วิษณุ เครืองาม บรรยายพิเศษให้กับข้าราชการกว่า 1,200 คนฟัง เพื่อเตรียมพร้อมเดินหน้าประเทศไทยตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระบุอย่านึกว่า พลเอกประยุทธ์ไปแล้วทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เพราะรัฐธรรมนูญระบุหมดแล้วว่ารัฐบาลใหม่ต้องทำอะไรบ้าง
เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 ที่ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี มีจัดการปฐมนิเทศการอบรมหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ซึ่งภายหลังจากเสร็จพิธีเปิด วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 แห่งร่าง รธน. ไทย พ.ศ. ....”
วิษณุ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องมีการจัดอบรมดังกล่าวขึ้นว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นนับตั้งแต่นี้ไป ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้นบางส่วนเกิดจากรัฐบาลเองที่เป็นผู้ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ก็ความเปลี่ยนแปลงบางส่วนก็เกิดจากกระแสความต้องการของสังคม และกระแสของโลกหรือที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์
วิษณุกล่าวด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้อาจจะไม่ได้เป็นนโยบายของรัฐบาล และก็อาจจะไม่ได้เป็นกระแสความต้องการของสังคม หรือกระแสความต้องการของโลก แต่จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงแม้ว่าเราจะชอบหรือไม่ จะต้องการหรือไม่ ก็ไม่อาจขัดขวางได้ และความเปลี่ยนแปลงนี้ คือกระแสอันเกิดจากกฎระเบียบนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำลังจะมีผลใช้บังคับ จนกระทั้งถึงพระราชบัญญัติใหม่ๆ หลายฉบับ
วิษณุกล่าวต่อว่า ในชีวิตตั้งแต่รับราชการมา จนถึงวันนี้อาจจะไม่เคยพบเคยเห็น และไม่เคยนึกเคยฝันด้วยซ้ำไปว่า การปฏิบัติราชการต่อไปนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎกติกามารยาทที่ผิดแบบไปจากเดิม คำว่าผิดแบบไปจากเดิมนั้นบางครั้งทำให้ยุ่งยากกว่าเดิม แต่บางครั้งทำงานให้ง่าย และสะดวกกว่าเดิม อาจจะมีความคล้องตัวมากขึ้น ทั้งหมดคือกระแสความเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ท่านนายกฯ มีดำริว่าทำอย่างไรให้ผู้บริหารของเราทุกระดับสามารถรับรู้เข้าใจ ในกระแสต่างๆ และปฏิบัติงานได้ถูกต้องซึ่งเป็นเป้าหมายประการที่หนึ่งของทุกหลักสูตร คือการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ ความมุ่งหมายประการที่สองให้ทราบว่า การทำงานต่อไปนี้อาจจะทำงานอย่างที่เคยทำไม่ได้ แต่ผู้ทำงานจะต้องเตรียมรับความเปลี่ยนแปลง
วิษณุกล่าวต่อว่า ความมุ่งหมายประการที่สามของหลักสูตรการอบรมข้าราชการต่างหลักสูตรต่างๆ กว่า 1,200 คน คือต้องการให้ท่านทั้งหลาย ซึ่งแต่ละท่านรับผิดชอบหน่วยงานของตน สามารถทำงานแบบประสานกัน หรือที่เรียกว่าบูรณาการ เป็นการบูรณาการแบบจับมือประสานกันทำงานร่วมกัน เป็นการทำงานแบบสอดประสานกันระหว่างภาคประชาและภาครัฐ ในส่วนของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ จะทำอย่างไรที่เกิดการทำงานแบบบูรณาการ สิ่งที่ต้องทำคือการปรับให้ทุกคนอยู่บนฐานความรู้เท่าๆ กัน
วิษณุกล่าวต่อไปว่า การบริหารของรัฐ หรือการบริหารราชการ บริหารแผ่นดินของรัฐบาล ไม่ว่าจะสมัยนี้ หรือสมัยหน้า ภารกิจหลักของรัฐบาลทุกชุด และทุกประเทศคือ การบริหารประเทศ และจะทำอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการบริหารประเทศคำตอบมีสามอย่างคือ 1.ปกครองและพัฒนา 2.ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรา 3.แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
วิษณุกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้อยู่ในเวลานี้ และรัฐธรรมนูญฉบับหน้าที่ได้มีการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายไปแล้ว และก็จะพระราชทานได้ในเร็ววัน หรือที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉบับประชามติ ได้กำหนดเอาไว้เหมือนกันแสดงว่านี่คือสิ่งที่ต้องเผชิญต่อไป คือกำหนดว่านอกจากรัฐบาลจะต้องมีหน้าที่บริหารประเทศ สิ่งที่จะต้องทำเพิ่มเป็นข้อที่ 4 คือการปฏิรูป
วิษณุกล่าวต่อว่า ประเทศไทยไม่เคยมีการระบุถึงการปฏิรูปในรัฐธรรมนูญ หรือให้กฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่บังคับให้มีการปฏิรูป รัฐบาลบางชุดเคยพูดถึงเรื่องปฏิรูประบบราชการ บางชุดพูดถึงการปฏิรูประบบการศึกษา บางรัฐบาลพูดถึงสาธารณสุข ทั้งหมดที่ผ่านนั่นเป็นเรื่องที่ทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง แต่จากนี้ต้องมีการปฏิรูป รัฐธรรมนูญเขียนไว้แล้วในหมวด 16 ว่ารัฐบาลจะต้องปฏิรูปประเทศทั้ง 7 ด้าน
วิษณุระบุต่อไปว่า 1.จะต้องมีการปฏิรูปการเมือง 2.จะต้องปฏิรูประบบราชการ 3.จะต้องปฏิรูปกฎหมาย 4.จะต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 5.ปฏิรูปการศึกษา 6.ปฏิรูปเศรษฐกิจ 7.ปฏิรูปอื่นๆ และก็บอกว่า 7 ด้านนี้ให้ทำอย่างไรใครเป็นคนทำ และต้องเริ่มภายในเวลาใด เช่นการศึกษาต้องเริ่มภายใน 60 วัน แล้วต้องเสร็จภายในเวลาใด เพราะฉะนั้นท่านที่เป็นนักบริหารทั้งหลายในที่นี้ก็จะได้อยู่ได้ทำสิ่งเหล่านี้
“รัฐบาลจะอยู่หรือจะไปนั้นไม่แปลก แต่สุดท้ายท่านก็ต้องอยู่และทำต่อไป จะนึกว่าประยุทธ์ไม่อยู่ ประยุทธ์ไป เพราะฉะนั้นทุกอย่างเปลี่ยนก็เอาไว้รอรัฐบาลใหม่ เขาอาจจะคิดอีกแบบ รัฐบาลไม่มีสิทธิคิดอีกแบบเพราะว่า ป.ย.ป เป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญบังคับให้ทุกรัฐบาลต้องทำ”
วิษณุอธิบายต่อว่า ป ตัวแรกคือ ปฏิรูป นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญใหม่ยังกำหนดเรื่อง ย คือเรื่องยุทธศาสตร์ด้วยการกำหนดว่าเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยว่ายุทธศาสตร์ระยะยาวเอาไว้ ยาวที่สุดเคยวางไว้ 5 ปี ตามขั้นตอนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งถึงทุกวันนี้มีมาถึงแผนที่ 12 แต่ละแผนมีระยะเวลา 5 ปี และต่อไปประเทศจะก้าวต่อไปแบบใดคำตอบคือรอแผน 13 ซึ่งยังไม่ได้ทำ ขณะที่วันนี้กระแสโลก กระแสนักลงทุน กระแสคนไทยด้วยกันเองอยากรู้ว่า 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปีประเทศไทยจะเดินไปสู่ทิศทางใด เป้าหมายคืออะไร การต่อต้านทุจริตจะทำอย่างไร การจัดระบบที่ดินจะเป็นอย่างไร
“ช่วยบอกให้รู้เป้าหมาย 10 20 ปีได้ไหม จะได้เตรียมการถูก สิ่งเหล่านี้ไม่เคยบอกกัน รัฐบาล ทุกรัฐบาลอยากบอกแต่มีข้อจำกัดบอกไม่ได้ แต่วันนี้เป็นเรื่องที่ต้องบอก เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตร 65 ว่าประเทศไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ชาติ ส่วนจะเอากี่ปีบอกไปแล้ว บอกไปเลยว่าให้ประชาชนรู้ว่าจะเดินไปสู่เทศทางใด และมีเป้าหมายอะไร เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จะต้องพูดถึงเรื่องยุทศาสตร์”
สำหรับ ป ตัวสุดท้าย วิษณุกล่าวว่าคือ การสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาลจะต้องมีกลไกขึ้นมาช่วย แต่เพื่อให้ทำงาน 4 เรื่องนี้ คือ บริหาร ปฎิรูป ยุทธศาสตร์ และปรองดอง สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วทันใจ รองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจึงจำเป็ตต้องมีกรรมการขึ้นมาอีกชุด ซึ่งอย่างจะเรียกได้ว่าเป็น ครม.น้อย ซึ่งก็คือ ป.ย.ป. ซึ่งเป็นกลไกที่จำเป็นต้องมี และต้องมีตัวช่วยรองรับการทำงานอีก 4 ด้าน
“เราเชื่อว่าวิธีออกแบบการงานแบบนี้จะทำให้ภารกิจของรัฐบาล 4 ด้าน คือ ด้านบริหาร ด้านปฏิรูป ด้านยุทธศาสตร์ และ ด้านปรองดอง ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากทำงานโดยการอาศัยคณะรัฐมนตรีตามปกติเพียงชุดเดียว เมื่อปูพื้นให้เห็นถึงภาพใหญ่ เราอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วไง เมื่อระดับชาติเป็นยังนี้เราต้องการให้กระทรวงและจังหวัดจำลองรูปแบบนี้ไปใช้ในหน่วยงานของตนเท่าที่สามารถทำได้ นั้นคือ กระทรวงจะต้องคิดมิติในการทำงาน ต่อไปนี้จะเป็น กระทรวงเกษตร กระทรวงอุสาหกรรม กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงยุติธรรม หรือหน่วยที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงใด หรือสำนักงานที่สังกัดสำนักนายก จะเป็น ปปส ปปท จะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้แต่กองทัพ”
วิษณุกล่าวต่อว่า ภารกิจในการสร้างความสามัคคีปรองดอง ถ้าเกิดปัญหาต่าง ๆ นั้นไม่มีในหน่วยงานของตนเอง ก็อาจจะไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากเพียงใด ให้ตระหนักแต่ไม่มีอะไรที่จะต้องตื่นตระหนก แต่ในเรื่องของปฏิรูปหรือยุทธศาสตร์ หนีไม่พ้น เนื่องจากการปฏิรูปนั้นนอกจากรัฐธรรมมนูญจะกำหนดเอาไว้ว่า ต่อไปนี้ประเทศไทยต้องปฏิรูป 7 ด้าน เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้ว่าใน 7 ด้านมีกระทรวงของตนเอง ไปอยู่ในด้านไหน กระทรวงยุติธรรมอาจจะต้องตื่นตัวหน่อยเพราะไปเกี่ยวกับการปฏิรูปกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมและกระทรวงสาธารณะสุขก็อาจจะต้องตื่นตัวเพราะอาจจะต้องเข้าไปอยู่ในช่องของการปฏิรูปอื่นๆ ที่ยกตัวอย่าง เช่น สาธารณะสุข กระทรวงศึกษาธิการ ต้องตื่นเต้นทั้งกระทรวง มหาวิทยาลัยทั้งหมดต้องตื่นเพราะมหาวิทยาลัย เพราะเราเข้าไปอยู่ในช่องปฏิรูปที่ตรงที่สุดนั้นคือการศึกษา
วิษณุกล่าวต่อว่า ลำพังการปฏิรูป 7 ด้าน ก็หนักหนาเพียงพอแล้ว แต่อาจจะต้องหนักไปกว่านี้อีก เพราะขณะนี้ วันนี้ และเวลานี้รัฐบาลได้มีการประชุมร่วมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชุมร่วมกับ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ มีการจับมือทำงานร่วมกันค้นพบว่า แม้จะต้องปฏิรูประเทศ 7 ด้าน แต่ก็เป็นด้านที่ใหญ่ๆ ทั้งนั้น แต่เราสกัดด้านย่อยๆออกมาเพื่อที่จะทำโดยเร่งด่วน ที่ต้องทำเฉพาะหน้า มีทั้งหมด 27 เรื่อง ที่เรียกันว่า 20 ประเด็นปฏิรูป
“27 เรื่อง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งคิดและฝันขึ้นมา อะไรที่สามารถทำได้ทันทีโดยที่ไม่มีกฏหมายบังคับว่าต้องทำ อะไรจะต้องมีพระราชบัญญัติต้องรีบออก อะไรที่มันด่วนมากจนพระราชบัญญัติก็ออกได้ช้า อะไรที่ออกเป็นพระราชกำหนดก็ยังช้าอยู่ดี เพราะว่ามีอะไรที่เร่งด่วนที่เกี่ยวกับพันกับตัวบุคคลซึ่งอาจจะต้องใช้ มาตรา44 ทั้งหมดคือกลไกที่จะขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูป 27 ประเด็น”
วิษณุกล่าวต่อไปว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้มีการประกาศใช้ ในวันใดจะต้องมีการออกพระราชบัญญัติมาฉบับหนึ่งมีชื่อว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวางแผนเกี่ยวกับการปฏิรูประเทศ 7 ด้าน กฏหมายที่ว่าต้องประกาศออกมาใช้ให้เสร็จภายในระยะเวลา 4 เดือน ยุทธศาสตร์ชาตินั้นคือเป้าหมายของชาติ และของประเทศชาติทั้งประเทศ แต่ประเทศประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ วันนี้เราอยากเห็นยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตร สำนักงาน ก.พ. กระทรวงกลาโหม สภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ในวันใด นอกจากจะต้องออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดวางแผนปฏิรูปให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 4 เดือนต้องมีการออก กฏหมายาฝาแฝดอีก 1 ฉบับ พระราชบัญญัติวางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลา 4 เดือน พอพระราชบัญญตินำออกมาใช้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ชุดหนึ่ง อาจจะมีการจัดแบ่งกรรมการในด้านต่าง ๆ แต่กรรมการยุทธศาสตร์ 1ชุด มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะกำหนดวางแผนโดยตัดสินใจวางแผนยุทธศาสตร์ชาติให้เห็นไปไกลถึงระยะเวลา 20 ปี เพื่อครอบคลุมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4 แผนข้างหน้า
วิษณุกล่าวต่อว่า วันนี้รัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติก่อนชั่วคราวดังนี้ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านสักกายภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ในทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ในด้านคุณภาพคนโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบระเบียบราชการให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว
“ประธานยุทธศาสตร์ข้างหน้าอาจจะเป็นคนเดียวกับวันนี้คือ นายกรัฐมนตรี จึงหวังว่ายุทธศาสตร์ชาติจะยังคงอยู่ และจะไปเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ 20 ปี จะมีส่วนไหนเข้าไปต่อเดิม ก็ค่อยว่ากัน โดยรัฐบาลใหม่ที่จะเลือกตั้งเข้ามา ไม่ต้องกลัวว่า วันนี้ พลเอกประยุทธ์ วางแผนไว้ 20 ปี ทำให้รัฐบาล 20 ชุดต้องจำนนอยู่ในภายใต้อำนาจ ทุกวันนี้ยุทธศาสตร์ชาติต้องฟังเสียงจากประชาชน โดยที่ใครจะเปลี่ยนก็จะต้องไปฟังเสียงจากประชาชน”
วิษณุกล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ชาติที่จะกำหนดในวันนี้จะต้องมีการเสนอเข้าสภา และต้องให้สภาลให้ความเห็นชอบ ใครจะไปเปลี่ยนยุทธศาสตร์ 20 ปีข้างหน้าก็จะต้องทำแบบเดียวโดยการเข้าสภา รัฐบาลใด นายกชื่ออะไร เมื่อเข้ามาอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หากไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ รัฐบาลต้องปฏิบัติตามเพราะยุทธศาสตร์ชาตินั้น ผูกมัดคณะรัฐมนตรี ผูกมัดศาล ผูดมัดรัฐสภา ผูกมัดองค์กรอิสระ แม้แต่องค์กรต่างๆ เช่น กกต ปปช ต้องปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะมีการกำหนดขึ้นในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า
“ถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนก็ถือว่าชอบ วันนี้เราอย่าพึ่งมองไปไกลถึงยุทธศาสตร์ 20 ปี แต่เอายุทธศาสตร์ของรัฐบาลเสียก่อน อาจจะมอบให้คนสักคน กองสักกอง ฝ่ายสักฝ่าย ไปดูแลเรื่องความสามัคคีปรองดอง ทั้งหมดคือสิ่งที่ต้องการให้รับทราบ และถ่ายทอด กระแสความเปลี่ยนแปลงกฎบัตรกฎหมายอาจจะดูรุนแรงกว่ากระแสอื่น โดยกระแสอื่นนั้นอาจจะพอพูดผ่อนผันกันได้ แต่ถ้าเกิดเป็นเรื่องกฏหมายบังคับ จะไม่สามารถผ่อนผันได้ ต่อรองไม่ได้ ทำได้แต่เพียงต้องปฏิบัติตาม เรื่องปฏิรูปเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ถูกตรึงเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ รับบาลในระดับประเทศจึงต้องทำ ในระดับราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ต้องจำลองเอาไปทำเหมือนกัน”