วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มึงเป็นใครกัน ถึงจะมีสิทธิ์มากำหนดชะตาประเทศไทย แทนเสียงของประชาชน


           คนเหล่านี้มันเป็นใครกัน  ถึงจำมากำหนดชะตาประเทศไทย มันใหญ่กว่า อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และเสียงของมวลมหาประชาชน


            ถามคำนึงเหอะ แต่ละชื่อ เชื่อได้ไหม๊.. ยะใสงี้ แซมดินงี้ และก็ อุทัย ยอดมณี เนี้ย???
กูจะเอาระบบการเลือกตั้ง กูไม่เอาเผด็จการ ได้ยินมั้ย

..เอาล่ะว่ะ.ได้ตัวเหี้ยมาดูแลประเทศ.เจริญล่ะประเทศนี้..มึงแบ่งแยกกันไปเลยป่ะ"ประเทศกรุงเทพ"..ไอ้พวกกบฏเหี้ย.พ่องมึงตาย..ไอ้สาดดดดดดดดดดด.




อะปิ๊สิด แถ







Andrew Stevens (นาทีที่ 1.30 ) ถามว่า ....

           “แต่สถานการณ์ในท้องถนนตรงข้ามกับที่คุณพูด แกนนำการประท้วงเข้ายึดสถานที่ราชการ ผมอยากถามคุณว่ามันเป็นประชาธิปไตยหรือที่ไปเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยยอมวางอำนาจ และมอบอำนาจให้กับกลุ่มคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง?”

http://edition.cnn.com/video/data/2.0/video/world/2013/12/02/nr-thailand-abhisit-vejjajiva.cnn.html — with Anna Jone.


****************************

รายงาน : ข้อเท็จจริงเบื้องต้น และ เสียงญาติผู้เสียชีวิต นศ.ราม-เสื้อแดง

รายงาน : ข้อเท็จจริงเบื้องต้น และ เสียงญาติผู้เสียชีวิต นศ.ราม-เสื้อแดง

ฟังเสียงญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะย่านรามคำแหง พร้อมข้อเท็จจริงเบื้องต้น สูญเสียทั้งสองฝ่าย เป็นความสูญเสียของสังคมไทย แต่กลับมีการปั่นความเกลียดชัง แชร์ว่อนเฟซบุ๊คผู้เสียชีวิตเป็นฝ่ายหนึ่งทั้งหมด และกล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กระทำ 
เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 30 พ.ย. ต่อเช้าวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงและราชมังคลากีฬาสถาน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 4 รายและผู้บาดเจ็บอีกจำนวนไม่น้อย เวลานั้นข่าวคราวต่างๆ เป็นไปอย่างสับสน ฝุ่นตลบ และจนถึงเวลานี้ข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่แชร์กันต่อเนื่องเป็นจำนวนมากยังคงรายงานว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นนักศึกษารามคำแหง บางส่วนมีการปลุกปั่นสร้างความเกลียดชังเคียดแค้นโดยการกล่าวว่าเป็นการกระทำของฝ่ายตรงข้าม ทั้งที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดต่างก็เป็นความสูญเสียของสังคมไทย ขณะเดียวกันหากดูการรายงานของสื่อมวลชนโดยทั่วไปก็ระบุถึงผู้เสียชีวิตเป็นเพียงตัวเลข และยกชื่อกรณีนักศึกษารามคำแหงเพียงคนเดียว ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้รับสารได้เช่นกัน
จากการตรวจสอบของประชาไทพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เสียชีวิต มีจำนวน 1 คน  คือนายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว นักศึกษาชั้นปี 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งยิงบริเวณชายโครงขวาจนเสียชีวิต ในช่วงเวลาประมาณ 19.30 น.ของวันที่ 30 พ.ย. ส่วนที่เหลืออีก 4 คน หากดูจาก
ผู้เสียชีวิต 4 คน แบ่งเป็นผู้ชุมนุมเสื้อแดง 3 คนซึ่งมาร่วมชุมนุมกับ นปช. ซึ่งขณะนั้นยังปักหลักชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถาน ใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปักหลักมาก่อนที่การก่อตัวของนักศึกรามฯ ซึ่งไม่พอใจการชุมนุมของนปช.จะเกิดขึ้น ส่วนอีก 1 คนที่พบเพียงโครงกระดูกในรถบัสที่ถูกเพลิงไหม้เหลือแต่ซาก ทราบภายหลังว่ารถดังกล่าวเป็นรถที่ขนเสื้อแดงมาจากต่างจังหวัด เนื่องจากวัน 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา Nation Channel รายงานด้วยว่า คนขับรถบัสคันดังกล่าวเข้าแจ้งความ พร้อมระบุได้ขับรถมาส่งคนเสื้อแดงเข้าร่วมชุมนุม ก่อนถูกชายฉกรรจ์จี้บังคับจนมาประสบเหตุไฟไหม้ ศพบนรถดังกล่าวยังไม่สามารถระบุตัวตนผู้เสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวข่าว 3 รายงานเมือวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า นางนฤมล คำพยัคฆ์ ได้มาดูหลักฐานจากแหวน และหัวเข็มขัดยืนยันว่าเป็นศพนายสุรเดช คำแปงใจ อายุ 17 ปี ลูกชายของเธอ ตำรวจอยู่ระหว่างตรวจดีเอ็นเอเพื่อยืนยันความถูกต้อง ส่วน เว็บไซต์เรื่องเล่าเช้านี้รายงานเพิ่มเติมว่า นางนฤมลทราบข่าวจากเพื่อนบ้านที่ได้ชมรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เมื่อดูภาพข่าวเห็นซากเคสเครื่องโทรศัพท์ หัวเข็มขัด กุญแจบ้าน เมื่อมาดูหลักฐานก็พบว่าเป็นของลูกชายจริง นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุยังพบแหวนหัวมังกรที่ลูกสวมไว้เป็นประจำจึงยิ่งมั่นใจ ด้านมติชนออนไลน์รายงานถึงปากคำนางนฤมลว่า ช่วงเช้าวันที่ 1 ธ.ค.นายสุรเดชโทรศัพท์มาบอกว่าจะออกไปกินข้าวกับเพื่อนก่อนจะหายตัวไป
สำหรับผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวประกอบด้วย
- พลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 22 ปี ถูกยิงเข้าที่ศีรษะ หลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง บริเวณซอยรามคำแหง 24 แยก 14 เวลา 01.55 น. ของวันที่ 1 ธ.ค. มีกำหนดฌาปนกิจวันที่ 4 ธ.ค. นี้ ที่วัดยาง อ่อนนุช23 เวลา17.00น.
- นายวิโรจน์ เข็มนาค อายุ 43 ปี ชาวตำบลพิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี กลุ่มแดงพิมลราช ถูกยิงเข้าที่หน้าอกด้านซ้าย บริเวณทางขึ้นประตู N สนามราชมังคลา เวลาประมาณ 04.00 น. ของวันที่ 1 ธ.ค. มีกำหนดฌาปนกิจวันที่ 7 ธ.ค. นี้  ที่วัดท่ามะขาม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
- วิษณุ เภาพู่ อายุ 26 ปี ถูกยิงด้านหลังทะลุอกด้านซ้าย กระสุนตัดขั้วหัวใจ บริเวณหน้าการกีฬาแห่งประเทศไทย ถนนรามคำแหง (กกท.) ช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 ธ.ค. มีกำหนดฌาปนกิจวันที่ 12 ธ.ค.นี้ ที่วัดลานบุญ ลาดกระบัง
คลิปขณะเสื้อแดงเข้าช่วยเหลือ วิโรจน์ เข็มนาค

สัมภาษณ์แม่เสื้อแดง เหยื่อกระสุนที่คนมองไม่เห็น

สุดารัตน์ เภาพู่ อายุ 50 ปี มารดาของ วิษณุ เภาพู่ ผู้ถูกยิงที่หน้า กกท.
สุดารัตน์เล่าว่า วิษณุอายุ 26 ปี เป็นช่างในบริษัทแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพิ่งแต่งงานเมื่อปีที่แล้ว โดยวันที่ 30 พ.ย.นั้น ตัวเธอพร้อมด้วยสามีและลูกชาย 2 คนคือ วิษณุ และน้องชายวิษณุอายุ 10 ขวบ มาร่วมชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถาน ครอบครัวของเธอมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. เป็นครั้งแรก ต่างจากวิษณุที่เข้าร่วมชุมนุมและเคลื่อนไหวกับ นปช. ตั้งแต่ปี 2552 และมาร่วมชุมนุมที่ราชมังคลาฯ หลายวันแล้ว
“วิษณุเขาไปกับเพื่อนเขานอนอยู่กับเพื่อน ตอนตี 4 – 5 เขานอนอยู่ตรงประตูราชมังคลาฯ เมื่อตนตื่นมาก็ไม่เป็นวิษณุแล้ว เพราะเขาเดินออกไปข้างนอกแล้ว แต่ช่วงกลางคืนวันที่ 30 นั้น วิษณุไม่ได้ออกไปนอกสนามกีฬา แต่จะขึ้นไปดูด้านบนและเดินรอบๆ สนามด้านใน”
“แม่ตี 5 กลับบ้านได้แล้วนะ”  สุดารัตน์ เล่าถึงคำพูดสุดท้ายของลูกชายที่กล่าวกับเธอ โดยที่ขณะนั้นพ่อของวิษณุตอบไปว่ายังกลับไม่ได้เพราะออกไม่ได้ แกนนำไม่ให้ออกอ้างเรื่องความปลอดภัย ทำให้เธอและคนอื่นๆ นั่งรอไปจนถึง 6 โมงเช้า หลังจากนั้นมีน้องของเพื่อนวิษณุไปหาที่บ้านเพื่อจะแจ้งข่าววิษณุถูกยิง เพราะคิดว่าเธอกลับมาบ้านแล้ว
“พี่แต๋ว (สุดารัตน์) อยู่ที่ไหนนี่ รู้หรือเปล่าว่าไอ้เอ้ (วิษณุ) โดนยิง” เสียงโทรศัพท์จากอาของวิษณุที่อยู่บ้านโทรมาแจ้งเธอพร้อมบอกว่า ตอนนี้วิษณุนั้นกำลังถูกปั้มหัวใจอยู่ เธอไม่เชื่อจึงได้โทรศัพท์ไปยังเบอร์ของลูกชาย เพื่อนของลูกชายรับแทนและกล่าวยืนยัน  
“ตอนนั้นใจคิดว่าลูกคงไม่รอด” สุดารัตน์ เล่าถึงความรู้สึกหลังคุยโทรศัพท์กับเพื่อนลูกชาย เมื่อได้ยินข่าวจึงเดินไปที่รถเพื่อขอออก แต่กลับถูกปฏิเสธและให้รอออกพร้อมกับผู้ชุมนุมคนอื่นๆ ทำให้ตนเองต้องรอจนกระทั่ง 8 โมงกว่า จากนั้นมุ่งหน้าไปโรงพยาบาลรามคำแหงเพื่อไปดูลูก ญาติที่ไปก่อนแจ้งว่าลูกชายเสียเลือดมาก หมอก็บอกว่าหลังจากปั้มหัวใจแล้วไม่ดีขึ้น คาดว่าเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาลแล้ว
ภาพสวดพระอภิธรรมศพวิษณุ ภาพโดยเฟซบุ๊ก Jittra Cotchadet
แม่ของวิษณุเล่าว่า เพื่อนลูกชายเล่าให้เธอฟังว่าวิษณุถูกยิงด้วยปืนจากด้านหลัง เนื่องจากรูกระสุนด้านหลังเล็ก แต่มันบานข้างหน้า บริเวณอกข้างซ้าย ตัดขั้วหัวใจ เกิดเหตุบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เนื่องจากเดินทางไปดูว่าเกิดอะไรในบริเวณนั้น โดยเดินไปกับผู้ชุมนุมเสื้อแดงหลายคน วิษณุไม่ได้ใส่เสื้อแดงแต่ใส่เสื้อยีนส์แขนยาว
สุดารัตน์ ยืนยันว่าลูกชายของเธอไม่ได้เป็นการ์ดเสื้อแดง เป็นผู้ชุมนุมธรรมดาและต้องทำงานเป็นเสาหลักของครอบครัว
“เป็นอะไรก็เป็นกันในวันนี้ ถ้าตายก็ขอให้ตายในหน้าที่เสื้อแดงอย่างสมเกียรติ” สุดารัตน์กล่าวถึงสิ่งที่ลูกชายพูดกับเธอก่อนมาชุมนุมวันที่ 30 พ.ย.
“เอ้เป็นเด็กเรียกร้อย เด็กดีมาก ชอบช่วยเหลือเพื่อนฝูง รักครอบครัว แล้วก็ตอนนี้ก็ส่งบ้าน ส่งที่ดินที่พึ่งซื้อ เขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว แถมยังมีน้อง 10 ขวบอีกที่เอ้ส่งเรียนหนังสือต่ อจากนี้ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ”

“รู้สึกเสียใจและไม่คิดว่าจะเกิดกับลูกเรา  อยากให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินคดีกับผู้ที่ยิงลูกตนเองให้ได้” แม่วิษณุกล่าว

ภาพสวดพระอภิธรรมศพพลทหารธนสิทธิ์  ภาพโดยเฟซบุ๊ก ธิดา ถาวรเศรษฐ

พลทหารเสื้อแดง 

พลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 22 ปี เสื้อแดงอีกคนที่ร่วมชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถาน ก่อนที่จะถูกยิงเสียชีวิต เมื่อเวลา 01.55 น.ของวันที่ 1 ธ.ค. บริเวณซอยรามคำแหง 24 แยก 14 โดยนิค นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระชาวเยอรมันรายงานว่า ขณะที่กลุ่มการ์ดเสื้อแดงเข้าสำรวจพื้นที่หลังเหตุปะทะระหว่างคนเสื้อแดงกับผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้าน นปช. ยุติลง ได้มีเสียงปืนดังขึ้น 6 นัดและกลุ่มการ์ดเสื้อแดงได้แบกร่างของการ์ดคนหนึ่งที่ไม่ได้สติออกมาจากในซอย นำส่งขึ้นรถของมูลนิธิร่วมกตัญญู  โดยชายเสื้อแดงไม่ทราบชื่อดังกล่าวมีบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนยิงทะลุหมวกกันน็อคเป็นบาดแผลบริเวณศีรษะ
ต่อมา โพสต์ทูเดย์ดอทคอม รายงานว่าทราบชื่อจากแฟนสาวผู้เสียชีวิตที่อยู่ในอาการโศกเศร้าว่า ชายคนดังกล่าวชื่อ พลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 23 ปี เป็นทหาร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เดินทางมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง และไม่ได้ทำหน้าที่การ์ดควบคุมการชุมนุมแต่อย่างใด ทั้งนี้ศพได้ถูกนำส่งโรงพยาบาลพญาไท 1 แล้ว
ผู้สื่อข่าวโพสต์ทูเดย์รายงานเพิ่มเติมจากการสอบถามกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ร่วมเหตุการณ์ปะทะเปิดเผยว่า ฝ่ายตรงข้ามได้เดินมาบริเวณซอยรามคำแหง  24 แยก 14 ด้านหลังสนามราชมังคลาฯ โดยโห่ร้องและตะโกนด่าคนเสื้อเเดง จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนรวมถึงผู้เสียชีวิตจึงหยิบไม้และขวดแก้วเป็นอาวุธออกไปต่อสู้ในซอยดังกล่าว ปรากฏว่าฝ่ายตรงข้ามได้ใช้อาวุธปืนยิงสวนมายังพลทหารธนสิทธิ์ นัดแรกไม่โดน จากนั้นได้ยิงนัดที่สองเข้าศีรษะทะลุหมวกกันน็อคจนเสียชีวิตคาที่ ทำให้ผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงแตกกระเจิง จากนั้นผ่านไปสักระยะทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้รีบไปนำร่างผู้เสียชีวิตออกมา 

ข้อมูลคลาดเคลื่อน (บิดเบือน?) ในโซเชียลมีเดีย

ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊ก พบว่า ผู้ใช้ชื่อ “โบว์ จ้า” ระบุว่าพลทหารธรรมสิทธิ์เสียชีวิตเพราะฝีมือกลุ่มคนเสื้อแดง พร้อมทั้งนำภาพเหตุการณ์ที่ไทยคม ซึ่งเป็นการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมเสื้อแดงกับเจ้าหน้าที่ทหาร (กรณีผู้ชุมนุมพยายามเข้าไปภายในรั้วสถานีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเชื่อมสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิล ชาแนล หรือ พีทีวี เมื่อวันที่ 9 เม.ย.53) มาโพสต์ประกอบคำอธบายการเสียชีวิตของพลทหารธรรมสิทธิ์ (ดูภาพเหตุการณ์วันที่ 9 เม.ย.53 ที่ ประมวลภาพเหตุการณ์ ปฏิบัติการสายฟ้าแล่บ "เสื้อแดง" ยึดสถานีดาวเทียมไทยคมใน 15 นาที !! (โดยเฉพาะภาพที่ 39) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1270807997)

 
ที่สำคัญ ภาพดังกล่าวถูกแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ “โบว์ จ้า” ยังเผยแพร่ภาพสวดอภิธรรมศพพลทหารดังกล่าวนั้น จากการตรวจสอบพบว่าเป็นภาพเดียวกับภาพที่ปรากฏอยู่ในเฟซบุ๊ก ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ที่เข้าร่วมงานสวดอภิธรรมศพเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา 

 

อันที่จริงมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊คจำนวนไม่น้อยและได้รับการแชร์ต่อๆ กันหลายร้อยจนถึงหลายพันแชร์ เช่น การแชร์ภาพ 6 ศพวัดปทุมฯ (19 พ.ค.53) โดยระบุว่าเป็นภาพการเสียชีวิตของนักศึกษารามคำแหง ของเพจกองทัพนิรนาม ซึ่งเป็นเพจต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต่อมาเจ้าของเพจได้ลบภาพดังกล่าวไป หรือการที่เพจชมรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง เพจ youlike south - คลิปใต้หรอยๆ ฯลฯ เผยแพร่รายชื่อของผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.โดยระบุว่าเป็นนักศึกษารามคำแหงทั้งหมด 4 ราย คือ นายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว นายฉัตรชัย ดำประสงค์ นายเสน่ห์ จันเกิด และ นายจีระพงศ์ ครชาตรี
ภาพการโพสต์รูป 6 ศพวัดปทุมฯ ที่ถูกยิงเมื่อ 19 พ.ค.53 ของเพจกองทัพนิรนาม เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา

 
การโพสต์ของเพจดังกล่าวส่งผลให้มีผู้กดไลค์และแชร์จำนวนมากทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเสียชีวิตหมดทั้ง 4 คน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเปรียบเทียบกับรายชื่อของศูนย์เอราวัณล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. พบว่ารายชื่อที่ตรงกันว่าเสียชีวิตนั้นมีเพียง 1 ราย คือ นายทวีศักดิ์ ขณะที่ นายฉัตรชัย นั้นเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 11.00 น. ซึ่งเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บนั้น เนชั่น รายงานว่าได้เตินทางมากับ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. เพื่อมาร่วมตัวสอบกับสื่อมวลชนในที่เกิดเหตุ โดยนายฉัตรชัย กล่าวด้วยว่า ตนเองพร้อมเพื่อนอีกสามคนพบเห็นผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ตนนั้นได้ถูกลูกหลง ถูกกระสุนยิงเข้าบริเวณขาขวา โดยกระสุนมาจากฝั่งตรงข้ามหลังรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเพื่อนของตนก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ขณะนี้อาการปลอดภัยแล้ว
ขณะที่ นายเสน่ห์ จันเกิด และ นายจีระพงศ์ ครชาตรี ศูนย์เอราวัณ รายงานตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.แล้วว่าได้รับบาดเจ็บ โดยเสน่ห์ จันทร์เกิด ถูกกระสุนที่แขนขวา 1 นัด ส่วนนายจีระพงศ์ ครชาตรี ซึ่งศูนย์เอราวัณรายงานว่านามสกุล คลองชาตรีพงศ์ นั้น ถูกกระสุนที่ขาขวาเหนือเข่า 1 นัด
นี่เป็นเพียงเพจจำนวนหนึ่งที่เผยแพร่ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อน ความเร็วและง่ายของการแชร์ข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งผู้คนมักไม่ตรวจสอบ อาจสามารถเปลี่ยนเจตนาจากความต้องการเผยแพร่ความจริง ให้กลายเป็นการปลุกปั่นความเกลียดชังอย่างไม่ควรจะเกิดขึ้นได้เพียงแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก

พ่อแม่รับศพ นศ.รามฯ ลูกชายคนเดียวที่เสียชีวิต วอนอย่าให้เกิดซ้ำ

ขณะเดียวกันความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับศึกษารามคำแหงนั้น เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้จัดการออนไลน์ รายงานความรู้สึกของพ่อและแม่ของนายทวีศักดิ์ คือ นายนราเมศวร์และนางสุรีย์ ธีระรังสิกุล ว่า ครอบครัวยังรู้สึกเศร้าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ต้องการให้นำกรณีการเสียชีวิตของบุตรชายมาเป็นประเด็นทางการเมืองหรือหยิบยกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการของกฎหมายและขอให้บ้านเมืองสงบสุขโดยเร็ว ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา สบ10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เข้ามาพูดคุยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และนำหลักฐานที่พบในตัวนายทวีศักดิ์ คือลูกกระสุนขนาด 11 มม.ให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตดู และรับปากว่าจะให้ความเป็นธรรม คลี่คลายปัญหา ขณะที่พ่อของผู้เสียชีวิตระบุว่า ที่ผ่านมาถูกกดดันให้เลือกข้าง แต่ขอยืนยันว่าผู้เสียชีวิตไม่มีฝ่าย ทั้งนี้ ทางญาติจะเคลื่อนศพของนายทวีศักดิ์ ไปยังวัดหัวว่าว จ.สิงห์บุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิด
โพสต์ทูเดย์รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนางสุรีย์ผู้เป็นแม่ว่า ทวีศักดิ์เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว ปกติเป็นคนสนใจติดตามข่าวสารบ้านเมืองและพูดคุยกับพ่อแม่อยู่เสมอ โดยยึดหลักยืนอยู่ข้างความถูกต้องมาโดยตลอด และออกมาร่วมชุมนุมบ้างบางครั้งในระยะหลัง ทางครอบครัวให้อิสระทางความคิดกับลูกในการตัดสินใจว่าจะทำอะไร ซึ่งทวีศักดิ์นั้นอยู่หอบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และจะกลับบ้านเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนตัวเธอนั้นทำงานอยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ หากมีอะไรก็จะโทรคุยกัน รวมทั้งกรณีจะไปร่วมชุมนุมหรือจะไปไหนก็จะโทรคุยกันด้วย
วันเกิดเหตุนั้นทวศักดิ์ไม่ได้โทรศัพท์มาบอกเธอว่าจะไปร่วมชุมนุม ประกอบกับวันดังกล่าวเธอเดินทางไป จ.อุบลราชธานี เมื่อทราบว่ามีการปะทะกันที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงก็รู้สึกใจคอไม่ดีเพราะผู้ตายอยู่แถวนั้น จึงโทรไปหาลูกตอนประมาณ 19.00 น. แต่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ จนกระทั่งเกือบ 21.00 น. ก็ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว
ครอบครัวเห็นไปในทิศทางตรงกันว่าอันไหนถูกต้องและยืนยันต้องอยู่ข้างความถูกต้อง แม้จะไม่เห็นด้วยกับสิ่งไม่ถูกต้อง แต่ไม่ถึงกับสนับสนุนการออกไปชุมนุม เพราะให้อิสระทางความคิดซึ่งกันและกัน และเธอปลูกฝังเรื่องนี้มาโดยตลอดเพราะเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องยึดถือความซื่อสัตย์ ที่ผ่านมาเพื่อนเคยมาชวนร่วมชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมเพราะต้องกลับจังหวัดกาฬสินธุ์
สุรีย์กล่าวด้วยว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนว่ามาตรการป้องกันเหตุไม่ให้เกิดการปะทะกันมีความหละหลวมมาก จึงอยากเรียกร้องไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าอย่าให้เรื่องนี้เกิดแล้วหายไป แต่ต้องหาตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้ ไม่เช่นนั้นชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเรื่อยๆ เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

สุเทพ: ยึด บช.น. เป็นชัยชนะยังไม่เด็ดขาด ขอให้สู้ต่อ

สุเทพ: ยึด บช.น. เป็นชัยชนะยังไม่เด็ดขาด ขอให้สู้ต่อ

               3 ธ.ค. 2556 – หลังจากที่ในช่วงเช้า เกิดการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล “ขจัดระบอบทักษิณ” กับตำรวจ โดยมีเป้าหมายเพื่อยึด กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และทำเนียบรัฐบาล และต่อมา ตำรวจก็เปิดทาง ยอมให้ผู้ชุมนุมผ่านเข้าไปถึง บช.น. และทำเนียบรัฐบาลได้โดยดีตอนเวลาประมาณเที่ยง ต่อมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" หรือ กปปส. ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเวลาประมาณบ่ายสองโมง กล่าวปราศรัยว่า ความสำเร็จในการยึด บช.น. และทำเนียบรัฐบาลวันนี้ เป็นเพียงชัยชนะส่วนหนึ่ง ยังไม่ใช่ชัยชนะที่เด็ดขาด พร้อมบอกให้ผู้ชุมนุมมาร่วมชุมนุมต่อไป 
 
              นายสุเทพกล่าวว่า วันนี้ยังมีเฉพาะตำรวจท่านั้นที่ยืนข้าง รัฐบาลระบอบทักษิณ ผู้ชุมนุมจึงต้องมุ่งไปที่ตั้งของตำรวจ พอเสร็จจากการยึด บช.น. ผู้ชุมนุมก็มุ่งไปที่ทำเนียบ เพราะ พล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ประกาศว่า ยึด บช.น.ไม่เป็นไร แต่ห้ามยึดทำเนียบ เพราะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาล นั่นเป็นคำท้าของ ตำรวจ ผู้ชุมนุมจึงมีความจำเป็นต้องบุกทำเนียบและสามารถยึดทำเนียบได้เรียบร้อยแล้ว ข่าวที่พวก กปปส. สามารถยึด บช.น. และ ทำเนียบได้นั้นกระจายไปอย่างรวดเร็ว มีประชาชนออกมาฉลองกับความสำเร็จนี้ แต่ต้องเรียนให้พี่น้องว่าเป็นชัยชนะส่วนหนึ่ง ยังไม่เด็ดขาด เพราะรัฐบาลของทักษิณยังบงการอยู่ เราจึงยังกลับบ้านไม่ได้ ต้องสู้ต่อไป ขอให้ผู้ชุมนุมหนักแน่น อย่าหวั่นไหวกับข่าวลือ
 
             นายสุเทพวิเคราะห์ว่า ที่รัฐบาลยอมให้ยึดทำเนียบ เพื่อสร้างภาพว่ารัฐบาลได้ยอมทุกอย่างแล้ว และอีกสองวันจะมีการยุบสภา เพื่อจะทำให้เห็นว่า การชุมนุมของ กปปส. ดึงดัน พอรัฐบาลประกาศยุบสภา ก็จะมี “พวกมองโลกสวยงาม” บอกว่า ให้พอได้แล้ว ให้เลิกชุมนุมแล้วกลับบ้านได้แล้ว แต่จะบอกผู้ชุมนุมว่า ความตั้งใจในการขจัดระบอบทักษิณให้หมดจากแผ่นดินไทย และ การให้ประชาชนเข้าไปบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเป็น ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์อันมีกษัตริย์เป็นประมุข คือความมุ่งหมายของเรา
 
               ถ้ารัฐบาลยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เพื่อไทยก็จะกลับมาใหม่ เพราะการซื้อเสียง “กลับมาทำเลวให้พี่น้องต้องหลั่งน้ำตา ดังนั้น ยุบสภาจึงไม่มีความหมายสำหรับเรา” นายสุเทพกล่าว และเสริมว่า วันที่ 2 ธ.ค. มีความหมายมากสำหรับพรรคเพื่อไทยมาก เพราะกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี ได้พ้นโทษ และพร้อมจะมีการยุบสภาเพื่อให้ผู้ที่เพิ่งพ้นโทษลงเลือกตั้ง
 
            “คอยดุว่าพอยุบสภาแล้วไม่ได้ผล ก็จะทิ้งไม่ตายสุดท้าย ยิ่งลักษณ์ จะลาออก ให้ เยาวภา หรือสมชายเป็นนายกแทน

           ผมต้องเรียนพี่น้อง เราเหนื่อยยากมามากแล้ว เราลงทุนมามากแล้ว ต้องไม่เสียเปล่า ต้องกำจัดนายทุนทรราชให้หมดจากประเทศไทย ใครจะวิจารณ์ เกลี้ยกล่อม ไม่ต้องสนใจ เรามุ่งมั่นของเราต่อไป สู้ให้ถึงที่สุด ผมอุทิศตัวและชีวิตสู้ร่วมกับพี่น้องจนถึงที่สุด” สุเทพกล่าว  
 
             สุเทพกล่าวว่า ตนได้ประกาศกับผู้ชุมนุมตั้งแต่เมื่อคืนว่า ตนร่วมต่อสู้ครั้งนี้ให้เพื่อให้ประชาชนชนะ แล้วจัดการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจะวางมือจากการเมืองทั้งชีวิต “ เมื่อเช้าผมให้ลูกน้องเก็บของออกจากพรรคประชาธิปัตย์เรียบร้อย ที่เดียวในชีวิตที่จะยืนคือยืนกับพี่น้องมวลมหาประชาชนเท่านั้น เพราะนี่เป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่จะได้ทุ่มเทสู้เพื่อประเทศไทย เพื่ออนาคตลูกหลาน เป็นเกียรติยศสูงสุด ผมจึงประกาศชัดว่า นี่คืองานชิ้นสุดท้ายที่จะทำให้ประเทศ และภูมิใจทีร่วมกับพี่น้อง โดยไม่สนใจตำแหน่งใดๆ ขอแค่ประเทศนี้พ้นจากระบอบนายทุนทักษิณ ก็มีความสุขแล้ว” 
 
            สุเทพกล่าวต่อว่า การต่อสู้ของ “มวลมหาประชาชน” ต้องอดทน หากเป็นการรัฐประหารโดยทหารอาจจะจบลงได้ในสามชั่วโมงเท่านั้น โดยการเอารถถังและปืนกลออกมาควบคุมรัฐบาล “แต่การทวงอำนาจคืนของประชาชนจากทรราชเผด็จการต้องใช้เวลา เพราะไม่มีปืนกล มีแต่หัวใจเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นค่อยๆ ทำ แน่วแน่ อดทน ทำให้สำเร็จ จบแล้วจะได้ทำหน้าที่อื่นให้ครอบครัวต่อไป”
 
             “ขอบขอบคุณมวลมหาประชาชนนี่คือน้ำใจที่มีให้กัน ซึ้งใจที่สุดแล้ว ผมจึงมั่นใจว่าเราชนะแน่นอน เพราะนี่คือการรวมใจของประชาชน” สุเทพกล่าว

กปปส. ประกาศชัยชนะ เตรียมแห่ฉลองรอบ กทม.

กปปส. ประกาศชัยชนะ เตรียมแห่ฉลองรอบ กทม.

           ก่อนเที่ยงวันนี้ แกนนำ กปปส.ขึ้นเวทีประกาศชัยชนะต่อผู้ชุมนุมที่ราชดำเนิน หลังเข้า บชน.-ทำเนียบ เตรียมแห่ขบวนฉลองชัยทั่วกรุง บรรยากาศสุดคึกคัก
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย,ทำเนียบรัฐบาล,ชัยชนะ,ชุมนุม,กปปส.
          3 ธ.ค.2556 ประมาณ 11.00น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส.ประกาศต่อผู้ชุมนุมที่เวทีราชดำเนินถึงชัยชนะของผู้ชุมนุมในการโค่นล้มระบอบทักษิณ
             นายสาทิตย์ ขึ้นประกาศชัยชนะต่อผู้ชุมนุม ภายหลังแกนนำ กปปส.เจรจากับ พล.ต.ท.คํารณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งยอมถอนกำลังเจ้าหน้าที่และรื้อถอนสิ่งกีดขวางออกจากหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และยอมให้ผู้ชุมนุมเข้าควบคุมพื้นที่ ขณะที่ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้ชุมนุม คปท.สามารถเจรจากับเจ้าหน้าที่ขอเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ
             นายสาทิตย์กล่าวกับผู้ชุมนุมด้วยว่า จะมีการเคลื่อนขบวนรถติดเครื่องขยายเสียงจำนวน 10 คัน ออกเฉลิมฉลองชัยชนะร่วมกับประชาชนไปตามถนนสายต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และเรียกร้องให้ประชาชนนำรถยนต์ออกมาร่วมฉลองชัยชนะครั้งนี้ด้วย ขณะที่ขบวนรถจักรยานยนตร์ของสหภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ สรส.จำนวนราว 40 คันเคลื่อนออกฉลองชัยชนะไปตามถนนสายต่างๆ ของกรุงเทพ
             ทั้งนี้ บรรยากาศบริเวณที่ชุมนุมถนนราชดำเนินเต็มไปด้วยความคึกคัก โดยนายสาทิตย์กล่าวว่ามีการประกาศชัยชนะที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว และเชิญชวนให้ผู้ชุมนุมไปรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะเดียวกันก็มีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของทำเนียบรัฐบาลแล้ว โดยนายสาทิตย์กล่าวกับผู้ชุมนุมว่าให้วันพรุ่งนี้เป็นวัน Big cleaning day เพื่อเตรียมสถานที่จัดงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวาคม
 

นักวิชาการธรรมศาสตร์ บรรยายสาธารณะ ท้าท้ายกรณีอธิการบดีสั่งหยุดการสอน

นักวิชาการธรรมศาสตร์ บรรยายสาธารณะ ท้าท้ายกรณีอธิการบดีสั่งหยุดการสอน

            วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ประจักษ์ ก้องกีรติ ปิยบุตร แสงกนกกุล ฯลฯ จัดอภิปรายห้องเรียนประชาธิปไตย ที่มธ.รังสิต ชี้ การสั่งปิดมหาลัยของอธิการไม่เป็นประชาธิปไตย ระบุ นายกฯ คนกลางไม่สามารถเป็นไปได้ตาม รธน.
 

 
 
          3 ธ.ค. 2556 ที่โถงอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต คณะอาจารย์มธ. บางส่วน ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยุกติ มุกดาวิจิตร ประจักษ์ ก้องกีรติ ปิยบุตร แสงกนกกุล และอื่นๆ ได้จัดอภิปราย "ห้องเรียนประชาธิปไตย" แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการสั่งปิดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยระหว่างวันที่ 2, 3 และ 4 ในทุกวิทยาเขต โดยชี้ว่า เป็นการออกคำสั่งโดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาคมธรรมศาสตร์ทั้งหมด และอาจแสดงให้เห็นว่ามธ. ได้เลือกข้างทางการเมือง จากการหยุดการเรียนการสอนสอดคล้องกับการนัดหยุดงานของแกนนำ กปปส. สุเทพ เทือกสุบรรณ
 
           ยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา กล่าวถึงการแถลงของ ทปอ. วานนี้ ที่เสนอเรื่องให้มีรัฐบาลกลางและนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งว่า ทปอ. ไม่มีอำนาจทางการใดๆ เป็นเพียงสมาคม เพียงแต่เป็นบรรดาผู้มีหน้ามีตาในสังคมมารวมกัน โดยวัตถุประสงค์ของ ทปอ. ดั้งเดิม ตั้งขึ้นมาเพื่อคานอำนาจกับ สกอ. ในระบบการศึกษาซึ่งมีหน้าที่ที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย
 
            อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทปอ. กำลังถูกบิดบือนเพื่อนำไปใช้ทางการเมืองและเข้าไปมีบทบาททางการเมือง อย่างผลการประชุมนัดสุดท้าย มีการแสดงความเห็นใจ นศ. รามคำแหงที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่พูดถึงความสูญเสียอื่น ๆ ที่เกิดกับผู้ชุมนุมเลย
 
             ยุกติกล่าวว่า จำเป็นที่ต้องร่วมกันแสดงบทบาทที่ปกป้องสถาบันการศึกษา ที่ ถ้าใครอยากแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสามารถทำได้ในนามส่วนตัว แต่อย่านำชื่อมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วม อย่าทำเป็นว่าทั้งมหาวิทยาลัยเห็นชอบทั้งหมดร่วมกัน แม้เแต่เรื่องประกาศปิดมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีการประชุมร่วมกันในหมู่ผู้บริหารด้วยซ้ำ
 
           ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มธ. ตั้งคำถามกับการให้สัมภาษณ์ของอธิการบดี มธ. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ในฐานะประธาน ทปอ.ซึ่งพูดในเชิงว่าสามารถตั้งรัฐบาลกลางและนายกฯ ที่มาจากคนดี ว่าเป็นการสนับสนุนการเปลี่ยนระบอบการปกครองนอกวิถีทางประชาธิปไตย และกล่าวว่า การที่อธิการบดีสั่งหยุดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกวิทยาเขต โดยไม่มีการสอบถามความคิดเห็นจากประชาคมก่อน สะท้อนให้เห็นถึงภาวะการขาดประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจทำให้ดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสนับสนุนการประกาศนัดหยุดงานของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ 
 
             เขากล่าวว่า ทปอ. เวลาพูดอะไร พูดราวว่าประชาชนทั้งหมดคิดแบบเดียวกับสุเทพ การแอบอ้างประชาชนเป็นเรื่องอันตรายเพราะทำให้เสียงของคนอีกกลุ่มหายไปเลย ทั้งนี้ในทุกสังคมย่อมมีความเห็นต่างในทุกระดับ แม้แต่ในมหาวิทยาลัย ทั้งอาจารย์และนักศึกษา ก็ย่อมมีความคิดเห็นที่ต่างกัน
 
            ประจักษ์อ้างถึงการให้สัมภาษณ์ของอธิการบดีว่า กองทัพยอมเป็นตัวกลางเจรจา แสดงว่ารัฐบาลยอมรับว่า กปปส. เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงไม่มีตำราที่ไหนบอกว่าทหารมีอำนาจรองรับองค์กรตามกฎหมายได้ ต้องแยกระหว่างการไปช่วยเจรจากับการรองรับให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
 
          "อธิการบดีให้ความคิดเห็นบางประการที่ให้ความชอบธรรมแก่บางองค์กร เป็นการบิดเบือนหลักการทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์หรือไม่ เรื่องนี้ต้องถูกตั้งคำถาม และการหยุดเรียนนี้ ก็เกิดขึ้นในบริบทที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ประกาศให้หน่วยงานราชการประกาศหยุดงานเพื่อเป็นการแสดงพลังสนับสนุนต่อต้านรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม เมื่อ มธ. ประกาศหยุดเรียนที่หยุดต่อเนื่อง มี นศ. หลายคนที่ท่าพระจันทร์ก็ไม่เห็นด้วยกับการประกาศหยุดเรียน" ประจักษ์กล่าว
 
          "การที่อธิการประกาศโดยไม่มีการประชุมหารือ ไม่มีการรับความคิดเห็น สะท้อนสภาวะในมธ. ว่าขาดประชาธิปไตยอย่างรุนแรง"
 
         "นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัย ที่ท่าพระจันทร์เข้าใจ แต่สำหรับที่รังสิต นศ.ก็อยู่ที่นี่อยู่แล้ว ไม่ได้มีความยากลำบากอะไร จึงตั้งคำถามว่าทำไมจึงต้องงด ดังนั้นการประกาศหยุดเรียนหลายวัน และทุกศูนย์ เป็นการประกาศเพื่อจะสนับสนุนหรือเอื้อให้การประกาศสุเทพมีความชอบธรรมมมากขึ้นหรือไม่ เพราะเว้นจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการอื่นๆ ไม่มีใครหยุดทำงาน ยังมีการทำงานปกติตั้งแต่เมื่อวานนี้ ทำไมสถาบันการศึกษาจึงหยุด จากสถานการณ์ในทางการเมืองตอนนี้ จึงทำให้คิดว่านี่เป็นคำสั่งที่มีเจตนารมย์บางอย่างอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ผู้บริหารหรืออธิการบดีมีหน้าที่ที่ต้องตอบ"
 
         "ประชาชนก็แตกเป็นสองฝ่าย มธ.ในสภาวะที่สังคมแตกแยก มธ. ควรตั้งหลักให้มั่นในการทำหน้าเป็นสติให้สังคม และประคับประคองให้สังคมผ่านไปได้อย่างสันติและไม่ผิดรัฐธรรมนูญ"
 
          เขากล่าวถึงคำให้สัมภาษณ์ของอธิการบดี ที่พูดเรื่องรัฐบาลกลาง และนายกที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นการเปิดช่องล่วงหน้าให้มีนายกคนกลาง นายกคนดี การให้สัมภาษณ์แบบนี้อันตราย ปฏิเสธไม่ได้ว่าการชุมนุมตั้งแต่แรกมีการยั่วยุเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อยู่นอกประชาธิปไตยและรธน. และเมื่อนักนิติศาสตร์ชั้นนำ และเป็นอธิการบดีให้สัมภาษณ์แบบนี้จึงอันตรายมาก ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เป็นวิถีทางนอกรธน.
 
 
            ในขณะที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะนิติศาสตร์ มธ.และคณะนิติราษฎร์ กล่าวว่า ตามที่อธิการบดีมธ.ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯ คนกลาง ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งนั้น แต่จริง ๆ ตามรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะ รธน.ได้กำหนดไว้ว่า หากมีการยุบสภา หรือนายกฯ ลาออก ยังจำเป็นต้องมีนายกฯ และรมต. รักษาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ไม่มีช่องทางไหนที่เปิดโอกาสให้มีการแต่งตั้งนายกฯ คนกลาง หรือสภาประชาชนได้ 
 
           ปิยบุตร ชี้ให้เห็นถึงประกาศที่มหาวิทยาลัยออกเรื่องการให้หยุดเรียน โดยมีการอ้างถึงสถานการณ์ทางการเมืองในกม. และในตจว. ที่ได้พัฒนาไปสู่ความรุนแรง และมีการใส่ประโยคที่ว่า "ผู้รักษากฎหมายมิได้ทำหน้าที่ของตัวเอง" โดยประกาศฉบับดังกล่าวออกมาหลังการชุมนุมซึ่งเกิดการการปะทะที่รามคำแหง แสดงให้เห็นถึงอคติของอธิการบดีซึ่งออกประกาศฉบับนี้มา
 
          "อย่างที่ลำปางหรือรังสิตก็ไม่ได้รับผลกระทบแต่ไม่รู้ว่าจะให้หยุดทำไม การให้หยุดอาจจะให้แจ้งเป็นส่วนบุคคลก็ได้ เหตุใดต้องประกาศให้หยุดอย่างเหมาเข่งโดยไม่แยกแยะว่าเหตุการณ์ในที่ต่างๆ ไม่เหมือนกัน สถานการณ์มันต่างกันกับที่ บชน. หรือการปะทะในที่อื่น ๆ การประกาศของอธิการบดีที่ไม่มีส่วนร่วมของประชาคม ไม่มีการสอบถามกับอาจารย์หรือนศ.เลย ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ฉุกเฉินยังอยู่ห่างไกล" ปิยบุตรกล่าว
 
          ปิยบุตรกล่าวถึงข้อเสนอเรื่องนายกฯ คนกลางของสมคิดว่า ตอนนี้การเมืองไทยยังไม่เป็นสุญญากาศแต่มีคนทำให้มันป็นสุญญากาศให้ได้เพื่อจะพึ่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว หากนายกฯ ลาออก ก็จะบังคับให้รมต. ชุดนี้ทำหน้าที่ต่อไป ถ้าไม่มีนายกฯ ก็รองนายกฯ ก็ต้องทำหน้าที่แทน ต่อให้ยุบสภาแล้วก็ไม่มีช่องทางใดที่เปิดทางให้นายกฯ คนกลางเข้ามา
 
         “ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการงดใช้ รธน.บางมาตรา เหมือนการรัฐประหารเหมือนที่สุเทพเคยเสนอ เพียงแต่แบบนี้มันดูเป็นปัญญาชนมากกว่าเท่านั้นเอง”
 
           ด้านวรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มธ. และคณะนิติราษฎร์ อธิบายว่า การอ้างรัฐธรรมนูญมาตราสาม ของกลุ่มผู้ชุมนุมกปปส. เรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนเพื่อจัดตั้งสภาประชาชนนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ เพราะมาตราสามของรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้" เป็นเรื่องของการรแบ่งแยกอำนาจ ว่าประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านองค์กรต่างๆ ของรัฐ ซึ่งการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของประชาชนที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การไปออกเสียงเลือกตั้งส.ส. และส.ว. ในฐานะผู้แทนใช้อำนาจ และการออกเสียงประชามติเท่านั้น ไม่มีส่วนไหนที่พูดถึงการตั้งสภาประชาชน
 
          วรเจตน์กล่าวว่า หนทางที่เป็นไปได้ในการตั้งสภาประชาชน คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  เพื่อตั้งองค์กรให้มาปฏิรูประเทศ จะเห็นว่าการเสนอของอธิการบดีธรรมศาสตร์ เป็นการเสนอที่ไม่ได้อยู่บนหลักวิชาการ และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยอำนาจนอกระบบ

            "ในฐานะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย การเสนอทางออกต้องเป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ปฏิเสธและเปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซง เพราะจะยังมีความไม่พอใจจากประชาชนจำนวนมากซึ่งได้แสดงเจตจำนงผ่านการเลือกตั้ง" เขากล่าว
            วรเจตน์เรื่องการปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ชมนุมกลุ่ม กปปส. มักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในการปกครองอีกต่อไป โดยอธิบายว่า ศาลบัญญัติไว้ว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ผูกพันองค์กรทั้งหมดของรัฐ แต่คำวินิจฉัยที่จะผูกพัน ต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่ชอบ องค์กรของรัฐซึ่งมีอำนาจอยู่ในระนาบเดียวกันอย่างรัฐสภา มีอำนาจในการปฏิเสธอำนาจศาล รธน.ได้ ส่วนผู้ที่สามารถตีความคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ วรเจตน์ระบุว่า ให้องค์กรนั้นแสดงอำนาจวินิจฉัยออกมานั้นเองตามอำนาจที่ตนเองมี เป็นการใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ไม่ใช่เรื่องกบฏ เพราะ เป็นเรื่องการรักษาอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

ร้องทุกข์กล่าวโทษ เพื่อดำเนินคดีกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ในข้อหาเป็นกบฏ


             ดร.สิงห์ทอง บัวชุมและ ดร.พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ร้องทุกข์กล่าวโทษ เพื่อดำเนินคดีกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ในข้อหาเป็นกบฏ (3ธค56เวลา11.50น) ที่กองบังคับการปราบปราม กทม.




จับคนแรกได้ ไอ้คนเผารถยนต์ตำรวจกับปาระเบิดด่านแยกอรทัยดึกที่ผ่านมา

จับคนแรกได้ 

ไอ้คนเผารถยนต์ตำรวจกับปาระเบิดด่านแยกอรทัยดึกที่ผ่านมา

ความฝัุนอันสูงสุดของสุเทพ และเสื้อเหลือง