วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


เมื่อ "ทีวี ช่อง 7" งดเสนอข่าวนายกฯ
ฟังความจากโลก "ออนไลน์" เมื่อ "ทีวี" งดเสนอข่าวนายกฯ ตอบโต้ "แทรกแซง" สื่อ   คอลัมน์ แมลงวันในไร่ส้ม  ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1655 หน้า 78


               กลายเป็น "หัวข้อ" ในแวดวงสื่อ เมื่อเว็บไซต์หลายแห่ง รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน ได้ประชุมพิจารณากรณี นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้สอบสวนการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน  


                กรณีที่สำนักโฆษก ระงับการเดินทางไปกัมพูชาของ น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวช่อง 7 เพื่อทำข่าวนายกรัฐมนตรีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน โดยเชิญ น.ส.สมจิตต์ และ นายสมโภชน์ โตรักษา ผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าวช่อง 7 นางปรารถนา สุทิน ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง

               นายสมโภชน์ ชี้แจงว่า ช่อง 7 ได้รับมอบหมายจากทีวีพูลให้ติดตามทำข่าวนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้เป็นคิวของ น.ส.สมจิตต์ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นทีมล่วงหน้า อีกทีมจะเดินทางพร้อมนายกรัฐมนตรี รายชื่อส่งให้กองงานโฆษกประสานกระทรวงการต่างประเทศไปยังกัมพูชาเรียบร้อยหมดแล้ว 


               ต่อมา น.ส.สมจิตต์ ได้ไปสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประชุม หลังจากนั้น ผู้บริหารช่อง 7 โทรศัพท์แจ้งตนว่ามีนักการเมืองในรัฐบาลขอให้ยกเลิกการส่ง น.ส.สมจิตต์ แต่ตนได้ยืนยันในฐานะผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการ และผู้บังคับบัญชาของ น.ส.สมจิตต์ ว่านี่คือการบริหารจัดการภายในของช่อง 7 และเป็นคิวของ น.ส.สมจิตต์ หลังจากนั้นสองวันมีหนังสือจากสำนักโฆษกระงับการเดินทางของทีมล่วงหน้า อ้างว่ากัมพูชามีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนสื่อมวลชน และการดูแลรักษาความปลอดภัย

              ในฐานะที่ทำงานสื่อมวลชนมากว่า 20 ปี มั่นใจว่าเป็นการแทรกแซง เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว  


               นายสมโภชน์ ยังเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางช่อง 7 ได้งดเสนอข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนให้ฝ่ายการเมืองได้เห็นจุดยืนของช่อง 7 ที่ไม่ยอมรับการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง 

               ช่อง 7 ยังส่งทีมข่าวติดตามภารกิจนายกฯ แต่ไม่ได้นำภาพข่าวมาออกอากาศ 
               ช่อง 7 มีความรับผิดชอบต่อประชาชนในฐานะสื่อมวลชน หากใครเห็นว่าผิดกฎหมายก็ดำเนินการได้ 


ปฏิกิริยาที่ตามมา แตกต่างกันไปตามแนวคิดทางการเมือง

               ความเห็นสนับสนุนช่อง 7 สี มีไม่น้อย ส่วนมากเห็นว่า นายกฯ ควรยอมรับการซักถามข่าวของสื่อ และไม่ควรแทรกแซงการทำงานของสื่อ 


               มาจาก chettha_thi ในพันทิป ราชดำเนิน ระบุว่า ไม่ดูช่อง 7 คงไม่เจ๊งหรอกครับ เพราะเขาทำให้ผู้เจริญแล้วดูกันน่ะครับ 


              ส่วนความเห็นต่าง ก็ร้อนแรงไม่ธรรมดาเหมือนกัน  


             "มาลัยดำ" โพสต์ไว้ในห้องราชดำเนิน เว็บพันทิป เมื่อ 26 เมษายน
             ดู TPBS 3 ทุ่มกว่า มีข่าวว่าทีวีร้องรัฐบาลและนายกฯ แทรกแซงสื่อ เหมือนยุคทักษิณ 


             ดูแล้วอึดอัดมาก นักข่าวช่อง 7 ก็ว่าการเมืองแทรกแซง คณะกรรมการสอบก็วิจารณ์เสียหาย นักข่าว TPBS ก็กระพือข่าว พวกคณะกรรมการก็ ปชป. จ๋ามาทั้งยวง 


             ที่อึดอัด ไม่ใช่อะไร แต่คิดถึงสมัยรัฐบาลก่อนที่มี รมต. ดูแลสื่อได้ฉายาว่า "กริ๊ง...สิงสื่อ" โทร.สายตรงชี้นำทิศทางข่าวโดยที่ไม่มีใครกล้าปริปากพูด สั่งได้ทุกช่อง แต่กลับไม่มีใครเรียกร้อง หรือกล่าวหาว่าแทรกแซงสื่อเลย...?  


               ทำสปอตเพิ่มความเกลียดชัง เช่น เผารถเมล์ ตัวการ์ตูนปาระเบิด และอีกมากมาย ฉายซ้ำทุกๆ ชั่วโมง เวียนไปทุกช่อง สะสมพลังความเกลียด โชคดีที่เปลี่ยนรัฐบาลซะก่อน ไม่งั้นป่านนี้จบแบบรวันดาไปแล้ว  

              คณะกรรมการตรวจสอบต่างๆ องค์กรสื่อ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะออกมาตรวจสอบหรือเรียกร้องอะไรเหมือนที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน  


             สื่อมวลชนหลายคนในยุคนั้นที่โดนยิ่งกว่าช่อง 7 แต่องค์กรต่างๆ หายหัวเงียบ ใบ้รับประทาน เหมือนถูกมนต์สะกด 


             พอมายุคนี้ เอาอีกแล้ว มามุขเดิมอีกแล้ว ถ้ารัฐบาลไหนเป็นของทักษิณ จะต้องโดนกล่าวหาเรื่องแทรกแซงสื่อตลอด 


             สมัยก่อนเราไม่ได้ใช้เน็ตอย่างแพร่หลาย ข่าวมีแต่จากทีวี หนังสือพิมพ์ ข่าวตามเว็บยังไม่มาก มายุคนี้ ข่าวตามเว็บไวกว่า เร็วกว่า เช็กข้อมูลได้หมด ประชาชนเลยตาสว่าง กับขบวนการกล่าวหาเรื่องแทรกแซงสื่อว่าเขาทำงานกันยังไง ใช้วิธีกล่าวหาและโจมตีกันยังไง เช็กข้อมูลได้เอง ไม่ต้องรอสื่อชี้นำเหมือนเมื่อก่อน

              ล็อกอินดังในพันทิป "แมวน้ำสีคราม" โพสต์ตอนหนึ่งว่า ผมตั้งข้อสังเกตครับ...ช่อง 7 สี ทำถูกหรือไม่ ที่ตอบโต้ด้วยการประท้วงไม่ทำข่าวนายกฯ ยิ่งลักษณ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา...? 


              ประเด็นนี้ผมว่าออกจะเกินเลยไป ...แฟนๆ ที่เขาเป็นประชาชน โดยเฉพาะคนที่เขาติดตามผลงานนายกฯ ของเขามาตลอดก็พลอยรับผลไปด้วย 


              ตรงนี้แหละครับ คือประเด็น ที่แยกแยะไม่ออก ระหว่างเรื่องส่วนตัว กับเรื่องส่วนรวม
             ส่วนประเด็นของคุณสมจิตต์...จะอ้างว่าเป็นกลาง...ก็ว่าของคุณไป แต่สังคมเขารับทราบดีว่า ใครมีพฤติกรรมอย่างไร ชื่นชอบใครจนออกหน้าออกตาเป็นพิเศษ  


             ก็สมควรแล้วล่ะครับที่นักข่าวอาวุโสประจำทำเนียบ เขาเคยบอกว่า จะตั้งคำถามเอาเรื่อง หรือตั้งคำถามหาเรื่อง... 


              สรุป คุณประท้วงไม่ทำข่าวนายกฯ ผมก็ประท้วงไม่ดูข่าวของคุณเหมือนกัน

             อีกความเห็นจากล็อกอินหวือหวา "มัจฉาเสียบฉึก" วันที่ 27 เมษายน ถามว่า เสื้อแดงบอกใครเจอนักข่าว "จัดให้หน่อย" อย่างนี้เรียกคุกคาม เสื้อเหลืองทุบรถนักข่าว อย่างนี้ไม่คุกคาม  


             แฝดนรกบอกอยากเตะนักข่าว นี่ก็ไม่คุกคาม ตกลงคำว่า "คุกคาม" ของสมาคมนักข่าวฯ หมายความว่ายังไง ใครเข้าใจช่วยอธิบายให้ฟังที

              Saipin วันที่ 27 เมษายน เช่นกัน ร่วมแสดงความเห็น แอนตี้ข่าวของฟรีทีวีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโน้น ที่พันธมิตรชุมนุมยืดเยื้อ ปิดถนนเป็นแรมเดือนแรมปีพวกข่าวฟรีทีวี นี่ก็เอาไมค์ไปจ่อปากพวกแกนนำพันธมิตรไม่เว้นแต่ละวัน 


               แทนที่จะไปสัมภาษณ์รัฐบาลในสมัยนั้นบ้าง...ไม่มีเลย ก็เลิกดูข่าวการเมืองตั้งแต่บัดนั้น

              "padpaking" คนนี้ท่าทางติดละคร เดี๋ยวรอไข่ลูกเขย จบก่อนนะครับ ละครเบาสมองดี ดูแล้วพิจารณาหลายๆ ช่องก็ได้ครับ อาจจะไม่ได้เป็นกันทั้งช่อง มีช่องให้เลือกดูอีกเยอะ แต่ปกติผมก็ดูแต่เคเบิล  


              ให้กำลังใจสื่อนะครับ ให้ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา นำเสนอความจริง ไม่ใช่นำเสนอความคิดส่วนตัว


              เป็นอีกเสียงสะท้อนถึงการทำงานของสื่อ ในยุคที่ช่องทางการสื่อสารมีมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคข่าวได้แสดงทัศนะของตนอย่างฉับพลันทันที   
http://redusala.blogspot.com

เปิดใจ จาตุรนต์ ฉายแสง 111

 เปิดใจ *จาตุรนต์ ฉายแสง*
เสาร์ ที่ 5 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555

คอลัมน์ ลึกแต่ไม่ลับ โดย จรัญ พงษ์จีน 
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ปีที่ 32 ฉบับที่ 1655 หน้า 8

               ขอเกาะติดกับ "คนฮิต-พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อีกครั้ง กับคิวสำคัญ บินเข้ากรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ชมบิ๊กแมตช์ระหว่าง "เรือใบสีฟ้า-แมนเชสเตอร์ ซิตี้" ดวลเดือดกับ "ปีศาจแดง-แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด" เป็นเกมดาร์บี้แมตช์ ของ 2 ทีมชั้นนำร่วมเมือง และทราบผลกันไปแล้ว "เรือใบสีฟ้า" เฉือนหวิวไป 1-0

              "ทักษิณ" ไม่ยอมนั่งชมชั้นวีไอพี แต่กลับซื้อชั้นธรรมดาเข้าสนาม เพื่อต้องการวัดเรตติ้ง กับแฟนคลับชาวเรือใบ ว่ายังจำหน้าตากันได้หรือไม่

              เป็นที่ทราบกันดีว่า "แมนฯ ซิตี้" คือทีมเก่าที่ "ทักษิณ" เคยนั่งเก้าอี้ประธาน เข้าไปช้อนซื้อหุ้นหลังถูกปฏิวัติและยึดอำนาจ ราคาเฉียด 100 ล้านปอนด์ เมื่อปี 2550

               และว่าจ้าง "อีริกสัน" อดีตผู้จัดการทีมชาติ มาเป็นกุนซือ และทุ่มทุนซื้อนักเตะชั้นนำมาร่วมทัพหลายคน

               ดัน "เรือใบสีฟ้า" จากทีมท้ายๆ ตาราง ขึ้นมาอยู่ระนาบกึ่งกลาง-หัวแถวได้เป็นผลสำเร็จ

               ขณะที่ธุรกิจฟุตบอลกำลังไปได้สวย การเมืองในประเทศไทยเกิด "กลับข้าง" ทักษิณตกที่นั่งเสือลำบากตามไปด้วย ตัดสินใจขายทีม "เรือใบสีฟ้า" ให้กับกลุ่มธุรกิจชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟาดกำไรไปเฉียด 1,000 ล้าน

               แต่ข่าวบางกระแสระบุว่า "ทักษิณ" รวยอู้ฟู่เฉพาะตัวเลข แต่เม็ดเงินกำไรจริง ถูก "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด" ฟาดไปทั้งต้นทั้งดอก ยังเก๊กซิมไม่หายจนทุกวันนี้
               อย่างไรก็ตาม การคืน "เอติฮัด สเตเดี้ยม" อีกครั้งของคนชื่อ "ทักษิณ" และปล่อยวางอย่างผู้ชมธรรมดา ปรากฏว่า กลับได้รับการต้อนรับจากพลพรรค "เรือใบสีฟ้า" อย่างอบอุ่น อาทิ กรูมารุมล้อมถ่ายรูป ขอลายเซ็น ร้องเพลงเชียร์ต้อนรับ

               ชาวเรือใบมองว่า "แมนฯ ซิตี้" ขึ้นจากก้นเหว มายืนแถวหน้า และอาจจะคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกประจำฤดูกาลนี้ได้ ก็เพราะ "ทักษิณ" จุดประกายไว้

               การได้รับอนุญาตให้เข้าอังกฤษ ดูเหมือน "ทักษิณ" จะระแวดระวังโรคเดิมกำเริบ คือ พูดประเด็นการเมือง จึงค่อนข้างรัดกุมเป็นกรณีพิเศษ

              มีข่าวความว่า นักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย พรรคร่วม หรือจากเมืองไทย เดินทางไปรอพบกันน้อยมากๆ มีที่ขึ้นบัญชีไว้คณะเดียว คือ "คุณแดง-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" น้องสาว นำลูกน้องในคาถา "วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" ไปเยี่ยม หลังชมฟุตบอลคู่ "ผีแดง-เรือใบสีฟ้า" จบเรียบร้อยแล้ว

              "ทักษิณ" จะพักผ่อนอยู่ที่คฤหาสน์ย่านเซอร์เรย์อีกประมาณ 10 วัน

              จากนั้น มีโปรแกรมจะบินเข้ากรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ มีกำหนดการจะพักยาว เพราะช่วงนี้อากาศในเมืองจีน ดีทุกเมือง ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป กะไว้ว่า จะตะลอนตีกอล์ฟให้อย่างเดียว สัก 15 วัน

               เหลือเวลาไม่ถึงเดือน หรือ 30 วันแล้วที่ "ประชากรบ้านเลขที่ 111" จะพ้นโทษแบนทางการเมือง ผลสืบเนื่องมาจาก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค "ไทยรักไทย" ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550

              และวินิจฉัยให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งชุด ถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองคนละ 5 ปี ด้วยมติ 6 ต่อ 3  


              ขณะศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และเพิกถอนสิทธิ์ พรรคไทยรักไทยมีกรรมการบริหารพรรคอยู่ทั้งหมด 119 คน

               บังเอิญว่า กรรมการจำนวน 7 คนลาออกก่อน จึงสิ้นสภาพการเป็นกรรมการบริหารพรรค ประกอบด้วย 1.นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ 2.นายเสนาะ เทียนทอง 3.นายฐานิสร์ เทียนทอง 4.นายลิขิต ธีรเวคิน 5.นายสฤต สันติเมทะนีดล 6.นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ 7.นายกร ทัพพะรังสี และ 8.นางกอบกุล นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี ถูกยิงเสียชีวิต

              จึงเหลือยอดที่ถูกเว้นวรรค จำนวน 111 ราย มีชื่อแถวหน้า ดังๆ ประกอบด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายไชยยศ สะสมทรัพย์ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายเนวิน ชิดชอบ นายประชา มาลีนนท์ นายประยุทธ มหากิจศิริ นายปองพล อดิเรกสาร นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายพินิจ จารุสมบัติ นายโภคิน พลกุล นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสมชาย สุนทรวัฒน์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุชาติ ตันเจริญ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายชานนท์ สุวสิน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี นายภูมิธรรม เวชยชัย

               นางสิริกร มณีรินทร์ น.ต.ศิธา ทิวารี นายกันตธีร์ ศุภมงคล นายจำลอง ครุฑขุนทด นายฉัตรชัย เอียสกุลท พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายบุญชู ตรีทอง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเทวัญ ลิปตพัลลภ นางพวงเพชร ชุนละเอียด นายระวี หิรัญโชติ นายวราเทพ รัตนากร นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย พ.ต.ท.อดุล บุญเสรฐ นายกฤษ ศรีฟ้า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายชาญชัย ปทุมารักษ์ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายเรืองวิทย์ ลิกค์ นายอดิศัย โพธารามิก นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายอนุชา นาคาศัย เป็นต้น

                เท่ากับว่า ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ครบกำหนด 5 ปี ที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ และกรรมการบริหารพรรคถูกเพิกถอนสิทธิ์คนละ 5 ปีเต็ม

                สามารถออกจากกรงเล็บ มาโผบินได้เต็มพิกัด อย่างน้อย ถูกขานชื่อว่า มีโอกาสสูงที่ถูกวางตัวให้กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3" ได้โดยพลัน ในการปรับ ครม. ในช่วงเดือนมิถุนายน ก่อนวันที่ 21 มิถุนายน วันเกิด "นายกฯ ปู"
http://redusala.blogspot.com

จตุพร พรหมพันธุ์ ก่อนวันพิพากษา 18 พ.ค.
"จตุพร พรหมพันธุ์" ก่อนวันพิพากษา 18 พ.ค.
    
         นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและแกนนำคนเสื้อแดง เปิดใจถึงคดีที่ยังค้างอยู่ รวมถึงคดีการสิ้นสถานภาพส.ส. ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 18 พ.ค.นี้

          ตลอดจนเสียงวิจารณ์ว่าคนเสื้อแดงเลิกให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยโดยสะท้อนผ่านการเลือกตั้งซ่อมส.ส.และนายกอบจ.ปทุมธานี

ตอนนี้คดีที่มีค้างอยู่กี่คดี

          มีเยอะมาก ทั้งหมดเป็นผลพวงการต่อสู้จากการรัฐ ประหารปี 2549 เป็นต้นมา รวมกว่า 40 คดี อยู่ในชั้นกระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนใหญ่ ก็ต่อสู้ตามกระบวน การทุกอย่าง

          ไม่มีคดีที่เป็นเรื่องส่วนตัว แต่มาจากการต่อสู้ทางการเมืองทั้งสิ้น รวมถึงคดีที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยวันที่ 18 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับสถานภาพส.ส. เป็นผลพวงจากการถูกจับกุมคุมขังในคดีที่ถูกถอนประกันคือคดีก่อการร้าย แต่เวลาอธิบายความเข้าใจว่าเป็นคดีความในอีกคดีหนึ่ง

         เราตั้งใจว่าจะขอแถลงเปิดคดีในศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลไม่อนุญาตแล้ว แต่เหตุผลที่คิดในเวลานั้น ตั้งใจจะลำดับความตั้งแต่ต้นว่าในแต่ละกระบวนการนั้นไม่มีความยุติธรรมอย่างไรบ้าง

         ตั้งแต่การถอนประกันเป็นคนละเรื่องกับเงื่อนไขประกันรวมถึงการทำหน้าที่ของกกต.จนมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเองก็ยอมรับว่ากรณีของผมเป็นรายแรกของประเทศ

         ฉะนั้น ถ้าถูกถอนประกันแล้วจะต้องทำให้สิ้นสถาน ภาพ ก่อนหน้านี้ทำไมไม่ปฏิบัติอย่างเดียวกัน ตอนนาย ก่อแก้ว พิกุลทองก็ไม่ดำเนินการอะไร

          คดีอยู่ในศาลรธน.เพราะจำเลยชื่อจตุพร ถูกล็อกเป้ามาตั้งแต่ว่าถูกขังแล้วจะทำให้เป็นส.ส.ไม่ได้ จะเห็นว่ารับรองผมคนที่ 500 ดังนั้น เมื่อไม่สะเด็ดน้ำก็ต้องมาแขวนเป็นรายแรก

         ส่วนคดีหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ครบรอบปี ซึ่งคดีนี้ในเวลานั้นดูเหมือนจะเป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการไปแจ้งความของผู้ไปแจ้งความนั้นมีการตัดต่อเทป ถอดเทปแล้วทำเครื่องหมายคำพูดแล้วไปตัดต่อเพราะถ้าถอดฉบับเต็ม จะพบเลยว่าไม่มีข้อความใดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

         ถ้อยคำที่เป็นปัญหา ก็พูดในลักษณะปกป้องสถาบันว่าอีกฝ่ายหนึ่งจงใจเจตนาให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดต่อสถาบัน ซึ่งผมได้ถอดเทปส่งดีเอสไอ และเคยส่งให้ศาลในช่วงไม่ให้การประกันตัวในขณะนั้นว่าบริบทฉบับเต็มเป็นอย่างนี้

           เมื่อดีเอสไอเห็นว่าคดีนี้เป็นการแจ้งความเพื่อประสงค์ร้าย มีการตัดต่อ เขาก็มีคำสั่งไม่ฟ้องแล้วส่งให้อัยการ ตอนนี้รออัยการพิจารณาว่าจะเห็นพ้องหรือไม่ ซึ่งมีกระบวน การอยู่

           ผมเชื่อว่าถ้าอัยการดูฉบับเต็มจะรู้ว่าไม่มีถ้อยคำตามที่อธิบายกัน ในยูทูบก็ไปตัดต่อ กลายเป็นการกล่าวหาให้ร้าย

ถ้าเกิดตัดสินให้พ้นจากส.ส. คดีอื่นจะตามมาหรือไม่

          คดีก็มีอยู่ตามปกติแต่จะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองเพราะไม่ได้เป็นส.ส. คดีก็จะไปเร็ว ส่วนเรื่องการถอนประกันนั้น อยู่ที่ว่าเราทำผิดเงื่อนไขการประกันตัวอีกหรือไม่

คนเสื้อแดงมีปัญหาแตกแยกกับพรรคเพื่อไทย

          ในระหว่างคนเสื้อแดงด้วยกันคือนปช.กับคนเสื้อแดงทั้งประเทศเราบริหารด้วยความรู้สึกอย่างเดียวไม่มีเรื่องตำแหน่ง ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ เป็นการบริหารแบบจิตอาสาเพื่อให้คนมีอารมณ์ความรู้สึกร่วม ประชาชนที่มาสู้เขาออกเงินเอง ออกชีวิตเอง ออกอิสรภาพเอง

            สิ่งที่จะรักษากระบวนการนี้เดินไปได้คือการรักษาความรู้สึก บริหารความรู้สึก นี่คือระหว่างเสื้อแดงกันเอง

            ระหว่างเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยก็เช่นเดียวกันต้องบริหารความรู้สึก ผมเคยพูดในพรรคว่าเสื้อแดงไม่ใช่ของตายของพรรคเพื่อไทยที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะเสื้อแดงสู้ด้วยความรู้สึก เขาเป็นนักประชาธิป ไตย ถ้านักการเมืองคนใดปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ นักการเมืองคนนั้นจะตกขบวน จงคิดว่าเขาเป็นผู้ร่วมต่อสู้ ตรงข้ามกับคำว่าผู้เลือกตั้งกับนักเลือกตั้ง เขาไม่ใช่หัวคะแนน

ดังนั้น ต้องบริหารตามความรู้สึก เพราะคนเสื้อแดงมีความคิดมีความหวัง

          ถ้าคนเสื้อแดงเสียความรู้สึก จะนำมาซึ่งความล่มสลาย เพราะเราไม่มีผลประโยชน์อื่นใดที่เป็นเครื่องรักษาความกลมเกลียวความเหนียวแน่น มีแต่จุดยืน อุดมการณ์อย่างเดียว

          ผมเคยบอกแกนนำนปช.ว่าแกนนำคือเรื่องสมมติ ถ้าวันหนึ่งแกนนำทรยศต่ออุดมการณ์ ประชาชนเขาก็ไม่ตามไป ที่เขาเดินตามเพราะเชื่อว่าแกนนำไม่ทรยศ 

เลือกตั้งที่ปทุมธานีถือเป็นบทเรียน 

         ผมเห็นใจผู้สมัครทั้งสองคน แต่พรรคต้องยอมรับความจริงว่าคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เขาไม่ออกมาเลือกตั้งหนนี้ จะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม ถือว่าเป็นบทเรียนราคาแพง ต้องมองเรื่องนี้เป็นคุณค่า อย่ามองเป็นความเสียหาย  เพราะบทเรียนที่เขาให้ในปีแรกนี้ เป็นบทเรียนที่มีเวลาแก้ไข เพราะยังมีเวลาบริหารประเทศอีก 3 ปี  

          บทเรียนราคาแพงนี้ พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงที่มีหน้าที่ทางการเมืองต้องตระหนักว่าประชาชนไม่ใช่ของตาย เขามีความคิดและส่งสัญญาณมายังพรรคเพื่อไทย รัฐบาลและคนเสื้อแดงด้วยกันเอง

         ที่ปทุมธานี ต้องยอมรับว่าเป็นฐานคนเสื้อแดงที่เข้มแข็งมาก แต่ในสถานการณ์เลือกตั้งที่เกิดขึ้น เสื้อแดงปทุมฯ เขาเล่นบทกระชาก เตือนแรงๆ เพราะเขารักพรรค และความรักพรรค รักในขบวนการเสื้อแดงว่าถ้าเดินไปโดยไม่สนใจความรู้สึก มันจะพัง จึงกระชากเตือนเช่นนี้

          แต่เชื่อว่าสถานการณ์นี้จะผ่านพ้นไปด้วยดี ถ้าแต่ละฝ่ายเห็นบทเรียนนี้แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

          มีเสียงไม่พอใจที่นายกฯ เข้ารดน้ำขอพรพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  

         เป็นเรื่องของนายกฯ และผู้นำเหล่าทัพที่ปฏิบัติตาม ประเพณีไทยๆ และผมกับพล.อ.เปรม ไม่ได้เป็นศัตรู ไม่มีเรื่องส่วนตัวเจือปน

         ผมเข้าใจเรื่องการทำหน้าที่ของนายกฯ ต้องการประคับประคองรักษาความเป็นรัฐบาลให้ยาวนานเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ เข้าใจในความรู้สึกของคนเสื้อแดง ซึ่งพวกผมยังเหมือนเดิม ยังยืนอยู่ในบริบทเดิม

          พรรคเพื่อไทยพยายามผลักดันพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

          พ.ต.ท.ทักษิณ พูดชัดเจนว่าจะไม่ขอกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี และจะไม่ขอทวงเงินที่ถูกยึดไป 4.6 หมื่นล้านบาทคืน

        ถ้าเทียบมาตรฐานเดียวกับคดีแจกส.ป.ก. ที่ภูเก็ต ถือว่าคดีนั้นหนักกว่าเป็นสิบเท่า เทียบไม่ได้กับที่ดินรัชดาฯ แต่เมื่อความเหลื่อมล้ำทางความยุติธรรมปรากฏ เรื่องนิรโทษกรรมจึงไม่มีใครพูดถึง แต่ฝ่ายตรงกันข้ามปฏิปักษ์ที่เอามายัดเยียด ทั้งที่พ.ต.ท.ทักษิณ พูดชัดเจนแล้วว่าไม่กลับมาเป็นนายกฯ ไม่ทวงเงินคืน

         แต่ไม่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาเป็นอะไร ประชาธิ ปัตย์เขากลัวอยู่แล้ว แค่ส่งเสียงมา เขายังแพ้เลือกตั้งหลุดลุ่ย ถ้าตัวมาแม้จะไม่ลงเลือกตั้งก็คงหนักกว่านี้

        เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนรู้สถานการณ์ในประเทศดีที่สุด ห้วงเวลาต่างๆ ท่านจะรู้ว่าจะทำอย่างไร ท่านรักประเทศไทยและรัฐบาลนี้ต้องยอมรับว่ามีความผูกพัน เป็นลูกน้องมาทั้งนั้น

ที่มา ข่าวการเมือง นสพ.ข่าวสด
http://redusala.blogspot.com

"ผู้ตรวจการแผ่นดิน" สุมหัวร่าง รธน. อยู่หรือเปล่า ?
ถามตรง "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" สุมหัวร่าง รธน. อยู่หรือเปล่า?

         วันที่ 25 เมษายน ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ โฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวภายหลังการการประชุม ครั้งที่ 6/2555 ว่า คณะที่ปรึกษาฯ ได้มีการตั้งประเด็นในการพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเห็นว่าเป็นปัญหาเพื่อเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน 10 ประเด็นหลัก ดังนี้

1.ควรจะคงให้มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อไปหรือไม่ หากจะคงไว้ ส.ว.ควรจะมีหน้าที่อย่างไร ที่ต้องเสนอเช่นนี้เนื่องจากดูจากหลักการและเหตุผล ทั้งทางของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาที่เสนอเข้ามาให้ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจทางการเมือง

2.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดของภาคการเมือง โดยเฉพาะที่นำไปสู่การยุบพรรค และการตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคว่า ควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่อย่างไร

3.ความจำเป็นในเรื่องอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ

4.ความจำเป็นในเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ

5.การสรรหาบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระว่า ควรจะเป็นอย่างไร

6.ปัญหาเรื่องโครงสร้างอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะการแก้มาตรา309 ซึ่งมีผู้เสนอว่า ควรยกเลิกเสีย และหากมีการยกเลิกจริง ควรจะมาตรการเชื่อมโยงสภาพทางการเมืองและกลไกทางการเมืองในปัจจุบันกับอนาคตอย่างไร

7.ระบบเลือกตั้ง การที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต้องสังกัดพรรคการเมืองในการเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาหรือไม่

8.ระบบพรรคการเมืองและการเข้าสู่ตำแหน่งของนักการเมือง

9.การคุ้มครองและบังคับให้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ

10.การคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่าจะเป็นการล่วงละเมิดอำนาจของ ส.ส.ร. ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจในการตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้ การพิจารณาของคณะกรรมที่ปรึกษาเป็นการวางหลักเกณฑ์ไว้ โดยพิจารณาจากประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ รวมถึงเรื่องที่คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการได้เสนอไว้แล้วนำมาสรุป และตั้งประเด็นพิจารณาไว้ล่วงหน้า

และเมื่อถามอีกว่าการตั้งประเด็นเช่นนี้เป็นการร่างรัฐธรรมนูญแข่งกับรัฐบาลหรือไม่ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า เราไม่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เราเพียงแต่เสนอหลักการว่า เรื่องใดควรมีอยู่หรือไม่ควรมีอยู่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยจะสรุปข้อเสนอให้แก่ผู้ตรวจการฯ เพื่อทำข้อเสนอไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ คาดในแต่ละประเด็นจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1-2 สัปดาห์ 

http://redusala.blogspot.com

18 ศพเสื้อแดงตายเพราะเจ้าหน้าที่
"รอง ผบช.น." ยันแล้ว "18 ศพเสื้อแดงตายเพราะเจ้าหน้าที่"



        เมื่อเวลา 13.00 น.  ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น.ดูแลงานด้านกฎหมายและสอบสวน เปิดเผยว่า จากการสอบสวนคดีเสื้อแดง จำนวน 18 ศพนั้น

เบื้องต้นจากข้อเท็จจริง ยืนยันว่าการเสียชีวิตของผู้ร่วมชุมนุมทั้ง 18 ศพ เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อทำการไต่สวน ตามป.วิอาญา มาตรา 150 วรรคห้า  กล่าวคือ เมื่อความปรากฎว่าถ้าความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ พนักงานสอบสวนต้องร่วมกับพนักงานอัยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ  และเสนอสำนวนพร้อมมีความเห็นให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลทำการไต่สวน

            พล.ต.ต.อนุชัย กล่าวอีกว่า เนื่องจากคณะทำงาน ป.ป.ช. ต้องการทราบรายละเอียดแต่ละคดี รวมทั้งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันว่าเป็นกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.วิชาญญ์วัชร์ บริรักษ์กุล รองผบก.น.1, พ.ต.อ.สุคุณ พรหมายน  รองผบก.น.5 และพ.ต.อ.สืบศักดิ์ พันธุ์สุระ รองผบก.น.6 ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนชุดย่อยมาให้รายละเอียดเป็นรายคดีต่อไป เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด.
http://redusala.blogspot.com

ชายชุดดำ" คือตำรวจเด็กนักการเมืองอิสานใต้
ข่าวสดแฉ! "ชายชุดดำ" คือตำรวจเด็กนักการเมืองอิสานใต้
ทำให้มีก่อการร้าย

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน

          ตอนที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือศอฉ.ยังโรมรันพันตูอยู่กับม็อบแดงนั้น ได้มีการเรียกนายตำรวจระดับนายพลทั่วประเทศมาประชุมหลายครั้ง เพื่อขอความร่วมมือในการคลี่คลายสถานการณ์

       *พร้อมๆกับรับฟังข้อมูลจากตำรวจใหญ่ทั้งหลายไปพร้อมกันด้วย*

         มีนายตำรวจหลายคนกล้าหาญชาญชัย ลุกขึ้นสะท้อนว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่คือชาวบ้านที่หน้าคุ้นตากัน แล้วทุกคนมาเพราะรู้สึกว่าบ้านเมืองมีปัญหา 2 มาตรฐาน

ตำรวจส่วนใหญ่พยายามบอกให้ศอฉ. หาทางออกที่สงบสันติ

ระหว่างนั้นบิ๊กๆศอฉ.นั่งฟังไป คอตกไป

แต่จู่ๆมีนายพลกลุ่มหนึ่ง ลุกขึ้นมาจุดประกายอำมหิตว่า อย่าไปถอยให้ม็อบ พร้อมกับเสนอแผนร้ายให้ครบสูตร!!

ผู้นำศอฉ.ตาลุกวาว เรียกนายตำรวจฮึกเหิมเหล่านั้นแยกคุยเป็นพิเศษ

ควักงบประมาณสดๆให้ไปดำเนินการตามแผนลับนั้น

เรื่องราวเหล่านี้ มีนายพลทั่วประเทศเห็นกันหมด

*ดังนั้นจึงมีข้อมูลถึงหูร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นำมาสู่การเปิดเรื่องชายชุดดำ ว่าที่แท้สังกัดนักการเมืองอีสานใต้คนไหน!?*

เพราะไม่ใช่เรื่องลึกลับเกินไป

นายพลสีกากีกลุ่มหนึ่ง จึงเป็นเป้าหมายที่รองนายกฯเฉลิม นำมาเปิดเผยในห้วงนี้!

จึงไม่น่าแปลกใจเช่นกันว่า เหตุใดผู้เซ็นก่อตั้งศอฉ. กับผู้มีอำนาจสั่งการศอฉ.จึงอ้างชุดดำฆ่าม็อบตลอดเวลา

แต่อ้างไป ก็ไม่เคยใช้อำนาจที่มีอยู่ในสมัยเป็นรัฐบาลติดตามจับกุมชุดดำเหล่านี้เลย ไม่เคยตั้งเป็นหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ แสดงความทุ่มเทในการไล่ล่าชุดดำ ทั้งที่ระบุว่าเป็นพวกฆ่าม็อบแล้วใส่ร้ายรัฐบาล

สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างก็คือ การเร่งร้อนรวบรัดสรุปสถานการณ์การชุมนุมของศอฉ.ว่า มีผู้ก่อการร้ายชุดดำปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม

ใจเร็วใจร้อน และใจร้ายหรือไม่!?!

เพราะเท่ากับขีดเส้นให้สถานการณ์เปลี่ยนจากการรับมือผู้ชุมนุมด้วยตำรวจปราบจลาจล

กลายเป็นสถานการณ์ก่อการร้าย แล้วให้ทหารติดอาวุธเข้าไปจัดการ

พร้อมๆกัน ก็มีชุดดำที่ใส่คลุมเครื่องแบบราชการออกปฏิบัติการ

*ชุดดำก่อการร้าย*

หรือชุดดำทำให้มีก่อการร้ายกันแน่!
http://redusala.blogspot.com