วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

ประยุทธ์บอกวุ่นวายนักทำประชามติไม่ได้ก็ไม่ทำ โยงพลเมืองโต้กลับ-ทักษิณ

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

บ่นเหนื่อยเปล่า ประยุทธ์ บอกวุ่นวายกันนักทำประชามติไม่ได้ก็ไม่ทำ ทุกอย่างกลับที่เดิม เหมือนเลือกตั้งครั้งที่แล้ว พร้อมโยงพลเมืองโต้กลับที่เรียกร้องปล่อยวัฒนากับทักษิณ ขณะที่วัฒนาถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลทหาร ทหารเตรียมยื่นประกันตัว
 
21 เม.ย. 2559 ความคืบหน้ากรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ที่เรียกร้องให้คณธรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปล่อยตัว วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย หลังควบคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา จากกรณีการโพสต์เฟซบุ๊กไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ล่าสุดวันนี้ (21 เม.ย.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เป็นความพยายามกดดันให้ คสช. ใช้อำนาจ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายในบ้านเมือง 
 
"นักศึกษาก็นักศึกษาแล้วอยู่กับพวกไหน พวกไหนใครเอารถไปส่ง ใครหะ วอยส์ทีวีไปส่งหรือเปล่า รถนปช.ไปหรือเปล่า ใครล่ะ ยึดโยงกันยังไง นี่วิเคราะห์แบบนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้ให้ คสช. เร่งตรวจสอบผู้อยู่เบื้องหลัง 
 
"เขาทำอยู่ หรือเธอจะทำช่วยฉัน  ไม่รู้หรอ ไม่รู้เหรอตอบ ไม่รู้หรอว่ามาจากไหน ใครล่ะที่ทำตรงนี้ ใครล่ะที่สนับสนุนกันมา ใครมีการวางแผนมา หนึ่งล็อบบี้ยีสต์ต่างประเทศ ใครทักษิณ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุด้วยว่า ไม่กังวลกับกรณีองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หรือ แอมเนสตี้ ออกมาเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน พร้อมเตรียมส่งหนังสือชี้แจงสถานทูตทุกประเทศ เพราะรัฐบาล และ คสช. ดำเนินการตามกฎหมาย ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ในระหว่างการทำประชามติหากเกิดความวุ่นวายก็จำเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงการทำประชามติได้
 
"กฎหมายเขาว่าไง ก็ทำไปสิ ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ ทำไม่ได้ก็ทำไม่ได้ ก็มาประท้วงกันทำไม่ได้แล้วจะทำประชามติได้ไหมเล่า ก็เหมือนเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เลือกกัน มันเลือกได้ไหมเล่า ก็คุณเสนอกันไปกันมาจนกระทั่งมันตีกันเลือกตั้งไม่ได้ วันนี้เสนอก็ตีกันมาประชามติไม่ได้ แล้วจะทำยังไง ก็กลับที่เดิมทุกอย่าง เหนื่อยเปล่า" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
(เรียบเรียงจาก PPTV และทวิตเตอร์ @Korn_PPTV )
 

นำตัว วัฒนา ฝากขังที่ศาลทหาร

สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า ทหารได้นำตัว วัฒนา มาคุมตัวที่ มทบ.11 ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา เพื่อแจ้งข้อหาขัดคำสั่ง คสช.ที่ 39/2557 ตามเงื่อนไขที่ คสช. ได้ห้ามกลุ่มการเมืองแสดงความเห็นตั้งแต่หลังรัฐประหาร โดยเมื่อเวลา 09.30 น. พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ฝ่ายกฎหมาย คสช. ได้ออกมารับทีมทนายความ เดินทางเข้าไปพบ วัฒนา และพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ภายใน มทบ.11
 
ก่อนหน้านี้ นรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความของวัฒนา พร้อมด้วยแกนนำและอดีต ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย ได้มาติดตามความคืบหน้าในการควบคุมตัว วัฒนา ที่ มทบ 11 พร้อมเตรียมยื่นประกันตัวด้วยวงเงิน 5 หมื่นบาท ซึ่งทนายความเชื่อมั่นว่า จะได้รับการประกันตัวเนื่องจาก วัฒนา ไม่คิดหลบหนี และไม่กระทำการขัดต่อเงื่อนไขการขอปล่อยตัวชั่วคราว
 
ด้าน กิตติรัตน์ ณ ระนอง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงตามคำสั่งที่ 39/2557 ได้ทำขึ้นช่วงการรัฐประหาร ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 แต่การแสดงความคิดเห็นของนายวัฒนา ถือเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี 2557 ดังนั้น บันทึกข้อตกลงของคสช. จะมีอำนาจเหนือกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ ส่วนการแสดงความคิดเห็นและการยื่นคำร้องต่อองค์กรนานาชาติของทางครอบครัวนั้น เป็นการดำเนินการโดยบริสุทธิ์ใจ ยืนยันว่า ไม่มีกลุ่มบุคคลอยู่เบื้องหลังอย่างที่ คสช.กล่าวอ้าง
 
สำนักข่าวไทย ยังรายงานด้วยว่า นอกจากแกนนำพรรคเพื่อไทยแล้ว พอมีข่าวเรื่องของการเตรียมยื่นฟ้อง วัฒนาและปล่อยตัว ก็ได้มีแนวร่วม และมวลชน เดินทางมารอที่หน้า มทบ. 11

ศาลทหารให้ประกัน 'วัฒนา' - 'พลเมืองโต้กลับ' ยุติกิจกรรมยืนสงบนิ่ง




ความคืบหน้ากรณี วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา จากกรณีการโพสต์เฟซบุ๊กไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
21 เม.ย. 2559 เว็บไซต์แนวหน้า รายงานว่า ที่ศาลทหารกรุงเทพเมื่อเวลา 15.19 น.เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้นำตัว นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ และแกนนำพรรคเพื่อไทย มายื่นคำร้องขออำนาจศาลทหารกรุงเทพ เพื่อฝากขังผัดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.59 - 2 พ.ค.59 ภายหลังถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนเงื่อนไขประกาศ คสช.ฉบับที่ 39/2557
จากนั้นเวลา 16.30 น. คณะตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ได้ออกนั่งบังลังก์อ่านคำร้องที่เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขังนายวัฒนา โดยพนักงานสอบสวนให้เหตุผลว่าต้องสอบสวนพยานอีก จำนวน 5 ปาก พร้อมกับตรวจสอบประวัติอาชญากร
ด้านนายวัฒนาได้คัดค้านการฝากขัง โดยให้เหตุผลว่าการควบคุมตัวของทหารที่ดำเนินการกับตนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตนใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และที่ผ่านมาไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี อีกทั้งทางเจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาภายหลังจากที่มีการควบคุมตัวของตนแล้ว และมีการเปลี่ยนข้อหาไปเรื่อยๆ แบบไม่สุจริต ทั้งนี้ คสช.ยังมีพฤติกรรมลุแก่อำนาจ จะแจ้งข้อหาขัดคำสั่ง คสช.เพิ่มหากตนไม่ยอมรับประทานอาหาร
ด้านคณะตุลาการศาลทหารฯ ได้พิจารณาเห็นว่า คำคัดค้านของนายวัฒนาเป็นข้อต่อสู้ทางคดี และเห็นว่านายวัฒนาขัดประกาศ คสช.จริง จึงอนุญาตฝากขังนายวัฒนา ผัดที่ 1 เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.59 - 2 พ.ค.59 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ผู้สื่อข่าวแนวหน้ารายงานว่า คณะตุลาการศาลทหารฯ ได้อนุญาตให้ผู้สื่อข่าว จำนวน 7 คน เข้ารับฟังคำร้องด้วย โดยห้ามบันทึกภาพและจดรายละเอียดแต่อย่างใด หลังจากนั้นทาง นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความของนายวัฒนา ได้ยื่นเงินสด จำนวน 80,000 บาท เพื่อขอประกันตัวนายวัฒนา
ต่อมาเวลา 17.35 น. นายนรินทร์พงศ์ เปิดเผยว่า ศาลอนุมัติการยื่นคำร้องขอประกันตัวในวงเงิน 80,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการยั่วยุ ชักชวน ปลุกปั่น ปลุกระดม ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้เกิดการชุมนุม รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศก่อนจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายวัฒนา จากศาลทหารกรุงเทพไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อทำการปล่อยตัว
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 17.41 น. อานนท์ นำภา กลุ่มพลเมืองโต้กลับ โพสต์เฟซบุ๊ก ประกาศยุติกิจกรรม "ยืนสงบนิ่ง" ที่ บีทีเอส ช่องนนทรี หลัง วัฒนา เมืองสุข ได้รับการประกันตัวแล้ว พร้อมยืนยันว่า กลุ่มพลเมืองโต้กลับจะคงจุดยืนที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อปกป้องพลเมืองและโต้กลับกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยคณะรัฐประหารต่อไปจนกว่าคณะรัฐประหารจะคืนอำนาจให้พลเมือง

นปช.ร้อง กกต.เปิดให้ประชาชนทุกฝ่ายแสดงความเห็นได้เสรี ประชามติร่างรธน.

ที่มาภาพ เพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ

แกนนำ นปช. เข้าเรียกร้อง กกต. ขอให้ประชาชนทุกฝ่ายสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมประกาศจุดยืน นปช. ไม่รับ
21 เม.ย. 2559 เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วยแกนนำ นปช.อาทิ ธิดา ถาวรเศรษฐ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เหวง โตจิราการ ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อ กกต.ผ่าน เมธา ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม เพื่อเรียกร้องให้ กกต.ดำเนินการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยให้ประชาชนทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีและขอให้ข้อมูลและเหตุผลของฝ่ายที่เห็นต่างกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มีโอกาสนำเสนอตต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง
จตุพร กล่าวว่า วันนี้มาในฐานะกลุ่มการเมืองที่ประกาศจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ แต่ปัญหาคือขณะนี้หากใครไม่รับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็เท่ากับจะมีปัญหากับรัฐ ทั้งที่การทำประชามติเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่สามารถแสดงความเห็นได้ อีกทั้ง เห็นว่าการทำหน้าที่ของ กกต.ในการทำประชามตินั้นย่อมมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพราะถือเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบด้านนี้โดยตรง ส่วนรัฐบาลและ คสช.นั้นมีหน้าที่เพียงแค่อำนวยความสะดวกให้ กกต.เท่านั้น ดังนั้นหาก กกต.จัดทำประชามติด้วยความสุจริตโปร่งใส ผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ขอน้อมรับ แต่ส่วนตัวแล้วหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านตนก็ขอประกาศต่อ กกต.ว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังเห็นว่าข้อห้ามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เช่น การปลุกระดม กระทำความรุนแรง ก้าวร้าว ข่มขู่ และบิดเบือน เป็นลักษณะต้องห้ามที่เป็นนามธรรมและครอบจักรวาล อะไรคือตัวชี้วัดมาตรฐานความรุนแรงหรือความก้าวร้าว จึงอยากให้ กกต.ต้องระบุให้ชัด ยกตัวอย่าง ลักษณะการพูดแบบนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นมาตรฐานให้ปฏิบัติตามได้หรือไม่ ที่ผ่านมาตนยังไม่เคยเห็นใครเขียนกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนเช่นนี้มาก่อน กลายเป็นว่าแต่ละฝ่ายกลับอธิบายเนื้อหากฎหมายที่ไม่เหมือนกัน

จดหมายถึง กกต. และคำแถลงฉบับย่อ :