วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

เปิด 63 รายชื่อผู้สมัครชิง 2 เก้าอี้กรรมการสิทธิฯ


จากกรณีเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา การประชุมสภานิติบัญญํติแห่งชาติ (สนช.) ไม่รับรอง บวร ยสินทร และศุภชัย ถนอมทรัพย์ เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) (อ่านรายละเอียด) ส่งผลให้ คณะกรรมการสิทธิฯ ชุดใหม่ยังขาดอีก 2 คน จากทั้งหมด 7 คน ดังนั้นคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิฯ ได้มีประกาศลงวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา รับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิฯ  จำนวน  2 คน โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่ 26 ส.ค. - 1 ก.ย. 58 ระหว่างเวลา 08.30 – 17.00 น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ ห้องเสวนา  ชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  
โดยล่าสุดวันนี้(1 ก.ย. 58) รายงานจากสนง.คณะกรรมการสิทธิฯ แจ้งว่า มีผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิ  จำนวน 63 คน ประกอบด้วย
  • 1. นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที 
  • 2. พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ
  • 3. นายวีระ สมความคิด     
  • 4. พันตำรวจเอก อำนาจ อันอาตม์งาม           
  • 5. นายอิทธิกร ขำเดช       
  • 6. นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์      
  • 7. นายสุพจน์ เวชมุข        
  • 8. นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ      
  • 9. หม่อมหลวง กรกสิวัฒน์ เกษมศรี 
  • 10. นางเตือนใจ ดีเทศน์    
  • 11. รองศาสตราจารย์ มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ               
  • 12. นายสุวันชัย  แสงสุขเอี่ยม        
  • 13. นายนิกร วีสเพ็ญ        
  • 14. นายคมเทพ ประภายนต์           
  • 15. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จันทรา เหล่าถาวร           
  • 16. นายอนุวัติ เตียวตระกูล
  • 17. นายชาติชัย  อุดมกิจมงคล           
  • 18.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ยศศักดิ์  โกไศยกานนท์       
  • 19.  นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล  
  • 20. นายสมภพ ระงับทุกข์  
  • 21.  นายวิชกรพุฒิ  รัตนวิเชียร        
  • 22.  พันตำรวจโทหญิง  ฐิชาลักษณ์  ณรงค์วิทย์          
  • 23.  นายบรรจง  นะแส     
  • 24.  นายไพโรจน์  พลเพชร
  • 25.  พลเอก  ภูดิศ  ทัตติยโชติ        
  • 26. นางสาวอุชษณีย์  ชิดชอบ        
  • 27.  นายกฤษฎา  ให้วัฒนานุกูล
  • 28.  นายสรรพสิทธิ์  คุมพ์ประพันธ์
  • 29.  รองศาสตราจารย์  มยุนา  ศรีสุภนันต์
  • 30.  นายไพฑูรย์  สว่างกมล
  • 31.  นายสามารถ  ภู่ไพบูลย์
  • 32.  นายนคร  ศิลปอาชา
  • 33.  นายธารีพันธ์  ทีปะศิริ
  • 34.  นางชลิดา  ทาเจริญศักดิ์
  • 35.  นางภรณี  ลีนุตพงษ์
  • 36.  นายมโน  เมตตานันโท  เลาหวนิช 
  • 37.  นายพิทยา  จินาวัฒน์
  • 38.  นายชาติชาย  สุทธิกลม
  • 39.  นางสาวเสาวนิตย์  ยโสธร
  • 40.  นางทิพย์พาพร  ตันติสุนทร
  • 41.  นางพะเยาว์  อัคฮาด
  • 42.  นายรังษี  จุ๊ยมณี
  • 43.  นายพิเชียร  อำนาจวรประเสริฐ
  • 44.  นายธวัชชัย  ไทยเขียว
  • 45.  นางสาวปวิมลวรรณ  รัตนศรีโชติช่วง
  • 46.  นายสิระ  เจนจาคะ
  • 47.  นายเฉลิมศักดิ์  จันทรทิม
  • 48.  พลตำรวจโท  ทวีศักดิ์  ตู้จินดา
  • 49.  นายปิยะชาติ  อำนวยเวช
  • 50.  นายสมเกียรติ  รอดเจริญ
  • 51.  นายสุรจิต  ชิรเวทย์
  • 52.  นายบัณฑิต  ตั้งประเสริฐ
  • 53.  นายอัษฎางค์  เชี่ยวธาดา
  • 54.  พันตำรวจเอก  สุเทพ  สัตถาผล
  • 55.  นางพิกุล  พรหมจันทร์
  • 56.  นายเสกสรร  ประเสริฐ
  • 57.  พลโท  วิภพ  กิวานนท์
  • 58.  นายเปรมปรีดา  ปราโมช  ณ อยุธยา
  • 59.  นางสาวศุภมาศ  พยัฆวิเชียร
  • 60.  นายศรีสุวรรณ  จรรยา
  • 61.  พลตรีหญิง  พูลศรี  เปาวรัตน์
  • 62.  นางรัชนี  เกษคุปต์
  • 63.  นางนิภาพร  พุทธพงษ์

ตร. แถลงจับชาวต่างชาติที่สระแก้วเอี่ยวระเบิด ชี้คล้ายชายเสื้อเหลืองในวงจรปิด


1 ก.ย. 2558 พ.อ. วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมศูนย์ติดตามสถานการณ์คสช. ว่า สำหรับความคืบหน้าการสอบสวนคดี(ระเบิดแยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 ส.ค.58) ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์จนถึงปัจจุบัน ศาลได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องสงสัยแล้วจำนวน 4 ราย ได้แก่ 1.ชายที่สวมเสื้อสีเหลืองซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ 2. ชายที่สวมเสื้อฟ้าซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ท่าเรือสาทร 3. ชายตามภาพสเก็ตส์ซึ่งมีผู้พบเห็นว่าเป็นผู้พักอาศัยในห้องเช่าย่านมีนบุรี ที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบระเบิด และ 4. น.ส.วรรณา สวนสัน ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเปิดเช่าห้องพักในพื้นที่มีนบุรีจำนวนหลายห้อง ที่มีชายชาวต่างชาติตามภาพสเก็ตส์เข้ามาพักอาศัย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของน.ส.วรรณา ซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศ ได้ติดต่อขอเข้าให้ปากคำแก่ทางเจ้าหน้าที่แล้ว
“ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างการซักถามผู้ต้องหาที่ควบคุมตัวได้จากพื้นที่หนองจอกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้ให้การที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนคดีเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การขยายผลติดตามจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และจากผลการสอบพยานต่างๆ โดยเฉพาะพยานบุคคลและผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่จะชี้แจงข้อมูลที่มีความชัดเจนแล้วเท่านั้น ให้ประชาชนและสังคมได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อให้การขยายผลการสืบสวนคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ อาคารที่พัก เกสต์เฮาส์และห้องเช่าต่างๆ หากพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเข้ามาพักอาศัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อมายังเบอร์โทรศัพท์สายด่วน 1515 ได้ทันที” พ.อ.วินธัย กล่าว
โฆษกคสช. กล่าวขอความร่วมมือสื่อมวลชนทุกแขนงให้งดการนำเสนอข่าวในเชิงด่วนสรุปหรือคาดเดาไปเอง โดยปราศจากข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจากทางราชการ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นการชี้นำต่อการรับรู้ของประชาชน จนอาจทำให้สังคมเกิดความตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศได้
ตร.แถลงจับชายต่างชาติที่สระแก้วคุมสอบเอี่ยวระเบิดกรุง
วันเดียวกัน พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงกรณีมีการควบคุมตัวชายชาวต่างชาติ ซึ่งมีใบหน้าคล้ายกับผู้ต้องหาในคดีลอบวางระเบิดใกล้สี่แยกราชประสงค์ และสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินหรือท่าเรือสาทร เมื่อวันที่ 17 และ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ชายแดนเขตพื้นที่บ้านดงงู ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ขณะหนีไปกัมพูชา ยืนยันว่าอยู่ในขบวนการวางระเบิด และรูปร่างใบหน้าคล้ายกับชายเสื้อเหลืองตามภาพวงจรปิด อีกทั้งผลตรวจดีเอ็นเอก็ตรงกับเสื้อผ้าในห้องเช่าย่านมีนบุรี ที่มีการแชร์ภาพพาสปร์อตชาวจีนนั้น ไม่ใช่ของบุคคลนี้ โดยขอเวลาตรวจสอบลายนิ้วมือและสอบปากคำก่อน เบื้องต้นแจ้งข้อหาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ ส่วนข้อหาอื่นอยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวน ยังไม่ยืนยันว่าชายคนนี้เป็นคนเดียวกับชายสวมเสื้อสีเหลือง แต่รูปพรรณสัณฐานคล้ายชายเสื้อเหลืองตามภาพสเก็ต เนื่องจากต้องรอคำยืนยันจากพยานในที่เกิดเหตุก่อน โดยคุมชายคนนี้ไปสอบสวนที่กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 ตามกฎหมายมาตรา 44 สถานที่เดียวกับชายคนแรก ทั้งนี้เชื่อว่าการลอบวางระเบิดทำกันมานานและเป็นขบวนการ วันที่ 7 กันยายนนี้ จะเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศประชุมเพื่อมอบนโยบายและวางมาตราการป้องกันคนร้ายหลบหนีออกนอกประเทศ
ศาลออกหมายจับเพิ่มอีก 3 คดีบึ้มราชประสงค์-สาทร
วันเดียวกัน ศาลจังหวัดมีนบุรี ออกหมายจับนายอาลิ โจลัน สัญชาติตุรกี ตามภาพสเก็ตคนร้ายที่ 0357/58 นายอาฮ์เม็ท โบซองแลน และชายชาวตุรกีไม่ทราบชื่อตามภาพสเก็ตคนร้ายที่ 0367/58 ในข้อหา ร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวน สน.มีนบุรี โดยทั้ง 3 คนเป็นคนเช่าห้องพักและเป็นผู้พักอาศัยในห้องพักที่มีการเช่าไว้รวม 5 ห้อง ของพูลอนันต์อพาร์ทเม้นท์ ย่านหนองจอก สถานที่ที่เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมชายชาวต่างชาติคนแรกพร้อมของกลางอุปกรณ์ประกอบวัตถุระเบิดและรายการอื่นๆเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (29 ส.ค.) ทำให้จนถึงขณะนี้ศาลได้ออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องกับคดีระเบิดใกล้สี่แยกราชประสงค์และท่าเรือสาทรดังกล่าว

เปิดใจนศ.ปี 1 ผู้แขวนป้าย “N' ป๋วย” คล้องคออนุสาวรีย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.รังสิต

ภาพจากเฟซบุ๊ก LLTD มีคำอธิบายประกอบภาพว่า 
"N'ป๋วย แขวนตลอดเวลาจนกว่ารุ่นพี่จะสั่งถอด #ปี1เนื่องจากมีการบังคับการห้อยป้ายชื่อในบางคณะ การห้อยป้ายชื่อโดยการบังคับนั้นเป็นนัยยะที่มองว่า"เพื่อนใหม่"ที่ถูกห้อยป้ายนั้นเป็นคนที่ต่ำต้อยกว่าจึงจำเป็นที่รุ่นพี่ต้องการวางอำนาจบาตรใหญ่ เพื่อบังคับ ควบคุม บงการวิถีชีวิตให้ ทั้งที่ทุกคนควรมีความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์และมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกได้โดยใช้เหตุผลตัดสินด้วยตัวเอง ดังนั้นไม่ควรมีผู้ใดถูกดขี่และละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยการบังคับ ในนามของความอาวุโส #รักน้องอย่าบังคับน้อง"

จากกรณีที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)’ เผยแพร่ภาพป้ายชื่อห้อยคอที่มีข้อความ “N' ป๋วย แขวนตลอดเวลา จนกว่ารุ่นพี่จะสั่งถอด #ปี1” คล้องอยู่บนคออนุสาวรีย์ ศ.ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
พร้อมด้วยการแสดงความเห็นในโพสต์ดังกล่าวของเพจ LLTD ที่น่าสนใจ เช่น 
ผู้สื่อข่าว ‘ประชาไท’ ได้สอบถามไปยังนักศึกษาปี 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสมาชิกกลุ่ม LLTD คนหนึ่งซึ่งไม่สะดวกเปิดเผยชื่อ-สกุล เขายอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำป้ายข้อความดังกล่าวไปแขวน และเปิดเผยถึงสาเหตุที่กระทำการดังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้คุยกับเพื่อนๆ เรื่องประเด็นระบบโซตัสในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีระบบนี้ไม่ชัดเจนเหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เป็นเพียงจุดย่อยๆ ในแต่ละคณะ แต่ภาพที่เห็นชัด คือการให้น้องปี 1 ต้องแต่งชุดนักศึกษา แขวนป้ายชื่อ ติดตราของคณะของภาควิชา โดยที่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไร แต่ก็มีบางส่วนที่รู้สึกว่ามันมากเกินไป ตนเองจึงคิดว่าถ้าทำป้าย “N’ป๋วย” ไปแขวนที่อนุสาวรีย์มันจะสามารถสะท้อนอะไรได้หรือไม่
“รุ่นพี่จะมีความคิดหวังกับสิ่งที่เขาทำอย่างนี้ เขาอาจจะต้องการให้น้องรู้จักกัน ต้องการให้น้องรู้จักระเบียบ แต่ผมว่ารูปแบบที่จะทำให้น้องได้เรียนรู้มันมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้” นักศึกษาปี 1 ผู้แขวนป้าย “N' ป๋วย” กล่าว
เขายังกล่าวอีกว่า มีความคิดความเชื่อของคนจำนวนไม่น้อยที่ว่าเราโตขึ้นมา เราได้ดีขึ้นมาในมหาวิทยาลัยเพราะถูกว้าก ถูกบังคับให้แต่งตัว ถูกให้ทำโน่นนี่ เพราะฉะนั้นน้องๆ รุ่นต่อไปต้องทำเหมือนเรา สำหรับเขาตรรกะแบบนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้องและเป็นการผลิตซ้ำวิธีการที่ไม่ถูก เพราะวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องแบบนี้แต่ละคนล้วนมีวิธีการของตัวเองมากกว่าที่รุ่นพี่จะเอาวิธีการแบบเดียวกันเข้าไปยัดใส่ให้น้องๆ
เขาเปิดเผยอีกว่า บางคณะมีการให้นักศึกษาปี 1 แต่งชุดนักศึกษาตลอด 2 เทอม บางคณะมีการบังคับให้นักศึกษาปี 1 แขวนป้ายชื่อ แม้แต่นอกเวลาเรียนก็ต้องแขวน หากไม่ทำจะถูกพูดกดดันกัน
สำหรับข้อโต้แย้งที่ว่าการแขวนป้ายไม่ได้เป็นการกดขี่หรือสร้างภาระอะไร เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้คือการทำให้คนรู้จักกันง่ายขึ้นนั้น เขาเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคลในการจะบอกว่ามันหนักสำหรับคนคนนั้นหรือเปล่า จึงคิดว่าควรขึ้นอยู่กับตัวนักศึกษาผู้ที่ถูกสั่งให้แขวนป้ายมากกว่า ถ้ารู้สึกว่ามากเกินไปก็ต้องถือว่ามากเกินไป และคิดว่าความคาดหวังของน้องอาจจะต่างจากรุ่นพี่ หรือแม้อาจจะคาดหวังเหมือนกันแต่วิธีการให้ได้มาซึ่งเป้าหมายก็อาจจะไม่ใช่แบบที่รุ่นพี่ยัดเยียดให้ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะการสนิทกับเพื่อนหรือการเข้าใจความเป็นคณะนั้นๆ อาจมีวิธีอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้การแขวนป้ายชื่อหรือแต่งชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้
สำหรับเหตุที่เลือกใช้อนุสาวรีย์ป๋วยนั้น เขาให้เหตุผลว่า เพราะจุดดังกล่าวเป็นจุดที่เด่น หลายคนสามารถมองเห็นและน่าจะได้คิด ประกอบกับต้องการเผยแพร่ในเฟซบุ๊กเพื่อสร้างความสนใจ
“ตอนนี้รุ่นพี่หรือใครก็แล้วแต่กำลังมองน้องแบบว่างเปล่า ในสมองไม่มีเรื่องอะไรเลย ไม่มีความคาดหวัง ไม่มีความคิด ไม่มีความรู้ ไม่มีความต้องการอะไรทั้งสิ้น รุ่นพี่เขากำลังคิดว่าน้องที่เข้ามามันจะต้องรับไอ้สิ่งที่เขาคิดไปเท่านั้น ถ้าคุณคิดว่าน้องมันไม่มีความคิดอะไรที่จะจัดหาด้วยตัวเอง แล้วรุ่นพี่ต้องมายัด ในทางเดียวกัน ถ้าอาจารย์ป๋วยเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลที่มีความสามารถในมหาวิทยาลัย การที่เขาเป็นคนอย่างนั้น มันได้มาด้วยวิธีการที่รุ่นพี่จับยัดอย่างนั้นหรือเปล่า คือมันไม่ใช่จะมาด้วยวิธีการแบบนั้นเสมอไป” นักศึกษาปี 1 คนเดิมกล่าว
สำหรับข้อกังวลว่าการทำกิจกรรมดังกล่าวจะถูกมองว่าเป็นการลบหลู่ไม่ให้เกียรติอดีตอธิการบดีหรือไม่นั้น เขากล่าวว่า เรื่องรูปปั้นของบุคคลสำคัญไม่ว่าอาจารย์ปรีดี อาจารย์ป๋วย หลักๆ คือมีไว้เพื่อรำลึกถึงกิจกรรม ทัศนะและความต้องการของบุคคลเหล่านั้น และด้วยข้อความของฐานออนุสาวรีย์เองก็ไม่ต้องการทำให้รูปปั้นดังกล่าวเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นสิ่งที่น่าจะใช้เป็นจุดสัญลักษณ์เพื่อที่จะเอาไว้เรียนรู้ รวมทั้งลูกอาจารย์ป๋วยอย่าอาจารย์จอน อึ้งภากรณ์ เขาก็ไม่ได้ต้องการให้พ่อเขาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แทนที่จะทำให้อนุสาวรีย์ดังกล่าวเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ควรใช้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ในการเรียนรู้
เขากล่าวด้วยว่า ป้ายดังกล่าวนั้นหลังจากแขวนไป 20 นาที เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยก็เอาลงไป โดยที่ไม่มีการข่มขู่ ตักเตือนหรือว่ากล่าวอะไร
สำหรับข้อสงสัยที่ว่าเอาไปแขวนได้อย่างไรนั้น เขาเปิดเผยว่า ไม่ได้ปีนขึ้นไป แต่ใช้วิธีเอาไม้ต่อลวดนำไปแขวน