บ้าน โดยเฉพาะในจังหวัดชัยภูมิ ที่ลงไปอยู่ อ.ภูเขียว อีสานไม่ใช่อีสานก็คือว่าเป็นภาคที่มีความแห้งแล้งจริงอยู่ แต่มันเป็นฤดูกาล เราเรียกว่านิเวศวัฒนธรรม คือนิเวศของอีสานนั้นเป็นดิน คือเป็นดินทราย ดินร่วนปนทราย ฤดูแล้งคือแล้ง ฤดูฝนก็มีฝนและใบไม้เขียว เพราะฉะนั้นชุมชนหรือคนอีสานนั้นจะปรับตัวเข้ากับนิเวศอีสาน เพราะฉะนั้นคนอีสานจะทำนา ไม่ใช้แปลงนาขนาดใหญ่เหมือนคนภาคกลาง จะเป็นแปลงนาขนาดเล็กๆที่กักเก็บน้ำ แล้วจะมีการผันข้าวที่มีความแตกต่างในฤดูของความสูงต่ำของพื้นที่ เพราะฉะนั้นความแห้งแล้งของอีสานตรงนี้เป็นฤดู สิ่งที่ผมมองก็คือว่าอีสานนั้นมันถูกทำให้แห้งแล้งโดยนักการเมือง แน่นอนเวลาเราพูดถึงอีสาน เราจะมักได้ยินคำว่าแห้งแล้งและจะต้องมีโครงการพัฒนาที่เข้าไปในอีสาน เช่น โครงการโขงชีมูล โครงการเขื่อนขนาดใหญ่จะเข้าไปเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความยากจนในอีสาน แต่สิ่งสำคัญในตรงนี้ สิ่งที่เรามองอีสานที่มากกว่านั้น อีสานมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะอีสานนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ใหญ่ทางการเมืองทางการเมืองบอกว่ายุคสงครามเย็นนั้นเป็นจุดรอยต่อระหว่างประเทศสังคมนิยม กับประเทศไทย คือฝั่งลาว เขมร เวียดนาม เช่นเดียวกับอีสาน เพราะฉะนั้นอีสานเป็นจุดยุทธศาสตร์ใหญ่ เป็นจุดที่อเมริกาโฟกัสไว้ จะต้องพูดถึงการพัฒนาตรงนั้น เพราะฉะนั้นแนวคิดต่างๆต้องลงไปที่นั่นเต็มไปหมด อันนี้เป็นยุคแรก เราจะเห็นถนนมิตรภาพเข้าไป ที่เวียดนามเราจะเห็นการสร้างเขื่อนต่างๆเต็มไปหมด ในอีสานยุคนั้น ยุคแรกๆ ยุค 2500
ยุคที่สอง เราจะเห็นอันหนึ่งก็คือว่าอีสานถูกเปลี่ยนให้เป็นยุคที่สนามรบเป็นสนามการค้า อีสานถูกเฝ้าดูจากกลุ่มทุนที่เข้าไปลงทุนในภาคอีสานมากมายหลายกลุ่ม และคนอีสานก็คือเป็นส่วนหนึ่งของแรงงาน อีสานที่เป็นแรงงานเข้ามาทำงานแถวระยอง ชลบุรี มาบตราพุด หรือไปซาอุ คูเวต อิรัก ไต้หวัน หรือปัจจุบันเป็นเกาหลี สิงคโป ก็แล้วแต่ คนอีสานก็จะโผล่ออกไปข้างนอกเต็มไปหมด นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เป็นในเชิงโครงสร้างทางการเมือง
ปัจจุบันอีสานถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์อันหนึ่งของอาเซียน อยู่ใจกลางของอาเซียนที่เป็นผืนแผ่นดิน ไม่ใช่เกาะ เพราะฉะนั้นเป็นพื้นเชื่อมรอยต่อไปทั้งหมด จะเห็นว่าอีสาน ณ วันนี้ ก็จะถูกมองอีกยุคนึงให้เป็นพื้นที่รอยต่อของอาเซียน นี่คือความเปลี่ยนแปลงหลัก
อันที่สอง ความเปลี่ยนแปลงของคนอีสานก็คือ เปลี่ยนแปลงจากภายในของคนอีสานเอง  แน่นอนเราจะเห็น ปกติของคนก็คือว่าอยากมีและอยากได้อย่างคนอื่นเขาเหมือนกัน ดูทีวี ดูข่าว ดูหนัง ดูละคร ก็อยากมี ต้องทำให้ตัวเองมีแหล่งข่าวภายในเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงจากภายใน
การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า ในการพัฒนานี้เวลาลงไประดับพื้นที่ ถูกกำหนดมีพรมไว้หมดแล้ว สิ่งที่เราค้นพบในอีสานนอกจากโครงการโขงชีมูล โครงการเหมืองแร่โปแตช ที่กำลังจะเจาะในอีสานสิบกว่าจังหวัด สองล้านกว่าไร่ โครงการประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลซึ่งปัจจุบันกำลังทำในภาคอีสาน มุกดาหาร หนองคาย กำลังจะประกาศเป็นนิคมอุตสาหกรรมอีกสามสี่จังหวัด อุดร ขอนแก่น โคราช นี่คือวิธีคิดแบบเดิม ซึ่งในยุคปัจจุบันโดยคณะปัจจุบันที่เรียกว่า คสช. ที่มีนโยบายจะเปลี่ยนอีสานอีกยุคหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
สำนึกท้องถิ่นในอีสานที่(กำลัง)เปลี่ยนแปลง
คนอีสาน แน่นอนก็คือว่าถ้าใครดูข่าวหรือติดตามข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของอีสานอีกอันหนึ่งที่เห็นก็คือ เริ่มต้น 2 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า คนในภาคอีสานนั้นบอกว่าเป็นคนรุ่นใหม่ เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของระดับท้องถิ่นมากมาย คนอีสานถ้ามองในช่วงอายุจะเห็นอย่างหนึ่งก็คือยุคปัจจุบันที่อายุประมาณ 60-70 ปี ขึ้นไป เป็นยุคที่เคยไปซาอุ ไต้หวัน กันทั้งนั้น และกลับมาอยู่บ้าน คนกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีที่ดิน ปัจจุบันคนที่กลับมาอยู่บ้านก็คือคนรุ่นใหม่ที่อายุประมาณ 25-35 ปี ที่เข้ามาอยู่บ้าน คนกลุ่มที่กลับมาอยู่บ้านจะนำนวัตกรรมใหม่หรือความคิดใหม่ๆ ความเป็นเมืองเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน คนกลุ่มนี้กลับมาอยู่ในหมูบ้านแล้วก็สร้างฐานะ ผมทำงานในพื้นที่จะเห็นคนหนุ่มสาวเข้าไปอยู่ในท้องถิ่นเต็มไปหมด คนอีสานกลุ่มใหม่กลุ่มนี้เขาจะมีการต่อรองกับข้าราชการพอสมควร แต่คนกลุ่มนี้มีความเปลี่ยนอย่างนึงคือ ไม่ค่อยรู้จักพื้นที่ของตัวเอง ตรงนี้สำนึกความเป็นท้องถิ่นจะลดลง
ปัจจุบันในอีสานเห็นอย่างหนึ่งคือ แรงงานภาคเกษตรลดลงอย่างมาก ใครทำงานเกษตรจะรู้ว่าไม่ใช่แค่แรงงานเรื่องเดียว มีทั้งเรื่องพันธุ์พืช ค่าเช่านา ยาฆ่าแมลง แรงงาน ค่าจ้างไถนา แม้แต่ปัจจุบันเริ่มมีเห็นในแรงงานทุนที่ขาดก็คือแบกข้าวจากเล้าหรือยุ้ง ไปแช่ในโอ่งเพื่อจะนำไปสู่การหว่านในนา ก็ยังมีการจ้าง 40-50 บาท ด้วยซ้ำไป แรงงานในครอบครัวเริ่มหายไป นี่คืออีสานที่เริ่มเปลี่ยนไป สิ่งสำคัญตรงนี้ก็คือว่า โดยเฉพาะรัศมีของเมืองใหญ่ เช่น อุดร ขอนแก่น หรือหนองคาย รัศมี 20 กิโล เราจะเห็นว่าการไหลเวียนของแรงงานช่วงเช้า-เย็น จะเยอะมาก จะเริ่มมีแรงงานพม่า-ลาวเข้าไปเต็มไปหมด ก็คือเริ่มเห็นการไหลเวียนของแรงงาน
ประเด็นสำคัญก็คือว่าตอนนี้ความเปลี่ยนแปลงของอีสาน การเปลี่ยนแปลงโดยเศรษฐกิจที่เรียกว่าพืชเศรษฐกิจ แผนพัฒนาปัจจุบันจะมีโรงงานน้ำตาลอีสานประมาณ 12 แห่ง รัศมี 100 กิโลเมตร ตอนนี้สร้างไปแล้ว 3 แห่ง เหลืออีก 9 แห่ง และจะต้องเพิ่มพื้นที่การขยายอ้อยเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้พื้นที่อ้อยไปรุกในพื้นที่นาข้าวของชาวบ้านตอนนี้
อีกประเด็นหนึ่งสิ่งที่เป็นการขยายพืชเศรษฐกิจที่เป็นประเด็นใหญ่ก็คือเรื่องยางพารา โดยเฉพาะอีสานตอนบนรอบแม่น้ำโขง การปลูกยางพาราตอนนี้เยอะ พืชทำให้ไร่ นาข้าว หายไปในอีสาน การปลูกพืชเศรษฐกิจเช่นอ้อย หรือยางพารา ราคายางส่งผลต่อเกษตรกรพอสมควร
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าเรื่องของอีสานที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ ปัจจุบันการทำนาของคนอีสานเริ่มเปลี่ยนก็คือจ้างเกือบทั้งนั้น โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน ตอนนี้ปัญหาใหญ่ของที่ดินก็คือว่า ที่ดินมักจะหลุดมือคือขาย รัศมีจากถนนมิตรภาพซ้าย-ขวา 5 กิโลเมตร จะผ่านที่ดินพอสมควร แปลงหนึ่งไร่ 70,000 บาท ต่อไร่ ณ วันนี้ มีการประกาศขายเต็มไปหมด เพราะว่าปัจจัยคือการกระตุ้นทางราคา ทางบ้านประกาศขายที่ จากที่ดินแปลงใหญ่เริ่มซอยเล็กลงๆ ทำให้ชาวบ้านวันนี้ การทำนาจะลดลง ด้วยเรื่องราคาและการขายที่
นโยบายของรัฐ ความเจริญ โฆษณาชวนเชื่อ และการบีบบังคับ
สิ่งสำคัญที่วิเคราะห์ในอีสานนอกจากการเปลี่ยนแปลงชุมชนทางกายภาพและพฤติกรรม สิ่งสำคัญก็คือนโยบายของรัฐในยุคปัจจุบันนี้ จะเห็นโครงการต่างๆเริ่มพุ่งเต็มไปหมด สิ่งที่เป็นเรื่องซ้ำๆซากๆก็คือว่า อันที่หนึ่งเรียกว่าเครื่องมือการบังคับของรัฐ สิ่งที่เราพูดมีอะไรบ้าง อันที่หนึ่งก็คือการเปลี่ยนความคิดในเรื่องของความเจริญยังเหมือนเดิม เช่น ถ้ามีโครงการหนึ่งเกิดขึ้นจะสร้างความเจริญในหมู่บ้าน สร้างการพัฒนา การจ้างงาน อันนี้ยังเหมือนเดิมที่ลงไปในอีสาน ณ วันนี้ยังเหมือนเดิม ล่าสุดมีการเจาะสำรวจปิโตเลียมที่ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ก็ยังมีชาวบ้านอีกกลุ่มนึงยกป้ายขึ้นมาสนับสนุนให้ไปเจาะ มีอีกกลุ่มนึงก็ไปต่อต้านไม่เห็นด้วย เราจะเห็นว่ามีการสนธิกำลังระหว่างทหาร ตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน ไปกันชาวบ้านเพื่อจะเจาะให้ได้ อันนี้คือสิ่งที่มันเป็นอยู่ ยังฝังอยู่ตรงนี้เหมือนเดิม
อีกประเด็นหนึ่งของการที่รัฐใช้เครื่องมือในการบังคับคนอีสาน นอกจากการโฆษณาชวนเชื่อ ความเจริญ  การพัฒนาผ่านระบบการศึกษา โครงการทั้งหมดที่แก้ปัญหาความยากจน
อีกอันหนึ่งที่เราเห็นคือการใช้กระบวนการทางกฎหมายยึดที่ดิน การใช้กระบวนการยุติธรรมในการจัดการกับชาวบ้าน การใช้กระบวนการแจ้งความจับกุมชาวบ้าน อย่างเช่นเหมืองทอง จ.เลย มีนักวิชาการหลายคนที่เข้าไปสมทบโครงการทำการศึกษาการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสนับสนุนโครงการต่างๆที่เกิดขึ้น มีการจ้างสื่อมวลชนในการเขียนเพื่อสนับสนุนโครงการในการซื้อตัวผู้นำในพื้นที่ นี่คือสิ่งที่เราพบเต็มไปหมด
อีกอันหนึ่งก็คือว่าการจับม็อบ อันนี้เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นและเป็นประเด็นที่คลาสสิคที่รัฐใช้ตลอด สิ่งที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่รัฐแกนจัดการกับชาวบ้านก็คือการสังหารแกนนำ สังหารนำมีหลายวิธี อย่างพวกเราเองเคยอยู่อุดรก็มีค่าหัว กว่าจะพ้นการไม่มีค่าหัวได้ก็ใช้เวลาพอสมควร ทั้งหยุดเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้หยุดสู้นะ ก็มีหลายวิธีการ
เครื่องมือแบบนี้ยังใช้ได้ ณ วันนี้ และโดยเฉพาะวันนี้ที่มีการประกาศกฎอัยการศึก สิ่งสำคัญก็คือทหารได้ลงไปในพื้นที่หลายจุด พื้นที่โคกยาว จ.ชัยภูมิ มีการไปติดหมาย 15 วัน ให้ชาวบ้านออก โดยใช้การประกาศกฎอัยการศึก เราเห็นในพื้นที่โนนดินแดง จ.บุรีรัม ไปรื้อบ้านชาวบ้านออก ที่อุดรจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่แต่มีทหารเข้าไปล้อมเต็มไปหมด ถ้าใครติดตามข่าวใน จ.พิจิตร เมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองทอง หลังจากที่มีการตรวจว่าชาวบ้านพบมีสารมลพิษปนเปื้อนในเลือดชาวบ้าน และก็มีการรับฟังความเห็น
มีทหารพูดว่าที่โรงเรียนเขาทราย ขออนุญาตให้คนที่อยู่ในห้องประชุมนั่งเก้าอี้ ห้ามยืน จะอนุญาตให้เข้าประชุมเฉพาะส่วนข้าราชการ สิ่งสำคัญ ณ วันนี้ เรากำลังเจอกระบวนการที่เรียกว่ามีส่วนร่วมหรือรับฟังความคิดเห็นแบบนี้เกือบทุกพื้นที่ ต้องนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการสกรีนคนเข้าคนออก ในอนาคตถ้าเราทนไม่ไหวกับการกดดันมันจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งสำคัญก็คือว่าการมีส่วนร่วมของโครงการต่างๆที่เราพบในพื้นที่ก็คือ การมีส่วนร่วมบริหารรัฐปักธงไว้แล้วว่าต้องมีโครงการ เพราะฉะนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมพิธีกรรมที่เขาจัด สิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมไม่ได้สร้างปัญญาให้คนตัดสินใจ การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการหนึ่งที่ไม่ได้บอกว่าชาวบ้านไม่เอาโครงการและโครงการนั้นจะยกเลิก แล้วถ้าเกิดว่าในอนาคตจะเป็นยังไง ถ้าชาวบ้านลุกขึ้นมาปกป้องบ้านจริงๆ
อีสานถูกบีบภายใต้อำนาจทุนเผด็จการ
สิ่งสำคัญอีกตัวหนึ่ง ตอนนี้มีการสำรวจเหมืองแร่โปแตทสิบกว่าจังหวัดที่จะขออนุญาต มีการจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.กาฬสินธุ์ ที่ อ.ห้วยเม็ก จะมีโครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูล เป็นท่อเต็มไปหมดทั้งอีสาน ในอีสานกำลังจะพรุนไปหมด ประเด็นก็คือคนอีสานจะทำยังไง หนึ่งการปรับตัวของคนอีสานต่อสถานการณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนไปตอนนี้เป็นยังไงบ้าง สองคือคนทำงานที่เป็นนักพัฒนากิจกรรมทางสังคมเป็นอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าเราคงไปหวังกับกระบวนการที่อ้างว่ากระบวนการปฏิรูปหรือคืนความสุขวันนี้ไม่ได้ เราต้องตั้งคำถามว่าตอนนี้เราถูกกดดันขนาดนี้และเราไม่มีเวทีหรือพื้นที่ของกระบวนการประชาชนที่ลุกขึ้นมาปกป้อง เราถูกบีบให้แคบลงไปอยู่ที่ศูนย์ดำรงธรรม ไปอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลให้ยื่นหนังสือ ผมเคยทดลองเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ว่าจะแก้ปัญหาได้ไหมกรณีเหมืองแร่ ก็ไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบ พอยื่นเสร็จเขาก็ยื่นหนังสือไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมก็ตอบมาที่ทำเนียบ ทำเนียบก็ส่งหนังสือมาหาเรา จบแค่นั้น ทั้งที่ปัญหาที่เราพบเจอคือปัญหาโครงสร้าง เป็นปัญหาเรื่องอำนาจ เป็นปัญหาในเรื่องการตัดสินใจ เดิมเราจะสร้างกระบวนการประชาชนขึ้นมา เพื่อนำไปสู่การสร้างอำนาจต่อรองหรือการพูดคุยเจรจา ยุติโครงการหรือมีการศึกษาต่างๆ แต่ปัจจุบันนี้เราทำไม่ได้ เงื่อนไขตรงนี้เราทำไม่ได้เพราะ ณ วันนี้การคืนความสุขหรือการปรองดองว่าทำไม่ได้ ถ้าเกิดเราทำไม่ได้แต่โครงการยังดำเนินหน้าต่อไป แน่นอนเราเคยต่อสู้กับรัฐธรรมนูญปี 40 หรือ 50 เราเคยพูดถึงสิทธิชุมชน เราเคยพูดถึงในเรื่องของการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมทางศาลปกครอง แต่ ณ วันนี้มันไม่ถูกแก้ไข สิทธิชุมชนกำลังจะเลือนหายไป เราสู้ถึงการมีส่วนร่วม การถกเถียงในเวที ทุกวันนี้เราถูกปิดตาย
เราพยายามจะอธิบายกับสังคมก็คือว่า ณ วันนี้กระบวนการชาวบ้านพอเคลื่อนไหวขึ้นมาก็ถูกห้าม แม้แต่จะเรียกมาคุย แต่ท้ายสุดก็คือให้ชาวบ้านหยุด ก็นำไปสู่การที่จะดำเนินโครงการต่อไป
NGOs นักพัฒนา หรือผู้ฉุดดึง
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากนำเสนอก็คือว่า คนทำงานนักพัฒนากิจกรรมทางสังคม ผมคิดว่าสำคัญก็คือหนึ่ง ที่ผ่านมาเราใช้คำว่าการลงฐาน ลงฐานของเราหมายถึงลงไปอยู่ในชุมชนและค้นคว้าในพื้นที่และนำไปสู่การจัดตั้งเคลื่อนไหว ลงฐานตรงนี้หมายถึงไม่ได้บอกว่าการลงไปเพื่อไปปลูกผัก ไปทำเกษตร ไม่ใช่ อาจจะทำด้วยแต่ต้องเชื่อมโยงระหว่างปัญหาชาวบ้านกับในเชิงนโยบายให้ได้ อันนี้คือสิ่งสำคัญ
ณ วันนี้ในภาคอีสานเราพบก็คือว่าคนทำงานนักพัฒนากิจกรรมทางสังคมตามกำลังจัดตั้งระดับพื้นที่น้อยลง นี้คือเรื่องใหญ่มาก การจัดตั้งในระดับฐานของชาวบ้านวันนี้ พอคนน้อยสิ่งสำคัญก็คือว่า เราจะเห็นนักประชุมในเวทีเต็มไปหมด แต่การจัดตั้งน้ำหนักน้อย เราพบว่าเมื่อชาวบ้านเผชิญปัญหาต่างๆของการปะทะระหว่างอำนาจรัฐ ตำรวจต่างๆแม้แต่เราพูดสันติวิธี ชาวบ้านก็อย่างน้อยก็แค่ไปขวางถนน แต่กระบวนการคือสิ่งที่เราพบและเราพยายามจะขยายคือ กระบวนการต่อสู้ที่เราเรียกว่าสันติวิธีจริงๆ สันติวิธีไม่ใช่แค่ว่าไม่ทำอะไร สันติวิธีก็คือการที่เรายืนหยัดต่อสู้ แล้วก็เอาความจริงที่อยู่ในพื้นที่นั้นขยายกรอบสาธารณะให้ได้ และสาธารณะเห็นด้วยหรือคล้อยตามกับสิ่งที่ชาวบ้านสู้นั้น สิ่งที่เราสู้คือความจริงในพื้นที่ ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ใคร
เราพยายามขยายแนวคิดเรื่องสันติวิธีไปหลายพื้นที่ตอนนี้เราอาจจะต้องกลับมาคุยกับพรรคพวกที่ทำงานฐานว่ากระบวนการเครื่องมือในการต่อสู้สันติวิธี จริงๆแล้วมันจะเริ่มต้นได้ยังไงบ้าง อันที่หนึ่งการจัดองค์กรชาวบ้านนี่เป็นกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่าการจัดตั้ง ผมคุยกับกลุ่มที่อยู่ในอีสานก็คือว่าการไปทำงานจัดตั้งในพื้นที่ ถามว่าวันนี้มีใครบ้างที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดตั้งได้ มีน้อยมาก อันที่สองการเก็บข้อมูล เราสู้ที่อีสานเรื่องเหมืองแร่โปแตช เดิมเราใช้กระบวนการเคลื่อนไหวชุมนุม ที่อีสาน อุดร ทำงาน เลิศศักดิ์ ทำงานข้อมูล ผมทำงานเคลื่อนไหวในพื้นที่ เอาสองส่วนมาประกบ แล้วก็นำไปสู่การเคลื่อนไหวยับยั้งโครงการโปแตชได้จนถึงทุกวันนี้ อันนี้คือการรวมในเรื่องของทั้งงานข้อมูลและงานจัดตั้ง สำคัญนะ ไม่ใช่แค่งานเคลื่อนไหวอย่างเดียว อันที่สามก็คือใช้กระบวนการยุติธรรม เราต่อสู้ที่อีสานตอนบนอย่างที่คุณสนั่นพูดไว้เมื่อกี้ก็คือ ที่หนองบัวลำภู เราสู้เรื่องลำพะเนียง ลำพะเนียงเป็นที่แรกที่เราใช้กระบวนการยุติธรรมทางปกครองสู้ โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลที่เรียกว่าข้อมูลทางนิเวศน์ นำเสนอต่อศาล เพื่อให้ศาลเข้าใจต่อภาพรวมของอีสาน เราพยายามจะสร้างว่าถ้าเกิดพัฒนาต้องมองในมิตินิเวศน์ด้วย นิเวศน์ที่เราพูดถึงก็คือว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ทำความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ อีสานเรียกว่าผี เราพยายามจะเอาคอนเซ็ป 3-4 ตัวนี้มาเป็นองค์ความรู้ของเราในการเคลื่อนไหวในการปกป้องชุมชน ถามว่าใช้ได้ไหม ได้ เราเริ่มบวกแนวคิดเรื่องสิทธิเข้าไป เรื่องสิทธิ์เป็นเรื่องธรรมชาติของกฎหมายที่เราใช้ หลังๆเราเริ่มใช้เยอะ แต่มันจะแข็ง ถ้าเราเอาข้อมูลทางนิเวศน์ ทางวัฒนธรรมเข้าไป มันจะทำให้การค้นคว้าในพื้นที่สนุก ชาวบ้านรู้สึกว่ามีส่วนร่วมและเข้าใจได้ อันนี้คือสิ่งที่เราค้นเครื่องมือใหม่ๆในการทำงานสนาม
ประชาธิปไตยในองค์กร กับวัฒนธรรมของชุมชน
สิ่งสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง พอเราสร้างองค์กรชาวบ้านแล้ว การพูดถึงประชาธิปไตยในองค์กร อีสานเราจะพบว่าองค์กรการเคลื่อนไหวเยอะมาก แต่สิ่งสำคัญพอสู้ไประดับหนึ่งแกนนำถูกซื้อ ไม่ลงพื้นที่ในหมู่บ้าน เราต้องสร้างประชาธิปไตยในกระบวนการประชาชนของเราด้วย เช่น การเข้าเป็นกลุ่มระบบสมาชิกเป็นยังไง กติกาของกลุ่มเป็นยังไง เพราะที่ผ่านมาเวลาทำงานกับชาวบ้าน ใครมีไหวพริบ พุดดี แล้วก็ประสานงานมีสำนึกอาสาสมัคร เราก็จะคุยและตั้งเป็นแกนนำกัน ณ วันนี้ผมคิดว่าไม่พอ ถ้าเรากำลังเจอสถานการณ์ใหญ่ๆขนาดนี้ ต้องมีการจัดตั้งในกระบวนการให้มีความชัดเจนเรื่องประชาธิปไตยเป็นสำคัญมาก เพราะไม่งั้นเราก็จะถูกซื้อง่ายๆ การถอดถอนผู้นำออกจากกลุ่มยังไงนี้สำคัญ
อันที่สามท้องถิ่นที่เรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เรียกว่า อบต. ผมยังให้ความสำคัญ เราเคยเสนอเรื่องของการเข้าไปเป็นสมาชิกมีนโยบายเขาเองในระดับท้องถิ่น เราเคยเสนอนโยบายสีเขียวในท้องถิ่นของเรา แต่ประเด็นก็คือว่าเราเสนอแค่ประเด็น เราไม่ได้เสนอทางอุดมการณ์ ตอนนี้เรากำลังทบทวนว่าเราจะทำยังไงที่จะเสนอประเด็นในท้องถิ่นเป็นอุดมการณ์ให้ชัดเจน เราเคยทำในเรื่องของการบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง อบต. ชุมชนว่าด้วยสิ่งแวดล้อมเราเปลี่ยนล้อกับรัฐธรรมนูญ ม.290 ต่างๆ แล้วเราก็พูดถึงข้อบัญญัติต่างๆ ณ วันนี้เราจะเห็นว่าในท้องถิ่น อบต. หลายที่ไม่มีเครื่องมือของตัวเองในการที่จะจัดการเรื่ององค์การใหญ่ๆที่จะเข้ามาชุมชน เพราะฉะนั้นเวลาข้างบนสั่งมายังไงก็จะทำตามนั้นเพราะตัวเองไม่มีเครื่องมือ อันนี้คือสิ่งที่เรามองเรื่องท้องถิ่น
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า การศึกษาวัฒนธรรมชุมชน เราต้องศึกษาความสัมพันธ์อำนาจทางการเมืองของชุมชนให้ชัด ชุมชนทางอีสานเปลี่ยน แต่ถามว่าเปลี่ยนตรงนี้แล้วเราเข้าใจความเปลี่ยนแปลงตรงนี้พอหรือยัง ถ้าเข้าใจเราจะจับชีพจรของชุมชนได้ว่าอาจจะเปลี่ยนไปอย่างไร และจะสร้างการวิเคราะห์ที่เรียกว่าวัฒนธรรมชุมชนได้ เพราะมันเปลี่ยนตลอดเวลา
การสร้างอุดมการณ์ที่เน้นการจับต้องได้ อันนี้สำคัญ ผมคิดว่าชาวบ้านเวลาทำงานในพื้นที่ต้องการจับต้องได้ว่าอะไรคืออะไร ไม่ใช่ว่าเป็นนามประธรรม ผมคิดว่าเรื่องนี้คนทำงานจะต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัด ภาษาของผมเรียกว่าต้องฝังตัวในพื้นที่ ผมใช้เวลาฝังตัวในพื้นที่หมู่บ้าน 7 ปี อยู่ในชุมชนเป็นคนใน คิดแบบคนในแล้วก็พยายามที่จะค้นการสื่อสารของชาวบ้านที่เป็นภาษาของเขา ว่าอะไรคือการสื่อสาร ไม่ใช่คนนอกไปตั้งประเด็นอย่างเดียวแล้ว สถานการณ์วันนี้การเมืองที่เป็นระบบอุปถัมป์แบบข้างบนอย่างท้องถิ่นลงไปเป็นขั้นๆอย่างท้องถิ่นแรงมาก ถ้าเราจับตรงนี้ไปได้ผมคิดว่าการจัดตั้งที่ทำงานเราก็จะเสียเปล่า
อีกประเด็นก็คือว่า เราจะยอมรับหรือทำความเข้าใจความแตกต่างในระดับชุมชนได้อย่างไร ที่ผมพูดเมื่อกี้ในชุมชนมีหลายมิติ อีกไม่กี่เดือนนักเรียนปิดเทอม ถ้าใครอยู่ชุมชนจะเห็นว่าเด็กจากหมู่บ้านจะเข้าไปอยู่ในกรุงเทพ ไประยอง ไปชลบุรีกันหมด สมัยก่อนเวลาปิดเทอมเด็กในหมู่บ้านจะไปหาพ่อแม่ตามโรงงานอยู่กรุงเทพจะเยอะ นี่คือชีพจรที่มันเปลี่ยนของชุมชน นี่คือความแตกต่างของคนแต่ละรุ่น คนแต่ละรุ่นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
อีสานในยุคของการปฎิรูปแบบกลับหัวกลับหาง
สิ่งที่พยายามศึกษาหรือวิเคราะห์เรื่องรัฐธรรมนูญก็คือ เรามองว่าเรื่องนี้เป็นแกนกลางของชุมชน เป็นแกนกลางของการทำงานของเรา ผมคิดว่าเป็นจุดแข็งของเราด้วย ซึ่งเป็นวัฒธรรมหลัก ซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกจะพูดถึงปัจเจกเยอะ
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า การพัฒนาศักยภาพขององค์กรจัดตั้ง หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็นรากฐานของการทำงาน อันนี้สำคัญมาก ถ้าเรามองวิเคราะห์ว่าอีสานสิบปีจะเป็นยังไง อีกสิบห้าปีจะเป็นยังไง แล้วเราจะสร้างคนทำงานจัดตั้งในระดับพื้นที่ข้างหน้าจะเป็นยังไง อันนี้ผมคิดว่าต้องคิดร่วมกัน เราจะสร้างคนทำงานที่อีกสิบปีจะเป็นแบบไหน จะเป็นคนลงสนามแบบผมหรือเปล่า หรือจะเป็นคนทำงานยังไง ผมคิดว่าตรงนี้สำคัญ ถ้าเราไม่วางแผนยาว เราก็จะทำเป็นเรื่องๆไปเหมือนเดิม เราก็จะตามแก้  ผมคิดว่าสิ่งสำคัญต้องตามทำระดับข้างล่างจนถึงข้างบนให้ได้ เราอาจจะต้องช่วยกันแลกเปลี่ยนในระยะยาว
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า ในกระแสปฏิรูป ผมมองว่าการปฏิรูปวันนี้ไม่ควรไปรวบบนฐานพึ่งพิงรัฐ ผมคิดว่าการปฏิรูปวันนี้ต้องเป็นการปฏิรูปที่ให้คุณค่าของการรวมตัวในขนาดเล็กๆ ในมิติทางวัฒนธรรม เวลาพูดเรื่องปฏิรูปเรามองข้างนอกหมดตอนนี้ แต่ไม่มองมิติองค์กรข้างล่างจะเป็นยังไง กลุ่มเล็กๆที่มันอยู่กันหลากหลายตรงนี้ ผมอยู่ในหมู่บ้านจะเห็น
ณ วันนี้ชุมชนท้องถิ่นไม่ใช่แบบเดิม คนเป็นเขยจากภาคใต้มาอยู่ในหมู่บ้าน คนเป็นเขยจากนู้นมาอยู่ในหมู่บ้าน แม้แต่บางหมู่บ้านฝรั่งครึ่งบ้าน เพราะฉะนั้นในความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ณ วันนี้จะไม่เหมือนสมัยก่อนละ ฉะนั้นคนเก่าที่เคยอยู่และคนใหม่ที่เข้ามาอยู่อันนี้คือสิ่งสำคัญ
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า สิ่งที่ผมตั้งคำถามไว้ก็คือว่าในการปฏิรูปหรือการร่างรัฐธรรมนูญ ณ วันนี้ น้ำหนักจริงๆแล้วเขาไม่ได้มองเห็นข้างล่าง เขามองเห็นส่วนบน ประเด็นก็คือในขณะที่กำลังปรองดองหรือปฏิรูป ชุมชนกำลังถูกอัดให้จนมุม วันนี้สิ่งที่เราชัดก็คือเราไม่ไป สิ่งสำคัญก็คือต้องหยุดไว้ก่อน กระบวนการต่างๆต้องหยุดไว้และนำมาสู่การทบทวนให้ได้ จุดอ่อนของพวกเราอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ผมเห็นด้วยกับระบบอาวุโส แต่สิ่งสำคัญก็คือว่าหลายเรื่องเราไม่มีการปรึกษากันในวง นั่งถกเถียงและนำไปสู่การหาข้อสรุป และนำไปสู่การปฏิบัติ อันนี้คือสิ่งที่เราพบ และเราเห็นว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นนักพัฒนารุ่นใหม่ซึ่งมีความคิดอีกแบบหนึ่งก็จะไม่อยากเข้าร่วม แล้วก็จะนำไปสู่การตั้งวงอีกวงหนึ่งแล้วก็จะมีการปะทะ การปะทะกันตรงนี้ไม่ใช่บนฐานการปะทะที่เข้าใจกัน แต่ปะทะโดยตั้งแง่กัน นี่คือสิ่งที่เราพบวันนี้ ในอีสานเราพบตรงนี้เยอะ เราจะทำยังไงให้เข้าใจบริบทของชุมชน เข้าใจบริบทของคนทำงาน และนำไปสู่การเปิดโปงพูดคุยให้รอบด้านจริงๆก่อนที่จะไปข้างหน้า การปฏิรูปต้องประยุกต์กระบวนการให้ชัดก่อนและจะนำไปสู่การจัดการอย่างอื่นได้
อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า เราสร้างองค์ความรู้เรื่องเกษตรเยอะมาก ณ วันนี้ผมอยู่ที่อุดร ผมกำลังทำก็คือว่า จะทำยังไงที่รัศมี 20 กิโล จากเมืองเทศบาลมาถึงหมู่บ้านที่เราต่อสู้อยู่ เชื่อมโยงกับเมืองให้ได้ เพราะว่าความตื่นตัวทางการเมืองที่ผ่านมาจะเป็นสีไหนก็แล้วแต่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับคนในเมืองสูง ตอนนี้เราเชื่อมโยงระหว่างคนเมืองกับสมาชิกเกษตรพอสมควร เราจะทำยังไงที่จะสร้างทางเลือกของการผลิตทางเศรษฐกิจท้องถิ่นของชุมชนร่วมกับคนเมืองให้ได้ อันนี้สำคัญมาก ณ วันนี้หลายคนจะนึกถึงเรื่องสุขภาพ เรื่องของร่างกายเยอะ ตอนนี้เราทดลองในอุดรและหนองคายเห็นชัดก็คือว่าคนเริ่มวิ่งเข้ามาหาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเรา คนเมือง กับคนชนบทในหมู่บ้าน อันนี้คือสิ่งที่เราทำ ณ วันนี้ที่เราเห็น และเป็นประสบการณ์ที่เรากำลังจะค้นคว้าและสรุปบทเรียนต่อไป
ประเด็นต่อไปการเชื่อมโยงอีสานต่อ AEC อย่างอีสานเราจะเห็นว่าเรื่องแรงงาน แรงงานตามโรงงานหรือหมู่บ้าน เกี่ยวข้าวหรือทำนา เราจะเห็นคนข้างนอกเข้ามารับจ้างเต็มไปหมด อันนี้คือปัญหาใหญ่ก็คือว่าในอุดร หนองคาย หรือขอนแก่น บางคนเริ่มหวงถิ่นตัวเอง มีการแกล้งกัน มีการแจ้งตำรวจจับ กลุ่มคนเพื่อนบ้าน เพราะมันเกิดเป็นความรู้สึกว่าเกิดการมาแย่งงานของเรา มาแย่งพื้นที่หากินของเราอันนี้คือสิ่งที่เราพบอยู่ ในอุดรเราจะเจอคดีตรงนี้ปีเดียวประมาณ 30 กว่าคดี
สมัยก่อนเราจะใช้การสร้างกลุ่มศึกษา เพื่อให้เกิดการถกเถียงในจุดเล็กๆต่างๆ เพื่อนำไปสู่การค้นคว้า ณ วันนี้ผมยังยืนยันว่ากลุ่มศึกษาเล็กๆยังมีความจำเป็นที่จะนำไปสู่การค้นคว้าเครื่องมือในการทำงานกับชุมชน หรือการทำงานกับนโยบายต่อ ที่ผ่านมาเราพยายามตั้งกลุ่มขึ้นมาคือกลุ่มศึกษาประชาธิปไตยประชาชน เพื่อนำไปสู่การค้นคว้าว่ารูปแบบของการจัดการทรัพยากรหรือรูปแบบของการสร้างอำนาจของประชาชนมีแบบไหนบ้าง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกว่ากลุ่ม คปท. ประเด็นก็คือว่าเรามีหลายสีในกลุ่มนี้
ณ วันนี้การต่อสู้ของเรา เรายืนยันว่าการต่อสู้ของเราเพื่อปกป้องชุมชนท้องถิ่น เราขอทุ่มความดีงาม อุดมคติ แต่สิ่งสำคัญคือว่าเราอยากผลักตรงนี้ให้ไปเป็นศัตรู และต้องรอคอยเป็น ต้องมีการสรุปเนื่องเป็นครั้งๆเพื่อนำไปสู่การคิดค้นใหม่

ศาสนากับการเมืองฯ (3) นิธิ เอียวศรีวงศ์: ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย

บรรยายสาธารณะ “ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้” นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้ว่าอิทธิพลของพุทธศาสนาต่อสังคมไทยลดถอยลงนับตั้งแต่เริ่มปฏิรูปคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5-6 ปัจจุบันมหาเถรสมาคมผูกขาดได้แต่สบง-จีวร ชี้ “พ.ร.บ. ปกป้องพุทธศาสนา” ในมือ สนช. อันตราย-ระวังจะกลายเป็น “ม.112 ทางศาสนา” เพราะเป็นการเอาอำนาจรัฐมาเผยแพร่ศาสนา-ลงโทษคนวิจารณ์ศาสนา
การนำเสนอหัวข้อ "ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย" โดยนิธิ เอียวศรีวงศ์
21 ก.พ. 2558 – ในการบรรยายสาธารณะ “ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้” จัดโดยกลุ่มสภาหน้าโดม ที่ห้อง ศศ.107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ภายหลังการบรรยายหัวข้อ “ศาสนาผีกับการเมือง” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ และการบรรยายหัวข้อ "พุทธศาสนากับการเมืองไทย" โดยธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง [1] , [2]) ต่อมาเป็นการบรรยายของนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ หัวข้อ “ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” มีรายละเอียดดังนี้
ก่อนที่จะพูดเรื่อง รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม กับศาสนาในประเทศไทย ผมขอตกลงเกี่ยวกับเรื่องการเมืองก่อนว่า คำว่า “การเมือง” ที่ผมใช้ในที่นี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ แปลว่าคนกลุ่มต่างๆ มีความสัมกับในเชิงอำนาจนะครับ ไม่ใช่อย่างการที่เราไปซื้อก๋วยเตี๋ยวกิน ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมันปรากฎออกมาให้เห็นไม่มากนัก ยกเว้นแต่ร้านที่มันไม่มีลูกค้าเลย แล้วคุณโผล่ไปกิน จนเกือบจะเป็นเทวดามาจุติในร้าน แบบนี้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคุณกับร้านก๋วยเตี๋ยวก็จะมาก แต่โดยทั่วไปคุณก็เป็นแค่ลูกค้าคนหนึ่ง ไม่ปรากฎภาพของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เห็นได้ชัด นอกจากคนกลุ่มต่างๆ สถาบันต่าง ไม่ว่าในทางการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม อะไรก็แล้วแต่ มันก็มีความสัมพันธ์กับสถาบันอื่น และคนอื่นๆ ในสังคม และท่ามกลางความสัมพันธ์นานาชนิด มันมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจอยู่ในนั้นด้วย พระที่นุ่งเหลืองห่มเหลืองในวัฒนธรรมไทยคุณไม่สามารถไปตบไหล่ท่านได้ ที่จริงท่านก็เป็นคนเหมือนกันเราแบบนี้ แต่ในวัฒธรรมไทยมันมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ให้อำนาจบางอย่างแกคนนุ่งเหลืองห่มเหลืองเหนือเรา ผมจะหมายถือการเมืองในลักษณะแบบนี้นะครับ
ศาสนาเข้ามาเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไร สรุปให้เหลือสั้นๆ ก็คือ มันให้อำนาจหรืออิทธิพล คืออำนาจหรืออิทธิพลมันก็เหมือนกันนะครับ เป็นแต่เพียงว่าอำนาจมันมีกฎหมาย มันมีประเพณีรองรับ อิทธิพลเป็นอำนาจที่ไม่มีกฎหมาย ไม่มีประเพณี ไม่มีวัฒนธรรมอะไรรองรับ เราก็เรียกมันว่าอิทธิพล
เราจะพูดได้ว่าศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการที่ทำให้อำนาจหรืออิทธิพล หรืออะไรก็แล้วแต่ไหลไปยังสถาบันบางสถาบัน ไหลไปยังกลุ่มบางคนบางกลุ่ม แล้วในขณะเดียวกันก็รอนอำนาจของสถาบันบางสถาบัน รอนอำนาจของกลุ่มคนบางกลุ่ม เวลาเราพูดถึงศาสนากับการเมืองเรากำลังมองในแง่นี้ว่า ไอ้ตัวพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นองค์กรนักบวชก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคำสอนก็ตาม มันเข้าไปเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไร
โดยสรุปเท่าที่ผมนึกออก พุทธศาสนา เข้าไปเพิ่มอำนาจให้กับคนบางกลุ่มรอนอำนาจให้กับคนบางกลุ่มโดยผ่านสิ่งต่อไปนี้ อันที่หนึ่งคือ ผ่านนักบวช สมัยอดีตประเทศไทยนี่เป็นประเทศที่มีนักบวช ที่เป็นพระภิกษุแยะมากๆ นะครับ เพราะฉะนั้นแค่จำนวนและอิทธิพลที่พระมีต่อชาวบ้านเอง มันก็แสดงว่าตัวองค์กรศาสนา องค์กรนักบวชศาสนาตัวมันเองมันมีอำนาจมากขนาดไหน และอำนาจอื่นๆที่อยู่ในสังคม ต้องสัมพันธ์เชิงอำนาจกับตัองค์กรนักบวชอย่างไร จึงจะทำให้นักบวชไม่ไปเตะก้นตัวสถาบันหรือกลุ่มคนที่มีอำนาจอยู่ในสังคม เข้าใจไหม คุณต้องอยู่ร่วมกันอย่างไร
อีกอันหนึ่งนอกจากมีจำนวนมากแล้ว แน่นอนคนไทยก็นับถือ ตัวนักบวชเป็นอย่างสูงด้วยเมื่อคนนับถือ อำนาจที่นักบวชมีก็มากเป็นธรรมดา
อันที่สามต่อมาตัวคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีในประเทศไทยเอง ตัวหลักธรรมคำสอน และความคาดหวังที่มีต่อคนที่นุ่งเหลือห่มเหลือง หรืออ้างความเป็นพุทธก็ตามแต่ มันให้อพนาจแก่คนด้วย เพราะว่าตัวหลักธรรมคำสอนไม่มีใครรู้หรอกว่าพระพทธเจ้าจริงๆ แล้วท่านสอนอะไรไว้ คุณมีพระไตรปิฎกซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรก 500 ปีหนึ่งจากพุทธปรินิพพานไปแล้ว ตั้แต่ฉบับเก่าที่สุดในประไตรปิฏกมันก็ถูกตีความแล้ว ฉะนั้นตัวหลักธรรมคำสอนของทุกศาสนาในโลกนี้ถูกตีความเสมอ ไม่มีหรอกครับว่าพระเซยู สอนไว้ว่าอะไร มันก็ถูกตีความใหม่เสมอ
และขอให้สังเกตว่าพุทธศาสนาในประเทศไทยก็ตาม หรือคริสต์ศาสนาในสมัยกลางในยุโรปก็ตามแต่มันตีความให้สอดคล้องกันกับสภาวะของอำนาจในยุโรปสมัยนั้น และในประเทศไทยสมัยโบราณเหมือนกัน ผมขอยกตัวอย่างเพียวเรื่องเดียวที่คงทราบกันดีอยู่แล้ว ถามว่าพุทธศาสนามันเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ลืมไปได้เลย เพราะว่ามันคนเรื่องกัน แต่ถามว่าพุทธศาสนาให้ความเป็นเชื่อให้แก่ความคิดเรื่องความเสมอภาคได้มั้ย อย่างยิ่งเลย เป็นศาสนาแรกๆ ในโลกที่บอกว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกันในการบรรลุพระนิพพาน แต่ขอประทานโทษคำสอนอันนี้ไม่ได้ถูกเน้น หรือนำมาใช้เลย คุณปฎิรูปศาสนามากี่ครั้งไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ จนกระทั่งพุทธทาสก็ไม่พูด
ในยุโรปพอคุณกลับมาเน้นเรื่องว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้เท่าเทียมกันเท่านั้นแหละ ระเบิดตกเลยคือ เกิดreformation (การปฏิรูปคริสต์ศาสนา) เกิดอะไรร้อยแปดเลย เฮ้ยถ้างั้นพระไม่เกี่ยวเว้ย อั๊วสามารถติดต่อกับพระเจ้าเองโดยตรง ท่านก็สร้างเรามาเท่ากับสร้างพระมาเหมือนกันนี่ ทำไมจะติดต่อพระเจ้าต่อผ่านพระ เพราะฉะนั้นหลักการของพระพุทธเจ้าที่บอกว่ามนุษย์มีศักยภาพที่สามารถบรรลุพระนิพพานได้หมดเนี่ย จะไม่ถูเน้นในพุทธศาสนาไทยเลย เวลาเราพูดถึงพุทธศาสนาไม่เกี่ยวกับสมณะโคดมนะครับ หมายถึงพุทธศาสนาไทย คืทอเราเลือกเน้นเลือกตีความให้มันเข้ากับวัฒนธรรม และอำนาจทางการเมืองในประเทศไทยด้วย
ประเด็นที่สี่ต่อมา ศาสนาในสังคมโบราณทุกแห่งเป็นผู้คุมการศึกษา แค่คุณเป็นคนคุมการศึกษาอย่างเดียวคุณสามารถที่จะทำให้คนคิดอะไรในเชิงอำนาจ ยอมรับอำนาจนี้ ไม่ยอมรับอำนาจโน้น นี่คือหัวใจสำคัญเลย และโดยจะตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่ ศาสนาทุกศาสนา ส่วนหนึ่งของการศึกษาศาสนาคือการ กล่อมเกลาให้คุณยอมรับว่าอะไรคือ อำนาจ และอำนาจลดหลั่นกันอย่างไรอยู่ตลอดเวลา
เพียงแค่หลังการปฎิรูปศาสนาในรัชกาลที่ 4 - 5 - 6 มานี้ แล้วคุณดึงการศึกษาออกจากมือพระ ผมคิดว่าอิทธิพลของพระหายไปประมาณ 60 เปอร์เซ็นเป็นอย่างต่ำ ครั้งหนึ่งคุณเคยสอนกุลบุตร กุลธิดาทั้งหลาย แล้ววันหนึ่งเขาบอกคุณหยุดไม่ต้องสอนแล้ว แล้วตั้งกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมา และมีครูที่เป็นฆารวาสมาสอนแทน คำสอนเรื่องเกี่ยวความสัมพันธ์เชิงอำนาจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เป็นการริดรอนอำนาจขององค์กรคณะสงฆ์ที่แรงที่สุด นอกจากนั้นแล้วตัวการศึกษามันสร้างเครือข่ายทางการเมืองด้วย อันนี้ออกนอกเรื่องนิดนึง สมัยโบราณก่อนหน้าที่คุณจะมีองค์กรปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง ถามว่าพระไทยถูกจัดตั้ง ถูกจัดองค์กรอย่างไร คำตอบคือ เขาการจัดองค์กรคล้ายๆ สมัยพุทธกาลเลย คือแบ่งตามสำนักครู สำนักอาจารย์ ถ้าคุณเป็นพระที่มีสิทธิที่จะบวชคนอื่นได้ เพราะบวชมาแล้ว 10 ปีแต่วัตรปฏิบัติของคุณไม่เป็นที่เคารพของชาวบ้าน ก็ไม่ใครเอาลูกหลานมาบวชกับพระองค์นี้ ก็เฉพาะพวกพระที่เป็นอาจารย์ที่วัตรปฏิบัติดีที่ชาวบ้านเขาจะเอาลูกหลานมาบวชกับพระอาจารย์คนนั้น พระอาจารย์คนนั้นถ้าบวชเสร็จก็กลายเป็น ถ้าภาษาก็จะเป็นหัววัดคือเป็น วัดที่ไปคลุ่มวัดอื่นๆ มันได้ขึ้นอยู่ส่วนกลางด้วย มันก็เป็นสำนึกส่วนๆ ไอ้เครือข่ายอันนี้หลังจากที่คุณดึงการศึกษาไปแล้ว คุณสร้างองค์กรคณะสงฆ์ที่มาจาก พ.ร.บ. การรปกครองคณะสงฆ์ ที่มาจากส่วนกลาง หายหมดเลยมันเป็นอำนาจจากส่วนกลางที่เขามาคุมทุกอย่าง
อย่างที่ห้า เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะไปเกี่ยวพันกับอบำนาจหรือความสัมพันธ์เชิงอำนาจก็คือ ศาสนาเป็นตัวให้อัตลักษณ์ เป็นการบอกให้รู้ว่าคุณเป็นใคร เป็นส่วนสำคัญแต่ไม่ใช่อันเดียวนะครับ คนเราอัตลักษณ์มันมีหลายอย่าง แต่การที่คุณบอกคุณเป็นชาวพุทธ มันเป็นอัตลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง และพุทธศาสนามันให้ความเป็นตัวตนแก่คนไทยมาเก่าแก่มา อันนี้ก็เป็นอำนาจอีกชนิดหนึ่ง และก็เป็นเครื่องมือของความสัมพันธ์เชิงอำนาจอีกอย่างหนึ่ง
อันสุดท้ายผมใช้คำว่าศาสนาสากล แต่ก่อนที่คุณนับถือผี มันเป็นผีของท้องถิ่น แต่พอคุณสามารถรวมอำนาจกลายเป็นราชอาณาจักรขึ้นมา ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ก็แล้วแต่ พุทธศาสนามันเป็นศาสนาที่ทำให้คุณเชื่อมโยงไปกับโลกกว้างได้ ที่จริงศาสนาสากลทุกชนิดสามารถเชื่อมโยงไปสู่โลกกว้างได้หมด ถ้าคุณไปอ่านตำราเช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสนวงศ์ อะไรก็แล้วแต่เขาไม่ได้พูดเฉพาะเมืองไทย เขาจะพูดเลยไปถึงลังกา อินเดีย ทั้งหมดเหล่านี้คือ การบอกให้คุณรู้ว่าคุณเชื่ออยู่กับโลกกว้างอย่างไร สำคัญนะครับถ้าคุณยังอยู่ในหมู่บ้านอย่างเดียวโดยไม่มีราชอาณาจักรเลย จะมีเรื่องกับใครก็ชั่ง ไม่เกี่ยว แต่พอคุณเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักที่ใหญ่ขึ้นคุณอยากจะนิยามตนเอง ให้เชื่อมโยงกับโลกกว้างด้วย แฃะพุทธศาสนาเป็นสะพานไปสู่จุดนั้น แต่ทุกวันี้ไม่ใช่แล้วนะ คุณพูดภาษาอังกฤษเป็นเปล่า ถ้าคุณพูดภาษาอังกฤษเป็นคุณเชื่อมกับโลกกว้าง คุณกำลังพูดภาษาเดียวกับสหรัฐอเมริกานะเว้ย ซึ่งสมัยโบราณไม่ใช่ คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนกลุ่มเดียวกันที่เป็นลูกหลานสืบทอดมาจาก พุทธศาสนาในลังกา คุณเชื่อมกับโลกกว้างผ่านพุทธศาสนา แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว
ทีนี้มาดูเรื่องศาสนากับการเมืองในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ผมต้องเตือนไว้ก่อนว่าในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมนั้น ผมต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยกำหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มันถูกกำหนดด้วยวัฒนธรรมหรือระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่สืบทอดกันมา แต่ระบบความสัมพันธ์ที่สืบทอดกันมา หรือวัฒนธรรมมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ เมื่อไหร่ที่คุณเรียกหาอัตลักษณ์ไทย เอกลักษณ์ไทย ความเป็นไทย คุณบ้านแล้ว เพราะของเหล่านี้มันไม่มี มันไม่อยู่นิ่ง มันเปลี่ยนตลอดเวลาอยู่แล้ว ความเป็นอเมริกันก็ไม่มี ความเป็นฝรั่งเศสอะไรมันก็ไม่มี เพราะมันไม่เคยหยุดนิ่งกับที่มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา ฉะนั้นไอ้ตัวรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมจึงไม่เคยอยู่นิ่งเหมือนกัน และปัจจุบันนี้มันเปลี่ยนไปมากทีเดียว แต่สิ่งที่มันยังไม่เปลี่ยนจากเมื่อครั้งที่ผมเขียนเมื่อ 20- 30 ปีที่แล้ว มีอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะพูดไว้ก่อนว่า แปลกนะครับในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย เรายอมรับเสรีภาพในศาสนาของทุกศาสนามาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่เสรีภาพทางศาสนาไม่ได้แปลว่าทุกศาสนาเท่าเทียมกัน พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีความเหนือกว่าทุกศาสนา เพราะฉะนั้นคุณมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ แต่คุณต้องเป็นรองพุทธศาสนา อันนี้เป็นมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ที่แม้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับรายลักษณ์อักษรจะพูดถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ความเสมอภาคทางศาสนาไม่มี คนละเรื่องกัน ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่เช่นอย่างเรื่องวันหยุดทางศาสนา
เพราะฉะนั้นเมื่อวัฒนธรรมทางการเมืองมันเปลี่ยน มันก็ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมเปลี่ยนไปด้วย ทีนี้เรามาดูว่ามันเปลี่ยนอย่างไร ประการที่หนึ่งผมคิดว่า สิ่งที่น่าสังเกตุพุทธศาสนาไทยตั้งแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ ถูกเสนออย่างไม่มีพัฒนาการ เหมือนกับการที่คุณบอกว่า สิ่งที่ชาวยุโรปนับถือทุกวันนี้ คือสิ่งที่พระเยซูสอน ถามว่ามีใครเชื่อไหม ก็อย่างมีสองศาสนาที่มันทะเลาะกันคือ โปรแตสแตนท์ กับคาทอลิก ถูกไหม ก็แสดงว่าพระเยซูคงไม่ได้สองทั้งสองอย่าง มันต้องสอนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แสดงว่าศาสนามันก็เปลี่ยน
ทีนี้มาดูพุทธไทยบ้างคือ พุทธไทยมันไม่มีความคิดว่าศาสนาเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คำสอนของศาสนาถูกตีความให้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ พระพุทธเจ้าท่านอาจจะสอนอย่างนี้ x ผมก็ไม่รู้ว่า x มันคืออะไร แต่ว่าที่เราถือกันอยู่ในทุกวันนี้มันไม่ใช่ x แล้วนะครับ มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา แค่ยอมรับว่าศาสนา หรือลัทธิคำสอนมันเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา ผมคิดว่ามันจะทำให้เราเข้าใจศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง กับสังคม และวัฒนธรรมดีขึ้นแยะ แต่ถ้าคุณไปจับติดแต่เพียงว่า เฮ้ยศาสนาพุทธไทยจะต้องเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนเป๊ะ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยุ่งล่ะสิ มันไม่สามรถจะปรับจะเปลี่ยนอะไรได้เลย
ผมอยากจะยกตัวอย่าง งานของอาจารย์ท่านหนึ่งคือ ศรีศักร วัลลิโภดม ท่านชี้ให้เห็นมานานแล้วว่า จริงแล้ว 20 ปี แล้วมั้ง จริงๆ พุทธในสมัยอยุธยาตอนต้น สุโขทัย หรือเชียงใหม่ก็ตาม วัดพุทธจะเน้นที่พระสถูป หรือพระเจดีย์ ซึ่งก็ตรงกับลังกา ลังกาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเน้นที่พระสถูป เจดีย์ ถามว่าคุณเข้าวัดสิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาเข้าวัดคืออะไร คำตอบคือพระเจดีย์ แต่พอมาถึงอยุธยาตอนกลางและตอนปลายมันเปลี่ยน จนมาถึงปัจจุบันนี้ เปลี่ยนมาเป็นพระพุทธรูปแทน คุณเข้าวัดนั้นวัดนี้ เพื่อที่จะไปไหว้หลวงพ่อโต หลวงพ่อทองคำบ้าง หรือหลวงพ่ออะไรก็แล้วแต่ เข้าใจไหมครับ ส่วนพระเจดีย์เป็นของประดับเฉยๆ บางคนไม่ทันได้มองด้วยซ้ำไปว่ามันมีพระเจดีย์อยู่หลังโบสถ์นะเว้ย เพราะว่านี่ไงตัวหลักศาสนา หลักคำสอน มันเปลี่ยนโดยอัตโนมัติด้วยตัวมันเอง
แต่ก่อนหน้าที่เราจะนับถือหลวงพ่อในวัดในโบสถ์ เรานับถือพระเจดีย์ ซึ่งเป็นพระบรมธาตุนั้นเอง ถ้าคุณอ่านเอกสารสมัยสุโขทัย และอยุทธยาตอนต้น เรื่องพระธาตุลอยไปลอยมา มาตกตรงนั้นตรงนี้ แล้วคุณมาเจอแล้วเอาไม้มาปัก เพื่อที่จะสร้างเจดีย์เหนือพระธาตุ คุณจะเห็นเรื่องเหล่านี้ตลอดมา แต่ว่าพอมาช่วงรัตนโกสินทร์ไม่เคยมีใครเห็นพระธาตุลอยไปลอยมาสักที ไอ้ที่ลอยๆ เห็นจะเป็นการบินไทยเสียมากกว่า
ทีนี้เรามาดูว่า พุทธศาสนาในประเทศไทยได้เปลี่ยนไปอย่างไร และได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองอย่างไร อันที่หนึ่งเลยผมคิดว่า องค์กรคณะสงฆ์มันเคยเป็นเครื่องมืออย่างดีให้กับรัฐมาก่อน อย่างซ้อนกับประวัติศาสตร์นิดหน่อย อันที่หนึ่งก็คือว่าเมื่อตอนสมัยรัชการที่ 5 เมื่อท่านรวมศูนย์การปกครองคณะสงฆ์เข้ามา และคณะสงฆ์ก็ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ทางการเมือง จริงๆ แล้ว คณะธรรมยุติกนิกาย ที่เข้าไปในอีสานระยะแรกๆ จุดหมายมุ่งหมายแรกๆ ไม่ใช่เรื่องศาสนานะครับ แต่เป็นการขยายวัฒนธรรมสมัยใหม่ ให้เขาไปในอีสานโดยผ่านพระสงฆ์ธรรมยุติ ก็แน่นอนสมัยนั้นคนก็หวังกับพระสงฆ์มหานิกาย และไม่ได้ใช้พระสงฆ์มหานิกายเป็นเครื่องมือในการขยายความทันสมัยเข้าไปในอีสาน แต่ว่าใช้พระธรรมยุติเป็นหลัก นี่เป็นตัวที่ชัดเจนว่าหลังจากรวมศูนย์มาได้ คุณก็ใช้อันนี้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองอย่างมาก
อีกอันหนึ่งที่เห็นชัดเจนมากๆ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ ส่งทหารไปรบ สิ่งหนึ่งที่เคยมีปัญหาในสังคมอื่นแยะมาก แต่ไม่เคยมีปัญหาในประเทศไทยเลย ก็คุณบอกว่าคุณถือศีล 5 ใช่ไหม เป็นทหารแล้วไปยิงข้าศึกตายนี่มันไม่ปาณาติบาตเหรอว่ะ ปัจจุบันนี้คำถามนี้ไม่น่าจะถาม แต่สมัยรัชกาลที่ 6 ถามนะครับ คนจำนวนมากสงสัยว่าส่งทหารไปรบกับเขาได้อย่างไร ไหนว่าถือพุทธไงแล้วจะไปยิงเขาได้อย่างไร ในความเป็นจริง ทหารไทยที่ไปรบหลังรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ที่ยังถือศีล 5 อยู่นี่ยังมีนะครับ พ่อตาของภรรยาเก่าผม เป็นทหารที่ไปอาสาสมัครรบในสงครามอินโดจีน สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผมถามท่านว่า เวลาคุณยิงข้าศึกนี่ทำอย่างไร ท่านบอกท่านไม่ได้ยิง เมื่อไหร่ที่เขาสั่งให้ยิง ท่านก็จะยิงไปที่เหนือพุ่มไม้มันจะได้ไม่โดนใคร เดี๋ยวเขาตาย
แต่ประเด็นปัญหาเรื่อง ปาณาติบาต เป็นปัญหาใหญ่มากในอเมริกา มันมีบางนิกายของศาสนาคริสต์ที่ไม่ยอมเป็นทหารเพื่อที่จะไปยิงคนเลย ในที่สุดรัฐมีการยอมแพ้ ฉะนั้นก็มีการเกณฑ์ทหารแต่ก็เกณฑ์มาเป็นเสนารักษ์แล้วกันไม่มีการยิงใคร แต่ในเมืองไทยกลับไม่เป็นปัญหา ตอนที่จะส่งกองทัพไป ท่านไปขอให้สมเด็จพระสังฆราชคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ช่วยอธิบายเรื่องนี้ และท่านอธิบายว่า การฆ่าคนบาปแน่นอน แต่ถ้าคุณฆ่าศัตรูที่จะทำลายพระพุทธศาสนา ไม่เป็นไร อันเดียวกันกับฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปแหละครับ เพราะคอมมิวนิสต์ทำลายพุทธศาสนาเหมือนกัน หลักความคิดอันนี้มันฝังลงมาทันที เราไม่เคยตั้งข้อสงสัยเลยนะว่า เป็นทหารนี่มันจะถูกหรือ
อันต่อมาก็ชัดเจนเหมือนที่อาจารย์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ พูดถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ใช้พระในการต่อต้านคอมมิวนิสต์แยะมาก อันนี้ทั้งมหานิกาย และธรรมยุติ พระจะเป็นคนที่ขึ้นไปบนเขาเพื่อไปเปลี่ยนศาสนาของม้ง ตอนนั้นไม่ได้รังเกลียดผีอะไร แต่ไม่ไว้ว่าใจว่าม้งเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนมันเป็นพุทธซะจะได้เลิกเป็นคอมนิสต์ซะที พระเป็นผู้นำการพัฒนาในท้องถิ่นหลายแห่งด้วยกัน แล้วองค์กรคณะสงฆ์ก็ให้ความร่วมมือกันรัฐเผด็จการ สบายเฉยเลย ไม่ได้รู้สึกอะไรเลย สืบมาจนถึงทุกวันนี้องค์กรคณะสงฆ์ก็จะยอมรับใครก็ได้เข้ามามีอำนาจในบ้านเมืองด้วยวิธีใดก็ได้เสมอมา
ในที่สุดอะไรขึ้นกับองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทย ในทัศนะผมนะครับ เดี๋ยวอย่างไรถ้าไม่เห็นด้วยก็เอาไว้ไปเถียงกันข้างนอกแล้วกัน ก็คือว่า ผมคือว่าองค์กรคณะสงฆ์นประเทศไทยหมดพลังลงไปแล้ว โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น รัฐบาลเองก็เข้มแข็งมากขึ้น รัฐไทยเองก็เข้มแข็งมากขึ้น คือเวลานี้ถ้าถามว่า คุณอยากจะปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนหลักสูตรเด็กชั้นประถมทั้งวหมด ถามว่าต้องให้พระช่วยไหม ไม่ต้องแล้วเพราะมีข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการเพียงพอที่จะเปลี่ยนได้ ถามว่ารัฐอยากทำอะไรที่อยากให้พระสงฆ์ช่วย ผมนั่งนึกแทนรัฐนะ นึกไม่ออกว่ะ คล้ายว่าจะบอกว่า ท่านอยู่เฉยๆ อย่ามายุ่งกันจะดีกว่า ฉะนั้นพลังอันนี้มันหมดไปเมื่อคุณไปรับใช้รัฐมากๆ มันทำให้ลืมสังคม ในขณะที่สังคมอาจจะต้องการอะไรอีกหลายอย่างเช่น พระสมัยก่อนพระเป็นอิสระจากรัฐ และเนื่องจากท่านเป็นอิสระจากรัฐท่านจึงเบรกรัฐได้เป็นครั้งคราว แต่หลังรัชกาลที่ 5 เป็นต่อมาพลังเบรกตรงนี้มันไม่มีแล้ว ก็ไม่มีประโยนช์อะไรกับสังอีกต่อไปแล้ว แต่ถามว่ารัฐใช้ประโยชน์ได้ไหมก็ได้ตามที่ผมยกตัวอย่างไป แต่ในปัจจุบันนี้เขาก็ไม่รู้จะใช้ทำอะไรอีกแล้ว สังเกตนะครับแม้แต่นักการเมือง ถามว่ามีใครไปขอให้พระเป็นหัวคะแนนบ้าง เปรียบเทียบกับเมื่อ 30 ปีที่แล้วน้อยลงมากเลย มันแสดงให้เห็นว่าพระเองก็คุ้มความศรัทธาของชาวบ้านเนี่ยได้น้อยลงไปด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้พระเป็นหัวคะแนนอีกต่อไปเป็นต้น
การรื้อฟื้นบทบาทของพระสงฆ์ ไม่ได้ทำโดยองค์กรส่วนการของพระสงฆ์ในประเทศไทย แต่กระทำโดยสำนักทั้งหลาย เช่น สันติอโศก ธรรมกาย ว.วชิระเมธี ทั้งหมดเหล่านี้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่สำคัญ แต่สิ่งที่ผมอยากให้สังเกตคือ อันที่หนึ่ง ทั้งสำนักทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแต่ไม่ได้กระทำตามนโยบาย หรือการกำกับของมหาเถรมหาคม ท่านทำของท่านเอง อันที่สองต่อมายิ่งน่าสนใจใหญ่ ไม่ว่าคุณจะได้รับการรับรองจากมหาเถรสมาคมหรือไม่ คุณก็สามารถหาศรัทธาจากชาวบ้านได้อยู่แล้ว เช่น สันติอโศก หลังจากถูกพิพากษาท่านก็เปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มเสีย ถามว่าศรัทธา หรืออุบาสก อุบาสิกา ของท่านลดน้อยลงไหม … ไม่ กลับเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำไป
ผมคุยกับคนที่อยู่ข้างนอกเมื่อครู่นี้สักพักหนึ่ง ผมก็คิดเวลานี้มหาเถรสมาคมผูกขาดได้อย่างเดียวคือ สบง จีวร สีเหลือง นอกนั้นไม่มี ไม่มีคุณเข้าใจไหม ทุกคนไม่จำเป็นที่ต้องสังกัดมหาเถรสมาคม แล้วท่านผู้นั้นก็แย้งผมว่า อ้าวแล้วความเป็นนักบวชนทางกฎหมายล่ะ ผมก็ถามว่าในประเทศไทยนี่เขาให้อะไรกับความเป็นนักบวชบ้างว่ะ เกณฑ์ทหารก็ต้องไปเกณฑ์ เพราะฉะนั้นคุณจะเอาอะไร ขึ้นรถเมล์ฟรีงั้นเหรอคือ มันน้อยมากความเป็นนักบวชมันได้อภิสิทธิ์ตามกฎหมายน้อยมากๆ แล้วคุณจะอยาดเป็นไปทำไมนักบวชตามกฎหมาย นักบวชที่สังคมเขาให้ความเคารพนับถือสิ ไอ้นี้สิสำคัญกว่านักบวชตามกฎหมาย
ประเด็นต่อมาที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือว่า ความเสื่อมโสมขององค์กรคณะสงฆ์ มันเห็นได้ชัดอย่างที่พูดไปแล้ว อีกอันหนึ่งถ้าคิดให้ดีแล้วน่าตกใจมากๆ นะครับ ตัวหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนาของพุทธทาส พุทธศาสนาของ ว.วชิระเมธี หรือใครก็แล้วแต่มันไม่กำกับพฤติกรรมของใคร ไม่กำกับวิธีคิดของใครเท่าไหร่นัก อันนี้อย่างเพิ่งตกใจนะครับในพม่าก็เหมือนกัน ในลังกาก็เหมือนกัน ผมเพิ่งทราบข่าวว่ารัฐบาลเผด็จการพม่าต้องรีบถอนตัวร่าง พ.ร.บ. อันหนึ่งกลับไป เพราะว่า ไปให้สิทธิพลเมืองกับพวกโรฮิงญา แล้วคนที่ออกมาต่อต้านมากคือ พระถือธงนำหน้าเลยนะครับ คำถามพระพุทธเจ้าท่านเคยแบ่งระหว่างโรฮิงญา กับพม่าไว้ตั้งแต่เมื่อไร มนุษย์มีศักยภาพที่จะบรรลุพระนิพพานเท่ากัน ท่านจึงไม่แบ่งไง แต่พระนี่ไม่ได้ ไม่ได้ โรฮิงญานี่ไม่ได้ ในที่สุดรัฐบาลก็ต้องถอย
ในลังกาเองเมื่อตอนเกิดสงครามกับพวกทมิฬ คนที่ถือธงไปบอกให้ฆ่าทมิฬคือ พระนะครับ ฉะนั้นมันได้เกิดแค่ในเมืองไทยนะ มันเกิดในสังคมชาวพุทธแยะมากคือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ถามว่ามันยังมีความหมายต่อชีวิตคนอีกหรือไม่ ผมคิดว่าน้อยมาก OK คนที่เชื่อท่านพุทธทาสโดยที่ไม่ได้ไปบวชที่สวนโมกมีไหม ก็มี แต่ผมกลับคิดว่าจำนวนน้อยนะครับ แล้วก็ปฏิบัติตามที่ท่านพูดจริงๆ หรือว่ามีวิธีคิดแบบที่ท่านพุทธทาสสอนจริงก็ไม่มากเท่าไหร่
หน้าที่ที่มีความสำคัญของพุทธศาสนาที่มีต่อคนในโลกปัจจุบัน มีความสำคัญมากกว่าคำสอนอีก คือตัวอัตลักษณ์ การประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ มันมีความหมายดีบางอย่าง ที่ดีกว่าสมัยเมื่อรัชกาลที่ 4 แยะเลย เพราะว่าฝรั่งเองก็ออกมายกย่องพุทธศาสนาอย่างงั้น อย่างงี้ คือศาสนาพุทธมันเป็น อัตลักษณ์ที่ดี เป็นที่น่าประกาศ เราเคยเจอฝรั่งคนหนึ่งชาวออสเตเรีย ซึ่งมันเคยระยำตำบอนถึงที่สุดนะครับ แต่มันก็ประกาศตัวเองว่าผมเป็นชาวพุทธ ผมเป็นชาวพุทธ ก็ไปวัดเพื่อที่จะไปอะไรก็ไม่รู้ ผมก็ไม่เคยตามมันไป แต่ว่าอย่างไงก็ตามแต่มันกลายเป็นอัตลักษณ์ และคนไทยก็คิดว่าความเป็นชาวพุทธมันเป็นอัตลักษณ์ที่แยกจากความเป็นคนไทยไม่ได้ เหตุดังนั้นสิ่งที่มีความหมายในชีวิตของคนไทยในปัจจุบันนี้ ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาจึงไม่ใช่หลักธรรมคำสอนนะครับ ทำไมเราถึงต้องบ้าพิธีกรรมมาก ก็แหงสิ พิธีกรรมมันเป็นตัวบอกอัตลักษณ์น่ะ คุณบอกว่าคุณไม่ยึมั่นถือมั่น มันไม่มีอัตลักษณ์อะไร จืดฉิบเป๋ง ถ้าเอาตามคำสอนของพุทธทาส จืดมากไม่ตัวตนอะไรเลย แต่คุณห้อยพระเว้ย คุณเห็นพระคุรไหว้เว้ย เพราะมันทำให้คุณมีอัตลักษณ์ความเป็นชาวพุทธขึ้นมา คุณปกป้องการล่วงละเมิดพุทธศาสนาทั่วโลก เช่นศิลปินชาวเยอรมันเอาพระพุทธรูปไปวางไว้ หรือนางแบบมันขึ้นไปนั่งบนพระเพลาของพระพุทธ โกรธแทบจะประกาศสังครามกับมันน่ะ ซึ่งจริงๆ ถ้าเอาตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ คุณปล่อยวางสิ ไม่เห็นเกี่ยวกับเลย ไม่รู้สึกอะไรเลยใช่ไหม คุณกลับคิดว่าไม่ใช่ เราต้องโกรธเพราะมันกระทบตัวเรา อัตลักษณ์ก็คือลักษณะของตัวเรา มันเหยียดหยามเรา เรายึดมั่นถือมั่นมากเลยทีเดียว
และอันสุดท้ายที่น่ากลัวที่สุด พ.ร.บ.ปกป้องพระพุทธศาสนาที่เขากำลังจะเอาเข้า สนช. อยู่นี่คือ คุณกำลังจะเอาอำนาจรัฐมาเผยแผร่ศาสนาคือ ใครดูถูกพระศาสนารู้สึกจะมีโทษจำคุกสองปี ปรับกี่หมื่นก็ไม่รู้ผมจำไม่ได้ คือมันเป็นความตายสนิทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจริงๆ ไม่เหลืออะไรเลย คุณต้องใช้อำนาจรัฐซึ่งมันสอดคล้องกับอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งน่าอัศจรรย์มาก คือมีข่าวคนนุ่งเหลืองห่มเหลืองจะไปบิณฑบาตรต้องให้ตำรวจไปคุ้มกัน ผมตกใจมากเวลาเจอข่าวนี้ แล้วตำรวจก็ไปคุ้มครองซึ่งตำรวจก็ไม่ผิดนะครับ พระท่านก็เป็นพลเมืองไทย เมื่อท่านของให้คุ้มครอง มีเหตุอันพึ่งคุ้มครองก็ไปคุ้มครองให้ท่าน ไม่ได้ผิดอะไร ตำรวจทำหน้าที่ที่ถูกต้องของเขา
แต่ขอโทษนะครับผ้าเหลืองมันแปลว่าอะไร พระพุทธเจ้าท่านถือว่าผ้าเหลืองคือ สัญลักษณะต่อการไม่เป็นภัยต่อใครทั้งสิ้น คุณเห็นผ้าเหลืองคุณรู้เลยว่า ไอ้หมอนี่ไม่วันจะมาด่ากู ไม่มีวันจะมาเตะกู ผ้าเหลืองคือสิ่งนี้ เมื่อคุณไม่เป็นภัยต่อใครคุณจึงไม่ได้รับภัยจากใครไง “ภัย” ภาษาบาลีแปลว่ากลัว ถ้าเขาไม่กลัวคุณเขาก็จะไม่รู้ว่าจะกระทืบคุณไปทำไม ไม่รู้จะเอาคุรไปปรับทัศนะคติทำไม ดังนั้นเมื่อไหร่ที่คนนุ่งเหลืองห่มเหลืองแล้วขอความคุ้มครอง เท่ากับว่าคุณไม่เชื่อในผ้าเหลืองแล้ว ไม่เชื่อในความไร้นิรภัยของคุณเอง ว่าคุณคือผู้ที่ไมเป็นภัยต่อใครทั้งสิ้น
อันนี้มันเท่ากันกับ พ.ร.บ. ปกป้องพุทธศาสนา คือปกป้องตนเองไม่ได้ต้องเอาอำนาจรัฐมาปกป้อง คำตอบแบบเห็นชัดๆ พูดอย่างไม่ต้องเกรงใจกันเลยก็คือ พุทธศาสนาในประเทศไทยตายแล้ว
เมื่อมันเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนาจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ง่ายขึ้น แต่น่าเสียดายที่เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพ ก็ในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีพฤติกรรมไม่ได้มีความคิดอะไรตรงตามหลักธรรมคำสอน ผมจะพูดตามหลักธรรมคำสอนว่า ผมไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าผมเป็นนักการเมืองคุณจะมาลงคะแนนให้ผมไหม ถ้าผมจะยึดอำนาจคุณจะมาช่วยผมยึดไหม ไม่สักอย่างว่ะ ไอ้ไม่ยึดมั่นถือมั่นนี่ไม่สักอย่างไร แต่ถ้าผมพูดในเชิงอัตลักษณ์ว่า เฮ้ยเราชาวพุทธ มีคนคนมาย่ำยีเราทีนี้แหละคุณฮือมากับผมด้วย
และด้วยเหตุดังนั้นมันจึงเป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพ ครั้งสุดท้ายที่คุณใช้หลักธรรมคำสอนอย่างเบี้ยวๆ หรือไม่ผมไม่แน่ใจอันนี้เถียงกันได้ ในการเป็นประโยชน์ต่อการเมืองคือ เมื่อตอนที่คุณจำลอง ศรีเมือง ต่อต้านการทำแท้ง สมัยรัฐบาลนายกเปรม อย่างไรก็ตามแต่หลังจากที่คุณต่อต้านการทำแท้ง ด้วยการอ้างหลักธรรมคำสอน มันก็ทำให้คุณเป็นนักการเมืองเด่นขึ้นมาทันที มีชื่อเสียงขึ้นมา และผมคิดว่าครั้งนั้นเป็นครั้งสุดท้าย และด้วยเหตุที่ศาสนาพุทธมันไร้ประสิทธิภาพลงไป จึงทำให้กลายเป็นเครื่องของกลุ่มบุคคล ไม่ใช่ของรัฐนะ เวลานี้ถามว่าศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนอยู่ไหม คำตอบคือเป็น แต่เป็นของคนบางกลุ่มไม่เหมือนสมัยรัชกาลที่ 6 เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองศาสนา ถามว่าคนไทยที่อ้างว่าถือพุทธทั้งหลาย ผมคิดว่าอาจจะครึ่งๆ แต่การที่คุณไปเสนอสิ่งนี้มันจะถูกใจคนที่รู้สึกว่า ความปลอดภัยความมั่นคงในพุทธศาสนามันน้อยถอยลด เลยต้องดึงอำนาจของรัฐเข้ามาปกป้องคุ้มครองศาสนามากขึ้น เพราะฉะนั้นก็พอใจกับกลุ่มคนที่เสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองศาสนา และถ้า พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านไปได้ คุณจะพบว่ามันจะมี “112 ทางศาสนา” ว่ะ ซึ่งน่ากลัวมากๆ
ผมคิดถึงพุทธประวัติ แล้วก็คิดถึงพระพุทธเจ้าท่านประกาศศาสนาโดยการไปหาพระเจ้าพิมพิสาร แบบว่าให้ช่วยประกาศบอกชาวบ้านทั้งประเทศให้หน่อย ห้ามถือศาสนาอื่นให้ถือศาสนาพุทธเท่านั้น คุณคิดว่าศาสนาพุทธจะเหลือมาถึงเราไหม มันก็คงจะหมดสิ้นไปตอนที่สิ้นพระเจ้าพิมพิสารนั่นแหละ หมดรัชกาลพระเจ้าพิมพิสาร ศาสนามันก็หมดไป แต่ปัจจุบันเรากำลังจะคุ้มครองศาสนาด้วยอำนาจรัฐ
ขณะเดียวกันผมอยากให้สังเกตุว่า เรายอมรับเสรีภาพทางศาสนา แต่เราไม่ยอมรับความเสมอภาคทางศาสนา แต่ปัจจุบันเราจะพบว่าศาสนาอื่นๆ ปรากฎตัวเองในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนแยะมาก ซึ่งเป็นสัญญานที่น่ายินดี เป็นแต่เพียงว่าเมื่อปรากฎตัวขึ้นมันจะถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในพระพุทธศาสนา เวลาที่วัดแขกแถวสีลม เวลาเขามีงานนวราตรี คนที่ไปงานส่วนใหญ่คือ คนพุทธทั้งนั้นเรื่องไม่มีใครเป็นฮินดูจริงๆ เพราะว่าศาสนาฮินดูมันถูกกลืนเข้ามาในศาสนาพุทธแล้ว วาเลนไทน์ยิ่งสนุกเข้าไปอีก
ทั้งหมดเหล่านี้มันบอกอะไรเรา ผมคิดว่าน่าสนใจ คุณเชื่อไหมศาสนาสมัยโบราณมันขาดสิ่งหนึ่งคือ มันไม่มีเส้นเขตแดน ศาสนามันก้ำๆ กึ่งๆ กันมาตลอด ศาสนาเพื่อมีเขตแดนครั้งแรกในยุโรป เริ่มต้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9-10 ที่มีการเริ่มล่าแม่มด แต่ที่เริ่มทีเส้นเขตแดนที่ชัดเจนคือ ช่วง reformation ช่วงที่ทะเลาะเรื่องศาสนา เกิดลัทธิโปรเตสแตนต์ขึ้นมา ต้องขีดเส้นให้ชัดว่า มึงเป็นโปรเตสแตนต์ หรือมึงเป็นคาทอลิก ต้องขีดเส้นให้ชัด ไอ้นี่เป็นศาสนาสมัยใหม่ สมัยโบราณไม่มีนะครับ ทีนี้ในการปฏิรูปศาสนาของเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เราไปรับความคิดจากมิชชันนารีมา แล้วก็เริ่มขีดเส้นพระพุทธศาสนา อาจจะขีดด้วยวิทยาศาสตร์ หรืออะไรก็ตามแต่ เริ่มมีเส้นที่ชัดเจนขึ้นมา ในบรรดาศาสนาทั้งหมดเหล่านี้ผมอย่างจะตั้งข้อสังเกตุไว้อย่างหนึ่งว่า เวลาที่ขีดเส้นโดยไม่รับจากฝรั่งมีอยู่ศาสนาเดียวในโลกนี้คือ ศาสนาอิสลาม เขาขีดเส้นของเขามาก่อนที่เขาจะมาเจอกับฝรั่งด้วยซ้ำไป เหตุดังนั้นคุณจะพบอย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ศาสนาต่างปรากฎตัวในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้ แต่มีศาสนาเดียวที่ไม่ถูกพุทธศาสนากลืนเอาไปคือ อิสลาม เพราะเขามีเส้นที่ชัดเจน คุณล้วงละเมิดเขาไปในเส้นนะไม่ได้
ทีนี้ถามว่าทั้งหมดเหล่านี้คือเมื่อก่อนมันเดินข้ามไปข้ามมากได้ กระทั่งในภาคใต้สมัยก่อนคุณจะเห็นลายลักษณ์อักษรเต็มไปหมดเลย ไอ้หมอนั่นมันเข้าแขก คุณเดินจากพุทธศาสนา เพราะไปแต่งงานกับมุสลิม ไอ้หมอนั่นมันเปลี่ยนจากมุสลิม เพราะมาแต่งงานกับคนไทยพุทธ คือแขกเข้าพุทธไทยสมัยก่อนมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่พอมาในสมัยนี้มันไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน
จากปรากฎการณ์อย่างนี้ผมว่ามันมองได้สองอย่าง ถามว่าในอนาคตมันจะปะปนกันมากขึ้นไหม ยกเว้นศาสนาอิสลามนะครับ มคิดว่ามันจะปะปนกันมากขึ้นเยอะแยะเลย และสพานที่จะทำให้มันปะปนกันมากขึ้นคือ พิธีกรรม เพราะพิธีกรรมในทุกศาสนามันถูกทำให้เป็นฆารวาสหมด คิดว่าเวลานี้ใครนึกถึงพระเยซูบ้างว่ะ ผมคิดว่าไม่ใครนึกถึงสักคนหรอก ยิ่งวาเลนไทน์ไม่มีใครนึกถึงเรื่องคำสอนของพระเยซูเลย ทีนี้ทั้งหมดเหล่านี้ผมให้สังเกตุว่า ความไร้พลังของพุทธศาสนาในประเทศไทย เราไม่ได้ secularize (การทำให้เป็นเรื่องทางโลก) แปลว่ามันก็ยากมากเลยที่ชาวคริสต์จะเข้ามาฉลองวิสาขบูชากับเรา แต่ว่าทุกวันนี้เราฉลองวันสำคัญแบบคริสต์เป็นปกติโดยไม่ได้รู้สึกอะไรเลย ควรทำให้ไม่ อาจจะไม่ควรทำ แต่ผมต้องการจะบอกว่านี่คือความไร้พลังของพทธศาสนาของเรา
ประเด็นที่สองที่น่าคิดก็คือ เป็นไปได้ไหมที่คุณจะสร้างเส้นเขตแดนอันใหม่ของคำสอนแบบใหม่ เช่น พุทธทาส แทนที่ท่านจะอิงอยู่กับองค์กรคณะสงฆ์ไทย ท่านสร้างเขตแดนแบบพุทธศาสนาใหม่ เป็นศาสนาพุทธแบบพุทธทาส ไม่ใช่ศาสนาพุทธแบบไทย ตรงมันเป็นไปได้ไหม ผมเองก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน ถ้าผมจะนับถือธรรมกายโดยผมไม่เชื่อเรื่องดวงแก้วที่อยู่ตรงพุง ผมเชื่อว่าดวงแก้วมันอยู่ตรงหัว อะไรอย่างนี้อย่างนี้ได้ไหม เมื่อไหร่ที่มันเริ่มชัดว่าไม่ได้ เมื่อนั้นคุณเริ่มขีดเส้นแล้ว อันนี้น่าสนใจ
ผมมีเพียงเท่านี้ขอบคุณมากครับ