วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554


โอ้อนาถ ขบวนการตุลาการไทย ไร้ยาง
                       http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=619023

           คณะทำงานอัยการมีมติถอนฟ้อง “สนธิ-บก.คมชัดลึก” คดีถูกกล่าวหาหมิ่นเบื้องสูง และสั่งไม่ฟ้องคดีพันธมิตรฯชุมชุมขับไล่ทักษิณ อ้างเหตุสนองเจตจำนงของรัฐบาล ที่ต้องการความสมานฉันท์ ปรองดอง ของประชาชน ทุกหมู่เหล่า
  
       วันนี้ (3 พ.ย.) นายอรรคพล ใหญ่สว่าง ผู้ตรวจราชการสำนักงานอัยการสูงสุด และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงว่า ตามที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายเฉลียว คงตุก บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4 และ 48 และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค.2519 ข้อ 1 ต่อศาลอาญาไปเมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
  
       อย่างไรก็ตาม ภายหลังคณะทำงานอัยการพิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า การดำเนินคดีต่อไป อาจมีประชาชนบางฝ่ายเห็นด้วย และบางฝ่ายอาจไม่เห็นด้วย อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน โดยทั่วไป ซึ่งอาจถึงขั้นรุนแรงได้ อาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติได้ ประกอบกับสถานการณ์ และภาวะบ้านเมืองในขณะนี้ ต้องการให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าสมานฉันท์ เพื่อให้เศรษฐกิจที่หยุดชะงักที่ผ่านมา ได้ขับเคลื่อนต่อไปได้โดยเร็ว และเพื่อให้สถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียด คลี่คลายไปในทางที่ดี ซึ่งตรงกับเจตจำนงของรัฐบาล ที่ต้องการความสมานฉันท์ ปรองดอง ของประชาชน ทุกหมู่เหล่า จึงมีความเห็นว่า การดำเนินคดี กับ นายสนธิ และนายเฉลียว ในคดีดังกล่าว จะไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ
  
       ดังนั้น นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์ของสังคม และเพื่อให้สถานการณ์บ้านเมือง กลับเข้าสู่ภาวะปกติ จึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.16 และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา ของพนักงานอัยการ พ.ศ 2457 ข้อ 78 และ 128 จึงมีคำสั่ง เมื่อวันนี้ (3 พ.ย.) ให้ถอนฟ้อง นายสนธิ และนายเฉลียว ในคดีดังกล่าว โดยอัยการจะขออนุญาตต่อศาลอาญา เพื่อถอนฟ้องคดีดังกล่าวในวันจันทร์ที่ 6 พ.ย.นี้
  
       นอกจากนั้น ในส่วนคดีที่ นายสนธิ และพวก ถูกดำเนินคดีในฐานความผิด 5 ข้อกล่าวหา กรณีชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสั่งคดีของอัยการและยังไม่มีความเห็นสั่งคดี พนักงานอัยการก็จะดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน คือ สั่งไม่ฟ้องคดีต่อไป
  
       สำหรับคดีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย พล.ต.ต.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รอง ผบช.น.ในขณะนั้น อาสาเป็นผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นผู้ต้องหาชุดแรก
  
       ต่อมาได้มีความพยายามที่จะดำเนินคดีกับแนวรวมพันธมิตรฯต่ออีก ประกอบด้วย นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันสหสวรรษ นายสำราญ รอดเพชร โฆษกเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้ เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.กทม.เป็นผู้ต้องหาชุดที่ 2 และ 3 โดยพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง รวม 5 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจ เพื่อทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยกำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก โดยเป็นหัวหน้าสั่งการ, ร่วมกันเดินแถวเดินเป็นขบวนแห่ หรือเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร, ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวน สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกระทำโดยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่จราจร และร่วมการตั้งวางสิ่งใดบนถนนหรือในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
  
       โดยหลังสำนวนคดีถึงอัยการได้มีการรวมสำนวนเป็นคดีเดียวกัน และอัยการนัดฟังคำสั่งคดีในวันที่ 14 พ.ย.นี้ เวลา 10.00 น.จนกระทั่งวันนี้ อัยการสูงสุด ได้มีความเห็น ว่าสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว เช่นกัน
  
       อย่างไรก็ตาม นอกจากนั้น พล.ต.ต.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ยังได้แจ้งความดำเนินคดีกับ แนวร่วมพันธมิตรฯ ซึ่งประกอบด้วย นายสุริยะใส กตะศิลา, นายการุณ ใสงาม, นางสาวรสนา โตสิตระกูล, นายเพียร ยงหนู, นายสุวิทย์ วัดหนู, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, นายอวยชัย วะทา และนายศิริชัย ไม้งาม ในข้อหาเดียวกัน แต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด ยึดอารยะขัดขืน ไม่ขอเข้ามอบตัว และขอปฏิเสธคดี โดยหลังจาก พนักงานสอบสวน ยื่นขออนุมัติหมายจับจากศาล ศาลไม่อนุมัติ และขณะนี้ คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของ กองปราบปราม
http://redusala.blogspot.com

"กี้ร์" ปรากฏตัว DSI เปิดใจ "มอบตัวเพราะฟังในหลวงตรัส"

pic.twitter.com/tSWjEYMspic.twitter.com/9b185j1m
pic.twitter.com/BUln8nyq
ภาพจากทวิตเตอร์  Kamonnate Nualchan

เมื่อเวลา ๙.๔๕ น. กี้ อริสมันต์ พงษ์เรืองรองแกนนำ นปช.ที่ได้หลบหนีการสังหารหมู่เมื่อเดือนพฤษภาคม ๕๓ ได้เข้ามอบตัวสู้คดีที่ DSI แล้ว โดยมีผู้สื่อข่าวและมวลชนเสื้อแดงให้กำลังคับคั่ง

นายอริสมันต์ได้เปิดใจสั้นๆก่อนช่วงลงจากรถว่า ตนได้ตัดสินใจเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน หลังจากที่ฟังพระราชดำรัสในหลวง ที่ต้องการเห็นประเทศชาติสงบสุข และทุกคนต้องรู้จัก "ให้อภัย" กัน ตนจึงขอเข้ามอบตัวสู้คดีตามขั้นตอนของกฏหมาย และตนสัญญาว่าจะปรับลุ๊ค (บุคคลิก) จากที่แข็งกร้าวให้สุภาพเรียบร้อยมากขึ้น

ช่วงหลังการสลายการชุมนุม นายอริสมันต์ก็ได้หายหน้าไปจากสังคม แต่มีข่าวการปรากฏตัวครั้งแรกช่วง แกนนำเสื้อแดงเตะบอลกระชับมิตรกับสมเด็จฮุนเซน เมื่อราวเดือนกันยายนก่อนหน้าเข้ามอบตัวในวันนี้


*********************************+


            วันที่ 7 ธ.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ถนนแจ้งวัฒนะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดง แต่งกายในชุดสีแดงพร้อมธงสัญลักษณ์ กว่า 20 คน เดินทางมารอให้กำลังใจ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง หรือ กี้ร์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่จะเดินทางเข้ามอบตัว ส่วนสน.ทุ่งสองห้องนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 20 นาย มาดูแลรักษาความปลอดภัย ร่วมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของดีเอสไอ แต่ไม่ได้กั้นแผงเหล็ก หรือจำกัดพื้นที่ด้านหน้าตึกแต่อย่างใด


         กระทั่งเวลา 09.45 น. นายอริสมันต์ พร้อมทีมทนายความเดินทางมาถึง นายอริสมันต์อยู่ในชุดสูทสีดำ สวมแว่นดำ บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงกรูเข้ามากระโดดหอมแก้ม พร้อมมอบดอกกุหลาบสีแดงให้เพื่อเป็นกำลังใจ โดยนายอริสมันต์สนทนากับกลุ่มที่มาให้กำลังใจประมาณ 20 นาที


         นายอริสมันต์ กล่าวว่า เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและความปลอดภัยแล้ว จึงมาวันนี้ ซึ่งที่ผ่านมามีข่าวการไล่ล่าตน เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้น เช่นการพยายามจะอุ้ม การซุ่มทำร้าย ถือเป็นการกระทำที่รุนแรงเกินไป ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนเป็นห่วง หากหลบเลี่ยงได้ ให้หลบเลี่ยงไปก่อน รอเวลาเหมาะสมค่อยมอบตัว


         วันนี้จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จากนี้ก็ไม่รู้จะชุมนุมไปเพื่ออะไรอีก เพราะคิดว่าได้สิ่งที่ต้องการแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ คือได้รัฐบาลที่มาจากประชาชน ส่วนที่ต้องดำเนินการตต่อจากนี้ ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการประชาชนหรือไม่ เพื่อนำบ้านเมืองไปสู่ความปรองดอง

จากนั้นนายอริสมันต์เข้ามอบตัว โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผู้ลงมารับการมอบตัวด้วยตนเอง ก่อนจะพาขึ้นไปบนชั้น 4 เพื่อตรวจสอบประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ และสอบปากคำเพิ่มเติม จากนั้นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ จะควบคุมตัวนายอริสมันต์ ไปส่งให้อัยการในทันที

          ช่วงเย็นวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญา รัชดาฯ ไม่ให้ประกันตัวนายอริสมันต์ โดยให้เหตุผลว่าหวั่นผู้ต้องหาจะหลบหนีอีก อีกทั้งคดีก่อการร้ายมีโทษสูง ขั้นตอนต่อไปจะส่งตัวไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่ทนายจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งพรุ่งนี้ พร้อมเพิ่มหลักทรัพย์เป็น 2 ล้านบาท

http://redusala.blogspot.com

มติชนงานเข้าซะแล้ว