วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ผู้เสี่ยงภัย


คนเหล่านี้ เสี่ยงภัยอันตราย เพียงเพื่อหวังให้พี่น้องชาวใต้ 
ไอ้อยู่อย่างสงบสุข
ถ้าพระเจ้ามีจริง พระเจ้าก็คงจะไม่ตาบอด มองไม่เห็นความชั่วที่โจรใต้ ทำกับชาวมุสลิม และประชาชนผู้บริสุทธิ์  ใครก็ตามที่อ้างพระเจ้าแล้วทำความระยำอย่างนี้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้พระเจ้าอาจจะไม่เห็น แต่ประชาชนมุสลิมผู้สุจริต ก็เห็นได้ด้วยตาตนเอง ว่าใครทำร้ายมุสลิม


http://narater2010.blogspot.com/

ศัตรูที่แท้จริงของมุสลิม


เมื่อโจรใต้ อ้างมุสลิม และทำร้ายมุสลิมเสียเอง



ใจรใต้ อ้างศาสนา ทำร้าย พี่น้องมุสลิมอย่างอำมหิตเช่นนี้
http://narater2010.blogspot.com/

กทม.ไม่ได้ขุดลอกคลองทวีวัฒนา

ชาวบ้านแฉน้ำไหลย้อน! กทม.ไม่ได้ขุดลอกคลองทวีวัฒนา ช่วงซอยเพชรเกษม 69
       (4 กันยายน 2555) - ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ที่คลองทวีวัฒนา ช่วงซอยเพชรเกษม 69 ว่าจนขณะนี้ ซึ่งกำลังจะมีการทดสอบระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก แต่กรุงเทพมหานครยังไม่ได้มาขุดลอกคลองแต่อย่างไร  จึงทำให้กังวลว่าในการทดสอบระบบในวันพรุ่งนี้อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

         ทีมงานได้ลงสำรวจเส้นทางคลองทวีวัฒนา  จากช่วงฝั่งบางแวก พุทธมณฑล  ลอดถนนลงไปเป็นคลองทวีวัฒนาช่วงซอยเพชรเกษม 69  และจะไหลลงทิศใต้ ไปเลี้ยวขวาที่คลองภาษีเจริญ เชื่อมลงต่อกับคลองสนามชัยมหาชัย  คลองทวีวัฒนาฝั่งบางแวกพุทธมณฑล เป็นคลองขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 20 เมตร ตั้งแต่ต้นทางฝั่งพุทธมณฑล มีการระบายน้ำเพื่อรอทดสอบน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องเซ็นเซอตรวจระดับน้ำเป็นระยะ พอถึงช่วงกลางคลองแถวสนามหลวงสอง  กทม.ได้นำเรือดันน้ำมาจอดลอยทิ้งไว้ 2 ลำ พอมาถึงสุดช่วงคลองทวีติดถนนเพชรเกษม  มีเรือดันน้ำของกองทัพเรือทั้งสิ้น ๖ ลำ จอดอยู่ โดยทดสอบผลักดันน้ำอยู่ ลำ และเรือดันน้ำของ กทม. (สีเขียว) ลำ แต่ไม่ติดเครื่องยนต์

         ชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในละแวกนั้นได้ชี้ให้ทีมงานได้ดูเรือดันน้ำที่อยู่ปากทางเพชรเกษม ทิศที่จะดันให้ไหลลงทิศใต้ โดยชี้จุดสังเกตให้ดูว่า เรือดันน้ำพยายามดันน้ำข้ามไปฝั่งเพชรเกษม 69 แต่น้ำไหลย้อนกลับเข้ามายังฝั่งนี้ ทีมงานจึงเดินข้ามไปฝั่งตรงข้ามพร้อมคนร้องเรียน  ชาวบ้านคนดังกล่าวได้เล่าว่า เนื่องจากฝั่งพุทธมณฑลนั้น ขนาดคลองใหญ่กว่า พอข้ามมาฝั่งนี้คลองมีขนาดเล็กลงกว่าครึ่งหนึ่ง อีกทั้งตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่แล้วจนบัดนี้ “กรุงเทพมหานคร” โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน ได้เคยมาดูครั้งหนึ่งแล้วบอกว่าจะขุดลอกท่อ จนบัดนี้ยังไม่ได้ลอกท่อเลย  พอรัฐบาลให้กองทัพเรือมาดันน้ำข้ามมาฝั่งนี้  ใต้น้ำของทางฝั่งนี้ ซึ่งมีสิ่งทับถมเป็นดอนอยู่ มีลักษณะทางกายภาพสูงกว่า จึงดันไม่ไปไหลย้อนกลับไปฝั่งนั้น

         ทีมงานได้เดินกลับไปยังตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำ ของสำนักการการระบายน้ำของ กทม. พบว่า “ไม่มีไฟสัญญาณติดอยู่” และปิดตู่ไว้อย่างเรียบร้อย ทีมงานได้สอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ไม่เปิดเครื่องระบายหรือดันน้ำหรือ  พนักงานของ กทม. ใส่ชุดสีเขียวเข้มกล่าวตอบว่า เครื่องดันน้ำตัวนี้ไม่ดี ใช้ไม่ได้ และตอนนี้พอดันน้ำข้ามไป น้ำมันไหลย้อน ทีมงานถามว่า ได้ขุดลอกคลองไหม เจ้าหน้าที่ส่ายหัวตอบว่าไม่ได้ขุด  ทีมงานถามต่อว่า แล้วพรุ่งนี้จะทำอย่างไร เจ้าหน้าที่ตอบว่า ต้องให้ผู้ใหญ่คุยกัน แต่หากจะดันให้ไปก่อน ต้องย้ายเครือ่งดันน้ำจากจุดนี้ ไปอยู่ปลายน้ำให้หมดตรงช่วงก่อนน้ำจะเลี้ยวขวาลงคลองภาษีเจริญ ให้ไปดูดน้ำจากทางนั้นให้มีระดับต่ำลงก่อน  เพื่อให้น้ำจากทางนี้ไหลลงไปได้

        ซึ่งจุดที่ชาวบ้านแสดงความกังวลดังกล่าวนั้น เป็นจุดที่เป็นปลายคลองคอขวดทวีวัฒนาติดถนนเพชรเกษม และจุดนี้เองที่ปีที่แล้วมีปริมาณการระบายน้ำมหาศาลถึง 700 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งมากเกินศักยภาพของคลองจะรับได้ ยิ่ง กทม. ไม่ได้ขุดลอกคลองทำให้ใต้คลองตื้นเขิน จึงเป็นความผิดชอบของ กทม. หากในวันพรุ่งนี้ในการทดสอบน้ำแล้วมีเหตุน้ำท่วม

แผนที่สำรวจระบบทดสอบน้ำกรุงเทพฝั่งตะวันตก

เครืองดันน้ำของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่เปิดใช้งาน
เครื่องดันน้ำของกองทัพเรือสีเทาด้านข้าง เปิดทดสอบใช้งานได้
ตู้ควบคุมเครื่องดันน้ำและประตูระบายน้ำที่ไม่เปิดใช้งาน

"ทดสอบน้ำผ่านฉลุย" แม้ "หม่อมเอ๋อ" แอบปล่อยน้ำช่วงเช้า

"ทดสอบน้ำผ่านฉลุย" แม้ "หม่อมเอ๋อ" แอบปล่อยน้ำช่วงเช้า
คลองระบายน้ำทวีวัฒนา 69


รมต.ปลอดประสพ กดปุ่มเปิดการทดสอบระบายน้ำด้วยตัวเอง


เดินไปใต้สะพานชมตัวเลขวัดระดับน้ำสดๆ จากเซ็นเซอร์ระบบตรวจวัดน้ำ


Go6tv (5 ก.ย.55)  ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ในฐานะคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยภายหลังจากคณะทำงานเริ่มปฏิบัติการเดินเครื่องทดสอบประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ปลายน้ำ ตั้งแต่เเวลา 14.02 น. โดยสั่งเปิดประตูน้ำคลองทวีวัฒนา 50 เซนติเมตร และเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อจากปล่อยน้ำเข้่าจากคลองมหาสวัสดิ์เข้าคลองทวีวัฒนา โดยระดับน้ำที่คลองมหาสวัสดิ์ก่อนเปิดประตูน้ำอยู่ที่ 94 เซนติเมตร

ทั้งนี้ การสั่งการเริ่มที่ประตูระบายน้ำ โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี โฟนอินเข้ามายังศูนย์ปฏิบัติการฯ และให้สัญญาณ กับ ดร.รอยล จากนั้นผู้แทนจาก กทม. ได้ประสานกับกรมชลประทาน เพื่อเปิดประตูระบายน้ำในระดับที่กำหนดไว้ หรือ 50 เซนติเมตร และเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยให้ข้อมูลเป็นระยะ พร้อมทั้งสรุปสถานการณ์การทดสอบทุก 1 ชั่วโมง

                ข้อมูลเข้ามา 14.10 ระดับน้ำที่คลองทวีวัฒนาที่ 60 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 66 เซนติเมตร น้ำที่ปลายคลองทวีวัฒนาตัดกับคลองภาษีเจริญ อยู่ที่ 22 เซนติเมตร จากเดิม 20 เซนติเมตร จากระดับควบคุมที่ 50 เซนติเมตร

               เวลา 14.35 ดร.รอยล บอกว่าระดับความเร็วของน้ำอยู่ที่ 15 ลบ.ม/วินาที  แต่ระดับน้ำในคลองทวีวัฒนาอยู่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 4-5 เซนติเมตร

               ข้อมูลระดับน้ำทั้งหมดจะส่งตรงเข้ามายังศูนย์ปฏิบัติการ การทดสอบฯ ที่ สสนก. ซอยรางน้ำ อาทิ ข้อมูลจากเครื่องวัดระดับน้ำอัตโนมัติ 11 สถานี ข้อมูลจากสถานีเรดาห์วัดสภาพอากาศอัตโนมัติในพื้นที่ (บางขุนเทียน) และสถานีเรดาห์ที่สุวรรณภูมิ ที่ยืนยันว่าไม่พบกลุ่มฝนในบริเวณที่ทำการทดสอบ ตลอดจนภาพจากกล้องวงจรปิดนอกพื้นที่ เช่น ปากเกร็ด เจ้าพระยา สามเสน และ คลองลัดโพธิ์ โดยล่าสุดพบกลุ่มฝนก่อตัวบริเวณเขตสายไหม

               ทั้งนี้ หลังจากการปล่อยน้ำเพิ่มขึ้น คณะทำงานจะเปิดเครื่องผลักดันน้ำ 10 จุด รวม 28 เครื่อง ตามแผนกำหนด โดยเดินเครื่องพร้อมกัน 7 จุดบริเวณคลองทวีวัฒนาขณะเริ่มการทดสอบ และทำการเปิดเครื่องดันน้ำเพิ่มเติมในส่วนคลองพระยาราชมนตรี 2 จุด ในเวลา 16.00 น.

               ดร.รอยล กล่าวต่อว่า ผลจากการเปิดประตูน้ำของกทม. ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ในจังหวะที่น้ำทะเลขึ้นสูงยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม เซนเซอร์ที่พบการคาดเคลื่อน 1 จุด ได้รับการแก้ไข เครื่องบันทึกความเร็วกระแสน้ำ ของกรมอุทกศาสตร์ เครื่องวัดระดับความสูงของน้ำที่ส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และการรายงานข้อมูลผ่าน sms เข้ามายังศูนย์ปฏิบัติการทุก 15 นาที

                ส่วนผลการเปิดประตูระบายน้ำ14.00 น. เริ่มเปิด ปตร.คลองทวีวัฒนา เป็นระดับเริ่มที่ 50 เซนติเมตร

                14.00 น. ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ +0.94 ม.รทก. ระดับคลองทวีวัฒนา +0.57ม.รทก.
                14.10 น. ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ +0.91 ม.รทก. ระดับคลองทวีวัฒนา +0.59ม.รทก.
                14.30 น. ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเปิดที่ระดับ 1 เมตร /ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ +0.91 ม.รทก. ระดับคลองทวีวัฒนา +0.58 ม.รทก.        
                14.35 น. ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเปิดที่ระดับ 1 เมตร /ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ +0.87 ม.รทก. ระดับคลองทวีวัฒนา +0.59 ม.รทก.
                14.45 น. ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ +0.87 ม.รทก. ระดับคลองทวีวัฒนา +0.60ม.รทก.

ส่วนกรณีที่ กทม.เปิดประตูคลองทวีวัฒนาในช่วงเช้าก่อนเวลาทดสอบนั้น ดร.รอยล ยอมรับว่า การตัดสินใจเปิดประตูระบายน้ำของ กทม. ในช่วงเช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง แต่โชคดีที่สถานการณ์ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม เขาตัดพ้อว่า การที่ผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจไปตามความคิดเห็นของคน อาจไม่ส่งผลดีต่อการทำงานในภาพรวม

                 ส่วนผลสรุปการทดสอบนั้น ดร.รอยล คาดว่าจะใช้เวลา วันในการสรุปผลเบื้องต้น และใช้เวลา เดือนเพื่อสรุปชัดในรายละเอียด โดยข้อสรุปที่ได้ในวันนี้จะนำไปใช้กับปรับปรุงการทดสอบผลักดันน้ำฝั่งตะวันออก โดยสิ่งที่จะได้จากการทดสอบในวันนี้คือระดับความลึกของใบพัดเรือผลักดันนี้ ว่าตำแหน่งความลึกเท่าไหร่จึงจะทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำได้สูงสุด จากค่าที่ประเมินไว้ตอนแรก 50-60 เซนติเมตร

"ดร.รอยล" ประจาน "สุขุมพันธุ์" แอบเปิดประตูระบายน้ำพละการ

        (5 ก.ย.55)  ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ในฐานะคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยภายหลังจากให้สัมภาษณ์ถึงความสำเร็จในการทดลองระบายน้ำในเขตกรุงเทพฝั่งตะวันตกถึงกรณีที่ในช่วงเช้า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้สั่งสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร เปิดประตูระบายน้ำทวีวัฒนา เพื่อระบายน้ำทิ้งไปหมดก่อนการปล่อยน้ำเพื่อทดสอบของ กบอ.

        ดร.รอยล ยอมรับว่า “การตัดสินใจเปิดประตูระบายน้ำของ กทม. ในช่วงเช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง แต่โชคดีที่สถานการณ์ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม”  แต่เนื่องจากไม่อยากพูดมากเพราะเห็นเป็นผู้ใหญ่ ดร.รอยลจึงตัดบทเพียงแค่ว่า  “การที่ผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจไปตามความคิดเห็นของคน อาจไม่ส่งผลดีต่อการทำงานในภาพรวม”
                                 

ประยุทธ ยิ้มหวาน


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก รับฟังนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหลังจากเดินทางลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเพื่อมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งรับฟังปัญหาจากส่วนราชการและและประชาชนในพื้นที่ พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ทบทวน 11 ปี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับจรัล ดิษฐาอภิชัย


         เอ่ยชื่อจรัล ดิษฐาอภิชัยอาจจะย้อนอดีตการทำกิจกรรมของเขาไปถึงสมัยเป็นนักศึกษาในฐานะผู้ก่อตั้งกลุ่มสภาหน้าโดม ตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516

        แต่หาขยับใกล้เข้ามาอีกนิด เขาเป็นอดีตกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดแรกของประเทศ โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ตัวเขาสนใจและเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมผลักดันให้มีการบรรจุการเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2543

         ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จรัลจะแสดงออกถึงการต่อต้านการรัฐประหารอย่างเปิดเผยเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมืองและเป็นเหตุให้เขาถูกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ 26 ก.ย. 2550

        เมื่อเราชวนเขาทบทวนเรื่องที่มาที่ไปและบทบาทหน้าที่ของกสม. ซึ่งเขาเองก็เป็นผู้ร่วมผลักดันมาแต่ต้น เขาบอกว่าปัญหาหลักในคณะกรรมการสิทธิชุดของเขาเองน่าจะเป็นเรื่องการให้ความสำคัญต่อประเด็นสิทธิที่แตกต่าง โดยตัวเขานั้นยืนยันว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต้องให้ความสำคัญกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิเมืองเป็นลำดับต้น และสิ่งที่เขาฝากเป็นพิเศษถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบันก็คือ การต้องกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานให้ชัดเจน

กสม. ชุดแรกอาจจะเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ อาจารย์พอจะประมวลได้ไหมว่ามีอะไรบ้าง

         ข้อจำกัดแรกคือ ‘ข้าราชการ’ คนทำงานเป็นข้าราชการรัฐสภา ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน ไม่ได้ขึ้นต่อระเบียบ แต่ขึ้นต่อ พ.ร.บ. รัฐสภา ความคล่องตัวก็น้อย ความจริงพวกเราใหม่ๆ ตอนนั้นเรามีอุดมคติที่ไม่สามารถบรรลุได้เพราะข้อจำกัดจากระเบียบราชการ เช่น คนที่มาทำงานเราอยากได้นักสิทธิมนุษยชนจริงๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผมเสนอว่าควรจะมาจากหลากศาสนาด้วย รวมไปถึงคนพิการ สุดท้ายทำไม่ได้ เพราะต้องเป็นข้าราชการ เราก็ผิดหวัง เราก็อยากให้พวกเอ็นจีโอมาร่วม พวกนักสิทธิมนุษยชนที่มีผลงานจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และเราก็ใช้วิธีโอนเพื่อความรวดเร็วไม่อย่างนั้นก็ต้องไปประกาศรับสมัคร ช่วงแรกๆ ก็ใช้วิธีโอนข้าราชการไปๆ มาๆ ชุดผม ข้าราชการก็โอนหมดเลย ชุดแรกก็โอนทีละ 10 คน 20 คน

       ปัญหาที่สองคือการจัดตั้งสำนักงาน ว่าจะทำอย่างไรมีกี่สำนัก ก็ใช้เวลาถกเถียงกัน ความจริงไม่ควรเถียงกันมาก ด้วยความกลัวว่าถ้าแบ่งเป็นสำนักงานให้ชัดเจนแล้วเดี๋ยวจะไม่ประสานกัน ต่างคนต่างทำ แต่ละสำนักก็ใหญ่ สุดท้ายก็ยังต้องแบ่งสำนัก

ปัญหาที่สามคือการตั้งคณะอนุกรรมการ กว่าจะตกลงกันได้ว่าจะมีกี่คณะ ก็ใช้เวลาหกเจ็ดเดือน เรื่องนี้ง่ายแต่เถียงกันเยอะ เพราะความสนใจต่างกัน เช่นบอกว่าต้องมีอนุกรรมการเสรีภาพสื่อ บางคนบอกต้องมีเรื่องเด็กสตรี ชนชาติ เถียงกันไม่จบ คือกว่าจะตกลงกันได้ก็หลายเดือน

       ปัญหาที่สี่ คือการทำงาน เมื่อมีกสม. ใหม่ๆ คนเริ่มมาร้องเรียนแล้ว เราก็ยังได้กรรมการไม่ครบ 11 คนก็รอ พอครบ 11 คนยังตั้งสำนักงานกันไม่ได้ ยังไม่มีคนมาทำงาน ก็รอไปเรื่อยๆ คนก็ผิดหวัง เพราะมาร้องเรียนแล้ว ก็ช้า กว่าจะรับก็เถียงกันอีก บางคนบอกรับเรื่องเลย แต่บางคนก็ว่าไม่ได้เพราะถ้ารับมาแล้วไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมือ เราต้องมีระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบ ร่างระเบียบนั้นนี้

       ปัญหาที่ห้า ในทางปฏิบัติอีกปัญหาคือ เวลาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมันจะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ให้อนุกรรมการที่ตั้งมาตรวจสอบ กว่าจะตรวจสอบเสร็จ ก็ต้องลงไปดูข้อเท็จจริง ใช้เวลายาวนานมาก แล้วกว่าจะเขียนรายงานเสร็จ กว่ารายงานจะมาเข้าคณะกรรมการใหญ่

       มีการวิจับไว้ในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบแอฟริกาและละตินอเมริกา โดยเฉลี่ยแล้วประสิทธิภาพของคณะกรรมการสิทธิของประเทศฯต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพใช้เวลาในการตรวจสอบและรายงาน 6 เดือนเสร็จ แต่ของไทย 2 ปียังไม่เสร็จเลย ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ กรณีใหญ่ก็นาน กรณีเล็กก็นาน

        ทีนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติในเรื่องการตรวจสอบกสม. นะ คือเป็นกฎหมายที่ใจใหญ่ เป็นกฎหมายที่เรียกว่าดีกว่าที่อื่นก็ได้คือให้รับเรื่องร้องเรียนเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ 10 ปี 20 ปี 30 ปีที่แล้ว หกตุลาก็มาร้อง กรณีถูกวิสามัญปี 2527 ก็มาร้อง แต่-ประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 -3 ปี ถ้าเกินเขาไม่รับ เพราะตรวจสอบยาก ของไทยเรานี่เรียกว่าเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ ถามว่าดีไหม ดี แต่มีปัญหาคณะกรรมการสิทธิมันตรวจยากเพราะเราไม่มีอำนาจเหมือนตำรวจ หรืออัยการ
กรณีเรื่องเล็กที่เรารับแต่ประเทศอื่นอาจจะไม่รับเช่น เรื่องเล็กเรื่องก่อความรำคาญ ของเรารับหมด เช่น คนนอนไม่หลับเพราะว่ามีเสียงดัง ได้รับความกระทบกระเทือนจากหวูดรถไฟสามเสนคนนอนไม่หลับ เขามาร้องเรียนเราก็รับ กรณีประเทศฟิลิปปินส์ ถ้าเป็นเรื่องแรงงานไม่รับเพราระมีองค์กรอื่นอยู่แล้ว ของเรารับหมด แรงงาน สิ่งแวดล้อมฯลฯ

       แต่ก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดผมคาดคิดผิด ผมคาดว่าปีหนึ่งๆ คนจะมาร้องเรียนไม่น้อยกว่าสามพัน เปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์มีการร้องเรียนปีละห้าพัน ถ้าอินเดียมีประมาณ 2-3 หมื่นต่อปี แต่นั่นคนเขาเยอะ มีคนเป็นพันล้าน

       เอาเข้าจริงกสม.ไทยชุดแรกเฉลี่ย มีคนร้องเรียนแปดร้อยกว่า แต่ก็สองสวนเสร็จไม่ถึงห้าสิบเรื่องเลย

ของไทยเราปัจจุบันนี้ก็มีการร้องเรียนไม่ถึงสองพันเรื่อง

ทำไมคนยังมาร้องเรียนน้อย

        หนึ่ง) เพราะคนไม่รู้ 
        สอง) อาจจะเข้าไม่ถึง 
        สาม) อาจจะกลัว เพราะการมาร้องเรียนกสม. ก็กลัวคนที่ละเมิดเขาคุกคาม ประเทศไทยคนมาร้องเรียนน้อยทั้งๆ ที่การละเมิดสิทธิเยอะ

อุปสรรคในการทำงานระหว่างกสม. ด้วยกันเองคืออะไร

        ปัญหาใหญ่ที่สุดของชุดผม คือการขัดแย้งภายในเกือบทุกเรื่อง ทั้งในทางอุดมคติ การเน้นประเด็น ขัดกันอยู่เรื่อย ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อ จนกระทั่งต่อมาก็ไม่คุยไม่พูดกันแยกห้องกัน เมื่อก่อนกินข้าวด้วยกัน ก็ต่างคนต่างกิน ขัดแย้งกันในเรื่องงาน อาจจะเป็นปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ต่างกัน เน้นต่างกัน เช่นประธานเน้นสิทธิชุมชนเป็นหลัก ผมเน้นสิทธิทางการเมือง อีกคนเน้นสิทธิพลเมือง สิทธิเด็กสตรี เป็นต้น

จริงๆ ก็น่าจะดีไม่ใช่หรือที่กรรมการแต่ละคนให้ความสำคัญคนละด้าน

       แต่ว่ามันมีปัญหา เพราะว่ามันไม่ไปในแนวเดียวกัน มีปัญหาเวลากำหนดโครงการ อะไรต่างๆ ตอนนั้นวางแผนทางยุทธศาสตร์กัน ใช้เวลาวางแผนค่อนข้างนาน เชิญคนที่อยู่ในวงการนี้มาคุย แล้วก็มาร่างยุทธศาสตร์ ร่างอะไรต่างๆ ก็ยังไม่เป็นเอกภาพกันเท่าไหร่

       ปัญหาที่ 2 ในเรื่องนี้ก็คือ ขัดแย้งกับเลขาธิการขณะนั้น อันนี้ขัดแย้งกันมากจนกระทั่งต้องปลด คือมันไปกันยากนะถ้าไม่ปลด ทำงานกันไม่ได้ เรื่องเล็กๆ ไม่มีปัญหา แต่เรื่องใหญ่ๆ บางเรื่องเลขาฯ ก็ต้องขอความเห็นก่อน เช่น เรื่องพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสืออะไร เนื้อหายังไง ใครเป็นบรรณาธิการ งบประมาณเท่าไหร่ แบบนี้มันจะขัดแย้งกัน

       ปัญหาที่ 3 การรับคน รับบุคลากรก็ขัดแย้งกัน ขัดแย้งกันจนสุดท้ายก็ต้องปลดแล้วก็ฟ้องร้องกันไป มันก็เป็นอุปสรรค ทีนี้คณะกรรมการสิทธิขัดแย้งกันเองยังไม่พอ ขัดแย้งกับเลขาฯ ยังไม่พอ มันก็ผลต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งเป็นสายๆ เป็นกลุ่มๆ สภาพไม่น่าพอใจ แล้วแก้กันไม่ได้ ทีนี้ปัญหาพวกนี้ก็มีความพยายามที่จะแก้กัน ก็มีสัมมนาประชุมกัน มันก็แก้ไม่ได้

การเมืองมีผลต่อภายในองค์กรมากหรือไม่ ในช่วงท้ายของกรมการสิทธิชุดที่แล้ว

ไม่มี ไม่มีใครมาแทรกแซงจากข้างนอก ไม่มี ภายในมีบ้าง

ในช่วงท้ายๆ ของกรรมการสิทธิชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลทักษิณก่อนโดนรัฐประหาร กรรมการสิทธินั้นมีความคิดเห็นต่างกันมาก

        มันก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมาก เพียงต่างคนก็ไม่พูดกัน แล้วเรื่องที่จะเข้ามาเป็นเป็นปัญหากับการทำงาน จำได้ว่าแทบไม่มี ก็มีบ้าง สนธิ (ลิ้มทองกุล) ก็ให้ทนายมาร้องเรียนกรณีเขาถูกตำรวจออกหมายจับ มาร้องเรียน 2 ครั้ง เราก็รับตรวจสอบ ผมก็เรียกตำรวจมาสอบถามทำไมไปออกหมายจับ เขาก็บอกไม่จับไม่ได้ออกหมายเรียกมา 3 ครั้งแล้วไม่มา ตามหลักแล้วออกหมายเรียก 3 ครั้งแล้วไม่มาก็ต้องออกหมายจับ ซึ่งก็ถือว่าละเมิดสิทธินะ ก็มาร้อง
เรื่อง สงครามยาเสพติด ตั้งแต่ปี 47 ก็ไม่มีปัญหา ก็ตรวจสอบใครมาร้องเรียนที่ถูกละเมิดสิทธิ การจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบ หรือว่าสามีถูกฆ่าตาย พ่อถูกฆ่าตาย เราก็รับเรื่องร้องเรียน โชคดีที่คนมาร้องเรียนน้อยมาก เท่าที่ผมจำได้แค่ 31 ราย เรื่องคนถูกยิงตาย ตอนนั้นคนถูกยิงตายเยอะ ถูกจับก็เยอะ แต่มาร้องเรียนน้อย

        แม้ว่ากรรมการสิทธิจำนวนไม่น้อย ไม่ชอบรัฐบาลทักษิณ วิพากษ์วิจารณ์กัน และมีแนวโน้มรับเรื่องร้องเรียน ถ้าร้องรัฐบาลทักษิณ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาการเมืองภายใน จนกระทั่งแม้แต่ก่อนหน้ารัฐประหาร มีกรรมการสิทธิส่วนหนึ่งไปร่วมชุมนุม ไปสังเกต หรือกระทั่งไปขึ้นเวทีด้วยนะ ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะถือเป็นเสรีภาพของแต่ละคน

        จนกระทั่งหลังรัฐประหาร มีกรรมการสิทธิด้วยกันถามบ้างว่าผมไปร่วมชุมนุม ตอนนั้นผมยังไม่เป็นแกนนำ ก็ถาม ผมบอก เอ้า! ผมก็ต้องไปร่วมชุมนุมอยู่แล้ว เหมือนกับตอนพันธมิตรฯ พวกคุณก็ไปชุมนุม แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นะ

       จนกระทั่งผมประกาศตัวเป็นแกนนำคนหนึ่งของ นปก. ก็ไม่ได้มีใครมาห้ามอะไรหรอก แล้วก็ตอนถูกถอดถอน คือการเมืองระดับชาติไม่ได้มีปัญหาอะไรเท่าไหร่กับพวกนี้หรอก กรรมการสิทธิเขาก็เฉยๆ ไม่รู้หรอกว่าเขาเห็นด้วยกับการถูกจับ การถูกถอดถอน เขาก็เฉยๆ นะ เขาคงไม่เห็นด้วย คงเห็นใจผมหรอก แต่คงไม่อยากทำอะไร

       สรุป การเมืองระดับชาติไม่ได้มีผลอะไรเท่าไหร่หรอก ส่วนใหญ่เป็นปัญหาของกรรมการสิทธิด้วยกันแหละ ทีนี้ปัญหาพวกนี้มันต่อมาถึงปัจจุบันต่อ

เปรียบเทียบกรรมการสิทธิชุดแรกกับชุดนี้อาจารย์มองว่าอะไรคือความแตกต่างที่สำคัญ

       ตามความคิดของผม กรรมการสิทธิชุดแรกแม้นว่าที่มาดีกว่า องค์ประกอบก็ดีกว่า เพราะว่ามาจากเอ็นจีโอ มาจากผู้นำชาวบ้าน คือคุณอาภร วงษ์สังข์ มาจากอาจารย์มหาวิทยาลัยคือ ผมกับอาจารย์เสน่ห์ (จามริก) มาจากนักกฎหมาย มาจากหมอ คือในแง่องค์ประกอบหลากหลายกว่า ที่มาก็ดีกว่า แต่มีสภาพเหมือนกันกับปัจจุบัน คือเหมือนในแง่ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน กรรมการชุดแรกผมว่าความเข้าใจสิทธิมนุษยชนไม่เหมือนกัน

       ผมเคยเสนอตอนตั้งกรรมการสิทธิใหม่ ตอนที่ยังไม่ครบ 11 คน ว่า ต้องมานั่งคุยกันเรื่องสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ทฤษฎี สิทธินั้น สิทธินี้ เข้าใจกันยังไง เหมือนกันไหม สอง) ที่เราคำว่างานสิทธิมนุษยชน มีงานอะไรบ้าง งานส่งเสริมทำอะไร งานตรวจสอบ งานเสนอแนะต่อรัฐบาล เสนอแนะต่อรัฐสภาก็ต้องมานั่งคุยกัน แล้วควรจะเอางานไหนเป็นหลัก ถ้าไม่เอางานงานไหนเป็นหลัก

       ในทางปฏิบัติ เรื่องตรวจสอบจะเป็นหลักอยู่แล้ว เพราะคนจะมาร้องเรียน ทั้งบุคลากร เวลา งบประมาณก็ไปทางตรวจสอบ งานส่งเสริม ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องไปจัดอบรม สัมมนา เขียนเป็นหนังสือ แต่ว่ายังน้อยนะ

       คือสิ่งที่กรรมการสิทธิชุดแรกทำไม่สำเร็จ ชุดนี้ก็ยังทำไม่สำเร็จ ผมไปบางประเทศมา กรรมการสิทธิกับสื่อมวลชนเขาให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนค่อนข้างดี หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ รายเดือน ก็จะมีคอลัมน์สิทธิมนุษยชนเลย อย่างที่ออสเตรเลีย หรือมาเลเซีย ของเราอยากจะมีสื่อมวลชนสิทธิมนุษยชน ตอนนั้นผมพยายามทำ มีคอลัมน์อยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน

        เรื่องที่อยากให้มีนักข่าวสิทธิมนุษยชน เรายังทำไม่ได้ ใหม่ๆ มีนักข่าวประจำ กสม.นานเข้าก็หายไป ยกเว้นเราจะจัดกิจกรรมหรือแถลงข่าว ที่นักข่าวหายไปเพราะว่าไม่ค่อยมีข่าว ไม่รู้จะเอาข่าวอะไรนะ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนยังไม่ดี คือเรายังใช้สื่อมวลชนเผยแพร่สิทธิมนุษยชนเรายังทำไม่สำเร็จ ชุดนี้ผมว่าก็ยังไม่สำเร็จนะ

        ที่ผมเสนอ เราใช้คำว่าพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศต่างๆ จะคล้ายกัน คือแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ฝ่ายที่ถูกละเมิด เราต้องสร้างพันธมิตรกับกลุ่มเอ็นจีโอ กับกลุ่มองค์กรแรงงาน เกษตรกร สื่อมวลชน

        แล้วอีกส่วนเราต้องไปสร้างพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับผู้ที่มีแนวโน้มละเมิดสิทธิ คือ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักธุรกิจ นายทุน เราก็พยายามทำ คืออย่างแรกเราทำไม่ได้เลยกับผู้ที่มีแนวโน้มละเมิดสิทธิ ความจริงเราควรจะทำ ผมก็เสนอความเห็นว่าเราควรจะไปทำกับสภาอุตสาหกรรม หอการค้า กับทหาร ตำรวจ ไปฝึกอบรมทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ส่วนใหญ่เราจะทำกับผู้ที่มีแนวโน้มถูกละเมิด ถูกไหม ถูก แต่จะต้องทำกับอีกฝ่ายด้วย เพราะเราทำกับผู้ที่ถูกละเมิดอย่างเดียวมันก็แก้ปัญหาไม่ได้ เขาตื่นตัวขึ้นมาแล้ว เขาไม่ยอมให้ถูกละเมิดแล้ว แต่ก็ยังมีคนละเมิดอยู่โครมๆ

        ความรับรู้และเข้าใจของคนในสังคมไทย มันน้อยมาก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีกรรมการสิทธิ ผมว่าจนถึงปัจจุบันนี้มีกรรมการสิทธิมา 11 ปีแล้วนะ คนที่รู้ว่ามีกรรมการสิทธิมีไม่มากหรอกไม่กี่เปอร์เซ็นต์ คนที่รู้จำนวนไม่น้อยก็มีทรรศนะว่าคณะกรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอ

        เมื่อก่อนเจอรัฐมนตรี พวกปลัดกระทรวง เขาถือว่าผมเป็นหัวหน้าเอ็นจีโอ เขาคิดว่าคณะกรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอแล้วทัศนคติที่เขาไม่ชอบ ไม่ดีต่อเอ็นจีโอ ก็มาไม่ดีต่อกรรมการสิทธิ

       ประการที่สาม เขาไม่รู้คณะกรรมการสิทธิมีอำนาจอะไรจริงๆ เพราะบ่อยมากเราเรียกใครมาตรวจสอบ คนที่เขามาร้องมาใครละเมิดเขา เป็นทหาร เป็นตำรวจ มีหลายคนถามว่ากรรมการสิทธิมีอำนาจอะไร ทำไมจึงเรียกเขามา เขาไม่ได้อ่านกฎหมายหรอก

        เพราะฉะนั้นเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่รู้ หรือมีทัศนะว่าเป็นเอ็นจีโอ ก็เห็นว่าเป็นเสือกระดาษ รู้ว่าไม่มีอำนาจอะไรก็ไม่กลัว ยิ่งกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิไปจนถึงกระบวนการมีข้อเสนอแนะถึงนายก ถ้านายกไม่ทำก็ถึงรัฐสภา ปรากฏในช่วงเกือบ 10 ปี เรื่องของคณะกรรมการสิทธิ กรณีตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่ไปถึงสภาจริงๆ ยังไม่ถึง 10 เรื่องเลย น้อยมาก

        คืออย่างนี้ พอเราตรวจสอบแล้วว่าละเมิดสิทธิ เราก็ส่งให้ผู้ที่ละเมิดไปแก้ไข เราให้เวลา ถ้าผู้ละเมิดไม่ทำเราส่งให้นายกในฐานะหัวหน้า ถ้านายกไม่ทำเราส่งให้สภา

         เรื่องรายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิที่นายกไม่ดำเนินการใดๆ ต้องเข้าสภา เข้าไปน้อยมากแล้วก็ช้า พอเข้าไปแล้วบางทีคนถูกละเมิดอาจจะตายไปแล้วก็ได้ ยังไม่ได้เข้า พอเข้าไปแล้วไม่มีประโยชน์แล้ว พอเข้าไปแล้วสภาแค่รายงาน

         รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่มีผลอยู่บ้างที่มีผลต่อผู้ที่ละเมิด ก็ไม่ใช่ไม่มี ก็มีอยู่บ้าง ก็มีน้อยมาก อย่างเช่นคดียาเสพติด คนถูกจับแล้วก็ถูกซ้อม แล้วไปขึ้นศาล เมียก็ร้องเรียน เราตรวจสอบ ศาลยกฟ้องนะถือว่าจำเลยสารภาพเพราะถูกซ้อม อันนี้มีอยู่ หรือเรื่องยับยั้งการสร้างไอ้นั่นไอ้นี่ การละเมิดสิทธิชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมก็มีบ้าง แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้วน้อยมาก

        กลับไปเรื่องเดิมคือเรื่องช้า มันช้าทุกเรื่อง อย่างเช่น ตามหลักการและกฎหมายของไทย คณะกรรมการสิทธิปีหนึ่งๆ จะต้องเขียนรายงานอย่างน้อย 2 ฉบับ ฉบับแรกรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเพื่อให้รัฐบาล รัฐสภา

        อย่างสองรายงานประเมินผล ปรากฏว่าปีแรกไม่เสร็จ ของปีแรกไปเสร็จในปีที่ 3 คือมันช้าหมด

       ทีนี้บางประเทศเขาพลิกแพลงอย่างอินโดนีเซียเขา เอารายงานทั้งสองมาอยู่ในฉบับเดียวกัน ก็โอเค คือรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนมันเผยแพร่ทั่วไป คือให้ทั้งรัฐบาล รัฐสภา ถ้ารายงานประเมินผลการปฏิบัติงานต้องรายงานต่อรัฐบาลและรัฐสภาด้วย แล้วถ้าให้ดีต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วย เราก็พยายามแปล นี่ก็ช้าเหมือนกัน แล้วรายงานนี่ต้องให้รัฐสภามาพิจารณา ซึ่งไม่รู้ว่าปัจจุบันไปถึงรัฐสภากี่ฉบับ

       เราเริ่มทำงานตั้งแต่ 13 ต.ค. 44 พอถึง ต.ค.45 ก็ต้องหนึ่งเล่มแล้ว ปรากฏว่าไปเสร็จเกือบปี 47 พอไปถึงคณะรัฐมนตรี ซึ่งไม่รู้ว่าอ่านหรือไม่อ่าน พอไปถึงสภาเหตุการณ์มันเกิดเมื่อ 3 ปีที่แล้วมันก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติ

ที่บอกว่ากรรมการสิทธิแต่ละคนเข้ามาโดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่ไม่เหมือนกัน ในช่วงหลังรัฐประหาร และเหตุรุนแรงทางการเมืองต่อเนื่องกัน มีคำถามจากฝั่งเสื้อแดงว่ากรรมการสิทธิของไทยให้ความสำคัญกับสิทธิทางการเมืองน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือความจริงอยู่ที่ความช้าอย่างที่พูดมา

         คณะกรรมการสิทธิชุดแรก สถนการณ์ใต้ปี 47 ก็รับเรื่องร้องเรียนและลงไปตรวจสอบหลายกรณี แต่ส่วนใหญ่ก็ทำไม่สำเร็จ ตรวจสอบเสร็จบ้างก็มี นี่มีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันก็มีนะในหลายกรณี

อย่างกรณี 31 ศพ (สงครามยาเสพติด) ก็มีที่สอบสวนและทำรายงานเสร็จบ้างใช่ไหม

เสร็จเป็นบางเคส

กสม. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญก่อตั้งมา 11 ปีแล้วน่าจะต้องทบทวนประสิทธิภาพและบทบาทหรือไม่ เช่น ประสิทธิภาพของกรรมการสิทธิที่ทำงานแก้ปัญหาหรือเยียวยาได้แค่ไม่กี่เคส (หัวเราะ) คือสภาพกรรมการสิทธิเกือบทุกประเทศคล้ายกัน พอเข้าปีที่ 2 ที่ 3 พวกเอ็นจีโอหายละ เริ่มหันหลัง เริ่มไม่ชอบ เริ่มวิพากษ์วิจารณ์

          คณะกรรมการสิทธิมาเลเซียถูกเอ็นจีโอวิจารณ์หนัก เพราะเขาไม่ได้เป็นองค์การอิสระจริงๆ มาจากนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง แล้วเขาก็กลัวด้วย ฟิลิปปินส์ก็เหมือนกัน คณะกรรมการสิทธิอินโดนีเซียก็เหมือนกัน

         คณะกรรมการสิทธิอินเดียยิ่งแล้วใหญ่ คือคณะกรรมการสิทธิทุกที่ เอ็นจีโอทางด้านสิทธิและเอ็นจีโอทั่วไปที่เป็นคนให้กำเนิด มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง พอเข้าปีที่ 2 ที่ 3 จะหันหลังแล้ว เพราะทำงานไม่ได้อย่างที่คาดหวัง และจุดยืนอย่างกรรมการสิทธิศรีลังกาถูกวิจารณ์น่าดู ว่าไปเข้าข้างรัฐบาลกรณีทมิฬ ว่าไม่เข้าข้างผู้ถูกละเมิด แต่ก็ยังไม่มีความเห็นค่อนที่ข้างรุนแรงจากที่ไหนว่าต้องเลิก มีดีกว่าไม่มี

         มีความพยายามที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เช่นแก้ไขกฎหมาย ปรับการทำงาน ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างมากคือกรรมการสิทธิประเทศแอฟริกาใต้ เพราะว่ามีบริบททางการเมืองอยู่ ที่อื่นก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่

         ทีนี้ของไทยเรามันมาเพิ่มก็คือว่า ในช่วงหลังสังคมการเมืองทั่วไปก็ไม่ชอบกรรมการสิทธิ ไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่ากรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอ เป็นพวกสิทธิมนุษยชน ต่อมาไม่ชอบเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง เมื่อกรรมการสิทธิไปแสดงคล้ายกับว่าไม่ทำอะไร หรือว่าไปแสดงเป็นฝักฝ่ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คนก็ไม่ชอบ

         รัฐบาลทุกรัฐบาลก็ไม่ชอบอยู่แล้ว ไม่มีรัฐบาลที่ไหนชอบกรรมการสิทธิหรอก ยิ่งในเอเชีย ไม่ว่ารัฐบาลมาเลเซีย รัฐบาลไทย มีรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่ยังไม่เท่าไหร่นะ เพราะกรรมการสิทธิเกิดขึ้นจากการต่อสู้ร่วมกันจากการต่อต้านมาร์กอส

        ผมเพิ่งไปฟิลิปปินส์เมื่อเดือน มี.ค.ก็ไปพบประธานกรรมการสิทธิก็ถามเรื่องนี้เหมือนกัน ก็บอกว่ากรรมการสิทธิ์เขาต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลเอาไว้ ไม่อย่างนั้นของบประมาณหรือความสนับสนุนช่วยเหลือไม่ได้ ของฟิลิปปินส์เขามีความสัมพันธ์ที่ดีนะ ถึงกับของบประมาณเช่าเอลิคอปเตอร์ คนที่ถูกละเมิดสิทธิที่จำเป็นต้องพาเข้ามะนิลาเพราะประเทศเขาเป็นเกาะ แล้วก็มีโรงพยาบาลด้วย มีห้องหมอห้องพยาบาลของกรรมการสิทธิ์ เพราะคนถูกละเมิดมาบางทีต้องตรวจรักษาพยาบาลเอง ถ้าไปหาแพทย์แล้วแพทย์ไปเข้าข้างอีกฝ่ายก็จะมันมีปัญหา เขาวางรากฐานไว้ดี ของฟิลิปปินส์มีตั้ง 16 สาขามั้ง ของไทยเราไม่มี

        เพราะฉะนั้น กรรมการสิทธิ์ไทยชุดที่แล้วกับชุดนี้ก็จะมีปัญหาเหมือนๆ กันคือ เอ็นจีโอไม่ค่อยชอบ รัฐบาลไม่ค่อยชอบ สังคมการเมืองก็ไม่ชอบ ในสถานการณ์อย่างนี้จะทำอย่างไร จะปรับปรุงจะแก้ยังไง บางคนบอกให้เลิกเลย ให้ยุบไป (หัวเราะ)

ถ้าเราตัดทัศนคติจากภายนอกว่าชอบไม่ชอบออกไป แล้วดูจากผลงานเพราะตอนนี้องค์กรของกรรมการสิทธิ์ค่อนข้างใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ผลงานยังไม่เข้าตาเท่าไหร่ อาจารย์มองว่าควรจะมีองค์กรนี้อยู่ต่อไปไหม

ยังควรจะมี แต่เอาผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามารวมด้วย

ทำไมไม่กลับไปใช้ช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา หรือศาลปกครองแทนเหมือนในยุโรปบางประเทศ

         คือ ศาลปกครองต่างจากกรรมการสิทธิ์ตรงศาลปกครองมีอำนาจตัดสินแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิได้เด็ดขาด อันนี้เป็นข้อดี ของคณะกรรมการสิทธิ์เป็นกึ่งตุลาการ ส่วนใหญ่แก้ปัญหาผู้ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ค่อยได้ แต่เป็นองค์การที่เข้าเสริม ตอนแรกผมคิดว่างานของคณะกรรมการสิทธิควรเน้นแนวทางการทำงาให้เน้นการส่งเสริม การเผยแพร่ และการเสนอแนะต่อรัฐสภาและรัฐบาล ตรวจสอบให้เป็นเรื่องรอง แต่ก็มีปัญหาอีกถ้าไม่ตรวจสอบเป็นเรื่องหลัก คนถูกละเมิดอยู่โครมๆ ทุกวันๆ ไม่อย่างนั้นก็ต้องมีองค์การอื่นที่ไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิซึ่งก็ไม่ได้อีก เพราะมีคณะกรรมการสิทธิ์แล้วไปเรียกร้องให้มีองค์การอื่นมาตรวจสอบ มันไม่ได้ นี่มันก็เป็นปัญหา

จากประสบการณ์ของอาจารย์ ตอบได้ไหมว่าทำไมการทำงานของกสม. จึงล่าช้า

        หนึ่ง) เนื่องจากว่ามันมีอำนาจไม่เพียงพอ การตรวจสอบจึงไม่สามารถที่จะได้ข้อมูล ได้ข้อเท็จจริง ได้พยาน หลักฐานอะไร เพราะว่าเราไม่ได้มีอำนาจเหมือนตำรวจ

       สอง) โดยหลักการของกรรมการสิทธิอีก หลักการสิทธิมนุษยชนไม่อนุญาตให้เรา เพื่อให้ได้การแสวงหาความจริง จะไปทำอะไรแรงๆ ก็ไม่ได้อีก เช่น เวลาสอบสวนเราไปขู่ไม่ได้นะ เราเที่ยวไปขู่ไปหลอกล่อ ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ถูกสอบสวน

        สาม) กรรมการสิทธิชุดปัจจุบันเขาแก้หน่อยหนึ่ง ซึ่งผมยังคิดว่าอาจจะไม่ถูก ก็คือว่าเขาให้ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิเป็นคนหา คณะกรรมการแค่มาพิจารณาเหมือนกับศาลพิจารณาคดี พิจารณาสำนวน

        ความจริงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติการ เขาให้คณะกรรมการมาตรวจสอบจะมีปัญหามาก ชุดนี้ยิ่งช้า อย่างเช่น ปปช.ทุกกรณีต้องตั้งอนุกรรมการ มีเป็นไม่รู้กี่ร้อยชุด เป็นพันชุดมั้ง

         กรรมการสิทธิชุดแรกมี 11 คน ต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ทีนี้ตั้งอนุกรรมการเป็นเรื่องๆ เป็นกรณีๆ แบบ ปปช.ก็ไม่ได้ มันจะเยอะมาก เช่น ถ้ามาร้องเรียน 3,000 ราย ก็ต้องตั้งอนุฯ รวมกัน เช่น ตอนนี้มีอนุกรรมการสิทธิการเมืองและพลเมือง อนุกรรมการสิทธิเด็ก สตรี และเยาวชน อย่างผมเป็นประธานอนุกรรมการสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน แล้วก็อนุกรรมการสิทธิชนชาติส่วนน้อย อนุกรรมการสิทธิการศึกษา โดยระบบนี้มันทำให้ช้า แต่ประสบการณ์ของผม คือความสามารถทั้งในการตรวจสอบทั้งในการเขียนรายงาน เขียนรายงานช้ามาก ทีนี้เขียนก็ช้า มาถึงอนุกรรมการพิจารณาก็ช้าอีก กว่าจะเสร็จก็หลายครั้ง ขึ้นถึงคณะกรรมการก็พิจารณากันอีก มันช้าทุกขั้นตอน ตอนหลังถึงใช้วิธีจ้างคนอื่นมาเขียน ก็ไม่ได้อีก คนที่มาเขียนได้จะต้องอยู่ในอนุ

         กรรมการสิทธิชุดนี้แม้นว่าจะมีสภาพคล้ายกันกับกรรมการชุดแรก แต่ที่มาก็ควรแก้ให้มีความชอบธรรมหน่อยหนึ่ง คือมาจากการสรรหาของคน 7 คน มาจากผู้พิพากษา เป็นตุลาการเสีย 5 คน มาจากประธานรัฐสภา จากผู้นำฝ่ายค้าน อันนี้ต้องเปลี่ยน มันต้องเลือกเหมือนชุดแรก ให้สภาเป็นคนเลือก แต่ว่าในบางประเทศเขาให้นายก ให้ประธานาธิบดีส่งมา เหมือนศรีลังกา ผมยังคิดว่าต้องให้เลือก ให้มาจากการเลือกตั้ง ในการทำงานไม่เน้นการตรวจสอบ ให้เน้นการส่งเสริม เผยแพร่ เสนอแนะ มีคนวิจัยและสรุปแบบนี้มาเยอะ แต่ในความเป็นจริง ถ้าไม่เน้นการตรวจสอบ คนถูกละเมิดสิทธิมาร้องเรียน การตรวจสอบมันเป็นงานหลัก จะแก้ยังไงผมยังคิดไม่ออก

อาจารย์ยืนยันว่าแม้จะทำงานช้าแต่ว่าต้องมีไว้

         ความจริงระบบสิทธิมนุษยชน นี่พูดทั้งโลกเลยนะ ของสหประชาชาติก็ช้าเหมือนกันนะ ยกตัวอย่างเช่น ผมร้องเรียนไปเกือบ 2 ปีครึ่งแล้วนะต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ผมไปตามมา 2 ครั้งแล้ว ยังไปไม่ถึงไหน ผมร้องเรียนกรณีถูกสลายการชุมนุม ผมร้องเรียนไป 2 ครั้ง ครั้งแรกที่ถูกจับกุมและถูกถอดถอน สมัยนั้นยังไม่ยกระดับเป็นคณะมนตรี ยังเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เขาตรวจสอบเสร็จนะ แต่ตรวจสอบแบบสหประชาติคือให้รัฐบาลไทยชี้แจง รัฐบาลสุรยุทธ์ (จุลานนท์) ชี้แจงไป ผมร้องเรียนว่าถูกจับกุมคุมขัง ประชาชนถูกสลายการชุมนุมหน้าบ้าน พล.อ.เปรม ต่อมาถูกถอดถอน รัฐบาลสุรยุทธ์ชี้แจงว่าทำตามกฎหมาย ไม่ได้ละเมิดสิทธิ์ เอ้า! จบ

         แต่ยังดีนะ เรื่องผมผ่านสมัชชาใหญ่สหประชาชาตินะ เพราะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติต้องรายงานต่อสมัชชา แล้วต่อมาก็มีการปฏิรูปเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แล้วคนหนึ่งที่มีบทบาทในการปฏิรูปคือ อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งตอนนั้น โคฟี อันนัน ตั้งให้เป็นประธาน

        เรื่องผมร้องเรียนไป ยังไม่เข้าถึงคณะมนตรีเลย ตอนนี้ยังอยู่ที่คณะทำงานเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผมร้องเรียนไปตั้งแต่ 23 มิ.ย.2553 หลังเหตุการณ์ ผมได้รับคำตอบว่าได้รับเรื่องร้องเรียนแล้วเดือน ก.ย. คิดตั้งแต่เดือนกันยามาถึงตอนนี้ก็เกือบ 2 ปี คือมันช้า ระบบสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ช้า ไม่มีประสิทธิภาพ แต่ทำไมต้องมี เพราะว่ากระแสโลกปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนเป็นกระแสใหญ่ของโลก สหประชาชาติจะไม่มีองค์การ ไม่มีงานด้านนี้ไม่ได้เลย แม้จะไม่มีประสิทธิภาพก็ต้องมี มีปฏิญญาสิทธิมนุษยชน มีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้งหมด 7-8 ฉบับ แล้วก็มี สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน มีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน มันต้องมีเพราะสิทธิมนุษยชนเป็นสาเหตุเบื้องต้นพื้นฐานอันหนึ่งของการที่มีการรบราฆ่าฟัน สงคราม สังหารหมู่ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มันต้องมีแต่ทำยังไงให้มีประสิทธิภาพ 

          ที่มีประสิทธิภาพหน่อยคือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
เขาก็มีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ เป็นองค์กรที่มาปฏิบัติ ในประเทศไทยก้มีตัวแทนอยู่ แต่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัย นั่นเป็นงานช่วยเหลือคน ทำได้อยู่แล้ว แต่นี่เป็นงานทั้งส่งเสริมและคุ้มครอง เช่น ผมไปร้องเรียนไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง สมัยเกิด คมช. ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน วันก่อนเห็นมีคนไปร้องเรียน พวกกรีนไปร้องเรียนว่ารัฐบาลไทยไม่ขอให้อเมริกาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ไปร้องเรียนผู้แทนสิทธิมนุษยชน เข้าไหม ก็เข้าอยู่ เพราะทักษิณ (ชินวัตร) ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนมาก คือตราบใดที่ประเทศไทยไม่ได้ร้องขอไป อเมริกาจะจับส่งมาได้ยังไง แล้วรัฐบาลไทยจะร้องขอไปทำไม พี่ชายนายก มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ก็เหมือนกับตอนที่พี่ชายชวน หลีกภัย โกงเงินธนาคารกรุงไทยไป 200 ร้อยล้าน หนีคดีอยู่ 20 ปี ชวนเป็นนายก 2 ครั้ง พวกเราก็พูด ใครๆ ก็พูด ไม่เห็นตามล่ะ (หัวเราะ)

กรรมการสิทธิชุดนี้เหลือวาระอีก 3 ปี อาจารย์ประเมินการทำงานยังไง และคิดว่าควรจะมีการปรับทิศทางการทำงานอย่างไรไหม

          ทิศทางคณะกรรมการสิทธิชุดที่ผมเป็นกับชุดนี้ ผมยังคิดว่าปัญหาการละเมิดสิทธิการเมืองและพลเมืองยังดำรงอยู่ โดยเฉพาะหลังรัฐประหารมา เพราะฉะนั้นจะต้องจับประเด็นนี้ให้มาก สิทธิพลเมือง กรรมการสิทธิชุดผมกับชุดนี้จับ เช่น สิทธิชนชาติส่วนน้อย ตอนนั้นมีกรณีที่อำเภอแม่อาย ที่เชียงใหม่ สิทธิเรื่องสัญชาติจับไหม ก็ต้องจับเหมือนกันแต่ว่า มันไม่อยากใช้คำว่าเป็นหลัก อันนี้เป็นเรื่องยุทธศาสตร์นะ

         คณะกรรมการสิทธิต้องวางยุทธศาสตร์ ประเทศไทยโดยหลักการปารีส โดยปฏิญญาเวียนนา ให้แต่ละประเทศมีแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศไทยก็มี นี่เป็นแผนที่ 3 แล้ว แผนแรกหายวับ แผนแรกผมมีส่วนร่างด้วย ร่างโดยคณะกรรมการฉลอง 50 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คุณอานันท์ (ปันยารชุน) เป็นประธาน

          แผนแรกประกาศใช้ในรัฐบาลชวน หลีกภัย แต่ก็เงียบ ตอนรัฐบาลไทยรักไทยผมก็เสนอเหมือนกันให้สนใจแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปรากฏว่าเขาไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ จนกระทั่งจบแผนแรกขึ้นแผนที่ 2 อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ วันหนึ่งก็เกิดสนใจขึ้นมา ก็ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิไปจัดประชุมที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลว่าจะร่างแผนที่ 2 กัน ปรากฏแผนที่ 2 กว่าจะร่างเสร็จก็เอาให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบ กระทรวงยุติธรรมก็ out source มาให้จุฬา ทำไปทำมากว่าจะเสร็จก็นาน แผน 2 เสร็จก็เงียบหายเหมือนกัน ตอนนี้แผน 2 จะจบแล้วมั้ง ตอนที่ร่างแผน 2 ผมก็เข้าไปมีส่วนนิดหน่อย เพราะตอนนั้นเริ่มอยู่ในช่วงรัฐประหารเผด็จการ

          ทีนี้คณะกรรมการสิทธิต้องมียุทธศาสตร์ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ใช่แผนของคณะกรรมการสิทธินะ เป็นแผนของรัฐบาลซึ่งหลายประเทศมีแผนแบบนี้ แต่ของคณะกรรมการสิทธิเองต้องมีแผนยุทธศาสตร์ว่า ในช่วง 5 หรือ 6 ปีที่เป็นกรรมการสิทธิ ยุทธศาสตร์หลักอยู่ที่ไหน ตอนกรรมการสิทธิชุดแรกก็ร่างกัน ใช้คำว่ากลยุทธ พวกผมไม่เห็นด้วย มันเป็นศัพท์ทางธุรกิจ เลยมาเป็นยุทธศาสตร์สิทธิมนุษยชน มี 7-8 ยุทธศาสตร์ ทีนี้ผมไม่รู้คณะกรรมการสิทธิชุดใหม่แผนยุทธศาสตร์มีอะไรบ้าง จะเน้นเรื่องอะไร ฟิลิปปินส์เขาเน้นเรื่องสิทธิพลเมืองการเมืองเท่านั้น สิทธิอื่นไม่เน้น เชาบอกเรื่องแรงงานก็มีกระทรวงแรงงาน เรื่องเด็กอย่างของเราก็มีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ของฟิลิปปินส์เน้นสิทธิพลเมืองการเมืองตั้งแต่ต้นเลยจนถึงปัจจุบันนี้ ของเรามันเน้นทุกสิทธิ เราเอาทุกสิทธิ

         คณะกรรมการสิทธิชุดนี้ ความเห็นผมต้องกลับมาเน้นสิทธิพลเมืองการเมืองเป็นหลัก สอง) ต้องมีประสิทธิภาพ มีโชว์เคสดังๆ ที่แก้ปัญหาสำเร็จ ทีนี้กรรมการสิทธิชุดนี้ 3 ปีแล้วมีเคสอะไรดังๆ บ้าง

         กรรมการสิทธิชุดผมทำท่าจะเป็นโชว์เคส ก็คือกรณีการสลายการชุมนุมที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ กรณีท่อก็าซไทย-มาเลเซีย ถือเป็นโชว์เคส ตอนนั้นเพราะทำโดยคนที่ไม่ชอบทักษิณ พวกวสันต์ พานิช หมอประดิษฐ์ (เจริญไทยทวี) แล้วก็ปลายคณะกรรมการสิทธิชุดที่แล้ว ทำท่าจะเป็นโชว์เคส ตอนนั้นผมบอกนี่ต้องเคารพ กรณี 7 ตุลา (สลายการชุมนุมพันธมิตรฯ) ปรากฏว่ายังไม่ถึง 7 วัน เหมือนกับว่าเสร็จแล้ว ผมบอกว่าทำไมขยันขันแข็งกันจริงๆ สมัยที่ผมเป็นกรรมการสิทธิ เรื่องเล็กๆ กว่าจะเสร็จก็ครึ่งปี 1 ปี นี่ 7 วันเสร็จ ความจริงไม่ใช่ คือคุณสุรสีห์ (โกศลนาวิน) ไปเยี่ยมเยียน ไปถามคนที่เจ็บจากการสลายการชุมนุม แล้วมาแถลง แต่ว่าเขายังไม่ได้เขียนนะ แค่แถลงข่าวแต่ไปออกว่ากรรมการสิทธิตรวจสอบการละเมิดสิทธิและมีข้อสรุปประเมินผลแล้ว 7 วันนี่มันสุดยอด เพื่อจะเข้าข้าง เพื่อจะล้มรัฐบาลสมชาย

ความคาดหวังเรื่องรายงานการสลายการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อปี 2553

         คงออกไม่ได้หรอก ไม่รู้สิ ตอนที่เขาเรียกผมไปตรวจสอบการสลายการชุมนุม ผมก็ชี้เรื่องนี้ คนเสื้อแดงเขามองว่าเข้าข้างนะ ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ภูเก็ต ประชาธิปัตย์กับเสื้อเหลืองไปจนกระทั่งชุมนุมไม่ได้ จัดเวทีไม่ได้ กรรมการสิทธิเฉยเลย แต่พอเสื้อแดงไปละเมิดสิทธิเรื่องอะไรเล็กๆ ในกรุงเทพฯ อาจารย์อมรา (ประธานกรรมการสิทธิชุดปัจจุบัน) บอกว่าเป็นการละเมิดสิทธิชัดเจน ประชาธิปัตย์กับเสื้อเหลืองไปล้อมไปข่มขู่คุกคมจนกระทั่งเขาจัดไม่ได้ เรื่องโฟร์ซีซั่นเหมือนกัน ประธานกรรมการสิทธิออกมาแถลง ความจริงคณะกรรมการสิทธิประเทศต่างๆ เขาจะให้มีโฆษกหรือกรรมการแถลงแสดงท่าที ไม่ใช่รายงานผลการตรวจสอบ ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรื่องนี้กรรมการสิทธิมองยังไง แต่จะไม่ฟันธงว่าเป็นการละเมิดสิทธิเพราะยังไม่ตรวจสอบ ตราบใดยังไม่ตรวจสอบไปฟันธงไม่ได้ แต่แถลงได้ว่าเรื่องนี้เราวิตกกังวล อาจจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธินั้นสิทธินี้ จะให้ประธานหรือโฆษกแถลงเป็นระยะ ทีนี้อาจารย์อมราแถลงเรื่องโฟร์ซีซั่นว่า อย่าเอาเรื่องผู้หญิง และอย่าเอาเวลาราชการไปใช้ แทนที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจว่านายกเป็นผู้หญิงถูกกระทำ กลายเป็นตำหนิ

มันก็สะท้อนว่าไม่ค่อยถูกฝาถูกตัวเท่าไหร่กับการที่กระบวนเลือกสรรคนมาดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นการเลือกคนมาไม่เหมาะหรือเปล่า

         คือ แม้แต่ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีปัญหา คงไม่ได้ศึกษากันจริงๆ จัง เนื้อหาสิทธิมนุษยชนในแต่ละสิทธิเป็นยังไง ผมว่ากรรมการสิทธิมนุษยชนไทยมีปัญหานี้ จำนวนไม่น้อยนะ

อาจารย์บอกว่ารายงานสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่ว่ายังไม่เสร็จเรียบร้อย คิดว่าได้ดูทันวาระของกรรมการสิทธิชุดนี้หรือเปล่า

          ยาก เขาต้องปรับกันมาก ต้องรื้อแหละ จะออกมาแบบที่หลุดมาที่เป็นร่าง ออกมาอย่างนี้ไม่มีผลอะไร ถ้าจะมีผลคือทำให้อดีตนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ) เอาไปเป็นพยานหลักฐานในศาลว่า เห็นไหมกรรมการสิทธิบอกว่าไม่ละเมิดสิทธินี่ แล้วที่อภิสิทธิ์เอาไปอ้าง การชุมนุมศาลแพ่งเคยตัดสินว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบ นั่นศาลแพ่งตัดสิน คือการชุมนุมแบบนี้ศาลแพ่งเคยตัดสินมาแล้วในกรณี 7 ตุลา (การชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภา) ว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะมีอาวุธ ไม่สงบ ใช้ความรุนแรง

         ทีนี้ของพวกผมก็เหมือนกัน ตัดสินเหมือนกัน คือถ้าให้ศาลแพ่งตัดสินก็ต้องตัดสินอย่างนี้ มันจะนำมาอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สมมติว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ไปปราบปรามไม่ได้ สลายได้นะ ไปทำให้ยุติการชุมนุมได้โดยมาตรการจากเบาไปหาหนักได้ แต่ไม่ใช่การไปปราบ ไม่ใช่การไป suppression ทีนี้ที่อาจารย์พวงทอง (ภวัครพันธุ์) ชี้ คณะกรรมการสิทธิก็เถียงเหมือนกัน อย่างในหลายกรณี ที่จะนะ บางคนบอกว่าถือหอก ถือธง หมอประดิษฐ์ (เจริญไทยทวี อดีตกรรมการสิทธิ) บอกเหมือนกับเป็นอาวุธ คุณวสันต์ (พานิช อดีตกรรมการสิทธิ) บอกไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ มันเป็นธง เพียงแต่ทำใหญ่และแหลม แต่บางคนบอกว่าเป็น การเป็นอาวุธคือว่า ถ้าไปกระทำไปทำลายสิ่งของหรือทุบตีคน มันก็เจ็บ อันนี้สภาพเป็นอาวุธ ก็เคยเถียงกันเรื่องนี้

          ประการที่สอง แล้วกี่คนล่ะ มีคนชุมนุมอยู่ 500 คน พันคน สมมติไปจับคนพกปืน 1 คน มีมีด 20-30 คน ถือว่าการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไหมที่จะไปสลายทั้งหมด อาจารย์พวงทองบอกว่าต้องไปจับ ไปจัดการกับคนที่มีอาวุธ ไม่ใช่คนทั้งหมด อันนี้ก็เถียงกัน เถียงกันทุกประเทศด้วยว่า บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่แค่ไหนที่เรียกว่าไม่สงบ มีเครื่องขยายเสียง โห่ฮา ไปก่อความปั่นป่วน ห้ามไม่ให้รถเข้าออก ซึ่งในทางปฏิบัติคำว่า ไม่สงบ พิจารณายาก แค่ไหนที่เรียกว่าไม่สงบ มีอาวุธกี่คน ทุกคน ส่วนใหญ่ หรือบางคน

          สาม ต้องประเมินว่า สมมติว่ามีอาวุธแต่ไม่ได้เอามายิง มาแทง เพราะฉะนั้นกรรมการสิทธิชุดนี้ก็จะมีปัญหาในการพิจารณาแต่ละเรื่อง ซึ่งไม่ง่าย

           ทีนี้ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนไทยยังต่ำ สิทธิมนุษยชนมันเป็นเรื่องอารยธรรม ของไทยยังไปไม่ถึง หรือเรียกว่าวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน บางคนบอกว่าสิทธิมนุษยชนเอามาใช้กับประเทศไทยเร็วไป ยกตัวอย่างเรื่องคนเสื้อแดง จะมีปัญหาเรื่องทัศนะผู้ชายต่อผู้หญิง ผมว่าอยู่เรื่อยว่าอย่างนี้ไม่ดี ทัศนะเหมือนคนในสังคมทั่วไปแหละ ทัศนะดูถูกผู้หญิง เพราะว่ามันต้องอีกระดับหนึ่ง

             สรุป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบันนี้ต้องปรับเยอะ ด้านหนึ่งต้องแก้ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในกรรมการสิทธิชุดแรก อีกด้านหนึ่งพยายามให้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ถ้าไปยึดหลักอย่างอื่นก็จะมีปัญหา เช่น ไปยึดหลักความรู้อื่น หลักความคิดอื่น ตัวเองเป็นกรรมการสิทธิ ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชนก่อน ความรู้ทางสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ยังเป็นเรื่องรอง

            กรรมการสิทธิชุดที่แล้วเหมือนกัน บ่อยครั้งที่ไม่ได้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ไปยึดหลักการอื่น เช่น ความรู้ความเข้าใจอื่นๆ อาจารย์อมราเป็นสายสังคมวิทยา แนวโน้มก็จะไปเอาความรู้เดิม ไม่ได้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ในแง่สิทธิมนุษยชนว่าเป็นยังไง

           พวกผมชอบถามบ่อยๆ ก็ถามง่ายๆ ว่า อันนี้ละเมิดสิทธิอะไร ละเมิดยังไง เพราะถ้าไม่รู้ว่ามีสิทธิอะไร ทำอย่างนี้ไปละเมิดสิทธิอะไร สิทธิอะไรนั้นมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบ 1) มันละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย 2) อิสรภาพเสรีภาพ 3) อาชีพ เขาอาจจะเสียอาชีพ 4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ชื่อเสียง เกียรติยศ มันละเมิดเยอะแค่จากการจับ บางคนบอกทำผิดเพราะถูกกล่าวหา มีพยานหลักฐานชัดเจนว่าทำผิด พอเป็นเรื่องอย่างนี้ก็จบ มันต้องเริ่มจากสิทธิก่อน ส่วนว่าที่เขาถูกจับเพราะอะไรต้องพิจารณารอง ดูว่าอันแรกละเมิดสิทธิอะไรก่อน

          ผมอ่านอาจารย์อมราสัมภาษณ์หรือแถลงผมก็คิดว่ามีปัญหา กระทั่งอาจารย์เสน่ห์ก็มีปัญหา คือไม่ได้จับหลักสิทธิ อย่างเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องสิทธิไหม เป็นเรื่องสิทธิ แต่ว่าต้องเริ่มจากสิทธิก่อนแล้วตามมาด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

หมายเหตุ

         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. เกิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักสิทธิมนุษยชนที่ต้องการให้มีองค์กรทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในสังคมไทย เหมือนในประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

         ในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน ได้นำเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น ภายหลังการผลักดันอย่างหนักในสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจึงได้รับการบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2540
กสม.เป็นองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ดำเนินการภายใต้ พรบ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จัดทำข้อเสนอเพื่อคุ้มครองหรือส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานรัฐและคณะรัฐมนตรี จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปีเสนอต่อรัฐสภา และทำหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน กรรมการสิทธิดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว

         กรรมการสิทธิชุดแรก มี 11 คน ปฏิบัติหน้าที่ระหว่าง 13 ก.ค.2544 - 24 มิ.ย.2552 ประกอบด้วย

  • ศ.เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการ
  • ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย
  • คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร
  • นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
  • ศ.เกียรติคุณ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
  • นายวสันต์ พานิช
  • ผศ. ดร.สุทิน นพเกตุ
  • นางสุนี ไชยรส
  • นายสุรสีห์ โกศลนาวิน
  • คุณหญิงอัมพร มีศุข
  • นาวสาวอาภร วงษ์สังข์
         รัฐธรรมนูญ 2550 มีการปรับลดจำนวนกรรมการสิทธิลงเหลือ 7 คน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบันเป็นชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2252 และหมดวาระในปี 2558 ประกอบด้วย

  • ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ
  • นพ. แท้จริง ศิริพานิช
  • นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
  • นายปริญญา ศิริสารการ
  • นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
  • พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด
  • นางวิสา เบ็ญจะมโน


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล 
คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai