วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

นันทวัฒน์ บรมานันท์ เขียน 3 เหตุผลหลักไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ


ระบุ แม้ในภาพรวม ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะดูดีหลายจุด แต่ยังมีข้อกังวลในสาระสำคัญ 3 เรื่องคือ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 
7 ก.ย. 2558 นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เขียนบทบรรณาธิการ เรื่อง “ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ” ลงในเว็บ www.pub-law.net เมื่อเย็นวานนี้ โดยระบุเหตุผลที่ตนเองลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ วานนี้ว่า แม้ในภาพรวม ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะดูดีหลายจุด แต่ยังมีข้อกังวลในสาระสำคัญ 3 เรื่องคือ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (อ่านรายละเอียดด้านล่าง)
     
ก่อนหน้านี้ นันทวัฒน์ เขียนบทบรรณาธิการใน  www.pub-law.net ครั้งล่าสุดเมื่อ 1 มิ.ย.2557 ภายหลังการรัฐประหารราว 1 สัปดาห์ โดยระบุว่า เมื่อไม่มีมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่รับรองเสรีภาพทางวิชาการ การเขียนบทบรรณาธิการของ www.pub-law.net ต่อไปน่าจะเป็นการเสี่ยงเกินความจำเป็น จึงขอหยุดการเขียนบทบรรณาธิการไว้ก่อนจนกว่าเสรีภาพทางวิชาการจะได้รับการคุ้มครองตามเดิม
ส่วนหลังจากนี้ เขาจะกลับมาเขียนบทบรรณาธิการอีกเมื่อใดนั้น เขาระบุว่า "ต้องขอดูก่อนว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับการไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว “รัฐบาล” จะดำเนินการบริหารประเทศแบบใด ผ่อนคลายลง เหมือนเดิม หรือเข้มข้นขึ้นครับ จากนั้น จึงค่อยตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าจะเขียนบทบรรณาธิการต่อไปตามเดิมหรือไม่ครับ  บทบรรณาธิการนี้เป็นบทบรรณาธิการแรกที่ผมเขียนขึ้นภายหลังจากที่มีการรัฐประหารไปเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557"
0000

บทบรรณาธิการ  www.pub-law.net 
"ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ"
     
เหตุผลที่ผมหยุดเขียนบทบรรณาธิการไปปีกว่าส่วนหนึ่งแล้ว ผมได้แจ้งไว้ในบทบรรณาธิการครั้งที่ 344 แต่อีกส่วนหนึ่งนั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผมดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อผมให้สัมภาษณ์หรือเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับปัญหาบ้านเมืองก็มักจะถูกนำไปอ้างว่า เป็นความเห็นของคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ้าง หรือของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ้าง ทำให้ผมถูกตำหนิจากหลายๆ คนว่า ผมดึงสถาบันเข้าไปเกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นของผม และนอกจากนี้ เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอคณบดีคณะนิติศาสตร์และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ไปเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ยิ่งทำให้การแสดงความเห็นทางวิชาการของผม เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่ผมตัดสินใจหยุดเขียนบทบรรณาธิการของ www.pub-law.net เป็นเวลานาน
     
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา ผมไปทำหน้าที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งสุดท้ายด้วยการลงมติ ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 37 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เมื่อการลงมติเสร็จสิ้น สภาปฏิรูปแห่งชาติก็สิ้นสุดลงตามไป ทำให้ผมพ้นจากพันธนาการไปอย่างหนึ่ง
     
ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีผู้สอบถามเข้ามามากมายถึงความเห็นของผมที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมก็ไม่ได้ให้สัมภาษณ์หรือแสดงความเห็นออกไปด้วยคิดว่า จะเป็นการดีหากผมเขียนความเห็นของผมที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญภายหลังการลงมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ก็ถึงเวลาดังกล่าวแล้ว ผมจึงได้เขียนบทบรรณาธิการนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอความเห็นของผมที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทย
     
ผมมีโอกาสอ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียด 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรก เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและความเห็นตอนปลายเดือน เมษายน 2558 และ ครั้งที่สอง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญและเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
     
ในภาพรวม บทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งแล้ว “ดูดี” กว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 และ 2550 ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การคุ้มครองสิทธิของประชาชน การลดความเหลื่อมล้ำ การป้องกันการทุจริต และยังมีการแก้ไขปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติต่างๆ ในหลายมาตราที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้บางส่วนของร่างรัฐธรรมนูญ “ดูดี” กว่ารัฐธรรมนูญ 2 ฉบับก่อนหน้านี้
     
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญหลายส่วนที่ “ดูดี” สู้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับก่อนหน้านี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนผสมที่น่าจะทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหามากกว่ามาจากการเลือกตั้ง ประเด็นเหล่านี้ก็มีผู้แสดงความเห็นกันไปมากแล้ว ผมคงไม่ต้องมานั่งเสนอความเห็นซ้ำอีก
     
อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ผมยังมีข้อกังวลในสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญอยู่อีกหลายเรื่องด้วยกัน ข้อกังวลที่ผมจะขอนำเสนอในบทบรรณาธิการนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผมและก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ผมตัดสินใจลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยผมมีข้อกังวลอยู่ด้วยกัน 3 เรื่องคือ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
     
ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าในช่วงเวลาของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำหน้าที่ของตนเองมากที่สุด ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์นั้นมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน บางประเด็นก็เป็นที่เคลือบแคลงและสงสัยของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งผมได้พิจารณาดูแล้วเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งแล้วเป็นเรื่องขององค์ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนที่จะต้องมีนิติวิธีที่แตกต่างไปจากกฎหมายเอกชน ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันตลอดเวลาร่วม 15 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณาดูร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 215 แล้วก็รู้สึกผิดหวังที่ปัญหาการ “ขาด” นักกฎหมายมหาชนในศาลรัฐธรรมนูญซึ่งอาจจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญเข้าไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ตุลาการจำนวน 7 คนที่เป็นนักกฎหมายคงมีเพียงไม่เกิน 3 คนที่ “อาจ” เป็นนักกฎหมายมหาชน นอกจากนั้นเป็นนักกฎหมายเอกชน เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดคุยกันมาตลอดว่า การที่นำเอานักกฎหมายเอกชนเข้ามาตัดสินปัญหาที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหากฎหมายมหาชนน่าจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในอดีตก็เคยเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การตัดสินโดยขาดการนำนิติวิธีทางด้านกฎหมายมหาชนมาใช้ทำให้การทำงานของรัฐติดขัด ไม่ราบรื่น ไม่ต่อเนื่องและก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตตามมาหลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้แล้ว การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งการเข้าไปวินิจฉัยในกรณีที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติให้เกิดการปฏิรูปและการปรองดองให้ปฏิบัติตามแผนหรือขั้นตอนที่คณะกรรมยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติกำหนด ยังจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่มีความสำคัญสูงสุด กลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้จะอยู่ในรัฐธรรมนูญตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญซึ่งก็เป็นไปได้ยากเพราะแม้ฝ่ายนิติบัญญัติอยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญประเด็นใด แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วยก็ไม่สามารถทำได้
 
กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด นอกจากนี้แล้ว แม้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจมาก แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงการตรวจสอบการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือเกินอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญยังคงถูกตรวจสอบไม่ได้ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่มีสถานะเหนือกว่าองค์กรอื่นทุกองค์กร สามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้แต่ตนเองกลับไม่มีองค์กรใดสามารถเข้าไปตรวจสอบได้
 
ในประเด็นที่เกี่ยวกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาตินั้น เดิมเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อให้ข้อเสนอแนะและความเห็นตอนช่วงปลายเดือนเมษายน 2558 ไม่ปรากฏว่ามีมาตรา 280 ที่ก่อตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผมมีข้อสังเกตที่เป็นข้อชวนสงสัยคือ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2558 มีการเชิญอาจารย์ด้านกฎหมายมหาชนจากฝรั่งเศส 2 คนและจากเยอรมัน 1 คน มาบรรยายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฟังในหัวข้อที่เป็นทำนองเดียวกัน คือ การใช้รัฐธรรมนูญเพื่อคลี่คลายวิกฤติทางการเมืองเท่าที่ทราบ นักกฎหมายมหาชนจากฝรั่งเศสทั้ง 2 คนถูกกำหนดให้พูดหัวข้อเกี่ยวกับอำนาจพิเศษของประธานาธิบดีตามมาตรา 16 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1958 เมื่อได้เห็นบทบัญญัติมาตรา 280 วรรคสองในร่างรัฐธรรมนูญ ผมจึงเริ่มต่อภาพติดและคิดเอาเองว่า เรื่องดังกล่าวคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่อยู่ๆ แล้วพอคนต่างชาติมาพูดแล้วเราก็เอามาเขียน นอกจากนี้แล้ว เมื่อผมได้ตรวจสอบเอกสารที่เป็นรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีการนำเสนออย่างละเอียดถึงการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามความเห็นขององค์กรต่างๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามีที่ใดที่แสดงให้เห็นถึง “ที่มา” ของมาตรา 280 ครับ
     
การใช้อำนาจตามมาตรา 16 แห่งรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสของประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นเป็นการใช้อำนาจที่มีลักษณะ “เผด็จการ” กล่าวคือ ในช่วงเวลาวิกฤตของประเทศประธานาธิบดีคนเดียวสามารถใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้ในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ ต้องขอย้ำว่าประธานาธิบดีนั้นเป็นผู้ที่ “มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน” และก่อนจะใช้อำนาจพิเศษนี้ก็จะต้องแจ้งให้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และประชาชนทราบด้วยว่ามีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องใช้อำนาจในลักษณะ “เผด็จการ” เช่นนั้น นอกจากนี้ ภายหลังใช้อำนาจดังกล่าวการใช้อำนาจของประธานาธิบดีก็ยังอาจถูกตรวจสอบได้โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสว่าการใช้อำนาจนั้นเป็นไปตามสถานการณ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้อ่านดูบทบัญญัติมาตรา 280 วรรคสองของร่างรัฐธรรมนูญแล้วจึงเห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลมาจากมาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสอย่างไม่ต้องสงสัยครับ
     
จริงๆ แล้ว หากจะบอกว่าการใช้อำนาจลักษณะแบบนี้ควรต้องมีไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะวิกฤติได้ ก็คงพอยอมรับได้ แต่ก็คงต้องออกแบบใหม่ให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนหรือตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่ให้องค์กรที่ประกอบด้วยคนที่อยู่ในระบบราชการเป็นส่วนใหญ่เข้ามาใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารแทนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน รวมทั้งเมื่อใช้อำนาจดังกล่าวแล้วก็ยังไม่มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นอีก จึงทำให้สถานะของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติกลายเป็นองค์กรสูงสุดที่เข้ามาควบคุมการทำงานของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไปโดยปริยาย ส่วนการใช้อำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติในยามปกติที่บัญญัติไว้ในมาตรา 259-263 ดูยังไงๆ ก็ยังคงเห็นว่าเป็นองค์กรที่มีอำนาจมากเหมือนกับเป็นคณะรัฐมนตรีเสียเองและยังมีอำนาจเหนือคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่ คือ สามารถสั่งให้คณะรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามได้อีกด้วย
     
ประเด็นสุดท้ายคือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีผมเพียงคนเดียวเป็นผู้อภิปรายในสภาปฏิรูปแห่งชาติและมีข้อเสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไปปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้สามารถทำการแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญได้ง่ายขึ้น โดยในการอภิปรายของผมในครั้งนั้น ผมได้เปรียบเทียบบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับก่อนหน้านี้ว่าในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีอยู่เพียงมาตราเดียว ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอยู่ถึง 5 มาตราด้วยกัน การบัญญัติเอาไว้หลายมาตราเช่นนี้เข้าใจว่ามีที่มาจากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการวางกลไกในการเข้าไปควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เข้มข้นขึ้น
     
ในร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทห้ามแก้ไขตามมาตรา 268 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ได้เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้แล้วคือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้ ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมประเภทต่อมาคือ ประเภทแก้ไขได้แต่ต้องนำไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบก่อนที่จะเสนอให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติ ได้แก่ บทบัญญัติมาตรา 269 ที่กล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในบททั่วไปภาค 1 รากฐานของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ เช่น หลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมือง ศาล องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง รวมไปถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย เป็นต้น สำหรับการแก้ไขในเรื่องทั่วๆไปที่อยู่นอกเหนือจาก 2 เรื่องดังกล่าว มาตรา 270 ก็ได้กำหนดให้ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย สรุปง่ายๆ ก็คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยรัฐสภาเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างยากเย็นเข็ญใจเพราะจะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภาทั้งในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการและในวาระที่สามขั้นสุดท้าย และการแก้ไขทุกครั้งจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้บังคับกับมีบางกรณีที่ต้องนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติด้วย
     
ผมได้อภิปรายในสภาปฏิรูปแห่งชาติและมีข้อเสนอไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า บทบัญญัติดังกล่าวทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ยากมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่สามารถทำได้ ซึ่งผมมีความเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นควรตั้งอยู่บนความเหมาะสมและความพอดี ไม่ว่าจะแก้ไขยากเกินไปหรือง่ายเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีบทบัญญัติ กลไก และองค์กรต่างๆ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หากเกิดปัญหาขึ้น ถ้าให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ยากเกินไปก็อาจเกิดผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องของรัฐได้ ข้อเสนอของผมจึงได้แก่การปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่โดยบทบัญญัติประเภทห้ามแก้ไขก็คงตามเดิมไว้ ส่วนบทบัญญัติประเภทแก้ไขได้ก็ให้ได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาทั้งในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการและในวาระที่สามขั้นสุดท้าย สำหรับบทบัญญัติประเภทที่แก้ไขได้แต่เป็นเรื่องสำคัญ ก็ให้ได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภาทั้งในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการและในวาระที่สามขั้นสุดท้าย จากนั้นก็ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยโดยไม่ต้องไปออกเสียงประชามติ เว้นแต่จะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (เกือบ) ทั้งฉบับ
 
ข้อเสนอของผมไม่ได้รับการตอบรับครับ !!!
 
ข้อกังวลทั้ง 3 เรื่องของผม อาจดูไม่สำคัญในสายตาของบางคนเท่าไรนักแต่สำหรับผมแล้วเป็นเรื่องใหญ่มาก คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติที่อาจอยู่ยาวถึง 10 ปีหลังจากรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับเป็นสิ่งที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากอำนาจที่มีอยู่อย่างมากเหนือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครองทั้งในยามปกติและในยามวิกฤตรวมทั้งยังไม่มีกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการชุดนี้อีกด้วย ศาลรัฐธรรมนูญรูปแบบเดิมๆ ที่ก็ “น่ากลัว” อยู่แล้ว แต่กลับเพิ่มอำนาจเข้าไปอีกและก็ยังไม่มีกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจอีกเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เรื่อง ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการปิดกั้นช่องทางในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจนเกือบจะทั้งหมดจนทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ ประเด็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่แทบจะเรียกได้ว่าทำไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ผมตัดสินใจลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเกรงว่าหากภายหลังรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้วมีบทบัญญัติสำคัญบางประการในรัฐธรรมนูญที่ทำให้กลไกการบริหารประเทศติดขัดเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการมีผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาแล้ว หากการแก้ไขปัญหาต้องทำโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คงไม่สามารถทำได้เพราะไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ความวุ่นวายและวิกฤติทางการเมืองก็จะกลับเข้ามาสู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งครับ !!!
     
วันนี้ เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เราก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 6 กันยายน 2558 จะมีใครบ้าง และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใด หรือจะนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบมาเป็น “ฐาน” ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
       
ส่วนบทบรรณาธิการครั้งต่อไปจะเป็นเมื่อใดนั้น ผมคงตอบตอนนี้ไม่ได้ ต้องขอดูก่อนว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับการไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว “รัฐบาล” จะดำเนินการบริหารประเทศแบบใด ผ่อนคลายลง เหมือนเดิม หรือเข้มข้นขึ้นครับ จากนั้น จึงค่อยตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าจะเขียนบทบรรณาธิการต่อไปตามเดิมหรือไม่ครับ
 
ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์

‘วิษณุ’ เผยสูตรบริหารเวลา ‘6+4+6+4’ โรดแมป-กรรมการร่าง รธน. ใหม่


7 ก.ย.2558 สำนักข่าวไทย รายงานถึงความเห็นประเด็นโรดแมปต่อจากนี้ของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  หลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดย วิษณุ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (8 ก.ย.) จะหารือถึงแนวทางต่อไป โดยตนจะสรุปชี้แจงให้เห็นโรดแมปว่าจะเป็นอย่างไร เช่น การตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอีก 200 คน
“การบริหารเวลาที่มีต่อจากนี้ จะใช้สูตร 6+4+6+4  คือ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะใช้เวลาร่างประมาณ 6 เดือน ร่างเสร็จทำประชามติภายใน 4 เดือน หลังประชามติผ่านใช้เวลาอีก 6 เดือนในการทำกฎหมายลูก เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ จากนั้นอีก 4 เดือนจะให้เวลาหาเสียงเลือกตั้ง จึงเท่ากับ 6+4+6+4 = 20 เดือน” วิษณุ กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แต่สามารถบริหารจัดการเวลาให้สั้นลงได้ มีบางเรื่องที่ขยายเวลาหรือลดเวลาไม่ได้ คือ ช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะอาจทำให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ ทั้งนี้หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา จะมีการประชุมและกำหนดแนวทาง ซึ่งทั้ง 21 คนจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะใช้วิธีใดให้การร่างรัฐธรรมนูญออกมาเร็ว อาจหยิบรัฐธรรมนูญปี 2540  หรือ 2550 มาปรับใช้ หรืออาจนำฉบับล่าสุดที่ไม่ผ่านการรับร่างฯ มาปรับใช้ โดยนำส่วนดี และตัดในส่วนที่กังวลออก
วิษณุ กล่าวถึงคุณสมบัติของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ว่า  ไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย แต่ต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการร่างรัฐธรรมนูญ อาจเป็นนักเศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์ เข้าใจการเมือง วิถีชีวิตคนไทยในทุกมิติ ซึ่งเข้าใจว่าตอนนี้คงมีแมวมองเมียงมองไว้แล้ว อาจจะเกิน 21 คนด้วยซ้ำ แต่เมื่อถึงเวลาจริง คสช.ทั้งคณะคงเรียกมาพูดคุยทั้งหมดว่า จะสามารถเข้ามารับหน้าที่ได้หรือไม่ เพราะบางคนมีความสามารถแต่อาจติดขัดหน้าที่เดิมอยู่
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เชื่อว่า คสช.จะสรรหาคนได้ครบ โดยรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เกิน 20 คน รวมประธาน 1 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องครบ 21 คนก็ได้ และไม่จำเป็นว่ากรรมการยกร่างฯ ต้องมีความเห็นสอดคล้องกับรัฐบาล แต่ก็ไม่ถึงขั้นเลือกคนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม คาดว่าจะสรรหาได้ทันตามเวลาที่กำหนด และมีเวลาถึง 6 ตุลาคม
เมื่อถามว่าปัจจัยที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับไม่รับร่างฯ ตกไป เป็นเพราะมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ใช่หรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า จากนี้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญคณะใหม่ต้องใส่ใจและต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าหากไม่มี คปป. ปัญหาจะยังอยู่หรือไม่
เมื่อถามว่า จะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ให้มองว่าสืบทอดอำนาจ วิษณุ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกัน กรรมการยกร่างฯ ทั้ง 21  คน ต้องทำให้เห็นว่าไม่ได้สร้างกลไกสำหรับสืบทอดอำนาจ  เช่นเดียวกับ ครม. และ คสช. ขณะที่นักการเมือง ก็ต้องแสดงให้เห็นว่าจะไม่สืบทอดภารกิจหรือประพฤติแบบเก่าที่เคยทำ หากทำได้สังคมจึงจะอยู่ได้ ต้องช่วยกันทุกฝ่าย ต้องยอมรับว่าประเทศบอบช้ำมามาก ควรตั้งใจและหันหน้าเข้าหากัน สมานฉันท์ปรองดอง ประเทศชาติก็จะๆ ได้ประโยชน์  แต่ตอนนี้ ดูกั๊กๆ กันอยู่
ต่อข้อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าร่างใหม่จะไม่มี คปป. และนายกรัฐมนตรีคนนอก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่กรรมการร่างฯ จะเป็นผู้คิด และขณะนี้เชื่อว่ามีฝ่ายที่รวบรวมข้อมูลเสียงสะท้อนจากร่างฯ ที่ผ่านมา เค้ามีวิธีการวัดความพึงพอใจ ส่วนตัวเชื่อว่ามีหลายสาเหตุ ที่สปช.ไม่รับร่างฯ ประมาณ 6-7 เหตุผลหลักๆ เพราะ สปช. มี 247 คน ย่อมมีความเห็นที่แตกต่างกัน รวมถึงคนที่รับร่างฯ ก็มีเหตุผลของเขา แต่ตนจะไม่ขอระบุว่าเป็นเพราะอะไร เพราะไม่รู้จริง เมื่อถามว่าหากร่างฯ ใหม่ยังไม่ผ่านอีกจะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้เขียนไกลขนาดนั้น แต่จากนี้อาจต้องคิด

85 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสร้าง 'รัฐธรรมนูญที่ถูกร่างและเพิ่งล้ม' (เฉพาะการประชุม)


สำรวจค่าใช้จ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งล้มไป พบมีการใช้เงินประมาณ 85 ล้านบาท ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ(เฉพาะการประชุม) ใช้เวลาไปราว 10 เดือน
หลังจากเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานคณะกรรมมาธิการยกร่างฯ ด้วยคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ 135 เสียง เห็นชอบ 105 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง เป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นตกไป และวงจรการเมืองไทยเตรียมที่จะเดินหน้าต่อไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน ขึ้นมาใหม่ภายใน 30 วัน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่
ประชาไทสำรวจค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดการประชุม จนถึงวันสุดท้ายซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยตามพระราชกฤษฎีกา เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น ของผู้ดํารงตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตําแหน่งพ.ศ.2557 มาตรา 4 ได้ระบะว่า “ให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งๆ ละหกพันบาท สําหรับผู้ทําหน้าที่ประธานให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกสามพันบาท...” โดยที่ผ่านมาทั้งหมดคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมกันไปทั้งสิ้น 158 ครั้ง ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 2557 – 2 ก.ย. 2558
หากคิดค่าเบี้ยประชุมทั้งหมดจะได้จำนวน 34,602,000 บาท แบ่งเป็นเบี้ยประชุมของผู้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 1,422,000 บาท และเบี้ยประชุมสำหรับกรรมการธิการยกร่าง 33,180,00 บาท เฉลี่ยคนละ 948,000 บาท
นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2557 เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. ได้เห็นชอบในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการภายในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูป 18 คณะ และสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนของคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีการวางกรอบงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 50,684,600 บาท โดยแบ่งรายละเอียดงบประมาณไว้ดังนี้ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ จำนวน 975,000 บาท ค่าอาหารเลี้ยงรับรองกรรมการธิการและคณะอนุกรรมาธิการ จำนวน 23,709,600 บาท ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา 16,000,000 บาท
รวมงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องการกับร่างรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 85,286,600 บาท
หมายเหตุ1: มีการแก้ไขพาดหัวข่าวโดยการใส่วงเล็บ (เฉพาะการประชุม)
หมายเหตุ2:รายงานชิ้นนี้ยังไม่ได้คำนวนจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญในส่วน สภาปฏิรูปแห่งชาติ

ไอลอว์อ่านการปฏิรูป สรุป 505 ข้อ สปช.“ไม่ใหม่ เบี้ยหัวแตก ขยายราชการ”


ไอลอว์เปิดรายงานวิเคราะห์แนวทางการปฏิรูปประเทศของ สปช. พบหลักคิดมีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ผุดข้อเสนอชนิด "ครอบจักรวาล" 505 ข้อ เป็น “เบี้ยหัวแตก” ปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีอะไรใหม่ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน เน้นขยายระบบราชการ เสนอตั้งหน่วยงานใหม่กว่า 100 หน่วยงาน 
8 ก.ย.2558 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์แนวทางการปฏิรูปประเทศของ สปช. พบหลักคิดมีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ผุดข้อเสนอชนิด "ครอบจักรวาล" 505 ข้อ เป็น “เบี้ยหัวแตก” ปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีอะไรใหม่ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน เน้นขยายระบบราชการ เสนอตั้งหน่วยงานใหม่มากกว่า 100 หน่วยงาน และเสนอร่างกฎหมายใหม่นับร้อย ข้อเสนอระยะเวลาปฏิรูปยาวนานถึงปี พ.ศ. 2575
รายละเอียดมีดังนี้
ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ผ่านมา สปช. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการทั้งสิ้น 18 คณะ คณะอนุกรรมาธิการรวม 88 คณะ เพื่อพิจารณาวาระการปฏิรูปรวม 37 วาระ และวาระการพัฒนา 7 วาระ มีข้อเสนอการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องรวม 505 ข้อเสนอ ใช้งบประมาณไปกว่า 700 ล้านบาท
ข้อเสนอ 505 ข้อ สำคัญเกือบจะเท่ากันหมด จนเป็น “เบี้ยหัวแตก” ปฏิบัติไม่ได้
เนื่องจากทรัพยากร เวลา และงบประมาณของประเทศมีจำกัด ไม่สามารถดำเนินการปฏิรูปพร้อมกันทุกเรื่องในเวลาเดียวกันได้ ดังนั้น หลักคิดการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ ควรจัดลำดับความสำคัญของประเด็นให้ชัดเจน แต่จากรายงานข้อเสนอของ สปช. 37 วาระ รวม 505 ข้อ กลับพบว่าทุกเรื่องสำคัญเกือบจะเท่ากันหมด มีข้อเสนอยิบย่อยมากมายจนเป็นเสมือน “เบี้ยหัวแตก” ไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง และไม่มีการประเมินภาระทางงบประมาณและการจัดการที่่อาจเกิดขึ้น โดยคิดอะไรได้ก็ใส่เข้ามาเป็นข้อเสนอทุกเรื่อง แต่ขาดการวางกลยุทธ์หรือจัดลำดับความสำคัญ 
ข้อเสนอจำนวนมากไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องที่คิดกันมาก่อนแล้ว
หลักคิดในการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ พยายามทำให้ข้อเสนอเป็นรูปธรรมมากที่สุด สามารถนำไปปฏิบัติหรือขับเคลื่อนได้ทันที แต่ข้อเสนอของ สปช. จำนวนมากเป็นนามธรรม แต่ไม่รู้ว่ารูปธรรมในการนำไปปฏิบัติจะเป็นอย่างไร เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับไปคิดรายละเอียดต่อ และหากจะนำไปสู่การปฏิบัติได้ก็ต้องใช้เวลาอีกมาก ตัวอย่าง เช่น ข้อเสนอให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วม ซึ่งมีอยู่ในหลายวาระปฏิรูป ข้อเสนอให้มีกระบวนการทำงานของกลไกปราบปรามทุจริตทั้งระบบ ข้อเสนอให้ส่งเสริมการใช้อำนาจที่โปร่งใสเป็นธรรม ข้อเสนอให้ปฏิรูปงานสอบสวนของตำรวจ ข้อเสนอให้รัฐอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน ข้อเสนอให้พัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีกลไกพิทักษ์ผู้สูงอายุ ฯลฯ  
หลักคิดในการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ มีการนำเสนอข้อเสนอใหม่ๆ ออกสู่สังคม หรืออย่างน้อยต้องมีข้อเสนอที่อาศัยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งหรือสร้างสรรค์กว่าข้อเสนอที่มีอยู่แล้ว 
เทียนฉาย กีระนันท์ กล่าวยอมรับในงาน “สปช.รายงานประชาชน” เมื่อวันที่่ 13 สิงหาคม 2558 ว่า ข้อเสนอของ สปช. ส่วนใหญ่เป็นการสังเคราะห์ข้อเสนอการปฏิรูปที่เคยมีมาก่อนหน้าแล้ว ทั้งข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (ชุดของอานันท์ ปันยารชุน) คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ (ชุดของ นพ. ประเวศ วะสี) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ชุดของคณิต ณ นคร) ข้อเสนอตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่รวบรวมจากหน่วยราชการต่างๆ นอกจากนั้น จากการศึกษา ยังพบว่ามีหลายข้อเสนอที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภา
เสนอตั้งหน่วยงานใหม่มากกว่า 100 หน่วยงาน เน้นเสนอกฎหมายใหม่กว่า 100 ฉบับ
หลักคิดการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ ลดขนาดของระบบราชการ และกระจายอำนาจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐให้คล่องตัว แต่ สปช. เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่มากกว่า 100 หน่วยงาน สะท้อนให้เห็นหลักคิดที่เน้นขยายระบบราชการ และรวมศูนย์อำนาจการบริหาร เน้นการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมมาดำเนินการแก้ไขปัญหา มากกว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานเดิม ทั้งนี้แทบไม่พบข้อเสนอของ สปช.ที่ให้ยุบหน่วยงานของรัฐที่ซ้ำซ้อนเลย
หลักคิดการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจของสังคม จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย แต่ สปช.เสนอให้แก้ไขกฎหมายมากกว่า 150 ฉบับ และเสนอให้ออกกฎหมายใหม่กว่า 100 ฉบับ ซึ่งเป็นการเสนอแก้ไขและยกร่างกฎหมายต่อสนช. ภายใต้ระบบและกลไกที่ปิดและไม่เป็นประชาธิปไตย สุดท้ายก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ร่างกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน และมีผลบังคับใช้ได้จริง 
เชื่อมั่นใน “คนดี” และ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ไม่ไว้ใจนักการเมือง
หลักคิดในการปฏิรูปที่คาดหวัง คือ เชื่อมั่นในระบบการมีส่วนร่วม และตรวจสอบถ่วงดุล ตามแนวทาง “รัฐสมัยใหม่” แต่ สปช. กลับมีหลักคิด เชื่อมั่นใน “คนดี” แบบ “รัฐศีลธรรม”  เช่น มีข้อเสนอให้เฟ้นหาผู้นำทางจิตวิญญาณ  (นักปราชญ์ทางด้านศาสนาที่พร้อมทั้งความดี ความเก่ง และความเป็นนักปฏิบัติการ) อย่างน้อย 1 คน ต่อโรงเรียนหรือชุมชน, มีข้อเสนอให้หน่วยงานรัฐ เอกชน นำหลักศาสนามาเป็นเกณฑ์การรับสมัครงาน เลื่อนตำแหน่ง ใช้ในการพิจารณาการขอหรือต่ออายุวิชาชีพ, มีข้อเสนอว่าในการต่อใบวิชาชีพครูต้องมีหลักฐานการปฏิบัติชัดเจน เช่น สมุดบันทึกความเป็นครูที่ดี หรือมีหลักฐานการผ่านการพัฒนาจิตใจด้วยการปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติกิจกรรมความดีที่เห็นเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้น สปช. ยังยึดมั่นในระบบหา “ผู้ทรงคุณวุฒิ” หน่วยงานใหม่ตามข้อเสนอของสปช. หลายหน่วยงานเป็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับและควบคุมนโยบาย สะท้อนพื้นฐานความคิดที่ไม่ไว้วางใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และต้องการให้ประเทศขับเคลื่อนโดย “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ในระบบราชการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 
แม้ว่า สปช. จะจัดทำแผนการปฏิรูป “ครอบจักรวาล” แทบทุกประเด็นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่กลับยังมี “หลุมดำ” บางเรื่องที่สังคมพูดถึงกัน ตัวอย่างเช่น เรื่องการปฏิรูปกองทัพ หรือการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่สปช.ไม่ได้พูดถึงไว้เลย 
ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” เมื่อพิจารณาจากข้อเสนอในการปฏิรูปของ สปช. พบว่ามีการวางยุทธศาสตร์ปฏิรูปเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายให้ “การปฏิรูป” สัมฤทธิ์ผลในปี พ.ศ. 2575 โดยไม่มีดัชนีชี้วัดในแต่ละปีหรือแต่ละระยะการปฏิรูป 
งบประมาณ 700 ล้านบาท ยังแทบไม่เห็นความสำเร็จของสปช.
ยอดรวมเงินเดือนของสมาชิก สปช. ที่ปรึกษา เลขานุการ คณะทํางานทางการเมืองของ สปช. รวมเป็นเงิน 534,074,700 บาท นอกจากนั้นยังมีวงเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสปช. ใน กฎหมายงบประมาณแผ่นดินมีจำนวนเงิน 182,400,000 บาท ดังนั้น งบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในการดำเนินงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติใช้เม็ดเงินมากกว่า 700 ล้านบาท
ตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา สปช. ทำหน้าที่ “ศึกษา” แนวทางการปฏิรูปด้วยหลักคิดที่มีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น และรายงานผลการศึกษาก็ระบุแต่สภาพปัญหา โดยแทบจะไม่มีข้อเสนออะไรใหม่ เป็นเพียงนำข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปชุดก่อนๆ รัฐบาลในอดีต ตลอดจนหน่วยราชการ และสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่แล้วมาเสนอใหม่
เทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสปช. กล่าวไว้ในงาน “สปช.รายงานประชาชน” ตอนหนึ่งว่า สปช. เป็นสภาวิชาการ หากรัฐบาลมองว่าเรื่องไหนดีก็นำไปปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างผลงานที่เป็นรูปธรรมของ สปช. 2 เรื่อง คือ ข้อเสนอคัดค้านสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งได้เสนอต่อรัฐบาล และ ข้อเสนอเรื่องการเก็บค่าโทรศัพท์เป็นวินาที ซึ่งได้เสนอต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปแล้ว
ส่วนผลงานอื่นๆ ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมยังไม่มีปรากฏให้เห็นว่าสามารถตอบสนองความฝันการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ที่ประชาชนจำนวนหนึ่งกำลังเฝ้ารอ อันเป็นภารกิจที่คณะรัฐประหารใช้อ้างในการเข้ายึดอำนาจและยังคงรักษาอำนาจอยู่ในตำแหน่งได้

ใครเป็นใคร ในการลงมติเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบร่าง รธน.


Tue, 2015-09-08 13:11

สแกนโดยละเอียด แบ่ง สปช. 7 กลุ่มอาชีพ พบทหาร ตำรวจ ข้าราชการ คว่ำร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุด ด้านนักการเมืองยังไล่เลี่ยคว่ำไม่คว่ำ ส่วนนักวิชาการ เอ็นจีโอ และนายทุน หนุ่นมากกว่าคว่ำ
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 135 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 7 คน เป็น ผลให้รัฐธรรมนูญไม่ผ่านการรับรอง คณะกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องสิ้นสุดลง หน้าที่ของสปช.สิ้นสุดลง และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องตั้งคณะกรรมาธิการชุดใหม่ขึ้นมายกร่างต่อไป

ในการประชุมเพื่อลงมติ มีสมาชิกสปช.เข้าประชุมครบทั้ง 247 คน จากเดิมที่สมาชิกมี 250 คน แต่ลาออกไปสองคน คือ ทิชา ณ นคร กับ สุวิทย์ เมษินทรีย์ และโดนใบแดงหนึ่งคน คือ ศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์
หากจำแนกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน / นักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น / เอ็นจีโอ-นักเคลื่อนไหวทางสังคม / นักวิชาการ-อาจารย์-ผู้บริหารมหาวิทยาลัย / กลุ่มข้าราชการทหาร-ตำรวจ / พ่อค้า-นักธุรกิจ / สื่อ+อื่นๆ เพื่อพิจารณาทิศทางการลงคะแนน จะพบว่าแต่ละกลุ่มมีทิศทางการลงมติดังนี้




  • "กลุ่มข้าราชการทหาร-ตำรวจ" มี 31 คน ลงมติเห็นชอบเพียง 3 คน คือ พลโทนคร สุขประเสริฐ / พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป / พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช และลงมติไม่เห็นชอบมากถึง 28 คน
  • "กลุ่มนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น" มี 47 คน ลงมติเห็นชอบ 19 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 28 คน
  • "กลุ่มเอ็นจีโอ-นักเคลื่อนไหวทางสังคม" มี 10 คน ลงมติเห็นชอบ 8 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 2 คน
  • "กลุ่มนักวิชาการ-อาจารย์-ผู้บริหารมหาวิทยาลัย" มี 33 คน ลงมติเห็นชอบ 20 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 13 คน
  • "กลุ่มข้าราชการพลเรือน" มี 81 คน ลงมติเห็นชอบ 33 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 48 คน
  • "กลุ่มพ่อค้า-นักธุรกิจ" มี 24 คน ลงมติเห็นชอบ 14 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 10 คน
  • "กลุ่มสื่อ+อื่นๆ" มี 14 คน ลงมติเห็นชอบ 8 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 6 คน
  • ทั้งนี้ผู้ที่ลงมติ "งดออกเสียง" 7 คน ประกอบด้วย กูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี / เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง / ทัศนา บุญทอง / เทียนฉาย กีระนันทน์ / พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ / อำพล จินดาวัฒนะ / พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ


        นอกจากนี้ หากแบ่งโดยจำแนกจาก สปช. ที่สรรหามาจากแต่ละจังหวัด กับ สปช. ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ 11 ด้าน พบว่า สปช.จังหวัด จำนวน 76 คน ทิศทางการลงมติดังนี้
ลงมติเห็นชอบ 15 คน แบ่งเป็น ภาคกลาง 4 คน / ภาคตะวันออก 2 คน / ภาคเหนือ 4 คน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน / ภาคใต้ 2 คน / ภาคตะวันตก 1 คน
ลงมติไม่เห็นชอบ 61 คน แบ่งเป็น  ภาคกลาง 18 คน / ภาคตะวันออก 4 คน / ภาคเหนือ 5 คน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 คน / ภาคใต้ 12 คน / ภาคตะวันตก 4 คน
ส่วนสปช.ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ลงมติเห็นชอบ 90 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 74 คน
ข้อสังเกต

  • 1) กลุ่มข้าราชการ-นักการเมือง ทั้งอดีตและปัจจุบัน รวมไปถึง ข้าราชการตำรวจและทหาร เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ
  • 2) เสียงส่วนใหญ่ของกลุ่มนักวิชาการ-อาจารย์มหาวิทยาลัย และกลุ่มนักเคลื่อนไหว-เอ็นจีโอ เป็นผู้ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
  • 3) กลุ่มพ่อค้าและกลุ่มสื่อมีสัดส่วนของการเห็นชอบกับไม่เห็นชอบใกล้เคียงกัน แต่ผู้เห็นชอบก็ยังมากกว่า
  • 4) สปช. จังหวัด ส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ


รายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปทั้ง 250 คน
*สามารถสำรวจว่าใครเป็นใครได้ที่นี่ : สแกนใครเป็นใครใน สปช.: สภาปฎิรูปรายทุนขุนนางและนกหวีด

1. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ไม่เห็นชอบ
2. นายกาศพล แก้วประพาฬ ไม่เห็นชอบ
3. นายกิตติ โกสินสกุล ไม่เห็นชอบ
4. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์ เห็นชอบ
5. นายกงกฤช หิรัญกิจ เห็นชอบ
6. นายกมล รอดคล้าย ไม่เห็นชอบ
7. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ไม่เห็นชอบ
8. นางกอบแก้ว จันทร์ดี ไม่เห็นชอบ
9. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เห็นชอบ
10. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ เห็นชอบ
11. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง ไม่เห็นชอบ
12. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ไม่เห็นชอบ
13. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี งดออกเสียง
14. นายเกริกไกร จีระแพทย์ เห็นชอบ
15. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ไม่เห็นชอบ
16. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ไม่เห็นชอบ
17. นายโกเมศ แดงทองดี ไม่เห็นชอบ
18. นายโกวิทย์ ทรงคุณ ไม่เห็นชอบ
19. นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ไม่เห็นชอบ
20. นายไกรราศ แก้วดี เห็นชอบ
21. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ เห็นชอบ
22. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เห็นชอบ
23. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ไม่เห็นชอบ
24. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา ไม่เห็นชอบ
25. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ เห็นชอบ
26. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ เห็นชอบ
27. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ไม่เห็นชอบ
28. นายคณิศร ขุริรัง ไม่เห็นชอบ
29. นายคำนูณ สิทธิสมาน เห็นชอบ
30. นายคุรุจิต นาครทรรพ ไม่เห็นชอบ
31. นายจรัส สุทธิกุลบุตร เห็นชอบ
32. นายจรัส สุวรรณมาลา เห็นชอบ
33. พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา ไม่เห็นชอบ
34. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง ไม่เห็นชอบ
35. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ ไม่เห็นชอบ
36. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข ไม่เห็นชอบ
37. พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ไม่เห็นชอบ
38. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ไม่เห็นชอบ
39. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เห็นชอบ
40. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี เห็นชอบ
41. นางจุรี วิจิตรวาทการ เห็นชอบ
42. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน ไม่เห็นชอบ
43. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ ไม่เห็นชอบ
44. นายจุมพล รอดคำดี เห็นชอบ
45. นายจุมพล สุขมั่น เห็นชอบ
46. นายเจน นำชัยศิริ ไม่เห็นชอบ
47. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ ไม่เห็นชอบ
48. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์ ไม่เห็นชอบ
49. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง งดออกเสียง
50. นายจำลอง โพธิ์สุข ไม่เห็นชอบ
51. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ไม่เห็นชอบ
52. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช ไม่เห็นชอบ
53. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ ไม่เห็นชอบ
54. นางชัชนาถ เทพธรานนท์ เห็นชอบ
55. นายชัย ชิดชอบ ไม่เห็นชอบ
56. นายชัยพร ทองประเสริฐ ไม่เห็นชอบ
57. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ไม่เห็นชอบ
58. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ไม่เห็นชอบ
59. นายชาลี เจริญสุข เห็นชอบ
60. นายชาลี เอียดสกุล ไม่เห็นชอบ
61. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ เห็นชอบ
62. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ ไม่เห็นชอบ
63. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ เห็นชอบ
64. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ เห็นชอบ
65. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์ ไม่เห็นชอบ
66. นายชูชัย ศุภวงศ์ เห็นชอบ
67. นายชูชาติ อินสว่าง เห็นชอบ
68. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย ไม่เห็นชอบ
69. นายเชิดชัย วงศ์เสรี เห็นชอบ
70. นายเชื้อ ฮั่นจินดา เห็นชอบ
71. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์ ไม่เห็นชอบ
72. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก ไม่เห็นชอบ
73. นางฑิฆัมพร กองสอน เห็นชอบ
74. นายณรงค์ พุทธิชีวิน เห็นชอบ
75. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร เห็นชอบ
76. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เห็นชอบ
77. นายดิเรก ถึงฝั่ง ไม่เห็นชอบ
78. นายดำรงค์ พิเดช ไม่เห็นชอบ
79. นายดุสิต เครืองาม เห็นชอบ
80. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์ ไม่เห็นชอบ
81. พลโท เดชา ปุญญบาล ไม่เห็นชอบ
82. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล ไม่เห็นชอบ
83. นางตรึงใจ บูรณสมภพ ไม่เห็นชอบ
84. นางเตือนใจ สินธุวณิก ไม่เห็นชอบ
85. นางถวิลวดี บุรีกุล เห็นชอบ
86. นายถาวร เฉิดพันธุ์ ไม่เห็นชอบ
87. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เห็นชอบ
88. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง เห็นชอบ
89. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ เห็นชอบ
90. นางสาวทัศนา บุญทอง งดออกเสียง
91. นางทิชา ณ นคร ลาออก
92. นายทิวา การกระสัง ไม่เห็นชอบ
93. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ งดออกเสียง
94. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ ไม่เห็นชอบ
95. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ไม่เห็นชอบ
96. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ไม่เห็นชอบ
97. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ไม่เห็นชอบ
98. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ เห็นชอบ
99. นายธวัช สุวุฒิกุล ไม่เห็นชอบ
100. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เห็นชอบ
101. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ไม่เห็นชอบ
102. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช ไม่เห็นชอบ
103. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ เห็นชอบ
104. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เห็นชอบ
105. นายธำรง อัศวสุธีรกุล ไม่เห็นชอบ
106. พลโท นคร สุขประเสริฐ เห็นชอบ
107. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ เห็นชอบ
108. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ ไม่เห็นชอบ
109. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ งดออกเสียง
110. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด ไม่เห็นชอบ
111. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง ไม่เห็นชอบ
112. นายนิพนธ์ คำพา เห็นชอบ
113. นายนิพนธ์ นาคสมภพ ไม่เห็นชอบ
114. นายนิมิต สิทธิไตรย์ ไม่เห็นชอบ
115. นายนิรันดร์ พันทรกิจ ไม่เห็นชอบ
116. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง ไม่เห็นชอบ
117. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เห็นชอบ
118. นายนำชัย กฤษณาสกุล ไม่เห็นชอบ
119. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เห็นชอบ
120. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ไม่เห็นชอบ
121. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เห็นชอบ
122. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์ ไม่เห็นชอบ
123. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ไม่เห็นชอบ
124 นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เห็นชอบ
125. นายประชา เตรัตน์ เห็นชอบ
126. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ไม่เห็นชอบ
127. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เห็นชอบ
128. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด เห็นชอบ
129. นางประภาภัทร นิยม เห็นชอบ
130. นางประภาศรี สุฉันทบุตร ไม่เห็นชอบ
131. นายประมนต์ สุธีวงศ์ เห็นชอบ
132. นายประสาร มฤคพิทักษ์ เห็นชอบ
133. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ไม่เห็นชอบ
134. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ ไม่เห็นชอบ
135. นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ไม่เห็นชอบ
136. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ ไม่เห็นชอบ
137. นายปราโมทย์ ไม้กลัด เห็นชอบ
138. นายปรีชา เถาทอง เห็นชอบ
139. นายปรีชา บุตรศรี ไม่เห็นชอบ
140. พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ ไม่เห็นชอบ
141. นายปิยะวัติ บุญ-หลง เห็นชอบ
142. นายเปรื่อง จันดา ไม่เห็นชอบ
143. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ เห็นชอบ
144. นายพงศ์โพยม วาศภูติ เห็นชอบ
145. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช เห็นชอบ
146. นายพนา ทองมีอาคม ไม่เห็นชอบ
147. นายพรชัย มุ่งเจริญพร ไม่เห็นชอบ
148. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ไม่เห็นชอบ
149. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช ไม่เห็นชอบ
150. นางพรรณี จารุสมบัติ เห็นชอบ
151. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ เห็นชอบ
152. นายพลเดช ปิ่นประทีป เห็นชอบ
153. พลเอก พอพล มณีรินทร์ ไม่เห็นชอบ
154. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป เห็นชอบ
155. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร เห็นชอบ
156. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เห็นชอบ
157. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เห็นชอบ
158. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ ไม่เห็นชอบ
159. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา ไม่เห็นชอบ
160. นายไพบูลย์ นิติตะวัน เห็นชอบ
161. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร เห็นชอบ
162. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ไม่เห็นชอบ
163. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์ ไม่เห็นชอบ
164. นางภัทรียา สุมะโน ไม่เห็นชอบ
165. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ ไม่เห็นชอบ
166. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร ไม่เห็นชอบ
167. นายมนู เลียวไพโรจน์ ไม่เห็นชอบ
168. นายมนูญ ศิริวรรณ ไม่เห็นชอบ
169. นายมานิจ สุขสมจิตร เห็นชอบ
170. นายมีชัย วีระไวทยะ เห็นชอบ
171. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ ไม่เห็นชอบ
172. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ไม่เห็นชอบ
173. นางสาวรสนา โตสิตระกูล เห็นชอบ
174. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช เห็นชอบ
175. นายวรรณชัย บุญบำรุง เห็นชอบ
176. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย ไม่เห็นชอบ
177. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา ไม่เห็นชอบ
178. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ เห็นชอบ
179. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ไม่เห็นชอบ
180. นายวันชัย สอนสิริ ไม่เห็นชอบ
181. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ ไม่เห็นชอบ
182. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ ไม่เห็นชอบ
183. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ ไม่เห็นชอบ
184. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ เห็นชอบ
185. นายวินัย ดะห์ลัน เห็นชอบ
186. นายวิบูลย์ คูหิรัญ เห็นชอบ
187. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เห็นชอบ
188. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร ไม่เห็นชอบ
189. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เห็นชอบ
190. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน ไม่เห็นชอบ
191. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ ไม่เห็นชอบ
192. นายวุฒิสาร ตันไชย เห็นชอบ
193. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม ไม่เห็นชอบ
194. นายศานิตย์ นาคสุขศรี เห็นชอบ
195. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน เห็นชอบ
196. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ ใบแดง
197. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ เห็นชอบ
198. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา ไม่เห็นชอบ
199. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ไม่เห็นชอบ
200. นายศุภชัย ยาวะประภาษ เห็นชอบ
201. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ไม่เห็นชอบ
202. นายสมเกียรติ ชอบผล ไม่เห็นชอบ
203. นายสมเดช นิลพันธุ์ ไม่เห็นชอบ
204. นายสมชัย ฤชุพันธ์ เห็นชอบ
205. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ไม่เห็นชอบ
206. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา เห็นชอบ
207. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ไม่เห็นชอบ
208. นายสยุมพร ลิ่มไทย ไม่เห็นชอบ
209. นายสรณะ เทพเนาว์ ไม่เห็นชอบ
210. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ เห็นชอบ
211. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ เห็นชอบ
212. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เห็นชอบ
213. นายสิระ เจนจาคะ เห็นชอบ
214. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง ไม่เห็นชอบ
215. นางสีลาภรณ์ บัวสาย เห็นชอบ
216. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ไม่เห็นชอบ
217. นางสุกัญญา สุดบรรทัด เห็นชอบ
218. นายสุชาติ นวกวงษ์ ไม่เห็นชอบ
219. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง เห็นชอบ
220. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม เห็นชอบ
221. นายสุพร สุวรรณโชติ ไม่เห็นชอบ
222. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว เห็นชอบ
223. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ ไม่เห็นชอบ
224. นายสุวัช สิงหพันธุ์ ไม่เห็นชอบ
225. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ เห็นชอบ
226. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ลาออก
227. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ไม่เห็นชอบ
228. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ เห็นชอบ
229. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ไม่เห็นชอบ
230. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ไม่เห็นชอบ
231. นายอนันตชัย คุณานันทกุล ไม่เห็นชอบ
232. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล เห็นชอบ
233. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ไม่เห็นชอบ
234. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ไม่เห็นชอบ
235. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ เห็นชอบ
236. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย เห็นชอบ
237. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ ไม่เห็นชอบ
238. นายอลงกรณ์ พลบุตร เห็นชอบ
239. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล เห็นชอบ
240. นางอัญชลี ชวนิชย์ ไม่เห็นชอบ
241. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์ ไม่เห็นชอบ
242. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย ไม่เห็นชอบ
243. นายอำพล จินดาวัฒนะ งดออกเสียง
244. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ไม่เห็นชอบ
245. นายอุดม ทุมโฆสิต เห็นชอบ
246. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ไม่เห็นชอบ
247. นางอุบล หลิมสกุล เห็นชอบ
248. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ งดออกเสียง
249. นายเอกราช ช่างเหลา ไม่เห็นชอบ
250. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เห็นชอบ

ใครเป็นใคร ในการลงมติเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบร่าง รธน.


สแกนโดยละเอียด แบ่ง สปช. 7 กลุ่มอาชีพ พบทหาร ตำรวจ ข้าราชการ คว่ำร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุด ด้านนักการเมืองยังไล่เลี่ยคว่ำไม่คว่ำ ส่วนนักวิชาการ เอ็นจีโอ และนายทุน หนุ่นมากกว่าคว่ำ
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 135 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 7 คน เป็น ผลให้รัฐธรรมนูญไม่ผ่านการรับรอง คณะกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องสิ้นสุดลง หน้าที่ของสปช.สิ้นสุดลง และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องตั้งคณะกรรมาธิการชุดใหม่ขึ้นมายกร่างต่อไป
ในการประชุมเพื่อลงมติ มีสมาชิกสปช.เข้าประชุมครบทั้ง 247 คน จากเดิมที่สมาชิกมี 250 คน แต่ลาออกไปสองคน คือ ทิชา ณ นคร กับ สุวิทย์ เมษินทรีย์ และโดนใบแดงหนึ่งคน คือ ศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์
หากจำแนกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน / นักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น / เอ็นจีโอ-นักเคลื่อนไหวทางสังคม / นักวิชาการ-อาจารย์-ผู้บริหารมหาวิทยาลัย / กลุ่มข้าราชการทหาร-ตำรวจ / พ่อค้า-นักธุรกิจ / สื่อ+อื่นๆ เพื่อพิจารณาทิศทางการลงคะแนน จะพบว่าแต่ละกลุ่มมีทิศทางการลงมติดังนี้
"กลุ่มข้าราชการทหาร-ตำรวจ" มี 31 คน ลงมติเห็นชอบเพียง 3 คน คือ พลโทนคร สุขประเสริฐ / พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป / พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช และลงมติไม่เห็นชอบมากถึง 28 คน
"กลุ่มนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น" มี 47 คน ลงมติเห็นชอบ 19 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 28 คน
"กลุ่มเอ็นจีโอ-นักเคลื่อนไหวทางสังคม" มี 10 คน ลงมติเห็นชอบ 8 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 2 คน
"กลุ่มนักวิชาการ-อาจารย์-ผู้บริหารมหาวิทยาลัย" มี 33 คน ลงมติเห็นชอบ 20 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 13 คน
"กลุ่มข้าราชการพลเรือน" มี 81 คน ลงมติเห็นชอบ 33 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 48 คน
"กลุ่มพ่อค้า-นักธุรกิจ" มี 24 คน ลงมติเห็นชอบ 14 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 10 คน
"กลุ่มสื่อ+อื่นๆ" มี 14 คน ลงมติเห็นชอบ 8 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 6 คน
ทั้งนี้ผู้ที่ลงมติ "งดออกเสียง" 7 คน ประกอบด้วย กูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี / เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง / ทัศนา บุญทอง / เทียนฉาย กีระนันทน์ / พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ / อำพล จินดาวัฒนะ / พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ

นอกจากนี้ หากแบ่งโดยจำแนกจาก สปช. ที่สรรหามาจากแต่ละจังหวัด กับ สปช. ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ 11 ด้าน พบว่า สปช.จังหวัด จำนวน 76 คน ทิศทางการลงมติดังนี้
ลงมติเห็นชอบ 15 คน แบ่งเป็น ภาคกลาง 4 คน / ภาคตะวันออก 2 คน / ภาคเหนือ 4 คน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน / ภาคใต้ 2 คน / ภาคตะวันตก 1 คน
ลงมติไม่เห็นชอบ 61 คน แบ่งเป็น  ภาคกลาง 18 คน / ภาคตะวันออก 4 คน / ภาคเหนือ 5 คน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 คน / ภาคใต้ 12 คน / ภาคตะวันตก 4 คน
ส่วนสปช.ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ลงมติเห็นชอบ 90 คน ลงมติไม่เห็นชอบ 74 คน
ข้อสังเกต
1) กลุ่มข้าราชการ-นักการเมือง ทั้งอดีตและปัจจุบัน รวมไปถึง ข้าราชการตำรวจและทหาร เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ
2) เสียงส่วนใหญ่ของกลุ่มนักวิชาการ-อาจารย์มหาวิทยาลัย และกลุ่มนักเคลื่อนไหว-เอ็นจีโอ เป็นผู้ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
3) กลุ่มพ่อค้าและกลุ่มสื่อมีสัดส่วนของการเห็นชอบกับไม่เห็นชอบใกล้เคียงกัน แต่ผู้เห็นชอบก็ยังมากกว่า
4) สปช. จังหวัด ส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ

รายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปทั้ง 250 คน
*สามารถสำรวจว่าใครเป็นใครได้ที่นี่ : สแกนใครเป็นใครใน สปช.: สภาปฎิรูปรายทุนขุนนางและนกหวีด
1. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
ไม่เห็นชอบ
2. นายกาศพล แก้วประพาฬ
ไม่เห็นชอบ
3. นายกิตติ โกสินสกุล
ไม่เห็นชอบ
4. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์
เห็นชอบ
5. นายกงกฤช หิรัญกิจ
เห็นชอบ
6. นายกมล รอดคล้าย
ไม่เห็นชอบ
7. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล
ไม่เห็นชอบ
8. นางกอบแก้ว จันทร์ดี
ไม่เห็นชอบ
9. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
เห็นชอบ
10. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
เห็นชอบ
11. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง
ไม่เห็นชอบ
12. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
ไม่เห็นชอบ
13. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี
งดออกเสียง
14. นายเกริกไกร จีระแพทย์
เห็นชอบ
15. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง
ไม่เห็นชอบ
16. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส
ไม่เห็นชอบ
17. นายโกเมศ แดงทองดี
ไม่เห็นชอบ
18. นายโกวิทย์ ทรงคุณ
ไม่เห็นชอบ
19. นายโกวิท ศรีไพโรจน์
ไม่เห็นชอบ
20. นายไกรราศ แก้วดี
เห็นชอบ
21. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
เห็นชอบ
22. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
เห็นชอบ
23. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์
ไม่เห็นชอบ
24. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
ไม่เห็นชอบ
25. นายเขมทัต สุคนธสิงห์
เห็นชอบ
26. นายเข็มชัย ชุติวงศ์
เห็นชอบ
27. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
ไม่เห็นชอบ
28. นายคณิศร ขุริรัง
ไม่เห็นชอบ
29. นายคำนูณ สิทธิสมาน
เห็นชอบ
30. นายคุรุจิต นาครทรรพ
ไม่เห็นชอบ
31. นายจรัส สุทธิกุลบุตร
เห็นชอบ
32. นายจรัส สุวรรณมาลา
เห็นชอบ
33. พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา
ไม่เห็นชอบ
34. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง
ไม่เห็นชอบ
35. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
ไม่เห็นชอบ
36. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข
ไม่เห็นชอบ
37. พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
ไม่เห็นชอบ
38. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
ไม่เห็นชอบ
39. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
เห็นชอบ
40. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
เห็นชอบ
41. นางจุรี วิจิตรวาทการ
เห็นชอบ
42. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน
ไม่เห็นชอบ
43. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
ไม่เห็นชอบ
44. นายจุมพล รอดคำดี
เห็นชอบ
45. นายจุมพล สุขมั่น
เห็นชอบ
46. นายเจน นำชัยศิริ
ไม่เห็นชอบ
47. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ
ไม่เห็นชอบ
48. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์
ไม่เห็นชอบ
49. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
งดออกเสียง
50. นายจำลอง โพธิ์สุข
ไม่เห็นชอบ
51. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
ไม่เห็นชอบ
52. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
ไม่เห็นชอบ
53. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
ไม่เห็นชอบ
54. นางชัชนาถ เทพธรานนท์
เห็นชอบ
55. นายชัย ชิดชอบ
ไม่เห็นชอบ
56. นายชัยพร ทองประเสริฐ
ไม่เห็นชอบ
57. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ
ไม่เห็นชอบ
58. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
ไม่เห็นชอบ
59. นายชาลี เจริญสุข
เห็นชอบ
60. นายชาลี เอียดสกุล
ไม่เห็นชอบ
61. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์
เห็นชอบ
62. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ
ไม่เห็นชอบ
63. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่
เห็นชอบ
64. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
เห็นชอบ
65. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์
ไม่เห็นชอบ
66. นายชูชัย ศุภวงศ์
เห็นชอบ
67. นายชูชาติ อินสว่าง
เห็นชอบ
68. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
ไม่เห็นชอบ
69. นายเชิดชัย วงศ์เสรี
เห็นชอบ
70. นายเชื้อ ฮั่นจินดา
เห็นชอบ
71. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์
ไม่เห็นชอบ
72. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก
ไม่เห็นชอบ
73. นางฑิฆัมพร กองสอน
เห็นชอบ
74. นายณรงค์ พุทธิชีวิน
เห็นชอบ
75. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร
เห็นชอบ
76. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา
เห็นชอบ
77. นายดิเรก ถึงฝั่ง
ไม่เห็นชอบ
78. นายดำรงค์ พิเดช
ไม่เห็นชอบ
79. นายดุสิต เครืองาม
เห็นชอบ
80. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
81. พลโท เดชา ปุญญบาล
ไม่เห็นชอบ
82. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล
ไม่เห็นชอบ
83. นางตรึงใจ บูรณสมภพ
ไม่เห็นชอบ
84. นางเตือนใจ สินธุวณิก
ไม่เห็นชอบ
85. นางถวิลวดี บุรีกุล
เห็นชอบ
86. นายถาวร เฉิดพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
87. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์
เห็นชอบ
88. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง
เห็นชอบ
89. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ
เห็นชอบ
90. นางสาวทัศนา บุญทอง
งดออกเสียง
91. นางทิชา ณ นคร
ลาออก
92. นายทิวา การกระสัง
ไม่เห็นชอบ
93. นายเทียนฉาย กีระนันทน์
งดออกเสียง
94. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ
ไม่เห็นชอบ
95. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
ไม่เห็นชอบ
96. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
ไม่เห็นชอบ
97. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ไม่เห็นชอบ
98. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
เห็นชอบ
99. นายธวัช สุวุฒิกุล
ไม่เห็นชอบ
100. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล
เห็นชอบ
101. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
ไม่เห็นชอบ
102. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
ไม่เห็นชอบ
103. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์
เห็นชอบ
104. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์
เห็นชอบ
105. นายธำรง อัศวสุธีรกุล
ไม่เห็นชอบ
106. พลโท นคร สุขประเสริฐ
เห็นชอบ
107. นางนรีวรรณ จินตกานนท์
เห็นชอบ
108. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์
ไม่เห็นชอบ
109. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์
งดออกเสียง
110. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด
ไม่เห็นชอบ
111. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง
ไม่เห็นชอบ
112. นายนิพนธ์ คำพา
เห็นชอบ
113. นายนิพนธ์ นาคสมภพ
ไม่เห็นชอบ
114. นายนิมิต สิทธิไตรย์
ไม่เห็นชอบ
115. นายนิรันดร์ พันทรกิจ
ไม่เห็นชอบ
116. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
ไม่เห็นชอบ
117. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เห็นชอบ
118. นายนำชัย กฤษณาสกุล
ไม่เห็นชอบ
119. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
เห็นชอบ
120. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
ไม่เห็นชอบ
121. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
เห็นชอบ
122. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์
ไม่เห็นชอบ
123. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
ไม่เห็นชอบ
124 นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
เห็นชอบ
125. นายประชา เตรัตน์
เห็นชอบ
126. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช
ไม่เห็นชอบ
127. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
เห็นชอบ
128. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
เห็นชอบ
129. นางประภาภัทร นิยม
เห็นชอบ
130. นางประภาศรี สุฉันทบุตร
ไม่เห็นชอบ
131. นายประมนต์ สุธีวงศ์
เห็นชอบ
132. นายประสาร มฤคพิทักษ์
เห็นชอบ
133. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
ไม่เห็นชอบ
134. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์
ไม่เห็นชอบ
135. นายประเสริฐ ชิตพงศ์
ไม่เห็นชอบ
136. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์
ไม่เห็นชอบ
137. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
เห็นชอบ
138. นายปรีชา เถาทอง
เห็นชอบ
139. นายปรีชา บุตรศรี
ไม่เห็นชอบ
140. พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ
ไม่เห็นชอบ
141. นายปิยะวัติ บุญ-หลง
เห็นชอบ
142. นายเปรื่อง จันดา
ไม่เห็นชอบ
143. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
เห็นชอบ
144. นายพงศ์โพยม วาศภูติ
เห็นชอบ
145. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
เห็นชอบ
146. นายพนา ทองมีอาคม
ไม่เห็นชอบ
147. นายพรชัย มุ่งเจริญพร
ไม่เห็นชอบ
148. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
149. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช
ไม่เห็นชอบ
150. นางพรรณี จารุสมบัติ
เห็นชอบ
151. นายพรายพล คุ้มทรัพย์
เห็นชอบ
152. นายพลเดช ปิ่นประทีป
เห็นชอบ
153. พลเอก พอพล มณีรินทร์
ไม่เห็นชอบ
154. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
เห็นชอบ
155. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร
เห็นชอบ
156. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
เห็นชอบ
157. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
เห็นชอบ
158. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ
ไม่เห็นชอบ
159. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
ไม่เห็นชอบ
160. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
เห็นชอบ
161. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร
เห็นชอบ
162. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
ไม่เห็นชอบ
163. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์
ไม่เห็นชอบ
164. นางภัทรียา สุมะโน
ไม่เห็นชอบ
165. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ
ไม่เห็นชอบ
166. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
ไม่เห็นชอบ
167. นายมนู เลียวไพโรจน์
ไม่เห็นชอบ
168. นายมนูญ ศิริวรรณ
ไม่เห็นชอบ
169. นายมานิจ สุขสมจิตร
เห็นชอบ
170. นายมีชัย วีระไวทยะ
เห็นชอบ
171. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
ไม่เห็นชอบ
172. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ไม่เห็นชอบ
173. นางสาวรสนา โตสิตระกูล
เห็นชอบ
174. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
เห็นชอบ
175. นายวรรณชัย บุญบำรุง
เห็นชอบ
176. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
ไม่เห็นชอบ
177. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
ไม่เห็นชอบ
178. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้
เห็นชอบ
179. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
ไม่เห็นชอบ
180. นายวันชัย สอนสิริ
ไม่เห็นชอบ
181. นายวัลลภ พริ้งพงษ์
ไม่เห็นชอบ
182. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์
ไม่เห็นชอบ
183. พลเอก วิชิต ยาทิพย์
ไม่เห็นชอบ
184. นายวิทยา กุลสมบูรณ์
เห็นชอบ
185. นายวินัย ดะห์ลัน
เห็นชอบ
186. นายวิบูลย์ คูหิรัญ
เห็นชอบ
187. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
เห็นชอบ
188. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
ไม่เห็นชอบ
189. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร
เห็นชอบ
190. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน
ไม่เห็นชอบ
191. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
ไม่เห็นชอบ
192. นายวุฒิสาร ตันไชย
เห็นชอบ
193. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
ไม่เห็นชอบ
194. นายศานิตย์ นาคสุขศรี
เห็นชอบ
195. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
เห็นชอบ
196. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์
ใบแดง
197. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์
เห็นชอบ
198. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา
ไม่เห็นชอบ
199. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก
ไม่เห็นชอบ
200. นายศุภชัย ยาวะประภาษ
เห็นชอบ
201. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ไม่เห็นชอบ
202. นายสมเกียรติ ชอบผล
ไม่เห็นชอบ
203. นายสมเดช นิลพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
204. นายสมชัย ฤชุพันธ์
เห็นชอบ
205. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์
ไม่เห็นชอบ
206. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
เห็นชอบ
207. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
ไม่เห็นชอบ
208. นายสยุมพร ลิ่มไทย
ไม่เห็นชอบ
209. นายสรณะ เทพเนาว์
ไม่เห็นชอบ
210. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
เห็นชอบ
211. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
เห็นชอบ
212. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
เห็นชอบ
213. นายสิระ เจนจาคะ
เห็นชอบ
214. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
ไม่เห็นชอบ
215. นางสีลาภรณ์ บัวสาย
เห็นชอบ
216. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ
ไม่เห็นชอบ
217. นางสุกัญญา สุดบรรทัด
เห็นชอบ
218. นายสุชาติ นวกวงษ์
ไม่เห็นชอบ
219. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
เห็นชอบ
220. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม
เห็นชอบ
221. นายสุพร สุวรรณโชติ
ไม่เห็นชอบ
222. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
เห็นชอบ
223. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
ไม่เห็นชอบ
224. นายสุวัช สิงหพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
225. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
เห็นชอบ
226. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์
ลาออก
227. นายเสรี สุวรรณภานนท์
ไม่เห็นชอบ
228. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
เห็นชอบ
229. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์
ไม่เห็นชอบ
230. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ
ไม่เห็นชอบ
231. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
ไม่เห็นชอบ
232. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล
เห็นชอบ
233. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
ไม่เห็นชอบ
234. นายอมร วาณิชวิวัฒน์
ไม่เห็นชอบ
235. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ
เห็นชอบ
236. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย
เห็นชอบ
237. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ
ไม่เห็นชอบ
238. นายอลงกรณ์ พลบุตร
เห็นชอบ
239. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล
เห็นชอบ
240. นางอัญชลี ชวนิชย์
ไม่เห็นชอบ
241. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์
ไม่เห็นชอบ
242. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
ไม่เห็นชอบ
243. นายอำพล จินดาวัฒนะ
งดออกเสียง
244. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
ไม่เห็นชอบ
245. นายอุดม ทุมโฆสิต
เห็นชอบ
246. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
ไม่เห็นชอบ
247. นางอุบล หลิมสกุล
เห็นชอบ
248. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
งดออกเสียง
249. นายเอกราช ช่างเหลา
ไม่เห็นชอบ
250. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
เห็นชอบ