วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

มหากาพย์เขาพระวิหาร


มหากาพย์เขาพระวิหาร
มหากาพย์เขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร

            เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว สำหรับกรณี “พื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทเขาพระวิหาร” ระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชา จนเกิดการปะทะกันระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย และเกิดการสูญเสียอย่างมากมาย อีกทั้งยังเป็นปมปัญหาทางการเมืองระหว่างภายในและภายนอกประเทศอีกด้วย… ทั้งนี้ ในปี 2556 เป็นปีที่ศาลโลกได้นัดตัดสินในเรื่องดังกล่าว จึงขอพาทุกคนย้อนรอยประวัติศาสตร์ถึงที่มาที่ไปของปมปัญหาพื้นที่ทับซ้อนแห่งนี้กันอีกครั้ง
            15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกมีมติด้วยคะแนน 9 ต่อ 4 เสียง ให้กัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร และให้เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยถอนกำลังออกจากปราสาท และบริเวณใกล้เคียง พร้อมกับคืนวัตถุโบราณทั้งหมด ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย เนื่องจากเห็นว่าการตัดสินดังกล่าวไม่ยุติธรรม เพราะศาลโลกพิจารณาตัดสินเพียงแผนที่ฉบับเดียวเท่านั้น
             10 กรกฎาคม 2505 คณะรัฐมนตรีมีมติ กำหนดเส้นขอบเขต และถอนกำลังทหาร-เจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกมาจากปราสาทและพื้นที่ใกล้เคียง
             14 มิถุนายน 2543 ม.รว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนาม MOU สำรวจจัดทำเขตแดนสำหรับไทยกัมพูชา
             18 มิถุนายน 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ร่วมแถลงกับ นายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการร่วมมือพัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ร่วมกับองค์กรยูเนสโก
              ปี 2549 พล.อ.สรุยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เจรจาปักเขตแดน ระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต โดยไทยยินดีที่จะให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
              ปี 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา เดินทางมาเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสภากลาโหมของไทยว่า กัมพูชาสร้างหลักฐานหวังฮุบพื้นที่
              ปี 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนของกัมพูชาแต่อย่างใด พร้อมยอมเลื่อนจุดปักเขตแดนอีก 3 กิโลเมตร ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำแผนที่รอบปราสาทเขาพระวิหารใหม่ที่ทางกัมพูชาเสนอเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่มีกองกำลังบูรพาคัดค้าน เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเสี่ยงต่อการเสียดินแดน
              18 มิถุนายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ตามที่ นายนพดล ปัทมะ นำเสนอ แต่ศาลปกครองกลางพิจารณาให้แถลงการณ์เป็นโมฆะ เพราะยังไม่ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ก่อน อีกทั้งยังมีเหตุกระทบต่อความมั่นคง และอาณาเขตของประเทศไทย
              15 ตุลาคม 2551 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณผามออีแดง จ.ศรีสะเกษ
ปราสาทเขาพระวิหาร
               ปี 2553 รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คัดค้านบริหารของกัมพูชา พร้อมส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ ให้คัดค้านแผนที่โดยรอบ ต่อกรรมการมรดกยูเนสโก ที่ประชุมอยู่ประเทศบราซิล
               29 ธันวาคม 2553 นายวีระ สมความคิด, นางราตรี พิพัฒนาไพบูลย์, ร้อยเอกแซมดิน เลิศบุศย์ ถูกสั่งจำคุกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร
               เมษายน 2554 ทหารไทยและทหารกัมพูชาปะทะกันหลายครั้ง บริเวณปราสาทตาควาย และพนมดงรัก ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายนาย
               28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นให้ศาลโลกตีความ คดีปราสาทเขาพระวิหาร และให้ออกมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่
               18 กรกฎาคม 2554 ศาลโลกได้ออกมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ ให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาท และยินยอมให้อาเซียนเข้าสำรวจพื้นที่ และห้ามให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทร่วมกันอีก
               18 ตุลาคม 2554 รัฐบาล นางสางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้ปฏิบัติตามคำสั่งชั่วคราวของศาลโลก โดยใช้ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา โดยมีสองฝ่ายเป็นประธานร่วมกัน
                21 พฤศจิกายน 2554 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับแรก เป็นข้อสังเกตโดยโต้แย้งคำของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา 2505
                21 ธันวาคม 2554 ที่ประชุม JBC ไทยกัมพูชาครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ มีมติจัดตั้งคณะทำงานร่วม  JWG เพื่อหารือเรื่องปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราว
                21 มิถุนายน 2555 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับที่ 2 อธิบายโต้แย้งคำตอบของกัมพูชา มีมติให้เก็บกู้ระเบิดร่วมกัน ในพื้นที่ที่จำเป็นต่อเขตปลอดทหารชั่วคราว ก่อนปรับกำลังทหารออกจากพื้นที่ โดยให้คณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้าร่วม
                18 กรกฎาคม 2555 ไทยกัมพูชาปรับกำลังทหาร
                17 ธันวาคม ที่ประชุม JWG เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด
                15-19 เมษายน 2556 ศาลโลกนัดไทย-กัมพูชา กล่าวถ้อยคำแถลงฝ่ายละ 2 รอบ
                กันยายน-ตุลาคม 2556 คาดว่าศาลโลกตัดสิน
เนื่องจากกรณีเขาพระวิหารเป็นมหากาพย์ขนาดยาว และบางช่วงบางเวลามีการแยกแตกแขน่งไปหลายๆเหตุผล ทำให้สับสนในข้อมูลของความเป็นจริง จึงเป็นเหตุให้บุคคลที่คิดเอารัดเอาเปรียบประชาชน ใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้าม และยุยงปลุกปั่นสร้างกระแสความคลั่งชาติขึ้นมาเพื่อเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองเข้าตนเอง 

สืบเนื่องมาจากคนไทยส่วนมาก อาจจะรับรู้ข้อมูลมาในรูปแบบการเกิดเหตุขึ้นมา และผลของการเกิดเหตุ โดยไม่สามารถรับรู้โดยแท้จริงเลยว่า อะไรคือสาเหตุโดยแท้จริงของการเกิดเหตุนั้น เพราะโดนปิดบังโดยการหลีกเลี่ยงความจิง ถูกบิดเบือนข้อมูล นั้นเป็นเพราะว่าต้องการนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น และแสวงหาผลประโยชน์เข้าข้างตนเอง 

กรณีเขาพระวิหารนั้น มีปัญหาเพราะอะไรนั้น ผมขอเขียนไปในรายละเอียดที่หลัง แต่คิดว่าพวกเราสามารถหาอ่านได้ในขัอมูลต่างๆมาเยอะแล้ว ในที่นี่ผมขอย่อในรูปแบบการเรียงลำดับเหตุการณ์พอสังเขปแล้วกัน เพื่อเป็นรากฐานในการรับรู้ถึงข้อเท็จจริงในคราวต่อไป สุดท้ายก็จะชี้ประเด็นสำคัญที่สุดของการเกิดปัญหา กรณีเขาพระวิหาร

พ.ศ.2394 - 2411        รัชสมัยของ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) 17 ปี

พ.ศ.2406                    เมืองเขมรตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (152 ปีก่อน)

พ.ศ.2411 – 2453        รัชสมัยของ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) 42 ปี

           ตั่งแต่อดีตจนมาถึงปลายรัชสมัย ของรัชกาลที่5 ยังไม่มีการแบ่งอาณาเขตเป็นเสันวัดระยะเหมือนปัจจุบัน ในสมัยก่อนการบ่งบอกดินแดนใช้สถาพภูมิประเทศภูเขา และแม่น้ำลำธาร เป็นสิ่งชี้และบ่งบอกการเดินทางเข้าสู่ดินแดนของกันและกัน เรียกว่าอาณาจักรและเมือง ไม่ใช่อาณาเขต(เพราะไม่มีเขตเส้นบ่งบอก) เมื่อเมืองเขมรตกอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส  พวกฝรั่งเศสจะรุกล้ำเข้ามาอ้างสิทธิปกครองเมืองเล็กเมืองน้อย ที่อยู่ในส่วนของราชอาณาจักรสยามอยู่เสมอ ชาวสยามและข้าราชการชาวสยาม จึงมักมีเรื่องกระทบกระทั่งจนต้องต่อสู้กับพวกทหารฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสอยู่เสมอ เพราะฝรั่งเศสไม่รู้ว่าเมืองใหนเป็นส่วนของราชอาณาจักรสยามและเมืองไหนเป็นส่วนของราชอาณาจักรเขมรที่ฝรั่งเศสปกครองอยู่ 

พ.ศ. 2436      ฝรั่งเศสใช้กำลังทหารเข้ายึดเมืองตราดเมืองจันทบุรี
                      (ฝรั่งเศสอ้างว่าเป็นดินแดนของเขมร) และเมืองด่านซ้าย(ในจังหวัดเลย)
                      ไว้เป็นเครื่องต่อรองอยู่ 10 กว่าปี

พ.ศ.2447       ฝรั่งเศสคืนเมืองจันทบุรี โดยสยามยอมแลกกับ เสียมเรียบ พระตะบอง
                       ศรีโสภณ (พ.ศ.2450 คืนเมืองตราดและเมืองด่านซ้าย)

พ.ศ.2447       มีการกำหนดขีดเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้าน  
                      ทิศตะวันออกของประเทศเรา มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและ
                      ลาวอย่างที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน และตัวปราสาทเขาพระวิหาร ก็ถูกขีดเส้นแดน
                      ให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการ
                       ครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร

         กล่าวโดยย่อในสมัยของรัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเสนาบดีมหาดไทยนั้น ฝ่าย “รัฐบาล***สยาม” ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา “เอกราชและอธิปไตย” ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้

พ.ศ. 2472       สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เมื่อทรงดำรงตำแหน่ง “อภิรัฐมนตรี” ในสมัยรัฐบาล
                       ของรัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งเสด็จไปทอดพระเนตรทั้งปราสาทเขาพนมรุ้ง และ
                       ปราสาทเขาพระวิหาร จึงทรงขออนุญาตฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ที่จะขึ้นไป
                       ทอดพระเนตร “ปราสาทเขาพระวิหาร” ที่อยู่ภายใต้ธงไตรรงค์ของฝรั่งเศส 
                       (และนี่ ก็คือหลักฐานอย่างดีที่ทำให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ ม.จ. วงษ์
                        มหิป ชยางกูร ทนายและผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่
                       อ่อน  ข้อมูลและหลักฐานจดหมายเหตุ ต้องแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหาร
                       เมื่อ 15 มิถุนายน 2505)

พ.ศ.2475        เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบประชาธิปไตย

พ.ศ.2476        เกิดกบฎวรเดช (ครั้งแรกที่กลุ่มอำนาจเก่า(อำมาตย์)ต่อสู้และตอบโต้กลับ) 
                       ก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง สุดท้ายฝ่ายประชาธิปไตยชนะ 
                       เกิดอนุสาวรีย์ปราบกบฎที่หลักสี่

พ.ศ.2477        รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ เสด็จไปอยู่อังกฤษจนสิ้นพระชนม์

          ต่อจากนั้นรัฐบาลของหลวงพิบูลย์สงคราม ประสบปัญหาจากการแตกแยกของคนในชาติ ก็หาทางปลุกระดมให้มีการรักชาติ โดยการตกแต่งวาทกรรมเรื่องการเสียดินแดน ถึง 14 ครั้ง ในรัชกาลที่ 5 ระดมคนออกมาเดินประท้วงประเทศฝรั่งเศส เรื่องที่ยึดครองดินแดนต่างๆ (ยังไม่ได้ทะเลาะกับเขมร เรามาทะเลาะกับเขมรหลังจากเขมรได้เอกราชแล้วในสมัยจอมพลสฤษดิ์) 

        แท้จริงเรื่องของการเสียดินแดน เป็นเรื่องของการสูญเสียสิทธิในการปกครองเมืองต่างๆมากกว่า เพราะเมืองต่างๆที่สูญเสียไปนั้นยังคงมีเจ้าเมืองหรือ+++ปกครองด้วยตนเองทั้งสิ้น เพียงแต่ในอดีตต้องตกมาเป็นภายใต้รัฐอารักขาของราชอาณาจักรไทยเท่านั้น หาใช่มาเป็นพื้นที่แผ่นดินเดียวกันไม่ แต่ภายหลังจากมีการตกลงขีดเส้นแบ่งดินแดนตามหลักสากลกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ยังไม่ปรากฏการเสียดินแดนจากการขีดเส้นอาณาเขตอีกเลย

พ.ศ.2482       สงครามโลกครั้งที่สองเกิดที่ยุโรป ฝรั่งเศสพลาดพลั้ง
                      เสียท่าเยอรมัน ฝรั่งเศสตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น เรียกรัฐบาล วีซี                  

พ.ศ.2483       รัฐบาลพิบูลสงคราม ปลุกระดมเรียกร้องดินแดนจากฝรั่งเศส (คือ
                      ดินแดนที่ได้ตกลงแลกเปลี่ยนกันไปแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5) ในเดือนตุลาคม 
                      ผลักดันให้นิสิตนักศึกษาทั้งจุฬาฯ และ มธก. เดินขบวนเรียกร้องดินแดน
                      นิสิตนักศึกษาทั้งจุฬาฯ และ มธก. เดินขบวนเรียกร้องดินแดน “มณฑลบูรพา” 
                      และ “ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง”
พ.ศ.2483       สงครามอินโดจีน ระหว่างไทย กับ รัฐบาลพลัดถิ่นฝรั่งเศส 
                      เกิดยุทธนาวีที่เกาะช้าง การรบในเขมร การรบทางอากาศ
                      เป็นการรบทั้งสามมิติ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

          สงครามอินโดจีนนี้เป็นช่วงรอยต่อของสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป(พ.ศ.2482) และ มหาสงครามเอเซียบูรพา(พ.ศ.2484) ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อสงครามในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แท้จริงแล้วญี่ปุ่นกำลังเตรียมตัววางแผนก่อสงครามในภาคพื้นที่นี้(มหาสงครามเอเชียบูรพา)ก่อนแล้ว แต่เนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมตัวทำสงคราม เมื่อไทยและฝรั่งเศส มีสงครามอินโดจีนขึ้น ทางญี่ปุ่นกลัวจะเสียแผนการที่วางใว้ จึงเข้ามาไกล่เกลี่ย ไทยและฝรั่งเศส จึงยอมสงบสงครามกัน โดยทำเป็นอณุสัญญาโตเกียวขึ้น และเราก็ได้ดินแดนมาอยู่เป็น พื้นที่(ปฏพี)ของประเทศไทย ทางไทยนั้นได้ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมา(ลาว) ไทยเปลี่ยนชื่อเมืองไชยบุรี (อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง)เป็นลานช้าง ส่วนทางเขมรนั้นไทยได้ เสียมเรียบ พระตะบอง ศรีโสพณ จำปาศักดิ์ และไทยเปลี่ยนชื่อเสียมเรียบเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม

พ.ศ.2483    รัฐบาล จอมพลป. พิบูลย์สงคราม (ได้รับยศตอนนี้เอง) ขึ้นทะเบียน เขาพระวิหาร
                   เป็นโบราณสถานของไทย ในเดือนตุลาคม

พ.ศ.2484    7 ธันวาคม ญี่ปุ่นก่อสคราม เรียกว่า มหาสงครามเอเชียบูรพา 
                   รัฐบาลจอมพล ป. เข้าร่วมกับญี่ปุ่น

พ.ศ.2488    ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (ไทยไม่แพ้)

            ก่อนญี่ปุ่นจะยอมแพ้สงคราม จอมพล ป.พิบูลสงครามลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์ ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ได้ออก "ประกาศ สันติภาพ" มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจากไทยในฐานะของผู้แพ้สงคราม นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้าน“ขบวนการเสรีไทย” ภายใต้การนำของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ที่กู้สถานการณ์เจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตร ให้การประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และการเข้าร่วมกับญี่ปุ่น กลายเป็นโมฆะหรือ “เจ๊า” กับ “เสมอตัว” ไม่ต้องถูกปรับมากมายหรือถูกยึดเป็นเมืองขึ้นอย่างญี่ปุ่นหรือเยอรมนี

พ.ศ.2489      รัฐบาลใหม่ของไทยที่เป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย (ค่ายปรีดี พนมยงค์) 
                     ก็ต้องคืนดินแดนที่ไปยึดครองมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดินแดนในอินโดจีน
                     ของฝรั่งเศสที่กล่าวข้างต้น แต่ยังรวมถึงเมืองขึ้นของอังกฤษที่รัฐบาล
                     พิบูลสงครามยึดครองและรับมอบมา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองพานในพม่า 
                     หรือ 4 รัฐมลายู แต่ก็ในตอนนี้อีกนั่นแหละ ที่ระเบิดเวลา “ปราสาทเขา
                     พระวิหาร” ถูกวางไว้อย่างเงียบๆ กล่าวคือ เราก็ยังไม่ได้ ส่งคืนเขาพระวิหาร
                     ให้แก่ฝรั่งเศสไป ส่วนฝรั่งเศสก็ไม่มีเวลามาสะสางหรือเรียกร้องคืน 
                      เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมาฝรั่งเศสก็ติดพันกับสงครามเรียกร้องเอกราชใน
                      เวียตนามและเขมร

พ.ศ.2490      เกิดรัฐประหาร ตั้งเป็นรัฐบาลอำมาตยาเสนาธิปไตย โดยจอมพล ป. พิบูล
                     สงครามเป็นนายกรัฐมนตรี (ซึ่งคืนชีพมาด้วยจาก ภายใต้การนำของ 
                     พลโทผิน ชุณหะวัณ ร่วมด้วยช่วยกันจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือ 
                     นายควง อภัยวงศ์)

พ.ศ.2496      เขมรได้รับเอกราช 

           เมื่อเขมรได้รับเอกราช โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสอีกต่อไป ทางฝรั่งเศสก็ต้องมอบพื้นที่ที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในเวลานั้นให้แก่ชาวเขมรผู้เป็นเจ้าของประเทศ โดยมีหลักฐานการครอบครองพื้นที่อย่างถูกกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแผนที่หลักสากล ที่ได้ทำใว้จากประเทศต่างๆและได้รับการยอมรับด้วยการลงสัตยาบันหรือเซ็นรับรองระหว่างรัฐต่อรัฐมาแล้วด้วย  และเป็นสื่งที่ทำมาแต่อดีตต่างกรรมต่างวาระ

พ.ศ.2497  เนืองด้วยประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานของไทย  
                 รัฐบาลไทยจึงได้ส่งกองทหารไทยให้กลับขึ้นไปตั้งมั่นและชักธงไตรรงค์
                 อยู่บนนั้นอีกครั้ง 

พ.ศ.2500  รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทำการรัฐประหาร โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 

พ.ศ.2502  ระเบิดเวลาลูกนี้ระเบิดขึ้น เมื่อเจ้านโรดมสีหนุซึ่งทรงเป็นทั้ง “+++และพระบิดา
                 แห่งเอกราช” และ “นักราชาชาตินิยม” ของกัมพูชา ก็ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลโลก 
                 (International Court of Justice) เมื่อ 6 ตุลาคม ในกรณีดินแดนเขาพระ
                 วิหารที่ไทยยึดครองอยู่และไม่ยอมส่งคืนให้

           ในช่วงเวลาของรัฐบาลเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปกครองประเทศนั้น บ้านเมืองในประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในภาวะ ระส่ำระส่ายอย่างหนัก มีการแตกแยกทางความคิดกันไปทั้ว ฝ่ายประชาธิปไตยที่สูญเสียอำนาจไปก็เตรียมตัวที่จะต่อสู้กลับมา  เกิดการปราบปรามคอมมิวนิตย์ คนตายไปเป็นจำนวนมาก

          รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงใช้โอกาสนี้ แก้ใขปัญหาภายในของประเทศ ด้วยการต้องการให้ประชาชนคนไทยมีศัตรูร่วมกัน คือมีเรื่องกับคนต่างชาติ จึงทำการปลุกระดมให้ประชาชน “รักชาติ” คลั่งชาติ เพื่อให้คนไทย ตระหนักถึงศัตรูภายนอก(เขมร) กำลังจะมายึดดินแดนไทย และประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนไปไม่ได้ และโน้มน้าวคนที่ไม่ได้เ้ป็นพวกจอมพลสฤษดิ์ ได้หันกลับมาร่วมมือร่วมพลังกันปกป้องศัตรูภายนอก่อน เรื่องอื่นเอาใว้ที่หลัง (จอมพลสฤษดิ์ ตั้งใจว่าหลังจากปั่นหัวคนไทยให้คลั่งชาติ หลงในความเป็นชาติได้แล้วก็จะง่ายแกการปกครองต่อไป และก็เป็นจริงตามแผนการของเผด็จการ)

           จอมพลสฤษดิ์ ได้แต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) เป็นทนายสู้ความ รัฐบาลสฤษดิ์ ปลุกระดมให้ประชาชน “รักชาติ” บริจาคเงินคนละ 1 บาทเพื่อสู้คดี (เข้าใจว่าเมื่อจบคดีอาจจะมีเงินหลงเหลืออยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดประมาณ 3 ล้านบาท ค่าของเงินในสมัยนั้น เทียบได้กับก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่ท่าพระจันทร์ตอนนั้น ชามละ 3 บาท (ตอนนี้ 30 บาท) ตอนนั้นทองคำหนัก 1 บาทราคาเท่ากับ 500 บาท

 พ.ศ.2505     ศาลโลกที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 3 ปี และลงมติเมื่อ 15 มิถุนายน 
                     ก็ตัดสินด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 ให้ “ปราสาทเขาพระวิหาร” ตกเป็นของกัมพูชา
                     และให้รัฐบาลไทยถอนทหาร ตำรวจ ยามและเจ้าหน้าที่ออกนอกบริเวณ 
                     แต่ประเทศไทยไม่ยอมรับ ผลตัดสินอย่างบริบูรณ์ จึงมอบแต่ตัวปราสาท
                     เขาพระวิหารและพื้นที่เล็กๆ ส่วนทางขึ้นและพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่คืนให้ 
                     (รายละเอียดนี้คงรู้กันดีอยู่แล้ว)

           รัฐบาลไทยแพ้คดีนี้อย่างค่อนข้างราบคาบ และคำพิพากษาของศาล ก็ยึดจากสนธิสัญญาและแผนที่ที่ทำขึ้นหลายครั้งในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 นั่นเอง แผนที่และสัญญาเหล่านั้นขีดเส้นให้ตัวปราสาทเขาพระวิหาร ว่าอยู่ในอินโดจีน(เขมร ลาว ญวน)ของฝรั่งเศส โดยแผนที่ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์การกำหนดพรมแดนดังกล่าวทาง ภูมิศาสตร์หรือสันปันน้ำ หรือทางขึ้นไม่  โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดเส้นสมมุติขึ้น ส่วนรัฐบาลสยามในสมัยนั้นของรัชกาลที่ 5 และสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้ยอมรับไปโดยปริยายโดยมิได้มีการท้วงติงแต่อย่างใด ดังนั้นผู้พิพากษาศาลโลก ก็ถือว่าการนิ่งเฉยเท่ากับเป็นการยอมรับหรือ “กฎหมายปิดปาก” ซึ่งไทยก็ต้องแพ้คดี นั่นเอง
                         
สรุป

         คงทราบแล้วนะครับว่าความเป็นมาของเขาพระวิหาร ว่าแท้จริงแล้วเขาพระวิหารนั้นเป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการได้รับมรดก ที่ฝรั่งเศสได้ทำใว้ตอน จัดทำแผนที่เป็นแบบสากลในปลายรัชสมัย ของรัชกาลที่ 5 และได้รับรองแผนที่นั้นโดยปริยาย

          เหตุการณ์ปัญหาแท้จริงเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เราจำเป็นต้องมอบคืนดินแดนที่เรายึดมาจากฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนให้หมด แต่เราส่งคืนไม่หมดตามสัญญา เพราะเราแอบเหลือเขาพระวิหารไว้ไม่ได้คืนไป และฝรั่งเศสก็ไม่ได้ทวงคืนเพราะติดปัญหาของตัวเอง

          หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชแล้ว ก็เอ่ยปากทวงเขาพระวิหาร จากรัฐบาลไทยตามสิทธิของกัมพูชา ที่เขาได้รับมรดกมา ตามแผนที่ สยามกับฝรั่งเศส ที่ทำใว้ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 

          รัฐบาลเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ไม่ยอมคืนให้ กลับใช้กรณีนี้เป็นเครื่องมือ ยุยงปลุกปั่นคนไทยให้เกียดชนชาติเขมร ว่าจะมาแย่งดินแดน เขมรชั่วช้าสามานย์ เพื่อให้คนไทยมีศัตรูร่วมกัน คนไทยจะได้กลับมารักใคร่สามัคคีกัน ไม่แตกแยกกัน ร่วมมือกันต่อสู้กับศัตรูต่างชาติ และจอมพลสฤษดิ์ ก็ทำได้สำเร็จเป็นส่วนมาก

         เมื่อเผด็จการเคยทำสำเร็จมาก่อน ในเรื่องปลุกคนให้รักชาติ พวกอำมาตย์ก็จะใช้กรณีนี้เป็นอุปกรณ์หลัก สำหรับปลุกกระแสให้คนเกิดความคลั่งชาติ ชนชาติเขมรจึงต้องตกเป็นเครื่องมือและเป็นชนชาติศัตรูของเหล่าอำมาตย์ตลอดกาล

         เมื่อเวลาผ่านไป เขาพระวิหาร ต้องขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในสมัยรัฐบาลท่านสมัคร
อภิสัตว์ ชาติชั่วจริงนะ ตอนนั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายค้าน ได้ร่วมมือกับเสื้อเหลือง ปลุกกระแสการคลั่งชาติ ในกรณีเขาพระวิหารนี้ มาเป็นเครื่องมือโจมตี รัฐบาลสมัครว่าไม่รักชาติ ทำลายชาติ ขายชาติ 


        ในสมัยรัฐบาลแมลงสาบ ประเทศเกิดความแตกแยกอย่างหนัก รัฐบาลปกครองลำบาก ฝ่ายคัดค้านการกระทำรัฐบาล ในกลุ่มชนที่เรียกว่าเสื้อแดง ก็ออกมาชุมนุมต่อต้าน ฝ่ายแมลงสาบก็เอาทหารออกมาปราบปรามประชาชน ทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

       ฝ่ายอำมาตย์จึงตัดสินใจใช้แผนกรณีเขาพระวิหารออกมาใช้อีกครั้ง คราวนี้การวางแผนต้องเพิ่มประเด็นเข้าไปอีก เพราะมนต์รักเขาพระวิหารชักเสื่อม ปลุกไม่ค่อยขึ้น เพราะหลักฐานเขาพระวิหารเริ่มมาชัดเจนแล้วว่าไทยนั้นเองที่ยึดดินแดนเขมรใว้ไม่ยอมคืน จึงจำเป็นต้องเพื่มเรื่องกล่าวหาเขมรบ้างว่า เขมรมันก็ขโมยดินแดนของไทยไป

        อำมาตย์จึงวางแผนผ่านทางนักปลุกระดมมือหนึ่งคือเสื้อเหลืง เป็นผู้จุดประเด็นนี้ขึ้นมา แล้วรัฐบาลแมลงสาบจะเออออห่อหมกเป็นลูกคู่ สร้างกระแสความคลั่งชาติขึ้นมาใหม่ ถ้าจุดกระแสนี้ติด ประชาชนคนส่วนมากก็จะมาสนใจ ในเรื่องรักชาติ และหันกลับมาสามัคคี ร่วมมือกับอำมาตย์

           แต่ดินแดนไหนละที่เขมรเอาของไทยไปแล้วไม่คืนให้

แผนการลับจึงถูกร่างขึ้นมา แผนที่หนึ่งในชื่อที่เรียกว่า เจ็ดสิงห์ตลุยแดนเขมร

แท้ที่จริงก็คือ เจ็ดประหลาดเซ่อซ่าบุกแดนเขมร นั้นเอง


         หัวหน้าทีม โกร่งกางเกงแดง วีระ ไม่สมประกอบทางความคิด 
รองหัวหน้าทีม โย่ง เชิญยิ้ม พนิช หัวแมลงสาบ ลูกน้องอภิสัตว์ มีสโลแกนว่า "อย่าบอกให้ใครรู้นะ นายกรู้คนเดียว" และ คนอื่นๆ(ขี้เกียดแล้ว เดียวจะกล่ายเป็น เรื่องตลกไป)

        7 คนนี้ ถูกส่งเข้าไปหาหลักฐาน หลักเขตแดนไทยในดินแดนเขมร โดยลักลอบเข้าไปอย่างเปิดเผย (โง่มัย) ทั้งหมดนั้นไม่รู้จุดประสงค์และเป้าหมายที่แท้จริงของอำมาตย์ เพราะเป็นแผนการลับ จึงรู้แต่เพียงส่วนย่อยของแผนการเท่านั้น พวกมันจึงเดินทะเล่อทะร่าเข้าไปในดินแดนเขมรอย่างผิดกฎหมายและเปิดเผย (คิดว่าคงได้ดูคลิปแล้ว) เมื่อพวกมันโดนจับ จึงไม่รู้ตัวเองว่าทำอะไรผิด ยืนเซ่อเป็นไก่ตาแตก (คงคิดว่าเขมรโง่ ชาวเขาพัฒนาแล้ว) จากนั้นเขมรก็ส่งพวกมันไปเข้าคุกเขมร ตามกรรมที่ก่อใว้ทันที 

        ภายหลังทางเขมรก็เข้าใจกลยุทธของฝ่ายอำมาตย์และรัฐบาลแมลงสาบ ว่ามีจุดประสงค์อะไรและต้องการอะไร เขมรจึงแก้เกมฝ่ายอำมาตย์ได้โดยตลอดและเป็นฝ่ายได้เปรียบ ทั้งทางด้านการต่างประเทศและด้านการป้องกันประเทศ เขมรจึงรู้ว่าถ้าเกิดการกระทบกระทั่งกัน ไทยไม่พร้อมทำสงคราม

        แผนสองก็คือ เมื่อ 7ตัวประหลาดได้หลักฐานมาแล้วก็จะนำหลักฐานนั้น มาให้กลุ่มเสื้อเหลืองออกปลุกระดมทันที โดยมีหลักฐานครบครันให้ทางเขมรดิ้นไม่หลุด และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐคือ พนิต หัวแมลงสาบเป็นคนรับรองการกระทำของเสื้อเหลืองนี้

       แต่ผิดแผน 7ตัวประหลาด โดนไบกอนเขมรตายเรียบ ถูกจับ ถูกประจานความโง่ ติดคุกเขมรอีก อำมาตย์ส่งไปตายแท้ๆ แต่แผนการต้องดำเนินต่อไป เพียงแต่ปรับกลยุทธไปวันต่อวัน เมื่อไม่มีหลักฐานว่าเขมรขโมยดินแดนไปจริงหรือเปล่า จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีกล่าวหาแทน และมีประกาสิทธิ์หาทางเรียกร้องให้เอา ไอ้สัตย์หน้าโง่ 7 ตัวนั้นออกมาให้ได้ เมื่อเหตุผลไม่สมประกอบ กลยุทธปลุกกระแสความคลั่งชาติจึงปลุกไม่ขึ้น จึงต้องใช้ใม้ตายดู 

        แผนสำรองหรือแผนที่สาม สร้างสถาณะการณ์สงคราม  ต้องส่งทหารไปชายแดนทำให้เกิดสงครามขนาดย่อยขึ้นมา อาจจุดกระแสความคลั่งชาติขึ้นมาได้ แต่ไม่สำเร็จผล ปลุกกระแสความคลั่งชาติไม่สำเร็จ แต่ชาวบ้านตามตะเข็บชายแดนได้รับสำเร็จโทษแทน มีทหารตายชาวบ้านตายบาดเจ็บบ้านเรือนโดนทำลาย พวกเขาทำไมต้องตายด้วย ทหารไทยต้องเสียชีวิตอย่างไร้ค่ากับแผนการปลุกระดมความคลั่งชาติ สถาณะการณ์บ้านเมืองจึงเละเทะมาจนถึงทุกวันนี้ไง

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: การแก้รัฐธรรมนูญ 50 ถึงทางตัน

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: การแก้รัฐธรรมนูญ 50 ถึงทางตัน
Posted: 03 Jan 2013 07:12 PM PST  (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)
ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

          เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า แกนนำพรรคเพื่อไทยได้เลือกที่จะไม่เดินหน้าประชุมรัฐสภาลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 วาระสามโดยทันที หากแต่จะใช้เส้นทางการทำประชามติ ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ “แนะนำ” ไว้

          ทั้งหมดนี้สะท้อนถึง “สภาวะล้มละลายทางหลักกฎหมาย” ของระบบตุลาการในประเทศไทยอย่างชัดเจน อันเป็นผลที่ฝ่ายเผด็จการใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือสนับสนุนกลุ่มคนที่เป็นพวกของตน ไปทำลายล้างกลุ่มการเมืองที่ตนคิดว่า เป็นศัตรูให้ตุลาการลากตีความตัวบทกฎหมายเอาตามใจชอบ ไม่ใยดีต่อหลักนิติรัฐ เพื่อไปบรรลุเป้าทางการเมือง

           ผลก็คือ ทุกคนที่ถูกกระทำ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย จึงต้องเดินตามแนวทางและวิธีการเดียวกันเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งก็คือใช้หลักการ “ตุลาการวิบัติ” หาช่องทางกฎหมาย เลี่ยงบาลี เพื่อหลบหลีกการถูกกระทำจากตุลาการฝ่ายเผด็จการ

          การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 ซึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลได้ดำเนินไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดระมัดระวัง แต่ก็ยังถูกแทรกแซงโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ “ลากตีความ ม.68” เพิ่มอำนาจให้กับตนเอง กระทำ “ตุลาการรัฐประหาร” ยกระดับอำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้กลายเป็นอำนาจอธิปไตยสัมบูรณ์เหนืออำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ เลยเถิดไปถึงกับ “แนะนำ” ให้ทำประชามติถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งที่ไม่มีระบุในที่ใดของรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการ “เขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยตุลาการเพียงไม่กี่คน”

           สถานการณ์ยิ่งแย่ลงเมื่อทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภาที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่างเลือกที่จะทิ้งหลักการประชาธิปไตย เกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติ ปฏิเสธที่จะลงมติไม่รับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้การลงมติผ่านวาระสามแก้ไข ม.291 ต้อง “แท้ง” ไปในที่สุด

สาเหตุคือ สส.และสว.พวกนี้ส่วนใหญ่ล้วนขี้ขลาดตาขาว ไร้ซึ่งหลักการและความกล้าหาญที่จะยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยไปให้ถึงที่สุด พอได้ยินว่า เป็น “คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ” ก็พากันตกใจสุดขีด หันหลังวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น

          แม้แต่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ก็มีพฤติกรรมไม่แตกต่าง ปฏิเสธที่จะเรียกประชุมรัฐสภาพิจารณาวาระสาม มีการปล่อย “คลิป” ให้คนเสียงเหมือนนายสมศักดิ์พูดชัดเจน ปฏิเสธที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อ ราวกับจะแสดงให้คนทั้งโลก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) ได้เห็นว่า ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าในกรณีใด นายสมศักดิ์ไม่เกี่ยว ไปจนถึงการที่นายสมศักดิ์ ไปนั่งในศาลรัฐธรรมนูญ ตัวสั่นงันงก น้ำเสียงสั่นเทา ให้ตุลาการซักถามราวกับเป็นอาชญากรคดีร้ายแรง หมดสิ้นซึ่งศักดิ์ครีของความเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติโดยสิ้นเชิง

          พรรคร่วมรัฐบาลก็ได้มีมติชัดแจ้งแล้วว่า จะไม่ร่วมการลงมติวาระสามแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน

          ณ เวลานี้ หากแกนนำพรรคเพื่อไทยเดินหน้าประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติผ่านวาระสามแก้ไข ม.291 โดยไม่ทำตาม “คำแนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่ผ่านอย่างแน่นอน เป็นผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปทันที และรัฐบาลจะต้องยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ แน่นอนว่า สส.พวกนี้กลัว “เลือกตั้งใหม่” และกลัวคนในตระกูลชินวัตร แต่คนพวกนี้ “กลัวตุลาการและกลัวพวกเผด็จการ” มากกว่า

           แม้นว่า จะประชุมรัฐสภาผ่านวาระสามแก้ไขม. 291 ได้สำเร็จ ก็ยังมีขั้นตอน ม. 150 ที่นายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขขึ้นทูลเกล้าเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งในทางปฏิบัติ จะมีคณะองคมนตรีเป็นทางผ่าน ความกลัวของแกนนำพรรคเพื่อไทยคือ อาจเกิดเหตุการณ์ตาม ม. 151 คือ “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา” นายกรัฐมนตรีจะตกอยู่ในสถานะวิกฤต กลายเป็น “ทูลเกล้าสิ่งที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท”

           แม้ว่า ม.151 วรรคต่อมาระบุให้รัฐสภาต้องประชุมพิจารณาเพื่อยืนยันตามเดิมด้วยเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม (ราว 433 คนจาก 650 คน) นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง “เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว”

           เป็นที่ชัดเจนว่า ฝ่ายแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบันไม่มีจำนวนเสียงสูงถึง 433 เสียงอย่างแน่นอน แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ม.151 เป็นเพียงข้อความนิตินัยที่ไม่มีผลทางปฏิบัติ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับในอดีตก็ระบุข้อความทำนองนี้ แต่ไม่มีการปฏิบัติกันมาหลายสิบปีแล้ว เพราะเหตุใด? ก็เพราะไม่มีรัฐสภาชุดใดกล้าที่จะดำเนินการตามนี้

           แกนนำพรรคเพื่อไทยจึงหาทางออกที่มักง่ายที่สุด ดูเหมือนปลอดภัยที่สุด แต่ไร้หลักการและขี้ขลาดที่สุดคือ ยอมตาม “คำแนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีประชามติ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า ผิดหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง ไม่มีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญตรงไหนเลย และยังเป็นการเอาฝ่ายนิติบัญญัติไปอยู่ใต้รองเท้าฝ่ายตุลาการ

           แกนนำพรรคเพื่อไทยฝันหวานว่า ถ้าประชามติผ่าน ก็จะหมดเงื่อนไขศาลรัฐธรรมนูญ แล้วทั้งประธานรัฐสภา สส.พรรคร่วมรัฐบาล และสว. “จะยอมซักกางเกงที่เลอะอุจจาระ” พร้อมใจหันกลับมาประชุมยกมือผ่านวาระสามในที่สุด

           ปัญหาคือ แกนนำพรรคเพื่อไทยไม่มีทางรู้เลยว่า แม้นประชามติจะมีผลให้ผ่าน ก็ไม่มีหลักประกันว่า ตุลาการจะไม่เข้ามาแทรกแซงตีความอีกโดยอ้างกรณีอื่น หรือแม้นจะผ่านประชามติแล้ว ทั้งประธานรัฐสภา สส.และสว.จะหาข้ออ้างอื่นเพื่อไม่ต้องลงมติวาระสาม ทำให้การลงมติในวาระสามหลังประชามติก็อาจมีผลอย่างเดิมคือ ไม่ผ่าน ร่างแก้ไขตกไป

          ยิ่งไปกว่านั้น การเดินหน้าทำประชามติจะก่อให้เกิดความแตกแยกครั้งใหญ่ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับขบวนคนเสี้อแดง และภายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกันเองระหว่างกลุ่มที่ปฏิเสธประชามติกับกลุ่มที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย คะแนนเสียงประชามติที่พรรคเพื่อไทยฝันหวานเอาไว้สวยหรูกี่สิบล้านเสียงก็ตาม จะไม่เป็นไปตามเป้า

          ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยังออกมาเบี่ยงเบนประเด็น โดยเสนอให้ “แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา” จงใจให้ผู้คนเข้าใจผิดว่า กระทำได้ง่ายกว่า เช่น แก้ไขเฉพาะมาตราว่าด้วยที่มาของสว.สรรหา ที่มาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และม.190 เป็นต้น ทั้งที่ในความเป็นจริง ทำได้ยากที่สุดถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ โดยให้ดูตัวอย่างการแก้ไข ม.291 ที่ผ่านมาถึงวาระสาม ก็ได้ถูกสะกัดขัดขวาง ทั้ง “แปรญัตติ” ก่อกวนตีรวนในสภา ก่อการชุมนุมนอกสภา ไปจนกระทั่งดึงเอาศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา ร.ต.อ.เฉลิมจะซื่อตรงกว่านี้ถ้ายอมรับว่า ตนไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะตนขออยู่เป็นรัฐมนตรีจนหมดอายุรัฐบาลดีกว่า

           ปัญหาพื้นฐานคือ การพยายามยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 โดยที่ดุลกำลังและอำนาจรัฐที่แท้จริงยังไม่เปลี่ยนมือนั่นเอง รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกรอบการเมืองเปลือกนอกที่ห่อหุ้มโครงสร้างอำนาจรัฐที่แท้จริงซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ในมือพวกจารีตนิยม ตราบใดที่ข้อเท็จจริงนี้ไม่เปลี่ยนแปลง การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่มีทางกระทำได้

            สิ่งที่พรรคเพื่อไทยควรทำคือ ยอมรับตรง ๆ ว่า ไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว และขอบริหารเศรษฐกิจไปจนครบสี่ปี ให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอดทนรอคอย รอให้สถานการณ์พื้นฐานเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วเลือกตั้งใหม่ ค่อยมาพูดถึงรัฐธรรมนูญอีกครั้ง

ที่มา:  “โลกวันนี้วันสุข”

รายงานจากเรือนจำ: สมยศ-สุรชัย คุกขังเขาได้....?

รายงานจากเรือนจำ: สมยศ-สุรชัย คุกขังเขาได้....?
Posted: 04 Jan 2013 08:32 AM PST

            Thailand Mirror รายงานทัศนะทางการเมืองสองแกนนำเสื้อแดงในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ "สุรชัย" ชี้ฝ่ายอำมาตย์ถอยรอจังหวะรุก ประชาชนต้องเตรียมรับมือ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ยืนยันจุดยืน เรียกร้องเสรีภาพ ไม่มีทางเลือกอื่น ถึงตายก็ยอม

          เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 4 ม.ค.56 - "สุรชัย" ชี้อำมาตย์อยู่ในเกมถอยเพื่อรอจังหวะรุก ประชาชนต้องเตรียมพร้อมด้วยการสร้างความรู้ พัฒนาความคิด ขณะที่เห็นว่าถึงแม้จะผ่านรัฐธรรมนูญวาระ 3 หรือมีการนิรโทษกรรม ปัญหาความแตกแยกทางความคิดของสังคมไทยก็ไม่จบ

          นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรั
ฐธรรมนูญว่า ถึงแม้ในที่สุด รัฐบาลจะเลือกโหวตวาระ 3 ผ่านรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ตามที่ นปช.นำเสนอ ก็ไม่ทำให้ปัญหาจบ การต่อสู้ยังไม่จบ เพราะรัฐธรรมนูญจะถูกฉีกเมื่อไหร่ก็ได้ ขณะที่ นปช.เดินหน้าสู้ไม่เต็มที่ ส่วนรัฐบาล ก็มีเป้าหมายที่ต่างจากประชาชน

          นายสุรชัย เชื่อว่าการที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกมาให้โอวาทและอวยพรเหล่าผู้
นำกองทัพ เนื่องโอกาสวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมาว่า ความแตกแยกของสังคมไทยในขณะนี้เป็นอุปสรรคในการสร้าง ความสามัคคี และกล่าวเรียกร้องให้กองทัพออกมาสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาตินั้น เป็นสัญญาณว่า ฝ่ายอำมาตย์มองสถานการณ์ขณะนี้ว่าควรอยู่ในเกมถอย จึงเปลี่ยนท่าทีด้วยการสนับสนุนการปรองดอง รอรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ คนเสื้อแดงแตกคอกัน และเมื่อถึงจังหวะนั้นฝ่ายอำมาตย์จะกลับมาเป็นฝ่ายรุกทันที

          นายสุรชัย กล่าวย้ำว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ฝ่ายประชาชนต้องเข้มแข็ง พร้อมรบ โดยคำว่ารบไม่ได้หมายถึงการติ
ดอาวุธ แต่หมายถึงการสร้างความรู้ พัฒนาความคิด เตรียมความพร้อม เพื่อรับมือ

           อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เห็นว่าการนิรโทษกรรมจะไม่เกิ
ดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะหากจะมี การนิรโทษกรรม ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องถูกลงโทษเหมือนกันทั้งหมดก่อน และถึงแม้จะมีการนิรโทษกรรมจริง ก็ไม่ทำให้ปัญหาความแตกแยกของสังคมไทยจบลงได้

           นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ รับสารภาพคดีหมิ่นเบื้องสูงเมื่
อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 และได้ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอรัฐบาลดำเนินการตามขั้นตอน


"สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ยืนยันจุดยืน เรียกร้องเสรีภาพ ไม่มีทางเลือกอื่น ถึงตายก็ยอม
            "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ยืนยันยอมถูกกักขัง เพียงร่างกาย และจะไม่ยอมรับสารภาพโดยที่ไม่ผิด เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะตกอยู่ในกรงขังมโนธรรม ไปตลอดชีวิต

            นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวถึงกรณีที่จะมีการนัดพร้
อมฟังคำพิพากษาในวันพุธที่ 23 มกราคม 2556 ว่าในทางกฎหมายหรือเหตุผลแล้วจะชนะคดีอย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าคดีน่าจะสรุป เป็นกระทำการโดยประมาทเลินเล่อ อาจได้รับการปล่อยตัว หรือไม่ก็รอลงอาญา

            นอกจากนั้น กระแสสังคมยังให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นองค์การสหประชาชาติ สำนักงานสิทธิมนุษยชน องค์การนิรโทษกรรมสากล ที่เห็นว่ากรณีของตนเป็นเรื่
องการละเมิดสิทธิเสรีภาพ หากศาลไทยกล้าฝืนกระแสเรียกร้องขององค์กรสากลต่าง ๆ ก็จะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันอย่างแน่นอน    

            นายสมยศ ยังกล่าวถึงกรณีการรณรงค์ให้
ยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เชื่อว่าไม่มีทางสำเร็จอย่างแน่นอน แต่การรณรงค์ก็ไม่ควรหยุดเช่นกัน และเห็นว่า ครก.112 ควรเดินหน้าเรียกร้องต่อไป เพื่อตอกย้ำว่ารัฐบาลต้องการเพียงรักษาอำนาจ สู้ไปสยบไป ซึ่งจะทำให้รัฐบาล ตกขบวนประวัติศาสตร์ ขบวนประชาธิปไตย และสะท้อนความล้มเหลวในการเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย

            นายสมยศ ยืนยันว่าขณะนี้ถูกกักขังเพี
ยงร่างกายเท่านั้น แต่จะไม่ยอมรับสารภาพโดยที่ไม่ผิด เพราะหากยอมรับสารภาพก็จะกับตกอยู่ในกรงขังมโนธรรมไปตลอดชีวิต รู้สึกขมขื่นใจและเจ็บปวด ที่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองจากกระบวนการยุติธรรมไทยที่ล้มเหลว ถึงตนต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุก แต่ก็พร้อมที่จะรักษาจุดยืนในการเรียกร้องเสรีภาพ ไม่มีทางเลือกอื่น ถึงตายก็ยอม